ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2014, 04:54:38 pm »

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
                   ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
กฏุวิยสูตร
             [๕๖๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤค-
*ทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรง
ผ้าอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังพระนครพาราณสีเพื่อ
บิณฑบาต พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ไร้ความ
แช่มชื่น มีความแช่มชื่นแต่ภายนอก หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ ไม่มี
สมาธิ มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในสำนัก
ของพวกมิลักขะ ซึ่งชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่ขายโค แล้วได้ตรัสกะภิกษุนั้น

ว่า ดูกรภิกษุ เธออย่าได้ทำตนให้เป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูง ข้อที่ว่า แมลงวัน
จักไม่ไต่ตอม จักไม่กัดตนที่ทำให้มักใหญ่ใฝ่สูง ชุ่มเพราะกลิ่นดิบนั้นแล
ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้น อันพระผู้มีพระภาคตรัสสอน
ด้วยพระโอวาทนี้ ได้ถึงความสลดใจแล้ว ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค
เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครพาราณสี ในเวลาภายหลังภัต เสด็จกลับ
จากเที่ยวบิณฑบาตแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเช้านี้ เรานุ่งผ้าอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังพระนครพาราณสี

เพื่อบิณฑบาต เราได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งผู้ไร้ความแช่มชื่น มีความแช่มชื่นแต่
ภายนอก หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ ไม่มีสมาธิ มีจิตกวัดแกว่ง
ไม่สำรวมอินทรีย์ กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในสำนักของพวกมิลักขะ ซึ่งชุม
นุมกันอยู่ ณ สถานที่ขายโค ครั้นแล้ว เราได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า ดูกร
ภิกษุ เธออย่าได้ทำตนให้เป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูง ข้อที่ว่าแมลงวันจักไม่ไต่
ตอม จักไม่กัดตนที่ทำให้มักใหญ่ใฝ่สูง ชุ่มเพราะกลิ่นดิบนั้นแล ไม่เป็น

ฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้นอันเราสอนด้วย
โอวาทนี้ ได้ถึงความสลดใจแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ ภิกษุรูปหนึ่ง
ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมักใหญ่ใฝ่สูงคืออะไร กลิ่นดิบ
คืออะไร แมลงวันคืออะไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ความ
มักใหญ่ใฝ่สูง คือ อภิชฌา กลิ่นดิบ คือ พยาบาท แมลงวัน คือ วิตกที่
เป็นบาปเป็นอกุศล ดูกรภิกษุ ข้อที่ว่า แมลงวันจักไม่ไต่ตอม จักไม่กัดตนที่ทำ
ให้มักใหญ่ใฝ่สูง ชุ่มเพราะกลิ่นดิบนั้นแล ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ

                          แมลงวันคือความดำริที่อิงราคะ จักตอมบุคคลผู้ไม่คุ้ม
                          ครองในจักษุและโสต ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ภิกษุ
                          ผู้ทำตนให้เป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูง ชุ่มเพราะกลิ่นดิบ ย่อม
                          อยู่ห่างไกลจากนิพพาน เป็นผู้มีส่วนแห่งความคับแค้นถ่าย
                          เดียว คนพาลสันดานเขลา ถูกแมลงวันทั้งหลายไต่ตอม
                          ไม่ได้เพื่อนที่เสมอตน พึงเที่ยวไปในบ้านบ้าง ในป่าบ้าง ส่วน
                          ชนพวกที่สมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีในธรรมเป็นที่เข้าไปสงบด้วย
                          ปัญญา เป็นผู้สงบระงับ อยู่เป็นสุข แมลงวันไม่
                          อาศัยเขา ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐
บรรทัดที่ ๗๓๖๙ - ๗๔๐๕.  หน้าที่  ๓๑๕ - ๓๑๗.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=7369&Z=7405&pagebreak=0