ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2014, 11:07:32 am »

มพ.ร่วมอนุรักษ์พิธีสู่ขวัญควาย หวังสืบทอดประเพณีโบราณคงอยู่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    21 พฤษภาคม 2557 11:38 น.

-http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9570000056329-








การทำนาในอดีตใช้แรงงานควายในการไถนา และในขณะที่ทำการไถนานั้นเพื่อให้ควายเดินตามทิศทางที่ต้องการ ชาวนามักจะเฆี่ยนตีและ ดุ ด่า ว่ากล่าวด้วยคำต่างๆ นาๆ เมื่อไม่ได้ดังใจ เหตุนี้ เพื่อเป็นการขอขมาที่ได้ล่วงเกินควาย และเป็นการสอนให้คนรู้จักความกตัญญูรู้คุณ มีเมตตากรุณา ทั้งยังเป็นการเตือนใจให้คนระลึกถึงบุญคุณของควายที่ทำประโยชน์ให้ชาวนามากมาย จึงนำมาสู่ พิธีสู่ขวัญควาย หรือ ฮ้องขวัญควาย ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดมาหลายช่วงอายุคน เพื่อขออโหสิกรรมต่อควาย โดยจะจัดหลังฤดูหว่านไถและดำนาเสร็จ
       
       แม้ปัจจุบันควายได้ถูกใช้งานน้อยลงเพราะวิถีการเกษตรเปลี่ยนไปจากใช้แรงงานควายหันไปใช้แรงงานจากเครื่องจักรแทน การจัดพิธีดังกล่าวจึงไม่ค่อยปรากฏให้เห็นกันมากนัก เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณี พิธีสู่ขวัญควาย หรือ ฮ้องขวัญควาย ให้คงอยู่ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา จึงได้จัดโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม พิธีสู่ขวัญควาย เพื่อสร้างจิตสำนึกระลึกถึงคุณค่าของควายต่อชุมชนและเรียนรู้วิถีชีวิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงควาย และยังเป็นการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเอาไว้ รวมทั้งให้นิสิตได้เรียนรู้ ร่วมรักษา อนุรักษ์และสืบทอดประเพณีที่ดีงามต่อไปในอนาคต
       
       ดร.พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา อาจารย์สาขาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวว่า นับเป็นปีแรกของการจัดโครงการดังกล่าว และเป็นหนึ่งใน โครงการ 1 คณะ 1 โมเดล ของมหาวิทยาลัย โดยจัดร่วมกับ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงควาย บ้านสันสลี ต.เจริญราษฎร์ อ.แม่ใจ เทศบาลตำบลเจริญราษฎร์สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพะเยา ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีเชียงใหม่ และสถานีวิจัยและปรับปรุงพันธุ์สัตว์จังหวัดพะเยา ณ บริเวณพื้นที่ หมู่บ้านสันสลี ต.เจริญราษฎร์ อ.แม่ใจ จ.พะเยา ในระหว่างวันที่ 14 -15 พ.ค. ที่ผ่านมา
       
       “ในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีวิชาผลิตสัตว์เคี้ยวเอื้อง ซึ่งเนื้อหาวิชาบางส่วนเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์มีความเป็นมายังไง มีวัฒนธรรมและประเพณีอะไรที่มาเกี่ยวข้องบ้าง พิธีสู่ขวัญควายจะทำให้นิสิตได้เรียนรู้วิถีวัฒนธรรมแต่โบราณและเห็นถึงความสำคัญของควาย สร้างจิตสำนึกร่วมกันอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนของควายและผู้เลี้ยงควายให้คงอยู่กับสังคมไทยต่อไป”
       
       สำหรับกลุ่มผู้เลี้ยงควายหมู่บ้านสันสลี ต.เจริญราษฎร์ เป็นหมู่บ้านหนึ่งใน อ.แม่ใจ ที่ยังคงรักษาอนุรักษ์พันธุ์ควาย โดยมีจำนวนควายในหมู่บ้านประมาณ 300 กว่าตัว และวัวกว่า 100 ตัว นับเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่เข้มแข็งมากกลุ่มหนึ่ง โดยมีการรวมกลุ่มสมาชิกกว่า 40 ราย มีกองทุนหมุนเวียนในกลุ่ม กว่า 50,000 บาท ส่วน กลุ่มหมู่บ้านดงบุญนาค ต.บ้านเหล่า อ.แม่ใจ มีสมาชิกทั้งสิ้น 50 ราย มีควายรวมทั้งสิ้น 250 ตัว ปี พ.ศ.2553 ได้รับความอนุเคราะห์ควายพ่อพันธ์แม่พันธ์ดีจากสถาบันวิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ จ.พะเยา เพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ในการปรับปรุงพันธุ์ และทางกลุ่มได้ฟื้นฟูประเพณีดำนาและสู่ขวัญควายในปี พ.ศ.2554 แต่ไม่ได้ดำเนินการต่อเนื่อง ด้วยสาเหตุหลายประการ กระทั่งมาในปีนี้หลายฝ่ายเห็นสมควรให้ฟื้นฟูประเพณีดังกล่าวขึ้นมาอีกครั้งเพื่อสืบ สานศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทยให้คงอยู่สืบไป
       
       ดร.พยุงศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า พิธีสู่ขวัญควายจะนำเครื่องพิธี ประกอบด้วย บายศรี กรวยดอกไม้และด้ายสำหรับผูกเขาควายเวลาสู่ขวัญ หญ้าอ่อนหนึ่งหาบสำหรับเป็นรางวัลแก่ควาย ข้าวปลาอาหาร 1 กล่อง ไก่ต้มหนึ่งคู่ เหล้าหนึ่งไห ขนมหมากพลูและน้ำขมิ้นส้มป่อยสำหรับประพรมควาย มาวางบนเสื่อที่ปูไว้ในแหล่งหรือคอกควาย หลังจากนำควายไปอาบน้ำจนสะอาดแล้วให้นำไปไว้บริเวณพิธี จากนั้นก็เชิญปู่อาจารย์มาทำพิธีปัดเคราะห์ เรียกขวัญจนแล้วเสร็จเอาด้ายผูกกรวยดอกไม้ติดกับเขาควาย แล้วนำขมิ้นส้มป่อยประพรมเพื่อให้ควายอยู่สบาย พอทำพิธีเสร็จเจ้าของยกเครื่องข้าวขวัญออกไป และนำหญ้าอ่อนมาให้ควายกินเป็นเสร็จพิธี
       
       พิธีสู่ขวัญควาย หรือ ฮ้องขวัญควาย นับเป็นอีกภารกิจที่มหาวิทยาลัยพะเยาได้บูรณาการร่วมกับภาครัฐและภาคประชาชน ในการร่วมสืบทอดศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่แต่โบราณให้คงอยู่คู่สังคมไทย

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9570000056329