ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2014, 11:23:38 pm »


การเรียบเรียงภาพที่แฝงด้วยสาระทางธรรมช่างยากยิ่งนัก

ความเจริญทางด้านวัตุถุ

งมงาย ไม่รู้เท่า ไม่เข้าใจ เซ่อเซอะ หลงเชื่อโดยไม่มีเหตุผล หรือโดยไม่ยอมรับฟังผู้อื่น
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2014, 10:50:12 pm »



คิดนึกปรุงแต่ง - คิดปรุงแต่ง - จิตปรุงแต่ง - จิตฟุ้งซ่าน - จิตฟุ้งซ่านไปภายนอก -  หรือคิดนึกฟุ้งซ่าน - คิดนึกเรื่อยเปื่อย  - คิดวนเวียนปรุงแต่ง - จิตส่งออกไปภายนอก = ล้วนมีความหมายเป็นนัยเดียวกัน เป็นการกล่าวถึงจิตที่ไปทำหน้าที่อันไม่ควร จึงเป็นทุกข์  จึงเน้นหมายถึงไปคิดนึกอันเป็นเหตุปัจจัยทําให้เกิดกิเลสตัณหา - เพราะคิดนึกปรุงแต่งแต่ละครั้งแต่ละทีย่อมเกิดการผัสสะ อันย่อมต้องเกิดเวทนาต่างๆขึ้นด้วย

ทั้งหมด - ทั้งปวงนี้สรุปโดยรวมก็คือ.............

สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา แปลว่า สติ จำเป็นในที่ทั้งปวง

กำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจ

[spoiler]http://www.youtube.com/watch?v=PhLWGkGzMec[/spoiler]
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2014, 10:14:57 pm »


อุปธิ - สิ่งนุงนัง

สภาวะกลั้วกิเลส

สิ่งที่ยังระคนด้วยกิเลส

๑.ร่างกาย

๒.สภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้แห่งทุกข์ได้แก่ กาม กิเลส เบญจขันธ์ และอภิสังขาร
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2014, 10:02:00 pm »



ในทางพระพุทธศาสนาเราสามารถแยกกระบวนการทำงานของจิตหรือกระบวนธรรมของจิตได้เป็น ๒ แบบใหญ่อันต่างก็ล้วนเป็นกระบวนการธรรมชาติของจิตแต่ฝ่ายหนึ่งเป็นการดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติและอีกฝ่ายหนึ่งเมื่อดำเนินเกิดขึ้นแล้วก่อให้เกิดความทุกข์อุปาทาน คือความทุกข์ที่ประกอบหรือถูกครอบงำด้วยอุปาทานอันเร่าร้อนเผาลนขึ้นทั้งต่อกายและใจ อันเป็นไปตามกระบวนธรรม{ปฏิจจสมุปบาท}นั่นเอง

ขันธ์๕เป็นกระบวนธรรมของ{จิต}แบบไม่เป็นทุกข์อุปาทานเป็นกระบวนธรรมที่จำเป็นยิ่งในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติมีเหมือนกันทั้งในปุถุชนและพระอริยเจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่

อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นกระบวนธรรมของจิต ชนิดที่ก่อให้เกิดอุปาทานทุกข์ขึ้นเป็นสภาวะธรรมชาติเหมือนกัน  แต่เป็นฝ่ายที่ก่อให้เกิดทุกข์โทษภัยแก่ผู้ดำเนินอยู่มีอยู่แต่ในปุถุชนกล่าวคือเป็นกระบวนธรรมของจิตที่ดำเนินเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทจนเกิดทุกข์อุปาทานอันแสนเร่าร้อนเผาลนขึ้นเป็นที่สุดเป็นกระบวนธรรมของ

จิตฝ่ายก่อให้เกิดความทุกข์อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ {จึงไม่มีเกิดในเหล่าพระอริยเจ้า}
อุปาทานความยึดมั่นความถือมั่นอันเป็นไปตามกำลังอำนาจกิเลส เพื่อความพึงพอใจของตัวของตนหรือ
อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น เพื่อความพึงพอใจของตัวของตน เป็นสําคัญในสิ่งใด ๆ ทุก ๆ สิ่งอันท่านตรัสว่า อุปาทาน
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2014, 09:36:45 pm »



สติมาปัญญาเกิด

พระไตรลักษณ์เดิมทีนั้น แม้แต่ในพระไตรปิฎกก็เรียกกันโดยทั่วไปว่าธรรมนิยาม(ธมฺมนิยามตา)ที่แปลว่า นิยามของธรรม(หรือธรรมชาติ) ที่มีความหมายว่า ข้อกำหนดหรือความกำหนดที่แน่นอนแห่งธรรมหรือก็คือธรรมชาตินั่นเองส่วนคำว่าพระไตรลักษณ์ และคำว่าสามัญลักษณะหรือสามัญญลักษณะ ที่มีความหมายเดียวกันกับธรรมนิยามนั้น เป็นคำที่เกิดขึ้นในภายหลังในยุคอรรถกถาพระไตรลักษณ์หรือธรรม

นิยามเป็นข้อธรรมที่แสดงถึงลักษณะ หรือกฏ หรือข้อกำหนดของธรรม หรือก็คือธรรมชาติอันยิ่งใหญ่และลี้ลับแต่ด้วยพระปรีชาญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าธรรมของพระองค์ท่านได้หงายของที่ควํ่าอยู่เปิดของที่ปิดบอกทางแก่คนหลงทางหรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยพระประสงค์ว่าผู้มีจักษุคือปัญญาจะได้แลเห็นกล่าวคือทรงแสดงสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อันลี้ลับที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้อย่างถูกต้อง อย่างแจ่มแจ้ง

อย่างแท้จริงมาก่อนนับเนื่องมาแต่โบราณกาลโดยเฉพาะพระองค์ท่าน ทรงสอนแต่ในเรื่องธรรมชาติของความทุกข์ ที่หมายถึงเน้นสอนในเรื่องสภาวธรรมหรือธรรมชาติของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นสำคัญ ซึ่งก็เพื่อยังประโยชน์อันยิ่งใหญ่โดยการนำเอาความรู้ความเข้าใจอันยิ่งใหญ่เกี่ยวกับความทุกข์นั้นไปใช้ในการเพื่อการดับทุกข์อันเป็นสุขยิ่ง เป็นที่สุดนั่นเองอันเกิดขึ้นและเป็นไปดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า............
ในกาลก่อนนี้ก็ตามในบัดนี้ก็ตามเรา(ตถาคต)บัญญัติขึ้นสอนแต่เรื่องทุกข์และการดับสนิทไม่เหลือของทุกข์เท่านั้น
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2014, 09:21:30 pm »


แล้วภาพนี้ละครับ บอกอะไรท่านได้มั๊ย

สรุปสั้น ๆ ครับ

จิตที่ส่งออกนอก

เป็นสมุทัย

ผลอันเกิดจากจิต

ที่ส่งออกนอก

เป็นทุกข์

จิตเห็นจิต

เป็นมรรค

ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต

เป็นนิโรธ
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2014, 09:12:52 pm »


ทั้งที่ตามองเหม่อ ดูปลายจมูกอยู่ ก็สามารถรวมความนึก หรือความรู้สึก หรือเรียกภาษาวัดว่า สติ ไปกำหนด จับอยู่ที่ลมหายใจ เข้าออก ของตัวเองได้ (คนที่ชอบหลับตา ก็หลับตาแล้ว ตั้งแต่ตอนนี้) คนชอบลืมตา ลืมไปได้เรื่อย จนมันค่อยๆหลับของมันเอง เมื่อเป็นสมาธิ มากขึ้นๆ เพื่อจะให้กำหนดได้

ง่าย ๆ ในชั้นแรกหัด ให้พยายาม หายใจ ให้ยาวที่สุด ที่จะยาวได้ ด้วยการฝืน ทั้งเข้า และออก หลายๆ ครั้งเสียก่อน เพื่อจะได้รู้ของตัวเอง ให้ชัดเจนว่า ลมหายใจ ที่มันลาก เข้าออก เป็นทาง อยู่ภายในนั้น มันลาก ถูก หรือ กระทบ อะไรบ้าง ในลักษณะอย่างไร และกำหนดได้ง่ายๆ ว่า มันไปรู้สึกว่า สุดลง ที่ตรงไหน ที่ในท้อง(โดยเอาความรู้สึก ที่กระเทือนนั้น เป็นเกณฑ์ ไม่ต้องเอาความจริงเป็นเกณฑ์) พอเป็นเครื่องกำหนด

ส่วนสุดข้างใน และส่วนสุดข้างนอก ก็กำหนดง่าย ๆ เท่าที่จะกำหนดได้ คนธรรมดา จะรู้สึกลมหายใจ กระทบปลาย จะงอยจมูก ให้ถือเอาตรงนั้น เป็นที่สุดข้างนอก (ถ้าคนจมูกแฟบ หน้าหัก ริมฝีปากเชิด ลมจะกระทบ ปลายริมฝีปากบน อย่างนี้ ก็ให้กำหนด เอาที่ตรงนั้น ว่าเป็นที่สุดข้างนอก) แล้วก็จะได้ จุดทั้งข้างนอก และข้างใน โดยกำหนดเอาว่า ที่ปลายจมูก จุดหนึ่ง ที่สะดือจุดหนึ่ง แล้วลมหายใจ ได้ลากตัวมันเอง

ไปมา อยู่ระหว่าง จุดสองจุด นี้ ขึ้นลงอยู่เสมอ ทีนี้ ทำใจของเรา ให้เป็นเหมือน อะไรที่คอย วิ่งตามลมนั้น ไม่ยอมพราก ทุกครั้ง ที่หายใจทั้งขึ้น และลง ตลอดเวลา ที่ทำสมาธินี้ นี้จัดเป็นขั้นหนึ่ง ของการกระทำ เรียกกันง่ายๆ ในที่นี้ก่อนว่า ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา"
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2014, 09:11:17 pm »


อีกภาพหนึ่งครับ

กุปปธรรม - ผู้มีธรรมที่ยังกำเริบได้ หมายถึง ผู้ที่ได้สมาบัติแล้วแต่เสื่อมได้{อกุปปธรรม}ผู้มีธรรมที่ไม่กำเริบ คือ ผู้ที่เมื่อได้สมาบัติแล้ว สมาบัตินั้นจะไม่เสื่อมไปเลยได้แก่พระอริยบุคคลทั้งหมด
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2014, 09:06:17 pm »


ภาพเปรียบเทียบครับ

ผู้คนเดินขวักไขว่

ข้อธรรมคำสอนของท่านพุทธทาส

ดังกล่าวแล้วว่ามีบุคคลพวกหนึ่งที่แสวงหาปฐมเหตุของสิ่งทั้งปวง ทั้งในทางวิทยาศาสตร์ ในทางจิตวิทยา และในทางศาสนาแต่ถึงกระนั้น ก็ย่อมมีอีกพวกหนึ่ง ที่อดจะสงสัยไม่ได้ว่า มีความจำเป็นอะไรหรือ ที่จะต้องไปรู้จักสิ่งนี้ทำนองเดียวกับไก่ ที่ไม่รู้จักพลอย พบแล้วทิ้งไปเสีย ด้วยความเข้าใจว่าไม่เห็นมีประโยชน์อะไร สู้ข้าวสารเมล็ดเดียวก็ไม่ได้ นี่เป็นการแสดงให้เห็นถึง ความแตกต่าง ของการแสวงหา ระหว่างทางโลก กับทางธรรมทางธรรมแสวงหาพลอย แต่ทางโลกแสวงหาข้าวสาร ซึ่งหมายถึง สิ่งที่มีค่าต่างกัน
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2014, 08:48:40 pm »



คงไม่ต้องบอกว่าที่ตรงนี้คือแห่งใด

ทุกท่านครับ ท่านเห็นอะไรในภาพถ่ายนี้ ณ.ตรงนี้คือ พระอารามหลวงครับ ด้านหลังมีตึกสูงทันสมัยใช่มั๊ย ? ครับ ท่านคิดอย่างไรกับภาพนี้ครับลองดูดี ๆ น่ะครับ ไม่มีอะไรใช่มั๊ย ? ครับ สำหรับภาพ ๆ นี้ ข้าพเจ้าขอสรุปสั้น ๆ ว่า ลองดูที่ใจเราครับ ตึกด้านหลังอันโอ่อ่าสวยงามตั้งตระหง่านอยู่ใจกลางกรุงเทพ ฯ เมืองฟ้าอมรเปลี่ยบเสมือนใจของท่าน แล้วท่านลองทำใจของท่านให้เหมือนพระอารามหลวงแห่งนี้ได้มั๊ย ? ท่ามกลางความเจริญของวัตถุท่านเห็นมั๊ย ? ครับว่ายังมีความ(สงบ)มั่นคงอยู่ได้

ธรรมทั้งปวงล้วนเป็นอนัตตา

๑. อาจิกฺขติ - บอก

๒. เทเสติ - แสดง

๓. ปญฺญเปติ - บัญญัติ

๔. ปฏฺฐเปติ - ตั้งขึ้นไว้

๕. วิวรติ - เปิดเผย

๖. วิภชติ - แจกให้คนอื่นรู้

๗. อุตตานี กโรติ - กระทำให้เป็นของเห็นได้ง่าย เหมือนกับหงายของที่คว่ำอยู่