ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2014, 08:43:57 am »

.

เจาะลึกเรื่อง “มังกร” ต้อนรับตรุษจีน
-http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000016169-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
7 กุมภาพันธ์ 2556 17:29 น.


มังกรที่นิยมนำมาเชิดในงานเทศกาล

       อีกไม่กี่วันก็จะเข้าเทศกาลตรุษจีนแล้ว บรรยากาศหลายๆ แห่งเต็มไปด้วยการประดับประดาอาคารบ้านเรือนให้เข้ากับเทศกาล หลายคนหาซื้อของเข้าบ้านเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล โดยเฉพาะสัญลักษณ์ที่นำโชคและเคารพนับถือ อย่างเช่น “มังกร”
       
       น่าสนใจว่า "มังกร" นั้น แท้จริงแล้วมาจากจากไหน บ้างว่า "มังกร" เป็นสัตว์ในตำนานหรือเทพนิยาย มังกรในโลกตะวันตกมีหน้าตาแบบหนึ่ง มังกรในโลกตะวันออกก็มีหน้าตาต่างออกไป แล้วมังกรเป็นสัญลักษณ์ด้านธรรมะหรืออธรรมกันแน่ จริงๆ แล้วมังกรมีลักษณะอย่างไร แต่ละชนชาตินับถือมังกรอย่างไร หลายคำถามที่เราจะไปหาคำตอบกัน


มังกรจีน

       “มังกรจีน” เป็นสัญลักษณ์แห่งเทพเจ้าที่ชาวจีนให้ความเคารพนับถือ คนจีนแทนลักษณะเฉพาะของมังกร 9 อย่าง ตามประเพณี แต่ละอย่างแสดงถึงลักษณะของมังกรที่แตกต่างกัน ลักษณะของมังกรจีนในงานด้านจิตรกรรมประติมากรรมของจีน ซึ่งใช้ในเวลาและโอกาสที่ต่างกัน ได้แก่
       
       - หัว คล้ายกับหัวของอูฐ บางตำราก็บอกว่ามาจากหัวม้าหรือหัววัวหรือหัวจระเข้
       หนวด คล้ายกับหนวดของมนุษย์
       - เขา คล้ายกับเขาของกวาง มังกรจะมีเขาได้ก็ต่อเมื่อมีอายุ 500 ปี และเมื่ออายุถึง 1,000 ปี ก็จะมีปีกเพิ่มขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง
       - ตา คล้ายกับตากระต่าย บางตำราบอกว่ามาจากตาของมารหรือปีศาจหรือตาของสิงโต
       - หู คล้ายกับหูวัว แต่ไม่สามารถได้ยินเสียง บางตำราก็ว่าไม่มีหู บางตำราบอกว่ามังกรได้ยินเสียงทางเขาที่เหมือนเขากวางนั้น
       - คอ คล้ายกับคองู
       - ท้อง คล้ายกับท้องกบ บางตำราบอกว่ามาจากหอยแครงยักษ์
       - เกล็ด คล้ายกับเกล็ดปลามังกร บางตำราว่ามาจากปลาจำพวกตะเพียนหรือกระโห้ โดยมังกรจะมีเกล็ดตลอดแนวสัน-หลัง จำนวน 81 เกล็ด มีเกล็ดตามลำคอจนถึงบนหัว บนหัวมังกรมีรูปลักษณะเหมือนสันเขาต่อกัน เป็นทอดๆลักษณะกงเล็บของมังกร คล้ายกับกงเล็บของเหยี่ยว จำนวนเล็บของมังกรแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน มังกรที่ยิ่งใหญ่จึงจะมี 5 เล็บ นอกนั้นก็จะเป็น 4 เล็บหรือ 3 เล็บ
       - ฝ่าเท้า คล้ายกับฝ่าเท้าของเสือ



มังกรที่นิยมนำมาเชิดในงานเทศกาล

       แต่ทว่ามังกรแต่ละตัวนั้น ก็มีกาลเทศะและวาสนาแตกต่างกันไปตามความเชื่อของคตินิยมแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งว่ากันว่ามังกรของจีนนั้นมี 9 ท่า 9 สี คำว่า หลง ในภาษาจีนกลางหมายถึงมังกรที่มีลักษณะดังนี้
       - มังกรมีเขา หรือหลง มีเขาเหมือนกับกวางดาว คนญี่ปุ่นถือว่ากวางเป็นสัตว์ที่มาจากสวรรค์ มีอำนาจมากที่สุด สามารถทำให้เกิดฝนได้ และหูหนวกโดยสิ้นเชิง อินเดียนแดงถือว่ากวางเป็นสัตว์ที่เป็นอมตะนิรันด์กาล แต่คนไทยกลับนิยมกินเนื้อกวาง ใช้ในเป็นสินค้าทางธุรกิจส่งออก
       - มังกรมีปีก หรือหว่านซี่ฟ่าน เป็นมังกรแบบตะวันตกที่สามารถพ่นไฟ ได้ ชาวตะวันตกนิยมที่จะนำมาประกอบฉากเป็นพาหนะของผู้ร้ายหรือเป็นตัวแทนของมังกรที่ดุร้าย แต่ในสมัยราชวงศ์หมิง คนจีนนำมังกรชนิดนี้มาทำเป็นลวดลายบนถ้วยอาหาร


มังกร สัญลักษณ์ด้านมืด


       - มังกรสวรรค์ หรือเทียนหลง มีชื่อเรียกว่า มังกรฟ้า เป็น มังกรในหาดสวรรค์ บางครั้งก็จะเป็นพาหนะของเทพเจ้าเทวาในลัทธิเต๋า และคอยปกป้องคุ้มครองปราสาทราชวังของเทพเจ้าบนสรวงสรรค์ และเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของฮ่องเต้อีกด้วย
       - มังกรวิญญาณเฉียนหลง หรือหลีเฉี่ยวหลง สามารถบันดาลให้เกิดลมฝนเพื่อประโยชน์ต่อการเกษตร และเป็นสัญลักษณ์ของจักรราศีอีกด้วย
       -มังกรเฝ้าทรัพย์ หรือฟูแซง เป็นมังกรบาดาล เป็นคติที่เก่าแก่มาก ซึ่งเป็นตามคติอินเดียและกรีกโบราณมากกว่าของจีน
       - มังกรเหลือง เป็นมังกรจ้าปัญญา ทำหน้าที่คอยหาข้อมูลให้กับจักรพรรดิฟูใฉ่ที่เป็นตำนาน
       - มังกรบ้าน หรือลี่หลง จะอาศัยอยู่ในมหาสมุทรและในทะเล บางตำนานเรียกว่า ไซโอ๊ะ มีเกล็ดปกคลุมทั่วทั้งตัว มักอาศัยอยู่ในหนองน้ำใกล้ ๆ กับถ้ำที่มีอากาศอับชื้น

       และมีอีกนามนึงที่จะลืมเอ่ยไม่ได้เลย คือ พญามังกร ขึ้นชื่อว่าเป็นพญา ต้องเป็นที่สุดแห่งมังกรสี่ตัว ที่คอยปกครองทะเลทั้งสี่ทิศ คือเหนือ(ปัก), ใต้(น้ำ), ตะวันตก(ไซ), ตะวันออก(ตัง) อาศัยอยู่ในปราสาทใต้มหาสมุทร กินไข่มุกเจียงตูและโอปอล เป็นอาหาร มีแผงคอเป็นไฟ และยาวถึง 900 ฟุต
       
       มีการบรรจุคำว่ามังกรลงในพจนานุกรมของประเทศจีน มีความหมายว่า "มังกรเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด มีลักษณะหัวคล้ายหัวอูฐ มีเขาคล้ายเขากวาง ดวงตาคล้ายกับดวงตาของกระต่ายป่า หูของมันคล้ายหูวัว ปีกของมันคล้ายนกอินทรี มีลำคอยาวคล้ายงู ช่วงท้องมีลักษณะคล้ายกบ รูปร่างของมันคล้ายกับปลาตัวใหญ่ เท้าคล้ายกับเท้าเสือ เสียงของมันคล้ายเสียงตีฆ้อง เมื่อมันหายใจ ลมหายใจของมันมีลักษณะคล้ายเมฆ ซึ่งบางครั้งก็ออกมาเป็นฝน บางครั้งก็เป็นเปลวไฟ”
       
       ที่มา:ชมรมส่งเสริมกีฬาเชิดสิงโต มังกรประเทศไทย

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2014, 10:19:35 am »


ขนมเทียนแก้ว ขนมไทยประยุกต์เหนียวนุ่มอร่อย

-http://cooking.kapook.com/view81258.html-




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

           หลาย ๆ คนอาจจะรู้จักกับขนมเทียนที่ใช้ไหว้เจ้าในช่วงตรุษจีน แต่ถ้าพูดถึงขนมเทียนแก้วหลายคนอาจจะไม่รู้จัก ขนมเทียนแก้วนี้ดัดแปลงมาจากขนมเทียนที่เปลี่ยนจากแป้งข้าวเหนียวมาใช้แป้งถั่วเขียวแทน ทำให้เนื้อขนมใส มองเห็นไส้ด้านใน มีเนื้อที่เหนียวนุ่มกว่า และไม่เหนียวติดมือ ซึ่งในสมัยนี้อาจจะหาซื้อกินยากไปสักนิด ถ้าอย่างนั้นเราลองมาทำกินเองกันดีกว่า

สิ่งที่ต้องเตรียม (สำหรับตัวแป้ง)

           แป้งถั่วเขียว 1 ถ้วย

           น้ำตาลทราย 1 1/2 ถ้วย

           น้ำลอยดอกมะลิ (หรือน้ำผสมน้ำหอมกลิ่นมะลิ) 5 ถ้วย

           ใบตอง สำหรับห่อขนม


วิธีทำ

           1. ใส่น้ำตาลทรายและน้ำลอยดอกมะลิลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟ เคี่ยวจนเป็นน้ำเชื่อม ปิดไฟ ยกลงจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็น

           2. ผสมแป้งถั่วเขียวและน้ำลอยดอกมะลิให้เข้ากัน กรองด้วยตะแกรง จากนั้นเทใส่กระทะทองเหลือง ใส่น้ำเชื่อมที่เตรียมไว้ ยกขึ้นตั้งไฟอ่อน กวนจนส่วนผสมแป้งสุกและใส ปิดไฟ ยกลงจากเตา พักไว้จนอุ่น

           3. ตักส่วนผสมแป้งลงในกรวยใบตอง ตามด้วยไส้ ห่อเป็นทรงสามเหลี่ยมให้สวยงาม






สิ่งที่ต้องเตรียม (สำหรับทำไส้ขนม)

          ถั่วเขียวซีกเลาะเปลือก 1 กิโลกรัม

          หอมแดง

          พริกไทย

          น้ำมันพืชสำหรับผัด

          เกลือป่น สำหรับปรุงรส

          น้ำตาลทราย สำหรับปรุงรส


วิธีทำ

          1. ล้างถั่วเขียวซีกเลาะเปลือกให้สะอาด แช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง หรือข้ามคืน จากนั้นนำไปนึ่งจนสุก พักทิ้งไว้จนเย็นสนิท

          2. โขลกหอมแดงกับพริกไทยเข้าด้วยกันจนละเอียด ใส่ถั่วเขียวนึ่งลงโขลกพอหยาบ

          3. ใส่น้ำมันพืชลงในกระทะ ใส่ส่วนผสมไส้ลงผัดจนหอม ปรุงรสด้วยเกลือป่น และน้ำตาลทราย ชิมรสตามชอบ ให้มีรสหวาน เค็ม เผ็ด ปิดไฟ ยกลงจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็น ปั้นเป็นก้อนกลม เตรียมไว้

          วิธีทำก็คล้าย ๆ กับการทำขนมเทียนเลย แค่เปลี่ยนชนิดแป้งเท่านั้น แต่หน้าตาดูน่ากินกว่า เพราะใสแจ๋วมองเห็นไส้ใน ฝึกปรือฝีมือกันสักหน่อย รับรองทำขายได้สบาย ๆ เลย
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2014, 09:31:11 am »


แปรรูปขนมเข่ง เป็นของกินเล่นแสนอร่อย


-http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%87_%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2/-

เทศกาลตรุษจีน ผ่านไป ของไหว้ก็มีมากมายกินไม่หมดจะทิ้งก็เสียดาย จะทำยังไงดีละ วันนี้เลยเอาสูตรเด้ด แปลงโฉมขนมเข่งเหนียวๆ ให้เป็นของกินเล่นสุดอร่อยที่คุณสามารถทำได้เองง่ายๆที่บ้านมาให้คุณได้ลองทำกันดูค่ะ

วัตถุดิบ
1. ขนมเข่ง (แช่ตู้เย็นไว้ซัก1-2 คืน จะดีกว่าแบบตากแดดเพราะเนื้อขนมเข่งเวลาทอดจะไม่นุ่ม)
2. แป้งโกกิ
3. ไข่ไก่
4. เกลือ (นิดหน่อย)

วิธีทำ
1. หั่นขนมเข่งเป็นชิ้น ไม่หนา ไม่บาง หรือแล้วแต่ชอบ
2. ตอกไข่ใส่ชาม ตีจนฟู เหมือนทำไข่เจียวนั้นละค่ะ
3. ใส่แป้งโกกิลงไปในไข่ที่ตีแล้ว ตีให้เข้ากัน อย่าให้แป้งจับตัวกันเป็นก้อน
4. เมื่อแป้งเข้ากับไข่เป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ใส่เกลือนิดหน่อย
5. นำขนมเข่งที่หั่นแล้ว นำลงไปชุบในแป้งที่ผสมเสร็จแล้ว


เรียบเรียงโดย : sanook.com
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 31, 2014, 09:31:59 pm »

รู้จักประเพณีต่างๆ ในเทศกาลตรุษจีน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    31 มกราคม 2557 16:02 น.

-http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9570000012128-


       กินขนมเข่ง (年糕) อำนวยพรชีวิตเจริญยิ่งๆขึ้นทุกปีๆ

       อาหารที่ขาดไม่ได้ในวันตรุษจีนอีกอย่างคือ ขนมเข่ง ขนมที่ชาวจีนเรียก เหนียนเกา (年糕) นิยมทำกินในหมู่ชาวจีนทางใต้ ประเพณีกินเหนียนเกาในวันตรุษมีมา 7,000 กว่าปีแล้ว เดิมทีทำขึ้นเพื่อเซ่นไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ ภายหลังกลายเป็นอาหารนิยมในช่วงตรุษจีน มีความหมายอำนวยพรให้ชีวิต ‘เจริญยิ่งๆขึ้นทุกปีๆ ’ (生活年年提高)


       จุดประทัดรับปีใหม่

       นอกจากคืนวันส่งท้ายปีเก่าและวันที่ 5 เดือน 1 ที่จะมีการจุดประทัดกันแล้ว ประเพณีการจุดประทัดในเช้าวันแรกของปีใหม่ก่อนออกจากบ้าน ก็เป็นความเชื่อของชาวจีนว่า จะเป็นการเริ่มต้นปีด้วยความคึกคักหรือที่เรียกว่า 开门炮 (ไคเหมินเพ่า) เพื่อต้อนรับวันแรกของปี
       
       ประทัดของจีนมีประวัติศาสตร์มายาวนาน เดิมทีใช้ปล้องไม้ไผ่ตั้งไฟเผาให้ระเบิดจนเกิดเสียงดัง ใช้ในการขับไล่ภูตผีป้องกันเสนียดจัญไร ต่อมาใช้ในพิธีไสยศาสตร์ของพ่อมดหมอผีและการเสี่ยงทาย จนในที่สุดกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการอธิษฐานขอความสงบร่มเย็น


       เดินสายอวยพรตรุษจีน

       กิจกรรมอีกอย่างที่ขาดไม่ได้ช่วงตรุษจีน คือ “ไป้เหนียน (拜年)” หรือ การอวยพรตรุษจีน หากกล่าวว่า “จี้จู่ (祭祖)” เป็นการเซ่นไหว้รำลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ “ไป้เหนียน” ก็จะเป็นการสังสรรค์กับญาติสนิทที่ยังมีชีวิตอยู่ในวันขึ้นปีใหม่ กิจกรรมทั้ง 2 อย่างต่างเป็นการแสดงออกถึงการสื่อสัมพันธ์กับญาติที่ใกล้ชิด
       
       ในอดีตหากญาติสนิทมิตรสหายมีมาก แวะไปเยี่ยมเยียนได้ไม่ทั่วถึง พวกชนชั้นสูงมักจะส่งคนรับใช้นำบัตรอวยพร หรือ “ฝูเต้า (福倒)” (ความสุขมาถึงแล้ว) ไปให้แทน ฝ่ายที่รับการ “ไป้เหนียน” ที่เป็นผู้สูงอายุมักจะให้ “ยาซุ่ยเฉียน (压岁钱)” แก่เด็กๆ ที่มาไหว้เยี่ยมเยียน
       
       ส่วนการ “ไป้เหนียน” ของชาวบ้านทั่วไปก็มีอิทธิพลต่อชนชั้นสูงเช่นกัน ซึ่งราชสำนักในสมัยหมิงชิงนิยมจัดงาน “ถวนไป้ (团拜)” หรืองานที่ชุมนุมญาติๆ ไว้ด้วยกัน ให้ทำการ “ไป้เหนียน” ซึ่งกันและกันในคราเดียว มาถึงปัจจุบันยังนิยมจัดงานเช่นนี้อยู่ ซึ่งคล้ายกับเป็นงานฉลองปีใหม่กับหมู่ญาติสนิทมิตรสหายไปในตัว
       
       สำหรับการ “ไป้เหนียน” ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคไฮเทค นอกจากการไปเยี่ยมเยือนถึงบ้านแล้ว ยังนิยมส่งบัตรอวยพร โทรศัพท์ อีเมล์ หรือส่งข้อความผ่านทางโทรศัพท์มือถือ เพื่อส่งความสุขซึ่งกันและกัน


กลับบ้านเยี่ยมพ่อแม่

       กลับบ้านเยี่ยมพ่อแม่
       หลังจากวันแรกของปีใหม่ผ่านพ้นไป บรรดาหญิงสาวที่ออกเรือนไปแล้วจะกลับไปอวยพรตรุษจีนพ่อแม่และญาติพี่น้อง พร้อมกับสามีและลูกๆ ที่ชาวจีนเรียกกันว่าการกลับบ้านแม่ หรือ ‘หุยเหนียงเจีย (回娘家)’ ซึ่งถือเป็นโอกาสพาเด็กๆ ไปเยี่ยมคารวะคุณตา คุณยาย คนเฒ่าคนแก่ และรับอั่งเปามาเป็นเงินก้นถุง
       
       ส่วนใหญ่จะไม่กลับบ้านแม่มือเปล่า แต่จะนำขนมคุกกี้ ลูกอม ไปฝากญาติพี่น้องและบ้านใกล้เรือนเคียง ตลอดจนพกอั่งเปาไปแจกหลานๆ ด้วยเช่นกัน เพื่อแสดงออกซึ่งความห่วงหาอาทรต่อบ้านเกิดของหญิงที่ออกเรือนไปแล้ว แต่การกลับไปบ้านแม่นี้ จะแค่กินข้าวเที่ยง ไม่มีการนอนค้าง
       
       ตามธรรมเนียมเดิม ก่อนกลับคุณตาคุณยายจะแต้มสีแดงที่หน้าผากหลาน เพื่อให้เป็นสิริมงคล และป้องกันภูติผีปีศาจมารังควาญ ด้วยหวังให้เด็กๆ เติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง ปราศจากโรคภัย
       
       กิจกรรมที่สำคัญอีกอย่างในวันนั้นก็คือ การเชิญเทพเจ้าแห่งโชคลาภ โดยแต่ละบ้านจะทำการติดภาพเชิญเทพเจ้าโชคลาภเข้ามายังบ้านของตน





       เรื่องต้องห้ามก่อนวันที่ 5 ‘พ่ออู่ (破五)’
       ตรุษจีนเป็นเทศกาลแห่งความสุขสนุกสนาน และยังเป็นเทศกาลที่คงธรรมเนียมประเพณีดั่งเดิมไว้ ซึ่งในช่วงนี้จะมี ‘คำพูดหรือการกระทำต้องห้าม’ เช่น ในวันชิวอิก หรือวันขึ้นปีใหม่ ผู้หญิงห้ามออกจากบ้านไปอวยพรปีใหม่และห้ามกลับไปบ้านแม่ เด็กน้อยห้ามร้องไห้กระจองอแง ทุกคนห้ามพูดเรื่องอัปมงคล เพื่อนบ้านห้ามทะเลาะเบาะแว้ง รวมทั้งห้ามทำอุปกรณ์เครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์แตกเสียหาย ตลอดจนห้ามเชิญหมอมาที่บ้าน
       
       ตั้งแต่ชิวอิก หรือ ชูอี (初一) จนถึงชูซื่อ (初四) หรือวันที่ 1-4 ของปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคติ ห้ามคนในบ้านทำสิ่งที่ไม่เป็นสิริมงคลทั้งหลายตั้งแต่ใช้เข็มเย็บผ้า กรรไกร กวาดบ้าน และยังห้ามกินข้าวต้มในวันที่ 1 ด้วย เพราะข้าวต้มจัดเป็นอาหารของขอทานคนยากจน
       
       เมื่อเข้าวันที่ 5 หรือชูอู่ (初五) จึงจะเริ่มผ่อนคลายกฎต้องห้ามต่างๆ และเข้าสู่ภาวะปกติ ชาวบ้านจึงเรียกว่า ‘พ่ออู่ (破五)’ ซึ่งหมายถึง ทำให้แตก หรือยกเลิกข้อห้ามในวันที่ 5 โดยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ หุงหาอาหารได้ตามเดิม ส่วนอาหารยอดนิยมในวันนี้จะเป็นเกี๊ยวจีน (饺子) ที่ในสมัยก่อนเรียกว่า ‘เนียอู่ (捏五)’ โดยแทนการห่อเงินห่อทอง นำมาซึ่งความมั่งคั่งร่ำรวย
       
       นอกจากนั้น นับตั้งแต่วันที่ 5 ผู้คนจะสามารถนำขยะไปทิ้งข้างนอกได้ อย่างที่ชาวจีนเรียกว่า ‘เต้าฉานถู่ (倒残土)’ และยังถือวันที่ 5 นี้ เป็นวันเกิดของเทพเจ้าแห่งโชคลาภเงินทองที่ประจำทั้ง 5 ทิศ ซึ่งตามร้านค้าต่างๆ จะประกอบพิธีไหว้ เพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัยเปิดกิจการรับปีใหม่ด้วย


       อั่งเปา

       การแจกอั่งเปา (红包ซองแดง) หรือ *แต๊ะเอีย (กด/ทับเอว) สำหรับเด็กสมัยใหม่ต่างคาดหวังหรือหลงระเริงไปกับตัวเงินในซอง แต่หารู้ไม่ว่า กุญแจสำคัญอยู่ที่ซองแดงต่างหาก
       
       ชาวจีนนิยมชมชอบ “สีแดง” เป็นที่สุด อย่างที่มีคนเคยพูดว่า “จะถูกจะแพง ก็ขอให้แดงไว้ก่อน” เพราะว่า ตามความเชื่ออย่างจีน สีแดงเป็นสัญลักษณ์ของความมีชีวิตชีวา ความสุข และโชคดี
       
       เรามอบอั่งเปาให้แก่บุตรหลาน หรือญาติผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการมอบโชคลาภและพรอันประเสริฐต่างๆ ให้แก่พวกเขา เงินในซองแดงแค่เพียงต้องการให้เด็กๆ ดีใจ แต่ตัวเอกของประเพณีนี้อยู่ที่ซองแดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโชคดี ดังนั้น การเปิดซองอั่งเปาต่อหน้าผู้ให้ถือเป็นเรื่องที่ไม่สุภาพเช่นกัน
       
       อั่งเปาสามารถมอบให้ในระหว่างไหว้ตรุษจีนในหมู่ญาติพี่น้อง หรือวางไว้ข้างหมอนเวลาที่ลูกๆ หลับในคืนวันสิ้นปีก็ได้
       
       ประเพณีการให้แต๊ะเอียได้สืบทอดสู่ชาวจีนรุ่นต่อรุ่น ทั้งในประเทศจีนและจีนโพ้นทะเล ครอบครัวจีนส่วนใหญ่ถือว่า ลูกหลานที่ทำงานแล้ว จะไม่ได้แต๊ะเอีย แต่จะกลายเป็นผู้ให้แทน การให้อั่งเปา ว่าเป็นวิธีการกระชับสัมพันธ์ในหมู่ญาติอีกแบบหนึ่ง
       
       นอกจากนี้ ยังมีตำนานโบร่ำโบราณเกี่ยวกับเรื่องอั่งเปาอีกว่า เมื่อครั้งโบราณกาลมีปีศาจเขาเดียวนามว่า “ซุ่ย” (祟) อาศัยอยู่ใต้ทะเลลึก ทุกคืนวันส่งท้ายปีมันจะขึ้นฝั่งมาทำร้ายเด็กๆ โดยซุ่ยจะใช้มือลูบศีรษะเหยื่อ หลังจากนั้นเด็กจะจับไข้ จากเด็กฉลาดเฉลียวจะกลายเป็นเด็กที่สมองเชื่องช้า
       
       ชาวบ้านเกรงว่า ปีศาจซุ่ยจะมาทำร้ายลูกหลาน เมื่อถึงคืนวันสุดท้ายของปี ก็จะจุดไฟเฝ้ายาม ไม่หลับไม่นอนตลอดทั้งคืน เรียกว่า “โส่วซุ่ย” (守祟 หรือ เฝ้าตัวซุ่ย) ต่อมาแผลงเป็น “โส่วซุ่ย” (守岁) ประเพณี“เฝ้าปี” ที่ชาวจีนนิยมปฏิบัติกันในค่ำคืนก่อนผัดเปลี่ยนสู่ปีใหม่แทน
       
       ในคืนนั้นเองมีเรื่องเล่าว่า มีสามีภรรยาคู่หนึ่งแซ่ กวน นำเงินเหรียญออกมาเล่นกับลูก ครั้นลูกน้อยเหนื่อยล้าหลับไป จึงได้นำเงินเหรียญห่อใส่กระดาษแดงแล้ววางไว้ข้างหมอนลูก เมื่อปีศาจซุ่ยบุกเข้าบ้านสกุลกวนหวังทำร้ายเด็ก แต่เพราะแสงทองจากเหรียญโลหะข้างหมอนกระทบเข้าตา ทำให้ซุ่ยตกใจและหนีไป
       
       เรื่องราวดังกล่าวแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านอื่นๆ ต่างพากันลอกเลียนแบบ โดยทุกวันสิ้นปีผู้อาวุโสจะมอบเงินห่อกระดาษแดงแก่ลูกหลาน “ซุ่ย” จะได้ไม่กล้ามาทำร้าย นับแต่นั้นมาจึงเรียกเงินที่ให้นี้ว่า “ยาซุ่ยเฉียน” (压祟钱หรือ เงินทับตัวซุ่ย)ต่อมาแผลงเป็น “เงินทับซุ่ย (ปี)” แทน
       
       * ที่มาของคำว่า “แต๊ะเอีย” มาจากสมัยก่อนเงินตราที่ชาวจีนโบราณใช้กันเป็นโลหะ ขณะนั้นยังไม่มีชุดเสื้อผ้าที่มีกระเป๋า จึงได้นำเงินใส่ถึงและผูกรอบเอว เงินยิ่งมากน้ำหนักยิ่งกดทับที่เอวมากตาม


       กินบัวลอยแล้วออกไปชมโคมไฟ ในคืน ‘หยวนเซียว’

       เทศกาลหยวนเซียว(元宵节) คือวันที่ 15 เดือนอ้ายในปฏิทินจันทรคติ คำว่า 元หยวน มีความหมายว่า แรก ส่วน宵เซียว แปลว่า กลางคืน จึงใช้เรียกคืนที่พระจันทร์เต็มดวงครั้งแรกในรอบปีหลังผ่านพ้นตรุษจีน สำหรับคืนนี้ มีประเพณีว่า ชาวจีนจะต้องรับประทานบัวลอยกันในครอบครัวและออกไปชมโคมไฟที่จะนำมาประดับประดากันอย่างสวยงาม ดังนั้น จึงมีการเรียกเทศกาลนี้อีกอย่างว่า เทศกาลโคมไฟ (灯节)
       
       ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทุกครั้งที่ถึงค่ำคืนเทศกาลหยวนเซียว ผู้คนก็จะหลั่งไหลไปตามท้องถนนเพื่อชมโคมไฟที่มีรูปทรงต่างๆ ทายปัญหาเชาวน์ที่ซ่อนอยู่ในโคมไฟ เล่นดอกไม้ไฟ จุดประทัด แห่สิงโต ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมบันเทิงใจ
       
       นอกจากการชมโคมไฟแล้ว สิ่งหนึ่งที่ลืมไม่ได้ คือการรับประทานบัวลอยที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ภายในมีไส้ทั้งไส้หวานและไส้เค็ม ปั้นเป็นลูกกลมๆ แล้วนำไปต้มหรือนำไปทอด ในยุคแรก ชาวจีนเรียกขนมชนิดนี้ว่า浮圆子ฝูหยวนจื่อ (,浮-ลอย 圆子-ลูกกลมๆ) ต่อมาก็เรียกว่า 汤团ทังถวน(汤-น้ำแกง团-ลูกกลมๆ ) หรือ 汤圆ทังหยวน โดยมีความหมายเหมือนกัน ทั้งออกเสียงใกล้เคียงกัน และ 团圆เมื่อรวมกันแล้ว ก็ได้ความหมายถึงการอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันของคนในครอบครัว


http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9570000012128
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 31, 2014, 09:31:13 pm »

รู้จักประเพณีต่างๆ ในเทศกาลตรุษจีน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    31 มกราคม 2557 16:02 น.

-http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9570000012128-



    astvผู้จัดการออนไลน์--เทศกาลต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ ที่เรียกว่า ชุนเจี๋ย (春节) หรือ ตรุษจีน ถือเป็นประเพณีเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยิ่งใหญ่ของชนชาวฮั่น และยังถือเป็นการเริ่มต้นฤดูเพาะปลูกด้วย โดยกำหนดให้วันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ในอดีตช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง จะเริ่มตั้งแต่พิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าเตาไฟในวันที่ 23 หรือ 24 ของปีเก่า จนถึงเทศกาลหยวนเซียวหรือเทศกาลโคม (แรม 15 ค่ำเดือนอ้าย) โดยแต่ละช่วงจะมีพิธีกรรมธรรมเนียมปฏิบัติที่แตกต่างกัน บางส่วนยังคงสืบทอดกันมาถึงยุคปัจจุบัน ขณะที่บางส่วนได้เลือนหายไป หรือแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา


ตัวอักษร ฝูกลับหัว (福倒) โชคความสุขได้มาถึงบ้านแล้ว

       ติด “ฝูกลับหัว” (福倒) โชคมงคลได้มาถึงบ้านแล้ว
       ระหว่างเทศกาลตรุษจีน ชาวจีนนอกจากนิยมตกแต่งบ้านเรือนด้วยกระดาษแดง ภาพวาด และภาพกระดาษตัดสีสันสดใส สร้างบรรยากาศของความสนุกสนานรื่นเริง และเพื่อเป็นการต้อนรับความสุขและขอโชคขอพร ก็ยังนำอักษรมงคล เช่นตัว ‘福’ (ฝู) หรือตัว 春 (ชุน) มาติดที่บานประตูหน้าบ้าน ตามกำแพง หรือบริเวณเหนือกรอบบนของประตู
       
       การติดอักษรมงคลที่แพร่หลายที่สุด คือ 福 เป็นประเพณีมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยซ่ง และมักติดกลับหัวซึ่งในภาาษจีนกลางเรียก 福倒 (ฝูเต้า)ที่มีความหมายว่า สิริมงคลหรือโชคดีได้มาถึงบ้านแล้ว
       
       เรื่องการกลับหัวตัวอักษรนี้มีเหตุที่มาเมื่อครั้งอดีตกาล ซึ่งเล่าสืบกันมาในหมู่สามัญชนว่า
       
       “สมัยจักรพรรดิหมิงไท่จู่จูหยวนจางแห่งราชวงศ์หมิง ได้ใช้อักษร ‘ฝู’ เป็นเครื่องหมายลับในการสังหารคน หม่าฮองเฮาทราบเรื่องจึงคิดอุบายเพื่อหลีกเลี่ยงภัยดังกล่าวไม่ให้เกิดแก่ราษฎร ด้วยมีพระราชเสาวนีย์ให้ทุกบ้านติดตัวฝูที่หน้าประตูเพื่อลวงให้ฮ่องเต้สับสน
       
       “รุ่งขึ้นชาวเมืองต่างนำตัวอักษรฝูมาติดที่หน้าประตูตามนั้น ทว่ามีบ้านหนึ่งไม่รู้หนังสือจึงติดตัวฝูกลับหัวด้วยความไม่ตั้งใจ เมื่อฮ่องเต้ทอดพระเนตรเห็นเข้าก็ทรงกริ้ว รับสั่งให้ประหารคนในบ้านทั้งหมด หม่าฮองเฮาเห็นท่าไม่ดีจึงรีบทูลยับยั้งไว้ว่า ‘บ้านนี้ทราบว่าพระองค์จะเสด็จมา จึงตั้งใจติดตัวฝูกลับหัว ( 福倒-ฝูเต้า) เพื่อแสดงความปิติยินดีต่อการเสด็จเยือนของพระองค์ ราวกับว่าความสุขสวัสดีและโชคลาภได้มาถึงที่บ้าน’ ได้ยินดังนี้แล้วจูหยวนจางจึงไว้ชีวิตชาวบ้านผู้นั้น การติดตัวฝูกลับหัวสืบต่อมานอกจากเพื่อขอโชคสิริมงคลตามความหมายของตัวอักษรแล้ว ยังเป็นการระลึกถึงคุณความดีของหม่าฮองเฮาในเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วย”


       เชิญเทพผู้พิทักษ์ประตู

       ในวันส่งท้ายปีเก่าหรือที่เรียกว่า ฉูซี (除夕) ชาวจีนมีธรรมเนียมในการติด ‘เหมินเสิน (门神)’ หรือ ภาพเทพเจ้าผู้คุ้มครองประตู
       
       ‘เหมินเสิน’ มีประวัติความเป็นมาค่อนข้างยาวนาน ในอดีตกาลจะถือตัวประตูเป็นเทพเจ้าโดยตรง จนกระทั่งหลังสมัยราชวงศ์ฮั่น (202 B.C.- ค.ศ.220) จึงได้ปรากฏการใช้ภาพคนมาเป็นตัวแทนเทพเจ้า แรกเริ่มเดิมทีใช้ภาพนักรบผู้กล้านามว่า ‘เฉิงชิ่ง (成庆)’ ต่อมาเปลี่ยนเป็นภาพวาดของ ‘จิงเคอ (荆轲)’ จอมยุทธ์ชื่อดังสมัยจ้านกั๋ว (475 - 221 B.C.)
       
       ‘เหมินเสิน’ ในราชวงศ์ใต้และเหนือ (ค.ศ.420 - 589) จะเป็นภาพคู่เทพเจ้าสองพี่น้อง ‘เสินถู (神荼)’ ‘ยูไล (郁垒)’ ตลอดจนสองขุนพลเอกในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618 - 907) ที่มีชื่อว่า ‘ฉินซูเป่า (秦叔宝) และอี้ว์ฉือจิ้งเต๋อ (尉迟敬德)’แต่ต่อมากษัตริย์ถังไท่จงหลี่ซื่อหมินรู้สึกเห็นใจว่าสองขุนพลจะลำบากเกินไป จึงได้สั่งให้จิตรกรหลวงวาดภาพสองขุนพลขึ้นมา แล้วใช้ติดไว้ที่ประตูทั้งสองข้างแทน จึงได้กลายเป็นภาพ ‘เหมินเสิน’ ในเวลาต่อมาเมื่อถึงยุค 5 ราชวงศ์ (ค.ศ.907-960) ได้เริ่มนำภาพของ จงขุย (钟馗) เทพผู้ปราบภูตผีปีศาจ มาติดเพื่อเป็นสิริมงคลด้วย
       
       หลังราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ.960 - 1127) ‘เหมินเสิน’ ยังมีรูปแบบเหมือนก่อนหน้านั้น แต่เพิ่มการประดับตกแต่งบ้านเรือนให้สวยงามขึ้น ในห้องรับแขกและห้องนอนจะมีการติดภาพเทพเจ้า 3 องค์ (三星) ที่เราคุ้นหูกันดีว่า ‘ฮก ลก ซิ่ว (福 - 禄 - 寿)’ นอกจากนั้น ยังมีภาพชุมนุมเทพเจ้า (万神图) ตามอย่างลัทธิเต๋า และภาพพระพุทธเจ้า 3 ปาง ซันเป่าฝอ (三宝佛) ฯลฯ ด้วย
       
       ว่ากันว่า การติดภาพ ‘เหมินเสิน’ ก็เพื่อป้องกันขับไล่สิ่งชั่วร้าย หรือเป็นเสมือนเทพผู้คอยปกปักษ์รักษานั่นเอง


สัตว์ประหลาดในคติปรัมปราจีน ที่มาทำร้ายผู้คนในคืนส่งท้ายปีเก่า

       คืนส่งท้ายปีเก่า
       ชาวจีนมีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับ “ฉูซีเยี่ย (除夕夜)” หรือ คืนส่งท้ายปีเก่าว่า ในยุคโบราณสมัยที่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ มีสัตว์ประหลาดที่ดุร้ายมากตัวหนึ่ง ชื่อว่า “เหนียน (年)” ทุกปีในคืนวันส่งท้ายปี จะขึ้นจากทะเลมาอาละวาดทำร้ายผู้คนและทำลายเรือกสวนไร่นา ในวันนั้นของทุกปีชาวบ้านจึงมักจะหลบกันอยู่แต่ในบ้านตั้งแต่ฟ้ายังไม่มืด ปิดประตูหน้าต่างแน่นหนา และไม่หลับไม่นอนเพื่อเฝ้าระวัง รอจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นจึงเปิดประตูออกมา และกล่าวคำยินดีแก่เพื่อนบ้านที่โชคดีไม่ถูก “เหนียน” ทำร้าย
       
       ในคืนส่งท้ายปีของปีหนึ่ง “เหนียน” ได้เข้าไปอาละวาดในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง กินชาวบ้านจนเรียบ ยกเว้นคู่บ่าวสาวที่เพิ่งแต่งงาน เนื่องจากสวมชุดสีแดงจึงปลอดภัย และเด็กคนหนึ่งที่กำลังเล่นประทัดอยู่กลางถนน ซึ่งเสียงดังจนทำให้ “เหนียน” ตกใจกลัวหนีไป ชาวบ้านจึงรู้จุดอ่อนของ “เหนียน”
       
       ดังนั้น เมื่อถึงคืนส่งท้ายปีเก่า ชาวบ้านจึงพากันสวมใส่เสื้อผ้าสีแดง นำสิ่งของที่มีสีแดงมาประดับตกแต่งบ้านเรือน และจุดประทัด ทำให้ “เหนียน” สัตว์ประหลาดตัวร้ายไม่กล้าออกมาอาละวาดอีก ชาวบ้านจึงอยู่กันอย่างสงบสุข จากนั้นมาจึงมีธรรมเนียมปฏิบัติ ในคืนส่งท้ายปีจะไม่ยอมนอนเพื่อ “เฝ้าปี” หรือเรียกในภาษาจีนว่า โส่วซุ่ย(守岁) เฝ้าดูปีเก่าล่วงไปจนวันใหม่ย่างเข้ามา
       
       ในคืน “เฝ้าปี” สมาชิกในบ้านมีกิจกรรมร่วมกันมากมาย ทั้งด้านการกินและดื่ม ไม่ว่าจะเป็นอาหารทั่วไป เกี๊ยว เหนียนเกา (ขนมเข่ง) เหล้า เบียร์ เมล็ดแตง ของว่าง การเล่นเกม ซึ่งส่วนใหญ่ก็เล่นกันในห้องรับแขก เช่นผู้ใหญ่ก็เล่นหมากล้อม หมากฮอร์ส ไพ่กระดาษ ไพ่นกกระจอก ส่วนเด็กๆ ก็มีเกมแบบเด็กๆ เช่น ขี่ม้าไม้ไผ่ วิ่งไล่จับ ซ่อนแอบ
       
       กระทั่งใกล้เวลาเที่ยงคืน ผู้อาวุโสในบ้านก็จะเริ่มตั้งโต๊ะเพื่อจัดเรียงธูปเทียนไหว้บรรพบุรุษ และต้อนรับเทพแห่งโชคลาภ นอกจากนั้นก็ยังมีการจุดประทัด จุดโคมไฟ ซึ่งเมื่อใกล้เวลาเที่ยงคืนเท่าไหร่ เสียงประทัดก็ยิ่งดังมากขึ้นเท่านั้น กระทั่งรุ่งอรุณแรกของปี ก็จะสวัสดีปีใหม่กัน กินเกี๊ยว เพื่อความเป็นสิริมงคล


       เซ่นไหว้บรรพบุรุษ

       ประเพณีการเซ่นไหว้บูชาบรรพบุรุษในช่วงเทศกาลตรุษจีน ถือกำเนิดขึ้นจากรากฐานแห่งคุณธรรมความกตัญญูกตเวที ที่ชาวจีนยึดมั่นและให้ความสำคัญยิ่ง
       
       ตามประเพณีแบบดั้งเดิม แต่ละบ้านจะนำบันทึกลำดับวงศ์ตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียพู่’ ( 家谱) หรือรูปภาพของบรรพบุรุษหรือแผ่นป้ายที่สลักชื่อบรรพบุรุษ เป็นต้น มาวางไว้ที่โต๊ะเซ่นไหว้ ที่มีกระถางธูปและอาหารเซ่นไหว้
       
       ในประเทศจีน บางแห่งจะทำพิธีสักการะเทพเจ้าแห่งโชคลาภหรือไฉเสิน (财神) หรือที่ไฉ่สิ่งเอี๊ย ในภาษาแต้จิ๋ว พร้อมๆกับเซ่นไหว้บรรพบุรุษ โดยอาหารที่นำมาใช้ถวายเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ตามความนิยมของชาวจีนทางเหนือ โดยมากประกอบด้วย เนื้อแพะ อาหารคาว 5 อย่าง ของหวาน 5 อย่าง ข้าว 5 ชาม ขนมที่ทำจากแป้งสาลีไส้พุทรา 2 ลูก ( คล้ายกับขนมถ้วยฟูในบ้านเรา) และหมั่นโถวขนาดใหญ่ 1 ลูก
       
       แท้จริงแล้วการสักการะบูชาเทพเจ้าและไหว้บรรพบุรุษนั้น ก็คือการกล่าวอวยพรปีใหม่กับเทพและบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วนั่นเอง ขณะเดียวกันก็เพื่อให้ลูกหลานได้รำลึกถึงบรรพชน หลังจากทำพิธีไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษแล้ว ลูกหลานจะช่วยกันเผากระดาษเงิน กระดาษทอง
       
       สำหรับช่วงเวลาในการประกอบพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษนั้น จะแตกต่างกันออกไป กล่าวคือบางบ้านจะเซ่นไหว้ก่อนการรับประทาน ‘เหนียนเย่ฟั่น’ หรืออาหารมื้อแรกของปีใหม่ ขณะที่บางบ้านนิยมเซ่นไหว้ก่อนหรือหลังคืนส่งท้ายปีเก่าหรือ ที่เรียกว่า ‘ฉุ่เย่’ บางบ้านก็นิยมประกอบพิธีในช่วงเช้าของในวันที่ 1 เดือน 1 หรือ ชูอี ( 初一)


       มื้อส่งท้ายปีเก่า

       ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน (年夜饭)’ หมายถึงอาหารค่ำของคืนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญก่อนขึ้นปีใหม่ ที่ชาวจีนให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยมักไหว้บรรพบุรุษ และจุดประทัดกันก่อนที่จะลงมือรับประทานอาหารมื้อพิเศษนี้
       
       ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน’ มีความพิเศษ ตรงที่เป็นมื้อใหญ่ที่สมาชิกในครอบครัวทุกรุ่นทุกวัยและทุกเพศจะพร้อมหน้าพร้อมตาล้อมวงร่วมรับประทานอาหารกัน สมาชิกที่แยกไปอยู่ที่อื่นจะพยายามกลับมาให้ทันวันส่งท้ายปี แต่หากกลับมาไม่ได้จริงๆ ครอบครัวจะเว้นที่ว่างพร้อมวางชามและตะเกียบไว้เสมือนหนึ่งว่ามากันครบ หลังจากทาน ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน’ เสร็จแล้ว ผู้ใหญ่จะให้ ‘ยาซุ่ยเฉียน (压岁钱)’ หรือที่คนไทยเรียกกันว่า ‘อั่งเปา’ แก่เด็กๆ
       
       ความพิเศษของ ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน’ ยังอยู่ที่อาหารหลากหลาย ให้สมาชิกที่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานมาทั้งปี ได้ผ่อนคลายร่วมทานอาหารอย่างมีความสุขอยู่กับครอบครัวในคืนสุดท้ายของปี
       
       ขณะที่ชื่อของอาหารที่นำมาตั้งโต๊ะยังแฝงไว้ด้วยความหมายที่เป็นสิริมงคล จานบังคับที่ทุกโต๊ะต้องมีคือ ‘จี’ (鸡 ไก่) และ ‘อี๋ว์’(鱼 ปลา) แทนความหมาย ‘จี๋เสียงหยูอี้ (吉祥如意 เป็นสิริมงคลสมดังปรารถนา)’ และ ‘เหนียนเหนียนโหยวอี๋ว์ (年年有余 มีเงินทองเหลือใช้ทุกปี)’


       กิน “เกี๊ยวข้ามปี” โชคดีตลอดไป

       ประเพณีการกินเจี่ยวจือ 饺子หรือเกี๊ยวต้มจีนในวันตรุษจีนเริ่มเป็นที่นิยมกันมาตั้งแต่ในสมัยราชวงศ์หมิง(ค.ศ.1368-1644) โดยคนในครอบครัวจะต้องห่อเจี่ยวจือให้เสร็จก่อนเที่ยงคืนของวันสิ้นปี รอจนยามที่เรียกว่า 子时 -จื่อสือ ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 23 - 1 นาฬิกาของวันถัดมาก็จะเริ่มรับประทานกัน และเป็นเวลาเริ่มต้นวันใหม่ของปีใหม่พอดี การทานเจี่ยวจือจึงมีความหมายว่า ‘เปลี่ยนปีเชื่อมเวลา更岁交子'เพราะคำเรียกอาหารชนิดนี้饺-เจี่ยวก็ออกเสียงคล้าย交-เจียวซึ่งมีความหมายว่าเชื่อมต่อกัน และ子-จื่อก็คือ子时 -จื่อสือนั่นเอง
       
       นอกจากนั้น การรับประทานอาหารชนิดนี้ยังมีความหมายสำคัญของการรวมตัวของคนในครอบครัวอีกด้วย เมื่อแป้งที่ห่อไส้เรียกว่า和面-เหอเมี่ยน คำว่า 和พ้องเสียงกับคำว่า 合 -เหอ ที่แปลว่าร่วมกัน และ饺 - เจี่ยวก็ออกเสียงคล้ายกับคำว่า 交 ที่มีอีกความหมายว่า มีความสัมพันธ์ต่อกันด้วย
       
       การที่เกี๊ยวเป็นอาหารสำคัญที่ไม่อาจขาดได้ในวันตรุษจีน ยังมีเหตุผลมาจากรูปลักษณ์ของเจี่ยวจือ ที่เป็นรูปทรงคล้ายเงินในสมัยโบราณ การรับประทานเจี่ยวจือ จึงเหมือนการนำเงินทองเข้ามาสู่ตัว
       
       นอกจากนั้น ไส้ในเจี่ยวจือก็ยังสะดวกต่อการบรรจุสิ่งที่เป็นมงคลลงไปให้เป็นความหวังต่อคนที่รับประทานด้วย เช่น ลูกกวาด ถั่วลิสง พุทราแดง เม็ดเกาลัด เหรียญเงิน โดยคนที่กัดเจอลูกกวาด ชีวิตในปีใหม่ก็จะยิ่งหอมหวาน ในขณะที่ถั่วลิสงมีความหมายว่าแข็งแรงและอายุยืนนาน ส่วนพุทราแดงและเกาลัด ก็จะมีบุตรภายในปีนั้น และหากกัดเจอเหรียญเงินก็จะยิ่งร่ำรวยเงินทอง


       อาหารรับขวัญวันปีใหม่

       การตระเตรียมอาหารการกินในเทศกาลตรุษจีน นับเป็นงานช้างแห่งปีทีเดียว โดยราวสิบวันก่อนวันปีใหม่ชาวจีนจะเริ่มสาละวนกับการซื้อหาข้าวของ อาทิ เป็ด ไก่ ปลา เนื้อ ชา เหล้า ซอส วัตถุดิบเครื่องปรุงสำหรับอาหารผัดทอด ขนมนานาชนิด และผลไม้
       
       อาหารการกินในวันตรุษจีน ยังโปรยประดับด้วยคำที่เป็นสิริมงคล ชาสำหรับคารวะแขก ในวันปีใหม่ของคนเจียงหนันยังใส่ลูกสมอ 2 ลูกไว้ในจานรองถ้วยชาหรือถาดชุดชา เพื่อสื่อความหมายว่า ‘ชาเงิน’ และในสำรับอาหารจะต้องมีผัดผักกาดรวมอยู่ด้วย เพื่อเป็นเคล็ดว่า กินแล้วจะบันดาล ‘ความสนิทสนมอบอุ่น’ เนื่องจาก ‘ผัดผักกาด’ ในภาษาจีนคือ เฉ่าชิงไช่ (炒青菜) ซึ่งมีเสียงใกล้เคียงกับ ชินชินเย่อเย่อ (亲亲热热) ที่แปลว่า ‘ความสนิทสนมอบอุ่น’ และอาหารสำคัญอีกอย่างคือ ผัดถั่วงอก เนื่องจากถั่วงอกเหลืองมีรูปร่างคล้ายกับ ‘หยกหยูอี้’ ซึ่งมีเสียงพ้องกับคำว่า หยูอี้ (如意) ที่แปลว่า สมปรารถนา
       
       นอกจากนี้ ตามประเพณีการกินอาหารปีใหม่จะต้องกินหัวปลา แต่อย่าสวาปามจนเกลี้ยงจนแมวร้องไห้ ธรรมเนียมการกินปลาให้เหลือนี้เพื่อเป็นเคล็ดว่า ‘เหลือกินเหลือใช้’ ซึ่งในภาษาจีน มีคำว่า ชือเซิ่งโหย่วอี๋ว์ (吃剩有鱼) คำว่า ‘鱼-อี๋ว์’ ที่แปลว่าปลานั้น พ้องเสียงกับ ‘余 -อี๋ว์’ ที่แปลว่า เหลือ จึงเป็นเคล็ดว่า ขอให้ชีวิตมั่งมีเหลือกินเหลือใช้
       
       สำรับทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งดีงามของวันรุ่งอรุณแห่งปี
       
       หลังจากรับประทานอาหารมื้อแรกของวันตรุษแล้ว ชาวจีนนิยมไปศาลบรรพบุรุษบูชาบรรพบุรุษ และยังมีวิถีปฏิบัติเพื่อขอพรและขอความเป็นสิริมงคลในวันปีใหม่อื่นๆ ได้แก่ จุดโคมไฟ จุดประทัด ถวายเครื่องเซ่นไหว้เทพเจ้า ไปวัด ออกจากบ้านไปทัศนาจร รวมถึงการไปเก็บต้นงา เพราะเชื่อว่าชีวิตจะเจริญยิ่งๆขึ้นไปเหมือนต้นงาที่งอกขึ้นเป็นข้อๆ ชั้นๆ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 31, 2014, 06:16:55 am »

ไหว้ไฉ่ซิงเอี้ย 2557 เทพเจ้าแห่งโชคลาภ รับวันตรุษจีน

-http://hilight.kapook.com/view/97134-



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ไหว้ไฉ่ซิงเอี้ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภ วันตรุษจีน 2557 มาดูฤกษ์ ไหว้ไฉ่ซิงเอี้ย 2557 วิธีการไหว้ไฉ่ซิงเอี้ย 2557 พร้อมของไหว้ไฉ่ซิงเอี้ย 2557 กันเลย

          วันตรุษจีน ถือเป็นวันมหามงคลที่ชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนต่างก็พากันประกอบพิธีกราบไหว้บูชาฟ้าดิน บูชาเทพเจ้า กราบไหว้บรรพบุรุษ โดยมีความเชื่อว่าการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ จะนำมาซึ่งความสุขความเจริญในชีวิต หน้าที่การงาน ธุรกิจการค้ามีความเจริญรุ่งเรือง มีโชคลาภ ร่ำรวยด้วยทรัพย์สินเงินทอง มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย ทั้งแก่ตนเอง คนในครอบครัว และบริวาร โดยในวันตรุษจีน เทพเจ้าที่ชาวจีนจะไหว้เป็นเทพองค์แรกของปี ก็คือ ไฉ่ซิงเอี้ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภนั่นเอง

          สำหรับ ไฉ่ซิงเอี้ย (财神 หรือ Cai Shen, God of wealth, God of fortune) เทพเจ้าแห่งโชคลาภ นับเป็นเทพเจ้าที่ลูกหลานชาวจีนให้ความสำคัญมากที่สุด ในการเริ่มเข้าสู่ปีนักษัตรใหม่ ในช่วงตรุษจีน และจะได้รับการกราบไหว้เป็นเทพองค์แรก โดยเชื่อว่า ไฉ่ซิงเอี้ย จะช่วยดลบันดาลความมั่งมีศรีสุข ร่ำรวยโชคลาภเงินทองไหลมาเทมา เปี่ยมล้นด้วยความสุขสถาพรแก่ตนและคนในครอบครัวไปตลอดทั้งปี ชาวจีนเชื่อว่า องค์ไฉ่ซิงเอี้ย จะเสด็จมายังโลกมนุษย์เพียงปีละครั้ง คือ ในวันตรุษจีน ดังนั้นตั้งแต่โบราณ เมื่อเข้าสู่วันตรุษจีนชาวจีนจะทำการตั้งโต๊ะบูชาไฉ่ซิงเอี้ย โดยการหันหน้าไปทิศต่าง ๆ ที่เชื่อว่าไฉ่ซิงเอี้ยจะเสด็จลงมา ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี

           สำหรับ วันตรุษจีน 2557 ซึ่งตรงกับวันที่ 31 มกราคม 2557 เทพไฉ่ซิงเอี้ย จะเสด็จลงมาทางทิศใต้ เทพเจ้าสิริมงคลเสด็จมาทางทิศใต้ เทพเจ้าอุปถัมภ์เสด็จมาทางทิศตะวันออก และมีฤกษ์ ไหว้ไฉ่ซิงเอี้ย 2557 ในวันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2557 เวลา 01.19-02.59 น. และให้ตั้งโต๊ะไหว้หน้าบ้านไปทางทิศใต้ เพื่ออัญเชิญเทพเจ้าโชคลาภ เทพเจ้าสิริมงคล เทพเจ้าอุปถัมภ์ มาประทานพร

ของไหว้ไฉ่ซิงเอี้ย

          1. รูปภาพหรือรูปปั้น เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย
          2. แจกันดอกไม้สด 1 คู่
          3. เทียนแดง 1 คู่
          4. กระถางธูป 1 ใบ
          5. ธูป 3 ดอก ต่อหนึ่งคน
          6. ผลไม้ 5 อย่าง (เช่น องุ่น แอปเปิ้ล กล้วย สาลี่ และส้ม)
          7. สาคูแดงต้มสุก 5 ถ้วย
          8. น้ำชา 5 ถ้วย
          9. ข้าวสวย 5 ถ้วย
          10. ขนมจันอับ 1 จาน
          11. เจไฉ่ 5 อย่าง (เช่น เห็ดหอม เห็ดหูหนู ดอกไม้จีน วุ้นเส้น และฟองเต้าหู้)
          12. หงิ่งเตี๋ย 12 ชุด
          13. กิมหงิ่งเต้า 1 คู่
          14. เทียงเถ้าจี๊ 1 ชุด
          15. กระดาษสีเขียว 1 แผ่น (เทียบเชิญสีเขียว)
          16. เทียบเชิญแดง 1 แผ่น

          โดยปกติ ชุดไหว้องค์ไฉ่ซิงเอี้ย จะมีขายตามศาลเจ้าจีนทั่วไป หรือร้านขายพวกของมงคลของจีน ซึ่งอาจจะต้องตรวจสอบก่อนว่ามีของครบหรือไม่ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดในบรรดาชุดไหว้ทั้งหมด ก็คือเทียบเชิญสีแดง และสีเขียว เพื่อใช้เขียนชื่อที่อยู่ของผู้ไหว้ และเขียนเชิญไฉ่ซิงเอี้ยนั่นเอง

การประกอบพิธีไหว้ไฉ่ซิงเอี้ย

          1. ตั้งโต๊ะบูชาพร้อมจัดเครื่องเซ่นไหว้ก่อนเวลาที่เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ยจะเสด็จลงมาเล็กน้อย โดยหันไปทางทิศใต้ และผู้ไหว้หันหน้าไปทางทิศใต้เช่นกัน

          2. เมื่อได้เวลา ผู้นำพิธีจุดธูปไหว้ 3 ดอก กล่าวอัญเชิญ ขอพรและโชคลาภจากไฉ่ซิงเอี้ย โดยกล่าวว่า "วันนี้ข้าพเจ้า..(ชื่อผู้ขอพร).. ขอเรียนเชิญองค์ไฉ่ซิงเอี้ย มารับเครื่องสักการะบูชา ซึ่งมี (กล่าวถึงสิ่งที่ท่านได้จัดเตรียมและนำมาถวาย) และหลังจากองค์ท่านได้รับเครื่องสักการะเหล่านี้แล้ว จงประทานพรให้ครอบครัวของข้าพเจ้าทุกคน จงประสบแต่โชคลาภความสุข และความสำเร็จ สมดังที่มุ่งหวังทุกประการ

          3. ผู้ร่วมพิธีและคนที่ชงในปีนี้จุดธูปและไหว้ขอพร

          4. ผู้นำพิธี นำขอไหว้ที่เป็นกระดาษทั้งหมด เผารวมกับเทียบเชิญแดงและสีเขียว

          5. ผู้นำพิธีอัญเชิญไฉ่ซิงเอี้ย กระถางธูป เทียนแดง เข้าไปในบ้าน และปิดประตูบ้าน เพื่อเชิญเทพเข้าบ้าน

          สำหรับของไหว้ที่เป็นอาหาร ผลไม้ และขนม สามารถรับประทานได้ทันทีหรือเก็บไว้ก็ได้ แต่ไม่ควรทิ้งไปเพราะถือเป็นของมงคล ทั้งนี้ หากไม่สะดวก หรือไม่มีเวลาจัดเตรียมของไหว้ สามารถใช้เพียงธูปเทียน จุดธูปกล่าวอัญเชิญท่าน ตามฤกษ์และทิศทางที่ท่านจะเสด็จมา และกล่าวคำสักการะขอพรจากเทพเจ้าแห่งโชคลาภ จากนั้นปักธูปลงในกระถาง แล้วกล่าวอัญเชิญท่าน เข้ามาทางประตูบ้าน

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 31, 2014, 06:01:54 am »

เคล็ดลับกินตรุษจีน ให้สวยและรวย!
ASTVผู้จัดการออนไลน์
   6 กุมภาพันธ์ 2556 08:21 น.

-http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9560000014754-

By Lady Manager













     อุบ๊ะ เทศกาลตรุษจีนหมูเห็ดเป็ดไก่จัดมาเต็ม แถมขนมเข่งขนมไข่ ฯลฯ สารพัดขนมของโปรดสาวเราอีกตรึม! ล้วนเป็น อาหารคาวหวานเมนูมงคล สำหรับไหว้และต้องกินเอาเคล็ดทั้งนั้น
       
       แต่ทำไงดี! กลัวอ้วน เกรงเบาหวานความดันโลหิตขึ้น!!
       
       เรามีเคล็ดลับการตะลุยกินตรุษจีนจากคุณหมออายุรวัฒน์ นพ.กฤษดา ศิรามพุช มาบอกต่อค่ะ
       
       จัดซาแซ เสียบกุ้งปลาแทนหมูเป็ด


       ปกติไหว้ของคาว 3 อย่าง เรียกว่า ชุดซาแซ ประกอบด้วย หมู เป็ด ไก่ แต่ถ้าไหว้ 5 อย่าง เรียกว่า ชุดโหงวแซ ประกอบด้วยหมู เป็ด ไก่ ตับ ปลา ซึ่งแนะนำให้ไหว้เพียงชุดซาแซ จัดของคาวสัก 3 อย่างพอ เอาเงินไปเน้นซื้อผลไม้ดีกว่านะคะ
       
       “ตัดเป็ดออกเลยครับ เพราะเป็ดมีไขมันมากกว่าไก่” หมอกฤษดาจัดให้
       
       “เอาปลากับกุ้งแทนเป็ดกับหมู”
       
       เพราะปลาหมายถึง เหลือกินเหลือใช้ อุดมสมบูรณ์ ยิ่งเป็นกุ้งมังกร หัวใหญ่มีก้าม ส่งเสริมให้มีอำนาจวาสนา
       
       “เป็นลูกชิ้นปลาก็ได้นะครับ” ให้ความรู้สึกถึงอำนาจวาสนา
       
       ถ้าเป็นลูกชิ้นปลา ตามภาษาจีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า ฮื้อ-อี๊ แปลว่า ลูกปลากลมๆ ได้มงคลสองเด้ง เหลือกินเหลือใช้กับกลมๆ ซึ่งคนจีนตีความว่า เป็นความราบรื่น ทำกิจการงานใดก็ไม่สะดุด
       
       ปลิงทะเล หัวหมู บาทาไก่ กับน้ำจิ้มซีฟู้ด ดูดซึมคอลลาเจนได้ดี


       อย่ายี้ค่ะ ถ้าเราจะแนะให้คุณสาวๆ กินตีนไก่ หรือหัวหมู หรือบ้านไหนร่ำรวยจัดปลิงทะเลไหว้เจ้า และนำมาทำเมนูเด็ด ไม่ว่าปลิงทะเลตุ๋นหม้อดิน หรือปลิงทะเลน้ำแดง เพื่อนสาวห้ามพลาดเลยนะคะ
       
       “คนมักคิดว่าหัวหมูตัวอ้วน แต่จริงๆ แล้ว มันคือ แหล่งคอลลาเจน คนฝรั่งเศสถึงขนาดเอาหัวหมูไปเคี่ยวและทำเยลลีหัวหมู” คุณหมอกฤษดา เผยต่อ
       
       “ปลิงทะเล บาทาไก่ ก็มีคอลลาเจนเยอะ รวมทั้งอาหารทะเลต่างๆ กุ้งหอยปูปลา แต่วิธีกินให้ได้ผลดูดซึมคอลลาเจนได้ดีคือ ต้องกินร่วมกับวิตามินซี
       
       การกินร่วมกับน้ำจิ้มซีฟู้ดที่บีบมะนาวเป็นวิธีดีที่สุดครับ หรือกินเสร็จกินส้มล้างปากด้วยก็ได้ครับ”
       
       โห ถูกใจมากเลยค่ะ เนื่องจากสาวส่วนใหญ่ชอบรสเปรี้ยวต้องจิ้มแก้เลี่ยนอยู่แล้ว
       
       เน้นขนมไหว้ที่ประกอบไปด้วยธัญพืช แกล้มน้ำชาน้ำสมุนไพร

เคล็ดลับกินตรุษจีน ให้สวยและรวย!
       หากดูรายชื่อขนมไหว้ อุ้ย มากมายหลากหลายค่ะ ไม่ว่าจะเป็นขนมเทียน ขนมเข่ง ขนมไข่ ขนมจันอับ ขนมถ้วยฟู และซาลาเปา เป็นต้น
       
       “ขนมพวกนี้หนักแป้ง และออกหวานด้วย” คุณหมอกฤษดา แนะ
       
       “ควรเน้นขนมที่มีถั่ว มีธัญพืช อย่าง ขนมจันอับที่มีงาถั่วธัญพืช ขนมคอเป็ดที่เป็นงา ขนมตุ๊บตั๊บที่ใส่ถั่ว หรือเม่งทึ้งที่ทำจากงาดำ จำง่ายๆ ขนมที่ต้องเคี้ยวเยอะๆ เพราะว่ามันมักจะมีใยอาหารเยอะด้วยครับ และอาหารพวกนี้จะช่วยดักน้ำตาลครับ และดักคราบไขมันทั้งหลายด้วยครับ”
       
       และหากกินขนมเหล่านี้ พร้อมจิบชาด้วย ยิ่งเพิ่มคุณประโยชน์แก่สุขภาพ
       
       “สังเกต คนจีนจะกินขนม เขาจะเจียะเต๊ด้วย เออมันตัดรสหวานดีนะ แต่จริงๆ แล้ว มีเหตุผลมากกว่านั้น ตัวน้ำชามีสารแทนนิน (Tannin) เป็นตัวช่วยลดการอักเสบ และมีกลุ่มของโพลีฟีนอล (Pholyphenols) คือ ตัวที่ต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดไขมันด้วยครับผม”
       
       คุณหมอยังบอกด้วยว่า นอกจากชาจีน จะเป็นชาเขียว หรือชาสมุนไพรอื่นๆ อาทิ ชาตะไคร้ ชามะตูม หรือแม้กระทั่งเก๊กฮวยก็ได้
       
       “พวกนี้ช่วยลดความดันลดไขมันด้วยครับ”
       
       กินเลี้ยงตรุษจีนเสร็จขยับกาย จัดวันล้างพิษ


       หลังกินเลี้ยงตรุษจีนแล้ว คุณหมอกฤษดาแนะว่า ควรขยับร่างกายออกไปเดินย่อยอาหารบ้าง
       
       สาวๆ อาจไปเดินช้อปปิ้งตามห้างสรรพสินค้า เพื่อลดอันตรายจากไขมันและส่วนเกินจากอาหารมื้อมงคล
       
       “โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมื้อถัดไป ควรลดพวกที่เราหนักไปมื้อแรก เช่น มื้อแรกกินไก่ต้ม มื้อถัดไปอาจจะไปหนักที่ผลไม้ เพราะในชุดไหว้ก็มีผลไม้ อย่างส้ม เป็นผลไม้มงคลด้วยและช่วยล้างพิษไขมันด้วย” ที่สำคัญ คุณหมอกฤษดา แนะให้จัดวันล้างพิษทันทีหนึ่งวัน
       
       “คือ ในวันนี้ไม่กินเนื้อแดงเลย หลีกเลี้ยงพวกแป้งได้เลยยิ่งดี เน้นทานผักผลไม้ หรือกินแอปเปิ้ลอย่างเดียว หรือส้มอย่างเดียว หรือสัปปะรดอย่างเดียว ล้างพิษไปเลยหนึ่งวัน”
       
       ไอเดียเริ่ด! จัดเต็มกินผลไม้มงคลปิดท้าย แอปเปิ้ล แปลว่า โชคดีราบรื่น ส้มสีทองเป็นมหามงคล สับปะรดก็นำโชคลาภเข้ามาหา แถมเสริมวิตามินได้สุขภาพ
       
       ขอเพียงรู้จักเลือก รู้จักตัดใจ และรู้จักบังคับตัวเอง
       
       ตรุษจีนปีนี้ รับรองคุณสาวๆ เฮง เฮง รวย รวย และสวย สวย สุขภาพแข็งแรงทุกคนค่ะ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

เคล็ดวิธีปรับเมนูของไหว้ตรุษจีน กินปลอดไขมันในเลือดสูง
ASTVผู้จัดการออนไลน์
   29 มกราคม 2557 09:54 น.

-http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9570000010598-

By Lady Manager
       
       เทศกาลตรุษจีนเป็นช่วงที่คนในครอบครัวมาเจอกันพร้อมหน้า เพื่อไหว้บรรพบุรุษ หลังจากนั้นก็จะร่วมกินอาหารไหว้อย่างมีความสุข
       
       สุขปาก ทว่าอาจจะไม่สุขกายสุขใจถ้ายึดกินแต่เป็ด ไก่ หมูสามชั้น ฯลฯ ปัญหาไขมันในเลือดขึ้นสูง จะตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งญาติผู้ใหญ่สูงวัย หรือแม้แต่คุณๆ วัยทำงานเอง



       “ช่วงตรุษจีนเป็นช่วงที่กินกันจนอิ่มเกินพอดี เนื่องจากการกินอาหารหลายมื้อ ประกอบด้วยอาหารหลากหลายที่ส่วนใหญ่ไขมันสูง ยิ่งกินกับลูกหลานยิ่งสนุกจนทำให้กินเพลินจนเกินจำเป็น และอาจมีผลเสียต่อสุขภาพโดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องไขมันสูงอยู่แล้ว จะยิ่งมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคไขมันในเลือดสูงยิ่งขึ้น”
       
       นฤมล วัฒนาโสภณ นักโภชนาการ โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท (แผนกผู้สูงอายุ) กล่าวว่า โรคนี้มีสาเหตุหลักมาจากการกิน
       
       “การเข้าครัวทำอาหารไหว้ หรือซื้อของกินของไหว้ที่ช่วยลดความเสี่ยงของไขมันสูง จะสามารถช่วยลดปริมาณไขมันที่ผู้สูงอายุรับประทานลงได้มาก”
       
       ของไหว้ขาประจำ คอเลสเตอรอลนำโด่ง แป้งหวานมาเด่น

   


       เริ่มจากการจัดมื้อไหว้เทพเจ้า (ไป๊เล่าเอี๊ย) ซึ่งจะไหว้กันตอนเช้ามืดช่วงเวลา 07.00-08.00 น.มักจะประกอบด้วยเนื้อสัตว์ต่างๆ อาจจะสามหรือห้าอย่าง ซึ่งนิยมไหว้กันด้วย หมูสามชั้นต้ม (คอเลสเตอรอลสูง), ไก่และเป็ดทั้งตัวไม่ตัดขา (คอเลสเตอรอลสูงจากหนังและเครื่องใน), ปลาทั้งตัวไม่ตัดครีบ และหาง, ปลาหมึกแห้ง และตับ (คอเลสเตอรอลสูง) และขนมเข่ง (คอเลสเตอรอลสูงจากน้ำมัน) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
       
       อีกมื้อคือ การไหว้บรรพบุรุษ (ไป๊เป๊บ๊อ) ไหว้กันในช่วง 09.00 น.ถึงก่อนเที่ยง ซึ่งนิยมไหว้กันที่บ้านของพ่อแม่ถือเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว มักจะไหว้กันด้วยอาหารที่บรรพบุรุษชอบ
       
       นอกจากนี้ยังมีไก่ทั้งตัวต้ม (หนังมีคอเลสเตอรอลสูง), ขาหมูตุ๋น (คอเลสเตอรอลสูง), เส้นหมี่สดเส้นยาวต่อเนื่องผัด (ไขมันสูงจากน้ำมัน), แกงจืด, ผัดผักนิยมใช้ถั่วงอก, มันแกว และขนมต่างๆ เช่น ขนมเข่ง, ขนมถ้วยฟู และน้ำชา ฯลฯ
       
       ส่วนมื้อที่สามที่จะไหว้กันในช่วงบ่าย เป็นการไหว้วิญญาณที่ไม่มีญาติ (ไป๊ฮ้อเฮียตี๋) ซึ่งนิยมไหว้ด้วยเนื้อสัตว์ 3-5 อย่าง (ซาแซ หรือโหงวแซ) เช่น หมู (คอเลสเตอรอลสูง), ไก่ และเป็ด (คอเลสเตอรอลสูง) และประกอบด้วยของหวาน เช่น ซาลาเปา, ขนมถ้วยฟู, ขนมสาลี่, ขนมไข่, เผือกเชื่อมน้ำตาล (น้ำตาล และแป้ง) และผลไม้ 5 อย่างคือส้มสีเหลืองทอง, องุ่น, กล้วย, สัปปะรด, สาลี่ ฯลฯ
       
       และถ้าจะให้ครบยิ่งขึ้นก็จะมีการไหว้ครั้งที่ 4 คือ การไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภ (ไฉ่ซิงเอี๊ย) นิยมไหว้ด้วยขนมอี๊ (สาคูต้มสุกน้ำเชื่อม ), ผลไม้ 5 อย่าง, ขนมหวาน 3 อย่าง เช่น ขนมเข่ง, ขนมฮวดก๊วย, ขนมชั้น ฯลฯ
       
       ปรับเมนูไหว้ เลี่ยงเป็ด-เครื่องใน เน้นปลา-ไก่บ้าน
       
       "อาหารตรุษจีนที่เป็นเนื้อสัตว์สามหรือห้าอย่าง ควรเลือกทำจานปลาเป็นจานหลัก เช่น ปลานึ่งกับน้ำจิ้ม ส่วนไก่ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกเป็นไก่บ้าน เพราะไขมันน้อยกว่า และควรให้ท่านรับประทานส่วนเนื้ออกที่ลอดหนังออกเพราะเนื้อส่วนอกมีไขมันน้อย” นักโภชนาการนฤมล ให้ไอเดียปรับเมนูไหว้ เพื่อสุขภาพที่ดีและลดเสี่ยงโรคไขมันในหลอดเลือดในช่วงตรุษจีน



       "ถ้าเป็นไปได้ควรให้ท่านเลี่ยงการรับประทานเป็ด (เป็ดมีไขมันมากกว่าไก่หลายเท่า) แต่ถ้าท่านชอบเนื้อเป็ดควรใช้วิธีการลดมันด้วยการย่างเป็ดแบบรีดน้ำมัน และลอกหนังออก รวมถึงหลีกเลี่ยงเครื่องในทุกชนิดเพราะมีคอเลสเตอรอลสูง
       
       หมูสามชั้นก็ควรลอกหนังและชั้นไขมันออกก่อนทำอาหารให้ท่านทานเพราะไขมันหมูเป็นไขมันอิ่มตัว”
       
       นำหมี่มาคลุกน้ำมันแทนการผัด เลือกขนมหวานไม่ใส่มะพร้าว
       
       "จานหลักอีกมื้อคือหมี่ผัด ควรเลี่ยงจากการผัดมาเป็นการคลุกด้วยน้ำมันรำข้าวเพราะการคลุกสามารถควบคุมปริมาณน้ำมันได้ดีกว่าการผัด และน้ำมันรำข้าวยังดีต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องไขมันเพราะเป็นไขมันไม่อิ่มตัว ช่วยลดปริมาณไขมันเลว (แอลดีแอล) และเพิ่มไขมันชนิดดี (เอชดีแอล)
       
       ควรใส่ผักเยอะๆ จะได้เป็นการลดปริมาณเส้นที่ท่านอาจทานมากเกินไป เพราะเส้นจากแป้งจะเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ซึ่งจะไปสะสมในเส้นเลือด”




       สำหรับขนมหวานชนิดต่างๆ โดยเฉพาะขนมเทียน ขนมเข่ง นฤมลแนะนำว่า
       
       "ควรเลือกขนมเข่งแบบไม่มีมะพร้าวเป็นส่วนผสม เพราะในมะเพร้าวก็มีไขมัน และควรทำหรือซื้อที่เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อควบคุมการทานของท่าน ควรดูแลไม่ให้ท่านทานมากเกินไป ส่วนขนมสาลี่ ขนมถ้วยฟู และซาลาเปาก็เช่นเดียวกัน ควรเลือกซื้อแบบขนาดเล็ก เพราะแป้งก็จะเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์และสะสมในเส้นเลือดได้เช่นเดียวกัน”
       
       เคล็ดวิธีกินให้ปลอดภัย กระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว
       
       "วิธีในการควบคุมปริมาณการกินที่ได้ผล คือแบ่งอาหารออกมาแค่บางส่วนแค่พอดีรับประทานในแต่ละมื้อจากของไหว้ทั้งหมด ถ้าไหว้ในปริมาณมากสามารถใช้เทคนิคการถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้รับประทานในวันอื่นๆ ก็ได้ หรือถ้าคิดว่ารับประทานไม่หมดควรแบ่งให้เพื่อนบ้านเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีด้วย
       
       เทศกาลตรุษจีนเป็นเทศกาลมงคล เป็นเทศกาลของครอบครัวที่ทุกคนมาเจอกันอยู่ร่วมกัน แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น การเลือกหรือเตรียมอาหารของไหว้จึงเป็นสิ่งสำคัญ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและสุขภาพที่ดีควบคู่ไปด้วยกัน" เธอฝากปิดท้าย



       *คนไทยมีไขมันในเลือดสูงถึง 25.5 ล้านคน*
       
       ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงถึง 25.5 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2556) พบมากในผู้ชายที่อายุ 55 ปีขึ้นไป และผู้หญิงที่อายุ 45 ปีขึ้นไป
       
       ไขมันสูงที่เราชอบพูดถึงกันนั้นเป็นอันตรายต่อร่างกาย เพราะไขมันตัวร้าย (แอลดีแอล) จะไปฝังตัวในผนังหลอดเลือดซึ่งยิ่งสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นผนังหลอดเลือดหนา ตีบ หรือตัน ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ไม่ได้หรือไม่เพียงพอ
       
       ยิ่งไปเกิดในบริเวณที่เป็นอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หรือหัวใจ ก็อาจทำให้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบ หรือตัน และถ้าไปอุดตันที่เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอาจกลายเป็นอัมพฤกษ์ หรืออัมพาตได้
       
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 30, 2014, 06:00:47 am »

ตำนานการเชิดสิงโตในวันตรุษจีน



ในวันตรุษจีนของทุกๆ ปี รวมไปถึงวันตรุษจีน2557 นี้ หลายคนมักจะเห็นการแสดง "เชิดสิงโต" ซึ่งเป็นเหมือนประเพณีที่ทำกันเป็นประจำ เป็นการเอาฤกษ์เอาชัยให้เกิดความเป็นสิริมงคลในวันตรุษจีนหรือวันปีใหม่จีนนั้นเอง แต่ชาวสนุก!ดูดวงทราบไหมคะว่า ทำไมต้องมีการเชิดสิงโตในวันตรุษจีน? มาหาคำตอบได้ที่นี่กับเรื่องราว "ตำนานการเชิดสิงโตในวันตรุษจีน" ค่ะ



คนจีนโบราณมีความเชื่อว่า "สิงโต" เป็นบุตรของมังกร ซึ่งมีอำนาจและทรงพลังมากที่สุดในบรรดาบุตรทั้งหมด ได้รับมอบหมายจากสวรรค์ในฐานะผู้พิทักษ์ สิงโตจึงถือเป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจ ความกล้าหาญ และความจงรักภักดี นอกจากนี้ยังเชื่อว่ากันว่าสิงโตเป็นสัตว์เทพเจ้าที่ศักดิ์สิทธิ์ แม้เพียงเสียงคำรามก็สามารถปัดเป่าวิญญาณและสิ่งชั่วร้ายได้

ด้วยเหตุนี้เองชาวจีนจึงนิยมสร้างรูปสลักสิงโตไว้ตรงหน้าพระราชวัง ตามหน้าบ้านหรือสถานที่ต่างๆ เพื่อเป็นองครักษ์ผู้พิทักษ์คอยคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายภูตผีปีศาจและสิ่งชั่วร้ายต่างๆ โดยจะสร้างสิงโตไว้ตรงหน้าประตูทางเข้าเป็นคู่ สิงโตตัวผู้จะอยู่ทางด้านขวามือ(ของผู้ที่เดินเข้า)และสิงโตตัวเมียจะอยู่ทางด้านซ้าย

http://horoscope.sanook.com/

จริงๆ แล้วตำนานที่มาของการเชิดสิงโตมีหลากหลายแตกต่างกันอยู่พอสมควร แต่ในที่นี้ขอยกตัวอย่างมาแค่บางส่วนที่เป็นที่เล่ากันเป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน

มีตำนานหนึ่งกล่าวว่าในประเทศจีนสมัยห้าราชวงศ์ในวันตรุษจีน (หรือบางที่ก็ว่าวันไหว้พระจันทร์) จะปรากฏสัตว์ร้ายชื่อว่า เหนียน Nien (ตัวเหนียนนั้นมีตัวยาวแปดฟุต ศีรษะใหญ่ มีฟันแหลมคม ตาเหมือนระฆังทองแดง มีใบหน้าสีเขียว มีเขาบนศีรษะ) ซึ่งจะคอยทำร้ายผู้คน สัตว์เลี้ยงและทำลายพืชผลไร่นาเสียหาย ผู้คนจึงต้องบวงสรวงต่อเทพเจ้าบนสวรรค์ เทพเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้จึงส่งเทพสิงโตมาขับไล่เจ้าตัวเหนียนไป



ในวันตรุษจีนปีต่อมา เจ้าตัวเหนียนก็กลับมาสร้างความเดือดร้อนอีก แต่คราวนี้เทพสิงโตไม่ลงมาช่วยอีกแล้ว ผู้คนจึงต้องร่วมใจกันแต่งตัวทำเลียนแบบสิงโต จึงสามารถขับไล่ตัวเหนียนไปได้และเกิดเป็นประเพณีเชิดสิงโตขึ้นในวันตรุษจีนปีต่อๆ มา

บางตำนานเล่าว่า พระยูไลได้เสร็จมาปราบพยศตัวเหนียนจนเชื่องและพากลับไปชาวบ้านจึงเฉลิมฉลองและจัดทำการแต่งตัวเลียนแบบท่าทางตัวเหนียนเพื่อบูชาพระยูไล จึงเกิดเป็นการเชิดสิงโต

อีกหนึ่งตำนานเล่าว่าการเชิดสิงโตเริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ้อง แม่ทัพจงอวี่ (Zhong Yue) ยกทัพออกรบที่ดินแดนหลินหยี (Lin Yi) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีนแถวๆ ประเทศลาว และพม่า ข้าศึกชาวพื้นเมืองได้ใช้กองทัพช้างในการสู้รบ ทำให้แม่ทัพจงอวี่ต้องรับศึกหนัก จึงใช้อุบายให้ทหารกองหน้าแต่งตัวเป็นสิงโต กองทัพช้างของข้าศึกเห็นจึงแตกตื่นและแตกพ่ายไป ประเทศจีนจึงมีประเพณีเชิดสิงโตเพื่อฉลองชัยชนะ

นอกจากนี้ประเพณีการเชิดสิงโตยังแบ่งออกเป็นแบบเหนือ(ปักกิ่ง)ซึ่งเลียนแบบท่าทางของสุนัข แต่ถ้าเป็นการเชิดสิงโตแบบใต้จะเลียนแบบท่าทางของแมว ซึ่งยังแบ่งเป็นแบบกวางตุ้ง ฮกเกี้ยนอีกด้วย และการเชิดสิงโตแบบใต้นี้ยังมีการแบ่งประเภทตามสีของหน้าสิงโต ได้แก่ สีเหลืองจะหมายถึงเล่าปี่ สีแดงจะหมายถึงกวนอู และสีดำจะหมายถึงเตียวหุย ที่สำคัญลักษณะของขนและพู่ยังต่างกันออกไปอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก FW Mail, http://blog.th.88db.com/
ขอบคุณภาพประกอบจาก Photos.com



ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 29, 2014, 09:26:02 pm »

“ส้ม” ของขวัญในเทศกาลตรุษจีน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    29 มกราคม 2557 14:26 น.

-http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9570000010505-


เทศกาลตรุษจีน ถือว่าเป็นวันหยุดตามประเพณีของชาวจีนที่สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติของจีน
       
       และนอกจากจะเป็นช่วงที่มีงานเฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่แล้ว ช่วงตรุษจีนนั้นชาวจีน และผู้คนที่มีเชื้อสายจีนจะกลับบ้านมารวมตัวกันพร้อมหน้าพร้อมตาในครอบครัว ร่วมกันกินอาหารที่มีความหมายเป็นมงคล มีการอวยพรในสิ่งที่เป็นมงคลให้แก่กัน และมอบของขวัญที่เป็นมงคลแก่กัน
       
       ของขวัญอย่างหนึ่งที่นิยมมอบให้แก่ผู้ใหญ่ก็คือ “ส้ม” โดยชามจีนถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมาอย่างยาวนานว่า ในวันเที่ยว หรือวันขึ้นปีใหม่นี้ (วันที่หนึ่งในเดือนหนึ่งของปี) จะไปไหว้ขอพรจากญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ และไปอวยพรให้แก่ท่าน โดนจะนำส้มสีทองไปมอบให้
       
       เหตุที่เลือกส้มสีทอง ก็เพราะว่า “ส้ม” ออกเสียงตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า “กิก” ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่าความสุข หรือโชคลาภ ส่วนในสำเนียงฮกเกี้ยน และกวางตุ้ง เรียกส้มว่า “ก้าม” ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่าทอง ฉะนั้น การมอบส้มให้แก่ผู้ใหญ่จึงเหมือนการนำความสุขหรือโชคลาภไปให้นั่นเอง
       
       แต่นอกจากจะมีความหมายที่เป็นมงคลแล้ว “ส้ม” ก็ยังมีประโยชน์ในตัวมากมาย เพราะเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินต่างๆ อาทิ วิตามินซี วิตามินเอ (เบต้าแคโรทีน) วิตามินบี วิตามินดี แคลเซียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส คอลลาเจน และยังมีใยอาหารที่ช่วยในเรื่องระบบการขับถ่ายอีกด้วย
       
       จากสารอาหารที่มีอยู่ในส้มนั้น จึงมีส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ส้มมีวิตามินซีช่วยรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยล้างสารพิษในร่างกาย ส้มช่วยให้ผิวมีสุขภาพดี ไม่แห้งกร้าน ช่วยบำรุงสายตา และหากว่ากินส้ม หรือดื่มน้ำส้มเข้าไป ก็จะช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า และแก้กระหาย
       
       “ส้ม” จึงเป็นทั้งของขวัญที่เป็นมงคล และเป็นของขวัญที่มีประโยชน์แก่ผู้รับ เป็นตัวเลือกที่ดีมากๆ หากจะเลือกมาเป็นของขวัญในช่วงตรุษจีนนี้

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 29, 2014, 09:16:43 pm »


เทศกาลสำคัญ วันตรุษจีน

-http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D_%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99/-


   ตรุษจีน เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ทุกคนต่างให้ความสำคัญอย่างยิ่งมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายจีน ตรุษจีนถือเป็นวันหยุดที่สำคัญมากช่วงหนึ่งของชาวจีน และยังแผ่อิทธิพลไปถึงการฉลองปีใหม่ของชนชาติที่อยู่รายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ม้ง มองโกเลีย เวียดนาม ทิเบต เนปาล และภูฐาน สำหรับชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นกันก็จะมีประเพณีเฉลิมฉลองต่างกันไป

ประวัติของวันขึ้นปีใหม่ของจีน
มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในวัฒนธรรมอื่นๆ ความปรารถนาสิ่งที่เราหวังว่าจะได้ปรับปรุง หรือที่เราคิดทำเมื่อเริ่มต้นในปีใหม่ มาถึงตอนนี้ ถ้าไม่ถูกลืมก็ถูกยัดลงกล่องใส่ตู้ปิดตายและแปะหน้าตู้ว่าไม่แน่ เอาไว้ทำปีหน้าแล้วกันอย่างไรก็ดี ความหวังก็คงยังไม่สูญไปทั้งหมดเพราะโอกาสที่สองกำลังมาถึงแล้ว กับการฉลองวันปีใหม่จีนหรือที่เรารู้จักกันว่า ตรุษจีนในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ นั้นเอง 

        ตรุษจีนนั้นคล้ายคลึงกับวันปีใหม่ในประเทศทางตะวันตก ร่องรอยของประเพณี และพิธีกรรมความเป็นมาของการฉลองตรุษจีน นั้นมีมานานกว่าศตวรรษ จริงๆแล้วนานมาก จนไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่าเป็น การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลองเป็นเวลานานถึง 15 วัน  การเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ, สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูก ทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่างหน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูก ประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่างเช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืนเป็นต้น

ทั้งหมดเห็นจะได้ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า อาหารค่ำนั้นประกอบด้วยอาหารทะเล และอาหารนึ่งเช่นขนมจีบ ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความหมายต่างๆกัน อาหารอันโอชะอย่างเช่นกุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรือง และความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร และเป็นธรรมดาเสื้อผ้าที่ใส่สีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคลเป็นการไล่ปีศาจร้ายให้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง 

             เมื่อถึงวันตรุษจีน ประเพณีตั้งแต่โบราณมาเรียกว่า อังเปา ซึ่งหมายถึง กระเป๋าแดง เป็นการที่คู่แต่งงานให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว ต่าง ออกมาเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ เริ่มจากญาติๆ แล้วต่อด้วยเพื่อนบ้าน


ที่มาข้อมูล : tcbl-thai.net