ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 29, 2014, 08:58:05 pm »



สาธูการีธรรมากร ( ตอนที่ 76)
ลิขิตธรรม

ขอถวายพระพร
ความเห็นในธรรมที่ทรงประทานไปนั้น ได้ตรวจตลอดแล้วเป็นความตรึกตรองละเอียดสุขุม ที่อธิบายสติปัฏฐานนั้นแยบคายดี แต่ครั้นไปถึงธรรมานุปัสสนาชี้ตัวธรรมไม่ออก ความเห็นกลับเสีย จึงแสดงโลกุตรธรรมไม่ได้ ลักษณะของโลกีย์แสดงผลคือทุกข์ ซ่อนเหตุคือสมุทัยลักษณะของโลกุตระแสดงเหตุคือมรรค ซ่อนผลคือนิโรธ ที่แสดงธรรมธาตุ ธรรมฐิติ ธรรมนิยามให้เป็นผลซึ่งกันและกันนั้น ยังเป็นสภาพชั้นโลกีย์, ยังแตกใช้ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือที่เห็นธรรมธาตุ เป็นศีล ธรรมฐิติ เป็นสมาธิ ธรรมนิยาม เป็นปัญญา นั้นเองเป็นเครื่องหมาย, จึงชี้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ยังไม่กิจใจ ที่แสดงว่าตนที่อยู่กับธรรมธาตุธรรมฐิติ ธรรมนิยาม เป็นกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา หมายความว่า ธรรมนั้นอันหนึ่ง ตนนั้นอันหนึ่ง, เพราะเหตุนั้น จึงเป็นตัณหาเป็นสมุทัย จริงอย่างนั้น  แต่ทางแห่งพระโยคาวจรทั้งหลาย ที่ท่านเจริญสติปัฏฐานนั้นเมื่อเวทนาตัวเจตสิกและจิตตาตัวจิตแสดงตัวขึ้นได้แล้ว รูปก็ดับ เมื่อเวทนาตัวเจตสิกและจิตตาตัวจิตแสดงตัวขึ้นได้แล้ว รูปก็ดับ เมื่อสกลกายแสดงตัวขึ้นเป็นธรรมธาตุธรรมนิยามได้แล้ว นามก็ดับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เดินตามได้เพียงรูปเพียงนามเท่านั้น ส่วนธรรมธาตุ ธรรมฐิติ

ธรรมนิยามนั้น เป็นธรรมพ้นจากรูปจากนามแล้ว, และเป็นชื่อของอมตธรรมด้วย สติปัฏฐานก็ตรงกับจิต, เจตสิก, รูป, นิพพาน, ในอภิ-ธัมมัตถสังคหะ ธรรมธาตุธรรมฐิติธรรมนิยามนั้นเป็นเทววจนะต่างกันแต่ชื่อ, ความจริงเป็นอันเดียวกัน, จึงเป็นอธิสีล อธิจิต อธิปัญญา, เป็นอริยมรรค. แสดงตัวคือกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต, เหนือกุศลกรรมบถด้วยวิถีจิต, เมื่ออริยมรรคแสดงตัวอยู่ทุกเมื่อแล้วจะต้องประคองผลด้วยเหตุใด เพราะมันย่อมแสดงผลอยู่เอง เช่นเดียวกันกับทุกข์แสดงสมุทัย  ที่กล่าวว่าเป็นห่วงขันธ์นั้น หมายความว่าขันธ์ ๕ เป็นชื่อของรูปของนาม ผู้เจริญสติปัฏฐานจนธรรมธาตุ ธรรมฐิติ ธรรมนิยามแสดงตัวขึ้นได้แล้ว, ขันธ์ ๕ จะตั้งอยู่ได้ด้วยอย่างไร, ถ้าขันธ์ ๕ ตั้งอยู่ได้, เราก็เป็นขันธ์ ๕ เท่านั้น หรือไม่เราก็อันหนึ่ง, ขันธ์ ๕ ก็อันหนึ่ง, ศีลก็อันหนึ่ง, สมาธิก็อันหนึ่ง, ปัญญาก็อันหนึ่ง, เราผู้รักษาผู้ประพฤติก็อันหนึ่ง, ถ้าเป็นอย่างนั้นโลกุตรธรรมก็มีโทษ คือขันธ์เป็นอุปธิกิเลส, หรือไม่โลกุตรธรรมก็มีนอก มีใน มีได้ มีเสีย มีไป มีมา เท่านั้น

ในข้อที่ว่าอดีตอนาคตดับนั้น ก็คือหมายความดับแห่งสัญญาอดีตซึ่งเป็นชาติสมุทัยเท่านั้น, คือสภาพของกามาพจรมีลักษณะอย่างนี้ เกิดจริง แก่จริง เจ็บจริง ตายจริง, เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสภาพอันหนึ่งๆ ส่วนนี้สภาพโลกีย์ คือตัวสัญญาอดีต, ได้แก่ที่เราเล่าเรียนจำเจมาแล้วทั้งนั้น, ไม่ใช่วิชาของเรา, ไม่ใช่วิชาของพระ, คืออดีต อนาคตมีอาการเกิด มีอาการดับ มีอาการไป มีอาการมา, ดังความเกิดเป็นอดีตเราเกิดมาเสียแล้ว, แก่ เจ็บ ตาย เป็นอนาคต คือเราจักไปถึงแก่ ถึงเจ็บ ถึงตายวันหนึ่ง, ปัจจุบันก็คือความเป็นอยู่เดี๋ยวนี้, ผู้เห็นปัจจุบันก็คือเอาใจออกจากอดีตอนาคต, ผูกไว้ด้วยอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ก็เข้าใจว่าอดีตอนาคตดับ, ตัวก็อยู่กับธรรมที่เป็นปัจจุบัน, แต่ปัจจุบันอาการนี้ อดีตเป็นผู้แต่ง คือเป็นผลมาแต่อดีต, ส่วนอนาคตนั้นปัจจุบันเป็นผู้แต่ง อนาคตเป็นผลของปัจจุบัน, ความรู้ความเห็นเหล่านี้เป็นสังขตะ, มีอวิชชาเป็นปัจจัยทั้งนั้น, ไม่พ้นจากตัณหา ๓ ได้ อดีต อนาคต ปัจจุบัน โลกิยสภาพอาการนี้ดับลงได้แล้วเมื่อใด กังขาวิตรณวิสุทธิก็แสดงตัวได้

 เพราะเป็นปัจจุบันธรรมนี้เอง, แต่ปัจจุบันนั้นไม่มีอาการไปอาการมา ปัจจุบันอาการนี้เป็นพระไตรลักษณ์อยู่ในตัว, แต่อย่างเข้าพระทัยว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นพระไตรลักษณ์, คือ ปัจจุบันธรรมนั้นเองมีลักษณะ ๓ คือ อดีตลักษณะ ๑  อนาคตลักษณะ ๑  ปัจจุบันลักษณะ ๑, คืออดีตอนาคตฉายออกไปแต่ปัจจุบัน, ถ้าจะกล่าวโดยโวหารก็คือ ปัจจุบันแต่งอดีตอนาคตเพราะปัจจุบันเป็นมรรค, แต่อย่าเข้าพระทัยว่า มรรคนั้นหมายวิถีจิตอย่างเดียว, ต้องพร้อมด้วยสกลกาย, จะแบ่งสกลกายออกเป็น ๒ คือ เป็น โลกิยะส่วน ๑  เป็นโลกุตระส่วน ๑  เป็นอันไม่ได้

 คำที่ว่า สังขารดับอย่าเข้าพระทัยว่าสิ้นคิดสิ้นนึก, ความคิดความนึกนั้นเอง ถ้าอวิชชาเป็นปัจจัย ท่านให้ชื่อว่าสังขาร ความคิดความนึกนั้นเอง ถ้าวิชชาเป็นปัจจัย ท่านให้ชื่อว่าสัมมาสังกัปโป, เฉยไม่มีความรู้ ท่านให้ชื่อว่าอุเบกขาญาณวิปปยุต เป็นอุเบกขาเวทนา, เฉยมีความรู้ ท่านให้ชื่อว่าอุเบกขาญาณสัมปยุต เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์, ที่ว่าสังขารปรุงไม่ได้ด้วยกำลังของลักขณูปนิฌาน อารัมมณูปนิฌานนั้น ไม่เป็นของอัศจรรย์นัก, ท่านแสดงไว้ในธรรมคุณว่า บรรดาสังขตธรรมและอสังขตธรรมมีวิราคธรรมเป็นยอด, บรรดาสังขตธรรม มีอัษฎางคิกมรรคเป็นยอด, ก็พระอริยมรรคยังเป็นสังขตะอยู่ เราจะนั่งกลัวอะไรนัก, เราหลีกแต่อปุญญาภิสังขารก็แล้วกัน, ที่อาตมาภาพแสดงมาโดยยืดยาวนี้ ก็เพราะเข้าใจว่าพระเดชพระคุณจะทรงจริงเท่านั้น, ความจริงก็ไม่ยากไม่ง่ายพอคิดพอตรองของผู้ต้องการ แต่จะใช้ความคิดความตรองโดยส่วนเดียวเห็นจะไม่ตลอด

 เพราะทางที่ทรงอยู่นี้ อาตมาภาพได้เดินเข้าไปติดอยู่แล้วหลายปี เมื่ออาตมาภาพจะออกได้จากธรรมนั้น เพราะมีความน้อยใจว่า เราก็ศึกษามามาก ทั้งปฏิบัติก็มาก ความรู้ความเห็นก็ปรุโปร่ง จะพูดหรือจะแต่งหนังสือก็ได้โดยสะดวก, แต่อาสวะหรือนิวรณ์ก็ยังรู้สึกว่าทำใจให้เศร้าหมองได้อยู่, อะไรหนอก็ยังข้องอยู่ร่ำไปจึงคิดว่าความรู้ความเห็นที่เรารู้เราเห็นมานี้ เห็นจะผิดไปแน่ เห็นจะใช้ไม่ได้ทีเดียว จึงคิดเลิกถอนทุ่มเทจนหมด ถือว่าเราไม่มีความรู้อะไร, ตั้งเจตนาเลิกถอนความรู้ความเห็นของเก่าหมดทีเดียว

 จับสติปัฏฐานตั้งต้นไปใหม่ อาศัยอานาปาน-สติเป็นหลักอย่างเดียว จะเกิดความคิดความนึกอะไรไม่เหลียวแล ตั้งกายคตาสติเป็นอารมณ์เท่านั้นแต่ทำอยู่อย่างนั้นนับด้วยเดือน ไม่ใช่นับด้วยวัน จนรู้จักอารมณ์ รู้จักอายตนะที่ต่อ รู้จักสังโยชน์ที่ประสานกันของวัฏฏะ รู้จักอธิสีล อธิจิต อธิปัญญา รู้จักสามัคคีธรรมขึ้นด้วยความทำ หาได้จักได้ปรุงเอาไม่ปัจจุบันธรรมมีอาการพร้อมด้วยพระไตรลักษณ์นี้ จึงแสดงตัว กังขาวิตรณวิสุทธิก็ผุดผ่อง อะไรหนอก็ดับลงได้ตามชั้นตามภูมิของตน จนวินิจฉัยกามาพจร รูปาพจร อรูปาพจร โลกุตตระ ได้ในที่เดียวกัน

พระธรรมธีรราชมหามุนี (สิริจนโท  จันทร์)

หมายเหตุ พระศีลวรคุณ สันนิษฐานว่า จดหมายฉบับนี้
จะแต่ง พ.ศ. ๒๔๕๘ เพราะได้รับต้นฉบับคราวเดียวกันกับของพระบุญ

ขอขอบคุณที่มาบทความ  :  หนังสือสาธูการีธรรมากร
เผยแพร่โดย  วัดป่าวิเวกวัฒนาราม  ( หลวงปู่จาม มหาปุญโญ )
บ้านห้วยทราย  ต.คำชะอี  อ.คำชะอี  จ.มุกดาหาร

08 ตุลาคม 2550
: http://www.dhammasavana.or.th/article.php?a=351&s=2