ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มีนาคม 14, 2014, 09:16:32 pm »อารมณ์ขันสมเด็จโตวัดระฆัง
:: INN online .
ในหนังสืออารมณ์ขันและความศักดิ์สิทธิ์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี มีบันทึกเรื่อง "แกงร้อนสมเด็จฯ"ให้แง่คิดที่น่าสนใจยิ่ง
สิ่งหนึ่งที่ทำให้สมเด็จโตรู้สึกอึดอัดใจ ก็คือ ไม่ว่าท่านจะทำกิจการใดๆ ก็ตาม
เมื่อปรึกษาหารือกับภิกษุในวัด ก็มักจะได้รับคำตอบว่า สิ่งที่ท่านทำนั้นสมควรแล้ว ดีแล้ว ทุกครั้งไป ..
วันหนึ่งมีผู้นำแกงร้อนวุ้นเส้นชามใหญ่มาถวายท่าน ท่านสั่งให้ศิษย์วัดนำกระทะใบบัวใหญ่ มาตั้งน้ำเต็มกระทะจนกระทั้งเดือนพล่าน แล้วนำแกงร้อนถ้วนนั้นเทลงในกระทะแล้วให้ศิษย์วัดไปเก็บผักบุ้งในลำคลองข้างวัด มาล้างทำความสะอาดแล้วหั่น ใส่ลงไปในแกงร้อนนั้น นำอาหารอีกหลายอย่างที่มีผู้นำมาถวาย เทใส่รวมลงไปหมด แลดูไม่น่าขบฉันเลยแม้แต่น้อย
เมื่อเสร็จแล้ว ก็ให้ศิษย์วัดตีกลองเป็นสัญญาณให้ภิกษุสามเณรต่างๆ นำปิ่นโต ถ้วยชามมาแบ่งอาหาร โดยท่านกำชับให้บอกภิกษุสามเณรทุกรูปว่าเป็นแกงร้อนที่ท่านปรุงเอง ภิกษุทั้งวัดระฆังจึงได้ฉันแกงร้อนสมเด็จฯ ในมือเพลวันนั้นโดยทั่วถึง
ครั้นตกเวลาเย็น ภิกษุทุกรูปจะต้องมาร่วมทำวัตรค่ำในพระอุโบสถ สมเด็จโตไปยืนอยู่ตรงหน้าประตูโบสถ์ คอยถามภิกษุทุกรูปที่เดินผ่านท่านเข้าไปในโบสถ์ว่า
“แกงร้อนของท่านเมื่อตอนเพลเป็นอย่างไรบ้าง”?
ปรากฏว่าภิกษุทุกรูปตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า อร่อยดีมาก
ท่านก็ถามภิกษุทุกรูปเรื่อยมา จนกระทั้งถึงภิกษุชราองค์หนึ่งซึ่งบวชอยู่วัดระฆังมานานหลายสิบพรรษา เดินผ่านมาสมเด็จฯก็ถามเหมือนเดิมว่า
“ขรัวตา แกงร้อนของฉันเมื่อตอนเพลเป็นอย่างไรบ้าง? ฉันลงมือทำเองทีเดียวนะ”
ขรัวตา ชงักนิดนึงแล้วตอบว่า
“ไม่ไหวครับ พระเดชพระคุณท่าน กระผมเทให้หมามันยังไม่กินเลย”
สมเด็จฯ ยิ้มด้วยความพอใจ แล้วประนมมือไหว้ขรัวตา
สาธุ สาธุ ขรัวตานี่แหละศีลบริสุทธิ์โดยแท้ ควรแก่การเคารพ สาธุ ..
ที่มา หนังสือ อารมณ์ขันและความศักดิ์สิทธิ์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
:: INN online .
ในหนังสืออารมณ์ขันและความศักดิ์สิทธิ์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี มีบันทึกเรื่อง "แกงร้อนสมเด็จฯ"ให้แง่คิดที่น่าสนใจยิ่ง
สิ่งหนึ่งที่ทำให้สมเด็จโตรู้สึกอึดอัดใจ ก็คือ ไม่ว่าท่านจะทำกิจการใดๆ ก็ตาม
เมื่อปรึกษาหารือกับภิกษุในวัด ก็มักจะได้รับคำตอบว่า สิ่งที่ท่านทำนั้นสมควรแล้ว ดีแล้ว ทุกครั้งไป ..
วันหนึ่งมีผู้นำแกงร้อนวุ้นเส้นชามใหญ่มาถวายท่าน ท่านสั่งให้ศิษย์วัดนำกระทะใบบัวใหญ่ มาตั้งน้ำเต็มกระทะจนกระทั้งเดือนพล่าน แล้วนำแกงร้อนถ้วนนั้นเทลงในกระทะแล้วให้ศิษย์วัดไปเก็บผักบุ้งในลำคลองข้างวัด มาล้างทำความสะอาดแล้วหั่น ใส่ลงไปในแกงร้อนนั้น นำอาหารอีกหลายอย่างที่มีผู้นำมาถวาย เทใส่รวมลงไปหมด แลดูไม่น่าขบฉันเลยแม้แต่น้อย
เมื่อเสร็จแล้ว ก็ให้ศิษย์วัดตีกลองเป็นสัญญาณให้ภิกษุสามเณรต่างๆ นำปิ่นโต ถ้วยชามมาแบ่งอาหาร โดยท่านกำชับให้บอกภิกษุสามเณรทุกรูปว่าเป็นแกงร้อนที่ท่านปรุงเอง ภิกษุทั้งวัดระฆังจึงได้ฉันแกงร้อนสมเด็จฯ ในมือเพลวันนั้นโดยทั่วถึง
ครั้นตกเวลาเย็น ภิกษุทุกรูปจะต้องมาร่วมทำวัตรค่ำในพระอุโบสถ สมเด็จโตไปยืนอยู่ตรงหน้าประตูโบสถ์ คอยถามภิกษุทุกรูปที่เดินผ่านท่านเข้าไปในโบสถ์ว่า
“แกงร้อนของท่านเมื่อตอนเพลเป็นอย่างไรบ้าง”?
ปรากฏว่าภิกษุทุกรูปตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า อร่อยดีมาก
ท่านก็ถามภิกษุทุกรูปเรื่อยมา จนกระทั้งถึงภิกษุชราองค์หนึ่งซึ่งบวชอยู่วัดระฆังมานานหลายสิบพรรษา เดินผ่านมาสมเด็จฯก็ถามเหมือนเดิมว่า
“ขรัวตา แกงร้อนของฉันเมื่อตอนเพลเป็นอย่างไรบ้าง? ฉันลงมือทำเองทีเดียวนะ”
ขรัวตา ชงักนิดนึงแล้วตอบว่า
“ไม่ไหวครับ พระเดชพระคุณท่าน กระผมเทให้หมามันยังไม่กินเลย”
สมเด็จฯ ยิ้มด้วยความพอใจ แล้วประนมมือไหว้ขรัวตา
สาธุ สาธุ ขรัวตานี่แหละศีลบริสุทธิ์โดยแท้ ควรแก่การเคารพ สาธุ ..
ที่มา หนังสือ อารมณ์ขันและความศักดิ์สิทธิ์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)