* ๘ *
สิ่งที่เรียกว่า สมมุติ นั้น ย่อมเกิดจากประสบการณ์อย่างธรรมดาของสามัญมนุษย์ ซึ่งใช้เรียกขานกันทางภาษา เช่นว่า ฉันไปโน่น
ฉันทำนี่ ฉันอ้วน ฉันผอม ฯลฯ คำว่า ฉัน หรือ เรา ที่ใช้กันพึงตราไว้ว่ามันไม่มีอยู่จริงตามสภาวสัตย์ หากมันมีขึ้นอยู่เพราะคำพูด
ของเรา ที่ใช้ในการสื่อสารกันเท่านั้นเอง
ทางฝ่ายปราสังฆิกะ มาธยมิกะ ยืนยันว่า ฉัน หรือ เรา นั้น ถ้าแยกแยะลงไปแล้ว จะเห็นได้ว่าไม่มี
ขอให้กลับมาพิจารณาประโยคอย่างที่ยกมาข้างบนนี้ ที่ว่า ฉันไปโน่น ฉันทำนี่ ฯลฯ ถ้าปล่อยไว้แค่นั้น เราก็นึกว่า ฉัน นั้นมีจริง ๆ
ทั้ง ๆ ที่ใช้คำว่า ฉันเพื่อสื่อให้คนอื่นรู้จักตัว ฉัน เท่านั้นเอง
ถ้าลองออกนอกสมมติที่ว่านี้ แล้วพิเคราะห์ดูว่าอะไรเป็นตัวต่อเนื่อง จนพ้นขอบเขตที่สังคมกำหนด ก็จะเห็นได้ว่าไม่มี ฉัน อยู่ตาม
สภาวสัตย์ในที่ใด ๆ เลย
เราต้องเข้าใจว่าสิ่งที่เรากำหนดขึ้นด้วยภาษานั้นไม่จำเป็นต้องมีจริง ๆ ดังสิ่งซึ่งเราฝันขึ้น ก็ไม่จำต้องเป็นจริงในชีวิตเรา แม้คนส่วน
ส่วนใหญ่จะเชื่อว่า ฉัน นั้นมีจริง ทัศนะของคนส่วนใหญ่นั้นไม่จำต้องถูกเสมอต้องไป
ลองพิจารณาต่อไป ว่าถ่าเราวิเคาระห์เจาะลึกลงไปเพื่อหาสภาวสัตย์ที่เป็นปรมัตถ์ ก็จะเห็นได้ว่าไม่มีอะไรปรากฏอยู่จริงตามนัยของ
สภาวสัตย์อย่างคงทนถาวรเลย
คำว่า ปรากฏอยู่จริงตามนัยของปรมัตถสัตย์นั้น ฝ่ายมาธยมิกะถือว่าทุกอย่างต้องวิเคราะห์ออกให้ชัด ดังพระนาคเสนเคยอธิบายขยาย
ความเรื่องราชรถว่าล้วนประกอบไปด้วยสิ่งต่าง ๆ เช่น ล้อดุม ที่นั่ง ฯลฯ ถ้าแยกออกไปแล้วรถก็ย่อมไม่มี ตัวตนหรือบุคคลก็ฉันนั้น
หากเราเรียกขานขึ้นเพื่อความสะดวกในทางสื่อสารเท่านั้นเอง ทั้ง ๆ ที่รถมีเอกลักษณ์พิเศษ แต่เมื่อแยกส่วนออกไป เอกลักษณ์พิเศษ
ที่ว่านั้นก็ไม่มี
การเสนอให้ไม่ติดยึดในตัวตน หรือเอกลักษณ์พิเศษนั้น ฝ่ายปราสังฆิกะเสนอสามวิธีคือ ( ๑ ) บางคนอาจจะบอกว่านี่นาย ก. แต่เราอาจ
บอกว่าไม่ใช่ เขาคือนาย ข. ต่างหาก สำหรับสามัญมนุษย์ทั่วไป ก็จำต้องถามว่าบุคคลคนนั้นคือ นาย ก. หรือนาย ข. กันแน่ เป็นอันว่า
ตัวตัดสินคือมหาชนหรือคนส่วนใหญ่ นอกจากสองคนเถียงกัน ( ๒ ) ใช้วิธีทางตรรกวิทยา ( 3 ) วิธีเข้าถึงจริง ๆ ทางปรมัตถสัตย์ โดย
ตันตระวิธี จำเพาะวิธีนี้แหละที่ช่วยให้เข้าถึงว่านาย ก. ก็ดี นาย ข. ก็ดี เป็นเพียงสมมติสัตย์
ถ้าจะใช้วิธีที่ ๔ อีกก็ยังได้ คือความเชื่อถือในบุคคลที่ควรเชื่อ หรือเอกสารหลักฐานที่ควรเชื่อ เช่นที่ข้าพเจ้ารู้ว่าตนเองเกิดในปี ๒๕๗๕
ไม่ใช่ ๒๔๗๖ เพราะข้าพเจ้าเกิดเกิดเดือนมีนาคม เวลานั้นมีนาคมเป็นปลายปี เมษายน เป็นต้นปี เอกสารหลักฐานเช่นนี้ ยืนยันว่าข้าพเจ้า
เกิดปี ๒๔๗๕ แม้ว่าเมื่อเทียบกับศักราชฝรั่ง ย่อมเป็นปี ๑๙๓๓ ไม่ใช่ ๑๙๓๒ คือเอาเกณฑ์ ๕๔๓ มาลบออกหาได้ไม่
การที่เรารับความจริงทางวิทยาศาสตร์ ก็เพราะเราเชื่อว่านักวิทยาศาสตร์มีความรู้มากกว่าเรา เราเชื่อเขาเพราะถือว่าเขาเป็นบุคคลที่
น่าเชื่อถือ ซึ่งอาจผิดก็ได้ถูกก็ได้
การแสวงหาความจริง ในทางพุทธศาสนาของวัชรยานนั้น ใช้วิธีการค้นหาทางด้านจิตใจอย่างพุทธวิธี ไม่ใช่การแยกแยะหรือวิจัยในทาง
ปรากฏการณ์ของสสาร เพื่อหากฏเกณฑ์อันเป็นที่ยอมรับกันอย่างสากล ดังวิธีวิทยาของนักวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้กฏนั้นเป็นที่ยอมรับ
อย่างเป็นเอกฉันท์ แล้วเอามาตั้งเป็นกฏเกณฑ์สำหรับทุก ๆ คนในแวดวงวิชาการนั้น
วิธีการเข้าถึงจิตใจในฝ่ายพุทธศาสนานั้นมีหลายทางด้วยกัน เพราะแต่ละคนก็มีวิธีคิดที่ต่างกัน มีความต้องการที่ต่างกัน มีความสนใจที่
ต่างกัน ฯลฯ จะใช้วิธีหนึ่งเดียวเพื่อเข้าถึงจิตใจของผู้คนอันมากหลาย ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะกฏเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์สรุปมาได้จาก
สสาร จากวัตถุ ซึ่งออกจะตายตัว
ทางฝ่ายพุทธจึงใช้วิธีสังเกตกระบวนการคิดของคนนั้น ๆ เท่าที่ปรากฏขึ้นในแต่ละคน ยิ่งกว่าจะหาข้อสรุปมาตั้งเป็นกฏเกณฑ์อย่างสากล
ขึ้นสำหรับมนุษย์ทุก ๆ คน เพื่อยืนยันว่ากฏเกณฑ์นี้ใช้ได้ตลอดกาล
สำหรับผู้ที่ปฏิบัติธรรม ยิ่งจิตเป็นสมาธิมากเท่าไร ปัญญาย่อมสว่างขึ้นเท่านั้น และก็จะติดยึดน้อยลงด้วยเช่นกัน โดยผู้ปฏิบัติธรรมจะเกิด
อุปายะโกศล จนรู้เท่าทันพลังทางร่างกายกับจิตใจ ช่วยเชื่อมให้ร่างกายกับจิตใจบรรสานสอดคล้องกัน คลายความเครียด เกิดความสงบ
จนสามารถอาจใช้ภาวนาวิธีเช่นนี้มากำหนดความฝันก็ได้ ดังได้กล่าวมาแล้วแต่ต้น
การเข้าใจเรื่องความฝัน ช่วยให้เราเข้าใจเรื่องการตาย และการเข้าใจเรื่องการตาย ก็จะต้องเข้าใจเรื่องการมีชีวิต กล่าวคือชีวิตดำรงคงอยู่
ก็เพราะร่างกายช่วยให้วิญญาณขันธ์ หรือตัวกำหนดกระแสของจิตดำรงอยู่ นี่ว่าเฉพาะชีวิตมนุษย์ ถ้าจะพูดให้ละเอียดออกไป ก็ต้องเข้าใจ
ในเรื่อง กามภพ รูปภพ และ อรูปภพด้วย ชีวิตในภพนั้น ๆ และการสิ้นชีวิตจากภพนั้น ๆ ต่างกันกับชีวิตและการสิ้นชีวิตของมนุษย์ ซึ่งอยู่
ในกามภพ เพราะในอรูปภพนั้น ผู้ดำรงชีวิตในภพนั้น ไม่มีรูปร่างอันหยาบกระด้างอย่างมนุษย์
พึงตราไว้ว่า สรรพสัตว์ปรากฏรูปให้เรารับรู้ได้ จำเพาะผู้ที่มีชีวิตในกามภพและในรูปภพ ท่านที่มีชีวิตในอรูปภพ ย่อมไม่ปรากฏรูปให้เรา
รับรู้ได้
คนไทยสมัยนี้ แม้ที่ถือตัวว่าเป็นพุทธศาสนานิกก็ไม่เข้าใจในเรื่องพวกนี้แล้ว ถ้าไม่ทราบว่าภพนั้น ๆ มี ก็ติดในรูปแบบของภพนั้น ๆ
ไปในทางไสยศาสตร์ยิ่งกว่าพุทธศาสนา กล่าวคือพุทธศาสนาถือว่าสรรพสัตว์ถือกำเนิดในสภาวะต่าง ๆ กันดังนี้คือ ( ๑ ) เทพ ( ๒ ) อสูร
( ๓ ) มนุษย์ ( ๔ ) เดรัจฉาน ( ๕ ) เปรต และ ( ๖ ) สัตว์นรก
เราจะใช้ภาษาคนภาษาธรรมตีประเด็นพวกนี้อย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของเรา เกี่ยวกับตัวเรา และเกี่ยวกับพุทธศาสนาด้วย ถ้าขาด
จิตสิกขาเสียแล้ว คำอธิบายก็เป็นไปในทางหัวสมองเท่านั้นเอง และถ้าไม่ใช้หัวสมองก็มองเห็นสรรพสัตว์ในภพภูมินั้น ๆ อย่างไสยศาสตร์
ของพวก พราหมณ์ หรือฮินดู ไปได้ไม่ยากเลย
ความคิดของเราในเรื่องภพชาติต่าง ๆ นั้นถูกย่ำยีหรือถูกทำลายลงเมื่อเราเคารพนับถือและเลื่อมใสวิธีวิทยาอย่างฝรั่ง จนในหัวสมอง
เราไม่รับเรื่องเทวดา ซึ่งแตกย่อยออกไปอีกมิใช่น้อย ดังเช่นอสูรและมนุษย์ ฯลฯ ก็เช่นกัน แต่ในทางอารมณ์ เรายังเชื่อเรื่องผี และ
เรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์มหัศจรรย์ต่าง ๆ เป็นเหตุให้บุคคลของเราแยกออกเป็นเสี่ยง ๆ และเกิดอาการงมงายกันได้ง่าย ดังกรณีของสมเด็จ
พระศรีสุริโยทัย ของสมเด็จพระสุพรรณกัลยาณี เรื่อยมาจนท้าวสุรนารี ซึ่งเป็นสตรีในทางประะวัติศาสตร์แล้วกลายสภาพมาเป็น
เทพธิดาตามสภาวสัตย์ หรือสมมติสัตย์ หรือในทางไสยเวท ความข้อนี้ เรายังไม่เคยอภิปรายกันซึ่ง ๆ หน้า ในทางพุทธศาสนาหรือ
ในทางวิธีวิทยาอย่างฝรั่ง
บุรุษในอดีตก็กลายเป็นเทพ ถึงกับมาประทับทรง ก็มีมิใช่น้อย เช่น กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ( ซึ่งเรียกกันว่าเสด็จเตี่ย ) ต่อไปจน
พระจุลจอมเกล้า ฯ ( เสด็จพ่อ ร. ๕ ) ส่วนเจ้านายก่อนหน้านั้น ที่มาประทับทรง ล้วนตายโหงทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นพระนางเรือร่ม
( มเหสีรัชกาลที่ ๕ ) หรือเจ้าพ่อหนูเผือก( โอรสพระเจ้ากรุงธนบุรี ) ส่วนสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ( ซึ่งก็ตายโหง ) เพิ่งมาปรากฏความ
ศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้เอง
สำหรับพระในอดีต ที่กลายเป็นเทพหรือมาประทับทรงนั้น รวมทั้งพระพุทธรูปอย่างหลวงพ่อวัดไร่ขิง และอย่างพระมหาเถระอย่างสมเด็จ
พระพุฒาจารย์ (โต ) วัดระฆัง และหลวงพ่อทวดวัดช้างไห้
กรณีที่เอ่ยถึงนี้ ดูเป็นไปในทางไสยวิธี ยิ่งกว่าพุทธวิธี คณะสงฆ์เองมีทีท่าอย่างไรในเรื่องนี้ ไม่ปรากฏ
สำหรับพุทธศาสนาอย่างธิเบตนั้น ไม่เคยรับอิทธิพลของวิธีวิทยาอย่างตะวันตก จนแม้จีนบุกรุกเข้าไปทำลายบ้านเมืองและผู้คน จนองค์ทะไลลามะ
เสด็จลี้ภัยพาลออกนอกประเทศร่วมกับครูอาจารย์เป็นเรือนแสน ก็หาได้ยอมไกล่เกลี่ยพุทธทัศนะอย่างดั้งเดิมกับวิทยาศาสตร์อย่างตะวันตกไม่
จึงน่ารับฟังทัศนะของเขา
ยกตัวอย่าง อายุรเวทของธิเบต เขาถือว่าร่างกายของมนุษย์ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ ๓ ประการ คือ ลม น้ำดี และเสมหะ( ซึ่งเคย
กล่าวถึงแล้ว ) ถ้าทั้งสามนี้ไม่บรรสานสอดคล้องกันด้วยดี เท่ากับเราถูกยาพิษจากสามศรนี้เสียบแทงเอา นั่นเป็นเรื่องในทางกาย ยังอกุศลมูล
ทั้งสาม ก็เป็นอีกสามศรในทางนามธรรม ที่ทำลายจิตใจของเรา แล้วกระทบมาถึงร่างกายของเราด้วย กล่าวคือ โลภ โกรธ หลง นั้นเป็น
ตัวที่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างร้ายแรงนัก
นอกจากนี้ ตำราแพทย์ธิเบตบางเล่มยังถือว่าอวิชชาหรือโมหะจริตโยงไปถึงกระดูก โลภะและอุปาทานโยงไปถึงโลหิต ถ้าหลง หรือโลภ
หรือโกรธ ย่อมกระเทือนถึงร่างกาย ไม่ให้สอดคล้องกัน ไม่ให้สัมพันธ์กันเป็นอันดีย่อมมีโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย และร้ายแรงเรื่อย ๆ อีกด้วย
ถ้าไม่แก้ที่อกุศลมูลพร้อม ๆ กับแก้ทางร่างกาย
นอกไปจากนี้แล้ว ทางธิเบตยังถือว่าการเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นสัมพันธ์กับสรรพสัตว์ภายนอกตัวเราเอง เช่นเทวดาหรือนาค ตลอดจนเปรตหรือ
อสูร ซึ่งดำรงอยู่บนพื้นพิภพ หรือใต้พื้นพิภพ อย่างในบาดาล ( ในกรณีของนาค ) แต่อาจขึ้นมาเพ่นพ่าน และทำร้ายเราก็ได้ ถ้าเรามีจิตใจไป
ในทางอกุศล บางทีภูติหรือผีพวกนี้อาจมาประทับทรง หรือเกิดกรณีอย่างที่เรียกว่าผีเข้าก็ได้ โดยสรรพสัตว์พวกนี้เป็นเพียงปัจจัยย่อย แต่ก็
ช่วยให้ขาดความสมดุลย์ในทางร่างกายและจิตใจได้
ใช่แต่เท่านั้น สัมมาทิฐิหรือมิจฉาทิฐิก็เป็นปัจจัยสำคัญในการเจ็บไข้หรือหายจากการป่วยไข้ นอกเหนือไปจากกรรมและวิบาก ( คือผลของ
กรรม ) ของคน ๆ นั้น
การรักษาคนป่วยนั้น นอกจากจับชีพจรแล้ว ยังมีการตรวจปัสสาวะประกอบ ซึ่งมีวิธีการซับซ้อนค่อนข้างมาก นอกไปจากนี้ ยังมีการสำรวจ
ตรวจดูถึงความฝันของคนป่วยอีกด้วย
เมื่อตรวจพบสมุหฐานของการป่วยแล้ว การวางยาอย่างเดียวไม่พอ บางทีต้องประกอบศาสนพิธีร่วมด้วย เช่นถ้าแพทย์เข้าใจว่าเทวดามาให้
โทษก็ต้องบอกกล่าวเทวดา ให้ยกโทษแก่ผู้ป่วย ในหลายกรณี การกินยาไปเป็นเวลานานแต่ก็ไม่หาย แต่พอทำบุญอุทิศส่วนกุศลอย่างถูกต้อง
ก็หายป่วยได้ง่าย ๆ ดังนี้เป็นต้น
แพทย์จะรักษาคนป่วย เท่าที่เชื่อว่าจะเยียวยาให้หายได้ แต่ถ้าเห็นว่าผู้ป่วยถึงที่จะต้องตาย แพทย์จะไม่ขืนให้ผู้ป่วยดำรงชีพอยู่อย่างทรมาณ
ให้นานออกไปอีกเลย หากหาทางช่วย หรืออาราธนาพระมาช่วย ให้ผู้ป่วยตายอย่างสงบ เพื่อไปเกิดใหม่อย่างเป็นสุข