ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2014, 03:09:07 pm »




อริยสัจ4-ความจริง อย่างประเสริฐ 4 ประการ
1.ทุกข์(ทุกข์อริยสัจ)-คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
2.สมุทัย (ทุกข สมุทัย อริยสัจ)-คือ เหตุให้ทุกข์เกิด
3.นิโรธ (ทุกข นิโรธ อริยสัจ)-คือ ความดับทุกข์
4.มรรค (ทุกข นิโรธ คามมินี ปฏิปทา)-คือ ข้อปฏิบัติ ให้ถึง ความดับทุกข์

แต่ละ อริยสัจ เป็นไปในรอบ 3 คือ
1.สัจจญาณ-กำหนดรู้ความจริง
2.กิจญาณ-กำหนดรู้กิจที่ควรทำ
3.กตญาณ-กำหนดรู้ว่า ได้ทำกิจเสร็จแล้ว
ดังนั้น อริยสัจ 4X 3 รอบ = 12 อาการ

1.ทุกขอริยสัจ โดย 3 รอบ คือ
สัจจญาณ-ในทุกข อริยสัจ คือ ญาณรู้ว่า "ความเกิดก็ เป็นทุกข์ ความแก่ก็ เป็นทุกข์" เป็นต้น
โดยย่อ อุปาทาน ขันธ์5 เป็นทุกข์
กิจจญาณ-ในทุกขอริยสัจ คือ ญาณรู้ว่า "ความเกิดก็เป็นทุกข์ "เป็นต้น
โดยย่อ อุปาทาน ขันธ์5 เป็นทุกข์ ทุกข อริยสัจนี้ เป็นธรรม ที่ควร กำหนดรู้
กตญาณ-ในทุกข อริยสัจ คือ ญาณรู้ว่า "ความเกิด ก็เป็นทุกข์"เป็นต้น
โดยย่อ อุปาทาน ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ทุกข อริยสัจนี้ เป็นธรรม ที่ควร กำหนดรู้ ก็ได้กำหนด รู้แล้ว

2.สมุทัย อริยสัจ โดย 3 รอบ คือ
สัจจญาณ-ในสมุทัย อริยสัจ ญาณรู้ว่า "ตัณหาอันทำให้ เกิดชาติใหม่อีก
ประกอบด้วย ความกำหนัด มีปกติเพลิดเพลิน ในอารมณ์นั้นๆ เป็นเหตุ ให้เกิดทุกข์"
ตัณหา มี 3 คือ
กามตัณหา-คือ ตัณหา ในกาม
ภวตัณหา-คือ ตัณหา ในภพ ประกอบด้วย สัสสต ทิฏฐิ
ความเห็น ผิดว่า"เที่ยง"ตัณหา ในฌาน ในรูปภพ อรูปภพ
วิภวตัณหา- คือ ตัณหา ประกอบด้วย อุจเฉททิฏฐิ คือ ความเห็น ผิดว่า"ขาดสูญ"

กิจจญาณ-ในสมุทัย อริยสัจ คือ ญาณรู้ว่า..
"ตัณหาทั้ง 3นี้ เป็น สมุทัย อริยสัจ เป็นธรรม ที่ควรละเสีย"
กตญาณ-เป็นสมุทัย อริยสัจ คือ ญาณรู้ว่า..
"ตัณหาทั้ง3 นี้เป็น สมุทัย อริยสัจ เป็นธรรม ที่ควรละเสีย ก็ได้ละเสียแล้ว"......

การหมุน ธรรมจักร 3 รอบ แสดงธรรม 12 ออกมาให้เห็น ดังนี้.-
ทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค ต่างก็หมุน 3 รอบ ดังนั้น จึงชื่อว่า "หมุน ธรรมจักร 3 รอบ
แสดงธรรม 12" คือ 3 รอบ มีรอบแสดง รอบกล่อม และ รอบบรรลุ
1.ทุกข์อริยสัจ....
ผลทุกข์-
หมุนรอบแรก -แสดง ลักษณ์ นี่คือทุกข์ ลักษณะบังคับ
หมุนรอบที่ 2-เตือนให้ บำเพ็ญ นี่คือทุกข์ เธอจงรับรู้ไว้
หมุนรอบที่ 3-ยืนยันว่า บรรลุได้ นี่คือทุกข์ ฉันทราบแล้ว

2.สมุทัยอริยสัจ
เหตุทุกข์-
หมุนรอบแรก-แสดง ลักษณ์ นี่คือสมุทัย ยั่วความรู้สึก
หมุนรอบที่ 2-เตือน ให้บำเพ็ญ นี่คือสมุทัย เธอจงตัดขาด
หมุนรอบที่3-ยืนยันว่า บรรลุได้ นี่คือสมุทัย ฉันตัดขาดแล้ว

3.นิโรธอริยสัจ-
ผลสุข-
หมุนรอบแรก-แสดง ลักษณ์ นี่คือ นิโรธ ลักษณะ บรรลุได้
หมุนรอบที่ 2-เตือนให้ บำเพ็ญ นี่คือ นิโรธ เธอจง บรรลุให้ได้
หมุนรอบที่ 3-ยืนยันว่า บรรลุได้ นี่คือ นิโรธ ฉันบรรลุแล้ว

4.มรรค อริยสัจ-
เหตุสุข-
หมุนรอบแรก-แสดงลักษณ์ นี่คือ มรรค ลักษณะบำเพ็ญได้
หมุนรอบที่ 2-เตือนให้ บำเพ็ญ นี่คือ มรรค เธอควรบำเพ็ญ
หมุนรอบที่ 3-ยืนยันว่า บรรลุได้ นี่คือ มรรค ฉันบำเพ็ญแล้ว
รอบกล่อม และ รอบบรรลุ ก็ดำเนิน ไปเป็นขั้นตอน เช่นเดียวกับ
รอบแสดง.....เป็น อันจบสิ้น สมบูรณ์ฯ


-facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2013, 06:38:46 pm »





ภิกษุ ทั้งหลาย.
ความจริง อันประเสริฐ มีสี่อย่างเหล่านี้,
สี่ อย่างเหล่าไหนเล่า?สี่อย่างคือ
ความจริง อันประเสริฐ คือ ทุกข์,
ความจริง อันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์,
ความจริง อันประเสริฐ คือความดับ ไม่เหลือ ของทุกข์,
และ ความจริง อันประเสริฐ คือ ทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือ ของทุกข์.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ความจริง อันประเสริฐ คือ ทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ :-
ขันธ์ อันเป็น ที่ตั้งแห่ง ความยึด มั่นถือมั่น ห้าอย่าง.
ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? คือ :-
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ความจริง อันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็น เครื่องนำ ให้มีการเกิดอีก
อันประกอบด้วย ความกำหนัด เพราะ อำนาจความเพลิน
มักทำให้เพลิน อย่างยิ่งใน อารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
ตัณหาในกาม, ตัณหา ในความมี ความเป็น,
ตัณหาใน ความไม่มี ไม่เป็น.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือเหตุ ให้เกิดทุกข์.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ความจริง อันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ ความดับสนิท เพราะ ความจางคลายดับ ไปโดยไม่เหลือของ ตัณหานั้น
ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง
ความไม่อาลัย ถึงซึ่งตัณหา นั้นเอง อันใด.
ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริง อันประเสริฐคือความดับ ไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุ ทั้งหลาย.! ความจริง อันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ หนทาง อันประเสริฐ ประกอบด้วย องค์แปดนั่นเอง,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-
ความ เห็นชอบ,
ความ ดำริชอบ,
การ พูดจาชอบ,
การ งานชอบ,
การ เลี้ยงชีพชอบ,
ความ เพียรชอบ,
ความ ระลึกชอบ,
ความ ตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนิน ให้ถึง ความดับไม่เหลือของทุกข์.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เหล่านี้แล คือ ความจริง อันประเสริฐสี่อย่าง.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอ
พึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตาม เป็นจริงว่า
“นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์,
นี้เป็นความดับ ไม่เหลือของทุกข์,
นี้เป็นทางดำเนิน ให้ถึง ความดับ ไม่เหลือของทุกข์,” ดังนี้เถิด.
มหาวาร. ส°. ๑๙/๕๓๔-๕/๑๖๗๘-๑๖๘๓.


- https://www.facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า/166387296709841?fref=ts