ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 09:49:37 pm »

 :13: อนุโมทนาครับผม
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 04:11:18 pm »

จากประเด็นที่มีข้อคลางแคลงใจกันอยู่โดยทั่วไปว่าพระพุทธองค์ฉันเนื้อหมูที่นายจุณฑะนำมาถวายจนประชวรสิ้นพระชนม์ซึ่งแท้จริงท่านฉันเห็ดชนิดหนึ่งที่หมูชอบกินมีชื่อว่า{สุกรมัทวะ}ท่านพระครูได้ปรารภว่าคัมภีร์ทางหินยานที่เกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธองค์ในข้อการทานเนื้อสัตว์ได้ถูกตัดทอนหายไปและขอให้ช่วยกันค้นหาว่ามีคัมภีร์ใดมีข้อมูลเหล่านี้ ต่อประเด็นนี้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสอ่านหนังสือลังกาวตาลสูตรซึ่งท่านพุทธทาสแปลไว้จากคำเทศนาของพระพุทธองค์เมื่อครั้งเสด็จไปประเทศลังกา ในหนังสือเล่มนี้บ่งว่า คำตรัสของพระพุทธองค์ในข้อการให้ละเนื้อสัตว์มีอยู่ในหลายคัมภีร์และในคัมภีร์และในคัมภีร์ลังกาวตาลสูตรภาคที่ ๘ เป็นส่วนที่ปรากฏรายละเอียด ดังข้าพเจ้าขอคัดมาศึกษาร่วมกับท่านบางส่วนดังนี้................


.........................ลังกาวตาลสูตร...........................


๑ โอม ! มหาบัณฑิต ในวัฏสงสารอันไม่มีใครทราบในที่สุด ในเบื้องต้นนี้สัตว์ผู้มีชีพว่ายเวียนในการเกิดอีก ตายอีก
ไม่มีสัตว์แม้แต่ตัวเดียว ที่ในบางสมัย ไม่เคยเป็นแม่ พ่อ พี่น้องชาย พี่น้องหญิง ลูกชาย ลูกหญิง หรือเครือญาติอย่างอื่น ๆ แก่กัน สัตว์ตัวเดียวกัน ย่อมถือปฏิสนธิในภพต่าง ๆ เป็นสัตว์สี่เท้า สัตว์สองเท้าเป็นนก ซึ่งนับได้ว่าเป็นเครือญาติของเราโดยตรง สัตว์เหล่านี้ ทั้งหมดเป็นภราดรของตน แล้วจะเชือดเถือเนื้อหนังของเขาอีกหรือ ๒ เนื้อย่อมเกิดจากเลือดและน้ำอสุจิ เป็นสิ่งไม่ควรบริโภคสำหรับสาวกแห่งพระพุทธศาสนาผู้ประสงค์ต่อความสะอาดบริสุทธิ์(เพื่อหลุดพ้นทุกข์ทางจิตใจ) สัตบุรุษย่อมบริโภคเฉพาะอาหารที่สมควรแด่ท่านผู้บริสุทธิ์ ไม่ยอมบริโภคเนื้อละเอียดเพราะฉะนั้นควรที่สาวกแห่งพระพุทธศาสนา จะต้องไม่บริโภคเนื้อสัตว์เลย ๓ โอ ! มหาบัณฑิต ก็ในปัจจุบันชาติ เขาเหล่านั้นซึ่งเคยชินในการกินเนื้อสัตว์ ย่อมเป็นผู้ละโมบในการกิน ครั้นถึงอนาคตชาติหน้า เพราะอำนาจจิตติดฝังแน่นในการอยากกินเนื้อ เขาย่อมตกไปสู่กำเนิดแห่งสัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหาร เช่น สิงโต เสือ สุนัขป่า สุนัขไน แมว สุนัขจิ้งจอก ฯลฯ ๔ โอ ! มหาบัณฑิต ในกรณีแห่งอาการที่เราได้บัญญัติแก่สาวกนั้น มิใช่เนื้อชนิดใดชนิดหนึ่งเลย ซึ่งเป็นของควรกิน ในอนาคตกาลในหมู่สงฆ์ของเรา จะเกิดมีบางคนซึ่งสมาทานข้อปฏิบัติแห่งบรรพชิต ผู้กำลังครองผ้ากาสาวพัสตร์ จะเป็นผู้มัวเมาและประกอบตน คลุกเคล้าอยู่ในความเพลิดเพลิน เขาเหล่านั้นจะเรียบเรียงคัมภีร์ให้มีข้อความเท็จอันจะเป็นเครื่องยืนยันและ โต้แย้งอย่างเพียงพอสำหรับการกินเนื้อสัตว์กัน เขาจะบัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ เขาจะกล่าวข้อความที่ส่งเสริมการกินเนื้อสัตว์และพระภควันต์ก็ทรงเสวยเนื้อสัตว์โดยพระองค์เอง
ที่กล่าวไปนั้นเป็นส่วนของพระสงฆ์ ที่เกี่ยวกับฆราวาสมีดังนี้
๕ เขาผู้ฆ่าสัตว์ใด ๆ ก็ตามเพื่อเงิน และเขาผู้ซึ่งจ่ายเงินซื้อเนื้อนั้นทั้งสองพวกชื่อว่าเป็นผู้ประกอบอกุศลกรรมและจักจบลงในนรก
๖ ทรงตรัสกับพญานาคว่า บุคคลใดหยุดการฆ่าสัตว์ และงดการเสพเลือดเนื้อสัตว์ อีกทั้งชี้นำส่งเสริมในหมู่ชนทั้งหลายให้หยุดฆ่า
หยุดเสพชีวิตเลือดเนื้อผู้อื่นบุคคลนั้นย่อมห่างไกลจากกุศลทั้งปวง และบริบูรณ์พร้อมด้วยอานิสงส์ ๑๐ ประการ
เมื่อพิจารณาคำของพระพุทธองค์ ตรงที่ว่าถ้าตัวเองไม่เสพเนื้อและยังชักนำส่งเสริมให้ชนหมู่อื่นไม่เสพ จะห่างไกลจากอกุศลอีกความหมายก็คือเราไม่ได้ทำอกุศลพูดเพ้อเจ้อ พูดส่อเสียด มโนกรรม ๓ คือละโมบ พยาบาท ผิดทำนองคลองธรรม ทำไมเพียงไม่นานเนื้อสัตว์ถึงจะละอกุศลทั้ง ๑๐ ประการได้ พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสต่อไว้แล้วว่าการไม่ทานเนื้อจะได้อานิสงส์ ๑๐ ประการ ซึ่งช่วยส่งเสริมให้บุคคลสามารถปฏิบัติการละอกุศลได้ง่ายขึ้น การไม่ทำอกุศลกรรม ๑๐ ก็คือการปฏิบัติมรรค ๘ ไปในตัว คือ เรามีความเห็นชอบ เป็นผู้นำของความคิด วาจา การกระทำ และการเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง นั่นก็คือมรรค ที่ ๑ - ๕ ซึ่งตรงกับศีล และถ้าเรามีความเพียร มีสติ มีจิตใจจดจ่อตั้งมั่น เข้าไปช่วยส่งเสริม คือ มรรค ๖ – ๘ เป็นเรื่องของสมาธินำสู่ปัญญา จะเห็นได้ว่าการละอกุศล ๑๐ ได้ก็คือเรื่องที่ท่านพระอาจารย์มหาเวียง ฌาณนันโท แห่งวัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่ อุปมาอุปมัยว่าวิ่ง
Super Highway 8 lanes เข้าสู่ทางสายกลางคือ มัชฌิมาปฏิปทาและตรงนี้เราได้ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา
หรือไตรสิกขา แล้วนั่นเอง
การเว้นไม่ทานเนื้อสัตว์ จะทำให้เราปฏิบัติธรรมได้ง่ายขึ้น เพราะเราได้รับอานิสงส์ ๑๐ ประการ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสคือ.......................
๑.เป็นที่รักของ เทพ พรหม มนุษย์ สัตว์
๒.บังเกิดจิตมหาเมตตา
๓.ดับอารมณ์ แค้น อาฆาต โหดเหี้ยม
๔.ปราศจากโรคภัย
๕.มีอายุยืน
๖.วัชรเทพทั้งแปดทิศปกปักรักษา
๗.นิมิตเห็นแต่สิ่งเป็นศิริมงคล
๘.ระงับการจองเวร สลายความอาฆาตแค้น
๙.ไม่ตกสู่อบายภูมิ
๑๐.เมื่อจะสังขาร จิตญาณมุ่งสู่สุคติภพ