ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: กระตุกหางแมว
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 01:00:52 am »

ไม่ว่าภพชาติไหนก็ชอบกินเหมือนกันนะครับเหอๆ..
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2010, 10:13:40 pm »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับคุณโอ
ข้อความโดย: mmm
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2010, 10:09:39 pm »






เมื่อครั้งที่ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ บวชได้ไม่กี่พรรษา และมีวาสนาถวายตัวเป็นศิษย์ของท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านได้รับคำสั่งสอนแนะนำในข้อธรรมต่างๆ
อย่างกระจ่างแจ้ง ทำการเจริญภาวนากระทำความเพียรก้าวหน้าไปอีกหลายระดับ เป็นกำลังใจให้เกิดความวิริยะมานะที่จะสะบั้นสายใยแห่งกิเลสจนกว่าจะหมดสิ้น
ในภพชาตินี้ ขณะจำพรรษาอยธู่กับพระอาจารย์มั่นที่บ้านนาหมีนายูง อำเภอน้ำโสน อุดรธานี ท่านพระอาจารย์มั่นได้บอกเล่าให้ฟังว่า
ใกล้ฝั่งแม่น้ำโขงมีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่ง ที่ถ้ำนั้นมีเปรตตนหนึ่งสิงสู่อยู่ไม่ยอมไปไหน

หากหลวงปู่แหวนไปบำเพ็ญเพียรที่ใดนั้นก็ให้ถามเปรตดูสิว่าชาติก่อนกระทำกรรมอะไรไว้ถึงได้มาเกิดเป็นเปรต การที่ท่านพระอาจารย์มั่น กล่าวเช่นนี้ อาจจะมีเจตนาต้องการให้ศิษย์ผู้อ่อนพรรษาได้เรียนรู้สภาวธรรมด้วยการสัมผัสตามความเป็นจริงโดยตัวเองก็ได้ เมือหลวงปู่แหวนน้อมรับคำบอกเล่าเช่นนั้นท่านจึงเดินทางไปที่ถ้ำดังกล่าวเพียงรูปเดียว ณ. ที่ถ้ำนี้เป็นสถานที่ร่มรื่นสงบสงัด เหมาะสมที่จะเจริญภาวนาอย่างยิ่ง ภายในถ้ำสะอาดสะอ้าน ด้านนอกปากถ้ำเป็นพื้นที่ราบเรียบพอจะใช้เป็นทางเดินจงกรมได้

ครั้นถึงเวลาเย็น เมื่อทำวัตรสวดมนต์แล้วท่านก็เข้าที่ภาวนาภายในถ้ำ ได้รับผลตามประสงค์ไม่มีอุปสรรค ตราบทั่งเช้าวันรุ่งขึ้น คืนแรกผ่านไปด้วยดี คืนที่สองไม่มีสิ่งผิดปกติ กระทั่งคืนทีสามรูปเงาของเปรตจึงเริ่มปรากฎ โดยแสดงกายมืดดำ และมีความสูงใหญ่ น่าพรั่นพรึง ยืนปักหลักขวางหน้าถ้ำ หลวงปู่แหวนเห็นเปรตแล้วก็มิได้หวาดหวั่นแต่ประการใด เพียงแต่แผ่เมตตาให้ด้วยจิตกุศลเต็มเปี่ยม ปรารถนาจะให้พลังแห่งความเมตตาผ่อนคลายความทุกข์ซึ่งสุมรุมเปรตตนดังกล่าวอยู่ จากนั้นก็กำหนดจิตถามเปรตไปว่า "ชาติก่อนเคยทำกรรมอะไรไว้ถึงได้มาเป็นเปรต" เปรตตนนั้นเงียบเฉยไม่ตอบ และอันตรธานหายไป หลายคืนต่อมาปรากฎว่าเปรตตนเดิมาแสดงร่างร้ายให้หลวงปู่แหวนเห็นทุกคืนในลักษณะคืนแรก คือมายืนตระหง่านเงียบงันด้วยร่างอันสูงใหญ่ทะมึนดำ ประหนึ่งต้องการข่มขวัญให้พระธุดงค์กรรมฐานเกิดความหวาดกลัว ทว่าหลวงปู่แหวนมีจิตที่มั่นคงแน่วแน่อยู่ในธรรม ฉะนั้นท่านจึงตัดขาดไปจากความพรั่นพรึงทั้งปวงหมดสิ้น ........กระทั่งคืนหนึ่ง
เปรตมาปรากฎร่างให้หลวงปู่แหวนเห็นอีก เมื่อท่านแผ่เมตตาให้แล้ว กำหนดจิตสอบถามเช่นครั้งก่อนๆ คราวนี้เปรตยอมพูดติดต่อด้วย โดยเล่าให้หลวงปู่แหวนฟังว่า

ชาติก่อนเมื่อเป็นมนุษย์เพศชายตนเป็นนักเลงไก่ชน ลุ่มหลงในการชนไก่ ซึ่งมีเดิมพันมาใช้จ่ายอย่างสำราญ คราวใดไก่ชนของตนพ่ายแพ้เสียเงินเดิมพันไปตนก็จะถูกโทสะครอบงำจัดการฆ่าไก่ตัวที่ชนแพ้ และหากไก่ชนตัวใดสู้จนได้รับบาดเจ็บหนัก หรือพิการ ตนก็จะฆ่าเอามากินหมดเช่นกัน ได้กระทำกรรมชั่วนี้เป็นอาจิณตั้งแต่หนุ่มยันแก่ ครั้นอายุมากก็ล้มป่วย มีอาการเจ็บปวดแสนสาหัสจนสิ้นใจตาย ตายแล้วยังต้องไปรับกรรมในนรกเป็นเวลานานจนประมาณมิได้


ครั้นพ้นจากนรกจึงมาผุดเป็นเปรต หลวงปู่แหวนจึงถามว่า "เหตุใดไม่ไปผุดไปเกิดเสียที ทำไมต้องมาเป็นเปรตเฝ้าถ้ำ เฝ้าป่า ให้ลำบากทุกข์ยากเช่นนี้" เปรตตอบว่า เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะยังห่วงเรื่องอาหารที่ได้เสพ เนื่องจากชาวบ้านที่อยู่ย่านนี้ นำหมูเห็ดเป็ดไก่ มาเซ่นสังเวยทุกครั้งที่เข้ามาตัดไม้และหาของป่า
หากไปอยู่ที่อื่นกลัวจะอดอยาก เปรตยังเล่าต่อว่า หากชาวบ้านไม่เซ่นสังเวย ตนก็จะกระทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย ชาวบ้านจึงกลัวตนมาก หลวงปู่แหวนได้เทศนาชี้ทางให้เปรตผละจากที่อยู่อาศัยนี้ไปเสียเถิด เพราะถ้าจิตหลุดจากความยึดมั่นถือมั่นได้เมื่อใด ตนเองก็จะมีโอกาสไปเกิดใหม่ตามกระแสกรรมของตน มิเช่นนั้นก็ต้องจ่อมจมอยู่ก้บถ้ำแห่งนี้ เพราะความยึดมั่นยึดเหนี่ยวฉุดรั้งไว้ และถ้าสิงอยู่ถ้ำแห่งนี้ด้วยความหวงแหนสถานที่คอยหวาดระแวงว่าจะมีผู้อื่นมาแย่งถ้ำนี้ไปเปรตย่อมแสดงตัวให้ผู้พบเห็นหวาดกลัวเพื่อให้หนีไปเสีย
หากมีพระธุดงค์รูปอื่นจาริกผ่านมา เปรตแสดงตัวเจตนาขับไล่เช่นที่เคยทำมา พระธุดงค์มีจิตเข้มแข็ง และมีสติมั่นคงย่อมไม่เกิดผลร้ายอะไร แต่หากพระธุดงค์จิตไม่แก่กล้า หวาดกลัวจนไร้สติ ย่อมเป็นผลให้เสียจริต หรืออาจถึงมรณภาพ บาปเวรก็จะตกแก่เปรต กลายเป็นอกุศลกรรมถมทับซับซ้อนจนไม่อาจพบกับทางสว่างได้อีก เปรตรับฟังด้วยความสงบ แต่ยังไม่สามารภกระทำตามคำเทศนาของหลวงปู่แหวนได้ ท่านเห็นว่าเปรตยังมีมิจฉาทิฐิมั่นคงท่านก็ต้องวางตนอยู่ในอุเบกขา เมื่อเจริญภาวนาครบกำหนดตามที่ได้กำหนดเจตนาเอาไว้แล้ว หลวงปู่แหวนจึงจาริกลับมากราบเรียนถวายรายงานต่อท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ณ บ้านนาหมีนายูง ซึ่งท่านพระอาจารย์มั่น ก็ไม่ได้กล่าวว่ากะไร
ภายหลังเมื่อพระอาจารย์มั่นมีโอกาสผ่านได้เมตตาโปรดเปรตตนนั้น และเปรตตนนั้นก็หลุดพ้นไปจากถ้ำได้ในที่สุด





จากที่มา  http://watkoh.com/kratoo/forum_posts.asp?TID=3276