ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: เมษายน 03, 2014, 12:45:06 pm »



  ทองเลน (Tonglen Tib. གཏོང་ལེན་)  คือการปฎิบัติด้วยโพธิจิต เพื่อส่งให้ (Tong) ความสุข ความสมบูรณ์  และ รับ(Len) ความทุกข์ ความเจ็บป่วย ความเจ็บปวด จากอีกบุคคลหนึ่งมาที่ตัวเรา  การฝึกจิตวิธีการนี้ ได้นำมาปฏิบัติในทิเบตตั้งแต่สมัยของท่านอาจารย์ อติสา  (Atisha) ท่านเกิดในปี ค.ศ. 892 ที่ประเทศอินเดีย  และการทำทองเลนที่ยังมีจิตสำนึกแยกเราและเขาเป็นคนละคนกัน เรียกว่าเป็น โพธิจิตธรรมดา(Ordinary Bodhichitta)  ส่วนการทำทองเลนที่ไม่แบ่งแยกความเป็นตัวเราเขา แต่เป็นจิตสำนึกที่ให้และรับความรักจากพุทธสภาวะภายในที่บริสุทธิ์ เรียกว่า ปรมัตถ์โพธิจิต (Ultimate Bodhichitta)  เพื่อเปลี่ยนแปลงมวลรวมพลังลบของจักรวาล
    
 
       ท่านทะไลลามะ  กล่าวว่า  “การที่จะสามารถส่งความสุขให้บุคคลอื่นและดึงความทุกข์มาที่ตัวเราได้นั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อย  ทั้งสองนั้นต้องเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ทางกรรมต่อกันมาจากอดีตชาติ  ทำไมเราจึงไม่บ่มเพาะทัศนคติเช่นนี้  เพราะการทำทองเลนนี้จะนำสู่ความเข้มแข็งของบุคลิกภาพ ความกล้าหาญ ความกระตือรือล้น  และพัฒนาโพธิจิตอีกด้วย”

       ท่านโซเกียล รินโปเช  กล่าวว่า  “ ในบรรดาการปฏิบัติที่ฉันรู้จัก  การปฏิบัติทองเลน  เป็นหนึ่งในสิ่งที่มีประโยชน์และทรงพลังที่สุด  ไม่มีการปฏิบัติอื่นที่จะมีประสิทธิภาพในการทำลาย การยึดมั่นตัวตน  การรักหลงตนเอง  การติดยึดในอัตตา  ซึ่งเป็นรากของความทุกข์ทั้งปวง  และเป็นรากของความแข็งกระด้าง

       การทำทองเลนนี้เรียบง่ายมาก  คือ เริ่มจากการนั่งสมาธิ  ให้และรับผ่านลมหายใจเป็นสื่อ  คือขณะที่หายใจเข้านั้นให้น้อมนึกว่าเรากำลังดึงความทุกข์ ความเจ็บป่วยออกจากบุคคลหนึ่งมาที่ตัวเรา  และเมื่อหายใจออกขอมอบความสุข ความสบาย ความรักเมตตาบริสุทธิ์ไปยังบุคคลนั้น

       ในบางครั้งเราอาจรู้สึกกลัวการที่จะหายใจเอาความทุกข์ที่เป็นพิษเข้ามาสู่ตัว  ซึ่งอาจทำให้เราเจ็บป่วยไม่สบาย โชคร้าย และยังต้องมอบความดีความสุขที่เราเองก็หวงแหนออกไปให้ผู้อื่น  แต่ในความจริงแล้วการทำเช่นนี้ยิ่งเป็นการเพาะบ่มคุณธรรม  เมตตาบารมี  เมื่อกระทำทองเลนจงทำด้วยใจที่ไม่คาดหวังผลใดๆต่อตนเอง  คือตั้งใจช่วยเขาอย่างดีที่สุดแล้วปล่อยวางผลของการกระทำนั้น  เราจึงไม่ได้ครอบครองอะไรไว้  

       ในสามัญสำนึกของบุคคลทั่วไป มักตั้งกำแพงป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามา และพยายามเก็บกักความดีไว้ในตัวเรา  ซึ่งการทำทองเลนนี้เป็นการกระทำที่ตรงข้ามกับสามัญสำนึกนั้น  การปฏิเสธสิ่งชัวร้ายและการยึดครองความดีนั้น  เป็นการป้องกันตนเองของอัตตา  การปฏิบัติทองเลนจึงเป็นวิธีการหนึ่งในการลดละอัตตานั่นเอง  เพราะในจักรวาลของสัจธรรมนั้น ตัวเราตัวเขาหาได้มีอยู่จริงไม่  การดำรงอยู่ชั่วขณะและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลานั้น คือกระแสการหมุนเวียนของเหตุปัจจัย  และพลังงานที่หนุนเนื่องอยู่  เมื่อเราสามารถสลายขอบเขตของตัวตน ด้วยการสละความยึดติดในตัวตน  สู่สำนึกของจักรวาลที่ไม่แบ่งแยก  เป็นการดำรงอยู่ของจิตสำนึกบริสุทธิ์ ปรากฎขึ้นอย่างแจ่มแจ้ง  เมื่อนั้นคือการสิ้นสุดของการปฏิบัติทองเลน  เพราะการดำรงอยู่ของผู้รู้แจ้งนั่นเองคือทองเลน
ขั้นตอนการปฏิบัติทองเลน ศูนย์อนัมคาราเพื่อปัญญาเมตตาและสันติสุข
      
       วิธีการปฏิบัติทองเลนที่จะกล่าวต่อไปนี้ ได้เรียนรู้มาจากท่านมหาคุรุ  ซึ่งเป็นลามะทิเบต 2 ท่าน  ได้มาปรากฎและถ่ายทอดวิชานี้ให้ในความฝันอย่างชัดเจนที่สุด  ร่วมกับประสบการณ์ฝึกฝนพัฒนาทางจิตวิญญาณในการบำบัดช่วยเหลือผู้มีความทุกข์  พบว่าเมื่อปฏิบัติทองเลนตามขั้นตอนนี้แล้ว  จะก่อให้เกิดผลดีทั้งต่อตัวผู้ปฏิบัติและต่อผู้รับการบำบัด  

   ในส่วนตัวผู้ปฏิบัติทองเลน ตามวิธีการนี้  จะได้พัฒนาโพธิจิต  พลังสมาธิ  การถอดจิตบำบัดระยะไกล  การเข้าถึงพลังงานจิตสำนึกอันเป็นหนึ่งเดียวกันของทั้งจักรวาล  การบรรลุพุทธภาวะคือพลังบริสุทธิ์แห่งองค์พระวัชรสัตว์  ส่วนผู้รับการบำบัดก็จะทุเลาและหายได้จากการเจ็บป่วยที่เนื่องจากพลังงานทางลบที่ติดค้างในกายและจิต  

จะแบ่งการปฏิบัติเป็นขั้นตอนดังนี้

 การปฏิบัติทองเลนให้กับตนเอง
 1.1  เริ่มด้วยการทำสมาธิเพาะบ่มความรักเมตตาในหัวใจ (สมาธิเปรมา)
 1.2  ตั้งจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตากรุณาต่อร่างกายส่วนที่เป็นทุกข์
 1.3 ทำทองเลนให้กับส่วนของร่างกายที่เจ็บป่วยนั้น ๆ  เช่น อาการปวดหลัง  ให้หายใจเข้า ดึงความเจ็บปวดจากหลังให้มาอยู่ที่หัวใจ (ให้หัวใจสลายความเจ็บปวดนั้น) แล้วส่งความรักเมตตาจากหัวใจไปที่หลังบริเวณปวด  ในเบื้องต้นอาจใช้การจินตภาพเป็นหมอกควันสีดำแทนความทุกขที่รับเข้ามา์ และแสงสว่างสีขาวสวยงามแทนพลังรักเมตตาที่ส่งออกไปก็ได้  เมื่อทำจนชำนาญแล้วเพียงกำหนดเป็นความตั้งใจก็ได้
 1.4  ทำทองเลนกับอารมณ์ที่เป็นทุกข์  ด้วยการมีสติรับรู้อารมณ์ที่เป็นทุกขทันทีที่เกิดอารมณ์นั้นขึ้น  เช่นความโกรธ  ความกลัวกังวล  ว่าอยู่ที่ส่วนใดของร่างกาย  ก็ให้ดูดซับพลังงานความโกรธนั้นมากลั่นด้วยความรักที่หัวใจแล้วส่งพลังความเมตตาให้กับความโกรธนั้น  จนกว่าความโกรธจะทุเลา  เป็นการเปลี่ยนแปลงพลังงานอารมณ์ทางลบให้เป็นบวก  

    2.  การปฏิบัติทองเลนให้กับผู้อื่น
 2.1  เริ่มด้วยการทำสมาธิเพาะบ่มความรักเมตตาในหัวใจ (สมาธิเปรมา)
 2.2  ตั้งจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตากรุณาต่อผู้นั้น
 2.3 กรณีความเจ็บป่วยทางร่างกายที่อวัยวะใดๆ   ให้หายใจเข้าดึงความเจ็บป่วยนั้นเข้ามา กลั่นด้วยความรักในหัวใจ  หายใจออกส่งพลังการเยียวยา เป็นความรักเมตตา หรือพลังบริสุทธิ์แห่งองค์พระวัชรสัตว์ออกไป
 2.4  กรณีความทุกข์ ความเครียดความไม่สบายทางใจ ใช้การหายใจเข้าออก ให้รับและส่งไปที่หัวใจของบุคคลนั้น  

    3.  การปฏิบัติทองเลนให้กับโลกและจักรวาล
 3.1  เริ่มด้วยการทำสมาธิเพาะบ่มความรักเมตตาในหัวใจ (สมาธิเปรมา)
 3.2  ตั้งจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตากรุณาต่อโลก จักรวาลและสรรพชีวิต
 3.3 ใช้การหายใจเข้ารับความทุกข์ของโลก จักรวาลและสรรพชีวิตมากลั่นที่หัวใจเรา  และ  หายใจออกส่งควมรักความสุข ความปรารถนาดี ออกไปสู่โลก จักรวาลและสรรพชีวิต

    4. การปฏิบัติทองเลนขั้นสูง
        ผู้ปฏิบัติต้องผ่านการอภิเษกมนตราก่อน ( Initiation) และได้รับการถ่ายทอดและฝึกวิธีการเฉพาะ  

     5. การดูแลตนเองหลังการบำบัด
         พลังงานความทุกข์ของบุคคลอื่นนั้นจะเข้ามาที่หัวใจ  และสลายตัวเปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานของโพธิจิตขั้นสูงและการรู้แจ้ง  แต่ยังมีพลังงานบางส่วนที่ตกค้างอยู่  ให้ผู้ปฏิบัติทำสมาธิจักระ ด้วยการเดินลมปราณผ่านจักระทั้ง 7 ของตนเองหลังการบำบัดทุกครั้ง เมื่อฝึกฝนจนชำนาญจะสามารถจับความรู้สึกของพลังงานลบที่ตกค้างในจักระได้  และจะสำรอกออกมาหรือใช้ความรักเมตตาในหัวใจเข้าไปกลั่นก็ได้  และหากไม่มีเวลาทำในช่วงกลางวันจะต้องทำก่อนนอนเสมอ  
 
        ห้องที่ทำการบำบัดจะมีพลังงานลบตกค้างอยู่เช่นกัน  ควรมีการสวดมนตราพระวัชรสัตว์  การเชิญระฆังที่มีเสียงกังวาน  การใช้วัชระ(Dorje) วาดไปรอบๆห้องเพื่อสลายพลังทางลบ  และบรรจุพลังบริสุทธิ์เข้ามาแทนที่

จาก http://www.anamcarathai.com/2012/07/tonglen.html#more