ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2014, 01:40:08 pm »


ผลแห่งกรรมที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
คัดมาจากหนังสือ "หลักกรรม และ การเวียนว่ายตายเกิด
เขียนโดย วศิน อินทสระ
จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ธรรมดา โทร ๘๘๘-๗๐๒๖-๗

เรื่องชีวิตและกรรม มีความสลับซับซ้อนมากดังพรรณนามา คนที่มองชีวิตและกรรมในสายสั้น จึงไม่อาจเข้าใจชีวิตและกรรมอย่างแจ่มแจ้งโดยตลอดได้ แม้ผู้ได้ญาณระลึกชาติหนหลังได้ (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ) และได้ญาณรู้อนาคต (อนาคตตังสญาณ) แต่ได้ระยะสั้นเพียงชาติ ๒ ชาติ ก็ยังหลงเข้าใจผิดได้ เพราะเห็นผู้ประกอบกรรมชั่วในปัจจุบันบางคนตายแล้วไปบังเกิดในสวรรค์ เห็นผู้ทำกรรมดีบางคนตายแล้วเกิดในนรก เขาไม่มีญาณที่ไกลกว่านั้น จึงไม่อาจเห็นกรรมและชีวิตตลอดสายได้ ส่วนผู้มีญาณทั้งในอดีตและอนาคตไม่มีที่สิ้นสุดเช่นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสามารถเห็นกรรมและชีวิตได้ตลอดสาย ทรงสามารถชี้ได้ว่า ผลอย่างนี้ ๆ มาจากกรรมอย่างใด มีตัวอย่างแห่งกรรมมากมายที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า บุคคลนั้น ๆ ได้ประสบผลดีผลชั่วอย่างนั้น ๆ อันแสดงถึงผลกรรมที่สามารถให้ผลข้ามภพข้ามชาติ จะขอนำบางเรื่องมาประกอบพิจารณาในที่นี้

๑. ภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อจักขุบาล ท่านทำความเพียรเพื่อบรรลุมรรคผลจนตาบอดทั้ง ๒ ข้าง พร้อมกับสำเร็จเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าเป็นผลของกรรมที่เมื่อชาติหนึ่ง พระจักขุบาลเป็นหมอรักษาโรคตา ประกอบยาให้คนป่วยตาบอดโดยเจตนา เพราะคนป่วยทำทีบิดพลิ้วจะไม่ให้ค่ารักษา เรื่องนี้ปรากฏในอรรถกถาธรรมบทภาค ๑ เรื่องจักขุบาล

๒. ชายคนหนึ่ง ชื่อจุนทะ มีอาชีพทางฆ่าหมูขาย คราวหนึ่งป่วยหนัก ลงคลาน ๔ ขาร้องครวญครางเสียงเหมือนหมู ทุกข์ทรมานอยู่หลายวันจึงตาย เรื่องนี้ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท ภาค ๑ เรื่องจุนทสูกริก

๓. ชายคนหนึ่ง มีอาชีพทางฆ่าโคขายเนื้อ วันหนึ่งเนื้อที่เก็บไว้เพื่อบริโภคเอง เพื่อนมาเอาไปเสียโดยถือวิสาสะ จึงถือมีดลงไปตัดลิ้นโคที่อยู่หลังบ้านมาให้ภรรยาทำเป็นอาหาร ขณะที่เขากำลังบริโภคอาหารอยู่นั้นลิ้นของเขาได้ขาดหล่นลงมา เขาคลาน ๔ ขา เหมือนโค ร้องครวญครางทุกข์ทรมานแสนสาหัสและสิ้นชีพพร้อมกับโคหลังบ้าน เรื่องนี้ปรากฏในอรรถกถาธรรมบทภาค ๗ เรื่องบุตรของนายโคฆาต

๔. ภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อติสสะ เป็นแผลเปื่อยพุพองรักษาไม่หายพระพุทธเจ้ากับพระอานนท์ไปช่วยดูแลให้อาบน้ำอุ่น แสดงธรรมให้ฟังพระติสสะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์พร้อมกับนิพพานในวันนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าที่เป็นแผลพุพองนั้นเพราะชาติก่อน พระติสสะเป็นพรานนก จับนกขายเป็นอาหาร ที่เหลือก็หักปีกหักขาไว้เพื่อไม่ให้มันบินหนี เรื่องนี้ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท ภาค ๒ เรื่องปูติคัตตติสสะ

๕. พระนางโรหิณี ๑ พระขนิษฐาของพระอนุรุทธพระญาติของพระพุทธเจ้า ทรงเป็นโรคผิวหนังอย่างแรง ทรงละอายจนไม่ปรารถนาพบผู้ใด เมื่อพระอนุรุทธเถระมาถึงเมืองกบิลพัสดุ์ พวกพระญาติต่างก็มาชุมนุมกัน เว้นแต่พระนางโรหิณี พระอนุรุทธจึงถามหา ทราบความว่าพระนางเป็นโรคผิวหนัง พระเถระให้เชิญพระนางออกมาแล้วทรงแนะนำให้ทำบุญโดยให้ขายเครื่องประดับต่าง ๆ เท่าที่มีอยู่ แล้วนำทรัพย์มาสร้างศาลาโรงฉัน ท่านขอแรงพระญาติที่เป็นชาย ให้ช่วยกันทำโรงฉัน พระนางโรหิณีทรงเชื่อ เมื่อสร้างโรงฉัน ๒ ชั้นเสร็จแล้ว ทรงปัดกวาดเอง ทรงตั้งน้ำใช้น้ำฉันสำหรับพระภิกษุสงฆ์เอง ถวายขาทนียะโภชนียาหารแก่ภิกษุสงฆ์เป็นประจำทุกวัน โรคผิวหนังของพระนางค่อย ๆ หายไปทีละน้อยจนเกลี้ยงเกลา โรคนี้เป็นโรคที่เกิดแต่กรรม ต้องเอาบุญมาช่วยรักษา ลดอิทธิพลแห่งกรรมจนไม่มีอานุภาพในการให้ผลอีกต่อไปเหมือนคนกินยาเข้าไปปราบเชื้อโรค
วันหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จมาเสวยที่โรงฉันของพระนางโรหิณี แล้วตรัสให้พระนางทราบว่าโรคนั้นเกิดขึ้นเพราะกรรมของพระนางเอง ในอดีตกาล พระนางโรหิณีเป็นอัครมเหสีของพระเจ้ากรุงพาราณสีมีจิตริษยาหญิงนักฟ้อนคนหนึ่งของพระราชา ได้ทำเองด้วย ให้คนอื่นทำด้วย คือการเอาผลเต่าร้างหรือหมามุ้ยโรยลงบนสรีระของหญิงนักฟ้อนคนโปรดของพระราชา นอกจากนี้ยังให้บริวารเอาผงเต่าร้างไปโปรยบนที่นอนของหญิงนักฟ้อนคนนั้นอีกด้วย หญิงนักฟ้อนคันมาก เป็นผื่นพุพองขึ้นมา ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส นี่คือบุพพกรรมของพระนางโรหิณี พระพุทธเจ้าตรัสเตือนว่าพึงละความโกรธความถือตัวเสีย
เรื่องนี้ ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท ภาค ๖ เรื่องพระนางโรหิณี

๖. ในอรรถกถาสาราณียธรรมสูตร ภาค ๓ หน้า ๑๑๐–๑๑๒ เล่าไว้ว่า ในพุทธกาลมีภิกษุรูปหนึ่ง มีนิสัยชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ได้ปัจจัยอะไรมาก็แบ่งปันแก่ภิกษุอื่นเสมอ ๆ ด้วยอานิสงส์นี้ ท่านกลายเป็นผู้มีโชคดีในเรื่องลาภอย่างประหลาด ในที่บางแห่ง ภิกษุอื่นไปบิณฑบาตไม่ได้อาหารอะไรเลย แต่พอภิกษุรูปนั้นไป ปรากฏว่ามีคนมีจิตคิดทำบุญใส่บาตรให้ท่านจนเต็ม ท่านได้นำอาหารเหล่านั้นมาแบ่งให้ภิกษุอื่น ๆ จนหมด คราวหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินมีพระประสงค์จะถวายผ้าแก่พระทั้งวัดมีผ้าเนื้อดีที่สุด ๒ ผืน (คงจะเป็นผ้านุ่ง คือผ้าสบงผืนหนึ่ง ผ้าห่มคือจีวรผืนหนึ่ง) พระรูปนั้นทราบเข้าจึงพูดไว้ล่วงหน้าว่า ผ้าเนื้อดี ๒ ผืนนั้น จะต้องตกมาถึงท่านอย่างแน่นอน อำมาตย์ได้ทราบเรื่องนี้ จึงนำเรื่องไปทูลกระซิบพระราชา พระราชาเป็นผู้ถวายผ้าเอง ก็ทรงสังเกตผ้าที่วางซ้อน ๆ กันอยู่ พอมาถึงลำดับภิกษุหนุ่มรูปนั้น ก็เป็นผ้าเนื้อดีทั้ง ๒ ผืน ทั้งอำมาตย์และพระราชาต่างมองหน้ากันเป็นเชิงประหลาดใจ เมื่อทำพิธีถวายผ้าเสร็จแล้ว พระราชาเสด็จเข้าไปหาภิกษุหนุ่มรูปนั้น ด้วยเข้าพระทัยว่าพระรูปนั้นเป็นพระอรหันต์มีญาณวิเศษอย่างแน่นอน จึงตรัสถามว่าพระคุณเจ้าได้บรรลุโลกุตรธรรมตั้งแต่เมื่อไร ภิกษุหนุ่มถวายพระพรว่ายังไม่ได้บรรลุอะไรเลย แต่ที่รู้ว่าผ้าเนื้อดีจะต้องตกแก่ตนนั้นก็เพราะท่านเป็นผู้บำเพ็ญสาราณียธรรมคือการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อยู่เป็นนิตย์ ตั้งแต่เริ่มบำเพ็ญมาก็ได้ผลอย่างประหลาดอยู่เสมอ คืออะไรที่ดีที่สุด ถ้ามีการแจกกันโดยไม่เจาะจง สิ่งนั้นก็ต้องตกมาถึงท่าน พระราชาทรงชื่นชมยินดีและทรงอนุโมทนา

๗. ในคัมภีร์อปทาน(อันเป็นพระประวัติที่พระพุทธเจ้าตรัสเล่าถึงเรื่องในอดีตของพระองค์) พระไตรปิฎก เล่ม ๓๒ ตั้งแต่หน้า ๔๗๑ พระองค์ได้ทรงเปิดเผยถึงอดีตกรรมของพระองค์ อันเป็นเหตุบันดาลให้เกิดผลแก่พระองค์ในปัจจุบันมากเรื่องด้วยกัน ขอนำมากล่าวเพียงบางเรื่องดังนี้
๗.๑ ชาติหนึ่ง พระองค์เป็นนักเลงชื่อปุนาสิ กล่าวใส่ความพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าสุรภี ผู้ไม่ประทุษร้ายพระองค์เลยแม้แต่น้อยผลของกรรมนั้นทำให้พระองค์ต้องตกนรกอยู่นาน ในพระชาติสุดท้ายถูกนางสุนทรีใส่ความว่าพระองค์ได้เสียกับนาง เป็นเรื่องอื้อฉาวมากเรื่องหนึ่งในพุทธกาล
๗.๒ ชาติหนึ่ง พระพุทธองค์ได้ใส่ความสาวกของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสัพพาภิภู (พระนามของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ชื่อสาวก) สาวกนั้นชื่อนันทะ ด้วยผลกรรมนั้น พระองค์ต้องตกนรกอยู่นาน ในพระชาติสุดท้ายที่เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จึงถูกนางจิญจมาณวิกาใส่ความว่าได้เสียกับนางในพระคันธกุฎีจนนางมีครรภ์ เป็นเรื่องอื้อฉาวที่สุดในพุทธกาล
๗.๓ ชาติหนึ่ง พระองค์ทรงฆ่าน้องชายต่างมารดาเพราะอยากได้ทรัพย์เพียงผู้เดียว โดยผลักน้องชายลงซอกเขาเอาหินทุ่ม ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ในพระชาติสุดท้ายที่เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จึงถูกพระเทวทัตปองร้ายเอาศิลาทุ่ม แต่เพราะกรรมนั้นเบาบางมากแล้วจึงไม่ถูกอย่างจังถูกเพียงสะเก็ดเล็กน้อยที่นิ้วพระบาทเท่านั้น*

-http://www.dharma-gateway.com/ubasok/wasin/wasin-009.htm