ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: เมษายน 27, 2014, 05:14:43 pm »พระอนุรุทธเถระ
-http://www.dhammathai.org/monk/monk41.php-
พระอนุรุทธะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ประสูติร่วมพระมารดาเดียวกัน ๓ พระองค์ คือ พระเชฏฐา (พี่ชาย) พระนามว่า มหานามะ พระกนิฏฐภคินี (น้องสาว) พระนามว่า โรหิณี รวมเป็น ๓ กับอนุรุทธกุมาร ถ้าจะนับตามลำดับพระวงศ์ก็เป็นพระอนุชาของพระบรมศาสดา อนุรุทธกุมารเป็นกษัตริย์สุมุมาลชาติ มีปราสาท ๓ หลังเป็นที่ประทับใน ๓ ฤดู สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ศฤงคาร* และบริวารยศ แม้แต่คำว่า ไม่มี ก็ ไม่เคยรู้จัก และไม่เคยได้สดับเลย
เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่อนุปิยนิคมของมัลลกษัตริย์ ในเวลานั้น ศากยกุมารซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงมีคนรู้จักมาก ออกบวชตามพระบรมศาสดาเป็นจำนวนมาก วันหนึ่งเจ้ามหานามะผู้เป็นพระเชฏฐา ได้ปรารภกับอนุรุทธะผู้น้องว่า พ่ออนุรุทธะ ในตระกูลของเรายังไม่มีใคร ๆ ออกบวชตามพระบรมศาสดาเลย เจ้า หรือพี่คนใดคนหนึ่งควรจะออกบวช อนุรุทธะตอบว่า น้องเป็นคนที่เคยได้รับแต่ความสุขสบาย ไม่สามารถจะออกบวชได้ พี่บวชเองเถิด เจ้ามหานามะจึงกล่าวขึ้นว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงเรียนให้รู้จักการงานของผู้ครองเรือนเสียก่อน พี่จะสอนให้ เจ้าจงตั้งใจฟัง ครั้นกล่าวดังนั้นแล้ว เจ้ามหานามะจึงสอนการงานของผู้ครองเรือน โดยยกเอาวิธีการทำนาเป็นอันดับแรกขึ้นมาสอน เมื่ออนุรุทธะได้ฟังแล้วก็เห็นว่าการงานไม่มีที่สิ้นสุดเบื่อหน่ายในการงาน พูดกับพี่ชายว่า ถ้าอย่างนั้น พี่อยู่ครองเรือนเถิด น้องจักบวชเอง ครั้นอนุรุทธะกล่าวอย่างนั้นแล้วจึงเข้าไปหาพระมารดาทูลว่า แม่ หม่อมฉันอยากจะบวช ขอพระแม่เจ้าจงอนุญาติให้หม่อมฉันบวชเถิด แม้ถูกพระมารดาตรัสห้าม ไม่ยอมให้บวช ท่านก็ยังอ้อนวอนขอให้อนุญาตให้บวชเป็นหลายครั้ง เมื่อมารดาเห็น ดังนั้นจึงคิดอุบายที่จะไม่ให้อนุรุทธะบวช ดำริถึง พระเจ้าภัททิยะผู้เป็นพระสหายของอนุรุทธะ ท่านคงจะไม่ออกบวชเป็นแน่ จึงพูดว่า พ่ออนุรุทธะ ถ้าพระเจ้าภัททิยะบวชด้วยจงบวชเถิด อนุรุทธะได้ฟังอย่างนั้นแล้วก็ไปเฝ้าพระเจ้าภัททิยะ ทูลตามวาทะของผู้ที่คุ้นเคยกันว่า เพื่อนเอ๋ย บรรพชาของเรา เนื่องด้วยบรรพชาของท่าน ในตอนแรก พระเจ้าภัททิยะ ทรงปฏิเสธไม่ยอมบวช ในที่สุดเมื่อทนการอ้อนวอนไม่ได้ก็ตกลงใจยินยอมบวชด้วย อนุรุทธะจึงชักชวนศากยกุมารอื่นได้อีก ๓ คน คือ อานันทะ,ภคุ,กิมพิละ โกลิยกุมาร อีกองค์หนึ่ง คือ เทวทัต รวมทั้งอุบาลีผู้เป็นนายภูษามาลาเป็น ๗ พร้อมใจกันเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่อนุปิยนิคม ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย เมื่ออนุรุทธะได้อุปสมบทแล้ว เรียนกรรมฐานในสำนักของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร แล้วเข้าไปอยู่ในป่าปาจีนวังสมฤคทายวัน
เมื่อพระอนุรุทธะบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ได้ตรึกตรองถึงมหาปุริสวิตก ๗ ประการ คือ
๑. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่ใช่ของผู้มีความมักมาก
๒. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้สันโดษยินดีด้วยของที่มีอยู่ ไม่ใช่ของผู้ไม่สันโดษ
๓. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้สงัดแล้ว ไม่ใช่ของผู้ยินดีในหมู่คณะ
๔. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ของผู้เกียจคร้าน
๕. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีสติมั่นคง ไม่ใช่ของผู้มีสติหลง
๖. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีใจมั่นคง ไม่ใช่ของผู้มีใจไม่มั่นคง
๗. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของผู้มีปัญญาทราม
เมื่อพระอนุรุทธะตรึกอยู่อย่างนี้ พระบรมศาสดาเสด็จมาถึงทรงทราบเหตุนั้นจึงทรงอนุโมทนาว่า ชอบละ ๆ อนุรุทธะ เธอตรึกตรองธรรมที่พระมหาบุรุษตรึกตรอง ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกตรองธรรมที่พระมหาบุรุษตรึกข้อที่ ๘ ว่า "ธรรมนี้ เป็นธรรมของผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ให้เนิ่นช้า ไม่ใช่ของผู้ยินดีในธรรมเนิ่นช้า"
ครั้นตรัสสอนอนุรุทธะอย่างนี้แล้วก็เสด็จกลับสู่ที่ประทับ ส่วนพระอนุรุทธะบำเพ็ญความเพียรต่อไปก็ได้บรรลุ เป็นพระอรหันต์ ตั้งแต่นั้นมาท่านก็เล็งแลดูสัตว์โลกด้วยทิพยจักษุอยู่เสมอ เล่ากันว่ายกเว้นแต่เวลาฉันเท่านั้น เวลาที่เหลือท่านย่อมพิจารณาแลดูหมู่สัตว์ทั้งปวงด้วยทิพยจักษุ ด้วยเหตุนี้เอง พระผู้มีพระภาคจึงตรัสยกย่อง สรรเสริญท่านว่า เป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุทั้งหลายฝ่ายข้างผู้มีทิพยจักษุญาณ ครั้นท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน.
*ทรัพย์ศฤงคาร : ทรัพย์ที่ทำให้คนได้รับ เกิดความรัก ความชอบใจ
-http://www.dhammathai.org/monk/monk41.php-
พระอนุรุทธะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ประสูติร่วมพระมารดาเดียวกัน ๓ พระองค์ คือ พระเชฏฐา (พี่ชาย) พระนามว่า มหานามะ พระกนิฏฐภคินี (น้องสาว) พระนามว่า โรหิณี รวมเป็น ๓ กับอนุรุทธกุมาร ถ้าจะนับตามลำดับพระวงศ์ก็เป็นพระอนุชาของพระบรมศาสดา อนุรุทธกุมารเป็นกษัตริย์สุมุมาลชาติ มีปราสาท ๓ หลังเป็นที่ประทับใน ๓ ฤดู สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ศฤงคาร* และบริวารยศ แม้แต่คำว่า ไม่มี ก็ ไม่เคยรู้จัก และไม่เคยได้สดับเลย
เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่อนุปิยนิคมของมัลลกษัตริย์ ในเวลานั้น ศากยกุมารซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงมีคนรู้จักมาก ออกบวชตามพระบรมศาสดาเป็นจำนวนมาก วันหนึ่งเจ้ามหานามะผู้เป็นพระเชฏฐา ได้ปรารภกับอนุรุทธะผู้น้องว่า พ่ออนุรุทธะ ในตระกูลของเรายังไม่มีใคร ๆ ออกบวชตามพระบรมศาสดาเลย เจ้า หรือพี่คนใดคนหนึ่งควรจะออกบวช อนุรุทธะตอบว่า น้องเป็นคนที่เคยได้รับแต่ความสุขสบาย ไม่สามารถจะออกบวชได้ พี่บวชเองเถิด เจ้ามหานามะจึงกล่าวขึ้นว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงเรียนให้รู้จักการงานของผู้ครองเรือนเสียก่อน พี่จะสอนให้ เจ้าจงตั้งใจฟัง ครั้นกล่าวดังนั้นแล้ว เจ้ามหานามะจึงสอนการงานของผู้ครองเรือน โดยยกเอาวิธีการทำนาเป็นอันดับแรกขึ้นมาสอน เมื่ออนุรุทธะได้ฟังแล้วก็เห็นว่าการงานไม่มีที่สิ้นสุดเบื่อหน่ายในการงาน พูดกับพี่ชายว่า ถ้าอย่างนั้น พี่อยู่ครองเรือนเถิด น้องจักบวชเอง ครั้นอนุรุทธะกล่าวอย่างนั้นแล้วจึงเข้าไปหาพระมารดาทูลว่า แม่ หม่อมฉันอยากจะบวช ขอพระแม่เจ้าจงอนุญาติให้หม่อมฉันบวชเถิด แม้ถูกพระมารดาตรัสห้าม ไม่ยอมให้บวช ท่านก็ยังอ้อนวอนขอให้อนุญาตให้บวชเป็นหลายครั้ง เมื่อมารดาเห็น ดังนั้นจึงคิดอุบายที่จะไม่ให้อนุรุทธะบวช ดำริถึง พระเจ้าภัททิยะผู้เป็นพระสหายของอนุรุทธะ ท่านคงจะไม่ออกบวชเป็นแน่ จึงพูดว่า พ่ออนุรุทธะ ถ้าพระเจ้าภัททิยะบวชด้วยจงบวชเถิด อนุรุทธะได้ฟังอย่างนั้นแล้วก็ไปเฝ้าพระเจ้าภัททิยะ ทูลตามวาทะของผู้ที่คุ้นเคยกันว่า เพื่อนเอ๋ย บรรพชาของเรา เนื่องด้วยบรรพชาของท่าน ในตอนแรก พระเจ้าภัททิยะ ทรงปฏิเสธไม่ยอมบวช ในที่สุดเมื่อทนการอ้อนวอนไม่ได้ก็ตกลงใจยินยอมบวชด้วย อนุรุทธะจึงชักชวนศากยกุมารอื่นได้อีก ๓ คน คือ อานันทะ,ภคุ,กิมพิละ โกลิยกุมาร อีกองค์หนึ่ง คือ เทวทัต รวมทั้งอุบาลีผู้เป็นนายภูษามาลาเป็น ๗ พร้อมใจกันเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่อนุปิยนิคม ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย เมื่ออนุรุทธะได้อุปสมบทแล้ว เรียนกรรมฐานในสำนักของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร แล้วเข้าไปอยู่ในป่าปาจีนวังสมฤคทายวัน
เมื่อพระอนุรุทธะบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ได้ตรึกตรองถึงมหาปุริสวิตก ๗ ประการ คือ
๑. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่ใช่ของผู้มีความมักมาก
๒. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้สันโดษยินดีด้วยของที่มีอยู่ ไม่ใช่ของผู้ไม่สันโดษ
๓. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้สงัดแล้ว ไม่ใช่ของผู้ยินดีในหมู่คณะ
๔. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ของผู้เกียจคร้าน
๕. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีสติมั่นคง ไม่ใช่ของผู้มีสติหลง
๖. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีใจมั่นคง ไม่ใช่ของผู้มีใจไม่มั่นคง
๗. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของผู้มีปัญญาทราม
เมื่อพระอนุรุทธะตรึกอยู่อย่างนี้ พระบรมศาสดาเสด็จมาถึงทรงทราบเหตุนั้นจึงทรงอนุโมทนาว่า ชอบละ ๆ อนุรุทธะ เธอตรึกตรองธรรมที่พระมหาบุรุษตรึกตรอง ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกตรองธรรมที่พระมหาบุรุษตรึกข้อที่ ๘ ว่า "ธรรมนี้ เป็นธรรมของผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ให้เนิ่นช้า ไม่ใช่ของผู้ยินดีในธรรมเนิ่นช้า"
ครั้นตรัสสอนอนุรุทธะอย่างนี้แล้วก็เสด็จกลับสู่ที่ประทับ ส่วนพระอนุรุทธะบำเพ็ญความเพียรต่อไปก็ได้บรรลุ เป็นพระอรหันต์ ตั้งแต่นั้นมาท่านก็เล็งแลดูสัตว์โลกด้วยทิพยจักษุอยู่เสมอ เล่ากันว่ายกเว้นแต่เวลาฉันเท่านั้น เวลาที่เหลือท่านย่อมพิจารณาแลดูหมู่สัตว์ทั้งปวงด้วยทิพยจักษุ ด้วยเหตุนี้เอง พระผู้มีพระภาคจึงตรัสยกย่อง สรรเสริญท่านว่า เป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุทั้งหลายฝ่ายข้างผู้มีทิพยจักษุญาณ ครั้นท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน.
*ทรัพย์ศฤงคาร : ทรัพย์ที่ทำให้คนได้รับ เกิดความรัก ความชอบใจ