ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 17, 2014, 11:37:01 am »




หลักเกณฑ์การเลือกสถานที่และบุคคล ที่ควรเสพ และไม่ควรเสพ
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัย วนปัตถ์
(ป่าทึบ) แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่, สติที่ยังตั้งขึ้นไม่ได้ ก็
ไม่ตั้งขึ้นได้, จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น, อาสวะที่ยัง
ไม่สิ้น ก็ไม่ถึงความสิ้น, และอนุตตรโยคักเขมธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ ก็ไม่บรรลุ, ทั้งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร อันบรรพชิตพึงแสวงหามา
เพื่อเป็นบริขารของชีวิต ก็หามาได้โดยยาก.
ภิกษุ ท. !
ภิกษุนั้น พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้แล้ว
ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน พึงหลีกไปเสีย
จากวนปัตถ์นั้น, อย่าอยู่เลย.

ภิกษุ ท. ! อนึ่ง ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัย
วนปัตถ์ แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่, สติที่ยังตั้งขึ้นไม่ได้ ก็ไม่
ตั้งขึ้นได้, จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น, อาสวะที่ยังไม่สิ้น
ก็ไม่ถึงความสิ้น, และอนุตตรโยคักเขมธรรมที่ ยังไม่บรรลุ
ก็ไม่บรรลุ; แต่ว่า จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจย-
เภสัชชบริขาร อันบรรพชิตพึงแสวงหามาเพื่อเป็นบริขาร
ของชีวิตหามาได้โดยไม่ยาก. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นพิจารณา
เห็นโดยประจักษ์ดังนี้แล้ว คิดว่า “เราเป็นผู้ออกจากเรือนบวช
เพราะเหตุแห่งจีวรก็หามิได้ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาตก็
หามิได้ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะก็หามิได้ เพราะเหตุแห่ง
คิลานปัจจยเภสัชชบริขารก็หามิได้
”; ครั้นพิจารณาเห็น
ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้น พึงหลีกไปจากวนปัตถ์นั้น, อย่าอยู่เลย.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้เข้าไปอาศัย
วนปัตถ์ แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่, สติที่ยังตั้งขึ้นไม่ได้ ก็ตั้ง
ขึ้นได้, จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ตั้งมั่น, อาสวะที่ยังไม่สิ้น ก็ถึง
ความสิ้น, และอนุตตรโยคักเขมธรรมที่ยังไม่บรรลุ ก็บรรลุ
;
แต่จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร
อันบรรพชิตพึงแสวงหาเพื่อเป็นบริขารของชีวิตนั้น
หามาได้โดยยาก. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นโดย
ประจักษ์ดังนี้แล้ว คิดว่า “เรามิได้ออกจากเรือนบวช
เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุแห่ง
เสนาสนะ เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจยเภสัชชบริขาร”;
ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ภิกษุนั้น พึงอยู่ในวนปัตถ์นั้น
อย่าหลีกไปเสียเลย.

ภิกษุ ท. ! อนึ่ง ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัย
วนปัตถ์ แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่, สติที่ยังตั้งขึ้นไม่ได้ ก็ตั้งขึ้นได้,
จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ตั้งมั่น, อาสวะที่ยังไม่สิ้น ก็ถึงความสิ้น,
และอนุตตรโยคักเขมธรรมที่ยังไม่บรรลุ ก็บรรลุ, ทั้งจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร อัน
บรรพชิตจะแสวงหามาเพื่อเป็นบริขารของชีวิตนั้น ก็หา
ได้โดยไม่ยาก. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น พิจารณาเห็นโดยประจักษ์
ดังนี้แล้ว พึงอยู่ในวนปัตถ์นั้น จนตลอดชีวิต, อย่าหลีก
ไปเสียเลย.
(ในกรณีแห่ง การเลือกหมู่บ้าน นิคม นคร ชนบท และ
บุคคล ที่ควรเสพหรือไม่ควรเสพ ก็ได้ตรัสไว้โดยหลักเกณฑ์
อย่างเดียวกัน).
มู. ม. ๑๒ / ๒๑๒- ๒๑๘ / ๒๓๕- ๒๔๒.


:facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า