ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 11:41:03 am »

ศึกษา สามก๊ก เรียนรู้ "ความพ่ายแพ้" ศึกษา "ขงเบ้ง"

-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1401521266-





เมื่อเอ่ยนามของ "ขงเบ้ง" ภาพลักษณ์ที่ปรากฏมันเป็นเรื่องของกลยุทธ์ เรื่องของเสนาธิการ นักวางแผน

นั่นก็เห็นได้จาก "แถลงการณ์หลงจ้ง"

อันขงเบ้งบรรยายให้เล่าปี่ฟัง ณ เขาโงลังกั๋ง สร้างความประทับใจเป็นอย่างสูง ที่สำคัญเป็นอย่างมาก คือ เป็นการ

คาดสถานการณ์ได้อย่างแม่นยำ และถูกถ้วน

1 แยกแยะกำลังแต่ละฝ่าย

1 กำหนดแนวทางจะสามัคคีกับกำลังฝ่ายใด ทำการสัประยุทธ์ โค่นล้ม บ่อนทำลายและกำราบฝ่ายใด

ข้อเสนอคือให้สามัคคีซุนกวน พุ่งปลายหอกเข้าใส่โจโฉ

1 ความยอดเยี่ยมเป็นอย่างยิ่งก็คือ ภายหลังผ่านศึกเช็กเพ็ก หรือศึกผาแดง แผ่นดินจีนก็ได้เข้าสู่ยุคของ "สามก๊ก" อย่างเป็นจริง

ที่สำคัญก็คือ ก๊กของเล่าปี่เริ่มมีสถานะทางการเมือง

กระนั้น ผู้คนก็มักจะมองแต่ในด้าน "รุก" ทั้งทางการเมือง ทั้งการทหาร กระทั่งมองข้ามบทบาท 1 ซึ่งล้ำเลิศเป็นอย่างยิ่งของขงเบ้ง

นั่นก็คือ บทบาทใน "การถอย"



แท้จริงแล้วศึกระหว่างขงเบ้งกับสุมาอี้นั้นเหมือนกับขงเบ้งจะเป็นฝ่ายรุก เพราะเป็นฝ่ายยกกำลังจากเสฉวนไปปักหลักอยู่ที่เขากิสาน

จ่อคอหอยของราชวงศ์วุย

เหมือนกับการรุกจะเป็นจุดแข็ง แต่ต้องยอมรับว่ากำลังของขงเบ้งยกมาไกลอย่างยิ่ง ปัญหาที่ต้องประสบก็คือ เรื่องเสบียง

นั่นก็คือ เรื่องส่งกำลังบำรุง

กลยุทธ์ของสุมาอี้จึงดำเนินไปอย่างรู้เท่าทัน คือ ตั้งอยู่ในฐานที่มั่น ประวิงเวลา ไม่ยอมออก

อาศัย "เวลา" มาเป็น "อาวุธ"

เพราะยิ่งอยู่นานทัพของขงเบ้งยิ่งประสบความยากลำบาก ขวัญกำลังใจของกำลังพลรวนเรระส่ำระสาย คิดถึงบ้าน

ความพยายามของขงเบ้งคือยั่วยุให้อีกฝ่ายออกมาปะทะ

เป็นความพยายามอย่างแรงกล้ากระทั่งถึงกับส่งผ้าถุงไปให้สุมาอี้เพื่อหยามหยัน แต่แทนที่สุมาอี้จะตกเป็นเหยื่อ กลับสอบถามทหารที่เดินสารมาอย่างสุขุมเยือกเย็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ของขงเบ้งกระทั่งรู้ว่าสุขภาพของขงเบ้งไม่น่าจะดี

ที่สุด 6 ครั้งที่ยกไปยังเขากิสานของขงเบ้งจึงลงเอยด้วย "การถอย"



หลี่ปิงเอี้ยน ซุนจิ้ง นักวิเคราะห์กลยุทธ์คนสำคัญของจีนศึกษาขงเบ้งและสรุปการถอย 6 ครั้งของขงเบ้งว่าดำเนินไปอย่างชาญฉลาดยิ่ง

ครั้งที่ 1 ใช้ยุทธวิธีทำให้ฉงน ถอนตัวออกมาอย่างปลอดภัย

ครั้งที่ 2 ใช้การซุ่มตีแทงทวนสวนกลับแล้วจึงถอย

ครั้งที่ 3 ใช้กลยุทธ์ "ถอยให้ 3 ช่วง" ตีข้าศึกพ่ายยับ สามารถถอยออกจากสนามรบได้อย่างราบรื่น

ครั้งที่ 4 ใช้วิธีเพิ่มเตาถอยอย่างมีจังหวะ

ครั้งที่ 5 ดักซุ่มตีที่บอกบุ๋น ทำลายล้างข้าศึกอันไล่ตามมาและนำทัพถอยกลับไปยังเสฉวนอย่างสะดวกดาย

ครั้งที่ 6 อันเป็นการถอยครั้งสุดท้าย

เพราะขงเบ้งแพ้ภัยตนเอง ล้มตายในสนามรบยังดำเนินกลยุทธ์ "ขงเบ้งตาย ขู่สุมาอี้จนขวัญบิน"

ขงเบ้งเคยกล่าว "เมื่อคิดถึงประโยชน์ต้องคำนึงถึงผลเสีย คิดถึงความสำเร็จต้องคำนึงถึงความล้มเหลว ดังเช่นศาลา 9 ชั้น แม้สูงก็ต้องพัง ฉะนั้น ผู้เงยหน้ามองสูงอย่างละเลยเบื้องล่าง มองไปข้างหน้าอย่าละเลยข้างหลัง"

และย้ำว่า "ผู้สันทัดในการแพ้จะไม่มีวันล่มสลาย"



ผู้คนศึกษาสามก๊ก ศึกษาขงเบ้ง มักจะศึกษาและชื่นชอบในด้านชัยชนะ

กระทั่งมองข้ามด้านพ่ายแพ้

ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ชีวิตมักมี 2 ด้านวนเวียนไม่ขาดสาย เพราะเมื่อชนะก็มักฮึกเหิมกระทั่งประมาท ไม่นานต่อมาความล้มเหลวพ่ายแพ้ก็มาเยือน

ในความ "พ่ายแพ้" หากเรียนรู้ ไม่นานก็จะมีโอกาส "ชนะ" ได้





...............





(ที่มา:มติชนรายวัน 31 พ.ค.2557)