ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 11, 2014, 07:27:22 pm »




...มีโดยไม่ต้องมีผู้มี...
๐ ถ้ามีอะไร แล้วใจ รู้สึกเหนื่อย
สำนึกเรื่อย ว่ากูมี อย่างนี้หนา
มีทั้ง "กู" ทั้ง "ของกู" อยู่อัตรา
นั่นอัตตา มาผุดขึ้น ในการมี

๐ ถ้ามีอะไร มีไป ตามสมมุติ
ไม่จับยุด ว่า "ของกู" รู้วิถี
แห่งจิตใจ ไม่วิปริต ผิดวิธี
มีอย่างนี้ ยอมไม่เกิด ตัวอัตตา

๐ ฉะนั้นมีอะไร อย่าให้มี อัตตาเกิด
เพราะสติ อันประเสริฐ คอยกันท่า
สมบูรณ์ด้วย สัมปชัญญ์ และปัญญา
นี้เรียกว่า รู้จักมี ที่เก่งเกิน

๐ เป็นศิลปะ แห่งการมี ที่ชั้นยอด
ไม่ต้องกอด ไฟนรก ระหกระเหิน
มีอย่างว่าง ว่างอย่างมี มีได้เพลิน
ขอชวนเชิญ ให้รู้มี อย่างนี้แล ฯ
พุทธทาสภิกขุ




เหวี่ยงไปแรง มันก็กลับมาแรง
นี้เป็นกฏแห่งกรรม ที่ต้องระวังสังวร
พุทธทาสภิกขุ
ที่มา อสีติสังวัจฉรายุศมานุสรณ์




เราล่วงเกินใคร... ก็หวัง ให้เขา ให้อภัย
ครั้นใครล่วงเกินเรา... เราก็ ลืม เรื่องการ ให้อภัย
พุทธทาสภิกขุ




"คนที่ไม่เคยเห็น เคยฟังพระไตรปิฎกเลย
แต่เคยพิจารณาอย่างละเอียดลออทุกครั้งทุกคราว
ที่ความทุกข์เกิดขึ้นแผดเผาในใจของตน;
นี้แหละ เรียกว่าคนที่กำลังเรียนพระไตรปิฎกโดยตรง
อย่างถูกต้องถ่องแท้
ยิ่งกว่าคนที่กำลังเปิดเล่มพระไตรปิฎกในตู้ออกอ่าน
แล้วเพียงแต่จำไว้ได้และเข้าใจ"
พุทธทาสภิกขุ




ในความ "ว่าง" ก็มีความเต็ม
ในความเต็มก็มีความ "ว่าง"
พุทธทาสภิกขุ




"มี ไม่ต้อง เป็นของ "กู"
ถ้าจะอยู่ ในโลกนี้ อย่างมีสุข
อย่าประยุกต์ สิ่งทั้งผอง เป็นของฉัน
มันจะสุม เผากระบาล ท่านเป็นควัน
ต้องปล่อยมัน ให้เป็นมัน อย่าผันมา

เป็นของกู ในอำนาจ แห่งตัวกู
ท่านจะอยู่ วุ่นวาย คล้ายคนบ้า
อย่างน้อยก็ เป็นนกเขา เข้าตำรา
มันคึกว่า "กู ของกู" อยู่ร่ำไปฯ

ท่านหามา มีไว้, ใช้หรือกิน
ตามระบิล, อิ่มหนำ ก็ทำไหว
โดยไม่ต้อง มั่นหมาย ให้อะไรๆ
ถูกยึดไว้ ว่า "ตัวกู" หรือ "ของกู" ฯ
พุทธทาสภิกขุ




พ้นแล้วโว้ย !
ตะโกนออก บอกสหาย สิ้นทั้งผอง
ว่าไม่ต้อง เสียเที่ยว เที่ยวค้นหา
อนันตสุข ในโลกนี้ ที่หวังมา
เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายปล่าวแล

สุขแท้จริง ต้องไม่วิ่ง วนในโลก
ต้องเหนือความ ทุกข์โศก ทุกกระแส
มือเท้าเหนียว เหนี่ยวขึ้นไป คล้ายตุ๊กแก
ไม่อยู่แค่ พื้นโบสถ์ โปรดคิดดู

ลอยเหนือยอด โบสถ์ไป ในเวหา
ลอยพ้นไป ให้เหนือฟ้า ที่พรหมอยู่
ถึงความว่าง ห่างพ้น ตน “ตัวกู”
ไม่มีอยู่ ไม่มีตาย สหายเอย.ฯ
พุทธทาสภิกขุ




มันไม่มีอะไรที่จะเป็นไปตามที่ ฉัน ต้องการหรอก
มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน
ตามธรรมชาติ ก็เลยได้เป็นทุกข์กันเพราะเหตุนี้

จะยึดถือว่าชีวิตนี้ของฉัน ชีวิตนี้จงเป็นอย่างนี้
จงอย่าเป็นอย่างนั้น
แต่ไอ้ชีวิตนี้มันก็ยังเป็นไปตามธรรมชาติ
เช่น มันเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น
มันก็เลยให้เกิดความรู้สึกที่เป็นทุกข์ แก่จิตที่โง่ว่า
มีตัวฉัน ต้องการอย่างนั้น อย่างนี้

ถ้าว่าจิตมันไม่โง่ คือจิตที่ศึกษาถึงที่สุด บรรลุธรรมะ
แล้วมันไม่มีความรู้สึกว่าตัวฉัน ไม่รู้สึกว่าของฉัน เป็นธรรมชาติ
เป็นตามธรรมชาติ คือเป็นแต่ละอย่างๆ อย่างที่เราแจกออก
เป็นอิทัปปัจจยตา เป็นปฏิจจสมุปบาทนั้น หรือว่าเป็นรูป เป็นเวทนา
เป็นสัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นสักว่า รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ นั้น มันไม่มีตัวตนที่ไหนได้ นี่เรียกว่าเป็นเบญจขันธ์ที่
ไม่ถูกยึดถือด้วยอุปาทาน มันก็ไม่เป็นทุกข์ คือไม่หนัก
พุทธทาสภิกขุ




หนีความเกิด เสียให้ได้ก่อนเถิด
จึงค่อยคิดหนีความตาย
ถ้าไม่มีการเกิด ก็ไม่มีการตาย
พุทธทาสภิกขุ
นานาสาระธรรม จากสวนโมกข์กรุงเทพ



>>> F/B ปรมัตถธรรม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 11, 2014, 06:02:42 pm »




ความถูกต้องที่แท้จริง คือ ถูกต้องตามกฎธรรมชาติ
มิใช่ความถูกต้องของเรา
ซึ่งมักจะเป็นความถูกต้องของกิเลส ตามทิฏฐิของเรา
พุทธทาสภิกขุ



ความสุขที่เกิดขึ้นจากวัตถุ มันเป็นของไม่เที่ยงแท้ มีการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย
เมื่อมีเครื่องประกอบก็สุข ขาดเครื่องประกอบไปก็ทุกข์
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า อามิสสุข คือ สุขที่เจือด้วยเครื่องล่อเครื่องจูงใจ
มีปริมาณเท่าใด ความทุกข์ก็มีปริมาณเท่านั้น เมื่อสิ่งนั้นสูญหายไป
ปัญญานันทภิกขุ



ความไม่มีมันเป็นของเดิม ความมีมันมาทีหลัง
(แต่) เราไม่ได้นึกว่า ความไม่มีเป็นของเดิม
แต่ไปนึกถึงความมีอยู่ตลอดเวลา
ปัญญานันทภิกขุ



ในโลกนี้ ความผิดบางอย่าง ไม่ใช่ความชั่วก็มี
และความถูกบางอย่าง ไม่ใช่ความดีก็มีได้เหมือนกัน
พุทธทาสภิกขุ



ยิ่งไกลจากธรรมชาติมากเท่าไร ยิ่งไกลจาก
ความผาสุกทางวิญญาณมากเท่านั้น
พุทธทาสภิกขุ



ถ้าไม่ยึดถือว่าความเกิดของฉัน ความเกิดไม่เป็นทุกข์
ถ้าไม่ยึดถือว่าความแก่ของฉัน ความแก่ก็ไม่เป็นทุกข์
ไม่ยึดถือว่าความตายของฉัน ก็ไม่เป็นทุกข์
โสกัปเทวทุกข อะไรก็ตาม ที่ไม่ได้ยึดถือว่าเป็นของฉัน
มันไม่ไปเป็นทุกข์       -พุทธทาสภิกขุ



การอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์การทำพิธีรีตองเพื่อจะกำจัดความทุกข์
หรือเพื่อจะให้หมดบาปหมดกรรมให้หมดทุกข์นั้นน่ะ
มันเป็นเรื่องของคนหลับที่ยังหลับอยู่เพราะไม่รู้ตามที่เป็นจริงว่า
ความทุกข์นั้นเกิดมาจากอะไร    - พุทธทาสภิกขุ



ส.ค.ศ. = สร่างความโศก
สุขเมื่อทำหน้าที่ ปีใหม่แท้
พุทธทาสภิกขุ



ถ้ายังมีสำคัญมั่นหมายเป็นตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา
ตัวกู ตัวสู อันนี้มันก็คือ วัฏฏสงสาร ที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่ในกองทุกข์

อย่าไปดูวัฏฏสงสารที่อื่น ดูวัฏฏสงสารมันก็เพิ่งเกิดๆ บ่อยๆ
เกิดที่นี่และเดี๋ยวนี้และเกิดอยู่บ่อยๆ
ยินดีก็เป็นเป็นวัฏฏสงสารชนิดหนึ่ง ยินร้ายก็เป็นวัฏฏสงสารชนิดหนึ่ง
ความรักก็เป็นวัฏฏสงสารชนิดหนึ่ง ความโกรธก็เป็นวัฏฏสงสารชนิดหนึ่ง
ก็มีอยู่เท่านี้ เดี๋ยวยินดีเดี๋ยวยินร้าย
เดี๋ยวยินดีเดี๋ยวยินร้ายอยู่นี่ เป็นวัฏฏสงสารอยู่เท่ากัน
พุทธทาสภิกขุ
โอวาทลาสิกขา ปี ๒๕๒๓

นานาสาระธรรม จากสวนโมกข์กรุงเทพ


>>> F/B ปรมัตถธรรม