ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2014, 10:10:37 am »

“ค้างคาวเผือก” อาหารโบราณที่น่าสนใจ


-http://www.dailynews.co.th/Content/Article/217976/%E2%80%98%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E2%80%99+%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99-



“ค้างคาวเผือก” ที่ทีม “ช่องทางทำกิน” จะนำเสนอในวันนี้ เป็นชื่ออาหารว่างไทยโบราณ มีลักษณะเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมเสมือนกับปีกค้างคาว ด้านในยัดไส้ซึ่งมีส่วนผสมของหมู เห็ดหอม และหน่อไม้ต้ม ผัดรวมกัน โดยปัจจุบันหาทานได้ยากมาก เพราะมีขั้นตอนการทำที่ซับซ้อน แต่การที่มีคนทำเป็นน้อย นี่ก็อาจจะเป็นช่องทางสร้างอาชีพที่ดี...

 

ผศ.จุฑามาศ พีรพัชระ รักษาราชการแทนอธิการบดี และ ผศ.พจนีย์ บุญนา อาจารย์ประจำสาขาอาหาร และโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) พระนคร ให้ข้อมูลว่า “ค้างคาวเผือก” ที่เป็นอาหารว่างไทยโบราณนี้ เป็นผลผลิตในโครงการหมู่บ้านเผือกหอม ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้โครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคลินิกเทคโนโลยี

“คลินิกเทคโนโลยีได้ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ชาวบ้านใน 3 ตำบล ในอำเภอบ้านหมอ จ.สระบุรี ซึ่งทำนาเผือกกว่า 2,000 ไร่ โดยไปช่วยแปรรูปเผือกปาด หรือเผือกที่ไม่สวยที่เกิดจากความบกพร่องในกระบวนการเพาะปลูก ให้มีมูลค่าเพิ่ม โดยทำเป็นแป้งเผือก เผือกทอดกรอบเคลือบน้ำตาล และค้างคาวเผือก ซึ่งเป็นอาหารว่างไทยโบราณที่หาทานได้ยาก ซึ่งประสบความสำเร็จมาก ๆ ทางชุมชน ชาวบ้าน มีรายได้เพิ่มมากขึ้น”

อุปกรณ์ในการทำค้างคาวเผือก หลัก ๆ มี เตาแก๊ส, กระทะ, ทัพพี, หม้อ, ตะแกรง, กระชอน, กะละมัง, ถาดสเตนเลส, เขียง, ครก นอกจากนี้ก็เป็นเครื่องมือเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ที่หยิบยืมได้จากในครัวทั่วไป

สำหรับการทำค้างคาวเผือก มีส่วนผสมตามสูตรดังนี้คือ ส่วนผสมตัวแป้ง เผือกปาดปอกเปลือกนึ่งสุกบดละเอียด 500 กรัม, แป้งข้าวโพด 50 กรัม, น้ำร้อนเล็กน้อย และเนยสด 50 กรัม

วิธีทำ นำส่วนผสมเผือกนึ่ง แป้งข้าวโพด และน้ำร้อน มานวดให้เข้ากัน เสร็จแล้วนำเนยสดมานวดผสมเข้าด้วยกัน นวดให้เข้ากันจนเนื้อเนียน จากนั้นแบ่งแป้งเป็นก้อนกลม ก้อนละ 15 กรัม เตรียมไว้

ส่วนผสมของไส้ ตามสูตรประกอบด้วย เนื้อหมูหั่นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ 1 ถ้วย, เห็ดหอมแช่น้ำหั่นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ 8 ดอก, หน่อไม้ไผ่ตงหั่นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ต้มสุก 1/2 ถ้วย, รากผักชีหั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ, พริกไทยดำ 1 ช้อนชา, กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ, ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ, น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ, เกลือป่น 1 ช้อนชา และน้ำมันสำหรับผัด 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ โขลกรากผักชี กระเทียม พริกไทย ให้ละเอียด เสร็จแล้วตั้งกระทะ ใส่น้ำมัน ตั้งไฟให้ร้อน ใส่เครื่องที่โขลกไว้ ลงผัดให้หอม ใส่หมู ผัดให้สุก ตามด้วยหน่อไม้ต้ม เห็ดหอม ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว เกลือป่น น้ำตาลทราย แล้วผัดให้แห้ง

วิธีปั้นค้างคาวเผือก นำแป้งเผือกที่แบ่งออกเป็นก้อนกลมไว้ก่อนหน้ามาแผ่ออกเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วตักไส้ใส่ เสร็จแล้วห่อให้เป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ปิดตะเข็บให้สนิท

จากนั้นนำไปชุบแป้ง แล้วทอดให้เหลือง ตักขึ้น เสิร์ฟร้อน ๆ พร้อมน้ำจิ้ม

สำหรับ ส่วนผสมแป้งที่ใช้ชุบตัวค้างคาวเผือก ตามสูตรมี แป้งข้าวเจ้า 1/4 ถ้วย, แป้งสาลี 1 1/2 ถ้วย, เกลือป่น 1/4 ช้อนชา, กะทิ 1/4 ถ้วย, น้ำเย็น 3/4 ถ้วย, ไข่ไก่ 1/2 ฟอง และน้ำปูนใส 1/4 ถ้วย

วิธีทำ ผสมแป้งข้าวเจ้าและแป้งสาลีเข้าด้วยกัน และใส่เกลือลงเคล้าให้เข้ากัน เตรียมไว้ (เป็นส่วนผสมที่ 1) จากนั้นผสมกะทิ น้ำเย็น ไข่ น้ำปูนใส รวมกัน (เป็นส่วนผสมที่ 2) เสร็จแล้วเทส่วนผสมที่ 2 ลงในส่วนผสมที่ 1 แล้วใช้ตะกร้อมือคนให้เข้ากัน แล้วกรอง เตรียมไว้ใช้เป็นแป้งชุบตัวค้างคาวเผือก

ส่วนผสมน้ำจิ้ม ตามสูตรประกอบด้วย พริกชี้ฟ้าแดง 3 เม็ด, กระเทียม 10 กลีบใหญ่, บ๊วย 2 ลูก, เกลือป่น 1/2 ช้อนชา, น้ำตาลทราย 3/4 ถ้วย, น้ำส้มสายชู 1/2 ถ้วย และน้ำเปล่า 1/2 ถ้วย

วิธีทำ หั่นพริกชี้ฟ้าแดงให้ละเอียด แล้วนำไปโขลกกับกระเทียมให้เข้ากัน เตรียมไว้ เสร็จแล้วนำน้ำส้มสายชู น้ำ น้ำตาล เกลือ ตั้งไฟพอเดือด ใส่บ๊วย เคี่ยวต่อจนเหนียว จึงใส่พริกกับกระเทียมที่โขลกไว้ ยกลง

“ค้างคาวเผือก” นี้ ขายได้ในราคาชิ้นละ 5 บาทขึ้นไป โดยมีต้นทุนวัตถุดิบต่อชิ้นประมาณ 50% ของราคา

             

ใครสนใจกรณีศึกษา “ช่องทางทำกิน” จากเมนูอาหารว่างโบราณ “ค้างคาวเผือก” ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจากทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ติดต่อสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2282-9009-15 ต่อ 6093-6094 ในวันและเวลาราชการ.

สุภารัตน์ ยอดศิริวิชัยกุล-ปิยาภรณ์ บุญประเสริฐ : รายงาน

สุทธิภัทร พฤกษ์เจริญสุข : ภาพ

คู่มือลงทุน...ค้างคาวเผือก

ทุนอุปกรณ์ ประมาณ 10,000 บาทขึ้นไป

ทุนวัตถุดิบ ประมาณ 50% ของราคาขาย

รายได้ ราคาขายชิ้นละ 5 บาทขึ้นไป

แรงงาน 1 คนขึ้นไป

ตลาด ชุมชน, ร้านอาหาร, ออกร้าน

จุดน่าสนใจ คนทำขายน้อยคู่แข่งจึงน้อย