ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 26, 2014, 10:25:59 am »

สุดยอด 28 มงคลในตำนานจีนโบราณ

-http://thaigoodview.com/node/12252-


มังกร (หลง หรือ เล้ง)



เป็นสัญลักษณ์แห่ง พลัง อำนาจ ความยิ่งใหญ่ เพศชาย จักรพรรดิ ประเทศชาติ
มังกรถือเป็นสัตว์สำคัญที่สุดของจีน และเป็นสัตว์เทพที่ศักดิ์สิทธิ์ เกิดจากลักษณะของสัตว์ ๕ ชนิด มี
เขากวาง หัววัว ตัวงู เกล็ดปลา เท้าเหยี่ยว แต่บางตำราว่า มังกรมีที่มาจากส่วนของสัตว์ ๙ ชนิด คือ เขากวาง หัวอูฐ ตาปีศาจ คองู ท้องหอยแครงยักษ์ เกล็ดปลาตะเพียน หรือปลากะโห้ เล็บอินทรีย์ หรือเหยี่ยว ฝ่าเท้าเสือ หูวัว ที่สำคัญมีหนวดเครางอกยื่นออกนิดเดียว ใช้เวลา ๕๐๐ ปี หากอายุ ๑๐๐๐ ปี จะมีปีกงอกออกบินได้อีก ในปากมังกรจีนมีมุกอัคนี ซึ่งเป็นมุกวิเศษที่ขยายให้เล็ก-ใหญ่ มืด-สว่างได้ ใช้เรียกลม ฝน และปราบภูตผีปีศาจ ใช้แสดงพลังอำนาจ และความยิ่งใหญ่ มังกรเป็นสัตว์เทพ จึงเหาะเหินเดินอากาศได้ แหวกน้ำดำดินได้
การนำสัญลักษณ์มังกรมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นรูปวาด รูปปั้น หรือประดับตามข้าวของเครื่องใช้ หากเป็นของจักรพรรดิ มังกรจะมี ๕ เล็บ ของขุนนางจะมี ๔ เล็บ ถ้าสามัญชนจะมี ๓ เล็บเท่านั้น
ตามตำนานจีน มังกรเป็นสัตว์มงคลสูงสุด เป็นราชาแห่งสัตว์มีเกล็ดทั้งมวล เป็นตัวแทนแห่งความแข็งแกร่ง ความดีงาม ความตั้งใจ ความอุตสาหะพยายาม ความกล้าหาญ และความอดทน ชาวจีนจึงถือว่า
มังกรคือ จิตวิญญาณของการเปลี่ยนแปลง และฟื้นฟูให้ดีขึ้น และมังกรยังเป็นผู้นำฝนแห่งชีวิตมาให้
ภาพลักษณ์ของมังกร จะเหมาะอย่างยิ่งกับผู้ที่เกิดปีไก่ (ระกา) ซึ่งเชื่อกันว่าแปลงร่างมาเป็นนกโฟนิกซ์ ที่เป็นเพื่อนสนิทกับมังกร

หงส์ (เพิ่งหวง)



เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดินี ความงาม เพศหญิง และการเริ่มต้น หรือการมีชีวิตใหม่ที่ดี
หงส์ เป็นสัตว์ในตำนานเหมือนมังกร และกิเลน มีลักษณะของนกมงคล ๕ ชนิดประกอบกัน คือ
หัวไก่ฟ้า ปากนกแก้ว ตัวเป็ดแมนดาริน ขนนกกระสา และหางนกยูง หงส์เป็นใหญ่ในสัตว์ปีกทั้งหมด มี ๕ ประเภทคือ ประเภทขนสีแดง ขนสีม่วง ขนสีเหลือง และขนสีขาว (หรือห่านฟ้า) หงส์ตัวเมียมีหัวสีแดง ตัวผู้หัวสีเขียวหรือน้ำเงิน เสียงร้องเหมือนขลุ่ย ไม่กินแมลงที่มีชีวิต ไม่จิกต้นไม้ที่เขียวสด ไม่บินเร่ร่อน เมื่อบินไปไหนจะมีนกอื่นบินตาม นกนี้สามารถหยั่งรู้เหตุการณ์ณืบนโลกได้ จะปรากฏในสถานที่มีความสงบเท่านั้น จึงใช้เป็นสื่อแสดงถึงความงาม และความดี ๕ ประการ คือ คุณธรรม ความยุติธรรม ศีลธรรม มนุษยธรรม และสัจธรรม รวมถึงทางศาสตร์ฮวงจุ้ยจะใช้หงส์ ในความหมายของการตั้งต้นใหม่ที่ดี

กิเลน (ฉีหลิน)



สัญลักษณ์ของวาสนา ความมั่นคง และป้องกันสิ่งอัปมงคล
กิเลน เป็นสัตว์มงคลตามตำนาน บางครั้งชาวจีนเรียกว่า "ม้ามังกร" เหมือนเรื่องพระอภัยมณีของคน
ไทย มีลักษณะของสัตว์มงคล ๕ ชนิดรวมกัน คือ หัวมังกร เขายูนิคอร์น ตัวเป็นกวาง มีเกล็ดเหมือนปลา หางวัว ถือเป็นสัตว์มงคลซึ่งเมื่อปรากฏขึ้นที่ไหน หมายถึงกำลังจะมีเรื่องมงคลเกิดขึ้น หรือจะมีแต่โชคดี ไม่มีเรื่องร้าย และยังเชื่อกันว่า การจัดตั้งกิเลนไว้จะช่วยกรองและขจัดสิ่งอัปมงคลต่างๆ ให้พ้นไป แต่จะนำเอาความโชคดี ข่าวดีมาให้

สิงห์ (ไซ หรือจอหงวนไซ)



เป็นสัตว์มงคลที่มีอำนาจในภาคพื้นดิน ให้คุณทางด้านแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง
บางตำนานเล่าว่า สิงห์ไม่ใช่สัตว์พื้นบ้านของจีน แต่มีในถิ่นแอฟริกา มีนักเดินทางชาวจีนไปเห็น ก็
ชอบมาก แต่ไม่สามารถนำกลับประเทศได้ จึงจดจำกลับมาสร้างภาพตามจินตนาการ มีความสง่างามกำยำล่ำสัน เสียงร้องก้องกังวาน ถือเป็นเจ้าแห่งสัตว์ป่าทั้งปวง สิงห์จึงเป็นที่ชื่นชม เคารพบูชาตั้งแต่กษัตริย์ จนถึงขุนนาง และนิยมจัดตั้งสิงห์คู่ไว้หน้าสถานที่สำคัญ เช่นหน้าพระราชวัง โบสถ์ วัด
ยังมีบางตำนานกล่าวอีกว่า สิงห์ตัวผู้ และตัวเมียหยอกล้อเล่นกัน ขนของมันที่หลุดออกจากตัวเกาะกันเป็นลูกกลมๆ และต่อมาก็มีสิงห์ตัวเล็กออกจากก้อนกลมนั้น เราจึงเห็นรูปปั้นสิงห์ตัวผู้ (หวงไซจื้อ) จะเหยียบลูกโลก หรือลูกบอล ตัวเมีย (ฉือไซจื้อ) เหยียบลูกไว้
ชาวจีนเชื่อว่า การจัดตั้งสิงห์ไว้หน้าประตู หรือปลายหัวเสา แสดงถึงอำนาจ น่าเกรงขาม เพราะสิงห์เป็นสัตว์เทพมงคล โดยเฉพาะสิงห์สีเขียวเป็นสัตว์เทพพาหนะของ มัญชุศรีมหา-โพธิสัตว์ (บุ่งชู้ผ่อสัก) ในพุทธมหายาน ดังนั้นสิงห์จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการปกป้องคุ้มภัย และมีอำนาจขจัดภูตผีปีศาจ ให้กับสถานที่นั้นๆอย่างยอดเยี่ยม

คางคกสามขาคาบเหรียญ (เซียมซู้ซากิมจี๊ หรือฉางฉุ)



มีอีกชื่อว่าคางคกฟ้า เป็นสัตว์นำโชค มีมงคลหมายถึงโชคลาภ เงินทอง อายุยืน
ลักษณะเหมือนคางคก แต่มีสามขา ปากคาบเหรียญทอง ตามตำนานเล่าว่า เนื้อเซียมซู้เป็นยา
อายุวัฒนะ กินแล้วช่วยให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ และเป็นอมตะ ตัวเซียมซู้จึงถูกจับกิน จนต้องอพยพทิ้งถิ่นไปอยู่บนดวงจันทร์ มีชายคนหนึ่งชื่อเหล่าไฮ้ เป็นผู้โชคดีได้พบตัวเซียมซู้ แล้วเก็บมาเลี้ยงอย่างดี จึงบันดาลให้เกิดโชคมากมาย ที่เคยยากจนก็กลับร่ำรวยขึ้นมา
ชาวจีนเชื่อว่า เซียมซู้ เป็นสัตว์มงคล ที่นำความร่ำรวย มีโชคลาภ และอายุยืนมาให้

กวาง (หลู้ หรือลก)



เป็นสัญลักษณ์แทนเทพเจ้าลก ในฮก ลก ซิ่ว ซึ่งหมายถึงยศถาบรรดาศักดิ์ ความร่ำรวย
รุ่งเรือง มั่งคั่ง อายุยืนยาว
กวาง เป็นสัตว์อายุยืนมาก กวางสีเทามีอายุ ๑,๐๐๐ ปี กวางสีดำมีอายุ ๑,๕๐๐ -๒๐๐๐ ปี และพบว่ากวางถูกใช้ในพิธีบูชายัญ เพื่อความเป็นอมตะ ดังนั้นชาวจีนจึงเชื่อว่า ภาพหรือรูปปั้นกวาง นำสิ่งมงคลถึงความยืนยาว ทั้งด้านยศศักดิ์ ความก้าวหน้า ความร่ำรวย และสุขภาพดี มาให้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

เต่ามังกร



สัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง อายุยืน สุขภาพดี ตั้งใจ มุมานะ นำไปสู่ความก้าวหน้า
ความสำเร็จ อย่างมั่นคง ยืนยาว และรวมถึงความเพิ่มพูนด้านทรัพย์สินเงินทอง และป้องกันคุ้มภัยจากสิ่งชั่วร้าย
เต่ามังกร เป็นสัตว์เทพที่มีพลังอำนาจ เป็นที่ศรัทธาสูงสุดของราชวงศ์ถัง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ถังได้สร้างรูปปั้นเต่ามังกรไว้หน้าพระราชวัง และเป็นความเชื่อสืบต่อกันมาของชาวจีน เพราะมีความเชื่อว่า เต่ามังกร เป็นลูกตัวที่ ๙ ของพญามังกร ซึ่งออกมาเป็นเต่าหัวเป็นมังกร ตามความหมายแล้ว เต่า เป็นตัวแทนของความยั่งยืน แข็งแรง อดทน มีเกราะป้องกันอันตราย ส่วนมังกร คือ ความยิ่งใหญ่ ความดีงาม ความกล้าหาญ วาสนาบารมีสูงส่ง จึงถือเป็นมงคลสูงสุด เมื่อสัตว์มงคลทั้งสองชนิดมารวมกันไว้ ซึ่งเป็นสุดยอดปรารถนาของชาวจีนในอดีต และเป็นที่เชื่อถือมาจนถึงปัจจุบัน

ปลา (ฮื้อ หรือ อวี๋)



สัญลักษณ์ของการมีมากมายล้นเหลือ ได้กำไร ได้ประโยชน์
ภาษาจีนแต้จิ๋ว ฮื้อ เป็นคำพ้องเสียงแปลว่ามากมายล้นเหลือ ใช้แสดงถึงความหมายมงคล ให้มีสิ่งที่
ต้องการมากมาย มีเหลือกินเหลือใช้ ไม่ขาด และโชคดี
หากเป็นปลาทอง จะหมายถึงทองและหยกเต็มบ้าน
หากเป็นปลาหลี่ฮื้อ หรือหลี่อวี๋ หมายถึง ความสำเร็จ โดยมีตำนานว่า ปลาหลี่ฮื้อตัวใดสามารถว่ายมาถึงประตูมังกรที่ปากทางสวรรค์ แล้วกระโดดข้ามไปได้ จะกลายเป็น "ปลามังกร" ซึ่งเป็นคติสอนใจชาวจีนว่า คนจนก็มีสิทธิ์รวยได้ ถ้ามีความมุ่งมั่นและพยายามเหมือนปลาหลี่ฮื้อ ที่เพียรว่ายน้ำมาจนถึงปากทางสวรรค์ และใช้แรงพยายามสุดชีวิตเพื่อให้เข้าประตูมังกรได้สำเร็จ ซึ่งจะได้เปลี่ยนเป็นปลาที่มีเกียรติยศสง่างาม ถ้าปลาตัวใดกระโดดข้ามไม่ได้ก็ยังคงเป็นปลาหลี่ฮื้อตามเดิม จึงนิยมใช้ปลาหลี่ฮื้อแทนคำอวยพรที่ว่า ขอให้ประสบความสำเร็จในชีวิต และให้มีเพียงพอ

เป็ดแมนดาริน (อวงเอียง)



สัญลักษณ์ของการมีชีวิตคู่ที่มีความสุข การแต่งงาน
ตามธรรมชาติของเป็ดแมนดาริน จะอยู่ด้วยกันเป็นคู่เสมอ จึงใช้อวยพรคู่บ่าวสาวให้มีชีวิตคู่เปี่ยมสุข
และซื่อสัตย์ต่อกัน จึงมีความเชื่อว่า การใช้สัญลักษณ์เป็ดคู่ จะเป็นมงคลสูงสุดในเรื่องของความสมหวังใน
ความรัก

ม้า (หม่า)



สัญลักษณ์แทนความว่องไว รวดเร็ว ทันที แข็งแรง ไม่หยุดอยู่กับที่ การเดินทาง เลื่อนตำแหน่ง
ชาวจีนเชื่อกันว่า การจัดวางม้าสามตัวจะสามารถแก้การแตกแยกได้ หรือใช้ภาพม้าแปดตัว แปด
อิริยาบถ เพื่อเสริมความก้าวหน้ารุ่งเรืองในทางธุรกิจการค้า สำเร็จรวดเร็ว ม้า ยังเป็นสัญลักษณ์แทนคำอวยพรให้สุขภาพแข็งแรงอีกด้วย

หมู (จู)



สัญลักษณ์ของการสอบได้ ทุกเรื่องง่าย สมบูรณ์พร้อม กินอิ่มนอนหลับ
ชาวจีนเชื่อกันว่า การอวยพรโดยใช้รูปหมู หมายถึงการให้สอบได้ ส่วนคำว่า "ฮวน"ที่แปลว่าหมูป่าจะ
หมายถึงความสนุกสนาน ใช้แทนความหมายดีใจอย่างยิ่ง บางตำราเชื่อว่า หมูเป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์พร้อม ในเรื่องของการมีกินมีใช้ตลอด กินอิ่มนอนหลับ สบายใจ เพราะทุกเรื่องที่ยากจะกลับเป็นเรื่องง่ายๆ

ปี่เซียะ / ผี่ชิว หรือเผ่เย่า



สัญลักษณ์ของสัตว์มงคลนำโชค ป้องกันและกำจัดสิ่งอัปมงคล
มีลักษณะรูปร่างคล้ายกวาง มีเขี้ยว ตาโปน ปากกว้าง มีเขา หางยาว ปีกสั้น แต่บางตัวก็ไม่มีปีก
มีอุปนิสัยกล้าหาญ เปิดเผย จงรักภักดี ซื่อสัตย์กับเจ้าของ ซึ่งรูปลักษณะของปี่เซียะเป็นการรวมสัตว์มงคล ๕ ชนิด ๕ ธาตุไว้ด้วยกัน คือ มีสี่เท้าของสิงโตอันทรงพลัง (ธาตุทอง) มีเขาและลำตัวเป็นกวาง (ธาตุน้ำ) มีปีกของพญานกอันแข็งแกร่ง (ธาตุไฟ) มีศรีษะของมังกรอันทรงพลัง (ธาตุไม้) มีหางแมวอันศักดิ์สิทธิ์ (ธาตุดิน)
จึงเป็นความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับรูปลักษณะว่า เท้าตะปบเงิน ยกหัวข่มศัตรูคู่แข่ง อ้าปากกว้างรับทรัพย์ ลิ้นตวัดเกี่ยวเงินทอง หางยาวกวักโชคลาภ ไม่มีรูทวารเงินทองจึงไม่รั่วไหล
เล่ากันว่า ปี่เซียะเป็นราชบุตรองค์ที่ ๙ ของพญามังกรสวรรค์ ที่เรียกกันหลายชื่อ ขึ้นอยู่กับสถานที่พบเห็น บ้างก็ว่า "เผ่เย่า"อยู่บนสวรรค์ "ผี่ชิว"อยู่บนโลกมนุษย์ "พีแคน"อยู่ในมหาสมุทร แต่ทั้งหมดจัดเป็นสัตว์เทพ ที่นำโชคลาภและขจัดสิ่งอัปมงคล ป้องกันอันตราย รวมทั้งยังช่วยนำพาลาภลอยมาให้ โดยเฉพาะโชคลาภที่เกี่ยวข้องกับการงาน หรืออาชีพที่ต้องเสี่ยง
เชื่อว่า ปี่เซียะ มีพลังแรงมากในเรื่องการนำโชค หากยิ่งได้นำไปตั้งคู่กับ "กิเลน"ด้วยแล้ว จะยิ่งมีพลังแรงมากขึ้นไปอีก ผู้ที่จัดตั้งปี่เซียะนั้นควรเป็นผู้มีศีลธรรม คุณธรรม จึงจะประสบผล แต่หากมีนิสัยคดโกง ประพฤติผิดศีลธรรม ไม่มีคุณธรรมแล้ว ก็จะได้รับผลในทางตรงกันข้าม

แพะ (เหยียงหรือเอี๊ย)



สัญลักษณ์แห่งความโชคดี ความรุ่งเรือง และความสำเร็จ
คนจีนโบราณยกย่องให้แพะเป็นสัตว์มงคล หมายถึงโชคดี และความรุ่งเรือง มีการวาดหรือปั้นลวดลาย
แพะสามตัว พ่อแม่ลูกกับดวงอาทิตย์ (ซาเอี๊ยไคไข่) ลายแพะสามตัวเปิดประตู (ซาเอี๊ยคุยมึ้ง) ถือเป็นมงคลและเป็นการอวยพร หมายถึงความรุ่งเรือง ความสำเร็จได้กลับมา อุปมาเหมือนเมื่อฤดูใบไม้ผลิ ความสดชื่นเขียวชอุ่มสวยงามก็กลับมา

กระต่าย (ทู่จื่อ หรือ โท้วบุ๊ง)



สัญลักษณ์ให้มีอำนาจ ความสามารถ ความกล้าหาญ และยุติธรรม
ตามความเชื่อของชาวจีนสมัยโบราณเชื่อว่า ฝูงกระต่ายสีขาวบนดวงจันทร์ มีหน้าที่ปรุงยาอายุวัฒนะ
จึงวาดลวดลายมงคลเป็นกระต่าย ๓ ตัววิ่งไล่กันเป็นวงกลม โดยให้หูข้างเดียวของกระต่ายแต่ละตัวอยู่ตรงกลางเป็นสามเหลี่ยม เมื่อดูทีละตัวจึงจะเห็นกระต่ายแต่ละตัวมีหูสองข้าง ใช้แสดงมงคลถึงการให้มีอำนาจ กล้าหาญ และยุติธรรม
หากใช้สัญลักษณ์ "กระต่ายป่า" จะหมายถึงความมีอายุยืนเหมือนกวาง

กุ้ง (เซีย)



สัญลักษณ์แห่งความโชคดี ผ่านพ้นอุปสรรค
เชื่อกันว่าลักษณะตัวงอของกุ้ง ทำให้ตัวเองมีแรงกระโดดได้ไกล ไม่มีอุปสรรคทั้งทางโค้งทางลัด จึง
หมายถึงการทำสิ่งใดได้ผลตามที่ปรารถนา สามารถผ่านพ้นอุปสรรคทั้งหลายได้ และโชคดีในทุกเรื่อง

ถั่วลิสง (หลัวฮวาเชิง)



ถือเป็นผลไม้มงคลอย่างหนึ่ง ซึ่งได้รับขนานนามว่า เมล็ดพันธุ์แห่งความยั่งยืน
ถั่วลิสง สามารถเจริญเติบโตได้ดีเมื่ออยู่ใต้ดิน มีเมล็ดเป็นพวงคล้ายองุ่น เก็บไว้ได้นานไม่เน่าเปื่อย
มีรสชาติอร่อย หอมและมีคุณค่าต่อร่างกาย จึงใช้ถั่วลิสงเป็นสัญลักษณ์มงคล แสดงถึงความงอกเงย งอกงามและความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

ต้นไผ่ (จู๋)



สัญลักษณ์แห่งความก้าวหน้า การยืดหยุ่น มั่นคง ทนทาน อายุยืน
ดังสุภาษิตที่ว่า ต้นไผ่สูงขึ้นร้อยเมตร ชีวิตต้องก้าวหน้าไปหนึ่งก้าว ( แป๊ะเชี๊ยะกอเท้า เก๊งจิ๊งเจ๊กโป่ว)
ไผ่ คือต้นไม้มงคล ตามลักษณะของไผ่ เป็นไม้ที่มีประโยชน์มาก ปลูกง่ายโตเร็ว แตกกอเร็ว และให้ใบ
สีเขียวตลอดปี ในฤดูหนาวต้นไผ่จะไม่แห้งตาย และลู่ตามกระแสลม โดยเฉพาะเสียงแตกของไม้ไผ่ในกองไฟนั้น ใช้ขับไล่ภูตผีปีศาจได้ (เป็นต้นกำเนิดเสียงประทัด) และทำให้เกิดความสงบร่มเย็น ภาษาจีน คำว่า "จู๋"
แปลว่า อวยพร ดังนั้น ต้นไผ่จึงเป็นสุดยอดไม้มงคลของการอวยพร ตามความหมายให้ก้าวหน้า รุ่งเรืองอย่างมั่นคงตลอดกาล

 

สัญลักษณ์มงคลจีนโบราณ ยังมีอีกมาก และมีความหมายมงคลในทางที่ดีแตกต่างกันไปแล้วแต่
เลือกใช้ อาทิ

เจ้าแม่กวนอิม หรือพระโพธิสัตว์กวนอิม เทพแห่งความเอื้ออารี ช่วยเหลือผู้ประสบทุกข์ จะประทานพรให้ตามคำอธิษฐาน

ฮัวฮะ เซียนคู่ องค์หนึ่งมีของวิเศษเป็นใบบัว อีกองค์ถือตลับกลม เป็นมงคลให้รักใคร่ปรองดองกัน บ้านไหนพี่น้องชอบตีกัน สามีภรรยาวิวาทกัน หรือที่ทำงานพนักงานไม่ลงรอยกัน ตั้งฮัวฮะไว้ จะอยู่เย็นเป็นสุข

ดอกโบตั๋น ความมั่งคั่ง มีเกียรติ ความสง่างาม

ช้าง เป็นสัตว์ที่มีอำนาจ พละกำลัง และฉลาด ถือสัตว์มงคลที่ช่วยนำความสำเร็จมาให้

เสือ เป็นสัตว์เทพที่มีอำนาจ ใช้ป้องกันภูตผีปีศาจ และคุ้มครองชีวิต

ไก่ หงอนที่หัวหมายถึง ความมีสติปัญญาทางหนังสือ เดือยที่เท้าหมายถึง ความองอาจกล้าหาญ สัญชาตญาณการปกป้องตัวเมีย แสดงถึงความเมตตากรุณา คนจีนใช้เป็นมงคลในเรื่องของตำแหน่งทางการงาน และใช้เพื่อป้องกันไฟ

เต่า อายุยืน แข็งแกร่ง อดทน

ลิง ได้ยศศักดิ์ตำแหน่งสูงทุกชั่วคน

สุนัข ปกป้องทรัพย์สิน

เรือใบ ความสะดวกปราศจากอันตราย และนำเงินทองเข้ามา

ผลท้อ ขจัดภูตผีปีศาจ และป้องกันโรคภัย อายุยืน

ค้างคาว โชคลาภ ความสุข อายุยืน ค้างคาวสองตัวหมายถึง โชคดีเป็นสองเท่า

ค้างคาวห้าตัวหมายถึงพรห้าประการ คือ อายุยืน ร่ำรวย แข็งแรง ทรงคุณธรรม
และตายตามธรรมชาติ หรือตายดี

ง่วนป้อ ความมั่งคั่ง รองรับโชคลาภ เงินทอง

ชาวประมงตกปลา ให้ได้กำไร มากมาย

จักจั่น อมตะ การฟื้นคืนชีพ เป็นสัญลักษณ์ของความสุข และหนุ่มสาวตลอดกาล เพราะจักจั่นเป็นแมลงชนิดเดียวที่มีอายุยืนยาวถึงสิบเจ็ดปี และยังเป็นมงคลแทนการสอบได้ เรียนเก่ง ความสำเร็จ

ยันต์แปดทิศ (โป๊ยก่วย) ใช้แก้ฮวงจุ้ยที่เสียให้ดีขึ้น และป้องกันสิ่งอัปมงคลต่างๆ
ใบไม้ ความสุขสันติ ปัดเป่าความชั่วร้าย
...ฯลฯ...
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 26, 2014, 10:25:28 am »


 สุดยอด 28 มงคลในตำนานจีนโบราณ

-http://thaigoodview.com/node/12252-


สัญลักษณ์ที่เป็นมงคลตามความเชื่อของชาวจีนโบราณ มีเรื่องน่าสนใจ และสามารถบันดาลความสุข ความสมหวังให้จริงหรือ นั่นคือภูมิปัญญาและกุศโลบายของบรรพบุรุษจีนที่ได้คิดขึ้น และได้สืบทอด ใช้เป็นข้อกำหนด เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับสังคมชาวจีน มาช้านานในทุกผืนแผ่นดิน เกือบค่อนโลก เนื่องจากชาวจีนมุ่งมั่น เดินตามความหมาย และคำอวยพรที่เป็นสิริมงคล ของสัญลักษณ์มงคลจีนเหล่านั้น เช่น ต้องการให้ทุกคนมีโชคลาภ (ฮก) มียศถาบรรดาศักดิ์ (ลก) และมีชีวิตที่ยั่งยืนยาว (ซิ่ว) เมื่อมีแนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อแต่ในสิ่งที่เป็นมงคลแล้ว การค้นหาสิ่งที่ดีงาม ไว้เป็นมงคลแก่ตนเองนั้นจึงเป็นประโยชน์แก่การดำรงชีวิต ที่มีหลักของสัจธรรม เป็นแนวทางปฎิบัติ ทำให้เข้าใจในธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งย่อมทำให้มองเห็นคุณค่า ของการมีชีวิต อยู่บนโลกเดียวกันมากขึ้น เพราะความหมายของมงคลจีนโบราณนั้นคือ คุณค่าของการเข้าใจธรรมชาติ เพื่อให้อยู่อย่างมีความสุข และสมปรารถนาทุกประการ

ชาวจีนนิยมสร้างสิ่งเป็นมงคลแก่ตัวเอง โดยมีทั้งตัวอักษร รูปภาพลวดลาย และสัญลักษณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้วิเศษ ผลไม้ ดอกไม้ สัตว์ ของใช้ มาเกี่ยวพันมากมาย และจะปรากฏอยู่รอบตัวเสมอ หากจะให้บอกว่ามีจำนวนเท่าไร คงไม่ได้ เพราะมากมายเหลือเกิน ณ ที่นี้ขอนำเสนอเพียง 28 สิ่งอันเป็นมงคลที่เราพบเห็นกันบ่อย และเป็นที่ได้รับความเชื่อถือ อย่างมากทั้งชาวจีน และไทยมาช้านาน


พระยิ้ม



สัญลักษณ์ของความรวย ความสุข และความอุดมสมบูรณ์
เป็นพระอ้วนกลมยิ้มแย้ม พุงพลุ้ย มีลักษณะท่าทางหลายแบบ แต่ละท่าล้วนแล้วแต่มีของมงคลที่สื่อถึงความมั่งมี ศรีสุข ประกอบอยู่ด้วย เชื่อว่า ผู้ใดบูชาพระยิ้ม จะได้รับมงคลที่มุ่งถึงความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ศฤงคาร และความสุข เพราะท่านเป็นพระที่ร่ำรวย บางท่านมีความเชื่อว่า ให้อธิษฐานลูบท้องพระวันละครั้งจะทำให้เกิดโชคดี สมปรารถนา และมีลูกหลานเป็นบัณฑิต

ฮก ลก ซิ่ว ลาภ รวย อายุ



ฮก แปลว่า โชคลาภ ความสุขที่เกิดจากการได้สมหวังดังใจ
เทพฮก เป็นชายโหงวเฮ้งดี มีสง่าราศี แต่งกายภูมิฐาน มือหนึ่งประคองคทายู่อี่ ยอดทำด้วยหยก (คทา
สมปรารถนา) เป็นของวิเศษ ใครอธิษฐานสิ่งใดก็ให้สมปรารถนา หรือได้โชคลาภตามคำขอ
ลก แปลว่า รวย หรือความมั่งคั่ง
เทพลก เป็นอัครอภิมหาเศรษฐีผู้มั่งคั่ง มือหนึ่งถือบัญชีทรัพย์สินรายชื่อลูกหนี้ม้วนใหญ่ เพราะร่ำรวยล้นฟ้ามีสมบัติมหาศาล จึงมีลูกหนี้มากมาย อีกมืออุ้มลูกชาย ในมือลูกชายถือเงินทอง และอาจมีลูกสาวตัวน้อยเกาะขาอยู่ ในอ้อมแขนลูกสาวมีเครื่องประดับ ดอกไม้ ขนม แสดงถึงความมีกินมีใช้ ตามความเชื่อโบราณ ลก ที่สมบูรณ์จะต้องมีลูกชาย เพราะคนจีนถือเรื่องสืบต่อวงศ์ตระกูล ถ้ารวยอย่างเดียวโดยไม่มีลูกชายสืบสกุล ก็ไร้ประโยชน์
ซิ่ว แปลว่า อายุยืน
เทพซิ่ว เป็นชายแก่ศรีษะล้าน หน้าผากนูน เคราสีขาวยาว มือหนึ่งถือผลท้อ ซึ่งเป็นผลไม้สวรรค์ ใครได้ทานจะมีอายุยืนยาว อีกมือถือไม้เท้าหัวมังกรสัตว์ในตำนานที่มีอายุยืนถึงหมื่นปี ที่คอไม้เท้าห้อยน้ำเต้า ภายในน้ำเต้าบรรจุยาอายุวัฒนะ เหนือน้ำเต้ามี "เซียนจือ" ผูกติดอยู่ เซียนจือคือตำรายาเทวดา หรือตำรายาอายุวัฒนะ ซิ่ว มีนกกระเรียนเป็นสัตว์เทพพาหนะ
ฮก ลก ซิ่ว มีฮกเป็นหัวหน้า ส่วนลก และซิ่ว เป็นบริวาร ถือว่าต้องมีลก กับซิ่วจึงจะมีฮก นั่นคือต้องมีอายุมั่นขวัญยืน และมั่งมี จึงจะศรีสุขได้ การตั้งฮก ลก ซิ่วที่ถูกหลัก ต้องตั้งฮกไว้ตรงกลาง

กวนอู



เทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ กตัญญู เป็นที่ยำเกรงของภูตผีปีศาจ
กวนอู เดิมชื่อ หนเตี๋ยง ชาวเมืองฮอตั่งไก่ สูง ๖ ศอก ปากแดง หน้าแดง คิ้วตัวไหม ดวงตาการเวก
มีง้าวเป็นอาวุธ เป็นคนดีมีคุณธรรม ซื่อสัตย์ กตัญญูรู้คุณคน
เล่ากันว่า ผู้ใดคิดไม่ซื่อหวังทุจริต เมื่อได้พบเห็น หรือสบตากับเทพกวนอู จะเกิดความละอายใจ ไม่กล้าคิดคด จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีบริวารอยู่ใต้ปกครอง ควรบูชาไว้เพื่อเป็นสิริมงคล

ไชซิ้งเอี้ย



เทพเจ้าแห่งโชคลาภ หรือเทพเจ้าเงินตรา
เป็นที่นิยมนับถือของผู้ประกอบการค้าชาวจีนมาช้านาน เนื่องจากมีอานุภาพในด้านการอำนวยโชค
ลาภ ความมั่งคั่ง ร่ำรวย มั่นคง ให้แก่ผู้บูชา
ไชซิ้งเอี้ย เป็นเทพเจ้าใส่หน้ากากงิ้ว ถ้าปั้นเป็นเทพ ๒ องค์ คือปั้นแบบครบชุดจะมีบู๊ และบุ๋น องค์บู๊จะหน้าดุ บางครั้งประทับบนหลังเสือ หรือเหยียบเสืออยู่ ที่หัตถ์ถือกระบอง ส่วนองค์บุ๋นหน้าตาดี มีหนวด เชื่อกันว่า องค์บู๊ ให้คุณเรื่องหนี้สินด้วย คือช่วยทวงหนี้ให้ผู้บูชา ลูกหนี้ไม่กล้าเบี้ยว

จี้กงอ๊วกฮุด



อรหันต์ที่ชอบประทานความช่วยเหลือ
เป็นพระที่มีชีวิตชีวา หน้าตาขี้เล่นเบิกบาน ไม่ถือศีลกินเจ แต่ชอบร่ำสุรา รูปของท่านจึงมักมีจอกสุรา
อยู่ด้วย และมือหนึ่งจะถือพัดอั้งโล้ว ที่ใช้พัดเตาไฟทำด้วยใบลาน บางทีก็หิ้วรองเท้าข้างหนึ่ง แล้วใส่อยู่ข้างหนึ่ง เล่ากันว่า ท่านชอบช่วยเหลือคนที่มีความสามารถ ในรูปแบบแปลกๆที่คาดไม่ถึง

จงขุย หรือเจ็งคุ้ย



เทพปราบมาร เป็นเทพแห่งปีศาจทั้งปวง
ตำนานเล่าว่า เป็นผู้ขจัดภูตผีปีศาจที่พระเจ้าถังเสวียนฝันถึง และให้อู๋เต๋าจือ จิตรกรวาดภาพตามคำ
บอกในฝัน ที่มาบอกถึงพระเจ้าถังเกาจง (พระราชบิดาของพระเจ้าถังเสวียน) ได้เมตตาประทานชุดสีน้ำเงิน และจัดงานศพของตน ที่ตกบันไดตาย เนื่องจากเสียใจสอบจอหงวนไม่ได้ จึงตั้งใจจะขจัดภูตผีปีศาจและสิ่งเลวร้ายให้ ดังนั้นในวันที่ ๕ ของเดือน ๕ เป็นวันปล่อยผี (ตวนอู่เจี่ย) จึงพากันแขวนเทพจงขุยไว้ที่ผนังบ้าน
เชื่อกันว่า ใครที่กลัวจะถูกทำของใส่ หรือถูกคุณไสยเล่นเอา ต้องมีจงขุยคุ้มครองอยู่ในบ้าน หรือกรณีที่ต้องเข้าโรงพยาบาล หรือคนป่วยไปพักฟื้นที่ไหน สถานที่เหล่านั้นถือว่า มันสกปรก คือมีคนตายมาก ต้องมีผีอยู่ ให้เอาเทพปราบมารองค์นี้ไปด้วย แล้วจะปลอดภัยหายเป็นปกติกลับบ้านได้

หยิน-หยาง (ไท้เก๊กโต๊ว)



เป็นสัญลักษณ์วงกลมครึ่งขาวครึ่งดำ ในดำมีจุดขาว ในขาวมีจุดดำ เหมือนตาปลา ทำให้ดูเป็น
ปลาขาวดำสองตัวกลับหัวกัน
ความหมายให้สีดำเป็น หยิน - ผู้หญิง ความมืดดำ โลก ดวงจันทร์ ความอ่อนแอ (สวยงาม) และความสันโดษ สีขาวเป็นหยาง - ผู้ชาย ความขาวสว่าง ท้องฟ้า (สวรรค์) ดวงอาทิตย์ ความเข้มแข็ง (พละกำลัง) และความเป็นคู่หยินหยางนี้เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตที่มีสองด้านเสมอ จึงถูกนำมาใช้เพื่อเป็นพลังมงคลในการเสริม และปรับฮวงจุ้ยได้อย่างดี

น้ำเต้า (หลู หรือ หู)



เป็นสัญลักษณ์ของหมอเทพหรือหมอยา
ชาวจีนมักใช้แขวนในห้องเด็ก หรือผู้สูงอายุ เพราะเชื่อว่าหมอเทพได้มาอยู่ในห้อง ทำให้มีสุขภาพ
แข็งแรง เด็กๆไม่งอแง และไม่มีภูตผีมารบกวน นอกจากนี้ผลน้ำเต้ายังเป็นพืชพันธุ์ที่มีเมล็ดมาก มีเครือยาว และออกผลไม่จบสิ้น เปรียบเท่ากับหมื่นชั่วคน ใช้แสดงถึงความเป็นมงคลให้มีอายุยืนยาว สุขภาพแข็งแรง มีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง

ระฆัง (เจง หรือเจ่ง)



เป็นสัญลักษณ์มงคลทางศาสนา หมายถึงการตื่น และการรู้
เสียงระฆังทำให้ตื่นจากการหลงในกิเลสตัณหา ให้รู้สึกตื่น และรู้สัจธรรมที่แท้จริง ยังมีความเชื่ออีกว่า
เสียงระฆังจะนำแต่ข่าวดีและเรื่องมงคลต่างๆมาให้เท่านั้น อีกทั้งยังจะทำให้รู้เท่าทันศัตรูคู่แข่งอีกด้วย

เหรียญจีนโบราณ



สัญลักษณ์ที่แสดงถึงความมั่งคั่งร่ำรวย มีเงินทองมากมาย
ชาวจีนโบราณถือว่าเป็นหนึ่งในมงคลแห่งสมบัติโบราณ เป็นสิ่งนำโชคลาภมาให้ จึงมักสลักคำสิริมงคล
ไว้บนเหรียญ ซึ่งแปลว่า ให้มีสิริมงคล สมปรารถนา หรือให้มีเงินทองเต็มบ้าน หรือเหรียญตราแห่งความเจริญรุ่งเรือง

คทามงคล (ยู่อี่)



สัญลักษณ์แห่งความสมปรารถนา
เป็นเครื่องยศชั้นสูง สำหรับจักรพรรดิ ขุนนางชั้นสูง และพระจีนชั้นผู้ใหญ่ไว้ใช้ทำพิธีกรรม ส่วนหัวของ
คทาเป็นรูปทรงแป้น งอๆ ซึ่งมาจากรูปลักษณ์ตรงส่วนหัวของเห็ดหลินจือ ที่ชาวจีนโบราณเชื่อว่า มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ใครได้กินจะเป็นอมตะ และจัดเป็นพืชมงคลอย่างหนึ่ง
คทายู่อี่อาจทำด้วยงาช้าง หยก หิน ไม้ไผ่ และโลหะ ถ้าทำด้วยหยกเรียกว่า "เง็กยู่อี่" เง็ก คือหยก ยู่อี่ แปลว่าสมปรารถนา คทายู่อี่ยังเป็นของวิเศษที่พระโพธิสัตว์ และเทพฮก (ฮก ลก ซิ่ว) ถืออยู่ด้วย เพราะฮก คือความสุข สุขที่เกิดจากการได้สมปรารถนาในทุกเรื่อง จึงเชื่อว่าสัญลักษณ์ยู่อี่นี้ จะนำความสมปรารถนามาให้




ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 26, 2014, 10:09:16 am »

สัตว์เทพเจ้าในตำนานของจีน

-http://teen.mthai.com/variety/55861.html-


ในช่วงเทศการสำคัญ วันตรุษจีน นี้ ขออวยพรให้ เพื่อนมิตรรักสหายทุกท่าน “ว่านซื่อหยูอี้ ??????สมความปรารถนา” ในทุกเรื่องที่หวัง ขอให้เอนติด คะแนนโอเน็ต โอเค สอบ Get pat ผ่านทำไค้ๆ (หรือได้ทำหว่า ^^) ซึ่งวันนี้เพื่อให้เข้าธีม วันตรุษจีน teen.mthai.com ก็มี สัตว์เทพเจ้าในตำนานของจีน?มานำเสนอ ไม่ถึงกับบู๊ล้างผลาญ แค่รักษาลมปราณ ประวัติ สัตว์ในตำนาน กับ เทพเจ้า ของจีน !!

ข้อมูล teen.mthai.com อ้างอิงจาก : หนังสือ 108 ลัญลักษณ์จีน,postjung.com,



?” กิเลน “

ถ้าเป็นตัวผู้เรียกว่า ” กิ ” ถ้าเป็นตัวเมียเรียกว่า ” เลน ” หรือ “กิเลน” กิเลน ตามตำนานจีนว่ามีรูปร่างเหมือนกวาง?แต่มีเขาเดียว หางเหมือนวัว หัวเป็นมังกร ตีนมีกีบเหมือนม้า?(บางตำราว่ามีตัวเป็นสุนัข ลำตัวเป็นเนื้อสมัน) เกิดจากธาตุทั้งห้า คือ ดิน น้ำ ไฟ ไม้ และโลหะ ผสมกัน

    เชื่อว่า กิเลน?มีอายุอยู่ได้ถึงพันปี
    ถือว่าเป็นยอดแห่งสัตว์ทั้งหลาย
    เป็นสัญลักษณ์แห่งคุณงามความดี
    ปรากฏให้เห็นเมื่อใด ก็จะเกิดผู้มีบุญมาปกครองบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขเมื่อนั้น
    กิเลน เป็นหนึ่งใน สี่สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งประกอบด้วย?หงส์ เต่า มังกร และ กิเลน (บ้างว่าเป็น เสือ)

ตามความเชื่อเรื่อง การสร้างโลกของจีนในยุคฟูซี ( ?? )

ยุคฟูซี?เป็นผู้ปกครองชนเผ่าคนแรกของมนุษย์ ได้สังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติ?จนสามารถพึ่งตัวเองได้ วันหนึ่งมี กิเลน ตัวหนึ่งกระโดดขึ้นมาจากแม่น้ำหวงโฮ?บนหลัง กิเลน มีสัญลักษณ์ปรากฏที่ถูกเรียกในภายหลังว่า “ แผนที่เหอ ” ซึ่งต่อมาได้พัฒนากลายเป็นตัวอักษร?หลังจากนั้นองค์ความรู้ต่าง ๆ ของมนุษย์ก็บังเกิดและเจริญสืบต่อเรื่อยมา

ตามตำนาน กิเลน ของไทย

คนไทยคงรู้จัก กิเลน ของจีนมานานแล้ว ในสมุดภาพ สัตว์ป่าหิมพานต์ที่ช่างโบราณได้ร่างแบบสำหรับผูกหุ่นเข้า กระบวนแห่พระบรมศพครั้งรัชกาลที่ 3ก็มีรูป กิเลนจีน ทำหนวดยาว ๆ ส่วนภาพ กิเลนแบบไทย มีกระหนกและ เครื่องประดับเป็นแบบไทยๆ?การจัดลายประกอบผิดไปจากใน สมุดภาพสัตว์ป่าหิมพานต์โบราณ นั้นบ้าง ที่แปลกอีกอย่างหนึ่ง คือ?กิเลนไทยมีสองเขา ของจีนแท้ ๆ มีเขาเดียว ในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ของกวีเอกสุนทรภู่?ก็มี?สัตว์ประหลาดรูปร่างคล้ายกิเลนนี้ในเรื่องด้วย คือ ม้ามังกร หรือ ม้านิลมังกร นั่นเอง



สัตว์เทพเจ้าในตำนานของจีน
มังกร

ในประเทศจีนคนโบราณมีความเชื่อกันว่า มังกร คือสัตว์ที่ทรงพลังและศักดิ์สิทธิ์แห่งฟ้าและดิน ได้รับการกล่าวกันว่ามีความเป็นมิตร มากกว่าความร้ายกาจ เป็นสัญลักษณ์ที่นำมาซึ่งความสุข และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง

    พบมังกรได้ที่่?แม่น้ำและทะเลสาบ
    มังกรชอบที่จะอยู่ท่ามกลางสายฝน
    มังกร?ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างกฎแห่งความใจบุญ เสริมสร้างความมั่นใจ และ ความเชื่อมั่นให้แก่กษัตริย์ในราชวงศ์ชิง
    กษัตริย์จะนั่งบนบัลลังก์มังกร เดินทางโดยเรือมังกร เสวยอาหารบนโต๊ะมังกร และ บรรทมบนเตียงมังกร
    มังกรจีน จะมีโหนกอยู่บนหัวซึ่งทำให้สามารถบินได้
    โหนกที่อยู่บนหัว เรียกว่า เชด เม่อ (ch?ih muh)
    แต่ถ้า มังกรจีน ตัวใดไม่มีโหนกที่บริเวณหัว จะกำคทาเล็ก ๆ ที่เรียกว่า โพ เชน (po-shan) ซึ่งสามารถทำให้มังกรลอยตัวในอากาศได้?

ตามความเชื่อของชาวจีนโบราณนั้น จะมีสัตว์ศักดิ์สิทธิ์อยู่ 4 ชนิด คือ กิเลน หงส์ เต่า และ มังกร โดยชาวจีนจะเชื่อถือกันว่ามังกรนั้น เป็นสัตว์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้ง 4 ชนิดนั้น มังกรจีนหรือที่ชาวจีนเรียกกันว่า “เล้ง-เล่ง-หลง-หลุง” ชาวจีนถือว่ามังกรนั้นเป็นสัญลักษณ์ของพลัง อำนาจ ความยิ่งใหญ่ และ เพศชาย

ตามตำนานในสมัยโบราณของจีน มี เจ้าแม่นึ่งออ หรือ หนี่วา มีลักษณะลำตัวเป็นคน แต่หัวเป็นงู ซึ่งในบางตำราก็มีการบอกต่อ ๆ กันมาว่าว่ามีลำตัวตัวท่อนบนเป็นคน แต่ท่อนล่างเป็นงู เมื่อเจ้าแม่นึ่งออสิ้นอายุไข นางได้ตายไปแล้วเป็นเวลา 3 ปี แต่ศพของนางกลับไม่เน่าเปื่อย และเมื่อมีคนลองเอามีดผ่าท้องของนางดู ก็ปรากฏมีมังกรเหลืองตัวหนึ่งพุ่งออกมาแล้วเหาะขึ้นฟ้าไป

ตามตำราดึกดำบรรพ์ของจีนกล่าวกันว่า มังกรจีนนั้น ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในสมัยของ พระเจ้าฟูฮี,ฟูซี หรือฟูยี (หรือเมื่อประมาณ 3,935 ปีก่อนพุทธกาล) มีตำนานกล่าวกันไว้ว่า มีมังกรอยู่ตัวหนึ่งเป็นเจ้าเหนือน่านน้ำทั้งปวงเป็นระยะเวลาหลายพันปี ซึ่งแท้จริงแล้วมังกรตัวนั้นก็คือ พระเจ้าฟูฮี แปลงร่างนั่นเอง พระเจ้าฟูฮีนั้นป็นผู้ที่มีความสามารถเป็นอย่างมาก ทรงคิดประดิษฐ์ของหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น “โป๊ย-ก่วย” หรือ ยันต์แปดทิศ อีกทั้งยังทรงเป็นผู้กำหนดการที่ให้ชายหญิงมีการมั่นหมายกันเป็นคู่ครองอีกด้วย



สัตว์เทพเจ้าในตำนานของจีน
” เต่ามังกร “?

เต่ามังกร สัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง อายุยืน สุขภาพดี ตั้งใจ มุมานะ นำไปสู่ความก้าวหน้า?ความสำเร็จ อย่างมั่นคง ยืนยาว และรวมถึงความเพิ่มพูนด้านทรัพย์สินเงินทอง และป้องกันคุ้มภัยจากสิ่งชั่วร้าย

    เต่า?เป็นตัวแทนของความยั่งยืน แข็งแรง อดทน มีเกราะป้องกันอันตราย
    มังกร คือ ความยิ่งใหญ่ ความดีงาม ความกล้าหาญ วาสนาบารมีสูงส่ง จึงถือเป็นมงคลสูงสุด
    เมื่อสัตว์มงคลทั้งสองชนิดมารวมกัน (เต่ามังกร)?ซึ่งเป็นสุดยอดปรารถนาของชาวจีนในอดีต และเป็นที่เชื่อถือมาจนถึงปัจจุบัน

เต่ามังกร?เป็นสัตว์เทพที่มีพลังอำนาจ เป็นที่ศรัทธาสูงสุดของราชวงศ์ถัง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ถังได้สร้างรูปปั้นเต่ามังกรไว้หน้าพระราชวัง และเป็นความเชื่อสืบต่อกันมาของชาวจีน?เพราะมีความเชื่อว่า เต่ามังกร เป็นลูกตัวที่ ๙ ของ พญามังกร ซึ่งออกมาเป็นเต่าหัวเป็นมังกร??



สัตว์เทพเจ้าในตำนานของจีน
สัตว์เทพประจำทิศใต้ในคติจีน “?หงส์ “

หงส์ เป็น เจ้าแห่งปักษา และเป็นสัตว์มงคลชนิดหนึ่งของจีนมาแต่โบราณ มีรูปลักษณ์เดิมมาจากนกหลากหลายชนิด อาทิ ไก่ฟ้า ห่านฟ้า นกกระจอก เหยี่ยวนกกระจอก นกนางแอ่นฯลฯ มีความหมายที่ดี 5 ประการ คือมีคุณธรรม, ความยุติธรรม, ศีลธรรม, มนุษยธรรม, สัจธรรม?ในตำนานกล่าวว่า

    หงส์ มีรูปคล้ายไก่ฟ้า
    มีสีขนสลับลายเป็นประกาย มีนิสัยรักสะอาด ช่างเลือก (มีความละเอียดอ่อนประณีต)
    เนื่องจากรูปลักษณ์เป็นนก ประจำทิศใต้ ธาตุไฟ สีแดง จึงได้ชื่อว่า หงส์แดง
    หงส์ ชาวจีนเรียกว่า หง มีความหมายว่า ความสวย ความสง่างามเพศหญิง
    หงส์ มีหัวสีแดง จะเป็นหงส์ตัวเมีย
    หงส์ หัวสีเขียวหรือสีน้ำเงิน จะเป็นหงส์ตัวผู้

โดยนำเอานก 5 ชนิดมาผสมกันเป็น?หงส์

    หัว มาจาก ไก่ฟ้า
    ปาก มาจาก นกแก้ว
    ตัว มาจาก เป็ดแมนดาริน
    ขา มาจาก นกกระสา
    หาง มาจาก นกยูง

บางตำราจึงได้แบ่งนกหงส์ออกเป็น 5 ชนิด คือ ชนิดขนแดง ขนสีม่วง ขนสีเขียว ขนสีเหลือ และขนสีขาว และชนิดสีขาวเรียกกันโดยทั่วไปว่า ห่านฟ้า?ภายหลังได้รับอิทธิพลจากความเชื่อลัทธิเต๋า จากสัตว์เทพค่อยวิวัฒนาการเป็นรูปลักษณ์ของครึ่งคนครึ่งสัตว์ จากนั้นกลายเป็นเทพที่มีรูปเป็นหญิง



สัตว์เทพเจ้าในตำนานของจีน
” สิงโตมงคล คู่บารมี?”?

สิงโตเป็นสัตว์มงคล ที่มีลักษณะแห่งความเป็นเจ้า โดยสามารถใช้ สิงโตมงคล?เพื่อสลายพลังปราณชี่พิฆาตต่างๆ และช่วยเรียกโชคลาภได้ แต่เนื่องจาก สิงโต มีพลังมากจึงไม่เหมาะที่จะใช้กับบ้านอยู่อาศัยทั่วไป แต่เหมาะที่จะใช้สำหรับห้างร้าน บริษัท หรือสถานที่ราชการ

    สิงโตตัวที่อยู่ตำแหน่งเสือขาว (หันหน้าออกด้านขวามือ) มีบรรดาศักดิ์เป็น “เส้าเป่า”?เป็นสิงโตเพศเมีย มีหน้าที่เป็นราชองครักษ์ให้กับเจ้าชายของราชวงศ์?
    สิงโตตัวที่อยู่ตำแหน่งมังกรเขียว (หันหน้าออกทางซ้ายมือ) มีบรรดาศักดิ์เป็น “ไท่ซือ” เป็นสิงโตเพศผู้?มีหน้าที่เป็นราชองครักษ์ของกษัตริย์ หรือ ฮ่องเต้ ดังนั้นแม้แต่เชื้อพระวงศ์ หรือ บรรดาขุนนางชั้นผู้ใหญ่ยังต้องให้ความเกรงใจและเกรงกลัว
    รูปปั้น?สิงโตมงคล?จะต้องวางเป็นคู่ โดยวางสิงโตเพศผู้ไว้ทางซ้าย และ เพศเมียไว้ทางขวาที่บริเวณหน้าประตูของสถานที่นั้นๆ?ให้หันหน้าออกไปทางด้านหน้า?
    วิธีสังเกตุเพศของ สิงโตมงคล?คือ สิงโตเพศผู้ เท้าหน้าจะเหยียบลูกบอล และ สิงโตเพศเมีย เท้าหน้าจะเหยียบลูก
    คนจีนเรียกสิงโตว่า “ซือจือ” คำแรกในชื่อของสิงโตนี้?
    ปรากฏว่าไปพ้องเสียงกับคำว่า “ซือ” ที่ประกอบอยู่ในคำว่า “ไทซือ” อันแปลว่า มหาเสนาบดี?

ในสมัยราชวงศ์โจ้วนั้น “ตำแหน่งไทซือ” เป็นตำแหน่งที่ขุนนางชั้นสูงสุด เมื่อคนจีนจะอวยพรกันให้เป็นใหญ่เป็นโต หรือได้ดีในทางราชการ จึงนำ?สิงโตมาใช้เป็นสัญลักษณ์ คำอวยพรหนึ่งที่ชอบกันมาก คือ ไท่ซือเส้าซือ แปลว่า ขอให้เป็นใหญ่ทั้งบิดา และ บุตร?

นอกจากนี้ สิงโต จะเป็นเครื่องหมายของความรุ่งเรืองและความมียศถาบรรดาศักดิ์ ยังมีอำนาจขจัดปีศาจและสิ่งชั่วร้าย ทั้งยังช่วยให้มีฐานะ?และชื่อเสียง สิงห์คู่ช่วยป้องกันสิ่งเลวร้ายที่เข้ามาสู่ภายในบ้าน จะช่วยคุ้มครองให้ร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากการรบกวนของภูตผีปีศาจ?คุณไสยมนต์ดำและคนพาล และจะช่วยหนุนส่งวาสนาให้รุ่งเรืองขึ้นด้วย เพิ่มพลังอำนาจให้แก่บ้าน?



สัตว์เทพเจ้าในตำนานของจีน
ปี่เซี๊ยะ ( เทพร่ำรวย )

ปี่เซี๊ยะ เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์?ปี่เซียะ ปี่ คือตัวผู้ ส่วนเซียะคือตัวเมีย สองเขาจะเรียกว่าปี่เซียะ ส่วนเขาเดียวจะเรียกว่าเทียนลก ทางเหนือของจีนจะเรียกว่า ปี่เซียะ ส่วนทางใต้จะเรียกว่า เทียนลก ถ้าเป็นตัวเดียวจะเป็นตัวเสี่ยงโชค แต่ถ้าเป็นคู่สำหรับวัตุถุมงคล สำหรับขจัดสิ่งชั่วร้ายคนจีนสมัยก่อนจึงมักเขียนภาพ หรือตั้งปติมากรรม รูป ปี่เซี๊ยะ ไว้ตามประตูบ้าน และสุสานทั่วไป บางทีก็ประดับไว้บนหลังคาพระราชวังต่าง ๆ เพื่อให้มันช่วยขจัดสิ่งอัปมงคลทั้งหลายนั้นเอง ว่ากันว่ามีพลังในการกำราบสิ่งชั่วร้าย

    สำเนียงจีนกลาง เรียก?ปี่เซี๊ยะ
    สำเนียงแต้จิ๋ว เรียก ผี่ชิว
    สำเนียกกวางตุ้ง เรียก เพเย้า
    หรืออาจเรียกในชื่ออื่น ๆ เช่น เถาปก หรือ ฝูปอ?นี้เป็นคำเรียกรวม ๆ ของ สิ่งซิ้วสัตว์ศักดิ์สิทธิ์
    คำว่าปี่ หรือ ผี่ นั้น แปลว่า ปิด เร้นลับหลบซ่อน
    คำว่า ปี่เซี๊ยะ หรือ ชิว คือ อาถรรพณ์ สิ่งไม่ดี คุณไสย ภูติปีศาจ
    คำว่าปี่เซี๊ยะ หรือ ผี่ชิว จึงแปลได้ว่า ขจัดอาถรรพณ์



ปัจจุบัน พีซิว ตัวดังกล่าว ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวัน

ปี่เซี๊ยะ คือ เทพลก กวางสวรรค์มี 1 เขา มีปากไม่มีทวาร เชื่อกันว่าทรัพย์มีแต่เข้าไม่มีออก ร้านค้าหรือธนาคารนิยมมีไว้ บูชาเพื่อเก็บกักเงินทองไม่ให้รั่วไหลขจัดสิ่งอัปมงคล ว่าเทพเซียนปี่เซี๊ยะจะลงมาคุ้มครองและให้โชคลาภนับแต่นี้ไปอีก 20 ปี

    ตระกูลหนึ่งใน จดหมายเหตุฮั่นชุ ในภาคที่ว่าด้วย ดินแดนทางประจิมทิศ มีข้อความระบุไว้ว่า?“ในแคว้นหลีแถบเขาอูเกอซาน นั้นมีสัตว์ตระกูลนี้ปรากฏอยู่ลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย นั้นคือ เทียจนลก เทียนหลู่ ตัวคล้ายกวาง หางยาว มีเขาเดียว “

มีตำนานเล่าขานในทางมงคลถึง พีซิว มากมายโดยเฉพาะเรื่องราวในยุคต้นราชวงศ์ ?ชิง? (ราชวงศ์แมนจู) เล่ากันว่า เมื่อยุคเฉียนหลงฮ่องเต้ ครั้งยังเป็นองค์รัชทายาท เรียกกันว่า ?องค์ชายสี่? มีนักพรตท่านหนึ่งนำ พีซิว มามอบให้ โดยกำชับให้หมั่นดูแลทะนุถนอม พีซิวจักคุ้มครอง ปกป้องภัย และส่งพลังให้ขึ้นสู่ราชบัลลังก์ ซึ่งองค์ชายสี่ก็ได้ทำตามนั้น จวบจนต่อมาได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์จึงพระราชทานยศตำแหน่งแก่ พีซิว นาม ?เทียนลู่? (บารมียศแห่งสวรรค์) และอยู่คู่เฉียนหลงฮ่องเต้ตลอดรัชสมัย 60 ปีที่ครองราชย์ ซึ่งนับเป็นระยะเวลาแห่งการครองราชย์อันยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน




ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 26, 2014, 09:58:33 am »

สัตว์มงคลของ จีน

-http://www.oknation.net/blog/print.php?id=146312-

จากอดีตกาลจนถึงปัจจุบันร่วมนับพันปี ได้มีการใช้รูปปั้นสัตว์มงคล เพื่อเป็นการส่งเสริมพลังปราณชี่รุ่งเรือง และเพื่อต่อต้านพลังปราณชี่พิฆาต โดยการจัดตั้งรูปปั้นสัตว์มงคลไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสม เช่น การตั้งรูปปั้นสิงโต ด้านหน้าสถานที่ราชการ เพื่อเป็นการเพิ่มบารมี บ้านตระกูลสูงศักดิ์ตั้งรูปปั้นกิเลน เพื่อเพิ่มความน่าเกรงขาม หรือบ้านที่อยู่อาศัยตั้งรูปปั้น คางคก 3 ขา เต่า กระเรียน เพื่อช่วยคุ้มครองความปลอดภัย และเพิ่มโชคลาภให้ผู้ที่อยู่อาศัย เป็นต้น

รูปปั้นสัตว์มงคลที่นิยมนำมาใช้ ได้แก่ มังกร(เล้ง) กิเลน(ลิ้ง) กวางสวรรค์(ผี่ซิ่ว) เต่า(กู) สิงโต(ไซ) ช้าง(เฉีย) ไก่(โกย) คางคก 3 ขา(เซี้ยมซู้ หรือ กัปป้อ) นกกระเรียน(เฮาะ) กวาง(เค็ก) เป็ดแมนดาริน(อวงเอีย) และปลาหลีฮื้อ(ลี้ฮื้อ)

สัตว์แต่ละชนิดก็มีคุณลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นควรระมัดระวัง ในเรื่องของการจัดตั้งให้เหมาะสม เพราะถ้าเลือกใช้ผิดประเภท แทนที่จะเป็นการเพิ่มบารมี และทรัพย์สินเงินทอง กลับจะได้รับเคราะห์ภัย



- มังกร
ในสมัยโบราณฮ่องเต้ของชาวจีนนั้น เปรียบเสมือนกับมังกร ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สูงศักดิ์ มังกรกับคนมีความเกี่ยวพันกันมาก ชาวจีนโบราณเชื่อกันว่า มังกรสามารถควบคุมปริมาณน้ำของแผ่นดินได้ ดังนั้นในยามที่แห้งแล้งกันดาร หรือในยามที่ฝนตกหนัก ก็จะทำพิธีขอฝนกับมังกร หรือขอให้ฝนหยุดตก
เนื่องจากมังกรเป็นสัตว์ที่สูงศักดิ์ จึงมีความเชื่อกันว่ามังกรจะนำความสูงศักดิ์มาสู่ผู้คน

ถ้าจะกล่าวถึงมังกรในด้านของชัยภูมิ ตำแหน่งมังกรเขียว -บริเวณด้านซ้ายของบ้าน (หันหน้าออกไปทางหน้าบ้าน) เป็นตัวแทนของความดี ถ้าในตำแหน่งมังกรเขียวเสียหาย หรือด้อยกว่าตำแหน่งเสือขาว -บริเวณด้านขวาของบ้าน จะทำให้เจ้าของบ้านประสบกับอุปสรรคต่างๆนานา ได้รับความกดดันจากผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงาน

วิธีการแก้ไขก็คือการจัดตั้งรูปปั้นมังกรไว้ที่ตำแหน่งมังกรเขียวให้วางหันหน้าออกไป
ทางหน้าบ้าน เพื่อเป็นการส่งเสริมตำแหน่งมังกรเขียวให้ดีขึ้น ทั้งนี้รูปปั้นมังกรสามารถสลายพลังปราณชี่พิฆาตได้ด้วย เช่น ปราณชี่พิฆาตจากลม หรือของแหลมทิ่มแทง รวมทั้งสลายปราณหยิน เช่น สุสาน วัด โรงพัก เรือนจำ และโรงพยาบาล



- ไก่
เป็นสัตว์มงคล ที่สามารถนำมาใช้เพื่อสลายพลังปราณชี่พิฆาต ในลักษณะของหนอนพิฆาต เช่น บ้านที่สามารถมองเห็นเสาอากาศ ที่มีสายไฟระโยงระยาง เสาไฟฟ้าแรงสูง หรือเสาทีวีที่มีรูปทรงคล้ายหนอนหรือตะขาบ โดยมองจากทางหน้าต่างหรือประตูบ้าน

ซึ่งลักษณะของหนอนพิฆาตนี้จะส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านมีเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วย และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ พลังปราณชี่หนอนพิฆาตเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยการตั้งรูปปั้นไก่ให้หันหน้าไปยังปราณชี่พิฆาตนั้นๆ แต่เนื่องจากว่าไก่เป็นนักษัตรที่ไม่ถูกกับคนปีเถาะ ดังนั้นบ้านที่มีคนปีเถาะอยู่ควรหลีกเลี่ยงการใช้



- กิเลน
เป็นสัตว์มงคลที่ล่ำลือกันมานาน เป็นสัตว์ที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตาปราณี ชอบส่งมอบความสุขให้กับผู้คน เล่ากันว่ากิเลนเป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร เป็นสัตว์ที่ไม่เบียดเบียนชีวิตของสัตว์โลกทั้งหลาย แม้กระทั่งเวลาเดินยังระมัดระวัง ไม่เหยียบย่ำสัตว์เล็ก
เล่ากันว่ากิเลนเคยปรากฎตัวบนโลกมนุษย์ครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ปรมาจารย์ขงจื้อกำเนิด กิเลนปรากฎ กำเนิดซึ่งนักปราชญ์ กิเลนได้นำความสุข ความมงคลมาสู่โลกมนุษย์

กิเลนประพฤติต่อมนุษย์ใน 2 ลักษณะ คือ ถ้าเป็นคนที่มีจิตใจดี กิเลนจะสงสารและให้ความช่วยเหลือ แต่ถ้าเป็นคนที่มีจิตใจชั่วร้าย กิเลนก็จะโต้ตอบ เหมือนดั่งศัตรู เนื่องจากคุณลักษณะดังกล่าวของกิเลน การจัดตั้งรูปปั้นกิเลนจึงต้องพิจารณาว่าตนเองเป็นบุคคลประเภทใด

การจัดวางรูปปั้นกิเลนสามารถสลายพลังปราณชี่พิฆาต และสามารถแก้ไขให้โชคชะตาดีขึ้นได้ ในกรณีที่มีพลังพิฆาตหน้าประตูบ้าน เช่น สุสาน วัด โรงฆ่าสัตว์ ทางน้ำพุ่งชน ถนนพุ่งชน โค้งตีจาก หรือ พลังลมพิฆาต วิธีการวางกิเลนหนึ่งคู่ไว้ที่ข้างประตูจะสามารถขจัดความเลวร้ายที่จะมาสู่บ้านได้

ในกรณีที่ตำแหน่งมังกรเขียวของบ้านอ่อนแอและตำแหน่งเสือขาวรุ่งเรือง ก็สามารถแก้ไขได้โดยการตั้งวางกิเลนหยกหนึ่งตัว ไว้ที่ตำแหน่งเสือขาวโดยหันหน้าออกทางหน้าบ้าน



- เซี้ยมซู้
มีเรื่องเล่าอยู่ว่า หนึ่งในศิษย์โปรดของท่านลื่อต่งปิง (เซียนท่านหนึ่งในบรรดาแปดเซียน) ซึ่งเป็นปรมาจารย์สำนักแชเซี้ยไผ่ ชื่อว่า เหล่าไหเซี้ยม ท่านเป็นผู้ที่มีวิชาอาคมแก่กล้า ชอบช่วยเหลือชาวบ้าน และสามารถปราบอสูรและสยบมารได้ มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านเหล่า ไหเซี้ยมได้ปราบมารตนหนึ่ง ที่แปลงกายมาจากคางคกสามขา สีทอง หลังจากที่คางคกสามขาถูกสยบแล้ว ก็ได้กลับตัวกลับใจ และขอติดตามรับใช้ท่านเหล่าไหเซี้ยม เนื่องจากท่านเหล่าไหเซี้ยม ชอบช่วยเหลือคนยากคนจน ด้วยการแจกเงินแจกทอง ประจวบกับที่คางคกสามขา มีความสามารถในการคายเงินคายทองออกจากปากได้ คางคกสามขาจึงได้ติดตามท่านเหล่าไหเซี้ยม ไปแจกเงินแจกทองและช่วยเหลือผู้คน
คางคกสามขานิยมใช้ในหมู่คนค้าขาย เพื่อเพิ่มพูนเงินทองให้กับเจ้าของกิจการ ควรจะใช้คางคกสามขาที่เป็นสีทอง หรืออาจจะเป็นคางคกสามขาที่ทำจากหยก เพราะหยกถือว่าเป็นสิ่งของที่มีค่า แต่อย่างไรก็ดีหยกก็เทียบค่าของทองไม่ได้

เนื่องจากคางคกสามขา สามารถคายเงินคายทองได้ จึงเหมาะที่จะตั้งไว้ในลิ้นชักเก็บเงิน หรือบนตู้เก็บเงิน การเปิดลิ้นชักหรือตู้เก็บเงินแต่ละครั้ง หมายถึงการคายเงินคายทองออกมาทุกครั้ง จุดที่ควรระวังคือ อย่าหันหน้าคางคกสามขาออกไปทางหน้าบ้าน หรือ หน้าร้าน เพราะว่าจะทำให้เงินทองรั่วไหล



- นกกระเรียน
จัดว่าเป็นสัตว์มงคลที่มีความหมายที่ดีอีกอย่างหนึ่ง การใช้นกกระเรียนจะช่วยส่งเสริมให้อายุยืน สุขภาพร่างกายแข็งแรง หน้าที่การงานราบรื่น และส่งเสริมการเรียนให้ดี ดังนั้นถ้าตั้งนกกระเรียนไว้ในบ้านก็จะส่งผลให้ คนสูงอายุในบ้านมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง หากมีคนเจ็บไข้ได้ป่วยก็จะหายป่วย คนหนุ่มคนสาวจะมีหน้าที่การงานที่ดีและราบรื่นไม่มีอุปสรรค และเด็กเล็กมีการเรียนที่ดี



- กวาง
เป็นสัตว์มงคลอีกประเภทหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในทางฮวงจุ้ย เชื่อว่ากวางจะช่วยให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา และเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งมีศรีสุข หากบ้านไหนเกิดมีเรื่องคดีความ หรือคนอาศัยภายในบ้านมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน ก็สามารถใช้รูปปั้นกวางเพื่อช่วยทุเลาปัญหาลงได้

การจัดตั้งรูปปั้นกวาง ไม่ควรหันหน้าออกไปทางหน้าบ้าน ควรจะหันหน้าเข้าในบ้าน เพราะกวางจะได้ช่วยนำสิ่งมงคลเข้าสู่บ้าน ทั้งนี้สามารถที่จะตั้งรูปปั้นกวางไว้ที่ตำแหน่งเดียวกันกับ ฮก ลก ซิ่วได้



- เป็ดแมนดาริน
จัดเป็นอุปกรณ์ฮวงจุ้ยอีกชนิดหนึ่ง เป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและการครองคู่ ถ้าวางรูปปั้นหรือติดภาพวาดเป็ดแมนดารินไว้ในบ้าน ก็จะช่วยส่งเสริมความรักของคู่สามีภรรยา และให้ครองชีวิตคู่กันตลอดไป ข้อสำคัญของการใช้เป็ดแมนดารินคือ จะต้องวางเป็นคู่ หรือถ้าเป็นภาพวาด จะต้องเป็นภาพของเป็ดคู่



- ปลาหลีฮื้อ
ก็จัดว่าเป็นสัตว์มงคลที่นำมาเป็นอุปกรณ์ฮวงจุ้ย เป็นที่นิยมในหมู่คนค้าขาย เพื่อช่วยเพิ่มโชคลาภ ทำให้ค้าขายดี ถึงแม้ว่าจะเป็นคนทำงานเงินเดือนประจำก็สามารถวางปลาหลีฮื้อไว้ที่บ้านเพื่อให้มีโชค
มีลาภได้เช่นกัน
การวางปลาหลีฮื้อสามารถช่วยผ่อนปัญหาความทุกข์ยาก คดีความ หรืออาการเจ็บไข้ได้ป่วยได้ ควรจะวางปลาหลีฮื้อให้หันหัวเข้าในบ้าน จะได้นำความโชคดีและความเป็นศิริมงคลเข้ามาสู่บ้านด้วย



- เต่า
ที่ประเทศจีน ในอดีตเมื่อหลายพันปี มีการค้นพบแผนผังลั่วซูบนหลังเต่าที่ขึ้นมาจากแม่น้ำลั่วหยาง และแผนผังนี้ก็ได้นำมาเป็นแผนผังโป่ยข่วย หรือ แผนผังแปดทิศ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
เนื่องจากเต่าเป็นสัตว์มงคลที่มีความเกี่ยวพันกับเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการนำรูปปั้นเต่ามาใช้เพื่อส่งเสริมความเป็นมงคลให้กับชีวิต และเพื่อหลีกเลี่ยงเคราะห์ภัยต่างๆ จึงนับได้ว่ารูปปั้นเต่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งสำหรับฮวงจุ้ย
เต่าเป็นสัตว์ที่อายุยืน ดังนั้นการวางรูปปั้นเต่าไว้ในบ้านจึงช่วยส่งเสริมให้คนสูงอายุในบ้านมีอายุยืน คนเจ็บคนไข้หายเจ็บป่วย คนหนุ่มคนสาวจะมีโชคมีลาภ และเด็กเล็กเจริญเติบโต ในขณะเดียวกันยังสามารถใช้เต่าเพื่อสลายพลังปราณชี่พิฆาตได้ด้วย โดยการตั้งเต่าให้หันหน้าไปยังทิศที่มีปราณชี่พิฆาตต่างๆ


- สิงโต
เป็นสัตว์มงคลที่มีลักษณะแห่งความเป็นเจ้า โดยสามารถใช้สิงโตเพื่อสลายพลังปราณชี่พิฆาตต่างๆ และช่วยเรียกโชคลาภได้ แต่เนื่องจากสิงโตมีพลังมากจึงไม่เหมาะที่จะใช้กับบ้านอยู่อาศัยทั่วไป แต่เหมาะที่จะใช้สำหรับห้างร้าน บริษัท หรือสถานที่ราชการ
ตามตำนานโบราณเล่าว่า สิงโตตัวที่อยู่ตำแหน่งเสือขาว (หันหน้าออกด้านขวามือ) มีบรรดาศักดิ์เป็น "เส้าเป่า" เป็นสิงโตเพศเมีย มีหน้าที่เป็นราชองครักษ์ให้กับเจ้าชายของราชวงศ์ และสิงโตตัวที่อยู่ตำแหน่งมังกรเขียว (หันหน้าออกทางซ้ายมือ) มีบรรดาศักดิ์เป็น "ไท่ซือ" เป็นสิงโตเพศผู้ มีหน้าที่เป็นราชองครักษ์ของกษัตริย์ หรือ ฮ่องเต้ ดังนั้นแม้แต่เชื้อพระวงศ์ หรือ บรรดาขุนนางชั้นผู้ใหญ่ยังต้องให้ความเกรงใจและเกรงกลัว
การวางรูปปั้นสิงโตจะต้องวางเป็นคู่ โดยวางสิงโตเพศผู้ไว้ทางซ้าย และเพศเมียไว้ทางขวาที่บริเวณหน้าประตูของสถานที่นั้นๆ ให้หันหน้าออกไปทางด้านหน้า วิธีสังเกตุเพศของสิงโตคือ สิงโตเพศผู้ เท้าหน้าจะเหยียบลูกบอล และสิงโตเพศเมีย เท้าหน้าจะเหยียบลูก



- ช้าง
เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างสูงใหญ่ มีนิสัยที่เป็นมิตรและไม่ดุร้าย เนื่องจากช้างเป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารจึงไม่คุกคามชีวิตสัตว์โลกอื่นๆ ในทางด้านของฮวงจุ้ยนำช้างมาใช้ในเรื่องของความสูงใหญ่ เปรียบเป็นภูเขาสูงใหญ่ที่มั่นคง
ตามหลักของฮวงจุ้ย โต๊ะทำงานของผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการควรอิงผนังทึบและเรียบ เพื่อให้เกิดความมั่นคง แต่ถ้าเกิดว่าสถานที่ทำงานนั้นไม่เอื้ออำนวยจำเป็นต้องนั่งอิงด้านที่เป็นหน้าต่างกระจก ควรจะปิดผ้าม่านให้ทึบและวางรูปปั้นช้างไว้ที่ด้านหลังที่นั่ง นอกจากนี้ยังสามารถใช้ช้างเพื่อสลายพลังปราณชี่พิฆาตได้ด้วย เช่นห้องทำงานที่มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม บังคับให้ต้องนั่งอิงมุมสามเหลี่ยมซึ่งหมายถึงความไม่มั่นคง และมุมแหลมทิ่มแทงเป็นปราณชี่พิฆาต ในกรณีนี้ก็สามารถนำรูปปั้นช้างมาใช้ได้เช่นกัน



- ผี่อิว (สำเนียงจีนแต้จิ๋ว) หรือ ผีซิว (สำเนียงจีนกลาง)
เป็นสัตว์ป่าที่มีรูปร่างคล้ายกับหมี มีลักษณะห้าวหาญ เปิดเผย ตรงไปตรงมา และดุดัน จึงมีการเปรียบเปรยกันว่า ผี่ฮิวคือ ทหารหาญที่ห้าวหาญ สามารถขจัดอสูรร้ายต่างๆได้
ด้วยลักษณะของผี่ฮิว จึงนิยมตั้งรูปปั้นผี่ฮิวเพื่อสลายพลังปราณหยิน และอสูรร้ายต่างๆ (รวมทั้งให้โชคให้ลาภ) ผี่ฮิวจะมีข้อแตกต่างกับกิเลนตรงที่ ผี่ฮิวไม่สนใจว่าคนไหนจะดีหรือร้าย ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าที่ทำกิจการ การค้าที่ถูกกฎหมาย หรือร้านค้าสถานบันเทิงเริงรมย์ บ่อนการพนัน ไนท์คลับ ก็สามารถตั้งรูปปั้นผี่ฮิวเพื่อให้โชคให้ลาภได้เช่นกัน



- กระจกเงา
การส่งเสริม หรือสลายพลังปราณชี่นั้นมีวิธีต่างๆ หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดวิธีหนึ่งก็คือ การติดตั้งกระจกเงา เพื่อดึงดูด ผลักสลาย หรือกดทับ พลังปราณชี่ กระจกเงาที่ใช้ในการแก้ไขฮวงจุ้ยนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ



1. กระจกเงานูน

มีคุณสมบัติในการสลายพลังปราณชี่พิฆาต จะนิยมใช้ในกรณีที่บ้านตั้งอยู่บริเวณทางสามแพร่ง หรือมีลูกศรแหลมพุ่งแทงเข้าหน้าประตูบ้าน ลักษณะดังกล่าวทำให้มีพลังปราณชี่พิฆาตพุ่งตรงเข้าบ้าน ความแรงของพลังปราณชี่พิฆาตจะส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยมีเรื่องเดือดร้อน บาดเจ็บ หรือประสบอุบัติเหตุ วิธีแก้ไขให้ติดกระจกนูนเหนือประตูบ้าน



2. กระจกเงาเว้า

มีคุณสมบัติในการดึงพลังปราณชี่มากดทับ จะนิยมใช้ในกรณีที่บริเวณข้างเคียงมีตึกสูงใหญ่มากกว่าตัวบ้าน ตั้งตระหง่านอยู่ บ้านที่เข้าลักษณะดังกล่าวจะถูกพลังของตึกสูงใหญ่ข่มทับ ส่งผลให้บุคคลภายในบ้านเจ็บป่วย การงานและโชคลาภจะติดขัด วิธีใช้ให้นำกระจกเว้ามาติดที่ผนังดาดฟ้า หันหน้ากระจกไปทางตึกใหญ่ ภาพที่ปรากฏในกระจกเว้าจะเป็นภาพตึกสูงใหญ่ตีลังกา



3. กระจกเงาเรียบ

มีคุณสมบัติดึงดูดพลังปราณชี่รุ่งเรืองเข้ามาเก็บ จะนิยมใช้ในกรณีที่ต้องการดึงพลังปราณชี่รุ่งเรืองเข้ามาเก็บไว้ เช่นในตำแหน่งที่ต้องการน้ำ แล้วบังเอิญมีธารน้ำไหลเข้าบ้านก็ให้ติดกระจกเรียบในตำแหน่งที่ต้องการน้ำ แล้วดึงภาพธารน้ำเข้ามาไว้ในบ้าน เท่ากับว่าบ้านมีดาวน้ำเคลื่อนไหว เป็นการกระตุ้นโชคลาภ ควรระวังอย่าติดกระจกเรียบดึงพลังที่ไม่ดีเข้าบ้าน



หมายเหตุ : ควรจะเลือกใช้กระจกที่มีขอบเป็นสีเหลือง เนื่องจากสีเหลืองเป็นสีของธาตุดินและกระจกเงาเป็นธาตุทอง ตามหลักแล้วธาตุดินเป็นธาตุที่ให้กำเนิดธาตุทอง ถ้าใช้สีของธาตุดินควบคู่กับธาตุทองจะทำให้กระจกมีพลังมากขึ้น

โดย นานาจิตตัง

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 26, 2014, 09:56:24 am »

สัตว์มงคลของจีน


สัตว์รูปคล้ายสิงโตที่เรียกว่า พีซิว มีตำนานเล่าขานในทางมงคลถึง พีซิว มากมายโดยเฉพาะเรื่องราวในยุคต้นราชวงศ์ “ ชิง” (ราชวงศ์แมนจู) เล่ากันว่า เมื่อยุคเฉียนหลงฮ่องเต้ ครั้งยังเป็นองค์ รัชทายาท เรียกกันว่า “องค์ชายสี่” มีนักพรตท่านหนึ่งนำ พีซิว มามอบให้ โดย กำชับให้หมั่นดูแลทะนุถนอม พีซิวจักคุ้มครอง ปกป้องภัย และส่งพลังให้ขึ้นสู่ราช บัลลังก์ ซึ่งองค์ชายสี่ก็ได้ทำตามนั้น จวบจนต่อมาได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์จึง พระราชทานยศตำแหน่งแก่ พีซิว นาม “เทียนลู่” (บารมียศแห่งสวรรค์) และอยู่คู่ เฉียนหลงฮ่องเต้ตลอดรัชสมัย 60 ปีที่ครองราชย์ ซึ่งนับเป็นระยะเวลาแห่งการครอง ราชย์อันยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน ปัจจุบัน พีซิว ตัวดังกล่าว ตั้งอยู่ ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวัน

.: ปลา - สัตว์มงคลจีน
:. ปลาเป็นสัญลักษณ์มงคลอย่างหนึ่งของชาวจีน เพราะคำว่า หยู ที่หมายถึงปลา พ้อง เสียงกับคำว่า หยู ที่หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ปลาจึงเป็นสัญลักษณ์ของความ มั่งคั่ง ภาพเด็กกับปลา มีความหมายว่า "ขอให้จงมีความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์จากลูก ชายที่ได้รับตำแหน่งสูงขึ้น" นอกจากอาหารอย่างอื่นแล้ว ชาวจีนนิยมใช้ปลาเป็นเครื่องเซ่นไหว้เทพเจ้าด้วย ใน ภาคกลางของจีนมีการใช้หัวปลา เพื่อเซ่นไหว้เทพเจ้าแห่งความมั่งคั่งร่ำรวย ด้วย ความเชื่อว่าเป็นการเริ่มต้นของความมั่งคั่ง และปลายังเป็นอาหารที่นิยมปรุงรับ ประทานในตอนปีใหม่สำหรับผู้คนทั่วไปด้วย IPB Image



ปลาคาร์พ (หลี่)
ชาวจีนเรียกปลาคาร์พว่า หลี่ เนื่องจากคำนี้มีเสียงใกล้กับคำว่า ลี่ ที่หมายถึง ผลกำไร หรือประโยชน์ ปลาคาร์พจึงเป็นสัญลักษณ์ของความปรารถนาจะได้ผลกำไรหรือ ประโยชน์จากการทำธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีแนวคิดเพิ่มเติมว่าปลาชนิดนี้สามารถ กระโดดขึ้นไปทางตอนบนของแม่น้ำเหลือง (ที่ประตูมังกร) ได้ ความพยายามเช่นนี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับความสำเร็จใน การสอบเข้ารับราชการ การประสบความสำเร็จดังกล่าวนี้นับว่ายิ่งใหญ่ และต้องการ การเตรียมตัวที่ยาวนาน ด้วยเหตุนี้ปลาคาร์พจึงเป็นสัญลักษณ์ของความอดทนและมั่น คง ส่วนหนวดปลานั้นเป็นเครื่องหมายของพลังอำนาจเหนือธรรมชาติ และพลังวิเศษ ภาพ ชาวประมงกำลังขายปลาแก่หญิงและลูก แสดงความปรารถนาจะมีรายได้ที่ดี และมีความ ก้าวหน้าในสังคม ส่วนภาพหญิงสาวมีสาวใช้อีกคนยืนอยู่ริมน้ำ พร้อมถังบรรจุปลา คาร์พซึ่งพยายามกระโดดออก เป็นการอวยพรให้ผู้รับภาพนี้ได้มีอำนาจเหนือผู้คนทั่ว ไป และภาพเด็ก ปลาคาร์ม และดอกบัว หมายถึง "ของจงมีบางสิ่งอยู่ทุกปี)



ปลาทอง (จิน หยู)
คนจีนชอบปลาทองมาก และเลี้ยงไว้ในอ่างในบ้าน หรือในสระที่สวนของวัด คำว่าปลาทอง ในภาษาจีนมีเสียงพ้องกับคำที่หมายถึง "มีทองล้นหลาม" ปลาทองจึงมักจะเป็นของขวัญ สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่นิยมมอบให้กันในวันมงคลต่างๆ เมื่อวาดภาพปลาทองและดอกบัว ไว้ด้วยกัน จะหมายถึงทองคำและหยกอยู่ด้วยกัน ภาพปลาทองคู่เป็นสัญลักษณ์ของความ เติบโต แต่ปลาทองอาจใช้เป็นตัวแทนของคนรักของแม่ม่ายหรือผู้ชายแมงดา

ปลาไหล (ซ่าน)
มี ตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งน้ำท่วมโลก อำมาตย์คนหนึ่งผู้รับใช้จักรพรรดิกงกงใน ตำนานเทพ เป็นผู้พลิกแก้สถานการณ์น้ำท่วม และที่แท้เขาก็คือปลาไหล อีกตำนานซึ่ง เหลืออยู่เพียงบางส่วนในปัจจุบัน กล่าวว่า เทพเจ้าแห่งน้ำแยงชีใช้ปลาไหลอุดรู รั่วของเรือ นอกจากนี้ ชาวจีนเชื่อว่าการกินปลาไหล จะต้องกินส่วนอื่นๆ แล้วค่อย ตัดหัวปลา และหากนำหัวปลานี้ไปด้วย จะมีเงินทองไหลมาเทมา และยังจะชนะพนันทั้ง ปวงด้วย



หงส์ - สัตว์มงคลจีน

:. หงส์ของจีน ถือเป็นสัตว์ในเทพนิยายที่มีลักษณะแปลกประหลาดมาก เป็นนกที่มี คุณลักษณะเหนือธรรมชาติ เพราะแม้จะมีรูปร่างเป็นนกแต่เป็นนกที่พิเศษสุด เนื่อง จากเอาลักษณะบางอย่างมาจาก นกเหยี่ยว นกอินทรี ไก่ฟ้า นกยูง นกตะกรุม นกกระสา นกกระยางขาวใหญ่ และนกอื่นๆ อันล้วนเป็นนักชั้นยอด เป็นนกวิเศษเหนือนกทั้งปวง เป็นราชาแห่งนก มีสีสันสวยงาม เป็นหนึ่งตามจินตนาการและความเชื่อของคนจีน หงส์เป็นสัตว์สิริมงคลและศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัตว์ที่คนจีนมีความปีติชื่นชอบมาก ที่สุดชนิดหนึ่ง มีรูปร่างสวยงาม สะโอดสะอง มีความอ่อนหวาน มีบุคลิกสีสันคล้าย ผู้หญิง มีความสุภาพเป็นผู้ดี ชาวจีนเรียกว่า "เฟิ่งหวง" หงส์เป็นดั่งเทพเจ้า สามารถหยั่งรู้ความสุข ความทุกข์ ความวุ่นวายในโลกมนุษย์ได้ หงส์จึงมักจะมา ปรากฏตัวต่อเมื่อบ้านเมืองสงบสุข แผ่นดินมีคนดีมาเกิด ตามความเชื่อเรื่องสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำทิศของคนจีน หงส์เป็นสัตว์ที่มี หน้าที่ประจำอยู่ทิศใต้ เป็นสัญลักษณ์แห่งฤกษ์งามยามดีในวิถีชีวิตของคนจีน จึง กลายเป็นปกติสามัญที่จะได้พบรูปหงส์ในงานศิลปะจีนและในงานหัตถกรรมทั่วไป และมี คำกล่าวอวยพรที่ได้ยินอยู่เสมอ เช่น "ขอเทพเจ้ามังกรและเทพหงส์อำนวยพรให้ท่านจง โชคดี" IPB Imageตามหลักฮวงจุ้ย หงส์เป็นนกที่มีความศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ 1 ใน 4 ชนิดที่ถูกกำหนดให้ดูแลรักษาทิศใหญ่ของโลก กล่าวคือ หงศ์สีแดงเข้มอยู่ประจำทิศ ใต้ มังกรสีฟ้าสดหรือสีน้ำเงินอยู่ประจำทิศตะวันออก เสือขาวอยู่ประจำทิศตะวันตก และเต่าดำหรืองูดำอยู่ประจำทิศเหนือ

คุณลักษณะของหงส์
กล่าวกันว่า หงส์ เป็นนกที่เกิดจากการปรุงแต่งขึ้นมาจากนกที่มีความสำคัญหลาย ชนิดด้วยกัน คือ
หัว ได้รับอิทธิพลแบบอย่างมาจากไก่ฟ้า
หงอน ได้มากจากนกเป็ดหงส์
จงอยปาก ได้มาจากนกนางแอ่น
หลัง ได้มาจากเต่า
หาง ได้มาจากสัตว์จำพวกปลา

ซึ่ง นับว่าแปลกมากที่ได้แบบอย่างมาจากสัตว์น้ำด้วย มิใช่เอามาจากสัตว์ปีก เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม โดยมากเราก็จะเห็นหงส์มีส่วนประกอบของนกยูง และไก่ฟ้า หางยาวอยู่เป็นอันมาก ดังจะพบว่ามีจำนวนหลายสี และเป็นมันเลื่อมสวยงามตลอดทั้ง ตัว ขนส่วนหางมี 12 เส้น และขนหางแต่ละขนมี 5 สี คือ แดง ม่วง เขียว เหลือง และ ขาว บางตำราจึงได้แบ่งนกหงส์ออกเป็น 5 ชนิด คือ ชนิดขนแดง ขนสีม่วง ขนสีเขียว ขนสีเหลือ และขนสีขาว และชนิดสีขาวเรียกกันโดยทั่วไปว่า ห่านฟ้า ชาวจีนเรียกหงส์ว่าเฟิ่งหวง เป็นนกที่มีความสูงราว 5 ศอก หากดูด้านหน้าคล้ายกับ ห่านป่า มองด้านหลังคล้ายกับกิเลนหรือสัตว์ผสมลูกครึ่ง ส่วนคอดูคล้ายกับงูคือ กลมเรียวยาว มองหางคล้ายกับหางปลา ขนดูคล้ายเกล็ดมังกร ส่วนหลังดูคล้ายเสือ เหนียงคอดูคล้ายนกนางแอ่น ลำคอและจงอยปากคล้ายไก่ตัวผู้ หงส์ตามปกติจะหากินอยู่บนภูเขาในป่าไกลโพ้น เรียกกันว่า "เขาแดง" คล้ายในป่า หิมพานต์ไม่มีใครไปถึง เป็นนกที่ไม่กินแมลงที่มีชีวิต ไม่จิกกินต้นไม้อ่อนที่ ยังเขียวสดอยู่ จะกินอาหารเพียงแต่เมล็ดดอกต้นไผ่เท่านั้น และกินน้ำหวานที่เกิด ขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ มีเสียงร้อยคล้ายกับเสียงสวรรค์อันแปลกประหลาด บ้างว่าคล้าย เสียงขลุ่ย ไม่อยู่เป็นกลุ่มหรือเป็นฝูง ไม่บินเร่ร่อนไปในที่ต่างๆ อาศัยอยู่ แต่เพียงบนต้นไม้ซึ่งมีชื่อว่า ต้นหวู-ถุง ซึ่งแวดล้อมตกแต่งด้วยดอกไม้รูป คล้ายกระดิ่ง ใบใหญ่ ใบมันจะงอกแตกโตเร็วและร่วงในฤดูในไม้ร่วง ออกผลแพร่พันธุ์ ในช่วงทำขนมไหว้พระจันทร์ หรือเทศกลางกลางฤดูใบไม้ร่วงเดือน 8

หงส์ เป็นนกที่สามารถหยั่งรู้ความเป็นไปในโลกล่วงหน้า จนกระทั่งเมื่อยามใดบ้าน เมืองมีสันติสุขอย่างแท้จริง หงส์จึงจะออกมาปรากฏตัวให้เห็นในเส้นทางที่ไม่มี ใครรู้ร่องรอย และขณะเมื่อหงส์บินออกมานั้นจะมีบรรดานกต่างๆ บินตามมาเป็นขบวน เป็นฝูงใหญ่ยาวมาก หงส์มีความเมตตากรุณาคล้ายกิบกิเลน ไม่เคยเจ็บป่วยเป็น อันตรายใดๆ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษอาจทำอันตรายได้

หงส์มีอายุยืนยาวประมาณ 500 ปี จากนั้นก็จะบินตรงไปยังดวงอาทิตย์เพื่อให้ความ ร้อนแผดเผาร่างกายเป็นเถ้าถ่าย เป็นการบูชายันต์ตนเอง หงส์หนุ่มสาวเมื่อเกิดมา ได้ 3 วัน มันก็จะบินจากไปอาศัยอยู่ที่อื่นเป็นอิสระโดดเดี่ยว จนกว่าจะมีอายุ ได้ 500 ปี จึงสิ้นอายุขัย ด้วยเหตุนี้นกหงส์จึงถือว่าเป็นผลิตผลจากดวงอาทิตย์ และไฟ

ความหมายสิริมงคลของหงส์
หงส์ของจีนเป็นสัญลักษณ์แห่งดวง อาทิตย์และความอบอุ่นสำหรับฤดูร้อนและฤดูเก็บ เกี่ยวพืชไร่ และเป็นเครื่องหมายที่คุณงามความดี ตามนิทานเล่าว่า หงส์มาปรากฏ ตัวในครั้งที่นักปราชญ์ขงจื๊อเกิดพอดี หงส์ได้กลายเป็นส่วนร่วมของการทำพิธี เคารพบูชาระหว่างสมัยราชวงศ์ฮั่น และการกล่าวอ้างการมาเยือนของหงส์เกิดขึ้น บ่อยๆ เพื่อการที่จะป่าวประกาศว่าการปกครองแผ่นดินในแต่ละรัชกาลนั้นประผลสำเร็จ ด้วยดี จึงมีคำกล่าวเกี่ยวกับหงส์หลายสำนวน เช่น หงส์สำแดงฤทธิ์เหมือนผู้นำมาซึ่งการเกิดอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ หงส์จะลงสู่พื้นดินเพียงแต่เมื่อมีบางสิ่งที่แวดล้อมอยู่นั้นมีค่าพอ หงส์นำมาซึ่งความมั่งคั่งโภคทรัพย์ เมื่อหงส์ปรากฏโลกจะยินดีต่อสันติภาพอันยิ่งใหญ่ และสะดวกสบาย สัญลักษณ์ลักทธิเต๋า คือ สัญลักษณ์หงส์เก้าตัวสำหรับทำลายล้างความสกปรก
สัญลักษณ์งานมงคลสมรสหงส์คู่มังกร

มี การจัดคู่สัตว์ที่แน่นอนตามรูปแบบสัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคลในวัฒนธรรม จีน ที่สำ คัญที่สุดกว่าอะไรทั้งหมด คือ คู่ของมังกรกับหงส์พร้อมด้วยไข่มุก ซึ่งจะเห็น บ่อยครั้งในบัตรเชิญแต่งงาน สิ่งสำคัญอย่างแท้จริงในสัญลักษณ์หงส์กับมังกรคือ " หงส์คู่มังกรขอให้มีโชคลาภสถาพร"

สาเหตุที่ใช้หงส์คู่มังกรในพิธี แต่งงานของชาวจีน คือ มังกรเป็นภาพสมมติให้เป็น สัญลักษณ์ของเพศชายผู้มีพลังอำนาจ ขณะที่หงส์เป็นตันแทนแห่งเพศหญิง อันถือเป็น การแสดงความเคารพต่อเจ้าบ่าวและเจ้าสาว ในการจับคู่เปรียบเทียบที่ได้จากหงส์และ มังกรมี 5 ประการ คือ มังกร (ด้านซ้าย) หงส์ (ด้านขวา) ความรู้หรือความฉลาด ความงดงาม นิ่มนวล ประสบการณ์ เป็นธรรมชาติ การฝึกหัด มีเหตุผล ความสุขุม ความสามารถทางเสี่ยงโชค ความอดทน มีชีวิตอันควรเคารพ

ที่มา : -http://heyhaparty.blogspot.com/2007/11/blog-post_15.html-

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 26, 2014, 09:52:27 am »

มังกรจีน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาบทความนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก)

-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99-

ชนิดของมังกรจีน

มังกรจีน

คนจีนมีคติความเชื่อว่ามังกรของจีนแต่สมัยโบราณนั้นสามารถแบ่งแยกออกเป็น 9 ชนิด การแบ่งชนิดของมังกรนั้นในแต่ละตำราก็มีการแบ่งที่แตกต่างกันออกไป บางตำราบอกว่าแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ

    มังกรแท้ ชิวเล้ง เป็นมังกรขนาดใหญ่ มีเขาและปีก เป็นพวกที่มีอำนาจมากที่สุด เป็นใหญ่เหนือมังกรทั้งปวง อาศัยอยู่บนฟ้าหรือบนสวรรค์
    มังกร หลี่ หรือ ลี่ เป็นมังกรไม่มีเขา อาศัยอยู่ในมหาสมุทร
    มังกร เจี่ยว หรือ เฉียว เป็นพวกมังกรมีเกล็ด อาศัยตามลุ่มหนองหรือถ้ำตามภูเขา มีขนาดตัวเล็กกว่ามังกรที่อยู่บนท้องฟ้า มีหัวและลำคอเล็ก ไม่มีเขา หน้าอกเป็นสีเลือดหมูหรือสีน้ำตาลเข้ม ด้านข้างลำตัวและสันหลังมีลายแถบเป็นสีเขียวและสีเหลือง มี 4 ขา ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับงู มีลำตัวยาวประมาณ 13 ฟุต บางตำราบ่งบอกไว้ชัดเจนว่า หลง เป็นมังกรแห่งสวรรค์ หลี่ เป็นมังกรแห่งทะเล และเจี่ยว เป็นมังกรแห่งภูเขาและที่ลุ่ม

บางตำราได้เพิ่มลักษณะของมังกรจีนพื้นถิ่นเดิม ก่วย เป็นมังกรที่มีลักษณะทั่วไปคล้ายมังกรแท้ บุคลิกดูใจดี กล่าวกันว่ามันมีอำนาจที่เข้มแข็งในการต่อต้านกับความโลภและกิเลสทั้งปวง ชาวจีนนิยมนำมาเขียนเป็นลวดลายบนภาชนะสำริดยุคโบราณต่าง ๆ มังกรจีนทั้ง 9 ชนิดนั้นมีการผูกลายกันอย่างมากมายหลากหลายชนิด ตั้งแต่พระราชวังที่ประทับของฮ่องเต้ วัดและเคหสถานของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ตลอดไปจนถึงข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ มังกรจีนเป็นมังกรที่มีศักดิ์ศรี มีการแบ่งชั้นวรรณะกันอย่างชัดเจน ได้แก่
มังกรสวนนิ

เป็นมังกรที่ใช้สลักบนบัลลังก์ขององค์พระประติมากรรม และใช้แทนฐานรูปสิงโต
มังกรเฉาฟง

เป็นมังกรที่ใช้สลักบนสถาปัตยกรรมชายคา โบสถ์
มังกรฟูเหลา

เป็นมังกรที่ใช้ประดับบนยอดระฆังและกลอง ซึ่งเป็นเครื่องเสียงที่ใช้สำหรับต่อสู้หรือใช้ในการประกอบพิธีการที่สำคัญ
มังกรไยสู

เป็นมังกรที่ใช้สลักบนฝักดาบ บนกระบังดาบ และบริเวณใบดาบ รวมทั้งใบง้าว
มังกรฉีเหวิน

เป็นมังกรที่ใช้ประดับบนชื่อสะพาน เพราะมังกรฉีเหวินเป็นมังกรน้ำและยังใช้สลักบนบริเวณหลังคาอาคารสถาปัตยกรรม เพื่อปัองกันไฟอีกด้วย แต่บางครั้งก็จะย่อให้เหลือแต่ส่วนหางเท่านั้น จึงกลายเป็นปลามังกร หางปลา
มังกรปาเซียน

เป็นมังกรที่ใช้สลักที่บริเวณส่วนล่างของสถาปัตยกรรม เชื่อกันว่ามังกรปาเซียนนั้นจะสามารถช่วยพยุงน้ำหนักได้ ซึ่งเหมือนกันคนไทยที่มักจะใช้ยักษ์และคนแคระ ในการช่วยพยุงน้ำหนัก หรือบางครั้งก็จะใช้สิงห์แบกแทน
มังกรฉิวนิว

เป็นมังกรที่ใช้สลักบนลูกปิดของ"ซอ"เพราะมังกรฉิวนิวนั้นชอบฟังเพลง
มังกรปิกัน

เป็นมังกรที่ใช้สำหรับสลักบนประตูคุก เพื่อป้องกันการทะเลาะวิวาทของเหล่านักโทษ มังกรปิกันเป็นมังกรที่รักในการใช้พละกำลัง เป็นการแสดงความดุร้าย ซึ่งนักเลงมักจะนิยมสักมังกรชนิดนี้ไว้ที่บริเวณแขน หน้าอกและบริเวณกลางหลัง บางคนก็สักไว้ที่หน้าขาและที่อื่น ๆ นักเลงพวกนี้มักจะสักมังกร "คุก" และเรียกขานกันว่า พวก ตั้วหลักเล้ง จะใช้เป็นสัญลักษณ์

พญามังกร

เป็นมังกร 4 ตัว ซึ่งปกครองอยู่เหนือทะเลทั้งสี่ คือทะเล ตะวันออก(ตัง) ,ใต้(น่ำ) ,ตะวันตก(ไซ) และเหนือ(ปัก) พญามังกรอาศัยอยู่ในปราสาทมหาสมุทรหรูหรา(วังใต้ทะเล) และกินไข่มุกเจียงตู หรือไข่มุก และโอปอล เป็นอาหาร และพญามังกรทั้งสี่ตัวเป็นพี่น้องกัน บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่ามังกร 4 ตัวนี้มีผู้ควบคุมชื่อ ฉิน แท็ง (Chien-Tang) เป็นมังกรที่มีสีแดงเลือด มีแผงคอเป็นไฟ และยาว 900 ฟุต
ลักษณะของมังกรจีน
ลักษณะของมังกรจีนที่เกิดจากจินตนาการ

คนจีนแทนลักษณะเฉพาะของมังกร 9 อย่าง ตามประเพณี แต่ละอย่างแสดงถึงลักษณะของมังกรที่แตกต่างกัน ลักษณะของ มังกรจีนในงานด้านจิตกรรมประติมากรรมของจีน ซึ่งใช้ในเวลาและโอกาสที่ต่างกัน คือ

    ลักษณะหัวของมังกร คล้ายกับหัวของอูฐ บางตำราก็บอกว่ามาจากหัวม้าหรือหัววัวหรือหัวจระเข้
    ลักษณะหนวดของมังกร คล้ายกับหนวดของมนุษย์
    ลักษณะเขาของมังกร คล้ายกับเขาของกวาง มังกรจะมีเขาได้ก็ต่อเมื่อมีอายุ 500 ปี และเมื่ออายุถึง 1,000 ปี ก็จะมีปีกเพิ่มขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง
    ลักษณะตาของมังกร คล้ายกับตากระต่าย บางตำราบอกว่ามาจากตาของมารหรือปีศาจหรือตาของสิงโต
    ลักษณะหูของมังกร คล้ายกับหูวัว แต่ไม่สามารถได้ยินเสียง บางตำราก็ว่าไม่มีหู บางตำราบอกว่ามังกรได้ยินเสียงทางเขาที่เหมือนเขากวางนั้น
    ลักษณะคอของมังกร คล้ายกับคองู
    ลักษณะท้องของมังกร คล้ายกับท้องกบ บางตำราบอกว่ามาจากหอยแครงยักษ์
    ลักษณะเกล็ดของมังกร คล้ายกับเกล็ดปลามังกร บางตำราว่ามาจากปลาจำพวกตะเพียนหรือกระโห้ โดยมังกรจะมีเกล็ดตลอดแนวสัน-หลัง จำนวน 81 เกล็ด มีเกล็ดตามลำคอจนถึงบนหัว บนหัวมังกรมีรูปลักษณะเหมือนสันเขาต่อกัน เป็นทอดๆ
    ลักษณะกงเล็บของมังกร คล้ายกับกงเล็บของเหยี่ยว จำนวนเล็บของมังกรแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน มังกรที่ยิ่งใหญ่จึงจะมี 5 เล็บ นอกนั้นก็จะเป็น 4 เล็บหรือ 3 เล็บ
    ลักษณะฝ่าเท้าของมังกร คล้ายกับฝ่าเท้าของเสือ

ลักษณะของมังกรจีน สัญลักษณ์แห่งเทพเจ้าที่จีนให้ความเคารพนับถือ ลักษณะของมังกรเกิดจากจินตนาการโดยการรวมเอาลักษณะของสัญลักษณ์เผ่าต่างๆมารวมกัน มีความแตกต่างกันตามคติความเชื่อถือและการประดิษฐ์ของช่าง มีกาลเทศะและวาสนาแตกต่างกันไปตามความเชื่อของคตินิยมแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งว่ากันว่ามังกรของจีนนั้นมี 9 ท่า 9 สี คำว่า หลง ในภาษาจีนกลางหมายถึงมังกรที่มีลักษณะดังนี้

    มังกรมีเขา หรือหลง เป็นลักษณะของมังกรที่มีเขาเหมือนกับกวางดาว ซึ่งคนญี่ปุ่นถือว่ากวางเป็นสัตว์ที่มาจากฟากฟ้าแดนสวรรค์ มีอำนาจมากที่สุดสามารถทำให้เกิดฝนได้ และหูหนวกโดยสิ้นเชิง อินเดียนแดงถือว่ากวางเป็นสัตว์ที่เป็นอมตะนิรันด์กาล แต่คนไทยกลับนิยมกินเนื้อกวาง ซึ่งจะชำแหละเนื้อไว้กินและหนังจะส่งขายให้กับประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำไปทำเป็นซับในของเสื้อเกราะญี่ปุ่นซึ่งหนังกวางนั้นเป็นสินค้าส่งออกที่มีความสำคัญของไทยมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

    มังกรมีปีก หรือหว่านซี่ฟ่าน เป็นมังกรฝรั่งที่สามารถพ่นไฟ ได้ คนฝรั่งนิยมที่จะนำมังกรมีปีกนี้มาประกอบฉากเป็นพาหนะของผู้ร้ายหรือเป็นตัวแทนของมังกรที่ดุร้าย แต่ในสมัยราชวงศ์หมิง คนจีนนำมังกรชนิดนี้มาทำเป็นลวดลายบนถ้วยข้าวต้ม

    มังกรสวรรค์ หรือเทียนหลง มีชื่อเรียกว่า มังกรฟ้า เป็น มังกรในหาดสวรรค์ บางครั้งก็จะเป็นพาหนะของเทพเจ้าเทวาในลัทธิเต๋า คนจีนมีความเชื่อกันว่า มังกรเทียนหลงนี้เป็นมังกรที่ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองปราสาทราชวังของเทพเจ้าบนสรวงสรรค์ และเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของฮ่องเต้อีกด้วย

    มังกรวิญญาณเฉียนหลง หรือหลีเฉี่ยวหลง เป็นมังกรที่บันดาลให้เกิดลมฝนเพื่อประโยชน์ต่อการเกษตรและมนุษยชาติของชาวจีน แต่โบราณ มังกรหลีเฉี่ยวหลงนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของจักรราศีอีกด้วย

    มังกรเฝ้าทรัพย์ หรือฟูแซง เป็นมังกรบาดาล มังกรฟูแซงนี้น่าจะเป็นคติของอินตู้หรืออินเดียมากกว่าของจีน ซึ่งชาว กรีก โบราณเองก็มีความเชื่อกันในเรื่อง "มังกรบาดาล" เช่นกัน ความเชื่อเกี่ยวกับมังกรบาดาลนี้เป็นความเชื่อและคติที่เก่าแก่มาก

    มังกรขด ไม่มีฝอย เป็นมังกร "หด" ธรรมดา

    มังกรเหลือง เป็นมังกรจ้าปัญญา ทำหน้าที่คอยหาข้อมูลให้กับจักรพรรดิฟูใฉ่ที่เป็นตำนาน

    มังกรบ้าน หรือลี่หลง เป็นมังกรที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรและในทะเล บางตำนานเรียกว่า ไซโอ๊ะ มีเกล็ดปกคลุมทั่วทั้งตัว มักอาศัยอยู่ในหนองน้ำใกล้ ๆ กับถ้ำที่มีอากาศอับชื้น

    พญามังกร คือมังกร 4 ตัว ซึ่งปกครองอยู่เหนือทะเลทั้งสี่ คือทะเล ตะวันออก (ตัง),ใต้ (น้ำ), ตะวันตก (ไซ) และเหนือ (ปัก) พญามังกรอาศัยอยู่ในปราสาทมหาสมุทรหรูหรา(วังใต้ทะเล) และกินไข่มุกเจียงตู หรือไข่มุก และโอปอล เป็นอาหาร และพญามังกรทั้งสี่ตัวเป็นพี่น้องกัน บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่ามังกร 4 ตัวนี้มีผู้ควบคุมชื่อ ฉิน แท็ง (Chien-Tang) เป็นมังกรที่มีสีแดงเลือด มีแผงคอเป็นไฟ และยาว 900 ฟุต

มีการบรรจุคำว่ามังกรลงในพจนานุกรมของประเทศจีน มีความหมายว่า "มังกรเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด มีลักษณะหัวคล้ายหัวอูฐ มีเขาคล้ายเขากวาง ดวงตาคล้ายกับดวงตาของกระต่ายป่า หูของมันคล้ายหูวัว ปีกของมันคล้ายนกอินทรี มีลำคอยาวคล้ายงู ช่วงท้องมีลักษณะคล้ายกบ รูปร่างของมันคล้ายกับปลาตัวใหญ่ เท้าคล้ายกับเท้าเสือ เสียงของมันคล้ายเสียงตีฆ้อง เมื่อมันหายใจ ลมหายใจของมันมีลักณะคล้ายเมฆ ซึ่งบางครั้งก็ออกมาเป็นฝน บางครั้งก็เป็นเปลวไฟ"



ลูกหลานของมังกรจีนทั้ง 9 ชนิด คือ เล้งแซเก้าจื้อ ตามตำนานได้บอกไว้ว่า มังกรได้ให้กำเนิดลูกหลานไว้ 9 ชนิด ซึ่งสัตว์ทั้ง 9 ชนิดนี้มีรูปร่างลักษณะที่พิเศษแตกต่างกันออกไป แต่เนื่องจากหลังฐานได้สูญหายไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่าตัวใดเป็นลูกของตัวใด ตัวใดเป็นตัวผู้หรือตัวใดเป็นตัวเมีย อย่างไรก็ตามต่อมาชาวจีนได้นำสัตว์ทั้ง 9 ชนิดมาวาดเป็นลวดลายไว้ในสิ่งของต่างๆเพื่อเสริมความเป็นมงคลตามลักษณะพิเศษของสัตว์ชนิดนั้นๆ ซึ่งลวดลายลูกหลานมังกรทั้ง 9 ชนิด คือ

    ลายรูปปู่เหลา ชาวจีนมักปั้นเป็นหูของระฆัง หรือทำเป็นลายสลักอยู่บนยอดสุดของฆ้องหรือระฆัง สื่อให้เห็นลักษณะที่ชอบร้องเสียงดังของมังกรจีน เวลาที่ถูกปลาวาฬจู่โจม อันเป็นศัตรูตัวสำคัญ
    ลายรูปจิวหนิว เป็นลายที่สลักอยู่บนก้านบิดของซอสำหรับทดสอบเสียง
    ลายรูปปาเซีย เป็นรูปสลักบนยอดหินจารึก แสดงถึงว่ามังกรจีนชนิดนี้ชอบในวรรณคดี เป็นเครื่องหมายแสดงแทนเต่าทั้งเพศผู้และเพศเมีย ซึ่งก้มหัวลงต่ำแสดงถึงความเศร้าโศก และยังถูกนำไปทำเป็นฐานของเสาหิน หรือรูปสลักสำหรับหลุมฝังศพ เป็นเทพเจ้าแห่งแม่น้ำ เป็นสัตว์ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความเข้มแข็งอดทน
    ลายรูปปู-เซีย เป็นรูปสลักที่อยู่ก้นของอนุสาวรีย์หิน มีความหมายถึงให้ช่วยแบกรับน้ำหนักที่มากไว้
    ลายรูปเจ้าเฟิง เป็นรูปลักษณะที่อยู่บนชายคาโบสถ์วิหาร เพื่อสะท้อนความที่มังกรจีนนั้นพอใจต่ออันตรายทั้งหลาย
    ลายรูปฉี-เหวิน เป็นลายรูปที่สลักอยู่บนคานสะพาน เนื่องจากเป็นมังกรที่ชอบน้ำ จึงถูกสลักไว้บนยอดจั่วของอาคารเพื่อป้องกันไฟ มังกรจีนชนิดนี้ชอบจ้องมองออกไปข้างนอก ดังนั้นสัญลักษณ์ของมังกรจึงเป็นรูปปลายกหางขึ้นฟ้า
    ลายรูปส้วน-นี่ เป็นลายรูปที่อยู่บนยอดอาสนะของพระพุทธรูป มีนิสัยชอบพักผ่อน ตำราบอกไว้ว่าเป็นพวกเดียวกับซีจู หรือสัญลักษณ์รูปสิงโต
    ลายรูปไย่จู เป็นรูปลายที่สลักอยู่บนด้ามดาบ เพราะเป็นมังกรที่ชอบการฆ่าฟัน
    ลายรูปปี๋-กัน เป็นลายรูปที่สลักอยู่ตามประตูคุก เพราะเป็นมังกรที่ชอบขึ้นศาลต่อสู้คดี ทะเลาะวิวาท มีพละกำลัง ความเข้มแข็ง และดุร้ายมาก เป็นสัตว์ที่มีเกล็ดและมีเขาหนึ่งเขา

มังกรจีนสัญลักษณ์ของจักรพรรดิ




มังกร 5 เล็บ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิประดับบนฉลองพระองค์ ภาพนี่เป็นรูปภาพของ จักรพรรดิเสียนเฟิง ซึ่งเป็นพระสวามีของ พระนางซูสีไทเฮา

มังกรจีนโดยเฉพาะมังกร 5 เล็บจะถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิหรือฮ่องเต้แห่งประเทศจีน โดยมีหงส์เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดินี เนื่องมาจากตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า หงส์เป็นพาหนะของพระแม่ซิหวั่งหมู่ ซึ่งเป็นเจ้าแม่ผู้ปกครองภูเขาคุนหลุน ซึ่งถ้าเทียบตามศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เขาคุนหลุนก็คือเขาพระสุเมรุของไทย ตามนิทานแล้วเจ้าแม่ซิหวั่งหมู่เป็นผู้ปกครองสวรรค์ฝั่งตะวันตกคู่กับเง็กเซียนฮ่องเต้ที่ปกครองสวรรค์ฝั่งตะวันออก เหมือนกับที่องค์จักรพรรดิเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองแต่องค์ฮองเฮาเป็นผู้ปกครองวังหลัง คอยให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนในด้านต่าง ๆ

มังกรเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิจีน แต่การใช้มังกรเป็นลวดลายประดับบนเสื้อนั้นเป็นการแสดงถึงความสูงต่ำของตำแหน่ง ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

    รูปมังกร 5 เล็บ เป็นมังกรหลวงที่ใช้กับสมเด็จพระจักรพรรดิและองค์ชายในลำดับที่ 1 และ 2 เท่านั้น
    รูปมังกร 4 เล็บ เป็นมังกรทั่วไปที่ใช้กับองค์ชายในลำดับที่ 3 และ 4 องค์ชายลำดับที่ 5 เป็นต้นไปรวมถึงข้าราชการชั้นธรรมดาใช้รูปคล้ายงูที่มีเล็บ 5 เล็บได้ บางตำราก็บอกว่าเป็นรูปมังกร 3 เล็บ

หลังปี ค.ศ. 1759 ได้มีการกำหนดสัญลักษณ์ไว้อย่างแน่ชัด คือ จักรพรรดิ ขุนนางชั้นอัครมหาเสนาบดี เสนาบดี และราชบุตรเขยพระองค์แรก เจ้าชายพระองค์แรก รูปมังกรจะมี 4 เล็บ อัครมหาเสนาบดีที่โปรดปรานจะได้รับการพิจารณาเพิ่มเล็บมังกรเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามการกำหนดชั้นฐานะก็มีเรื่องของสีเสื้อเข้ามาเกี่ยวด้วย สีของเสื้อที่จะใช้กับลายมังกรมีอยู่ 3 สีคือ

    สีแดง
    สีเหลือง
    สีน้ำเงิน

สีแดงนั้นใช้ในงานพิธีมีความหมายถึงความสุข สีเหลืองใช้เฉพาะจักรพรรดิและพระมเหสี (สีเหลืองเป็นสีของราชวงศ์ชิง แต่หลายความเห็บบอกว่าจีนน่าจะใช้สีเหลืองเป็นสีของพระเจ้าแผ่นดินมาตั้งแต่ยุคโบราณ เนื่องมาจากจีนมีความเกี่ยวข้องกับสีเหลืองมาตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็น ดินเหลือง แม่น้ำเหลือง ฯลฯ) สีน้ำเงินหมายถึงราชสมบัติและประเทศ

ฉลองพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดินจีนตอนพิธีราชาภิเษก เป็นผ้าปักไหมสีสันต่าง ๆ เป็นรูปมังกร 5 เล็บอยู่ตรงกลางด้านหน้า ข้างบนตัวมังกรเป็นกลุ่มดาว 3 ดวงที่ฮ่องเต้ต้องบวงสรวง ข้างขวาของตัวมังกรเป็นอักษรคำว่า "ฮก" หมายถึงความสุข ข้างซ้ายของตัวมังกรเป็นรูปขวานโบราณหมายถึงอำนาจ ในความเป็นจริงแล้ว องค์จักรพรรดิของจีนนอกจากจะเป็นผู้นำของประเทศแล้ว ยังเป็นผู้นำในทางศาสนาอีกด้วย ดังจะเห็นจากที่พระเจ้าแผ่นดินจะเป็นผู้นำในการทำพิธีต่าง ๆ ซึ่งตามคติโบราณที่ว่าแต่เดิมมังกรนั้นก็คือมนุษย์หรือเกิดมาจากมนุษย์(ดังที่กล่าวมาแล้วในเรื่องการกำเนิดมังกร) และรูปลักษณ์ของเทพเจ้าโบราณก็มีลักษณะเป็นครึ่งคนครึ่งมังกร มังกรจึงถูกนำมาเปรียบให้เป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์จีนนั่นเอง

อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น

    杨静荣 (Yang Jirong); 刘志雄 (Liu Zhixiong) (2008), 龙之源 (The Origin of the Dragon), 中国书店, ISBN 7806635513

   คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
Chinese dragons

A to Z Photo Dictionary of Japanese Buddhism, onmarkproductions.com

    Dragon Articles, Crystal Dragon of Taiwan, cdot.org
    Dragons in Ancient China, China the Beautiful, chinapage.com
    Eastern Dragon Overview, The Circle of the Dragon, blackdrago.com
    Forbidden City Dragon Wall panography, world-heritage-tour.org
    The Chinese Dragon, everythingdragons.com
    龙生九子, The Dragon's 9 Children (จีน), jsdj.com

Flag of the People's Republic of China.svg บทความเกี่ยวกับประเทศจีน ประวัติศาสตร์จีน หรือภาษาจีนนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล สถานีย่อย:ประเทศจีน


ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 26, 2014, 09:51:56 am »

มังกรจีน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาบทความนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก)

-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99-

มังกรจีน (อักษรจีนตัวเต็ม: 龍; อักษรจีนตัวย่อ: 龙; พินอิน: lóng; ฮกเกี้ยน:เล้ง) เป็นสัญลักษณ์โดดเด่นอันหนึ่งของจักรพรรดิและวัฒนธรรมจีน มีลักษณะที่มาจากสัตว์หลาย ๆ ชนิดผสมผสานกัน ลักษณะลำตัวยาวเหมือนงู มีเขี้ยวขนาดใหญ่หนึ่งคู่อยู่ที่บริเวณขากรรไกรด้านบน มีหนวดยาวลักษณะเหมือนกับไม้เลื้อย และมีแผงคอเหมือนกับของสิงโตอยู่บน คอ , คาง และข้อศอก มีเกล็ดสีเขียวเข้มทั่วทั้งบริเวณลำตัวรวมทั้งสิ้น 117 เกล็ด ซึ่งเกล็ดมังกรจำนวน 81 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยางซึ่งเป็นเกล็ดที่มีความดี เกล็ดมังกรจำนวน 36 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยินซึ่งจะเป็นเกล็ดที่มีความชั่ว ลักษณะเขาของมังกรจะมีสันหลังทอดยาวไปตามหลังและหาง เป็นหนามยาวและสั้นสลับกัน มีขา 4 ขาและกรงเล็บแข็งแรง

เกล็ดของมังกรจีนนั้น จะมีลักษณะเฉพาะเปลี่ยนไปตามแต่ละชนิดของมังกร ตั้งแต่สีเขียวเข้มจนถึงสีทอง หรือบางแหล่งกล่าวกันว่า มังกรจีนนั้นมีหลายสี เช่น สีน้ำเงิน สีดำ สีขาว สีแดง สีเขียว หรือสีเหลือง แต่ในกรณีของมังกรชนิด chiao หลังของมังกรจะเป็นสีเขียว บริเวณด้านข้างเป็นสีเหลือง และใต้ท้องเป็นสีแดงเข้ม มังกรจีนชนิดหนึ่งจะมีปีกที่ด้านข้างของลำตัว และสามารถที่จะเดินบนน้ำได้ แต่สำหรับมังกรจีนอีกชนิดหนึ่งเมื่อสะบัดแผงคอไปข้างหน้าและข้างหลัง จะทำให้เกิดเสียงที่ฟังดูเหมือนกับเสียงขลุ่ย

มังกรจีนจะมีโหนกอยู่บนหัวซึ่งทำให้สามารถบินได้ เรียกโหนกที่อยู่บนหัวว่า ch’ih muh แต่ถ้ามังกรจีนตัวใดไม่มีโหนกที่บริเวณหัว จะกำคทาเล็ก ๆ ที่เรียกว่า po-shan ซึ่งสามารถทำให้มังกรลอยตัวในอากาศได้(ปัจจุบัน ประเทศทางตะวันตก ก็เพิ่งเจอ วัตถุลึกลับบางอย่างสามารถลอยในอากาศได้เป็นระยะเวลาสั้นๆ) ในประเทศจีนคนโบราณมีความเชื่อกันว่ามังกรคือสัตว์ที่ทรงพลังและศักดิ์สิทธิ์แห่งฟ้าและดิน ได้รับการกล่าวกันว่ามีความเป็นมิตร มากกว่าความร้ายกาจ เป็นสัญลักษณ์ที่นำมาซึ่งความสุข และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง พบได้ใน แม่น้ำและทะเลสาบ ชอบที่จะอยู่ท่ามกลางสายฝน มังกรได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างกฎแห่งความใจบุญ และเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่กษัตริย์ในราชวงศ์ชิง กษัตริย์จะนั่งบนบัลลังก์มังกร เดินทางโดยเรือมังกร เสวยอาหารบนโต๊ะมังกร และบรรทมบนเตียงมังกร


มังกรจีนโบราณในตำนาน

ตำนานมังกรจีนโบราณมีอายุยาวนานกว่า 4,000 ปี ซึ่งลักษณะรูปร่างของมังกรจีนนั้น สุดแล้วแต่นักวาดรูปจะจินตนาการเสริมแต่งออกมา การขายจินตนาการของนักวาดรูปจะเขียนมังกรออกมาโดยยึดลักษณะรูปแบบที่เล่าต่อ ๆ กันมาคือ มังกรจีนจะมีลักษณะลำตัวที่ยาวเหมือนงู มีเกล็ดสีเขียว นัยน์ตาสีแดง มีหนวดและเขาอย่างละคู่ มีขา 4 ขาและกงเล็บที่แข็งแรง มังกรจีนโบราณถูกยกย่องว่าเป็นสัตว์เทพเจ้าซึ่งชาวจีนเคารพนับถือ เป็นสัตว์พาหนะของเทพเจ้าในลัทธิเต๋า ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองปราสาทราชวังของเทพเจ้าบนสวรรค์ มังกรจีนที่มีกงเล็บ 5 เล็บ ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ของจีนเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ มังกรบางตัวจะถือไข่มุกเม็ดใหญ่อยู่ที่ขาหน้า ครั้งหนึ่งคนเคยคิดว่าไข่มุกคือไข่ของมังกร มังกรบางชนิดวางไข่ในน้ำไหล

มังกรจีนในตำนานนั้น สามารถที่จะทำตัวเองให้มีขนาดใหญ่เท่ากับจักรวาล คนเปอร์เซียโบราณก็เชื่อเช่นนี้ หรือมีขนาดเล็กเท่ากับหนอนไหมได้ แต่เวลา สู้กับหงอคง ก็ควรจะแปลงร่างให้เล็กแล้วเข้าไปกัดลำไส้หงอคง หรือแปลงร่างเพื่อเขมือบหงอคงให้เป็นวุ้น และในบรรดาสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 ของจีน มังกรจีนถือเป็นสัตว์แห่งเทพเจ้า ได้รับความนับถือมากที่สุด มังกรจีนมีลักษณะนิสัยที่เมตตากรุณา เป็นมิตร ทะเยอทะยาน และมองโลกในแง่ดี นอกจากนี้ยังมีความฉลาด มีปัญญามาก มีความเด็ดขาด และมีพลัง มังกรจีนจึงเป็นที่ปรึกษาของผู้นำในด้านต่าง ๆ แต่มังกรจีนมีทิฐิในตัว จะถือตัวว่าถูกหมิ่นประมาทเมื่อผู้นำไม่ยอมทำตามคำแนะนำของมังกรจีน หรือเมื่อผู้คนไม่ให้เคารพความสำคัญ มังกรจีนจะทำให้ฝนหยุดตก หรือเป่าเมฆดำออกมาซึ่งจะนำพาพายุ และน้ำท่วมมาให้ ถ้าไปเป่าเมฆสีทองของหงอคงก็จะทำให้เมฆเปลื่ยนเป็นสีดำ และกลายเป็นฝน หงอคงก็จะเหินหาวไม่ได้ มังกรตัวเล็กก็ทำเรื่องยุ่งยากเล็ก ๆ เช่นทำหลังคารั่ว หรือทำให้ข้าวเกิดความเหนอะหนะ

มังกรจริง ๆ ในปัจจุบันก็คือซากของไดโนเสาร์ยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งกลายเป็นหิน ไข่ไดโนเสาร์ถูกค้นพบในหลายพื้นที่ในประเทศจีน ซึ่งขึ้นชื่อว่ามีไดโนเสาร์มากที่สุดในโลกในสมัยโบราณใช้ในการประกอบเป็นยาสมุนไพร เรียกกันว่า "ยากระดูกมังกร" ส่วนไข่ของมังกรจีนนั้นในสมัยเฉียนหลง ถือเอาไข่มังกรจีนเป็นเครื่องรางประจำราชสำนักภายในพระราชวังปักกิ่ง แต่ต่อมาเมื่อพระราชวังปักกิ่งแตก ไข่มังกรจีนก็ตกทอดมาจากประเทศจีนมาอยู่ที่ประเทศไทย

ซึ่งไข่มังกรที่ตกทอดมาอยู่ภายในประเทศไทยนั้น มีตำนานเล่าขานกันมาแต่โบราณว่า เมื่อคณะทูตหรือคณะผู้แทนจากประเทศจีนใช้เรือไฮจี่โดยการนำของ ยังชีขี มีผู้ติดตามมาด้วยจำนวน 449 คน มีทหารประจำเรือ 279 คน เพื่อขอเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งอภิเศกดุสิต เมื่อเวลาบ่ายโมงของวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 โดยมีพระยาบริบูรณโกษากรเข้าเฝ้าฯ และมอบหมายให้พระยาบริบูรณโกษากร หรือ ฮวด โชติกะพุกกณะ หรือเจ้าคุณกิมจึ๋ง เป็นผู้จัดการประสานงาน และเลี้ยงต้อนรับในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

ตามลักษณะของไข่มังกรที่สืบทอดกันมาเป็นตำนานนั้น มีลักษณะคล้ายกับลูกแก้วหินผลึกคล้ายคลึงกับลูกแก้วของหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดของประเทศไทยแต่ถูกตกแต่งด้วยการเลี่ยมและห่อหุ้มคล้ายกับห่อด้วยแก้วนั่นเอง ทำให้เรื่องของไข่มังกรจีนกลายเป็นเรื่องที่กล่าวขานกันพอสมควรในสมัยนั้น
กำเนิดมังกรจีน

ตามความเชื่อของชาวจีนโบราณนั้น จะมีสัตว์ศักดิ์สิทธิ์อยู่ 4 ชนิด คือ กิเลน หงส์ เต่า และมังกร โดยชาวจีนจะเชื่อถือกันว่ามังกรนั้น เป็นสัตว์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้ง 4 ชนิดนั้น มังกรจีนหรือที่ชาวจีนเรียกกันว่า "เล้ง-เล่ง-หลง-หลุง" ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการออกเสียงของในแต่ละท้องถิ่น ชาวจีนถือว่ามังกรนั้นเป็นสัญลักษณ์ของพลัง อำนาจ ความยิ่งใหญ่ และเพศชาย

เนื่องจากมังกรจีนเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัตว์แห่งเทพเจ้าในสรวงสวรรค์และเป็นตัวแทนของจักรพรรดิ ผู้เป็นโอรสจุติมาจากสวรรค์ ชาวจีนจึงมีความเชื่อว่าหากผู้ที่ได้พบเห็นมังกร จะถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองมาก ผู้ที่มีโอกาสจะได้ขี่หลังมังกรจะต้องเป็นคนมีศีล มีสัตย์ มีจิตใจบริสุทธิ์ดีงาม ถึงจะมีมังกรมารับไปเป็นเซียนอยู่บนสวรรค์ ในสมัยโบราณนั้นชาวจีนได้มีการจัดทำ ตำรามังกร ขึ้นมา ซึ่งเป็นการรวบรวมในรายละเอียดส่วนของประวัติ เผ่าพันธุ์และลักษณะของมังกรไว้อย่างละเอียดที่สุด แต่เนื่องมาจากตำราเหล่านั้นได้สูญหายไปตามกาลเวลาแล้ว การศึกษาเรื่องของมังกรจีนในปัจจุบัน จึงเป็นเพียงแค่การศึกษาจากหลักฐานต่าง ๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่และจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวจีนเท่านั้น

ตามตำนานในสมัยโบราณของจีน มี เจ้าแม่นึ่งออ หรือ หนี่วา มีลักษณะลำตัวเป็นคน แต่หัวเป็นงู ซึ่งในบางตำราก็มีการบอกต่อ ๆ กันมาว่าว่ามีลำตัวตัวท่อนบนเป็นคน แต่ท่อนล่างเป็นงู เมื่อเจ้าแม่นึ่งออสิ้นอายุไข นางได้ตายไปแล้วเป็นเวลา 3 ปี แต่ศพของนางกลับไม่เน่าเปื่อย และเมื่อมีคนลองเอามีดผ่าท้องของนางดู ก็ปรากฏมีมังกรเหลืองตัวหนึ่งพุ่งออกมาแล้วเหาะขึ้นฟ้าไป

ตามตำราดึกดำบรรพ์ของจีนกล่าวกันว่า มังกรจีนนั้น ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในสมัยของ พระเจ้าฟูฮี,ฟูซี หรือฟูยี (หรือเมื่อประมาณ 3,935 ปีก่อนพุทธกาล) ประมาณ 6,500 ปีมาแล้ว ก่อนไคโรอิยิปต์ มีตำนานกล่าวกันไว้ว่า มีมังกรอยู่ตัวหนึ่งเป็นเจ้าเหนือน่านน้ำทั้งปวงเป็นระยะเวลาหลายพันปี ซึ่งแท้จริงแล้วมังกรตัวนั้นก็คือ พระเจ้าฟูฮี แปลงร่างนั่นเอง พระเจ้าฟูฮีนั้นป็นผู้ที่มีความสามารถเป็นอย่างมาก เป็นพระเจ้าผู้สร้างหลักธรรมแห่ง หยิน-หยาง เป็นธรรมะอันแรกในโลก ทรงคิดประดิษฐ์ของหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น "โป๊ย-ก่วย" หรือ ยันต์แปดทิศ อีกทั้งยังทรงเป็นผู้กำหนดการที่ให้ชายหญิงมีการมั่นหมายกันเป็นคู่ครองอีกด้วย (ชาย1คน แต่งงานกับหญิง1คน)

ในหนังสือประวัติวัฒนธรรมจีนได้กล่าวกันไว้ว่า มังกรนั้นได้ถือกำเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอึ่งตี่ พระเจ้าอึ่งตี่, อึ้งตี่ หรือหวงตี้ ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ที่รวบรวมแผ่นดินจีนไว้เป็นผืนเดียวกัน โดยพระองค์ได้ทรงสร้างจินตนาการรูปมังกรขึ้นมา จากการรวมสัญลักษณ์ของเผ่าต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มังกรกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ว่าเผ่าต่าง ๆ ได้รวมกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว ตามตำนานกล่าวไว้ว่าเมื่อพระเจ้าอึ่งตี่สิ้นอายุไข ก็มีมังกรจากฟ้าลงมารับพระองค์และพระมเหสีขึ้นไปเป็นเซียนบนสวรรค์ โดยบางตำราได้กล่าวว่าพระองค์นั้นเป็นหวงตี้องค์เดียวกับที่ได้เป็นเจ้าสวรรค์ หรือเง็กเซียนฮ่องเต้ในเวลาต่อมา เพราะเหตุนี้ชาวจีนจึงถือว่ามังกรเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์และเป็นเจ้าแห่งสัตว์ทั้งปวง

คนจีนกับความเชื่อเรื่องมังกร
ตามความเชื่อของคนจีน การได้ขี่หลังมังกรถือเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของมังกรในคนจีนโบราณ เป็นความเชื่อเก่าแก่ตั้งแต่มนุษย์เริ่มที่จะรู้จักกับสัตว์เลี้อยคลานขนาดยักษ์ และให้ความเคารพยำเกรงดุจเทพเจ้า ซึ่งความเชื่อเหล่านี้มีอยู่ทั่วทุกแห่งหน ทุกชนชาติทั่วทั้งโลกที่มีประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ เช่น ประวัติศาสตร์ของยุคอียิปต์ ประวัติศาสตร์ของยุคกรีก ประวัติศาสตร์ของยุคโรมัน ประวัติศาสตร์ของยุคอินเดีย และประวัติศาสตร์ของยุคจีนซึ่งความเชื่อนี้สืบทอดกันมาตั้งแต่ความเชื่อเรื่องงูขนาดใหญ่ ที่สืบเนื่องยาวนานคู่กับมนุษย์โลกโดยเฉพาะชาวจีนแผ่นดินใหญ่

คนจีนโบราณจะเชื่อกันว่าน้ำลายของมังกรนั้น จะก่อให้เกิดลูกแก้ววิเศษที่เรียกกันว่า "ไข่มุกแห่งดวงจันทร์" และ "ไข่มุกแห่งความสมบูรณ์" จะบันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แห่งพืชพรรณธัญญาหาร เพาะปลูกสิ่งใดก็จะเจริญงอกงาม และยังเชื่อกันอีกว่าเลือดของมังกรจีนนั้น เมื่อไหลออกจากตัวของมังกรจีนจะแทรกซึมเข้าไปในแผ่นดินจีนและจะกลายสภาพเป็นอำพัน เมื่อมังกรลอกคราบจะทำให้เขาของมังกรเรืองแสงได้ มีพลังในตัวเป็นอย่างมากและส่องแสงสว่างในความมืด คล้าย ๆ กับความเชื่อเรื่องยาอายุวัฒนะของต้นโสม

คนจีนโบราณนับถือมังกรเป็นเทพเจ้า เชื่อกันว่ามังกรนั้นชอบนกนางแอ่นย่าง ดังนั้นก่อนเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล จึงต้องมีการพลีของถวายให้แก่มังกรเพื่อเป็นการเอาใจและขอให้เดินทางโดยปลอดภัย ตามความเชื่อของนักเดินเรือในสมัยโบราณ ซึ่งว่ากันว่ามังกรนั้น หวาดกลัวใบสนไหม 5 สี ขี้ผึ้ง เหล็ก และตะขาบ สำหรับไหม 5 สี นี้เป็นความเชื่อมาอย่างช้านานตั้งแต่สมัยโบราณ ในการออกเดิน เรือ ในทะเล คนจีนจะใช้ไหม 5 สี ผูกที่หัวเรือเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากมังกร ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นความเชื่อเกี่ยวกับ แม่ย่านาง แทน แม่ย่านางของนักเดินเรือชาวจีนคืออมนุษย์เทพเจ้าองค์เล็ก ประจำท้องถิ่นในแต่ละแห่งที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการแต่งกายของแม่ย่านาง การผูกไหม 5 สีที่หัวเรือนี้ เป็นการเคารพ แม่ย่านาง หรือ เจ้าแม่ทับทิม (เทพยดาหม่าโจว) คือเทพธิดาในลัทธิเต๋า ที่นักเดินเรือทั้งหลายให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับนายพลเรือเจิ้งเห่อ หรือแต้ฮั้ว ผู้เป็นใหญ่แห่งราชวงศ์หมิง ในยุคสมัยขององค์จักรพรรดิหย่งเล่อ

มังกรจีนเป็นสัตว์เทพเจ้าที่อยู่บนสรวงสวรรค์ตามความเชื่อของชาวจีน เปรียบเหมือนสัญลักษณ์ของชนชาติจีน ชาวจีนทั่วโลกต่างหยิ่งทะนงในการที่พวกตนนั้น สืบสายเลือดมาจากมังกร (Lung Tik Chuan Ren) ชาวจีนเชื่อกันว่ามังกรนั้นเป็นเทพเจ้าในตำนานที่จะนำมาซึ่งอายุยืนยาว ความเจริญรุ่งเรือง โชคลาภวาสนา และจากสัญลักษณ์ของจักรพรรดิและอำนาจอันยิ่งใหญ่ของฮ่องเต้ ตำนานมังกรของจีนได้ซึมซาบเข้าไปในวิถีชีวิตของชาวจีนโบราณ และกลายมาเป็นวัฒนธรรมของชาวจีนตราบจนถึงทุกวันนี้ มังกรจีนได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ ความดีงาม และอำนาจบารมี

มังกรจีนหรือ หลง แสดงถึงพลังอำนาจและคุณงามความดี ความองอาจกล้าหาญ ความเป็นวีรบุรุษและความอุตสาหะพยายาม ความมีคุณธรรมอันสูงส่งและยิ่งใหญ่ดุจดั่งเทพเจ้า มังกรจีนนั้นไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคขวากหนามใด ๆ จนกว่าจะทำในสิ่งที่ต้องการได้สำเร็จ มีความขยันขันแข็ง เด็ดขาด เฉลียวฉลาด มองโลกในแง่ดี และมีความทะเยอทะยาน ซึ่งแตกต่างจากพลังด้านมืดของมังกรตะวันตก มังกรตะวันตกนั้นส่วนใหญ่ขี้หงุดหงิด มีปีก บินและพ่นไฟได้ แต่มังกรตะวันออกจะมีลักษณะสวยงาม เป็นมิตร และมีความเฉลียวฉลาด มังกรจีนถือเป็นเทพเจ้าแห่งทิศบูรพา แทนที่จะถูกเกลียดชังเช่นมังกรตะวันตก มังกรตะวันออกกลับได้รับความรักและเคารพสักการะ วัดและศาลเจ้าถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ความเคารพสักการบูชาในฐานะผู้ควบคุมฝนแม่น้ำทะเลและมหาสมุทร หลายเมืองในประเทศจีนจะมีเจดีย์ซึ่งชาวจีนจะมาเผาเครื่องหอมเพื่ออ้อนวอนต่อมังกร ศาลเจ้ามังกรดำซึ่งตั้งอยู่ใกล้กรุงปักกิ่งถูกสงวนไว้เฉพาะมเหสีของจักรพรรดิเท่านั้น

ชาวจีนจะมีการบวงสรวงมังกรเป็นพิเศษที่นี่ทุกวันที่ 1 และ 15 ของทุกเดือน ศาลเจ้าและแท่นบูชามังกรยังคงปรากฏให้เห็นตามชายฝั่งทะเลและริมฝั่งแม่น้ำในหลาย ๆ ส่วนของจีนและดินแดนตะวันออกไกล เพราะมังกรจีนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำ โบสถ์กลางน้ำในประเทศญี่ปุ่นกลายมาเป็นแหล่งแวะพักที่ได้รับความนิยมของผู้แสวงบุญซึ่งสวดอ้อนวอนต่อมังกร ตำนานของชาวจีนตำนานหนึ่งบันทึกไว้ว่า มังกรจีนเพศผู้และเพศเมียเคยแต่งงานกับมนุษย์และลูกหลานของมังกรจีนก็กลายมาเป็นผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่ที่สุด จักรพรรดิญี่ปุ่นที่ชื่อ ฮิโรฮิโตะ สืบสาวต้นตระกูลของตนเองย้อนหลังไปจนถึง 128 รุ่น ซึ่งก็คือ เจ้าหญิง Fruitful Jewel ลูกสาวของราชามังกรแห่งท้องทะเลลึก จักรพรรดิของหลายประเทศในเอเชียอ้างว่าตนเองก๋มีบรรพบุรุษเป็นมังกร ซึ่งก็ทำให้มีความคิดที่ว่าทุกสิ่งที่ใช้จะต้องประดับด้วยมังกรเช่น บัลลังก์มังกร เสื้อคลุมมังกร เตียงมังกร เรือมังกร การที่ชาวจีนถือว่าจักรพรรดิเป็นมังกรเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ชาวจีนมีความเชื่อว่าจักรพรรดินั้นสามารถทำให้ตนเองกลายเป็นมังกรได้

ทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมังกรจีนล้วนให้ความสุขความเจริญ ในทุก 12 ปี จะมีปีมังกรซึ่งยังให้เกิดความโชคดี โชคลาภวาสนาโหรตะวันออกในปัจจุบันอ้างว่าเด็กที่เกิดระหว่างปีมังกรจะมีสุขภาพดีและอายุยืนยาว เคยมีมังกรที่ชาญฉลาดมาเป็นที่ปรึกษาให้กษัตริย์ สามร้อยปีที่ผ่านมา กษัตริย์กัมพูชาใช้เวลาตอนกลางคืนอยู่ในหอคอยทอง ที่ซึ่งเขาจะได้ขอความเห็นกับผู้ปกครองที่แท้จริงของแผ่นดินแห่งเก้ามังกร (Land of Nine-Headed Dragon) มังกรจีนนั้นเชื่อในความคิดของตนมาก ถึงแม้ว่าจะสุขุม รอบรู้ แต่มังกรจีนจะรู้สึกว่าถูกดูถูกถ้าหากผู้ปกครองไม่ทำตามคำแนะนำ หรือประชาชนไม่คิดว่ามังกรจีนสำคัญ มังกรจะหยุดสร้างฝนและทำให้แผ่นดินแห้งแล้ง หรือน้ำท่วม มังกรที่ตัวเล็กกว่าจะแกล้งทำให้เกิดความเสียหายต่าง ๆ นานาอย่างเช่นหลังคารั่วหรือข้าวเหนียว ชาวจีนจะจุดประทัดและถือมังกรกระดาษขนาดใหญ่ในขบวนแห่ที่จัดขึ้นเป็นพิเศษ และจัดการแข่งขันเรือมังกรในลำน้ำเพื่อทำให้มังกรของพวกเขาพอใจ

มังกรกลายมาเป็นส่วนสำคัญของชีวิตของผู้คนชาวจีน ในรูปของเทพเจ้าจากสรวงสวรรค์ อย่างที่ชาวโลกได้รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ Sheng Chi มังกรจีนคือผู้ที่ยอมสละชีวิตและพลังของตนออกมาในรูปของฤดูกาลของชาวจีนแผ่นดินใหญ่ มังกรจีนเป็นผู้นำน้ำมาจากฝน ความอบอุ่นจากดวงอาทิตย์ สายลมจากทะเลและผืนดินจากโลก มังกรเป็นตัวแทนของพลังที่ยิ่งใหญ่แห่งธรรมชาติ พลังอำนาจสูงสุดของโลก บางครั้งเราอาจพบมังกรจีนในรูปสัญลักษณ์ของเทพเจ้าแห่งการปกป้องและคุ้มครอง พวกมันถูกยกย่องให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเหนือกว่าสิ่งมีชีวิตทั้งมวล พวกมันมีสามารถอาศัยอยู่ในทะเล บินขึ้นไปถึงสวรรค์ และขดตัวบนพื้นดินในรูปของภูเขา ในหมู่ของสิ่งมีชีวิตในเทพนิยายทั้งหลาย มังกรสามารถปัดเป่าวิญญาณที่ชั่วร้าย ปกป้องผู้บริสุทธิ์และทำให้ผู้ที่ถือเครื่องหมายของพวกมันรอดพ้นจากพยันตรายต่างๆ นานาได้ มังกรจีนถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แทนความโชคดีสูงสุด

มังกรจีนกับปีนักษัตร

ความเชื่ออย่างแปลกประหลาดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับมังกรของคนจีน คือการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างสัตว์ต่าง ๆ เช่น ช้างหมูและม้า ซึ่งถือว่าสัตว์เหล่านี้เป็นเชื้อสายของมังกรเช่นกัน คนจีนใช้มังกรเป็นสัตว์สัญลักษณ์แทนปีมะโรงซึ่งจะแตกต่างกับคนไทยที่ใช้พญานาค บางท่านกล่าวว่าปีนักษัตรเกิดสมัยพระพุทธเจ้า[ใครกล่าว?] จีนคือผู้ที่คิดค้นแรกเริ่มตั้งแต่ราว 2,700 ปีมาแล้ว หรือภายหลังราชวงศ์โจวตะวันออกเล็กน้อย หลักฐานที่ยืนยันการคิดริเริ่มของจีนปรากฏอยู่บนแจกันสำริด ที่จัดแสดงอย่างถาวรอยู่ในพิพิธภัณฑสถานพระราชวังแห่งชาติไทเป ประเทศไต้หวัน ภายในห้องแสดงสำริดโบราณ การผสมข้ามสายพันธุ์ของมังกรนั้น ลูกหลานของมังกรได้แก่ ม้ามังกรในวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณีของไทยและเขมร ส่วนหมูและช้างนั้นภาคเหนือของประเทศไทยนั้น นับเป็นปีนักษัตรคือ ชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ กุน ทางภาคเหนือใช้ช้างแทนสัตว์สัญลักษณ์ปีกุน ซึ่งไม่ใช่หมู

สำหรับลายนักษัตรนั้น จีนคือผู้ที่คิดค้นแรกเริ่มตั้งแต่ราว 2,700 ปีมาแล้ว หรือภายหลังราชวงศ์โจวตะวันออกเล็กน้อย หลักฐานที่ยืนยันการคิดริเริ่มของจีนปรากฏอยู่บนแจกันสำริด ที่จัดแสดงอย่างถาวรอยู่ในพิพิธภัณฑสถานพระราชวังแห่งชาติไทเป ประเทศไต้หวัน ภายในห้องแสดงสำริดโบราณ
วงจรชีวิตของมังกรจีน

มังกรจีนมีวงจรชีวิตการเกิด 4,000 ปี จึงจะเป็นมังกรตัวโตเต็มวัยไข่มังกรจะมีลักษณะเป็นไข่อัญมณี มังกรจีนจะวางไข่ไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำและฝังไว้ลึกจนไม่ถูกรบกวนโดยใครหรืออะไร ระยะเวลา 1,000 ปีต่อมาไข่มังกรจีนจะฟักออกมาเป็นตัว ในระหว่างช่วงเวลา 500 ปีต่อมา ลูกมังกรจีนจะเจริญเติบโตขึ้น และจะเรียกลูกมังกรจีนว่า ไคอาส (Kias ,มังกรมีเกล็ด) ลูกมังกรจีนมีลักษณะเหมือนกับงูน้ำและหัวของปลาคาร์พผสมกัน และจะค่อย ๆ พัฒนาขึ้น ขั้นนี้เรียกว่า ไคโอะ (Kio)

ต่อมาเมื่อเวลา 1,000 ถัดไป ลูกมังกรจีนจะถูกรู้จักในฐานะของ หล่ง (lung ,มังกรตามมาตรฐาน) รยางค์และเกล็ดของมังกรเจริญขึ้นแล้ว ความยาวของลูกมังกรจะเพิ่มขึ้น และหน้าเริ่มมีหนวดเครา 500 ปีต่อมา เป็นเวลาที่ใช้ในการงอกงามของเขา ตอนนี้มังกรจีนสามารถได้ยินเสียงได้แล้ว และจะเป็นที่รู้จักในฐานะของ ไคโอ หล่ง (Kioh-Lung ,มีเขา) 1,000 ปีต่อมาใช้ในการเจริญของปีก ตอนนี้มังกรจีนจะถูกรู้จักในฐานะ ยิ่น หลง (มังกรมีปีก) และเจริญเติบโตเป็นมังกรเต็มวัย

นิ้วของมังกรจีนในแต่ละเท้าจะมี 4 หรือ 5 นิ้ว ถ้ามี 4 นิ้วเป็นมังกรทั่วไป แต่ถ้ามี 5 นิ้ว เป็นมังกรหลวง ซึ่งในสมัยก่อนจะมีเฉพาะจักรพรรดิเท่านั้น ที่สามารถใช้สิ่งของที่มีรูปมังกรหลวงประดับอยู่ถ้ามีใครอื่นใช้จะถูกประหาร น้ำลายจากมังกรจีนจะทำให้เกิดลูกทรงกลมวิเศษซึ่งเรียกว่า ไข่มุกแห่งพลัง ดวงจันทร์ และ ไข่แห่งความอุดมสมบูรณ์ เมื่อเลือดของมังกรจีนซึมซาบเข้าไปในแผ่นดินจะเปลี่ยนกลายเป็นอำพัน เมื่อมังกรลอกคราบเป็นเหตุให้เขาเรืองแสงอย่างน่าขนลุกในความมืด

มังกรจีนชอบกินนกนางแอ่นย่าง จึงมีการถวายให้ก่อนเดินทางข้ามน้ำ เพื่อที่จะเอาใจมังกรและเพื่อให้การเดินทางปลอดภัย ว่ากันว่ามังกรจีนกลัวใบของต้น แว่ง (wang) ,ใบของต้น ลีน (lien) ,ด้ายไหม 5 สี ,สีผึ้ง ,เหล็ก และตะขาบ ว่ากันว่าบางครั้งในยุคโบราณ มังกรจีนเพศผู้จะแต่งงานกับสัตว์ชนิดอื่น มังกรจะเป็นพ่อของช้างเมื่อแต่งงานกับหมู และเมื่อแต่งงานกับม้าจะได้ลูกเป็นม้าแข่ง การที่มังกรจีนจะนำฝนตกลงสู่พื้นดิน ขึ้นอยู่กับบุคคลสง่างามแห่งหยก หรือจักรพรรดิหยก ผู้ซึ่งมังกรจะรับคำสั่งว่า จะส่งน้ำจากท้องฟ้าเท่าไร จากนั้นพวกมังกรจะต่อสู้กับตัวอื่นอย่างมุ่งร้ายในอากาศ ฝนจะตกลงมาในจังหวะที่มังกรม้วนตัว และชักดิ้นชักงอ

นอกจากนี้มังกรมีความสามารถที่จะอยู่ในทะเล บินขึ้นไปยังสวรรค์ และขดตัวบนพื้นในรูปของภูเขา มังกรจีนสามารถปัดเป่าวิญญาณพเนจรชั่วร้าย ปกป้องผู้บริสุทธิ์ และให้ความปลอดภัยกับทุกคนที่ถือสัญลักษณ์ของเขามังกรจีนเป็นเครื่องหมายแห่งอำนาจและคุณงามความดี ความองอาจและความกล้าหาญ ความเป็นวีรบุรุษและความอุตสาหะ และความสูงส่งและความศักดิ์สิทธิ์ และนอกจากนี้ มังกรจีนเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดี ความเป็นมงคล และความมั่งคั่งอีกด้วย


.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 26, 2014, 08:34:33 am »

.

วันตรุษจีน ปี 2557



.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 26, 2014, 08:33:25 am »

.

วันตรุษจีน ปี 2557





.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 26, 2014, 08:31:04 am »

.

วันตรุษจีน ปี 2557






.