ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2014, 04:16:22 pm »

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
                   ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น

อรรถกถา วิคติจฉชาดก
ว่าด้วย ความปรารถนาไม่มีที่สิ้นสุด
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภปลายิปริพาชกผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยํ ปสฺสติ น ตํ อิจฺฉติ ดังนี้.
               ได้ยินว่า ปริพาชกผู้นั้นไม่ได้คำตอบโต้ในสกลชมพูทวีปทั้งสิ้น จึงมากรุงสาวัตถี ถามว่าใครจะสามารถโต้วาทะกับเราบ้าง ได้ฟังว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถ จึงแวดล้อมด้วยมหาชน พากันไปเชตวันมหาวิหาร ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งกำลังทรงแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัทสี่.

               ลำดับนั้น พระศาสดาทรงแก้ปัญหาแก่ปริพาชกนั้น แล้วตรัสถามว่า อะไรชื่อว่าหนึ่ง. ปริพาชกนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จึงลุกหนีไป. บริษัทที่นั่งอยู่ต่างกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ปริพาชกถูกพระองค์ข่มด้วยปัญหาบทเดียวเท่านั้น.
               พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย เรามิได้ข่มปริพาชกนั้นด้วยปัญหาบทเดียวในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนเราก็ข่มได้เหมือนกัน ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.
               ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ ในแคว้นกาสี ครั้นเจริญวัย ละกามสมบัติกามคุณออกบวชเป็นฤาษีอยู่ในหิมวันตประเทศเป็นเวลานาน ต่อมา พระโพธิสัตว์ลงจากภูเขาอาศัยหมู่บ้านตำบลหนึ่ง พำนักอยู่ ณ บรรณศาลาใกล้แม่น้ำวน.

               ลำดับนั้น ปริพาชกผู้หนึ่งไม่ได้วาทะโต้ตอบในชมพูทวีปทั้งสิ้น จึงไปถึงตำบลนั้นถามว่า มีใครบ้างหนอที่สามารถโต้ตอบวาทะกับเราได้ รู้ว่ามี ทั้งได้ฟังถึงความอาจหาญของพระโพธิสัตว์ จึงแวดล้อมด้วยมหาชน ไปยังที่อยู่ของพระโพธิสัตว์นั้น กระทำปฏิสันถารนั่งอยู่. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ถามปริพาชกนั้นว่า ท่านจักดื่มน้ำแม่คงคา มีสีและกลิ่นอบอวลบ้างไหม. ปริพาชก เมื่อจะเล่นสำนวน จึงกล่าวว่า อะไรคือคงคา คงคาทราย คงคาน้ำ คงคาฝั่งนี้ หรือคงคาฝั่งโน้น. พระโพธิสัตว์กล่าวโต้ว่า ดูก่อนปริพาชก ก็ท่านจะแยกน้ำกับทรายและฝั่งนี้ฝั่งโน้นออกเสียแล้ว จักได้คงคาที่ไหนเล่า. ปริพาชกสิ้นปฏิภาณลุกหนีไป. เมื่อปริพาชกหนีไป พระโพธิสัตว์ เมื่อจะแสดงธรรมแก่บริษัทที่นั่งอยู่ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

                         บุคคลเห็นสิ่งใด ไม่ปรารถนาสิ่งนั้น
               อนึ่ง บุคคลไม่เห็นสิ่งใด ย่อมปรารถนาสิ่งนั้น
               เราเข้าใจว่า บุคคลนั้นจักท่องเที่ยวไปอีกนาน
               อยากได้สิ่งใด ก็จักไม่ได้สิ่งนั้นเลย.

                         บุคคลได้สิ่งใด ไม่ยินดีด้วยสิ่งนั้น
               ปรารถนาสมบัติอันใด ก็ติเตียนสมบัติที่ได้มานั้น
               เพราะขึ้นชื่อว่าความปรารถนา มีอารมณ์ไม่สิ้นสุด
               เราขอกระทำความนอบน้อมแด่ท่านผู้ปราศจากความปรารถนา.

               ในบทเหล่านั้น บทว่า ยํ ปสฺสติ ความว่า บุคคลเห็นน้ำเป็นต้น ก็ไม่ปรารถนาว่าเป็นแม่คงคา. บทว่า ยญฺจ น ปสฺสติ ความว่า บุคคลไม่เห็นคงคาที่ไม่มีน้ำเป็นต้น นัยว่ายังปรารถนาแม่คงคานั้น.
               บทว่า มญฺญามิ จิรํ จริสฺสติ ความว่า ข้าพเจ้าเข้าใจอย่างนี้ว่า ปริพาชกนี้แสวงหาแม่คงคา เห็นปานนี้จักเที่ยวไปอีกนาน หรือนัยหนึ่ง เมื่อแสวงหาตนอันพ้นไปจากรูปเป็นต้น เหมือนหาแม่คงคาที่ไม่มีน้ำเป็นต้น ฉะนั้น จักเที่ยวไปในสงสารสิ้นกาลนาน แม้เที่ยวไปสิ้นกาลนาน ก็ย่อมไม่ได้แม่คงคาหรือ ตนตามที่ปรารถนา เมื่อได้น้ำเป็นต้น หรือรูปเป็นต้น ก็ย่อมไม่พอใจ เมื่อไม่พอใจในสิ่งที่ได้อย่างนี้ ปรารถนาสมบัติใดๆ ครั้นได้แล้วย่อมดูหมิ่นดูแคลนเสียด้วยคิดว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยสมบัตินี้. ตัณหาอันชื่อว่าความปรารถนานี้ มีอารมณ์หาที่สุดมิได้ เพราะดูหมิ่นสิ่งที่ได้แล้วไปปรารถนาอารมณ์อื่นๆ. ฉะนั้น บัณฑิตเหล่าใดเป็นผู้ปราศจากความปรารถนา มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เราทั้งหลายขอทำความเคารพนอบน้อมท่านบัณฑิตเหล่านั้น ดังนี้.

               พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก.
               ปริพาชกในครั้งนั้น ได้เป็น ปริพาชก ในครั้งนี้.
               ส่วนดาบส คือ เราตถาคต นี้แล.

               จบ อรรถกถาวิคติจฉชาดกที่ ๔
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=338