บทสรุปมนุษย์เป็นเพียงส่วนเสี้ยวเล็กๆ ในวิถีทางของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่เท่านั้น เราจะถามไถ่ถึงอิสรภาพได้อย่างไรในเมื่อเราเองก็อยู่ภายใต้กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงอันไม่จบสิ้นของธรรมชาติ การหมุนเวียนสลับสับเปลี่ยนของฤดูกาล การแก่เฒ่าร่วงโรยของร่างกายไปตามอายุขัย หรือการตายลงเมื่อถึงเวลาอันควร ภายใต้ความเป็นไปตามธรรมชาติเหล่านี้จะมีประโยชน์อย่างไรที่เราจะคิดไปถามไถ่ถึงสภาวะแห่งอิสรภาพ ซึ่งนั่นเป็นเพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่เป็นไปอย่างอิสระเสรีที่สุดแล้ว ดังนั้นจึงอาจจะกล่าวได้ว่า อิสรภาพในปรัชญาของจวงจื๊อคือการปลดปล่อยมนุษย์ออกจากความเป็นกฎเกณฑ์ หรือโลกทัศน์อันจำกัดไปสู่สภาวะตามธรรมชาติโดยที่ไม่เข้าไปก้าวก่ายจัดระเบียบหรือสร้างกฎเกณฑ์ใดๆ ขึ้นมาเพื่อพันธนาการมนุษย์
การสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ใดๆ ขึ้นมาซ้อนทับวิถีทางแห่งธรรมชาตินี้ จะทำได้อย่างมากก็เพียงแค่ได้เข้าใกล้กับความเป็นจริงของธรรมชาติเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่เป็นการดีกว่าหรือ หากเราจะปล่อยสิ่งต่างๆให้เป็นไปตามครรลองของธรรมชาติ หรือตามวิถีทางของเต๋า ตัวอย่างเช่น การปล่อยต้นไม้ให้ได้เติบใหญ่และแผ่กิ่งก้านของตนเองได้อย่างตามใจชอบ การปลดปล่อยให้เต่าที่ไม่หวังจะให้ใครมาบูชากระดองของตนได้เดินเล่นกระดิกหางอยู่ในโคลนตม หรือการปลดปล่อยให้มนุษย์ได้เป็นมนุษย์ที่แท้และได้อยู่ร่วมกับธรรมชาติที่แท้จริงสิ่งเหล่านี้จึงเป็นเสมือนกับความหมายของอิสรภาพที่แท้จริงหรือเป็นอิสรภาพของอิสรชนที่ปรากฎอยู่ในคัมภีร์จวงจื๊อ
“
มนุษย์ที่แท้นั้นอัศจรรย์นัก แม้ทุ่งใหญ่ที่มีเพลิงโหมก็มิอาจทำให้รู้สึกร้อนได้ มหานทีที่แม้น้ำจับแข็งจนทั่วธารก็มิอาจส่งให้รู้สึกหนาวเย็นได้ แรงอสุนีบาตที่ผ่าแยกขุนเขา มหาวาโยที่สั่นสะเทือนท้องสมุทร ล้วนมิอาจสร้างความหวั่นไหวให้ได้ บุคคลเยี่ยงนี้แลที่ดั้นเมฆโดยสารตะวันแลดวงเดือนท่องเที่ยวไปยังโพ้นทะเลทั้งสี่ กระทั่งจะตายหรือเป็นก็มิอาจทำให้ต้องหวั่นไหวเปลี่ยนแปลงตัวตนของตน จะกล่าวไปไยถึงแค่เรื่องคุณเรื่องโทษ”16
1. สุวรรณา สถาอานันท์, กระแสธารปรัชญาจีน:ข้อโต้แย้งเรื่องธรรมชาติ อำนาจ และจารีต, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 ,หน้า 98.
2. ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์,คัมภีร์เต๋าของจวงจื่อ, แปลและเรียบเรียง,กรุงเทพฯ ,สำนักพิมพ์เคล็ดไทย,2540,หน้า 1.
3. อ้างแล้ว,หน้า 19.
4. อ้างแล้ว,หน้า 135-137.
5. James D. Sellmann ,Tranformational Humor in the Zhuangzi, in Roger T. Ames (ed).Wandering at Ease in the Zhunagzi,New York Pres,1998,pp.169.
6. อ้างแล้ว,หน้า 121-122.
7. หมายถึงการปลดปล่อยมนุษย์จากความกลัวตาย.
8. อ้างแล้ว,หน้า 164.
9. อ้างแล้ว,หน้า 158.
10. Antonio S. Cua ,Forgetting Morality:Reflections on a theme in Chuang Tzu,in Journal of Chinese Philosophy,vol.4 (1997),pp.305-328.
11. ผู้เขียนมีความเห็นว่าการกระทำของผู้ที่มีจิตใจปลอดโปร่ง (clarity of mind) นี้หมายรวมไปถึงจิตใจที่ปราศจากสิ่งที่เป็นความหม่นหมองต่างๆด้วยเช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือเป็นจิตเดิมแท้ในความหมายของนิกายเซน ซึ่งจากการกล่าวในเรื่องนี้ของจวงจื๊อมีลักษณะที่อาจตีความให้เข้าใจเช่นนั้นได้.
12. อ้างแล้ว,หน้า 26.
13. อ้างแล้ว,หน้า 140-145.
14. อ้างแล้ว,หน้า 62.
15. อ้างแล้ว,หน้า 124.
16. อ้างแล้ว,หน้า 50-51.
***เรียบเรียงจากรายงานวิชาปรัชญาจีน
โดย:
dreamingbutterfly-http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=easywandering&month=02-2009&date=06&group=1&gblog=83