ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: เมษายน 05, 2014, 10:28:15 am »

พิภพมัจจุราช (พญายมราชเจ้า)

http://www.tairomdham.net/index.php/topic,709.0.html

.
ข้อความโดย: ดอกไม้ในที่ลับตา ~ ღ
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 12:48:00 pm »

อนุโมทนาสาธุค่ะ ....  :45:
อ่านแล้วรู้สึก อยากจะทำความดีขึ้นมาจังเลยค่ะ T-T
 :11:


 :07:อนุโมทนาสาธุ :19:..ด้วยค่ะ น้องอิ๋ม , คุณหนุ่ม ..  :13: ^^
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 11:05:09 am »

ในเว็บเดิม ก็ไม่มีครับ


.
ข้อความโดย: กระตุกหางแมว
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 12:16:55 am »

ผมไม่เห็นรูปแผนที่เลยครับ
(อยากเห็นเฉยๆไม่ได้อยากไป) :38:
ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 10:07:49 pm »

อนุโมทนาสาธุค่ะ ....  :45:
อ่านแล้วรู้สึก อยากจะทำความดีขึ้นมาจังเลยค่ะ T-T
 :11:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 09:38:09 pm »




 :13: อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ คุณหนุ่ม...

                                      :07:
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 06:49:49 pm »

พระธรรมเทศนา โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี
โชดก ญาณสิทธิเถร ป.ธ.๙

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิเถร ป.ธ.๙)

อดีตอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
สำนักงานกลางกองการวิปัสสนาธุระ (คณะ ๕ )

http://watpathumkongka.com/html/sound_chodok.html

-*----------------------------------------------------*-

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิเถร ป.ธ.๙)

อดีตอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

รวมพระธรรมเทศนา (เป็นลิงค์)

http://ecurriculum.mv.ac.th/ebhuddis...chodok.php.htm

-*----------------------------------------------------*-

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 


http://www.paktho.ac.th/learning/sch...dic/mcu6d.html

วิปัสสนากรรมฐาน
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นถือว่าเป็นการศึกษาและการฝึกอบรมจิตใจของคนและพระให้ดียิ่งขึ้น ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน ไว้อย่างชัดเจนในพระไตรปิฎก ซึ่งว่าด้วย "มหาสติปัฏฐานสูตร" โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พุทธบริษัท ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาได้ทำจิตใจให้บริสุทธิ์จากอุปกิเลส เครื่องเศร้าหมองทั้ง ๒ ประการ คือ :
๑. คันถธุระ การศึกษาเล่าเรียนตามตำรา
๒. วิปัสสนาธุระ การศึกษาด้วยการปฏิบัติ

ด้วยเหตุแห่งความสำคัญของการวิปัสสนาธุระ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจึงได้พัฒนาสถาบันวิปัสสนาธุระควบคู่กับความเป็นเลิศด้านวิชชาจรณะ และการปฏิบัติ เพื่อที่จะสามารถ นำความรู้ในพระไตรปิฎก และวิชาการชั้นสูงมาประยุกต์ใช้ เพื่อชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องในด้านจิตวิญญาณแก่สังคม อีกงยังเป็นผู้เผยแผ่หลักธรรม การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่มหาชน

ประวัติความเป็นมา
สถาบันวิปัสสนาธุระ เดิมเรียกว่าสำนักงานกลางกองวิปัสสนาธุระ อยู่ภายใต้การบริหาร งานของวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ สมัยที่ดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีว่าการปกครอง เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น และจุดประสงค์เพื่อการศึกษาด้านวิปัสสนาธุระของวัดมหาธาตุ

การดำเนินงานในเบื้องต้น ได้อาราธนาพระภาวนาภิรามเถร (สุข ปวโร) ผู้ทรงคุณวุฒิและมีความรู้ความสามารถในทางวิปัสสนาธุระแห่งวัดระฆังโฆสิตามราม กรุงเทพมหานคร มาเป็นอาจารย์ฝึกสอนวิปัสสนากรรมฐานที่พระอุโบสถวัดมหาธาตุ มีพุทธบริษัททั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ให้ความสนใจเข้ามาฝึกปฏิบัติมิได้ขาด และบรรพชิตที่เข้ารับการฝึกปฏิบัติรุ่นแรก ๒ รูป คือ พระมหาโชดก ญาณสิทธิ ป.ธ. ๙ (พระธรรมธีรราชมหามุนี) วัดมหาธาตุ และพระครูสังวรสมาธิวัตร วัดเพลงวิปัสสนา

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ พระพิมลธรรมได้ส่งพระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙ ไปศึกษา ดูงานวิปัสสนาธุระที่สำนักศาสยิสสา เมืองแรงกูน ประเทศพม่า ซึ่งเป็นสำนักวิปัสสนาที่มีชื่อเสียงของพม่าเป็นเวลา ๑ ปี เมื่อครบกำหนดแล้วจึงได้กลับคืนสู่ประเทศไทย พร้อมกันนี้พระมหาโชดก ยังได้นิมนต์พระวิปัสสนาจารย์ชาวพม่าผู้ชำนาญ(ตามคำขอของรัฐบาลไทยต่อรัฐบาลพม่า) จากประเทศพม่ามาด้วย ๒ รูป คือ พระอาจารย์อาสภเถร ประธานกัมมัฏฐานาจาริยะ และพระอาจารย์อินทวังสะ มาเพื่อช่วยฝึกสอนวิปัสสนาธุระในประเทศไทยด้วย ซึ่งการได้นิมนต์พระเถระทั้งสองมาก็เป็นไปตามดำริของพระพิมลธรรม

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ พระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ และพระครูประกาศสมาธิคุณ ได้เป็นกำลัง สำคัญในการฝึกสอนวิปัสสนกรรมฐานในวัดมหาธาตุ ซึ่งนับวันจะมีผู้สนในปฏิบัติกรรมฐานเพิ่มจำนวนมากขึ้นโดยลำดับ พระสังฆาธิการ ผู้บริหารคณะสงฆ์ก็ให้ความสนใจได้จัดส่งครูสอนพระปริยัติธรรมเข้ามาฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐานแล้วกลับไปเสนอพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ภายในเขตปกครองของตน จนปรากฏว่าสำนักวิปัสสนากรรมฐานได้เกิดขึ้นทั่วประเทศ แม้แต่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จมาสมาทานพระวิปัสสนากรรมฐาน ที่พระอารามแห่งนี้ และพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ) ก็ได้มาศึกษาวิปัสสนากรรมฐานแบบนี้และรับรองว่า สำนักนี้ปฏิบัติถูกต้องตามแนวทางสติปัฏฐาน ๔

วิปัสสนากรรมฐานในต่างประเทศ
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้ส่งคณะพระวิปัสสนาจารย์ นำโดยพระราชสิทธิมุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) และพระมหาวิจิตรติสฺสทตฺโต พธ.บ. แห่งวัดมหาธาตุ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศภาคพื้นยุโรป ได้ปฏิบัติศาสนกิจสอนวิปัสสนากรรมฐานและพักอยู่ที่พุทธวิหารแฮมพ์สเตท ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา ๓ เดือน ต่อมาได้แต่งตั้งจากคณะสงฆ์แห่ง ประเทศไทยเป็นหัวหน้าฝ่ายพระธรรมทูตสายต่างประเทศและได้ขยายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปถึงประเทศเยอรมัน ฮอนแลนด์ ฟิลแลนด์ สหรัฐอเมริกา และแคนนาดา โดลำดับ ได้มีผู้สนใจจำนวนมากเข้ามาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งมีพระสงฆ์ไทยเป็นผู้ทำหน้าที่ฝึกสมาธิ วิปัสสนากรรมฐานและสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้

การพัฒนาการสถาบันวิปัสสนาธุระ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงากรณราชวิทยาลัย ได้พิจารณาเห็นว่าการศึกษาในด้านวิปัสสนาธุระโดยเปิดสำนักงานกลางวิปัสสนาธุระที่วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร สมควรจะได้รับการฟื้นฟูขยายการบริหารงานในรูปแบบที่มีองค์กรหลักมารองรับ จึงได้ มีมติอนุมัติให้สำนักงานกลางวิปัสสนาธุระที่วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร เป็นสถาบันวิปัสสนากรรมฐานของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยมีพระพิมลธรรม (สมเด็จพระพุฒาจารย์ : อาจ อาสภมหาเถร) เป็นผู้ลงนาม

ปัจจุบัน สถาบันวิปัสสนาธุระยังให้การบริการในด้านวิปัสสนากรรมฐานเพื่อสืบทอด จรรโลงสืบต่อกันมาอย่างไม่ขาดสาย จึงเกิดเป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐานแบบ "ยุบหนอ พองหนอ" ทั้งนี้ ก็เพราะการมองการณ์ไกลของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) อดีต สภานายกมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

นอกจากนี้ การวิปัสสนาธุระสำหรับชาวต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดตั้งศูนย์วิปัสสนานานาชาติขึ้น (The International Buddhist Meditation Center (I.B.M.C.)) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยจัดให้มีการบรรยายธรรมเป็นภาษาอังกฤษ และสอนภาค ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอันเป็นแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมไทย เพื่อศึกษาและวิจัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และเพื่อให้ชาวต่างประเทศได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมเข้าใจหลักธรรมอย่างแท้จริง

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 06:48:52 pm »

จากหนังสือเรื่อง ตายแล้วอยากไปไหน พระมาลัยลงไปโปรดสัตว์นรก
หากว่าใครมีโอกาสได้ผ่านสำนักท่านยมราช (ไม่ได้แช่งนะครับ)เพื่อความไม่ประมาท

พระมาลัย. ถ้าเช่นนั้นก็เป็นการดีแล้วมหาบพิตร คำว่า "เทวทูต" นี้แปลว่าอย่างไร ขอให้อธิบายวิธีซักถามกะสัตว์นรกในเทวทูต ๕ ประการอันเป็นวินัยหรือกฎหมายของมหาบพิตร ต่อไปดูซิ อาตมาจะคอยฟัง

ยมราช. คำว่า "เทวทูต" แปลว่าผู้ที่เทวดาส่งมา โดยวิเคราะห์ว่า เทเวน เปสิยเตติ เทวทูโต เทวทูต ได้แก่ คนใช้ของเทวดานั่นเอง ส่งมาเพื่อให้มนุษย์ พิจารณาแล้วไม่ประมาท รีบพากเพียรพยายามทำความดีต่อไป โยมได้ซักถามเขาเป็นข้อๆ ไป ดังนี้

เทวทูต ข้อที่ ๑ โยมได้ซักถามเขาว่า เธอได้เห็นเด็กอ่อนที่นอนเกลือกมูตรคูถอยู่บนผ้าอ้อมนั้นหรือไม่? เมื่อเขาตอบว่า ได้เห็น โยมจึงถามเขาต่อไปอีกว่า เธอได้พิจารณาหรือไม่ว่า เรามีความเกิดเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเกิดไปได้ เราจะต้องรีบทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ ? เมื่อเขาบอกว่า ไม่ได้พิจารณา โยมจึงบอกว่า เธอประมาทเสียแล้ว ที่ไม่ทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ ทำแต่ความชั่ว ความชั่วของเธอนั้น มิใช่บิดามารดาทำให้ มิใช่พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิงทำให้ มิใช่มิตรอำมาตย์ ญาติสายโลหิตทำให้ มิใช่สมณพรามณ์และเทวดาทำให้ เธอทำเอง เธอจักได้รับผลความชั่วของตัวเองดังนี้

เทวทูต ข้อที่ ๒ โยมได้ซักถามเขาว่า เมื่อเธออยู่ในมนุสสโลกได้เห็นเทวทูตที่ ๒ ไหม? เมื่อเขาตอบว่า ไม่ได้เห็น จึงถามเขาต่อว่า เธอไม่ได้เห็นคนแก่บ้างหรือ? เมื่อเขาตอบว่าได้เห็น เมื่อได้เห็นแล้ว เธอได้พิจารณาหรือไม่ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เราจะต้องรีบทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ ? เมื่อเขาบอกว่า ไม่ได้คิด ไม่ได้พิจารณาเลย จึงตรัสว่า เธอประมาทเสียแล้ว ที่ไม่ทำความดีไว้ด้วยกาย วาจา ใจ ทำแต่ความชั่ว ความชั่วของเธอนั้น มิใช่บิดามารดาทำให้ มิใช่พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิงทำให้ มิใช่มิตรอำมาตย์ ญาติสายโลหิตทำให้ มิใช่สมณพรามณ์และเทวดาทำให้ เธอทำเอง เธอจักได้รับผลความชั่วของตัวเองดังนี้

เทวทูต ข้อที่ ๓ ครั้นโยมซักถามยมทูตข้อที่ ๒ จบลงแล้ว โยมจึงได้ซักถามเทวทูตข้อที่ ๓ ต่อไปว่า เธอได้เห็นคนเจ็บบ้างไหม ? เมื่อเขาตอบว่าได้เห็น จึงถามเขาว่า เมื่อเธอได้เห็นแล้ว เธอคิดไหมว่า เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้ เราจะต้องรีบทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ ? เมื่อเขาบอกว่า ไม่ได้คิด โยมจึงบอกว่า เธอประมาทเสียแล้ว ที่ไม่ทำความดีไว้ด้วยกาย วาจา ใจ ทำแต่ความชั่ว ความชั่วของเธอนั้น มิใช่บิดามารดาทำให้ มิใช่พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิงทำให้ มิใช่มิตรอำมาตย์ ญาติสายโลหิตทำให้ มิใช่สมณพรามณ์และเทวดาทำให้ เธอทำเอง เธอจักได้รับผลความชั่วของตัวเองดังนี้

เทวทูต ข้อที่ ๔ ครั้นโยมซักถามยมทูตข้อที่ ๓ จบลงแล้ว โยมจึงได้ซักถามเทวทูตข้อที่ ๔ ต่อไปว่า เมื่อเธออยู่ในมนุสสโลก เธอได้เห็นนักโทษที่ถูกจองจำ เฆี่ยนตี บีฑ์โบยและตัดศีรษะบ้างไหม? เมื่อเขาตอบว่าได้เห็น โยมจึงถามเขาว่า เมื่อเธอได้เห็นแล้ว เธอคิดไหมว่าพวกนี้ได้ทำความชั่วไว้จึงได้รับโทษต่างๆ ในชาตินี้เห็นปานนี้ไม่ต้องพูดถึงชาติหน้า เราจะต้องรีบทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ ? เมื่อเขาบอกว่า ไม่ได้คิด โยมจึงบอกว่า เธอประมาทเสียแล้ว ที่ไม่ทำความดีไว้ด้วยกาย วาจา ใจ ทำแต่ความชั่ว ความชั่วของเธอนั้น มิใช่บิดามารดาทำให้ มิใช่พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิงทำให้ มิใช่มิตรอำมาตย์ ญาติสายโลหิตทำให้ มิใช่สมณพรามณ์และเทวดาทำให้ เธอทำเอง เธอจักได้รับผลความชั่วของตัวเองดังนี้

เทวทูต ข้อที่ ๕ ครั้นโยมซักถามยมทูตข้อที่ ๔ จบลงแล้ว โยมจึงได้ซักถามเทวทูตข้อที่ ๕ ต่อไปว่า เมื่อเธออยู่ในมนุสสโลก เธอได้เห็นเทวทูตข้อที่ ๕ ไหม? เมื่อเขาตอบว่าไม่ได้เห็น โยมจึงถามเขาว่า เธอไม่เห็นคนตายบ้างหรือ? เมื่อเขาตอบว่าได้เห็น โยมจึงถามเขาว่า เมื่อเธอได้เห็นแล้ว เธอได้คิดไหมว่า เราก็มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เราจะต้องรีบทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ ? เมื่อเขาบอกว่า ไม่ได้คิด โยมจึงบอกว่า เธอประมาทเสียแล้ว ที่ไม่ทำความดีไว้ด้วยกาย วาจา ใจ ทำแต่ความชั่ว ความชั่วของเธอนั้น มิใช่บิดามารดาทำให้ มิใช่พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิงทำให้ มิใช่มิตรอำมาตย์ ญาติสายโลหิตทำให้ มิใช่สมณพรามณ์และเทวดาทำให้ เธอทำเอง เธอจักได้รับผลความชั่วของตัวเองดังนี้

ครั้นพญายายมราชทรงซักถามเทวทูต ทั้ง ๕ ข้อ จบลงแล้ว พวกนายนิรยบาลจึงกรูกันเข้าไปจับผู้นั้น นำตัวไปลงโทษ ดังที่ได้แสดงมาแล้วนั้น
ถ้าตอบได้สักข้อใดข้อหนึ่ง โยมก็ปล่อยไปสวรรค์ ถ้าสัตว์เหล่านั้นทำกรรมอันลามก หมิ่นประมาทคำสอนของนักปราชญ์ก็ระลึกไม่ได้ เมื่อระลึกไม่ได้นายนิรยบาลก็จับสัตว์นั้น นำตัวไปลงโทษตามยถากรรม โยมนี้มีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ เหมือนมารดาบิดามีเมตตากรุณาต่อบุตรธิดาฉะนั้น
เมื่อพระคุณเจ้าไปยังมนุสสโลกแล้ว ขอนิมนต์พระคุณเจ้าช่วยเทศนาสั่งสอนเหล่ามนุษย์ ให้หมั่นพิจารณาเทวทูตทั้ง ๕ นี้เป็นเนื่องนิตย์ด้สย เพื่อจะได้เกิดสังเวชสลดใจ คิดหาอุบายทำตนให้พ้นจากกิเลสและกองทุกข์ ถึงความสุขสำราญเบิกบานใจ ตามนัยที่โยมได้แสดงมานี้เถิด พระคุณเจ้าผู้เจริญ

http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=33026
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 06:47:35 pm »

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)

19975.พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)



ประวัติและปฏิปทา
พระธรรมธีรราชมหามุนี
(โชดก ญาณสิทฺธิ)

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม.


๏ ชาติภูมิ

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙) มีนามเดิมว่า “หนูค้าย นามโสม” ภายหลังท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารีมหาเถระ) แห่งวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ได้เปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า “โชดก” เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๑ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมีย ณ บ้านหนองหลุบ ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

โยมบิดาชื่อ “นายเหล้า นามโสม” โยมมารดาชื่อ “นางน้อย นามโสม” มีพี่น้องร่วมตระกูลทั้งหมดรวม ๑๐ คน เป็นพี่สาว ๘ คน และน้องชาย ๑ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๙ คุณปู่ของท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นขุน ชื่อขุนวงษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านติดต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย มีฐานะความเป็นอยู่ดี ส่วนโยมบิดาของท่านเป็นชาวนา แต่มีความรู้พิเศษเป็นหมอชาวบ้าน-ช่างไม้-ช่างเหล็ก ประจำหมู่บ้าน


๏ การศึกษาเบื้องต้น

พ.ศ. ๒๔๗๒ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนบ้านหนองหลุบ ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี


๏ การบรรพชาและอุปสมบท

วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ เมื่ออายุ ๑๕ ปี ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์กลาง ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยมีพระครูเลิ่ง เจ้าอาวาสวัดโพธิ์กลาง เป็นพระอุปัชฌาย์ และย้ายไปเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดกลาง ในตัวเมืองขอนแก่น สอบนักธรรมตรีได้จากวัดนี้ และย้ายไปอยู่วัดยอดแก้ว ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อเรียนนักธรรมชั้นโทและบาลีมูลกัจจายน์ และสอบนักธรรมชั้นโทได้

พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้ย้ายเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ โดยครั้งแรกได้อยู่ที่วัดเทพธิดาราม แขวงสำราญราษฏร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ สอบ ป.ธ. ๓, ป.ธ. ๔ และนักธรรมชั้นเอกได้ในสำนักนี้


สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารีมหาเถระ)


พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้ย้ายมาอยู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ โดยขุนวจีสุนทรรักษ์เป็นผู้นำมาฝาก ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารีมหาเถระ) ขณะดำรงสมณศักดิ์ในราชทินนามที่ “พระพิมลธรรม” ได้เมตตารับไว้ให้พำนักอยู่คณะ ๑ วัดมหาธาตุฯ


๏ วุฒิการศึกษา

พ.ศ. ๒๔๗๗ สอบได้นักธรรมชั้นตรี ณ สำนักเรียนวัดโพธิ์กลาง ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

พ.ศ. ๒๔๗๘ สอบได้นักธรรมชั้นโท ณ สำนักเรียนวัดกลาง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑ สอบได้นักธรรมชั้นเอก, ป.ธ. ๓-ป.ธ. ๔ ณ สำนักเรียนวัดเทพธิดาราม แขวงสำราญราษฏร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ

พ.ศ. ๒๔๘๒-๒๔๙๔ สอบได้ ป.ธ. ๕-ป.ธ. ๙ ณ สำนักเรียนวัดมหาธาตุฯ ในสมัยสอบ ป.ธ. ๙ ได้เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๙๔ นับเป็นผู้สอบได้เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๙๒ ไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ จังหวัดขอนแก่น โดยครั้งแรกเปิดสอนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรม-บาลี ที่วัดสว่างวิทยา อำเภอเมือง ประมาณ ๑ ปี แล้วย้ายมาอยู่วัดศรีนวล ในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่น ปรากฏว่าได้ส่งเสริมการศึกษาในสำนักพระปริยัติธรรมแห่งนี้ให้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีพระภิกษุสามเณรสอบนักธรรมและบาลีได้มากทุกปี ต่อมาท่านได้ลาออกจากตำแหน่งสาธารณูปการจังหวัด เพื่อกลับมาอยู่วัดมหาธาตุฯ สำนักเดิม




พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)



สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ)


๏ การปฏิบัติศาสนกิจ

พ.ศ. ๒๔๙๓ ย้ายกลับเข้ามาอยู่วัดมหาธาตุฯ ในสมัยท่านเจ้าคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ในราชทินนามที่ “พระพิมลธรรม” เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้อยู่ที่คณะ ๕ และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะ ๕ วัดมหาธาตุฯ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ และประจำอยู่ที่คณะ ๕ ตลอดมาจนมรณภาพ


๏ งานด้านวิปัสสนาธุระ

พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่ ณ พระมณฑปพระบรมธาตุ วัดมหาธาตุฯ ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ถึง ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ รวมเวลา ๗ เดือน ๑๙ วัน โดยพระภาวนาภิรามเถระ (สุข) วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นอาจารย์สอน

พ.ศ. ๒๔๙๕ ไปดูงานการพระศาสนาที่ประเทศพม่า และได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ สำนักศาสนายิสสา เมืองแรงกูน ประเทศพม่า เมื่อสำเร็จการศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ได้เดินทางกลับประเทศไทย พร้อมกับพระอาจารย์ด้านวิปัสสนากรรมฐาน ๒ รูป ที่รัฐบาลไทยขอจากรัฐบาลพม่า เพื่อมาสอนวิปัสสนากรรมฐาน ประจำอยู่ในประเทศไทย พระวิปัสสนาจารย์ ๒ รูปนั้น คือ ท่านอาสภเถระ ปธานกัมมัฏฐานาจริยะ และท่านอินทวังสะ ธัมมาจริยะ กัมมัฏฐานาจริยะ

เมื่อท่านกลับมาประเทศไทยแล้ว ท่านได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่ออีก ๔ เดือน ในสมัยนั้น ท่านเจ้าคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ในราชทินนามที่ “พระพิมลธรรม” ได้ประกาศตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานแห่งประเทศไทย ขึ้นที่วัดมหาธาตุฯ และได้แต่งตั้งท่านครั้งเป็นพระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙ ให้เป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ เป็นรูปแรก ท่านจึงได้รับภาระหนักมาก เพราะเป็นกำลังสำคัญของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในการวางแผนขยายสำนักสาขาไปตั้งในที่ต่างๆ ทั่วประเทศ จัดทำหลักสูตรวิปัสสนากรรมฐาน คัดเลือกพระวิปัสสนาจารย์ไปสอนประจำอยู่ตามสำนักสาขาที่ตั้งขึ้น และจัดไว้สอนประจำที่วัดมหาธาตุฯ พระวิปัสสนาจารย์ทั่วประเทศส่วนมากเป็นศิษย์ของท่าน

อนึ่ง ในครั้งนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้จัดตั้งกองการวิปัสสนาธุระขึ้นเป็นศูนย์วิปัสสนากรรมฐานที่คณะ ๕ วัดมหาธาตุฯ และได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้อำนวยการกองการวิปัสสนาธุระ ในความอำนวยการของท่านมีกิจการเจริญก้าวหน้ามาก มีผลงานปรากฏดังนี้

๑. จัดพิมพ์วิปัสสนาสาร ซึ่งเป็นวารสารราย ๒ เดือน (ออกปีละ ๖ เล่ม) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๘ และได้ออกติดต่อตลอดมาถึงบัดนี้ มีสมาชิกให้การอุดหนุนวารสารนี้มีมากพอสมควร

๒. จัดการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานขึ้นที่คณะ ๕ โดยจัดสร้างห้องปฏิบัติขึ้นรับผู้ประสงค์จะเข้าปฏิบัติ หรือผู้มีปัญหาชีวิตเข้าปฏิบัติได้ทุกเวลา ทั้งประเภทอยู่ประจำและไม่ประจำ (คือมารับพระกรรมฐานจากอาจารย์ไปปฏิบัติที่บ้านแล้วมารับสอบอารมณ์ หรือมาปฏิบัติในเวลาว่าง แล้วกลับไปพักที่บ้าน)

๓. อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ และคณะศิษย์ของท่านได้ไปสอนวิปัสสนากรรมฐาน ในพระอุโบสถวัดมหาธาตุฯ ตึกมหาธาตุวิทยาลัย ตึกธรรมวิจัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทุกวันพระ และวันอาทิตย์

๔. ให้ความอุปถัมภ์สำนักวิปัสสนากรรมฐานอื่นที่เป็นสาขาอีกหลายสำนัก เช่น สำนักวิเวกอาคม อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักวิปัสสนาภูระงำ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น และสำนักบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นต้น






เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙)
ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระอุดมวิชาญาณเถร ได้เป็นพระอาจารย์ถวายวิปัสสนากรรมฐาน
แด่สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (ปัจจุบันคือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)
ซึ่งได้เสด็จมาสมาทานพระกรรมฐาน ณ วัดมหาธาตุฯ เป็นเวลาถึง ๑ เดือน


พระธรรมธีรราชมหามุนี ได้อุทิศชีวิตอบรมและเผยแพร่วิปัสสนากรรมฐานติดต่อมาเป็นเวลายาวนานประมาณ ๔๐ ปี จึงมีศิษยานุศิษย์และมีผู้เคารพศรัทธาเลื่อมใสมาก ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และบุคคลผู้มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น มีทุกระดับชั้น ทุกฐานะอาชีพ เช่น ในช่วง พ.ศ. ๒๔๙๘ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระอุดมวิชาญาณเถร ได้เป็นพระอาจารย์ถวายวิปัสสนากรรมฐานแด่สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (ปัจจุบันคือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ซึ่งได้เสด็จมาสมาทานพระกรรมฐาน เมื่อวันอังคารที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘ เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ พระมณฑปพระบรมธาตุ วัดมหาธาตุฯ

ในโอกาสนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระพิมลธรรม” ได้ถวายศีล แล้วพระอุดมวิชาญาณเถรเป็นผู้ถวายพระกรรมฐาน และถวายสอบอารมณ์พระกรรมฐานด้วย เป็นประจำทุกวัน ณ พระมณฑปพระบรมธาตุ เวลา ๑๙.๐๐ น. รวมเวลาที่ทรงปฏิบัติพระกรรมฐาน เป็นเวลา ๑ เดือน และทรงได้รับผลจากการปฏิบัติวิปัสสนาเป็นอย่างดี

นอกจากนั้น ได้เป็นอาจารย์ถวายวิปัสสนากรรมฐานแด่ท่านเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร) วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพระอาจารย์มีเกียรติคุณในด้านสมถกรรมฐาน (วิชาธรรมกาย) ที่มีชื่อเสียงมากในประเทศไทย โดยท่านไปถวายวิปัสสนากรรมฐานแด่หลวงพ่อสด จนฺทสโร ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ตลอดเวลา ๑ เดือนครบหลักสูตร และต่อมาหลวงพ่อวัดปากน้ำได้มาฟังเทศน์ลำดับญาณ ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุฯ โดยพระอุดมวิชาญาณเถร ได้ถวายเทศน์ลำดับญาณ


พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร)


ปรากฏว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำได้ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นอย่างดี เพราะท่านได้นำสมถกรรมฐานมาต่อวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาไตรลักษณ์ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ หลวงพ่อได้มอบภาพของท่านไว้เป็นที่ระลึกแก่สำนักวิปัสสนาวัดมหาธาตุฯ และได้เขียน บันทึกใต้ภาพยกย่องว่า “สำนักวิปัสสนาวัดมหาธาตุฯ เป็นสำนักที่สอนวิปัสสนาถูกต้องร่องรอยในมหาสติปัฏฐานทุกประการ”


๏ หน้าที่การงานเกี่ยวกับการศึกษา

พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๕๓๐

- เป็นครูสอนปริยัติธรรมทั้งนักธรรม-บาลี ในมหาธาตุวิทยาลัย ได้เป็นครูสอนบาลีไวยากรณ์ชั้นมูล ๓ ได้นิตยภัตตั้งแต่เดือนละ ๖ บาท ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ จนกระทั่งสอน ป.ธ. ๗-๘-๙

- เป็นกรรมการตรวจประโยคนักธรรม-บาลี สนามหลวง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๗ ตลอดมาจนมรณภาพ

- เป็นผู้อำนายการแผนกบาลี สำนักเรียนวัดมหาธาตุฯ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นต้นมา


๏ หน้าที่เกี่ยวด้วยพระไตรปิฎก

พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ในแผนกตรวจสำนวน

พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจทานพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง

พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการปาลิวิโสธกะ พระอภิธรรมปิฎก ฉบับสังคายนา พ.ศ. ๒๕๓๐

พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานบรรณกรในการพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับสังคายนา พ.ศ. ๒๕๓๐


๏ หน้าที่เกี่ยวกับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๕๓๐

- ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการชำระหนังสือธัมมปทัฏฐกถา ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

- เป็นอาจารย์บรรยายวิชาพระพุทธศาสนาในชั้นอุดมศึกษา

- เป็นกรรมการบริหารกิจการ

- เป็นกรรมการพิจารณาหลักสูตรบาลีสำหรับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

- เป็นรองประธานกรรมการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

- เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย


๏ หน้าที่เกี่ยวกับการบริหารคณะสงฆ์

พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๕๓๐

- ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการกรรมการสงฆ์จังหวัดขอนแก่น

- กรรมการสาธารณูปการจังหวัดขอนแก่น

- เจ้าคณะภาค ๑๐

- เจ้าคณะภาค ๙

- พระอุปัชฌาย์ประจำวัดมหาธาตุฯ

- รองเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ

- รองประธานกรรมการสงฆ์บริหารวัดมหาธาตุฯ รูปที่ ๑


๏ หน้าที่งานพิเศษ

- ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๓

- เป็นหัวหน้าผู้อำนวยการ งานพระธรรมทูตสายที่ ๖

- เป็นอนุกรรมการมหาเถรสมาคม เพื่อร่วมพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหาวัดที่ว่างเจ้าอาวาสเพื่อหาข้อมูล



๏ งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา

- เป็นพระธรรมกถึกทั้งเทศน์คู่และเทศน์เดี่ยว

- เป็นองค์ปาฐกแสดงปาฐกถาธรรม

- องค์บรรยายธรรม

- บรรยายธรรมทางวิทยุเป็นประจำหลายสถานี

- บรรยายธรรมทางสถานีโทรทัศน์

นับว่าท่านเป็นพระสงฆ์มีความเชี่ยวชาญในการบรรยายธรรม ได้รับความนิยมมากจากผู้ฟังทั้งหน่วยราชการและภาคเอกชน ประชาชน เป็นอย่างดี


๏ งานสาธารณูปการและสาธารณสงเคราะห์

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙) มีผลงานด้านสาธารณูปการและสาธารณสงเคราะห์ ปรากฏอย่างกว้างขวางทั้งภายในวัดมหาธาตุฯ และภายนอก ดังมีหลังฐานปรากฏตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๕๓๐ ดังนี้

๑) งานสาธารณูปการภายในวัดมหาธาตุฯ

- จัดหาทุนสร้างห้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนในวัดมหาธาตุฯ

- จัดหาเงินสมทบทุนมูลนิธิวิปัสสนากรมฐาน

- สร้างตึกอุดมวิชาในคณะ ๕ วัดมหาธาตุฯ

- เป็นประธานกรรมการหาทุนก่อสร้างตึกมหาธาตุวิทยาลัยอาคารทรงไทย ๔ ชั้น

- เป็นประธานกรรมการหาทุนบูรณะโรงเรียนธรรมมหาธาตุวิทยาลัย และสร้างโรงครัวครูปริยัติธรรม

- เป็นประธานกรรมการจัดหาทุน และก่อตั้งมูลนิธิศรีสรรเพชญ์

- ร่วมสมทบบูรณะคณะ ๘ วัดมหาธาตุฯ

- บริจาคร่วมสร้างพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

- เป็นประธานกรรมการจัดหาทุนสร้างพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

- เป็นกรรมการอุปถัมภ์จัดหาทุนสร้างโรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

รวมงานสาธารณูปการภายในวัดมหาธาตุที่ได้ดำเนินการมา เป็นเงินประมาณ ๑๔,๓๒๕,๐๐๐ บาท (สิบสี่ล้านสามแสนสองหมื่นห้าพันบาท)

๒) งานสาธารณูปการภายนอกวัด

- งานก่อสร้างปฏิสังขรณ์วัดสว่างพิทยา บ้านหนองหลุบ ซึ่งเป็นถิ่นบ้านเกิด

- จัดหาทุนสร้างโรงเรียนปริยัติธรรมวัดธาตุ จังหวัดขอนแก่น ๒ หลัง

- จัดหาทุนสร้างอุโบสถวัดโพธิ์ชัย จังหวัดขอนแก่น

- จัดหาทุนสร้างโรงเรียนประชาบาลบ้านหนองหลุบ ๒

- เป็นประธานจัดหาทุนสร้างวัดพุทธประทีปในระยะเริ่มแรก

- อุปถัมภ์สร้างอาคารเรียน ในโรงเรียนประชาบาลบ้านหนองบัว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

- เป็นประธานจัดหาทุนสร้างตึกสงฆ์อาพาธสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาสภมหาเถร) ในโรงพยาบาลขอนแก่น

- บริจาคสร้างตึงสยามินทร์ โรงพยาบาลศิริราช

- อุปถัมภ์สำนักวิปัสสนากรรมฐาน ภูระงำ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

- หาทุนสร้างสำนักวิเวกอาคม ตำบลบางขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

รวมงานสาธารณูปการภายนอกวัด เป็นเงินประมาณ ๑๓,๔๕๖,๐๐๐ บาท (สิบสามล้านสี่แสนห้าหมื่นหกพันบาท) รวมเงินที่จัดหาในงานสาธารณูปการ ทั้งภายในวัดมหาธาตุฯ และภายนอกวัด เป็นเงิน ประมาณ ๒๗,๐๘๑,๐๐๐ บาท (ยี่สิบเจ็ดล้านแปดหมื่นหนึ่งพันบาท)


๏ งานต่างประเทศ

พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๕๒๘

- ไปดูงานการพระศาสนาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ ประเทศพม่า

- ไปสอนวิปัสสนากรรมฐาน ณ ประเทศอังกฤษ ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์สมาคมแห่งประเทศอังกฤษ

- เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตประจำประเทศอังกฤษ

- ริเริ่มสร้างวัดไทยในประเทศอังกฤษ ปัจจุบันได้สร้างเป็นวัดไทยโดยสมบูรณ์ ชื่อว่า “วัดพุทธประทีป” โดยท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธประทีปรูปแรก

- เป็นกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตที่จะไปต่างประเทศ

- ไปสอนวิปัสสนากรมฐานที่วัดไทย ในประเทศสหรัฐอเมริกา

- รับชาวต่างชาติปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่วัดมหาธาตุฯ และให้ได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดมหาธาตุฯ
แด่พระเดชพระคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)
ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระเทพสิทธิมุนี เมื่อวันที่ ๓ พ.ย. ๒๕๒๘ เวลา ๑๖.๐๐ น.


๏ งานนิพนธ์

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙) เป็นพระมหาเถระที่เชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎก และมีความทรงจำเป็นเลิศ สามารถบอกเรื่องราวต่างๆ ว่าอยู่ในเล่มใด และบางครั้งบอกหน้าหนังสือเล่มนั้นด้วย และท่านยังเป็นนักประพันธ์ที่นิพนธ์เรื่องทางศาสนาได้รวดเร็ว และได้นิพนธ์ไว้มากมายหลายเรื่อง เฉพาะที่หาข้อมูลได้ แยกบทนิพนธ์ของท่านเป็นประเภท ดังนี้

๑) ประเภทวิปัสสนากรรมฐาน มีหนังสือประมาณ ๒๑ เรื่อง เช่น เรื่องความเป็นมาของวิปัสสนากรรมฐาน, คำบรรยายวิปัสสนากรรมฐาน จำนวน ๙ เล่ม ฯลฯ

๒) ประเภทพระธรรมเทศนา มีหนังสือประมาณ ๔ เรื่อง เช่น เรื่องเทศน์คู่อริยสัจ ฯลฯ

๓) ประเภทวิชาการ มีหนังสือประมาณ ๘ เรื่อง เช่น อภิธัมมัตถสัคหะปริเฉทที่ ๑-๙ ฯลฯ

๔) ประเภทสารคดี มีหนังสือประมาณ ๒๐ เรื่อง เช่น เรื่องพระมาลัยโปรดสัตว์นรก ฯลฯ

๕) ประเภทตอบปัญหาทั่วไป มีหนังสือประมาณ ๕ เรื่อง เช่น ตอบปัญหา เรื่องบุญบาปและนรกสวรรค์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีคำขวัญ คำอนุโมทนา คติธรรม เพื่อลงตีพิมพ์ในหนังสืออนุสรณ์ต่างๆ ที่มีผู้ขอมา


๏ สมณศักดิ์

วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ (อายุ ๓๖ พรรษา ๑๕) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (สป.วิ) ในพระราชทินนามที่ “พระอุดมวิชาญาณเถร”

วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ (อายุ ๔๔ พรรษา ๒๓) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในพระราชทินนามที่ “พระราชสิทธิมุนี ศรีปิฎกโกศล วิมลปัสสนาจารย์ อุดมวิชาญาณวิจิตร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”

วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ (อายุ ๕๒ พรรษา ๓๑) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในพระราชทินนามที่ “พระเทพสิทธิมุนี สมถวิธีธรรมาจารย์ วิปัสสนาญาณโสภณ ยติคณิศสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”

วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ (อายุ ๖๙ พรรษา ๔๘) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในพระราชทินนามที่ “พระธรรมธีรราชมหามุนี คัมภีรญาณวิมล โสภณธรรมานุสิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”


๏ อวสานชีวิต

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙) ได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยอาการอันสงบ ในอิริยาบถนั่งเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ขณะไปทำการสอนวิปัสสนากรรมฐานที่บ้านโยมอุปัฏฐาก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๑ เวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา รวมสิริอายุได้ ๗๐ ปี ๒ เดือน ๑๕ วัน นำความเศร้าโศกแสนเสียดายอาลัยมาสู่คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นอย่างยิ่ง ขออำนาจบุญกุศลทั้งปวงได้โปรดดลบันดาลให้พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙) ประสบสันติสุขในสัมปรายภพทุกประการ ดังสุนทรโวหารที่ท่านได้นิพนธ์ในสุดท้ายแห่งชีวิต ดังนี้

“เตรียมสร้างทางชอบไว้ หวังกุศล
ตัวสุขส่งเสริมผล เพิ่มให้
ก่อนแต่มฤตยูดล เผด็จชีพ เทียวนา
ตายพรากจากโลกได้ สถิตด้าว แดนเกษม”


พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)



.............................................................

คัดลอกมาจาก :: http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13026&start=0&postdays=0&postorder=asc&highlight=&sid=9f6f59aeccf0bdb042c48d2b9eec6924

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 06:45:51 pm »

สรุปทิ้งท้าย

บรรดาขุมนรกทั้งหลายที่กล่าวมาแล้วนั้น ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายก็คงจะเห็นได้แล้วว่ามีอยู่มากมานหลายขุม
เมื่อมีมากมายหลายขุมอยู่ ก็เป็นการยากลำบากแก่การที่จักจำได้ง่าย ๆ ฉะนั้น ในที่นี้เพื่อความเข้าสะดวกแก่การจดจำ
จึงจักขอเวลานำเอาจำนวนนรกทั้งหมดมากล่าว ซ้ำไว้อีกสักครั้งหนึ่ง ดังนี้

๑. มหานรก ๘ ขุม

๒. อุสสุทนรก ๑๒๘ ขุม

๓ ยมโลกนรก ๓๒๐ ขุม

๔. โลกันตนรก ๑ ขุม

รวมเป็นนรกทั้งสิ้น ๔๕๗ ขุม เหล่าสัตว์ที่ไปอุบัติเกิดเป็นสัตว์นรก ในขุมนรกเหล่านี้ทั้งหมด
ย่อมมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างแสนจะเป็นทุกข์ทรมาน โดยได้รับการลงโทษอย่างสาหัสสากรรจ์อยู่ตลอดเวลา
แต่การที่ว่าจักเป็นเวลานานเท่าไรจึงจะพ้นจากทุกขโทษในนรกเหล่านี้นั้น เป็นการไม่แน่นอน
ทั้งนี้ก็เพราะว่าขึ้นอยู่กับบาปกรรมที่เหล่าสัตว์นรกเจ้ากรรมเหล่านั้นได้ทำไว้เป็นประมาณหมายความว่า
ถ้าทำบาปกรรมไว้มาก ก็ต้องตกนรกอยู่นานและตกอยู่หลายขุม เช่น พอไปตกมหานรกและได้รับทุกขโทษอย่างหนักแล้ว
หากบาปกรรมยังไม่สิ้นก็ต้องไปตกอุสสุทนรก เสวยทุกขโทษอยู่ในอุสสุทนรกนั้นพอสมควรแก่กาลแล้ว
หากกรรมยังไม่สิ้น ก็ต้องไปตกยมโลกนรกและเสวยกรรมต่อไปอีก เสวยทุกขโทษเรื่อยไปเช่นนี้
จนกว่าจะสิ้นบาปกรรมบางทีตกนรกที่เป็นบริวารก่อนแล้วจึงไปตกนรกขุมใหญ่ก็มี บางทีตกนรกขุมใหญ่ก่อนแล้ว
จึงไปตกนรกขุมที่เป็นบริวารก็มี ทั้งนี้สุดแต่ว่ากรรมใดจะมีกำลังให้ผลก่อน และบางทีหากทำบาปไว้มากมายหลายประการ
ต้องตกนรกดะเรื่อยไปผ่านมหานรกทั้ง ๘ ขุม และนรกที่เป็นบริวารมากมายหลายขุมก็มี

แต่บางทีหากทำบาปไว้น้อย เพียงมาตกนรกได้ไม่นาน กุศลกรรมที่ตนเคยทำไว้บันดาลให้ระลึกถึงบุญกุศลขึ้นมาได้
ก็จะตายจากความเป็นสัตว์นรกไปเกิดในภูมิอื่นต่อไปตามยถากรรม
จะอย่างไรก็ตามขอให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายได้รับทราบหลักไหญ่ไว้ในที่นี้ง่าย ๆ ว่า
การที่สัตว์ทั้งหลายจักต้องมาตกนรกหมกไหม้อยู่ในขุมนรกทั้งหลายเหล่านี้
ก็เพราะเหตุที่ตนเป็นคนล่วงอกุศลกรรมบถ ประกอบอกุศลกรรมบถไว้มิอย่างใดอย่างหนึ่ง
เมื่อถึงคราวดับขันธ์สิ้นชีวิตแล้ว จึงถูกอกุศลกรรมชักนำให้มาเกิดเป็นสัตว์นรกและเสวยวิบากเป็นทุกข์อยู่ในนรกนี้

ดังนั้นจะขอยกเรื่องของท่านสุปติฏฐเทพบุตรตอนที่เป็นเทวดานี่พระพุทธเจ้าไปเทศน์พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
เวลานั้นปรากฏว่าท่านจะต้องจุติพอดี มีอากาสจารีเทพบุตรเข้าไปเตือน
ท่านมองดูตัวของท่านว่าท่านตายจากเทวดาแล้วท่านจะไปไหน ความจริงเทวดาก็รู้สถานที่ไป
เพราะมีอารมณ์เป็นทิพย์ ก็ทราบชัดว่าเมื่อจุติจากเทวดาแล้วต้องไปเกิดในเอวจีมหานรก
สิ้นระยะเวลา ๑ กัปตามอายุของอเวจีมหานรก แล้วหลังจากนั้น ออกจากอเวจีมหานรกแล้วก็ผ่านบริวาร ๔ ขุม
เมื่อพ้นบริวาร ๔ ขุมแล้วต้องมาตกยมโลกียนรกอีก ๑๐ ขุม เพราะท่านทำกรรมหนัก
เรียกว่ากรรมในยมโลกียนรกนี่มีกี่อย่างท่านทำหมดตั้งแต่ปาณาติบาตขึ้นมาเลย ถึงจิตโหดร้าย
การประทุษร้ายต่อคู่ครอง นี่เรียกว่าหนักมาก เมื่อพ้นจากยมโลกียนรก ๑๐ ขุมแล้ว ต้องมาเป็นเปรตตามลำดับ ๑๒ จำพวก
พ้นจากเปรต ๑๒ จำพวก แล้วก็มาเป็นอสุรกาย เมื่อพ้นจากความเป็นอสุรกายแล้ว
หลังจากนั้นก็มาสู่ความเป็นสัตว์เดียรัจฉาน คือเป็นแร้ง ๕๐๐ ชาติ เป็นกา ๕๐๐ ชาติ เป็นสุนัขบ้า ๕๐๐ ชาติ
เมื่อพ้นจากภาวะสัตว์เดียรัจฉานแล้วก็เกิดเป็นคน เป็นคนหูหนวก ๕๐๐ ชาติ เป็นคนตาบอด ๕๐๐ ชาติ
เป็นคนบ้า ๕๐๐ ชาติ เป็นคนง่อยเปลี้ยเสียขา ๕๐๐ ชาติ จึงจะมาเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
นี่ท่านรู้กฎของกรรมของท่าน เมื่อท่านรู้แล้วท่านก็ตกใจ บอกให้อากาสจารีเทพบุตรช่วย
ท่านอากาสจารีบอกว่า เราก็เป็นเทวดาเหมือนกัน จะช่วยท่านยังไง คนที่จะช่วยได้ก็เห็นจะมีพระอินทร์องค์เดียว
ก็เลยพากันไปหาพระอินทร์ พระอินทร์ก็บอกว่าฉันเป็นเทวดาเหมือนท่านช่วยไม่ได้ ท่านที่จะช่วยได้ก็คือพระพุทธเจ้า
เวลานี้กำลังมาแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ไปด้วยกัน ไปฟังเทศน์พระพุทธเจ้า
ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยกัน พระพุทธเจ้าอาจช่วยได้ต่างก็พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
พระอินทร์ก็กราบทูลเรื่องราวของสุปติฏฐิตเทพบุตรให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้า
ในเมื่อพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาทราบว่า สุปติฏฐิตเทพบุตรคนนี้ สมัยที่เป็นมนุษย์เป็นมิจฉาทิฐิอย่างหนัก
คือแกเกิดมาพอแกทำงานได้ตั้งแต่เล็ก แกก็มีปาณาติบาตเป็นเครื่องอาศัย ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตตลอดเวลา
วันดีไม่ละวันพระไม่เว้น ทำบาปเป็นอาจิณกรรม เรียกว่าฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นอาจิณกรรม แล้ว
นอกจากนั้น กรรมอะไรล่ะที่เขาว่ามันไม่ดี อทินนาทานลักขโมยเขา ถ้ามีโอกาสก็เอาเหมือนกัน
เอาไม่น้อย เอาพอกำลังที่จะเอาไปได้ เรียกว่ามาก กาเมสุมิฉาจาร ชอบจริงๆ ผู้หญิงสาวๆ เด็กๆ เท่าไหร่ท่านสุปติฏฐิตชอบมาก
ปรนเปรอด้วยเงินด้วยทอง มุสาวาทรึ? เป็นปกติ การดื่มสุราเมรัยเป็นเกมกีฬา ตานี้มาว่ากัน
ถ้าว่าใครเขามาบอกบุญบอกทาน ใครเขามาบอกว่าวัดโน้นเขาจะสร้างนั่น
วัดนี้เขาจะสร้างนี่ ไปทำบุญตรุษ ไปทำบุญสงกรานต์ แกเห็นแล้วแกล้งทำไม่เห็น ได้ยินแล้วแกล้งทำไม่ได้ยิน
ดีไม่ดีพระเจ้าเทศน์ ส่งเสียงกลบ ทำลายพระธรรมเสียอีก นี่เจตนาของสุปติฏฐิตเทพบุตรเป็นมิจฉาทิฐิอย่างหนัก
แล้วก็ทำลายคุณความดีที่บุคคลอื่นจะพึงได้จะพึงถึง ฉะนั้น สุปติฏฐิตเทพบุตรคนนี้
ถ้าเราไม่ช่วยเธอจุติจากความเป็นเทวดาแล้ว เธอจะต้องไปตกอเวจีมหานรก สิ้นเวลาระยะ ๑ กัป
พ้นจากอเวจีมหานรกแล้วต้องผ่านนรกบริวาร ๔ ขุม นอกจากนั้นยมโลกียนรก ๑๐ ขุม เธอต้องผ่านทั้งหมด
เป็นกฎของกรรมอย่างหนัก จะต้องเป็นเปรต ๑๒ ระดับ เป็นอสุรกาย ต่อมาเป็นแร้ง ๕๐๐ ชาติ
เป็นกา ๕๐๐ ชาติ เป็นสุนัข (แล้วเป็นสุนัขบ้าไม่ใช่สุนัขธรรมดา) ๕๐๐ ชาติ


ทีนี้พอมาเป็นคน เป็นคนหูหนวก ๕๐๐ ชาติ นี่เพราะกฎของกรรม ที่คนเขาบอกบุญแกได้ยินแล้วแกล้งทำไม่ได้ยิน
เวลาพระเทศน์เวลาพระสวดแกล้งส่งเสียงกลบให้คนอื่นฟังไม่ชัดอย่างนี้ติดตามแกมา ต้องเป็นคนหูหนวก ๕๐๐ ชาติ
ต่อมาจากนั้นแกก็ต้องตาบอด ๕๐๐ ชาติ ท่านกล่าวว่าในตอนนี้ใครเขามาบอกบุญบอกทาน
แกเห็นแล้วแกแกล้งทำเป็นไม่เห็นเลยกลายเป็นคนตาบอด ๕๐๐ ชาติ แล้วก็มาเป็นคนบ้า ๕๐๐ ชาติ
ก็เพราะดื่มสุราเมรัยหลังจากนั้นมาเป็นคนง่อยเปลี้ยเสียขา ๕๐๐ ชาติ เพราะโทษของปาณาติบาตที่
ทำไว้มาสนับสนุนเป็นเศษของกรรมจึงจะหมด องค์สมเด็จพระสามิสรพระสุคต ได้ทรงทราบก็มีความสงสาร
ก็พิจารณาด้วยอำนาจพระพุทธญาณ ว่าถ้าตถาคตจะเทศน์พระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์
เทวดาองค์นี้จะมีผลเป็นประการใดบ้าง เมื่อทรงดำริดังนี้แล้ว
องค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็ทรงทราบด้วยอำนาจพระพุทธญาณว่า
ถ้าเราเทศน์พระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์นี้ไม่มีประโยชน์แก่เทวดาองค์นี้เลย
ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่ากรรมหนัก จริตไม่พอกับพระอภิธรรม คือมีอารมณ์หยาบมาก
ถ้าเทศน์จบเธอไม่ได้อะไร ไม่ได้พระโสดาบัน เธอจะต้องไปจุติในอเวจีมหานรก เป็นบุคคลผู้น่าสงสาร
นี่น้ำใจของพระพิชิตมารเป็นอย่างนี้ แล้วต่อไปองค์พระธรรมสามิสรก็คิดต่อไปว่า จะเทศน์อะไรดี
ก็ทราบด้วยอำนาจพระพุทธญาณว่า ถ้าเราเทศน์อุณหิสวิชัยสูตร เมื่อเธอฟังแล้วจะตรงกับอัธยาศัย
พอเทศน์จบเธอจะได้พระโสดาบัน แล้วหลังจากนั้นอบายภูมิตามที่กล่าวมา ความทุกข์ทั้งหมด
โทษทัณฑ์ทั้งหมดจะถูกปิด คือไม่มีโอกาสจะลงโทษเธอได้เพราะว่าพระโสดาบันนั้นเกิดเป็นเทวดาแล้วก็เกิดแค่มนุษย์
ถ้ายังไม่ไปนิพพานจุติลงมาเป็นมนุษย์แล้วก็เกิดเป็นเทวดาหรือพรหม
พระโสดาบันมีอารมณ์หยาบเกิดเป็นมนุษย์ ๗ ชาติ พระโสดาบันมีอารมณ์อย่างกลางเกิดเป็นมนุษย์ ๓ ชาติ
พระโสดาบันมีอารมณ์อย่างละเอียดเกิดเป็นมนุษย์ ๑ ชาติ ไปนิพพาน
ฉะนั้น โทษทัณฑ์ทั้งหลายที่จะต้องตกนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉานไม่มี แต่ทว่าที่มีขันธ์ ๕ เป็นคน
ต้องพบกับเศษของอกุศลในฐานะที่มีร่างกายเป็นเครื่องรับ คือมีขันธ์ ๕ เป็นเครื่องรับก็ยังดี
เมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงทราบด้วยอำนาจพระพุทธญาณ องค์สมเด็จพระพิชิตมารจึงทรงแสดงอุณหิสวิชัยสูตร
เทศน์อุณหิสวิชัยสูตรพอจบ ท่านสุปติฏฐิตเทพบุตรก็เป็นพระโสดาบัน เป็นเทวดาต่อไป...

นรก สำนวนของ พระธรรมธีรราชมหามุนี
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)
จาก --ภูมิวิลาสินี--
โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี
http://pi.eng.src.ku.ac.th/mod/forum/discuss.php?d=853&parent=4777