ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2014, 01:23:11 pm »

ต่อค่ะ

#เวลาฝึกหัดจิตใจเบื้องต้น พยายามจะทำภาวนาให้จิตมีความสงบ ทั้งๆ ที่มีครูมีอาจารย์มีตำรับตำราบอกสอนไว้แล้วก็ตาม แต่เวลาเข้าสู่สงครามคือขึ้นเวที ได้แก่การประกอบความพากเพียร จะเป็นท่านั่งท่ายืนท่าเดินก็ตาม ซึ่งเป็นท่าแห่งความเพียรที่เราได้ตั้งเอาไว้เพื่อชำระกิเลส มันจะล้มเหลวไปๆ เพราะถูกกิเลสบีบบังคับ ถูกกิเลสเตะถูกกิเลสยัน ให้เหลวแหลกแตกกระจายยึดหลักเกณฑ์ไม่ได้ เช่น ให้ภาวนาคำว่า พุทโธ ๆ นี้ไม่กี่วินาที เราไม่อยากจะพูดถึงนาทีเลย ก็ถูกกิเลสลัดปัดทิ้งลงไปเสีย เหลือตั้งแต่ความเผลอสติอันเป็นเรื่องของกิเลสทำงาน แล้วฉุดลากจิตใจของเราไปสู่อารมณ์นั้นสู่อารมณ์นี้ ทั้งๆ ที่เราอยู่ในท่าแห่งการประกอบความเพียร หรือท่ารบกับกิเลสนั้นแล เราก็ไม่มีโอกาสที่จะทราบได้ จิตของเราจึงหาความสงบไม่ได้

เพราะคำว่าความเผลอเรอนั้น ไม่ใช่เป็นทางให้เดินเพื่อความสงบของใจ แต่เป็นทางให้เป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน เพราะกิเลสผลักดันหรือฉุดลากให้ไปต่างหาก เมื่อเป็นเช่นนั้นการเผลอก็เผลออยู่ไม่หยุดไม่ถอย ทั้งๆ ที่เราก็ภาวนาอยู่เช่นนั้นแลตามความเข้าใจของเรา แต่จิตหาความสงบไม่ได้เพราะเหตุไร ก็มางงในเจ้าของ งงอะไร ถ้าจะให้ความรู้เหนือกว่านั้นขึ้นไปก็คือว่า เพราะเผลอสตินั่นเอง ถ้าสติได้ตั้งกันตามจุดที่หมาย เช่น เรากำหนดพุทโธ นี่ในขั้นเริ่มแรก หรือจะกำหนดอานาปานสติ ลมหายใจเข้าออก ก็ให้ตั้งความรู้ลงที่จุดแห่งลมหายใจ ความรู้ที่เรียกว่าใจ และมีสติรับทราบให้เด่นขึ้นในความรู้นั้นอยู่ตลอดเวลาแล้ว จิตไม่มีโอกาสที่จะเถลไถลไปที่ไหนได้ มีธรรมะเป็นเครื่องผูกมัดจิตใจด้วยสติอยู่โดยสม่ำเสมอ จิตนั้นจะสงบตัวๆ เข้ามา แล้วกลายเป็นความสงบขึ้นที่ใจ
..
..
#เราอย่าดูจิตคนอื่น
ให้ดูจิตของเราที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ในความคิดความปรุงความสำคัญมั่นหมายนี้
มันเคยเบื่ออะไรบ้างมีใหม.....ไม่เคยมี
คิดปรุงวันยังค่ำ......เพลินคิดวันยังค่ำ
ไม่เคยเบื่อความคิดความปรุงของตนเลย
สำคัญมั่นหมายอันใดกับอารมณ์ใดก็ตาม
ขึ้นชื่อว่าเป็นกิเลสแล้ว

มันพออกพอใจหมุนติ้วกันอยู่ทั้งวันทั้งคืน
เพราะฉะนั้นการเกิดการตายจึงไม่มีคำว่า...แก่ คำว่า...ชรา...คร่ำคร่า
จะต้องมีเกิดมีตายไปเรื่อยอย่างนี้
เพราะธรรมชาติกิเลสอันนี้ไม่เคยมีคำว่า..ชรา..คร่ำคร่าลงไป
แม้กฏ อนิจฺจํ ของธรรมท่านว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา
สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงไม่แน่นอน ถือเป็นตัวของตัวไม่ได้
แต่เรื่องของกิเลสจะแปร...ก็แปรไปเพื่อกิเลส
เป็นทุกข์ก็เพราะ...กิเลสเป็นผู้บีบให้เป็นทุกข์
อนตฺตา ก็กิเลสเป็นผู้เสกสรรปั้นยอว่าเรา
ว่าของเราเอาเสียอย่างดื้อ ๆ ด้าน ๆ ที่ให้เราได้ชื่อได้เห็นอยู่
ทั้ง ๆ ที่ธรรมพระพุทธเจ้าประกาศกังวานอยู่นั้นแล
นี่ในเวลาที่จิตของเรายังไม่สามารถ...มันเป็นได้อย่างนี้ ดูหัวใจเราก็รู้


@ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาองค์หลวงตาพระมหาบัว
จิตที่อยู่ในวงล้อมของกิเลส
เทศน์เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒

..
..
#ทำไมจึงเรียกว่า
"จิตเป็นสมมุติ" กับ "จิตเป็นวิมุตติ"เล่า?
มันกลายเป็นจิตสองดวงอย่างนั้นเหรอ?
ไม่ใช่อย่างนั้น จิตดวงเดียวนั้นแหละ

ที่มี "สมมุติ คือกิเลสอาสวะครอบอยู่นั้น" เป็นจิตลักษณะหนึ่ง
แต่เมื่อได้ถูกชำระขยี้ขยำ ด้วยปัญญา จนจิตลักษณะนั้นแตกกระจายไปหมดแล้ว
ส่วนจิตแท้ ธรรมแท้ ที่ทนต่อการพิสูจน์ไม่ได้สลายไปด้วย

สลายไปแต่สิ่งที่เป็น "อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา" ที่แทรกอยู่ในจิตเท่านั้น
เพราะกิเลสอาสวะแม้จะละเอียดเพียงใดก็ตาม
มันก็เป็น "อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา" เป็นสมมุติอยู่โดยดีนั่นแล

เมื่อสิ่งนี้สลายไป จิตแท้เหนือสมมุติ จึงปรากฏตัวอย่างเต็มที่
ที่เรียกว่า "วิมุตติจิต" สิ่งนี้แลท่านเรียกว่า "จิตบริสุทธิ์"
ขาดจากความสืบต่อเกี่ยวเนื่องใด ๆ ทั้งสิ้น
เหลือแต่ความรู้ล้วน ๆ ที่บริสุทธิ์สุดส่วนอย่างเดียว ..
..
..
#ผู้ปฏิบัติเมื่อถึงด้านปัญญาแล้ว..
อยู่ที่ไหนก็ฟังธรรมอยู่ทั้งนั้น
มีอะไรมาสัมผัสเป็นธรรมทั้งหมด
เพราะเป็นเครื่องเตือนสติให้ได้รู้
ปัญญาก็วิ่งตามกันโดยอัตโนมัติ..
..
..
#ชีวิตหมดไปทุกวันทุกวัน..
เมื่อวานนี้ก็วันหนึ่ง..
"""""""""
@หลวงตามหาบัว
***ให้ทำความเพียร
..
..
#หลวงตามหาบัว ท่านเคยพูดไว้ว่า
คนเรามักพอใจต่อการส่งเสริมกิเลส
มากกว่าการแก้กิเลส..
..
..
#ในน้ำบนบกเป็นป่าช้าของสัตว์โลกทั้งนั้น
..
..
#คนโง่ชมเชยสิ่งที่ต่ำ..
คนดีชมตามความจริง..
ไม่เห่อ ไม่ตื่นเงา..
..
..
#ใครไม่เคยเห็นมรรคผลนิพพาน
จึงไม่กระตือรือร้นกับนิพพาน
เหมือนกระตือรือร้นไปตามกิเลส
..
..
กิเลสไม่กลัวพระ..
ที่ศีรษะโล้นๆเพียงเท่านั้น
แต่มันกลัวสติปัญญาความเพียรเท่านั้น
..
..
#..เพราะไม่มีงานอื่นใดทำ มีแต่งานภาวนา
เพื่อจะดูละครลิงซึ่งมันมีอยู่ในจิต
เอาธรรมะตีเข้าไปๆ จิตก็สงบได้
..
..
#..ธรรม คือ ยาแก้โรคของใจ
คือ กิเลสอาสวะ..
ให้เบาบางและหายสนิท
จนเป็นจิตบริสุทธิ์
ที่เต็มไปด้วยพุทโธทั้งดวง..
..
..
"ชอบธรรม ก็เจอธรรม
ชอบทุกข์ ก็เจอทุกข์.."
..
..
".. อะไรโล่งก็สู้จิตใจโล่งไม่ได้
อะไรคับแคบตีบตันก็สู้จิตใจคับแคบตีบ
ตันไม่ได้ อะไรจะทุกข์ก็สู้จิตทุกข์ไม่ได้
อะไรจะสุขก็สู้จิตสุขไม่ได้ แน่ะ!
รวมลงที่จิตแห่งเดียว!.."
..
..
"..กิเลสพระพุทธเจ้าท่านฝืนได้..
ทำไมกิเลสเราจะฝืนไม่ได้..
กิเลสก็กิเลสอย่างเดียวกัน.."
ฝืนสิ่งไม่ดีของเรา..เป็นความชอบธรรม..
ไม่ผิด..เป็นมงคล.."
..
..
#‎เรียนอะไรก็ไม่หายสงสัย‬
ถ้าไม่เรียนตัวเอง
เพราะตัวเองเป็นผู้หลง
ตัวเองเป็นผู้ยึด
ตัวเองเป็นผู้รับผล
แห่งการยึดการถือของตน
หรือจะเรียกว่า..
ตัวเองเป็นผู้รับผล..
แห่งความผิดของตัวเอง
จิตต้องเรียนลงที่ตรงนี้..
***อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เรียนให้เห็นความจริง
..
..

                    @หลวงตามหาบัว

 
  ... F/B Jeng Dhammajaree
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2014, 01:14:05 pm »




#การทำบุญให้ทานมีอานิสงส์มาก คนผู้มีการทำบุญให้ทาน ไปที่ไหนไม่อดอยากขาดแคลน ไปที่ไหนไม่อด เบิกกว้างไปตลอดเวลา เพื่อนฝูงก็มาก จิตใจของเราก็เบิกกว้างออกไป เกิดภพใดชาติใด ไม่มีคำว่าอัดอั้นตันใจด้วยความขาดแคลนในสิ่งที่จะนำมาเสวย นี่อำนาจแห่งทานนี่ละ เบิกๆ ออกไป ไปอยู่ในภพใดชาติใดก็มีแต่อำนาจของทาน อำนาจของบุญกุศลที่เกิดขึ้นจากการให้ทานนี้ ให้เป็นเครื่องเสวย เป็นที่อยู่ที่อาศัยสะดวกสบายไปตามๆ กันหมด
..
..
#เรื่องศีลเป็นความละเอียดอยู่กับตัวของเราเองให้รักษาให้ดี #เรื่องภาวนาเป็นเรื่องที่จะเปิดโลกธาตุออกให้หมดจากจิตใจ ให้หลุดพ้นจากทุกข์โดยประการทั้งปวง อยู่ที่นี่ละ พระพุทธเจ้าแสดงไว้อย่างหาที่ข้องใจไม่ได้เลย การปฏิบัติจะพิสูจน์ธรรมของพระพุทธเจ้า หรือพิสูจน์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ให้พิสูจน์ข้อปฏิบัติของตัวเอง ให้ตรงแน่วกับธรรม ที่ว่าสวากขาตธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว ให้ก้าวเดินตามนี้ อย่าให้ปลีกให้แวะ นี่ละคือก้าวเดินเพื่อมรรคผลนิพพานอยู่ตรงนี้ อย่าไปหาก้าวตามเวล่ำเวลา เวลานั้นเวลานี้ ศาสนาล่วงไปเท่านั้นเท่านี้ ให้กิเลสมันมาหลอก กิเลสมีอยู่ในใจเราตั้งกัปตั้งกัลป์ ไม่เห็นว่าเมื่อไรมันจะสิ้นจะสุดไป ธรรมะทำไมสิ้นสุดไปได้ หมดไปได้มรรคผลนิพพาน แต่กิเลสเมื่อไรมันจะสิ้นสุดไปได้ ไม่เห็นมันพูด นอกจากมันมาหลอก ต่อไปทำบุญให้ทาน ผลจะมีน้อยอย่างนั้นผลมีน้อยอย่างนี้ แล้วมรรคผลนิพพานจะสิ้นสุดไปเรื่อยๆ สุดท้ายไม่มีมรรคผลนิพพานเลย
..
..
‪#‎พิจารณาเข้าไปถึงร่างกายถึงกองกระดูก‬ มองที่ไหนก็เห็นตั้งแต่กองกระดูก ทั้งเขาทั้งเรา เอ้า ดูเข้าไปตับไตไส้พุง ของเราเป็นอย่างไร ของเขาเป็นอย่างนั้น เทียบกันได้สัดได้ส่วนทุกแง่ทุกมุมนี้เรียกว่าปัญญา ให้พิจารณาซ้ำๆ ซากๆ จนกระทั่งมีความชำนิชำนาญ มันชำนาญเอง เมื่อเราพิจารณา ไม่ว่าส่วนใดก็ตามของร่างกาย เมื่อเราพิจารณาแล้ว มีความชำนาญแล้ว เช่น มองเห็นตัวของเรา เห็นแต่กระดูกนี้ มันก็เป็นกระดูกเต็มตัว มองไปไหนพวกเนื้อพวกหนังไม่เห็นนะ มันจะเห็นตั้งแต่กระดูก โครงกระดูกเต็มตัวๆ มองเขามองเราแบบเดียวกัน เอาให้ชำนิชำนาญเข้าไปโดยลำดับลำดา
..
..
#‎ไม่ว่าองค์ใดพระ เราผู้ปฏิบัติฆราวาสก็เหมือนกัน‬ เมื่อถึงขั้นที่ควรจะรู้ รู้ได้ด้วยกันเพราะจิตนี้ไม่มีเพศ ไม่มีเพศหญิงเพศชาย นิสัยวาสนาบารมีที่สร้างมามากน้อย มีได้ด้วยกันทั้งหญิงทั้งชาย ควรหลุดพ้นหลุดพ้นได้ด้วยกันนั่นแหละ ให้พากันตั้งใจประพฤติปฏิบัติ
..
..
#‎พอพิจารณาทางด้านปัญญา‬
ถืออสุภะอสุภังนี้เป็นบทสำคัญ เป็นฐานสำคัญแห่งการพิจารณาในเบื้องต้น จนกระทั่งพิจารณาร่างกายนี้มีความคล่องแคล่วแกล้วกล้าสามารถในตัวเองแล้ว มองไปที่ไหนนี้จะมีแต่อสุภะอสุภังเต็มตัวทั้งเขาทั้งเรา ทั้งหญิงทั้งชาย เวลาชำนาญมากๆ แล้ว เราชำนาญในการพิจารณาของเราอย่างไรบ้าง ในร่างกายของเรา ถ้ามันเด่นอยู่ เห็นตั้งแต่เนื้อ หนังออกหมดมันก็แดงโร่เลยตัวของเรา มองดูคนอื่นก็แดงโร่
..
..
#‎ให้ดูเรื่องอสุภะอสุภัง‬ สดสวยงดงาม มันมาหลอกต่างหาก ไม่มีอะไรงามแหละ มีแต่ผิวหนังบางๆ เท่านั้นมันห่อหลอกไว้ทั้งเขาทั้งเรา โลกทั้งหลายจึงหลงกัน เมื่อได้พิจารณาอันนี้ ซ้ำๆ ซากๆ แล้ว เรื่องปัญญาจะคล่องตัวนะ พิจารณาแง่ไหนๆ นี้จะเป็นดาบอันคมๆ ฟันขาดสะบั้นๆ ไปเลย นี่เรียกปัญญาคล่องตัวปัญญามีกำลัง
..
..
#เรื่องมรรคผลนิพพานไม่นอกเหนือไปจากที่พิจารณานี่ได้ ใครพิจารณาร่างกายเรื่องสุภะอสุภังได้เป็นอย่างดี ผู้นั้นจะตั้งรากตั้งฐานได้เร็ว ให้เอาให้ดี..
..
..
#สติก็แน่วแน่เข้าไปจิตมีความสงบเข้าไปๆเมื่อสงบมากเข้าไปจิตก็เป็นสมาธิ พอเป็นสมาธินี้จะเปลี่ยนคำบริกรรม งดคำบริกรรมก็ได้ หากเป็นความถนัดใจของตัวเองนะ เราจะไปคาดไม่ได้ ให้เรารู้ตัวของเราเอง
ถ้ามันสนิทกับการกำหนดผู้รู้ คือ จิตที่เป็นสมาธินี้มันเด่นดวงนะ เด่นดวง สติจับอยู่ที่เด่นดวงของจิตนั่นแหละ แล้วก็เป็นสติตลอด ทีนี้ความคิดความปรุงเมื่อจิตเข้าสู่สมาธิ เป็นสมาธิแล้วนั้นมันไม่อยากคิด ความคิดความปรุงต่างๆ ซึ่งมันดันออกมาแต่ก่อน นั่นละเบาลงๆ ถึงขนาดไม่อยากคิด ถ้าจิตเป็นสมาธิจริงๆ เต็มภูมิของสมาธิแล้ว ไม่อยากคิดอยากปรุง มันคิดแย็บๆ ออกมานี้รำคาญ เพราะฉะนั้นผู้ภาวนาทั้งหลายจึงติดในสมาธิ คืออยู่ทั้งวัน เอกจิตเอกธรรม เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์อันเดียวอยู่กับความรู้นี้เท่านั้น ไม่มีอะไรมาเจือปน ท่านเรียกว่าสมาธิแนบแน่น สมาธิเต็มภูมิ

อยู่เท่าไรก็อยู่ได้ นั่งกี่ชั่วโมงก็เพลินอยู่กับความรู้อันเดียวๆ ที่เด่นอยู่ เด่นอยู่นั้นคือความรู้ ไม่รู้กับอะไร รู้อยู่กับตัวเองโดยเฉพาะ ท่านจึงเรียกว่า เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์อันเดียวคือความรู้ เอกจิตเอกธรรม ก็มีอารมณ์อันเดียวนี่ละ เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว มันจะไม่อยากคิดอยากปรุง อยู่ได้ทั้งวัน ไม่ว่าอยู่ที่ไหน อารมณ์นี้ไม่คิดไม่ปรุงรำคาญ
นี่ละจิตที่ติดสมาธิได้ตรงนี้เอง เมื่อมันเพลินอยู่ในสมาธิแล้วไม่อยากออก ถ้าคิดออกทางด้านปัญญา ก็เหมือนเราออกทำงาน ไม่อยากทำ เหมือนคนขี้เกียจขี้คร้าน นอนขาขัดห้างอยู่ ไปอย่างนั้นซิ มีแต่นอนๆ นอนอยู่กับสมาธิ สงบแน่วๆ ไม่อยากทำงาน การพิจารณาทางด้านปัญญาเป็นงาน คือคิดคือปรุงทางด้านปัญญา มันไม่อยากทำ ออกที่นี่นะ เมื่อจิตมีความสงบ พอเป็นปากเป็นทางแห่งการพิจารณาทางด้านปัญญาแล้วไม่ว่าขั้นใด ให้พยายามออกพิจารณาทางด้านปัญญา พอสมควรแล้วก็เข้าสู่สมาธิ ถ้าจิตเป็นสมาธิเต็มที่แล้ว เวลาออกปัญญาให้ออก เมื่อเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าภายในหัวอก ผู้พิจารณาทางด้านปัญญา มักจะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าอยู่ที่หัวอก แล้วให้ถอยจิตเข้ามาสู่สมาธิเรียกว่าพักงาน นั่นละให้ถอยเข้ามาสู่ความสงบ สู่สมาธิเสีย ไม่ต้องไปห่วงปัญญา เวลาเข้าสมาธิอย่าห่วงปัญญา
..
..
#ขอให้ตั้งสติให้ดีนักภาวนา
ในเบื้องต้นเรามีคำบริกรรม อยู่กับคำบริกรรมนี้ก่อน เมื่อจิตได้รับคำบริกรรมอบรมบำรุงส่งเสริมอยู่เสมอแล้ว จะก้าวเข้าสู่ความสงบๆ เมื่อความสงบมีมาก ความรู้นี้จะเด่นตัวขึ้นมาภายในตัวของเรา จนจิตเข้าสู่สมาธิ ความรู้นี้เด่น ทีนี้เมื่อความรู้นี้เด่น คำบริกรรมก็ไม่ค่อยจำเป็นๆ แต่ไปจำเป็นอยู่กับจุดที่รู้ คือ จิตใจที่มีฐานอยู่นั่น เรียกว่าจิตเป็นสมาธิ แล้วเอาสติจับไว้กับฐานที่เป็นสมาธิ นี่เป็นขั้นๆ นะ พอจิตเป็นสมาธิแล้วจะไม่บริกรรม มันหากบอกอยู่ในตัวของมัน คำว่าบริกรรมไม่จำเป็นแน่ะ จับเอาตัวนี้เลย คือความรู้เด่นๆ นี้ ให้รู้อยู่กับนั้นตลอดไปเลย ไม่ให้เผลอเช่นเดียวกับเราบริกรรมนี้ละ

ให้ตั้งอย่างนั้นนักปฏิบัติทั้งหลาย อย่าเผลอ เราจะทำการทำงาน ทีนี้สมมุติว่าขยายออก จากจุดที่ว่าคำบริกรรมอันนี้ ก็ให้เป็นสัมปชัญญะๆ ยังอ่อน ถ้าให้เป็นสติอยู่ตลอดเวลานั้นเหมาะสำหรับนักปฏิบัติ เคลื่อนไหวไปมา ทำข้อวัตรปฏิบัติ ปัดกวาดเช็ดถูนี้ คำบริกรรมนั้นไม่ปล่อยวาง นี่ก็เรียกว่าทำงาน ธรรมทำงานตลอดเวลา สัมปชัญญะนี้เป็นความรู้ตัวอยู่ตลอด นี่ขยายออกมาจากจุดแห่งคำบริกรรมนั้นแล้ว ก็ออกมารู้ตัวไม่ให้เผลอไปข้างนอก ท่านเรียกว่าสัมปชัญญะความรู้ตัวอยู่เสมอ แต่ให้เหมาะจริงๆ ให้มันเป็นสติอยู่กับคำบริกรรม นั่นละเหมาะสมมาก
..
..
#มีสิ่งใดใดที่ควรจะถือเอา รูปธาตุรูปขันธ์ รูปทั้งปวง ก็เป็นกองแห่งธาตุอยู่แล้ว เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่ละอย่าง ก็เป็นเพียงนามธรรม ปรากฏ “ยิบแย็บๆๆ”แล้วหายไปในขณะๆ จะถือเป็นสาระแก่นสารอะไรจากสิ่งเหล่านี้เล่า ปัญญาหยั่งทราบเข้าไปโดยลำดับคือทราบความจริง และซึ้งถึงจิตจริงๆ แล้วก็ปล่อยวางด้วยความรู้ซึ้งนั้น คือปล่อยวางอย่างถึงใจ เพราะรู้อย่างถึงใจก็ปล่อยอย่างถึงใจ งานก็แคบเข้าไป ๆ ตามความจำเป็นของการทำงานทางด้านปัญญา
นี่แหละการพิจารณาและรู้วิถีทางเดินของจิต ที่ไปเกี่ยวข้องกับอารมณ์ต่างๆย่อมทราบเข้ามาและปล่อยวางเข้ามาโดยลำดับ ตัดทางเสือโคร่งที่เคยออกเที่ยวหากิน

ดังท่านว่าไว้ในหนังสือธรรมบทหนึ่ง “ตัดทางเสือโคร่งออกเที่ยวหากิน” คือออกจากทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ไปเที่ยวเกี่ยวข้องกับทางรูป ทางเสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส แล้วกว้านเอาอาหารที่เป็นพิษเข้ามาเผาใจ ปัญญาจึงต้องเที่ยวพิจารณาตามรูป ตามเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพื่อตัดทางเสือโคร่งที่เคยหากิน โดยการคิดค้นเข้าไป ๆ ตามสายทางเสือโคร่งเสือดาวที่ชอบเที่ยวทางนี้ ท่านว่า ค้นเข้ามาตัดทางของมันเข้ามา จนกระทั่งเอาเสือโคร่งเข้าใส่กรงได้ คือ“อวิชชา” ที่เปรียบเหมือนเสือโคร่งเข้ารวมตัวในจิตดวงเดียว กิเลสอาสวะทั้งมวลรวมลงในจิตดวงเดียว กิ่งก้านสาขาตัดขาดไปหมด เหลือแต่จิต กิเลสอยู่ในจิตดวงเดียว ไม่มีที่ออกเที่ยวเพ่นพ่านหาอาหารกินได้ดังแต่ก่อน
..
..
#ความรู้ล้วนๆนี้เราพูดไม่ได้ว่าเป็นจุดอยู่ณที่ใดในร่างกายเรา แต่ก่อนเป็นจุดเด่นรู้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สมาธิ เราก็ทราบว่าอยู่ในท่ามกลางอก ความรู้เด่นอยู่ตรงนั้น ความสงบเด่นอยู่ที่ตรงนั้น ความสว่างความผ่องใสของจิตเด่นอยู่ที่ตรงนั้นอย่างชัดเจนโดยไม่ต้องไปถามใคร บรรดาท่านผู้มีจิตสงบเป็นฐานแห่งสมาธิแล้ว จะปรากฏชัดเจนว่า จุดผู้รู้เด่นอยู่ในท่ามกลางอกนี้จริงๆ ทั้งสิ้น ไม่มีการถกเถียงกันว่าอยู่มันสมอง เป็นต้น ดังที่ผู้ไม่เคยรู้เห็นทางด้านสมาธิภาวนาพูดกัน หรือถกเถียงกันเสมอในที่ทั่วไป

ทีนี้เวลาจิตนี้กลายเป็นจิตที่บริสุทธิ์แล้ว จุดนั้นหายไป จึงพูดไม่ได้ว่าจิตอยู่เบื้องบน เบื้องล่าง หรืออยู่สถานที่ใด เพราะเป็นความรู้ที่บริสุทธิ์ด้วย เป็นความรู้ที่ละเอียดสุขุมเหนือสมมุติใดๆ ด้วย แม้เช่นนั้นก็ยังแยกเป็นสมมุติมาพูดว่า“ละเอียดสุด” ซึ่งไม่ตรงต่อความจริงนั่นนักเลย คำว่า “ละเอียดสุด” นี่มันต้องเป็นสมมุติอันหนึ่งน่ะซิ พูดไม่ได้ว่าอยู่สูงอยู่ต่ำ มีจุดมีต่อมอยู่ที่ไหน ไม่มีเลย! มีแต่ความรู้เท่านั้นไม่มีอะไรเข้าไปแทรกซึม แม้จะอยู่ในธาตุในขันธ์ซึ่งเคยคละเคล้ากันมาก่อน ก็ไม่เป็นเช่นนั้นอีกแล้ว กลับเป็นคนละโลกไปแล้ว!
..
..
#สติดีเท่าไรๆกิเลสจะไม่เกิด กิเลสจะเกิดทางสังขาร คือ ความคิดความปรุง สังขารนี่ออกมาจากอวิชชา คือ อวิชชานี้เป็นแหล่งใหญ่ของกิเลสทั้งหลาย มันผลักมันดันออกมาให้เกิด ทีแรกก็เกิดทางสังขาร ความคิดปรุงแพล็บๆ ออกไป นั่นละกิเลสได้ออกทำงานแล้ว แล้วก็กว้านเอาฟืนเอาไฟเข้ามาเผาเรา เพราะฉะนั้น สติจึงเป็นของสำคัญ ถ้าสติดีเท่าไรความคิดปรุงนี้จะปรุงขึ้นมาไม่ได้ เหมือนว่ามีช่องเดียว ช่องที่สังขารมันปรุงออกมา เป็นฝ่ายสมุทัยคือกิเลส ทีนี้เอาธรรมะเข้าไปเป็นงานของธรรม เช่น คำบริกรรม จะเป็นพุทโธ ๆ ก็ตาม ให้สติติดอยู่กับพุทโธ ไม่ต้องเสียดายความคิดความปรุงอะไรทั้งนั้น เพราะคิดปรุงมาตั้งแต่วันเกิด ไม่เห็นได้เรื่องได้ราวอะไร นี่เราคิดปรุงทางอรรถธรรม เช่น คำว่า พุทโธ ๆ เป็นความคิดเหมือนกันกับความคิดของกิเลส แต่ความคิดทางธรรมะนี้เป็นน้ำดับไฟ เรียกว่าเป็นธรรม ความคิดทางนี้เป็นธรรม ความคิดของกิเลสเป็นกิเลสเรื่อยๆ ไป
..
..
#‎สติเป็นสำคัญไม่ว่าจะพิจารณาสิ่งใด‬ สติสำคัญทั้งนั้น เช่นอย่างว่า สุภะสุภัง อสุภะอสุภัง สติต้องติดแนบตลอด จนมีความชำนิชำนาญ นี่การพิจารณา จากนั้นไปแล้ว จิตจะเป็นอัตโนมัติของมัน เรื่องความพากเพียรเพื่อละเพื่อถอนกิเลสนี้ จะหมุนตัวเป็นเกลียวไปเลย ไม่มีใครบอกก็รู้เอง ในเบื้องต้นได้ถูได้ไถเสียก่อน เอาให้หนักนะ ไม่หนักไม่ได้นักปฏิบัติเรา นี่ละมรรคผลนิพพาน อันนี้ละปิดเอาไว้ ปิดมรรคผลนิพพานไว้ เปิดตัวนี้ออกๆ มรรคผลนิพพานจะใกล้ชิดติดพันกันเข้ามา สุดท้ายนิพพานอยู่ชั่วเอื้อมๆ นั่นเข้าใกล้ชิดติดพัน เพราะจิตใจมันหมุนติ้วๆ ต่อความพ้นทุกข์ เลยนิพพานอยู่ชั่วเอื้อมๆ ไป ให้พากันพิจารณาอย่างนี้..
..
..
#ผู้ปฏิบัติเท่านั้นที่จะทราบได้ว่ายากหรือง่าย ลำบากลำบนขนาดไหน เป็นกาลเป็นเวลาเป็นสถานที่ที่จะให้จับกันได้ เช่นเวลาใดจิตสงบไม่ได้เลย เวลานั้นก็หาความสบายไม่ได้ เวลาใดที่จิตมีความสงบแน่วแน่ลงได้ เวลานั้นความสบายความแปลกประหลาดก็ปรากฏขึ้นที่ใจของตัวเอง ทั้งสองนี้เป็นสักขีพยานให้เห็นได้ชัดว่า ฝ่ายที่เป็นโทษคือความฟุ้งซ่านรำคาญ ทำให้เกิดความทุกข์ความทรมานก็ทราบได้ ฝ่ายเป็นคุณคือเป็นสุขเพราะความสงบของใจ ไม่ส่ายแส่ไปหาอารมณ์ที่เป็นพิษเราก็ทราบได้ จากหัวใจของเราผู้สัมผัสสัมพันธ์หรือผู้ปรากฏเสียเอง และพยายามก้าวเดินตามนั้น จะยากขนาดไหนก็ตาม

เรื่องของจิตที่อยู่ในวงล้อมของกิเลสแล้ว อย่างไรมันต้องฉุดต้องลากให้หาความสงบร่มเย็น ให้หาความเป็นอิสระอยู่โดยลำพังตนเองไม่ได้อยู่โดยดี จิตดวงใดก็จะต้องเป็นเช่นนั้น จึงต้องได้ใช้สติทุกเวล่ำเวลาทุกกาลสถานที่ สำหรับนักปฏิบัติแล้วต้องเป็นเหมือนนักมวยที่ต่อยกันบนเวทีเผลอไม่ได้ ต้องเอาให้เต็มเม็ดเต็มหน่วย สติปัญญากำลังวังชามีเท่าไรทุ่มกันลงหมดในเวลานั้น นี่ก็เหมือนกัน การต่อสู้กับกิเลสจึงไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กน้อย
..
..
มีต่อค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2014, 06:25:36 pm »




จิตหลงทั้งดวง..
เที่ยวก่อเรื่องรักเรื่องชัง..
ฝังไว้ตามธาตุขันธ์..


ตามรอยธรรม
หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน

วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี (2)
วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556


หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ไปเยี่ยมและสนทนาธรรม
กับ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ที่ วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๗

ในภาพหลวงปู่ชอบท่านจับมือหลวงตามหาบัว แล้วท่านพูดว่า
"มหาบัว ผมฝากท่านดูแลหมู่คณะและแผ่นดินแน่เด้อ
มีท่านเท่านั้นที่ทำได้ คนอื่นนั้นเรามองไม่เห็นว่าใครจะทำได้"
จากนั้นอีกสองเดือนต่อมาหลวงปู่ชอบท่านก็มรณภาพ
และอีกไม่กี่ปีต่อมาหลวงตามหาบัวท่านก็กู้ชาติกู้แผ่นดิน
ในนาม "โครงการผ้าป่าช่วยชาติ"
ได้ทองคำเข้าคลังหลวงเพื่อค้ำฐานะของประเทศมากถึง ๑๒ ตัน
***

จงพิจารณาทุกขเวทนาอันเป็นสิ่งที่น่ากลัวอยู่แล้ว
ใครๆก็กลัวคำว่าทุกข์
เราจะมาถือว่าเป็นเราเป็นของเราได้อย่างไร
ทุกข์ทั้งกองยังจะถือว่าเป็นเราอยู่อีกหรือ
ถือเป็นเราก็ถือเอาไฟมาเผาใจเรานั่นแล
..

ทุกข์ให้ทราบว่าเป็นทุกข์
ผู้ที่ทราบว่าเป็นทุกข์ ไม่ใช่ทุกข์นั้นคือใจ
ใจเป็นผู้รู้เรื่องทุกข์ทั้งหลาย
ทุกข์เกิดขึ้นใจก็รู้ ทุกข์ตั้งอยู่ใจก็รู้ ทุกข์ดับไปใจก็รู้ รู้ด้วยปัญญา
..

ถ้าใจนี้มีธรรมครองตัวแล้ว
จะเป็นคนทุกข์คนจนก็อยู่ตามสภาพ
เป็นความร่มเย็นเป็นสุขตามฐานะของตน
ถ้ายิ่งใจมีบุญมีกุศลมาก
ใจมีความเฉลี่ยเผื่อแผ่มากเท่าไรยิ่งเป็นกุศล
ยิ่งเป็นความร่มเย็นแก่ผู้อื่นมากเท่านั้น

การระวังตัวเองนั้นถูกต้องแล้วส่วนมากมักระวังแต่ผู้อื่นสิ่งอื่น
ไม่ย้อนมาระวังตัวเองซึ่งเป็นตัวการสำคัญบ้างเลย
จึงมักผิดพลาดอยู่บ่อยๆธรรมะท่านสอนให้ดูตัวเองระวังตัวเอง
จะได้เห็นความบกพร่องของตัวเองแล้วแก้ไขไปเรื่อยๆจนสมบูรณ์ได้
...

มีดพร้าที่วางไว้นอกกายของเราเป็นอย่างหนึ่ง
ที่เหน็บพกไว้เป็นอย่างหนึ่ง
และที่ถือไว้กับมือเราเป็นอีกอย่างหนึ่ง
เวลาจะนำออกมาใช้ให้ทันท่วงที
มีดที่วางไว้นอกกายย่อมนำมาใช้ช้ามาก
ที่เหน็บพกก็เร็วขึ้นบ้าง
ส่วนมีดที่เราถือไว้ในมือย่อมใช้ได้ทันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ธรรมที่เราเรียนมาอย่างหนึ่ง
ธรรมที่ได้จากการศึกษาอบรมกับอาจารย์อย่างหนึ่ง
และธรรมที่เกิดขึ้นภายในใจของเรา
ซึ่งเนื่องจากอบรมกับครูอาจารย์นี้เป็นอีกอย่างหนึ่งไม่เหมือนกัน
ธรรมที่ได้จากการศึกษาเล่าเรียนมา
โดยที่ไม่ได้อบรมทางด้านจิตใจเลย
เช่นเดียวกับมีดที่วางไว้นอกกาย
ธรรมที่จำมาได้จากการอบรมสั่งสอนของครูอาจารย์
ว่าท่านสอนอย่างไรเช่นเดียวกับมีดที่เหน็บไว้ในพก
ส่วนธรรมที่เกิดจากการประพฤติปฏิบัติซึ่งเนื่องมาจากอุบาย
ที่ได้จากอาจารย์เป็นผลประจักษ์ขึ้นกับใจ
เช่นเดียวกับมีดที่ถือไว้ในมือ
และธรรมส่วนนี้แลจะเป็นเครื่องรักษาความปลอดภัยให้แก่เรา
ได้มากกว่าธรรมทั้งสองประเภทนั้น
...

ผู้ที่เป็นสมาธิถ้าไม่ออกพิจารณาทางด้านปัญญา
จะเป็นสมาธิอยู่อย่างนั้นตลอดไปจนกระทั่งวันตาย
ก็หาเป็นนิพพานได้ไม่
อย่าดูแบบโลกๆที่ดูไปรักไปชังไปโกรธอันนั้น
เป็นการสั่งสมกิเลสให้มากมูนจนลืมเนื้อลืมตัว
ดูภายนอกแล้วก็ย้อนทบทวนเข้าดูภายใน
จึงชื่อว่าเรียนธรรมปฏิบัติธรรม
...

ธรรมดาของจิตที่มีกิเลสพอมีอะไรมายั่วนิดๆส่งเสริมนิดๆ
มันเป็นบ้าไปทันทีทันควันทีเดียวแหละ
นี่ไม่ว่าใจใครว่าให้ใจเราใจท่านที่อยู่ด้วยกันและรู้อยู่ด้วยกันนี่แหละ
มันลืมตัวตรงนี้เพราะจิตไม่มีหลัก
...

อย่าให้ห่างเหินกับศาสนา
การห่างเหินกับศาสนามันล่อแหลมต่อภัย
ต่อความทุกข์ร้อนวุ่นวาย
ทั้งล่อแหลมต่อนรกอเวจีด้วย
คนห่างเหินจากธรรมย่อมจะมีความติดพันกับฝ่ายต่ำเสมอ
แล้วขวนขวายจัดทำตั้งแต่ฝ่ายต่ำๆ
แล้วผลก็จะปรากฏเป็นความรุ่มร้อนขึ้นมา
มากกว่านั้นลงนรกได้
เพราะความไม่มีศาสนารั้งเอาไว้
...



ความท้อแท้เป็นกองทัพกิเลสเหยียบย่ำธรรม
ความบึกบึนต่อสู้เป็นกองทัพธรรมย่ำยีกิเลส
จงมั่นใจอย่างหลังนี้ถ้าอยากพ้นทุกข์สมเจตนาที่ตั้งไว้สูงน่ะ
การตั้งเจตนาไว้สูงในทางดีและดีเลิศนั้น
ถูกต้องเหมาะสมกับภูมิมนุษย์ชาวพุทธเราแล้ว
เป็นเพียงระมัดระวังกองทัพข้าศึก
คือกิเลสจะแอบเข้าทำลายให้ล้มละลายเท่านั้น
...

เวลามีชีวิตอยู่เราพึ่งอะไรเวลาตายไปเราจะพึ่งอะไร
เวลาตายไปโลกหน้าไม่มีการทำไร่ทำนา
หรือว่าทำไร่ทำสวนซื้อถูกขายแพง
แต่อาศัยคุณงามความดีที่สร้างไว้เป็นอาหารทิพย์
เป็นเครื่องเสวยนั่นแหละให้เราสร้างเอาไว้

นั่นแหละเป็นแก้วสารพัดนึกอย่างหนึ่ง
และเป็นคู่พึ่งเป็นพึ่งตนหนึ่งพึ่งไปตลอดจนถึงอวสาน
ได้ถึงนิพพานก็เป็นอันว่าหมดปัญหา
เป็นผู้พึ่งตัวเองได้โดยสมบูรณ์


:http://dhamatrail.blogspot.com/