ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2014, 10:02:00 pm »


http://youtu.be/ak0a10b4gcY พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ ตอนที่ ๑
Prasit Kongsup Uploaded on Feb 18, 2012
บรรยายสอนโดย อ.ประสิทธิ์ คงทรัพย์
โรงเรียน ออนไลน์ สิริภัจจ์ การแพทย์แผนไทย
เปิดสอนหลักสูตร ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย ทุกประเภท
สอนหลักสูตร นวดบำบัด,นวดรักษาโรค,นวดจัดกระดูก
สมัครเรียน ได้ที่เบอร์ 087-1639644
หรือ siripatclinic@gmail.com
หรือ http://www.siripatthaimedonlineschool...
ข้อความโดย: magicmo
« เมื่อ: ธันวาคม 10, 2011, 02:05:04 pm »

 :19: :19:  ขอบใจมากมายเลยครับ  :19: :19:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2011, 11:22:55 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 01:16:57 pm »


ภาพประกอบคัมภีร์ไกษย



คัมภีร์ไกษย  ไกษย -> ความสิ้นไป การเสื่อมไป โรคกษัย -> โรคซูบผอม
หมายถึง  ตำราว่าด้วยโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรมผอมแห้ง
และสุขภาพไม่สมบูรณ์ ภาพนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่อธาตุ ๔ ในร่างกายคน ( คือ
ดิน น้ำ ลม ไฟ )  เสื่อมลง  ย่อมก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้

แพทย์ มาจากภาษาสันสกฤต “ไวทย”  แปลว่า  ผู้มีพระเวท  หมายถึง ผู้รู้วิชาการ
ต่าง ๆ ที่ประมวลอยู่ในคัมภีร์พระเวท  และผู้รู้วิชาการรักษาโรค คัมภีร์พระเวทฉบับหนึ่งคือ 
อถรรพเวท เป็นต้นกำเนิดของตำราการแพทย์
และการรักษาโรคด้วยสมุนไพร

:http://www.banglamung.ac.th/stubm6282550/CHPHS1.html
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 01:04:58 pm »


ภาพประกอบคัมภีร์ตักกะศิลา



คัมภีร์ตักกะศิลา        ตักกะ -> ความคิด
หมายถึง  ตำราว่าด้วยโรคซึ่งระบาดอย่างรวดเร็วเหมือนห่าลงที่เมืองตักศิลา
ภาพนี้แสดงความเป็นมาของเมืองตักศิลา  ว่าเดิมมีผู้คนเจ็บป่วยล้มตาย
เป็นจำนวนมาก  ต่อมาฤาษีผู้ทรงฤทธิ์ตนหนึ่งผ่านมาได้ชุบชีวิตชาวเมืองขึ้น 
แล้วแต่งพระคัมภีร์สำหรับให้แพทย์ใช้รักษาคนเจ็บไข้ต่อไป
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 01:01:27 pm »


ภาพประกอบคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา



คัมภีร์มุจฉาปักขันธิกา      มุจฉา-> การสลบ หมายถึง  ตำราว่าด้วย
อาการของโรคบุรุษและโรคสตรี รวมถึงยาสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคบุรุษและสตรี
ภาพนี้แสดงถึงสภาพความเป็นจริงของชีวิตและร่างกายที่ย่อมประสบกับ
ความเสื่อมเป็นธรรมดา  ย่อมมีโรคภัยเบียดเบียนเป็นธรรมดา  สภาวะเช่นนี้
เกิดแก่ทุกผู้ทุกนาม ทุกชนชั้นวรรณะ 
พระพุทธเจ้าตั้งแต่ยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงมองเห็นสัจธรรมนี้แล้ว
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 12:57:30 pm »


ภาพประกอบคัมภีร์ธาตุบรรจบ



คัมภีร์ธาตุบรรจบ หมายถึง ตำราว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับอุจจาระโดยเฉพาะ
คือกล่าวถึงเหตุที่เกิดโรค ลักษณะอุจจาระธาตุ โรคอุจจาระธาตุ และยาแก้โรค
อุจจาระธาตุ ภาพนี้แสดงถึงชีวิตชาวบ้านที่มีความเจ็บป่วย 
อันเกี่ยวเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบขับถ่ายและลำไส้
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 12:51:17 pm »


ภาพประกอบคัมภีร์ธาตุวิวรณ์



คัมภีร์ธาตุวิวรณ์       ธาตุ -> ส่วนสำคัญที่คุมกันเป็นร่างของสิ่งทั้งหลาย   
 วิวรณ์  -> การเปิด    การเผยแผ่
ตำราว่าด้วย การอธิบายสาเหตุที่ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีอาการไม่ปกติ
รวมถึงการแก้ไข  การรักษาให้ธาตุทั้ง ๔ เป็นปกติ ภาพนี้แสดงสัญลักษณ์ของ
ธาตุไฟ (เตโชธาตุ) ว่าคือ องค์ประกอบหนึ่งของสิ่งมีชีวิต มีคุณสมบัติคือความร้อน
ไฟเป็นพลังทำให้ลมและน้ำในร่างกายขับเคลื่อนด้วยพลังที่พอเหมาะ  พระอัคนี (เตโช)
เป็นบุคลาธิษฐานของธาตุไฟ เป็นเพศชายเนื่องจากมีฤทธิ์สร้างความ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 12:46:13 pm »


ภาพประกอบคัมภีร์โรคนิทาน



คัมภีร์โรคนิทาน           นิทาน ->เหตุ
หมายถึง ตำราที่ว่าด้วยเหตุและสมุฏฐานของโรค ภาพนี้แสดงสัญลักษณ์
ของธาตุน้ำ (อาโปธาตุ) ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ธาตุ  ธาตุน้ำมีคุณสมบัติ
เลื่อนไหลไปมา  อาศัยธาตุดินเพื่อคงอยู่ อาศัยธาตุลมเพื่อการเลื่อนไหล 
พระแม่คงคาเป็นบุคลาธิษฐานของธาตุน้ำตามคติไทยโบราณ เพราะมีความเชื่อว่า
น้ำเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตคือใช้อุปโภคบริโภคเราจึงยกย่องน้ำให้เป็น “แม่”
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 12:40:02 pm »


ภาพประกอบคัมภีร์ชวดาร



คัมภีร์ชวดาร  ชว -> เร็ว ดาร -> เสียง   เสียงแหลม  ดาล -> เกิดขึ้น   เป็นขึ้น
หมายถึง ตำราว่าด้วยโรคลมและโรคเลือด
ภาพนี้แสดงสัญลักษณ์ของธาตุลม (วาโยธาตุ) ว่ามีคุณสมบัติคือความเบา
และเคลื่อนที่ได้ พระวายุเป็นบุคลาธิษฐานของธาตุลมเป็นเพศชายเนื่องจากมีฤทธิ์
สร้างความวิบัติได้ เช่น ลมพายุ พระคัมภีร์นี้ กล่าวถึงความสำคัญของโลหิตกับลม
ซึ่งโรคภัยเกิดขึ้นได้อันเนื่องมาจากความผิดปกติของโลหิตกับลมในร่างกายคน