ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2014, 01:23:56 pm »




สิ่งที่ทุกคนปรารถนาจะได้
คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้ น่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
ธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ :-
ขอโภคะจงเกิดขึ้นแก่เราโดยทางธรรม
นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่
น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.

เราได้โภคะทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ขอยศจง
เฟื่องฟูแก่เราพร้อมด้วยญาติและมิตรสหาย
นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่
น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
เราได้โภคะทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ได้ยศ
พร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว ขอเราจงเป็นอยู่นาน
จงรักษาอายุให้ยั่งยืน นี้เป็นธรรมประการที่ ๓
อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.

เราได้โภคะทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ได้ยศ
พร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว เป็นอยู่นานรักษา อายุ
ให้ยั่งยืนแล้ว เมื่อตายแล้ว ขอเราจงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
นี้เป็นธรรม ประการที่ ๔ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่
น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้แล น่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.

คหบดี ! ธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้
ธรรม ๔ ประการนี้ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ
หาได้ยากในโลก ธรรม ๔ ประการเป็นอย่างไรเล่า ? คือ :-
สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ๑
สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ๑
จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค ) ๑
ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา) ๑ .

คหบดี ! ก็ สัทธาสัมปทาเป็นอย่างไรเล่า ?
อริยสาวกในธรรมวินัย ย่อมเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อ
พระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้
ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ
จรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็น
ผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น
ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรม
สั่งสอนสัตว์”. คหบดี ! นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.

ก็สีลสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นขาดจาก
ปาณาติบาต เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาด
จากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท เป็นผู้
งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้ง
แห่งความประมาท นี้เรียกว่า สีลสัมปทา.

ก็จาคสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจากมลทิน
คือ ความตระหนี่ มีการบริจาคอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามือ
อันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการให้
และการแบ่งปัน นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.

ก็ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
บุคคลมีใจอันความโลภไม่สม่ำเสมอ คือ อภิชฌา
ครอบงำแล้ว ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำ
เมื่อทำกิจที่ไม่ควรทำและละเลยกิจที่ควรทำเสีย ย่อมเสื่อม
จากยศและความสุข บุคคลมีใจอันพยาบาท ถีนมิทธะ
อุทธัจจกุกกุจจะ อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว ย่อมทำกิจที่
ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำ เมื่อทำกิจที่ไม่ควรทำและ
ละเลยกิจที่ควรทำเสีย ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข.

คหบดี ! อริยสาวกนั้นแลรู้ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ
(ความโลภอย่างแรงกล้า) เป็นอุปกิเลส (โทษเครื่องเศร้าหมอง)
แห่งจิต ย่อมละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิต
เสียได้ รู้ว่า พยาบาท (คิดร้าย) ถีนมิทธะ (ความหดหู่ซึมเซา)
อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญ) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
ย่อมละเสียซึ่งสิ่งที่เป็นอุปกิเลสแห่งจิตเหล่านั้น .
คหบดี ! เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่าอภิชฌาวิสมโลภะ
เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้นย่อมละเสียได้

เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่าพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้น ย่อมละ
สิ่งเหล่านั้นเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้มีปัญญามาก
มีปัญญาหนาแน่น เป็นผู้เห็นทาง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
ปัญญา นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา.
คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อให้
ได้ธรรม ๔ ประการนี้แล อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่
น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๘๕/๖๑.

:facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า
16 กันยายน 2013