ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2014, 10:37:01 am »

ตามรอย′สยามวงศ์′ ไทย-ศรีลังกา วัดธรรมาราม

-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1392374575&grpid=&catid=08&subcatid=0804-

โดย ตวงศักดิ์ ชื่นสินธุ และกฤตยา เชื่อมวราศาสตร์




หอไตรที่พระอุบาลีมหาเถระจำพรรษา




(ซ้าย) ประตูพระวิหารขนาดใหญ่ (ขวา) หน้าต่างหอไตร




พระอุบาลีมหาเถระ



วัดธรรมาราม ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา แต่เดิมชื่อ วัดสนามไชย หากจะเทียบกับวัดแห่งอื่นในจังหวัด วัดนี้เป็นเพียงวัดเล็กๆ บนเนื้อที่ 25 ไร่ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้าม อนุสาวรีย์ศรีสุริโยทัย

แต่ประวัติศาสตร์ของวัดธรรมารามนั้นไม่ธรรมดา

สมัยกรุงศรีอยุธยา กองทัพพม่าจะมาตั้งค่ายบริเวณวัดธรรมาราม เพื่อล้อมกรุงทุกครั้ง เพราะอยู่ตรงข้ามพระราชวังโบราณ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญทั้งยังสามารถควบคุมการสัญจรทางน้ำของอยุธยาได้

ปัจจุบัน หากขับรถเข้ามายังวัดซึ่งในอดีตเป็นเพียงทางเกวียนเล็กๆ จะเห็นว่าถนนคั่นกลางระหว่าง เขตสังฆาวาส ซึ่งติดแม่น้ำ ประกอบด้วยหอไตร หอระฆัง เรือนหมู่กุฏิ และพิพิธภัณฑ์พระอุบาลีเถระ และ เขตพุทธาวาส ล้อมรอบด้วยระเบียงแก้วสมัยอยุธยา อันประกอบด้วยวิหารสมัยอยุธยาที่เครื่องหลังคาและหน้าบันเป็นไม้ทั้งหมด ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปของพระพุทธเจ้า 4 องค์ คือ พระกกุสันธพุทธเจ้า, พระโกนาคมพุทธเจ้า, พระกัสสปพุทธเจ้า และพระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) และอุโบสถด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปพี่น้อง ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งพระพักตร์เหมือนกันมาก เจดีย์ประธาน และหน่อจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ จากประเทศศรีลังกา

ทั้งสองพื้นที่ล้วนถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบ ร่มครึ้มไปด้วยร่มเงาของไม้ยืนต้นอายุกว่าร้อยปี อาทิ ต้นตะเคียนคู่ในเขตสังฆาวาส และต้นเขยตายซึ่งดั้งเดิมใช้ทำปลัดขิกในเขตพุทธาวาส ใกล้กับโบสถ์หลังเก่าสมัยอยุธยา และถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน

แม้เป็นวัดเล็กๆ ของกรุงศรีอยุธยา แต่เป็นส่วนหนึ่งซึ่งสะท้อนว่า พุทธศาสนาในแผ่นดินสยาม เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด

หากย้อนหลังไปราว 700 ปีในสมัยกรุงสุโขทัย พุทธศาสนาในแดนลังกา เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด เช่นกัน มีพระธรรมทูตเดินทางมาเผยแผ่ศาสนาในสยาม จน ศาสนาพุทธแบบเถรวาท นิกายลังกาวงศ์หยั่งรากลึกในสยาม

ทว่าในยุคอาณานิคม แผ่นดินซึ่งมีรูปร่างเสมือนหยดน้ำของอินเดียแห่งนี้ถูกปกครองทั้งจากโปรตุเกส อังกฤษ และฮอลันดา พุทธศาสนาจึง "หายไป"

เมื่อศรีลังกาได้รับเอกราช พระเจ้ากีรติศรีราชสิงหะ กษัตริย์ลังกา จึงส่งราชทูตมาเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เพื่อขอนิมนต์สงฆ์ไทยไปฟื้นฟูศาสนา ณ ศรีลังกา ทราบความดังนั้นกษัตริย์สยามจึงส่ง พระอุบาลีมหาเถระ พระราชาคณะฝ่ายอรัญวาสี ผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎกทั้งฝ่ายปริยัติและปฏิบัติ ซึ่ง พระอธิการประสาทเขมะปุญโญ เจ้าอาวาสวัดธรรมารามบอกว่า ตำแหน่งเทียบเท่านายกรัฐมนตรีของสงฆ์ในสมัยนั้น

พระอุบาลีมหาเถระ รอนแรมไปกลางทะเลกับเรือสินค้าสัญชาติดัตช์นานกว่า 5 เดือน เมื่อถึงศรีลังกาจึงเป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทพระ 700 และบรรพชาสามเณร 2,300 รูป พระพุทธรูปในศรีลังกาจึงเจริญรุ่งเรืองกระทั่งปัจจุบันรวม 260 ปี และให้เกียรติตั้งชื่อว่า นิกายสยามวงศ์ หรือ อุบาลีวงศ์

พระอธิการประสาทเขมะปุญโญเล่าว่า อุปสมบทและจำพรรษาที่วัดธรรมารามมา 25 ปีแล้ว อยากคงความดั้งเดิมและเรียบง่ายของวัดไว้ แต่เนื่องในวาระครบรอบ 260 ปีสยามวงศ์ รัฐบาลไทยและศรีลังกาจึงร่วมกันก่อสร้างพิพิธภัณฑ์พระอุบาลีเถระ เปิดเมื่อธันวาคม 2556 โดยใช้ศาลาการเปรียญหลังเก่า ใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท จากสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ประดิษฐานรูปจำลองของพระอุบาลีมหาเถระขนาดเท่าองค์จริง ด้านในพิพิธภัณฑ์มีรูปจำลองของพระอุบาลีมหาเถระอีกองค์ เป็นไม้มะฮอกกานีแกะสลักปิดทอง ที่รัฐบาลศรีลังกามอบให้

"บอกเล่าเรื่องราว ความสัมพันธ์ทางศาสนาระหว่างนิกายลังกาวงศ์ในไทย และนิกายสยามวงศ์ในศรีลังกา"

สถานที่หนึ่งที่บอกเล่าตัวตนของพระอุบาลีเถระ คือ "หอไตรและหอระฆัง" ที่ปัจจุบันเป็นอาคารสีขาวหลังกะทัดรัด ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

"จากประวัติศาสตร์และตำนานที่เล่าขานกันมา หอไตรเป็นสถานที่ที่พระอุบาลีจำพรรษาและปรึกษากับ พระอริยมุนี ถึงการเดินทางไป "ปักหลัก" พุทธศาสนา ณ ศรีลังกา แม้ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการบูรณะครั้งใหญ่ หลักฐานหนึ่งคือตราสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่หน้าประตูทางเข้า แต่บานประตูและหน้าต่างไม้แกะสลักลวดลายวิจิตรยังเป็นของเดิมสมัยกรุงศรี ส่วนจิตรกรรมฝาผนังเลือนรางเกือบหมด" เจ้าอาวาสกล่าว

สหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา เล่าว่า วัดธรรมารามมีการบูรณะเรื่อยมา ล่าสุดเป็นการบูรณะโบสถ์และวิหารเมื่อ 2555 เมื่อดูจากรูปแบบสถาปัตยกรรมของตัวพระอุโบสถจะมีลักษณะโค้งเหมือนท้องสำเภา เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ส่วนหอไตรบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะมีจิตรกรรม มีพระบรมสาทิสลักษณ์ (รูปวาด) ของรัชกาลที่ 5 ปรากฏอยู่

จากวัตรปฏิบัติของสงฆ์ไทยในอดีต ศรีลังกาจึงมีศาสนาพุทธหยั่งรากอีกครั้งในชื่อ "นิกายสยามวงศ์"

พระอุบาลีมหาเถระ

เป็นพระธรรมทูตในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ที่เดินทางไปยังประเทศศรีลังกาตามคำร้องของฝ่ายศรีลังกาในการเป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทแก่ สามเณรสรณังกร ชาวสิงหล เพื่อสืบทอดพุทธศาสนาในศรีลังกา

ได้รับการจดจำในเรื่องความกล้าหาญของท่านที่ได้ข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังศรีลังกา และได้มรณภาพที่นั่นหลังจากปักหลักเผยแผ่ศาสนานาน 2 ปี 9 เดือน นับเป็นพระธรรมทูตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย

พระอุบาลีมหาเถระ เมื่อแรกได้พำนักอยู่ที่วัดธรรมาราม ซึ่งเป็นวัดเล็กๆ มีอาณาเขตทิศเหนืออยู่ติดกับวัดท่าการ้อง ทิศใต้อยู่ติดกับวัดกษัตราธิราช ทิศตะวันออกอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันตกอยู่ติดกับถนนบางบาล ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

พระอุบาลีมรณภาพด้วยโรคหูอักเสบ ภายในกุฏิวัดบุปผาราม (มัลวัตตวิหาร) เมืองแคนดี เมื่อปี พ.ศ.2299 พระเจ้าแผ่นดินศรีลังกาให้จัดพิธีถวายเพลิงศพอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติ โดยจัดขึ้นที่สุสานหลวงนามว่าอาดาหะนะมะลุวะ ปัจจุบันคือวัดอัศคิริยะเคดิเควิหาร เมืองกัณฏี

ปัจจุบันได้ก่ออิฐล้อมสถานที่เผาศพท่านไว้ หลังเสร็จสิ้นพิธีถวายเพลิงศพแล้ว ทรงมีรับสั่งให้สร้างเจดีย์บนยอดเขาใกล้วัดอัสคีริยะบรรจุอัฐิเพื่อสักการบูชาซึ่งมีปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน กุฏิท่านพระอุบาลีและห้องพักของท่านได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี แม้จะเป็นเพียงห้องเล็กๆ มีเพียงเตียงเก่าๆ และโต๊ะเก้าอี้อีกหนึ่งชุดเท่านั้น บริขารและสิ่งของที่ท่านเคยใช้สอยที่ยังเหลืออยู่

ชาวศรีลังกาก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรเคารพเช่นกันและได้เก็บรักษาไว้จนทุกวันนี้

 


หน้า 21 มติชนรายวัน ฉบับวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557