ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2014, 06:59:50 pm »




สาธุ สาธุ สาธุ ครับ พี่ แป๋ม


:45: :45: :45:


:17: :17: :17:


[spoiler]http://www.youtube.com/watch?v=MZrVDYVcEgE[/spoiler]
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2014, 05:54:47 pm »

อิริยาบถปิดบังทุกขลักษณะ
อิริยาบถ คือ รูปแบบกิริยาการกระทำต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การแล การเหลียว เป็นต้น.การเปลี่ยนอิริยาบถนั้นบางครั้งก็อาจทำเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด แต่โดยมากแล้ว เราเปลี่ยนเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยที่ยังไม่ต้องเกิดความทุกข์ความเจ็บปวดขึ้นมาก่อนก็ได้ เช่น นั่งสมาธิ เดินจงกรม เป็นต้น อิริยาบถเป็นการเปลี่ยนแปลงของรูปคล้ายกับวิญญัตติรูป ดังนั้น ท่านจึงระบุไว้ในตอนท้ายของอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรและฎีกาว่า "ไม่พึงพิจารณาตั้งแต่เพิ่งเริ่มต้นกำหนด " ส่วนเหตุผลท่านก็ให้ไว้เหมือนกับอสัมมสนรูป นั่นคือ เพราะเป็นเพียงความเปลี่ยนแปลงของรูป ไม่ใช่สภาวะธรรมโดยตรงจึงไม่ควรกำหนดนั่นเอง.

อิริยาบถที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดทั้งวันนี้ จะทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า ขันธ์ 5ไม่ได้บีบคั้นบังคับตัวเองให้ต้องเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ทั้งที่ความจริงแล้ว แม้ขณะที่เราเปลี่ยนอิริยาบถอยู่โดยไม่ได้เป็นเพราะความเจ็บปวด เช่น เดินจงกรม นั่งสมาธิ เป็นต้น ตอนนั้นขันธ์ 5 ก็ล้วนบีบคั้นบังคับตนเองให้ต้องเปลี่ยนแปลงแตกดับเสื่อมสลายไปเป็นปกติทั้งสิ้น. ในคัมภีร์ท่านจึงกล่าวไว้ว่า "อิริยาบถปิดบังทุกลักษณะ" เพราะทุกขลักษณะเป็นเครื่องกำหนดความบีบคั้นให้เปลี่ยนไปของขันธ์ 5 ที่ล้วนบีบคั้นบังคับตัวเองอยู่เป็นนิจ ซึ่งตรงกันข้ามกับอิริยาบถที่เมื่อเปลี่ยนแล้ว ก็ทำให้สุขต่อกันไปจนไม่รู้ตัวเลยว่า ขันธ์ 5 กำลังบีบคั้นขันธ์เองวินาทีละนับครั้งไม่ได้. การที่ยังพิจารณาทุกขลักษณะว่า "ขันธ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น (โดยมุ่งถึงความเบียดเบียนบีบคั้น) ไม่บ่อย ไม่ต่อเนื่อง หรือเพิ่งเริ่มกำหนด จึงยังไม่เกิดความชำนาญ ทุกขลักษณะที่กำหนดอยู่ก็จะไม่ชัดเจน ไม่เข้าใจกระจ่างเท่าไหร่อิริยาบถจึงยังมีอำนาจรบกวนไม่ให้กำหนดทุกขลักษณะได้ชัดเจนแจ่มแจ้ง.

สำหรับวิธีการจัดการกับอิริยาบถไม่ให้มีผลกับการกำหนดทุกขลักษณะนั้นไม่มีวิธีการโดยตรง เพราะถ้าไม่เปลี่ยนอิริยาบถ หรือ อิริยาบถไม่สม่ำเสมอก็อาจป่วยได้ ซึ่งจะกลายเป็นการซ้ำร้ายลงไปอีก ทั้งยังจะทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ทำให้อยู่ร่วมกับสังคมไม่ได้ไม่ว่าจะสังคมโยม หรือสังคมพระภิกษุก็อยู่ไม่ได้เหมือนๆกัน. แต่ท่านก็ยังคงให้พิจารณาทุกขลักษณะแบบเดิมเป็นต้นว่า "ขันธ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"ดังนี้ โดยมุ่งถึงความเบียดเบียนบีบคั้น ต่อไป โดยทำให้มาก ให้ต่อเนื่อง ให้บ่อยครั้งเข้า ทุกขลักษณะก็จะปรากฏชัดขึ้น และอิริยาบถแม้จะยังมีอยู่ตามเดิม แต่ก็จะไม่มีอำนาจปกปิดทุกขลักษณะ หรือ ทำให้ทุกขลักษณะไม่ชัดเจนอีกต่อไป.

อนึ่ง อิริยาบถไม่ได้ปิดบังปิดบังทุกขัง เพราะทุกขัง คือ ขันธ์ 5 ซึ่งขันธ์ 5 ที่เป็นโลกิยะโดยมากแล้วใคร ๆ แม้ที่ไม่ได้ศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็สามารถจะเห็นได้ ดังที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรว่า "กามํ อุตฺตานเสยฺยกาปิ ทารกา ถญฺญปิวนาทิกาเล สุขํ เวทยมานา สุขํ เวทนํ เวทยามาติ ปชานนฺติ น ปเนตํ เอวรูปํ ชานนํ สนฺธาย วุตฺตํ - ความจริงแล้ว แม้แต่พวกทารกแบเบาะมีความสุขอยู่ในเวลาขณะที่ดื่มนม ก็ย่อมรู้ชัดอยู่ว่า เรามีสุขเวทนา (คือ รู้ตัวว่ากำลังมีความสุข) อยู่ ดังนี้ แต่การรู้อย่างนี้ท่านไม่ได้ประสงค์เอา (ในการเจริญสติปัฏฐาน) "ดังนี้[14]. ดังนั้นไม่ว่าเราจะขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถหรือจะไม่กระดุกกระดิกเปลี่ยนอิริยาบถใดๆเลยก็ตาม แต่หากไม่มนสิการถึงทุกขลักษณะว่า "ขันธ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น (โดยมุ่งถึงความเบียดเบียนบีบคั้น) เราก็จะไม่สามารถเห็นทุกขลักษณะได้เลย. ฉะนั้นในวิสุทธิมรรคฎีกาท่านจึงกล่าวไว้ว่า "อิริยาบถเหมือนปิดบังทุกข์"เท่านั้น ไม่กล่าวว่า "อิริยาบถปิดบังทุกข์" เพราะอิริยาบถทำให้สุขเวทนาเกิดต่อเนื่องจึงไม่ได้รับทุกขเวทนาเท่านั้น แต่อิริยาบถไม่ได้ปิดบังทุกข์คือขันธ์ 5 แต่อย่างใด ส่วนสิ่งที่ปิดบังทุกข์ คือ ขันธ์ 5นั้นก็คือ อวิชชานั่นเอง.

http://th.wikipedia.org/wiki/ไตรลักษณ์

************************************************

สมมติก็คือวัตถุธรรมภายนอกที่เราไปรับรู้เข้า
เมื่อรับรู้แล้วมันจึงเปลี่ยนเป็นปรมัตถ์(อารมณ์)
แต่เรายังเข้าใจว่ามันเป็นวัตถุธรรมหรือสมมตินั้นอยู่
นี่คือการมองเห็นธรรมที่ผิดจากความเป็นจริง
ส่วนบัญญัติ
ไม่เกี่ยวกับสภาพธรรมมันเป็นเพียงชื่อหรือพยัญชนะ มีไว้เพื่อสื่อสารกัน
..
..
 "สัพพโลเกอนภิรตสัญญา"ให้ฟัง คำๆนี้มีความหมายว่า.....
ความยินดียินร้ายเรื่องต่างๆในโลกคือสัญญา ซึ่งสัญญาที่ว่า เป็นสัญญาขันธ์
--------.......
นั้นก็คือ......ต้องรู้ว่า อะไรเป็นสมมติบัญญัติ และอะไรเป็นปรมัตถบัญญัติ

"สัพพโลเกอนภิรตสัญญา" ที่กล่าวไว้ในพระสูตร ล้วนเป็นสมมติบัญญัติ
แล้วอะไรคือปรมัตถบัญญัติของ "สัพพโลเกอนภิรตสัญญา"ก็ต้องไปดูที่พระอภิธรรมครับ
นั้นก็คือ สัญญาขันธ์(ในขันธ์ห้า)
--...
๑. สัจฉิกัตถะ สภาวะที่จริงแท้.
๒. ปรมัตถะ อรรถอันยิ่ง อันอุดม อันไม่ต้องยึดถือด้วยอาการมีการฟังตามกัน
มาเป็นต้น ทั้งนี้ หมายถึงสภาวธรรมที่จำแนกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒
ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ รวม ๕๗ อย่าง.
๓. นิคคหะ การข่ม การปราบปราม.
--...
เนื้อหาพระอภิธรรมปิฎกถูกถอดความมาจากพุทธพจน์โดยตรง
แต่อภิธัมที่เป็นตำรา เกิดจากการแต่งขึ้นตามทิฐิของผู้ประพันธ์ อาทิเช่น
อภิธัมมัตถสังคหะของ พระอนุรุธฯเป็นต้น
--...
วกเข้ามาที่ประเด็นว่าอะไรเป็น สมมติและอะไรเป็นปรมัตถ์
ในพระอภิธรรมกถาวัตถุ ท่านกล่าวชี้ชัดให้เห็นเลยว่า
อะไรเป็นปรมัตถ์ธรรม ก็คือ....
ขันธ์ ๕
อายตนะ ๑๒
ธาตุ ๑๘
อินทรีย์ ๒๒
นอกเหนือจากที่กล่าวนี้ เป็น สมมุติและบัญญัติ
--...
ปรมัตถ์ธรรม คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
รู้ได้เฉพาะตน เป็นปรมัตถ์
บอกต่อผู้อื่น เป็นบัญญัติและสมมุติ
---...
51863.โลกแห่งการสมมุติบัญญัติ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=51863

23054.วิธีตามรักษาสัจจะ และวิธีรู้ตามสัจจะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=23054&p=116704#p116704


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2013, 04:26:17 pm »



สติ อันเป็นยอดแห่งธรรมทั้งหลาย
 
"สติ"
เกิดขึ้นได้ด้วยเหตุ 16 ประการ โดย.พระนาคเสน
1.สติเกิดจากตัวผู้รู้ เช่น การระลึกชาติ
2.สติเกิดจากมีการกระตุ้นเตือน เช่น ผู้หลงลืมมีผู้อื่นเตือนก็ระลึกได้
3.สติเกิดจากอาศัยนิมิตที่สำคัญ เช่น ประสบเหตุอันยิ่งใหญ่ในชีวิต
4.สติเกิดจากประทับใจในสุข

5.สติเกิดจากประทับใจในทุกข์
6.สติเกิดจากการใด้เห็นสิ่งคล้ายกัน เช่นเห็นประกายแก้วแพรวพราวก็ระลึกถึงองค์พระ
7.สติเกิดจากการใด้เห็นสิ่งแตกต่างกัน เช่น เห็นสีแดงตัดกับสีดำ
8.สติเกิดจากคำตักเตือน การรู้ สำผัส เห็นได้ยิน ซ้ำ ๆ

9.สติเกิดจากเครื่องเตือน หรือ เห็นซ้ำ ๆก็จำได้
10.สติเกิดจากการสังเกตุของตนเอง
11.สติเกิดจากการท่อง คำนวน การนับ
12.สติเกิดจากวินัยหรือหลักวิชา เช่น รู้ศีล 5 เห็นคนตบยุงก็เกิดสติจำได้

13.สติเกิดจากการพัฒนาจิตตามหลักภาวนา เช่นกรรมฐาน 40 กอง
14.สติเกิดจากการอ้างตำรา เช่น เปิดตำราก็จำได้ว่าเคยได้อ่าน
15.สติเกิดโยงใยเหตุการณ์ ก็เป็นเหตุให้เกิดสติ
16.สติเกิดจากความทรงจำ เช่น เห็นบุคลก็จำได้

สติ 4 ขั้น
1.จูฬสติ สติเบื่องต้นตามธรรมชาติ มีในคนและสัตว์
2.อนุสติ (สติเกิดบ่อยๆจึงมีชื่อว่าอนุสติ)สติขั้นการเจริญสติ เช่น อนุสติ 10 อสุภะ 10 กสิน 10 อรูปฌาณ 4
3.มัชฌิมสติ สติขั้นกลางคือการพัฒนาสติ
4.มหาสติ สติระดับมรรค-ผล ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป

สติ2ระดับ
1.สติระดับสัญชาติญาณ สามารถควบคุมการกระทำทางกายให้เป็นไปตามอำนาจของตน ซึ่งทุกคนมีตามธรรมชาติมากน้อยต่างกัน
2.สติระดับการฝึกฝนเรียนรู้ เป็นสติของผู้ฝึกสมถะ วิปัสนา แบ่งเป็น สติโลกียะ และสติโลกุตระ

สติจำแนกตามกาล
1.ในอดีต สติ หมายถึง การจำ การระลึกได้
2.ในปัจจุบัน สติ หมายถึง การรู้ตลอดสายในกายและจิตตามจริงเป็นปัจจุบัน
3.ในอนาคต สติ หมายถึง เจตนา ตั้งใจ ประสงค์จะกระทำ

สติ ย่อมมีปัญญาประกอบ3ประการ
1.ปัญญาในการเรียนรู้ จากการฟังคิด อ่าน เขียน
2.ปัญญาการไตร่ตรอง หาเหตุผล แก้ปัญหา
3.ปัญญา แห่งสัจจะธรรมของ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา

สติตามคำพระบรมครู
พุทธองค์ทรงตรัสว่า
"สติเป็นสิ่งที่ยืนหยัดตั้งมั่น เพื่อขจัดทุกข์ทั้งมวลที่เวียนว่ายตายเกิดกันอยู่ให้หลุดพ้นออกไป"
พระไตรปิฏก
สติตั่งมั่นในไม่ฟั้นเฟือนในฌาณ1 มีสติสัมปชัญญะในฌาณ2 มีสติตั้งอยู่เป็นสุขในฌาณ3 มีสติบริสุทธิในฌาณ 4
ม.มู 12/47/29
พระธรรมปิฎก
สติ คือ ความระลึกได้ นึกได้ ความไม่เผลอการควบคุมใจไว้กับกิจหรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้องจำการที่ทำคำที่พูดไว้เนิ่นนานได้
สติสัมปชัญญะ รู้ตัวรู้การกระทำในขณะนั้น ๆ ส่งผลให้พฤติกรรมเป็นไปด้วยปัญญา และเหตุผลที่บริสุทธฺ

หลวงปู่มั่น "สติ สำคัญสำหรับทำความเพียรและสติคือความเพียร"
หลวงตามหาบัว "ขาดสติการใดการนั้นเรียกขาดความเพียร"
หลวงพ่อชา สุภัทโธ "การปฏิบัติตนเป็นปรกติตามธรรมชาติมีสติระลึกรู้อยุ่เสมอปัญญาเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติจากการมีสติทุกอิริยาบท"
หลวงพ่อจรัล วัดอัมพวัน "สติมีการทำงานอยู่ 3 ระยะ 1.สติตัวต้นระลึกก่อน 2.สติตัวกลางรู้ตัวกำหนดสติสัมปชัญญะ 3.สติตัวปลายคือปัญญา"

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย "ทำจิตให้มีสิ่งรู้สิ่งระลึก จิตนึกถึงสิ่งใดให้มีสติกำกับเข้าไปเมื่อจิตมีสิ่งรู้สิ่งระลึกเขาจะมีพลังงานเพิ่มขึ้น"
หลวงพ่อเปลี่ยน ปัญญาธีโป "เราฝึกสมาธิไม่ได้ก็คือ สติเรามันอ่อนมันไม่รวดเร็วมันระลึกไม่เร็วรู้ไม่เร็วไม่เท่าทันจิต"
หลวงปู่เทสก์ เทสรังษี "สติคุมจิตให้อยู่ในอำนาจของบริกรรม พุทโธ..สิ่งไม่ถูกกำหนดหายไปสิ้น ตั้งสติให้แน่วแน่ในอารมณ์เดียวจนจิตรวมเป็นหนึ่ง"
หลวงพ่อลี วัดอโศการาม "รอบคอบด้วยสติ มั่นคงด้วยสมาธิเกิดปัญญารู้แจ้งถูกผิด"

หลวงปู่ขาว อนาลโย "สติทำอะไรไม่ผิดพลาดกุศลธรรมทั้งหลาย คุณความดีทั้งหลาย เกิดขึ้นได้เพราะบุคคลมีสติอย่างเดียว"
หลวงปู่หลุย "เอาสติรักษาจิตให้มั่นจะเกิดอัศจรรย์ในจิต สิ่งที่ไม่รู้ก็รู้ขึ้นมา"
หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ "สติ มาจากรากศัพย์บาลี แปลว่า แล่น ๆขนส่งความรู้ความจำ"
หลวงพ่อพระราชพรหมญาณ "ขอเพียงให้ กำหนดรู้ลมเข้า กับรู้ลมออก คือ เอาสติเข้าไปคุมไว้ คำว่าสติเป็นภาษาบาลี ถ้าฟังแล้วรู้สึกอึดอัด เราก็จะใช้ว่ารู้ ๆ แค่นี้ จะสบายกว่า ตัวรู้นี่ก็คือตัวสติพระพุทธเจ้าทรงให้ฝึกเฉพาะสติก่อนเท่านั้น ยังไม่เข้าถึงสัมปชัญญะ ซึ่งก็อยู่ในกายานุปัสสนามหาสติปัฏฐานเหมือนกัน แต่ให้ทำตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนก็แล้วกัน
สายาดอ อูบัณฑิต "สติ หมายถึง พลังแห่งการเฝ้าสังเกต"

-http://board.palungjit.com/f10/%E0%B8%A ... 27503.html
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44418&start=15

**********************************************

ปริญญา แปลว่า การกำหนดรู้
๑. ญาตปริญญา ....กำหนดรู้ด้วยการรู้
๒. ตีรณปริญญา ....กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา
๓. ปหานปริญญา....กำหนดรู้ด้วยการละเสีย.

ที่มาของคัมภีร์ : ขุ. มหา. ๒๙/๖๐.
>>> อุบาสก ผู้หนึ่ง /28 กันยายน56
****************************

พุทธพจน์ห้ามเอาไปแปล รู้จักหรือเปล่าพุทธพจน์น่ะ

พุทธพจน์มันหมายถึงปรมัตถบัญญัติ ไอ้ที่ยกมาท่านเรียกว่า....พุทธวจนะ
ในบทพุทธวจนะ มีทั้งสมมติบัญญัติและปรมัตถบัญญัติ

สมมติบัญญัติซึ่งมันเป็นบาลีสามารถเอาไปแปลเป็นไทยได้ แต่ปรมัตถ์บัญญัติห้ามเอาไปแปลเป็นไทย
ปรมัตถ์บัญญัติเราต้องรู้แจ้งด้วยตัวเอง นั้นก็คือรู้ตามสภาวธรรม...
--------------------
 เราต้องพิจารณาพุทธพจน์นั้นให้เกิดเป็นสภาวธรรม
นั้นหมายความว่า ปฏิบัติให้เห็นความเป็นจริงต่อพุทธพจน์นั้น

อย่างเช่น...ขนฺตี คำนี่ ถ้าเราไปแปล... ขันติ คือความอดกลั้น
จากความหมายที่เป็นปรมัตถ์ มันจะกลายเป็นสมมติบัญญัติทันที มันใช้ไม่ได้

หลักการแท้ๆนั้น เราต้องทำให้ปรมัตถ์บัญญัติ เป็นปรมัตถ์
หรือทำบัญญัติให้เป็นสภาวธรรม

อาจถามว่า แล้วเราจะบอกผู้อื่นได้อย่างไร นั้นก็พูดไปตามจริงว่า
เราเห็นและเข้าใจสภาวธรรมตัวนั้นอย่างไร ไม่ใช่ไปเอามาจากพจนานุกรม

ในพจนานุกรม บอกว่าขันติคือความอดทนอดกลั่น ในสภาพของจิตมันมีซ่ะที่ไหนกัน
สภาพของจิต มีแต่กระบวนการขันธ์ห้า มีแต่จิต เจตสิก รูป

ขันติที่เป็นปรมัตถ์หรือสภาวะ ก็คือการที่จิตไประลึกรู้สภาพธรรม เพื่อมาดับอกุศล
พูดง่ายๆมันก็คือสตินั้นเอง

--------------------------------------------
ไม่ให้แปล หมายความว่า.......อย่าเอาปรมัตถ์บัญญัติไปแปล ไม่ใช่ไม่ให้แปลสมมติบัญญัติที่เป็นบาลี
พูดง่ายๆคือ ห้ามเอาปรมัตถ์บัญญัติที่เป็นบาลีไปให้ความหมายเอาเองตามภาษาไทย

-----....ถ้า เห็นบทพระไตรปิฏกที่เป็นบาลี --- ต้องไปเทียบกับ
พระไตรปิฎกที่เป็นภาษาไทย ในพระไตรปิฎกที่เป็นภาษาไทยท่านไม่ได้แปลปรมัตถ์บัญญัติ
แต่ที่เราเห็นเนื้อหาไทยยาวๆ นั้นเป็นเพราะท่านอธิบายในส่วนที่เป็นสมมติบัญญัติ

----ดูให้ดีจะเห็นว่า ในพระไตรปิฎกจะคงความเป็นปรมัตถ์บัญญัติเอาไว้
อาจจะเพี้ยนรูป แต่ยังคงเสียงเดิมเอาไว้ เช่นขนฺตี เขียนเป็น ขันติ
[47276.สาระของโอวาทปาฏิโมกข์]
******************************************

ความสำคัญของการภาวนาหรือการปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธเจ้า
นั้นคือการดำเนินชีวิตแบบมีสติในเบื้องต้น และการมีอินทรีย์๕ในเบื้องปลาย

ดังนั้นการปฏิบัติที่แท้ ไม่ใช่การนั่งจมแช่อยู่กับความว่าง
ตรงข้ามการปฏิบัติที่ถูกต้องคือการ ทำให้จิตมีความคล่องแคล้วฉับไว
ควรค่าแก่การงาน ซึ่งการทำให้จิตมีลักษณะนี้ได้ ก็ต้องอาศัยอินทรีย์๕
นั้นก็คือ.......................ศรัทธา....วิริยะ....สติ..ปัญญา....สมาธิ

จขกทรู้หรือไม่ว่า....สมถะมีลักษณะอย่างไร
และสมาธิแท้ๆที่พระพุทธองค์ทรงสอนเป็นอย่างไร
จขกทรู้หรือเปล่าว่ากำลังเข้าใจผิด โดยคิดว่า สมาธิของฤษีเป็นสมาธิที่พระพุทธองค์ทรงสอน
-------------......................

การทำวิปัสสนาจะไม่สามารถทำในขณะที่อยู่ในฌานได้
จะต้องถอนออกมาจากฌานเสียก่อน ทำแบบนี้จึงจะเป็นแบบที่พระพุทธองค์ทรงสอน
ที่พูดมาเอามาจากประสบการณ์ และถามว่าทำไมถึงรู้
ก็จะบอกให้ ประสบการณ์การเห็นไตรลักษณ์ของผม มาจากการเจริญสติ
การให้จิตมีความคล่องแคล้วฉับไว ทันต่อสิ่งที่มากระทบ
------------................
วิปัสสนาก็คือการคิด
การพิจารณาธรรมจะต้องอาศัยมโทวาร เราต้องใช้มโมทวารเป็นผู้พิจารณาธรรม
แต่มันไม่ใช่มีแต่มโนทวาร ในการใช้มโนทวารพิจารณาธรรม ยังต้องอาศัยการนึกด้วย
เราต้องนึกระลึกถึงปัญญาหรือสภาวธรรมที่เราไปจดจำมา เอามาพิจารณาธรรมร่วมด้วย
----------...................
คนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ คนนั้นจะต้องรู้ผิดและรู้ถูกไปในคราวเดียวกัน
และจะรู้ผิดรู้ถูกได้ เขาจะต้องเคยผ่านการกระทำนั้นมาแล้ว
----------.................
การได้มาซึ่งญาน เราจะต้องปฏิบัติด้วยวิธีการทำ สมถะและวิปัสนาควบคู่กันไป
การทำฌานไม่ใช่หนทางแห่งญาน ผู้ที่ทำฌานจะได้มาซึ่งญานนั้น จะต้องเปลี่ยนฌานให้
มาเป็นวิปัสสนาเสียก่อน จึงจะสามารถเห็นญานได้
-------------....................
ผู้มีประสบการณ์ เขาสามารถกล่าวในสิ่งที่เขาพบเจอมา โดยไม่ต้องไปอิงแอบกับตำราเล่มใด
การอ้างตำรายิ่งเป็นตำราที่ไม่ใช่พุทธพจน์ นั้นหาใช่ประสบการณ์ไม่ มันก็แค่การอ่านตำรา
---------------.......................
เป็นเพราะยังขาดความเข้าใจเรื่องลักษณะของจิต
จิตปรุงแต่งก็เข้าใจไปว่าเกิดสิ่งผิดปกติขึ้นที่จิต ซึ่งในความเป็นจริง
มันเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย

เรื่องทุกเรื่องที่เกิดขึ้นที่จิต มันเป็นเพราะจิตไปรับรู้ความคิด
นั้นคือเอาความจำในอดีตมาคิด แล้วก็ปรุงแต่งซ้ำลงไป

คนที่เข้าใจเรื่องสภาวะ เข้าใจคุณสมบัติของจิตดีแล้ว
จะไม่มีอาการต่างๆเหล่านี้ อาจจะมีบ้างก็คือ รู้สึกมีการกระทบขึ้นที่ทวารใดทวารหนึ่ง
เพียงแค่นั้น และสิ่งที่.. เข้าใจว่า เป็นเวทนานั้น แท้จริง จิตไปอยู่ตรงส่วนที่มีการกระทบ
ทางกาย แต่ไม่ได้รู้ว่าเกิดการกระทบ แต่ไปรู้อาการของจิตที่เกิดการกระทบนั้น

เรื่องที่ .. ยกมาไม่ได้เกี่ยวกับทุกข์ มันเป็นเรื่องของผู้ยังไม่รู้ทุกข์
นั้นหมายความว่า ......ยังหลงเข้าใจว่า เวทนาคือทุกข์
-----------------------.......................
ศาสนาพุทธเน้นเรื่องศรัทธา ศรัทธากับความเชื่อแตกต่างกัน
ศรัทธาประกอบด้วยปัญญา มีเหตุมีผล ส่วนความเชื่อนั้นไม่ประกอบด้วยปัญญา
------------------..................................
ปริเฉทนั้นน่ะ มันเป็นปริยัติโดยตรงเลย ความหมายก็คือ
การแบ่งเนื้อหาที่เป็นปริยัติไว้เป็นตอนๆ
-----------------.....................
.. บันไดขั้นที่หนึ่ง .....
หมั่นเจริญสติเพื่อให้เกิดปัญญา การจะปฏิบัติในเรื่องอริยมรรคมีองค์๘
มันไม่สามารถทำได้ถ้ายังขาดปัญญา
ปัญญาที่ว่าคือ การได้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของอารมณ์เสียก่อน
... การนั่งทำฌานอย่างเดียวไม่สามารถเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้
-----------------................
หลงเข้าใจไปว่า แยกรูปแยกนาม เป็นปาฏิหาร
ในความเป็นจริงมันไม่ใช่ มันก็แค่การที่จิตมีความเป็นสัมปะชัญญะ
คล่องแคล้วต่อการตามรู้ต่อสิ่งที่มากระทบ โดยเฉพาะที่มโนทวาร

รูปคือทวารทุกทวาร นามคือจิตผู้รู้ก็คือวิญญานนั้นเอง

สรุปให้ฟังง่ายๆ ก็คือ การที่จิตทันต่อสิ่งที่มากระบบ นั้นก็คือการแยกรูปแยกนามแล้ว
รวมถึงจิตผู้รู้และสิ่งที่ถุูกรู้(รูปหรือทวาร)

-----------------------..........................................
ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันเป็นเพียงสภาวะเดียว
แต่ในสภาวะเดียวนั้น มีความหมายได้สามอย่าง
... ... ... ... ..........
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันเป็นสภาวะเดียว
-----------------.............
สติเป็นสภาวะที่......ระลึกรู้
การระลึกรู้ไม่ได้หมายถึงรู้ปัจจุบันอารมณ์
หน้าที่ของการรู้ปัจจุบันอารมณ์คือ......จิต(วิญญาน)

สติเป็นอาการของจิต ที่ไปรู้สัญญา(อดีด) สติไม่ใช่รู้ปัจจุบันอารมณ์
ตัวที่รู้ปัจจุบันอารมณ์คือ......จิตหรือวิญญาน ... ...

สภาวะธรรมภายในกายใจเรา ไม่ว่าจะเกิดสภาวะใดขึ้น
ก็ต้องนับว่า สภาวะนั้นคือ ปัจจุบันอารมณ์
ต่อให้เกิดความหลงหรือโมหะ ก็ต้องนับโมหะเป็นปัจจุบันอารมณ์

---------------------------------....................
สัมมาสังกัปปะเป็นหลักของการปฏิบัติในการดับอวิชา ไม่ใช่การทำฌาน
การทำฌานเพียงอย่างเดียวไม่สามารถดับอวิชาได้

ความเป็นสัมมาสังกัปปะ นั้นก็คือ การใช้ปัญญาลงไปพิจารณาธรรมเพียงให้เห็นถึง
ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ถ้าไล่ลำดับของไตรสิกขา ในส่วนของอธิปัญญา จะต้องเกิดปัญญา(ไตรลักษณ์)เสียก่อน
เราจึงจะเอาปํญญาตัวนี้มาพิจารณาธรรมให้เกิดเป็นสัมมาสังกัปปะได้
-----------------------..............................
ผู้ที่มีปัญญาเห็นสภาวะธรรมแล้วเท่านั้น จึงจะรู้ว่าในความหมายของรูปนาม
มันไม้ได้แยกออกจากกัน เพียงแต่มันเป็นเรื่องของสังขาร เป็นเรื่องของจิต
จิตมีลักษณะเกิดขึ้นและดับไปในทันทีทันใด อาการของจิตหรือเจตสิกก็เช่นกัน
จะต้องเกิดพร้อมกับจิตและดับพร้อมกับจิต

จิตเป็นลักษณะสองอย่าง นั้นก็คือเป็นตัวรู้และเป็นอาการของจิต
จิตตัวรู้กับจิตที่เป็นอาการของจิต จะเกิดพร้อมกันไม่ได้
เพราะจิตเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป....ทีละดวง

จิตจะรู้อาการของจิตได้ จะต้องให้จิตที่เป็นอาการของจิตดับไปเสียก่อน จึงจะเกิดจิตตัวรู้
จิตตัวรู้ก็คือ รู้อาการของจิตตัวที่ดับไป

ดังนั้นความหมายของการแยกรูปแยกนาม มันไม่ใช่การที่รูปและนามแยกออกจากกัน
--------------------...............................
ในสาระสำคัญที่เป็นวิชชาแท้ๆ
สภาวธรรมตัวนั้นก็คือ........สังขตธรรม
สังขตธรรมก็คือไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์เป็นลักษณะของสังขาร
ไตรลักษณ์ไม่ใช่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
แต่ไตรลักษณ์เป็นเหตุให้เกิด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ในความเป็นไตรลักษณ์ก็คือลักษณะของสังขาร นั้นก็คือ....การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
สภาวะแท้ๆของไตรลักษณ์จึงมีสาม....เกิด ตั้งอยู่ ดับไป

แต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สภาวะอนิจจังไม่มี สภาวะทุกขังไม่มี และสภาวะอนัตตาไม่มี
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นกฎแห่งธรรมชาติ เป็นธรรมฐิติ ธรรมนิยาม(กรุณาไปดูพระไตรปิฎกเพิ่มเติม)
เมื่ออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นกฎแห่งธรรมชาติ แต่จิตไปรู้กฎแห่งธรรมชาตินี้เข้า
สภาวะที่เกิดขึ้นมันจึงเป็น........สภาวะที่เรียกว่า ปัญญา

ปัญญาเป็นอาการของจิต ที่เกิดขึ้นโดยเป็นสภาวะเดี่ยว ไม่มีสอง สาม สี่

สรุป เหตุให้เกิดคือไตรลักษณ์มีสามคือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ผลก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปัญญามีเพียง...หนึ่ง
-------------------------.......................................
{คำว่าไตรลักษณ์ เป็นบัญญัติที่สร้างขึ้นใหม่โดยครูบาอาจารย์รุ่นหลัง
มันเป็นการถอดบัญญัติมาเป็นบัญญัติ หลายคนที่ยังขาดปัญญามักจะเข้าใจว่า....
ไตรลักษณ์คือ....อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ในความเป็นจริงแล้ว
ไตรลักษณ์คือ ลักษณะของสังขารที่มี การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ในความเป็นลักษณะของสังขารนี้ มันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ด้วยเหตุปัจจัยดังนี้ ถ้าเราจะกล่าวว่า ไตรลักษณ์..หมายถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาก็ย่อมได้
แต่ถ้าเป็นหลักในการพิจารณาธรรม เพื่อดับเหตุแห่งทุกข์
เราต้องเข้าใจว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสภาวะปัญญา
ส่วนการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป..ไตรลักษณ์เป็นวิชชา เป็นเหตุให้เกิดปัญญา

นั้นคือเราต้องเอา วิชชา(เหตุแห่งปัญญา) และปัญญา(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
ไปพิจารณาธรรมเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ เป็นดังนี้เมื่อเราได้ยินว่า.."ไตรลักษณ์"
ก็ให้เข้าใจว่า นั้นคือ วิชชาและปัญญา เป็นปัจจัยร่วมกันอยู่
[หน้า 6 จากทั้งหมด 33]

46821.ครึ่งชั่วโมง ทำใจให้สงบจากนิวรณ์ 5 ไม่ได้รู้มากมายก็ไร้ค่า}
***

นิพพานมีอย่างเดียว
นิพพานธาตุ จึงจะต่างกัน เพราะมันต่างกันด้วยธาตุ ไม่ใช่นิพพาน
..
ธาตุในที่นี้หมายถึง
กายใจของ สอุปาทิเสสบุคคลและกายใจของอนุปาทิเสสบุคคล

สอุปาทิเสสบุคคลคือผู้เจริญปัญญาด้วย .....สุตตมยปัญญา(อินทรีย์ห้า)
อนุปาทิเสสบุคคลคือผู้เจริญปัญญาด้วย......ภาวนามยปัญญา(ฌาน)
52969. ฆราวาสบรรลุอรหันต์จำเป็นต้องบวช???
********

ความหมายของประตูนิพพานมีสามทาง
ท่านหมายถึงการปฏิบัติให้ถึงนิพพานมีสามทาง นั้นก็คือ
๑......สุตตมยปัญญา
๒......จินตมยปัญญา
๓......ภาวนามยปัญญา
---------........................
สังเกตุ คือ........สัมปชัญญะ
ปัญญาไม่ใช่สัมมาสังกัปปะโดยตรง แต่ปัญญาเป็นเหตุให้เกิด ....สัมมาสังกัปปะ

ความหมายของสังเกตุ โดยรวมแล้วคือการพิจารณาธรรมที่เกิดขึ้นภายในใจ โดยอาศัยหลักของ
ปัญญาและสติสัมปชัญญะ หลักการก็คือ พิจารณาหาเหตุแห่งธรรมที่เกิดขึ้น เช่นทุกข์

ส่วนวิปัสสนา เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการพิจารณา แต่ยังไม่ถึงระดับของการพิจารณาธรรม
เพราะวิปัสสนาเป็นการทำให้จิตเป็นสมาธิ ดูอารมณ์ที่เกิด
ความหมายก็คือดูเฉยๆ ยังไม่ถึงขั้นการพิจารณา

การสังเกตุ ตามที่ .. ยกมา โดยเหตุปัจจัยของการปฏิบัติแล้ว เป็นการให้จิตทันต่อ
สิ่งที่มากระทบทวารทุกทวาร แล้วพิจารณาเหตุปัจจัยแห่งการกระทบนั้น

ดังนั้นถ้าเราเริ่มต้นด้วยการสังเกตุ .........วิปัสสนาจะไม่เกิด
เพราะวิปัสสนาคือการดูอารมณ์เฉยๆ หมายความว่า.....ไม่ให้คิดและไม่ให้บังคับจิต(ไม่เพ่ง)

ส่วนสังเกตุ ถ้าเป็นความหมายในทางธรรม คือการพิจารณา
จะต้องอาศัย ปัญญาลงมาเป็นส่วนประกอบในความคิด สรุปก็คือความคิด
-----------------..............................................................
มันเป็นการอธิบายมรรควิธีส่วนย่อยของ......ภาวนามยปัญญา
ความหมายแท้ของการทำภาวมยปัญญาก็คือการเอาปัญญาไตรลักษณ์ ไปเพ่งหรือทำฌาน

การเพ่ง ท่านไม่ได้เพ่งสิ่งที่เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง หรืออนัตตา
ท่านท่านเพ่งที่ตัวสังขาร นั้นก็คือเพ่งการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
และในการเพ่งนั้นจะต้องมีปัญญามาประกอบด้วย ปัญญาเป็นสภาวะเดียว
แต่มีความหมายหรือผลเป็นสาม นั้นก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ผู้ปฏิบัติจะเลือกเอาอย่างใดมาเป็นผลของของเพ่งก็ได้
ถ้าเลือกการเพ่งสังขารให้เกิดผลเป็น....อนิจนิจจัง เราก็เรียกการเพ่งนั้นว่า....อนิมิตนิพพาน
ถ้าเลือกเพ่งสังขารโดยให้ผลเป็น.........ทุกขัง เราเรียกการเพ่งนั้นว่า.....อัปปณิหิตนิพพาน
ถ้าเลือกเพ่งสังขารโดยให้ผลเป็น.........อนัตตา เราเรียกการเพ่งนั้นว่า.....สุญญตนิพพาน
---------------------------------............................................

การปฏิบัติแนวโยคีหรือพวกยึดติดอภินิหารย์
ซึ่งในความเป็นจริง พระพุทธทรงชี้ให้เห็นว่า....มันเป็นมิจฉา

ส่วนเรื่องการปฏิบัติสู่นิพพาน ถ้าใครเป็นสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า......
ย่อมต้องมีททางสายเดียวอยู่แล้ว นั้นคือ อริยมรรคมีองค์๘.....
เราเรียกหนทางนี้ว่า สุตตมยปัญญา เป็นเพราะต้องอาศัยพระธรรมคำสอนของพระโคดม

แต่หนทางสู่นิพพานไม่ใช่มีสายเดียว มันมี๓สายดังที่กล่าวมาแล้ว
อย่าลืมว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้มีแต่พระโคดม ยังมีปัจเจกพุทธเจ้าอีกมากมาย
เราเรียกปัจเจกพุทธเจ้าว่า เป็นผู้ตรัสรู้เหมือนกัน หนทางแห่งการตรัสรู้ของท่าน
ไม่ใช่หนทางแบบของสาวกพระโคดม

ปัจเจกพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ของท่านเอง จึงเรียกหนทางการตรัสรู้ของปัจเจกพุทธเจ้าว่า.....
จินตมยปัญญา การตรัสรู้ของพระโคดมเป็นจินตมยปัญญาเช่นกัน

ยังมีอีกหนทางนั้นก็คือพวกที่ทำฌาน การทำฌานไม่ใช่การปฏิบัติในอริยมรรคมีองค์๘
การทำฌานเป็นการเข้าสมาบัติ
ในตอนแรกพวกโยคีเข้าใจว่า การเข้าสมาบัติคือ สภาวะนิพพาน
แต่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะให้เหล่าโยคี ให้ปฏิบัติต่อไปจนถึง....นิโรธสมาบัติ
เราเรียกขั้นตอนการปฏิบัติของพวกโยคีหรือพวกทำฌานว่า.....ภาวนามยปัญญา
-------------------------------.........................................
[๘๐๔] พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์
ติกนิเทศ
(ว่าด้วย.. จินตามยปัญญา สุตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา เป็นไฉน)
-http://www.84000.org/tipitaka/read/?35/804/438
*********************************************
การทำฌานหรือเรียกว่า การเจริญภาวนา เป็นการมุ่งตรงสู่นิพพานด้วยการละ ราคะ โทสะ โมหะ
การทำอริยมรรคมีองค์๘หรือเรียกว่า การเจริญปัญญา เป็นการมุ่งตรงสู่นิพพานด้วยการละ..อวิชา
----------------------------.........................................
พระอภิธัมมัตถสังคหะ ท่านอธิบายการเข้าถึงนิพพาน ด้วยการเจริญภาวนา
ซึ่งมันเป็นเพียงหนทางหนึ่งในการไปสู่นิพพาน
... ... ... ........

เนื่องจากพระอภิธรรมมัตถสังคหะไม่ใช่พระไตรปิฎกแท้ๆ เป็นเพียงคัมภีร์
จึงไม่มีเนื้อหาอยู่ในพระไตรปิฎก ดังนั้นการอ้างอิงจึงต้องอาศัย เอามาจากเว็บที่เขาเผยแพร่
เป็นการเฉพาะ ดังนั้นผมจึงต้องเอามาจากเว็บพระอภิธัมออนไลน์.........

ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
นิพพาน โดยอาการที่เข้าถึง
นิพพาน กล่าวโดยอาการที่เข้าถึง หรือกล่าวโดยสภาพที่บรรลุ หรือโดยอาการ ที่เป็นไปแล้ว มี ๓ คือ

ก. อนิมิตนิพพาน หมายถึงนิพพานนั้นไม่มีนิมิตไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีรูปร่าง
การสงัดจากนิมิตอารมณ์ ที่ยังให้เกิดกิเลส หรือ ชรามรณธรรม เป็นต้น นั้น
เรียกว่า อนิมิตตนิพพาน

ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา จนเห็นสามัญลักษณะ หรือ ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง เห็นความไม่เที่ยง อันปราศจากนิมิตเครื่องหมายเช่นนี้แล้ว และเพ่งอนิจจังต่อไปจน บรรลุมัคคผล มีนิพพานเป็นอารมณ์ นิพพานที่เป็นอารมณ์แก่ผู้ที่เห็นอนิจจังนั้นมี ชื่อว่า อนิมิตตนิพพาน ผู้มีอนิมิตตนิพพานเป็นอารมณ์ บุญญาธิการแต่ปางก่อนแรง ด้วย สีล

ข. อัปปณิหิตนิพพาน หมายถึง นิพพานนั้น ไม่มีอารมณ์เป็นที่น่าปรารถนา
การสงัดจากความดิ้นรนอันเป็นเหตุให้เกิดสรรพทุกข์นั้น เรียกว่า อัปปณิหิต นิพพาน

ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา จนเห็นไตรลักษณ์ คือ ทุกข์ เห็นความทนอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปรไป อันหาเป็น ปณิธิ ที่ตั้งไม่ได้เช่นนี้แล้ว และเพ่งทุกข์ต่อไปจน บรรลุมัคคผล มีนิพพานเป็นอารมณ์ นิพพานที่เป็นอารมณ์แก่ผู้ที่เห็นทุกข์นั้นมี ชื่อว่า อัปปณิหิตนิพพาน ผู้มีอัปปณิหิตนิพพานเป็นอารมณ์ บุญญาธิการแต่ปางก่อน แรงด้วย สมาธิ

ค. สุญญตนิพพาน หมายถึง นิพพานนั้นสูญสิ้นจากกิเลสและอุปาทาน และ ขันธ์ ๕ ไม่มีอะไรเหลืออยู่
ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา จนเห็นไตรลักษณ์ คือ อนัตตา เห็นความไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ อันเป็นความว่างเปล่า เช่นนี้แล้ว และเพ่งอนัตตาต่อไปจนบรรลุ มัคคผล มีนิพพานเป็นอารมณ์ นิพพานที่เป็นอารมณ์แก่ผู้เห็นอนัตตานั้น มีชื่อว่า สุญญตนิพพาน ผู้ที่มีสุญญตนิพพานเป็นอารมณ์นี้ บุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วย ปัญญา

ผู้ที่เห็นสามัญญลักษณ์ หรือไตรลักษณ์ คือ อนิจจังกับอนัตตาแล้วก้าวขึ้นสู่ มัคคผลนั้น มีจำนวนมากกว่าผู้ที่เห็น ทุกขัง

จบปริจเฉทที่ ๖ ชื่อว่า รูปสังคหวิภาค
-http://abhidhamonline.org/aphi/p6/087.htm
[หน้า 1-5 จากทั้งหมด 33]
46821.ครึ่งชั่วโมง ทำใจให้สงบจากนิวรณ์ 5 ไม่ได้รู้มากมายก็ไร้ค่า
******************************************

พราหมณ์แนวศาสนาอื่นกับแนวพุทธ ต่างกันอย่างไร
..
ถ้าเป็นแนวศาสนาอื่นหรือฮินดู ท่านให้ความหมายของพราหมณ์
ในความหมายของชนชั้นหรือชาติกำหนิด..............นี้ก็เป็นเรื่องของเขา(พุทธไม่เกี่ยว)
แต่ถ้าเป็นพุทธ พระพุทธองค์ให้ความหมายของพราหมณ์ไว้ดังนี้.......

วาเสฏฐสูตร.......(๗๐๗)
-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
47463.กรรมและวิบาก เป็นตัวจักรขับให้ชีวิตสัตว์โลกดำเนินไป
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2013, 10:09:16 am »



สัพเพสังขารา อนิจจา ทุกขัง อนัตตา
สัพเพ ธัมมาอนัตตา


หลักธรรมที่สำคัญของพุทธเจ้า มีอริยสัจจ์สี่ และยังมีหลักธรรมอื่นๆอีก
แต่ในที่นี้จะขอกล่าว หลักธรรมสองอย่างครับ นั้นก็คือ....
สัพเพสังขารา อนิจา ทุกข์ อนัตตา และ สัพเพธัมมา อนัตตา
พระสูตรที่พอหามาอ้างอิง เพื่อให้รู้ว่า พระพุทธองค์ทรงใช้หลักธรรม
ในการสอนหรือแก้กิเลสให้บุคคล...... อุปปาทสูตร

[๕๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติ
ขึ้นก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา
ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้น
ก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้ง
อยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ครั้นแล้ว
จึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่าง
นั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ครั้นแล้วจึง
บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า ธรรม
ทั้งปวงเป็นอนัตตา
-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

คนที่ศึกษาพระธรรมจริง ย่อมต้องรู้ว่า สรรพสิ่งใดขึ้นอยู่กับหลักธรรมใด
การจะไล่หาความเป็นมาเป็นไป ต้องรู้ในธรรมทั้งปวงและสังขารทั้งปวง


***************
....."วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง"ซึ่งแปลความได้ว่า ....
"เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลกย์"...
**********
สติสูตร........
[๘๐๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้
เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็น
จิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ.
[๘๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ? ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ทราบชัดแล้วย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่
ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ วิตกอันภิกษุทราบชัดแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัด
แล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ปัญญาอันภิกษุทราบชัดแล้วย่อมบังเกิดขึ้น
ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้อย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้
มีสัมปชัญญะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ อยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเรา
สำหรับเธอทั้งหลาย.

-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=4778&Z=4793
44543.ตอบปัญหาธรรม...โดยพุทธวจน
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44543&start=30


ให้พิจารณาถึงความเป็นไปตามธรรมดาของมัน
โดยใช้ขันธบรรพ สัจจบรรพช่วยเพื่อให้เห็นแนวทางในการพิจารณาได้ง่ายขึ้น

อนึ่ง... ถ้าเราพิจารณาด้วยกรรมฐานกองเดียวแล้วไม่รู้เรื่อง ก็ต้องใช้กรรมฐานหลายกองช่วย

********
ขันธ์ห้าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เราต้องเห็นขันธ์ห้าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเสียก่อน
เพราะมันเป็นเหตุแห่งความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
********
44556.สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44556

สติถ้าว่าด้วยปรมัตถ์มันคือ เจตสิกหรืออาการของจิต
ว่าด้วยปัจจัยแล้ว มันเป็นนามธรรม อันมีเหตุปัจจัยมาจากรูปธรรม
ที่เรียกว่า ใจ(มโนทวาร) ไปกระทบกับอายตนะภายนอก(ความคิดหรือการกำหนดรู้กุศลในอดีต)
แล้วก็เกิดเป็นกระบวนการขันธ์มาจบที่สติ
---------..................
สมถกรรมฐาน
เขาเอาไว้ดับนิวรณ์ห้า

***
สติมีสองอย่าง อย่างหนึ่งเกิดจากการกำหนดรู้
เพื่อไม่ให้เกิดอาการปรุงแต่ง ทางกายและวาจา
แบบนี้เรียกว่า............สติรู้ทันอารมณ์

สติอีกอย่าง เป็นสติของพระอริยบุคคล เป็นการกำหนดรู้เช่นกัน
แต่เป็นการกำหนดรู้ปัญญา ปัญญาที่ว่าก็คือ ไตรลักษณ์
ลักษณะของการกำหนดรู้ ต้องเป็นการกำหนดรู้เพี่อพิจารณาธรรม
หมายความว่า ตัองหมั่นใช้สติระลึกรู้ปัญญาสัมมาทิฐิ(ไตรลักษณ์) นำหน้า
เพื่อทำการพิจารณาธรรมที่เกิดขึ้นที่กายใจตนเอง
แบบนี้เรียกการทำวิปัสนากรรมฐาน ใช้สำหรับดับกิเลส สังโยชน์


การเห็นไตรลักษณ์ก็คือ การมองเห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริง
เพื่อให้ผู้ที่เห็นไตรลักษณ์แล้ว สามารถเอาไปปฏิบัติเพื่อธรรมที่สูงขึ้นไปอีก

***
รูปนามที่เป็นปัจจุบัน ทำไมต้องไประลึกรู้ด้วยครับ
อารมณ์ปัจจุบันเกิดขึ้นก็แค่รู้ตาม แต่สติมันเป็นการไประลึกรู้อดีตที่เรา
เคยได้กำหนดรู้สิ่งหนื่งสิ่งใดไว้ และอดีตก็คือ ปัญญาไตรลักษณ์ที่เราเห็นมา
***
ในทางปรมัตถ์ สัญญาคือความจำได้หมายรู้ในเวทนา ไม่ใช่การความจำที่มาจากสมอง
สัญญาเป็นเหตุให้เกิดสติ พูดให้ตรงลงไปก็คือ เวทนากับสัญญาทำให้เกิดจิตสังขาร
จิตสังขารก็คือสังขารขันธ์(เจตสิก) สติก็เป็นหนึ่งในเจตสิก
-----------------.................
สติ เป็นอาการของจิต ที่ ระลึก ทำความระลึก กำหนด ทำความกำหนดได้
สติ จำแนกเป็น สองประการ คือ สัมมาสติ และมิจฉาสติ
สัมมาสติ นั้น ยังอาจถูกจำแนกออกไปอีกได้เป็น สัมมาสติในธรรมอันเป็นโลกียะ และ สัมมาสติในธรรมอันเป็นโลกุตตระ
ซึ่ง
พระพุทธองค์แสดงธรรม เกียวกับสติปัฏฐานก็ตาม หรืออนุปัสสนาใดก็ตาม
จะเห็นปรากฏในพระสูตร ว่า
"สัมมาสติ เป็นไฉน" พระองค์ จะไม่ขึ้นด้วย "สติ เป็นไฉน"
ด้วยเหตุที่ว่า สัมมาสติ เป็นสัมมาสติที่พระองค์ค้นพบ และมุ่งแสดงให้เกิดความเข้าใจ

ด้วยเหตุที่ว่า ทรงตรัสว่า สัมมาสติ ;สัมมาสติ เป็นสังขตธรรม
มีองค์ธรรมสำคัญสามประการปรุงแต่งประกอบขึ้นมาร่วมกับองค์ธรรมอื่นๆ จึงเป็นสัมมาสติได้.
องค์ธรรมสำคัญสามประการ หรือเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมเกิดพร้อมเสมอ ใน สัมมาสติ คือ

1. อาตปะ
2. สัมปชัญญะ
3. สติ
เพราะมรรควิธีที่พระองค์แสดงนั้นพระองค์แสดงแก่สัตว์ ผู้ยังสามารถเสวยเวทนาอยู่ และเป็นผู้รู้สึกตัว
ดังนั้นจึงขาด เจตสิกธรรม สติ และสัมปชัญญะไม่ได้ องค์ธรรมสำคัญที่ทำให้เป็นสัมมาสติคือ อาตปะ
ความเพ่งเพียรเผา

(สติสัมปชัญญะ อาตปะ ในสิ่งไร คือ ความยินพอใจความไม่พอใจ ต่อสิ่งที่เกี่ยวกับโลกในโลก)

เมื่อองค์ธรรมสามอย่างนี้ทำงานร่วมกัน ตั้งขี้นที่ กาย เวทนา จิต หรือธรรม สตินั้นจึงเป็นสัมมาสติ

เมื่อพระองค์แสดงธรรม แก่อชิตะมานพ ในอชิตปัญญานั้น
พระองค์ทรงตรัสว่า สติเป็นเครื่องกั้นกระแสนั้น ก็ด้วยเหตุที่ว่า อชิตมานพนั้นเป็นบัณฑิตผู้มีปัญญา
สติที่แสดงนั้นหมายเอา สัมมาสติ เป็นองค์ธรรมหลัก

การฝึกสติ จึงเป็นการฝึกตั้งสัมมาสติ เพื่อให้สัมมาสติตั้งขึ้นในฐานต่างๆ อันเป็นที่ตั้งของสติ
การฝึก คือการทำตามวิธีการแนวทางที่พระองค์ทรงแสดงว่า "สติปัฏฐาน 4" ดั่งปรากฏในมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นต้น
เจริญธรรม
.....................................................
ธรรมทั้งปวง มีมนสิการเป็นแดนเกิด

44527.คุณของ "สติ"
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44527

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 06, 2013, 07:42:07 pm »


ภวังคจิต
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภวังคจิต ภวังคะ หรือ ภะ-วัง-คะ ภว+องฺคะ แปลตามพยัญชนะว่า "องค์ของภพ" มักใช้รวมกับจิต เป็นภวังคจิต ในทางพระพุทธศาสนา ถือว่า จิตมีลักษณะเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการสืบต่อสันตติของจิต ย่อมอาศัยการถ่ายทอดข้อมูลจากภวังคจิตจิตดวงเดิม ไปสู่จิตดวงใหม่ ด้วยกระบวนการของการทำงานของภวังคจิต เพราะเหตุว่าภวังคจิตเป็นเหตุให้สร้างจิตดวงใหม่ตลอดเวลาก่อนจิตดวงเก่าจะดับไป จึงชื่อว่าเป็นเหตุแห่ง "ภพ" หรือเป็นเหตุสร้าง"ภพ"
จิต ในทางศาสนาพุทธแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ 1.วิถีจิต จิตสำนึก 2.ภวังคจิต จิตใต้สำนึก
ภวังคจิต คือจิตใต้สำนึกในทางศาสนาพุทธหมายถึงเป็นกระบวนการทำงานแบบอัตตโนมัติของจิต จิตใต้สำนึกในความหมายของภวังคจิตนี้จึงอาจแตกต่างจากทางจิตวิทยา

ภวังคจิต มี 3 อย่าง คือ
ภวังคบาท คือภวังคจิตที่ทรงอารมณ์เก่า อันเป็นอารมณ์ที่ได้มาจากภพหรือจิตดวงก่อน และกำลังกระทบอารมณ์ใหม่
ภวังคจลนะ คือ เป็นภวังคจิตที่ไหวตัว เพราะเหตุที่มีอารมณ์ใหม่ มากระทบ จึงน้อมไปในอารมณ์ใหม่(สร้างและถ่ายทอดข้อมูลสู่จิตดวงใหม่)
ภวังคปัจเฉทะ คือเป็นภวังคจิตที่ตัดกระแสภวังค คือ ปล่อยอารมณ์เก่า วางอารมณ์เก่า เพื่อรับอยู่กับอารมณ์ใหม่หรือจิตดวงใหม่

ภวังคจิต เป็น วิบากจิต คือ จิตใต้สำนึกส่วนลึกที่สุดของจิตเป็นที่สั่งสมอารมณ์จนกลายเป็นอุปนิสัย
ภวังคจิต จะเกิดคั่นระหว่างวิถีจิตในแต่ละวาระ ทำหน้าที่สืบต่อและดำรงภพชาติ
ภวังคจิต จะเกิดขึ้นเมื่อวิถีจิตดับ และเมื่อเกิดวิถีจิตภวังคจิตจะดับลง เมื่อวิถีจิตดับลงภวังคจิตจะเกิดขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่มีภวังคจิต พอขาดวิถีจิต จิตจะไม่มีการสืบต่อสันตติก็เท่ากับสิ้นชีวิต
ภวังคจิต ในขณะที่เปลี่ยนภพจุติใหม่สู่ชาติใหม่ จะใช้ชื่อว่า ปฏิสนธิจิตแทน ซึ่งเป็นขณะจิตแรกของแต่ละชาติ ภวังคจิตจึงสืบต่อภพในระดับเปลี่ยนชาติด้วย

ภวังคจิต คือมโนทวารเป็นอายตนะที่ ๖ อันเป็นวิบาก เป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพปกติ เมื่อยังไม่ขึ้นสู่วิถีจิตรับรู้อารมณ์ จะเป็นเพียงมโน ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ เมื่อรับอารมณ์คือเจตสิก จะกลายเป็นมโนวิญญาณ
มีพุทธพจน์ว่า “จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา" จิตที่ประภัสสรในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่าหมายถึงภวังคจิต

-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0% ... 4%E0%B8%95

-------------------.....................
--------------------....................
ถ้าบอกว่า วิบากจิตกับภวังคจิตเป็นตัวเดียวกัน
แบบนี้ผมก็ต้องบอกว่า พระอรหันต์ไม่มีภวังคจิต เพราะพระอรหันต์ไม่มีวิบากจิต

แต่ถ้าบอกว่า ภวังคจิตมีทั้งวิบากจิตและกิริยาจิต อย่างนี่ผมก็จะบอกว่าพระอรหันต์
มีภวังคจิตครับ

จิตแรกที่เกิดจากทวารทั้งหกเป็นอย่างไร วิถีจิตและภวังคจิตย่อมเป็นอย่างนั้น
ปุถุชนมีจิตที่มีวิบาก วิถีจิตและภวังคจิตย่อมต้องเป็นวิบากไปด้วย


ส่วนพระอรหันต์ จิตที่เกิดจากทวารทั้งหก ท่านรู้ด้วยมโนวิญญาณธาตุ(เคยอ้างอิงพระสูตร)
มโนวิญญาณธาตุของอรหันต์ ปราศจากกุศลและอกุศล
มโนวิญญาณธาตุของพระอรหันต์จึงเป็นกิริยาจิต
วิถึจิตและภวังคจิตย่อมต้องเป็น กิริยาจิต ไม่ใช่วิบาก

----------------..............
-----------------.............

เรื่องของ ปรมัตถ์ธรรม มันเป็นสภาวะที่เกิดดับภายในใจของเรา
ทุกอย่างในใจเรามันเป็นสภาวะทั้งนั้น ความสำคัญมันไม่ได้อยู่ที่เราจะเรียกมันว่าอะไร

การจะอธิบายสภาวะหรือปรมัตถ์ธรรม มันต้องพูดตามเหตุปัจจัย
เอาเหตุเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่เอาบัญญัติเป็นที่ตั้ง

บัญญัติอย่างหนึ่งเอามาใช้กับบุคคลที่ต่างสถานะกัน
ความหมายมันก็เปลี่ยนไป อย่างเช่นคำว่า "สัตว์โลก" มันเป็นได้ทั้งมนุษย์และเดียรัจฉาน
เดียรัจฉานก็มีทวารรับรู้เหมือนคน แต่ทำไมสถานะทางธรรมมันแตกต่างกัน

ถ้าจะกล่าวอีกนัยก็คือ คนหนึ่งกำลังพูดถึง....วิชชา
แต่อีกคนกำลังพูดถึง...อวิชา มันเลยเป็นเส้นขนาน

สภาวะที่รักษาภพชาติให้คงอยู่เรียกว่า...วิบากจิต
แต่สภาวะที่เกิดตามเหตุปัจจัย ไม่ได้เป็นสภาวะที่รักษาภพชาติเรียกว่า......กิริยาจิต

แนะนำ.. ไปดู วัฎฎะของปฏิจสมุบาท ลองเอามาเทียบเคียงดูครับ
ถ้าพระอรหันต์ยังมี จิตที่คอยรักษาภพชาติ หรือวิบากจิตอยู่ ท่านจะตัดวัฏสงสารได้หรือไม่

-----------.............................
------------------..................

หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนให้รู้ว่า
เหตุทำให้เกิดผล  ผลมาจากเหตุ
***
สิ่งที่เป็นปรมัตถ์ธรรม ท่านให้ดูที่เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาวะ
ผลที่ได้จะเป็นไปตามเหตุนั้น
******
คือ..... แยกแยะเหตุปัจจัย
หรือจะกล่าวตรงๆก็คือ ..ดูความแตกต่างระหว่างบุคคล
ปุถุชนหรือเสขะเป็นอย่างหนื่ง พระอรหันต์หรือ อเสขะ ก็เป็นอย่างหนึ่ง
เหตุปัจจัยไม่เหมือนกัน จะให้เกิดผลเหมือนกันได้อย่างไร

เหตุปัจจัยมาจากการกระทำที่มีเจตนาผลย่อมต้องเป็น....วิบาก
ถ้าเหตุปัจจัยมาจากการกระทำที่ไม่มีเจตนาผลย่อมต้องเป็น ....กิริยา
***
ผลคืออะไร เหตุคืออะไร .......มันต้องรู้เหตุก่อน การรู้ผลมันถึงจะถูกต้อง
***
พระพุทธเจ้าเองก็ไม่ได้ชี้ชัดว่า ภวังคจิต คือ จิตเดิมแท้
เห็นมาอ้างกันหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพานไปตั้งนานแล้ว

ถ้าเรามาพิจารณากันให้ดี ภวังคจิตเป็นจิตที่เกิดตั้งแต่ ปฏิสนธิจิต จนถึงจุติ
แบบนี้มันจะเป็นจิตเดิมแท้ได้อย่างไร จิตเดิมว่ากันด้วยเหตุผล
มันต้องเป็นจิตที่ก่อนการเกิดปฏิสนธิ หรือวิญญาณจิต ไม่ใช่ภวังคจิต
---------------.............................
---------------.............................

ในภพชาติปัจจุบัน ถ้าพูดในเรื่องกฎแห่งกรรม
ทุกคนเกิดมาเหมือนกัน นั้นคือมีรูปหรือร่างกายเป็นวิบาก(ไม่ใช่จิต)
จิตเป็นผลมาจากกิเลสที่ผ่านทางรูปหรือทวารทั้งหกเข้ามา มันจึงเป็นวิบากจิต
กิเลสทำให้จิตไปยึดรูป ทำให้เกิดวิบากจิตขึ้น

ส่วนพระอรหันต์ แม้ในชาตินี้ท่านจะยังมีรูป แต่จิตท่านปราศจากกิเลส
จิตจึงไม่ยึดรูป สิ่งที่ผ่านมาทางทวารทั้งหก เป็นเพียงเหตุปัจจัย
เป็นเช่นนี้รูปในปัจจุบันจึงไม่ใช่วิบากอีกต่อไป จิตที่เกิดก็เป็นเพียงกิริยาจิต
เพราะไม่มีเจตนาในรูปปัจจุบัน


รูปจะวิบากได้เพราะจิต จิตจะวิบากได้เพราะกิเลสตัณหา
กิเลสตัณหาจะทำให้เกิดวิบากได้ ต้องอาศัยรูปหรือทวารทั้งหก
ถ้ากิเลสตัณหาหมดไป ทั้งรูปและจิตก็ไม่มีวิบาก

กฎแห่งกรรมที่เกิดกับพระอรหันต์ มันเกิดและมีผลที่รูป ไม่ไม่เกี่ยวกับจิต
วิบากจิต มันเกิดจากจิตไปยึดรูปไว้ เหตุมันมาจากกิเลส จิตของพระอรหันต์
ปราศจากกิเลสแล้ว กรรมเก่าในอดีตเป็นเพียงสิ่งที่มากระทบกับรูป พระอรหันต์รู้แล้ว
ไม่ยึดไม่มีเจตนากับสิ่งที่มากระทบ แบบนี้จิตก็ไม่เป็นวิบาก


- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44130&start=60

govit2552 เขียน:
ความโกรธ คือความกลัว คือ โทสะ
ตามนี้เลยครับ
***********************************

คำสามคำนี่ไม่เหมือนกัน แต่บางครั้งมันเป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน
ความโกรธและโทสะ เป็นอาการของจิตที่ถูกกิเลสเข้าบ่งการ
ทั้งความโกรธและโทสะ มาจากตัณหาตัวเดียวกัน แต่ต่างกันที่สังโยชน์

แล้ว"ความกลัว"คืออะไร มันก็คือ ตัวสังโยชน์ ที่เรียกว่า...อุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน)
พูดให้เข้าใจ ...ความกลัวก็คือความฟุ้งซ่านนั้นเอง คิดโน้นนี่ทั้งๆที่ยังไม่เกิด


ความกลัวเป็นสังโยชน์ทำให้เกิด โทสะ
ปฏิฆะเป็นสังโยชน์ที่ทำให้เกิด ความโกรธ


ความกลัวเป็นตัวบ่งการให้จิตไปยึดตัณหาที่เรียกว่า.....วิภวตัณหา
ทำให้จิตเกิดอาการ ปฏิเสธภพนั้น เรียกอาการของจิตนี่ว่า โทสะ

ปฏิฆะจะบ่งการจิตให้ไปยึดตัณหา ...วิภวตัณหาเช่นกัน
ทำให้จิดเกิดอาการ ปฏิเสธภพ เป็นโทสะเหมือนกัน
แต่มันต่างกันกับโทสะที่เกิดจากความกลัว ตรงที่ความรุนแรง
โทสะที่เกิดจากปฏิฆะจะมีความรุนแรงกว่า โทสะที่เกิดจากความกลัว
เหตุนี่จึงเรียกโทสะที่มีความรุนแรงว่า.....ความโกรธ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 06, 2013, 07:33:38 pm »



ในความเป็นจริงนั้นสิ่งที่จะทำให้เราเข้าใจถึงสภาวะปรมัตถ์ธรรมได้ง่ายนั้น
เราจะต้องเห็นสังขารธรรมซะก่อน มันจึงจะเห็นสภาวะที่เป็นจริงในใจของเรา

** "มหากิริยาจิต"ของอรหันต์ กับ "กิริยาจิต"ปุถุชน
ถ้าเปรียบวิญญาณเป็นจิต คุณอย่าเข้าใจว่า วิญญาณกับตัวผู้รู้เหมือนกันนะครับ
วิญญาณคือตัวความรู้สึก แต่จิตผู้รู้คือ ตัวผู้รู้ว่าเกิดการกระทบขึ้น

จิตที่เป็นตัวความรู้สึก มันจึงเป็นวิบาก
แต่จิตรู้ถึงการกระทบ จึงเป็นกิริยา


ปุถุชนมีแค่ความรู้สึก มันจึงเกิดการปรุงแต่งเป็นอารมณ์ เป็นขันธ์๕
นามหรือขันธ์ทั้งหมดที่เกิด หลังจากเกิดการกระทบของอายตนะภายนอก
กับปสาทรูป สิ่งที่เกิดตามมาจึงเป็นวิบากในตัวของมันเอง พูดให้ชัดก็คือ
อายตนะภายใน(ปสาทรูป)กับอายตนะภายนอก กระทบกันขึ้นเมื่อใด เกิดวิญญาณ
ถ้าวิญญาณมีเจตนาในการกระทบที่เกิดขึ้น มันจะเกิดเป็นรูปขันธ์และวิญญาณขันธ์เป็นวิบาก
เกิดการปรุงแต่งเป็นวิบากต่างๆจนครบขันธ์ห้า

พระอรหันต์ รู้การกระทบด้วยญาณหรือปัญญา วิญญาณจึงเป็นจิตผู้รู้
ที่ว่ารู้ หมายความว่าอย่างไร นั้นก็คือรู้เหตุก่อนว่า มีการกระทบเกิดขึ้นเมื่อใด
มันจะเกิดเจตนาตามมา มันจะก่อให้เกิดขันธ์๕ ซึ่งมันเป็น...วิบาก
ถ้ามีญาณปัญญารู้ก่อนว่า สิ่งที่เกิดตามมาหลังจากการกระทบ
มันเป็น"สังขาร" มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป ไม่คงทนถาวร
แบบนี้วิบากก็ไม่เกิด สิ่งที่เกิดเป็นเพียงกิริยา มันเป็นเพียงธรรมชาติของรูปนาม

เอาพุทธพจน์มาเทียบเคียง.......................
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็อายตนะภายในอาตนะภายนอก อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ตรัสไว้ชอบนี้ มีอย่างละ ๖ แล คือจักษุและรูป โสตและเสียง ฆานะและกลิ่นชิวหาและรส
กายและโผฏฐัพพะ มโนและธรรมารมณ์..... ก็จิตของท่านผู้มีอายุรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า
จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ?

“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว..... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่า
มีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า
จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นสำรอก ดับสละ และสลัดคืนซึ่งความพอใจ ความกำหนัด
ความยินดี ตัณหา อุปาทาน ที่ยึดมั่นและอนุสัยคือความตั้งใจ และความปักใจมั่นในจักษุ
ในรูปในจักษุวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ..... ในโสต ในเสียง
ในโสตวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ...... ในฆาน ในกลิ่น
ในฆานวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ.... ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ ในกาย ในโผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ ..... ในมโน ในธรรมารมณ์ ในมโนวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ.....
จิตของข้าพเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล
จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอายตนะทั้งภายในทั้งภายนอกอย่างละ ๖ เหล่านี้.....”
สูตร อุ. ม. (๑๖๗-๑๗๑)


ความแตกต่างของวิญญาณ ระหว่างปุถุชนและอรหันต์มันอยู่ตรงนี้
เจตนา(วิบาก)กับกิริยา มันก็อยู่ตรงนี้
----------..................
ปุถุชน จึงเรียกวิบากจิต
แต่ถ้าเป็นอรหันต์เรียก....กิริยาจิต

------------------------..................

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์
อัพยากตธรรม
กามาวจรวิบาก
วิญญาณ ๕ ที่เป็นกุศลวิบาก
             [๓๓๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
             จักขุวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นเพราะกามาวจร
กุศลกรรมอันได้กระทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิต อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรม
ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
             สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

             [๓๓๙] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
-----------......................................
------------.............................
- http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... 023&Z=3128


.......................ปุถุชนก็สามารถมีอัพยากฤตธรรม
แต่ถ้าจะกล่าวถึงอัพยากฤตธรรมของอรหันต์ ต้องอ้างอภิธรรมบทนี้ครับ....

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์
[๔๙๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล
และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคต
ด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์
ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคต
ด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ...
เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคต
ด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุต
จากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง
ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

- http://www.84000.org/tipitaka/read/byit ... agebreak=0
------------------------------

จิต ปุถุชน มี 4 ชาติคือ กุศลชาติ อกุศลชาติ วิบากชาติ กิริยาชาติ
วิบากชาติ และกิริยาชาติ รวมเรียกว่า อัพยากฤตธรรม

จิต พระอรหันต์ มีแค่ 2 ชาติคือ ชาติวิบาก และชาติกิริยา
จิต พระอรหันต์ จึงมีแต่เฉพาะ อัพยากฤตธรรม

จิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นจิตชาติวิบาก ......... ซึ่งมีทุกคน ไม่เว้นเลย
จิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย .....นี้รวมเรียกว่า วิญญาณห้า
วิญญาณที่6 คือมโนวิญญาณ

มโนวิญญาณ ของพระอรหันต์มีทั้งส่วนที่เป็นวิบากจิต และกิริยาจิต
มโนวิญญาณ ของปุถุชน มีทั้งส่วนที่เป็นวิบากจิต และกิริยาจิต กุศลจิต และอกุศลจิต
นี่คือความต่างของพระอรหันต์ และปุถุชน
****************

ทำความเข้าใจกับธรรมทั้ง๓ธรรมนี่ก่อน
๑. มหากุศลจิต
๒. มหาวิบากจิต
๓. มหากิริยาจิต

อภิธรรม ของ มหาจุฬาฯ
- http://www.buddhism-online.org/ContentSect03A.htm


พระอรหันต์ไม่มีจิตกุศลและอกุศล
พระอรหันต์จึงไม่มีกรรม เพราะกุศลและอกุศลเป็นกรรม
เมื่อไม่มีกรรมจึงไม่มีวิบาก เพราะผลของกรรมคือวิบาก

ส่วนเรื่อง อัพยากฤตธรรม ปุถุชนรู้ด้วยวิญญาณหรือทวารที่เป็นวิบาก
ถึงแม้สภาวะธรรมจะเป็นอัพยากฤต แต่ก็ยังเป็นจิตวิบาก เพราะยังมีการ
สั่งสมกรรมเก่าไว้

ส่วนอัพยากฤตธรรมของอรหันต์ ท่านรู้ด้วยมโนธาตุที่เป็นกิริยา
ไม่ใช่กุศล อกุศลและวิบาก อัพยากฤตธรรมนั้นจึงเป็น กิริยาจิต
เพราะจิตของอรหันต์ได้ตัดกรรม ไม่มีเจตนาในสมัยหรือชาตินั้นแล้ว
ดังนั้นจิตของพระอรหันต์จึงมีเพียงแต่.....กิริยาจิต เพียงอย่างเดียว

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 28, 2012, 04:52:34 pm »



เรื่องของรูปที่มาจากสมุฐานสี่ คุณกำลังเข้าใจผิดในบัญญัตินะครับ
ตา..หู..จมูก..ลิ้น..กาย..ใจ ทั้งหมดนี้มันรวมอยู่ใน...มหาภูติรูปสี่
ทั้งหมดที่คุณกล่าวมา มันเกิดมาจาก สมุฐานสี่เช่นเดียวกับมหาภูติรูปสี่
เพราะมันเป็นมหาภูติรูปสี่เช่นเดียวกัน มันจึงเกิดมาจาก กรรม..อุตุ..จิตและอาหาร

สิ่งที่คุณกำลังสับสน มันเกิดมาจากคุณเข้าใจผิดไปว่า ตา..หู..จมูก..ลิ้น..กายและใจ
เป็นอุปาทายรูป แท้จริงแล้วมันไม่ใช่อุปาทายรูป เพียงแต่มันเป็นที่ตั้งของอุปาทายรูป
เช่นตาเป็นที่ตั้งของจักขุปสาทรูป หูเป็นที่ตั้งของโสตปสาทรูป.......ฯลฯ

ในมหาภูติรูปสี่ ถ้าสมุฐานสี่ที่ทำให้เกิดมหาภูติรูปสี่
ขาดความสมดุลย์ จะทำให้ อุปาทายรูปขาดความสมดุลย์ไปด้วย
----------------..............................
เรื่องสมุฐานสี่ เราต้องลงลึกลงไปในรายละเอียด
ของรูปทั้ง28 ไม่งั้นจะเกิดความสับสน ที่พูดแบบนี้เป็นเพราะรูป28มีสมุฐานไม่เหมือนกัน

และที่คุณบอกว่า ถ้าพูดถึงตาคำเดียวแท้จริงหมายถึง จักขุปสาทและจักขุวิญญาณรวมอยู่ด้วย
พูดแบบนี้ไม่ถูก เคยเห็นคนพิการ"ตาบอด"มั้ย เขามีดวงตาอยู่นะครับ แต่ที่เขามองไม่เห็น
เป็นเพราะจักขุปสาทเขาใช้การไม่ได้ เมื่อไม่มีจักขุปสาทย่อมไม่มี จักขุวิญญาณ

หรือแม้จะไม่พิการ ยามเมื่อเราตกอยู่ในภวังคจิต ตา หู จมูก...ฯลฯ ยังอยู่ครบถ้วน
แต่ปสาทรูปก็เหมือนไม่มี เพราะมันไม่ทำงาน

ดังนั้นจะกล่าวถึงพระอภิธรรม ต้องรู้ให้ลึกลงไปในรายละเอียด
ไม่งั้นจะเกิดความสับสน อยากแนะนำครับ จิตยังไม่มีสัมมาทิฐิ
หรือมองอะไรตามความเป็นจริง
ก็อย่าพึ่งสนใจพระอภิธรรมเลย
มันทำให้เกิดวิจิกิจฉา
-------------......................................

การอธิบายความในปรมัตถ์ธรรม ต้องแยกกันให้ดีหว่าง จิต เจตสิก รูป นิพพาน
เป็นเพราะ ไม่แยกแยะให้ดี ระหว่างรูปปรมัตถ์และจิตปรมัตถ์

ความสับสนมันเกิดขึ้นเพราะ ในมหาภูติรูปสี่ มันต้องมีจิตหรือนามเป็นตัวเชื่อม
ให้ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมรวมตัวกันอยู่ได้

พิจารณาให้ดีแล้ว จิตเป็นตัวกรรมหรือกระทำ ส่วนวิบากเป็นรูป

ดังนั้นมันจึงตรงกับ สมุฐานที่ว่า มหาภูติรูปสี่เกิดจาก กรรม..จิต..อุตุและอาหาร
จิตก็คือ.....วิญญาณตัวรู้รูป
กรรมก็คือ...การกระทำของจิตหรือวิญญาณจนเกิดรูป
อุตุก็คือ....สภาพแวดล้อมที่พอเหมาะ อันสามารถทำให้รูปดำรงอยู่
อาหารก็คือ...ธาตุที่ช่วยให้รูปเจริญขี้น

******************************

รูปปรมัตถ์............
รูปในที่นี้หมาย.......กายของเราครับ
กายของเราประกอบด้วย รูป28 แบ่งเป็นมหาภูติรูป4 และอุปาทายรูป24

ตั้งสติดีๆให้สติอยู่ที่กายใจของตน
แล้วใช้จิตตัวเองมองรู้ไปที่กาย แล้วก็เอารูป28มาเปรียบเทียบกับกายตนเอง
ก็จะรู้ว่ากายของเรามีรูป28อยู่

คำพูดของผมที่ว่า"วิญญาณไปรู้รูป" มันไม่ได้หมายถึง การเอาตาของเราไปดูรูปภายนอก

แต่มันหมายถึงจิตหรือวิญญาณ ไปรู้รูป28หรือรู้กายของเรา
และอยากจะบอกให้อีกอย่างว่า ........ถึงแม้มันจะเป็นการรับรู้อารมณ์หกประการที่คุณบอก
เขาก็เรียกว่า.....วิญญาณไปรู้รูป
เพราะว่า .....การจะเกิดอารมณ์ที่รับจากอายตนะภายนอกได้นั้น
มันจะต้องเกิดการกระทบกับ ปสาทรูป5และหทยรูปอีกหนึ่ง
เมื่อกระทบแล้ว มันจึงจะเกิดวิญาณไปรู้ตัวปสาทรูปนั้นๆ

อย่างเช่นกระทบที่"จักขุปสาทรูป" ก็จะเกิดวิญญาณรู้ ที่เรียกว่า"จักขุวิญญาณ"
หรือกระทบที่"โสตปสาทรูป" วิญญาณรู้ก็เรียกว่า "โสตวิญญาณ"
แบบนี้เรียกว่า.....วิญญาณไปรู้รูป

รูปที่ว่า ไม่ได้หมายถึงการเอาตาไปมอง แต่หมายถึงความรู้สึก
ที่เกิดขึ้นที่ณ. ปสาทรูปทั้งหลาย
ในกายใจเราครับ

**********

จิตในลักษณะไหน / มีอะไรเป็นเหตุปัจจัย ที่ว่าจิตเดิมเป็นจิตที่มีสาเหตุมาอย่างไร
ภวังคจิตเป็นจิตที่รักษาภพเอาไว้ ในขณะที่ทวารทั้งหกไม่ทำงาน
นั้นแสดงว่า รูปกับนามยังอยู่ครบ จิตที่รักษาภพยังยึดมั่นในรูปของตนอยู่
จิตย่อมต้องเป็นวิบากของจิตดวงสุดท้ายก่อนที่จะหลับ

ส่วนจิตเดิมที่ผมกล่าวมันเป็นจิตหรือวิญญาณในปฏิจฯ มันเป็นจิตก่อนที่จะมีรูป
ที่เรียกมันว่าจิตเดิมประภัสสร เพราะมันยังไม่มีรูปหรือทวารทั้งหกไปรับกิเลส
----------------..............................

ธัมมารมณ์ต้องผ่านทาง....มโนทวาร
มโนทวารเป็นรูปเรียกว่า.........หทยรูป
จิตต้องอาศัยรู้หทยรูปหรือรู้รูปเสียก่อน จึงจะรู้ธัมมารมณ์ได้

ด้วยสติปัฏฐานเราจะรู้ได้ว่า นามเกิดจากรูป ก็คือเกิดที่ทวารทั้งหก
จิตหรือนามเกิดแล้วก็ดับ แต่ตัวที่ยังปรุงแต่งก็คือ ....หทยรูป
ถ้าจะกล่าวถึงจิตอย่างเดียว จะต้องกล่าวแต่ในแง่ของ.... ธรรมนิยาม
นั้นก็คือจิต เกิดแล้วก็ดับ ไม่เที่ยงไม่แน่นอน ดังนั้นจะกล่าว จิตเกิดจากกรรมไม่ได้
เพราะกรรมคือเจตนา เจตนาก็คือจิต ดังนั้นจิตก็คือกรรม
เมื่อเกิดเจตนาหรือกรรมใดขึ้นที่จิต มันจะส่งผลเป็นวิบากขึ้นที่...รูปหรือกาย

เรื่องกรรมเราต้องไปดูในเรื่องกรรมนิยาม ผู้ก่อกรรมหรือเจตนาก็คือจิต
ผลแห่งกรรมหรือวิบากก็คือ รูปหรือกาย

ดังนั้น จิตหรือวิญญาณไม่ได้เกิดเพราะกรรม และจิตก็ไม่ได้เป็นวิบาก
ที่เรียกว่า จิตวิบากก็เพราะ......จิตเป็นตัวเจตนาก่อกรรมวิบาก

ถ้าจะกล่าวในแง่สมุฐานสี่.....จิตเกิดจากจิต ไม่ได้เกิดจากกรรม

44130.กฎแห่งกรรม กับเจตจำนงเสรี / อ่านรายละเอียดต่อ หน้า3-4
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44130&start=30

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 21, 2012, 12:47:46 pm »



ความสุข ความทุกข์และเวทนาคืออะไร
ความสุขมันเป็นกิเลสตัณหาหรือสังโยชน์อย่างหนึ่ง
มันเป็นเป็นเป็นเหตุทำให้เกิดกระบวนการชันธ์ห้าหรืออุปาทานขันธ์
แล้วมันมาเกิดในจิตในใจได้อย่างไร ก็เพราะเราไปรับมันเข้ามาพร้อมกับ
อายตนะภายนอกเมื่อเกิดการกระทบของสฬายตนะ

ความทุกข์ ในความหมายของพระพุทธเจ้านั้นก็คือ
การ เกิด แก่ เจ็บ ตายวนเวียนกันไม่รู้จบสิ้น แบบนี้จึงเรียกว่า...ความทุกข์

ส่วนเวทนา คือการรับรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น
อารมณ์ที่ว่านี้ มันไม่ใช่ ความสุขหรือความทุกข์ มันเป็นเพียงสภาวะที่เกิดจากผัสสะ
ผลของผัสสะหรือสภาวะต่างๆที่ได้รับจากทวารแต่ละทวารของทวารทั้งหกต่อเมื่อเกิดสัญญาขึ้น
นั้นก็คือการจำได้หมายรู้ในลักษณะที่เคยเกิดการกระทบในอดีต
คือ เย็น ร้อน อ่อนแข็ง.....ฯลฯ สิ่งที่ตามมาก็คือ อาการของจิตสังขาร คือ....
โมหะ โทสะและโลภะ

ที่เราเข้าใจว่า เป็นสุข เป็นทุกข์นั้น แท้จริงเป็นการเข้าใจผิดมาก
มันเป็นอาการของจิตที่เกิดความหลง เกิดเป็นโทสะและโมหะสลับสับเปลี่ยนกันของจิต
เมื่อเกิดอกุศลจิตสาม มันทำให้เกิดขันธ์ห้า

------------------...........................

เหตุมันทำให้เกิดผลที่เรียกว่า...สุข
แต่เนื่องด้วยความรักและความสุข มันเป็นกิเลส มันจะส่งผลให้เกิดทุกข์(วัฏสงสาร)
พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ใช้ พรหมวิหารสี่มาเยียวยาโลก เพราะเราต้องวางอุเบกขา
ต่อความรักและความสุขนั้น
------............
กระบวนการขันธ์ห้ามันเกิดจาก มีเหตุปัจจัยไปปรุงแต่งกิเลสตัณหา มันจึงทำให้เกิดขันธ์ห้า
ถ้าเรามีปัญญารู้เห็นสภาพสังขารเกิด ตั้งอยู่ ดับไปตามความเป็นจริง มันก็จะไม่เกิดขันธ์ห้า
ที่เราเกิดขันธ์ห้า เพราะเรายังไม่เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป

-----------............
อาการจิตที่แท้จริงมันคือความหลง
ถ้ามันเกิดกับปุถุชน มันจะเป็นอาการของ โลภะและโทสะ สลับกันไป
----------...........

ความหมายของ "สุข"ตามพระธรรมมันคือความทุกข์
เราต้องเห็น"สุข"เป็นทุกข์ให้ได้ จิตมันจะได้เลิกไขว่คว้าหาสุข
แบบนี้เรียกว่า จิตวางอุเบกขาหรือปล่อยวาง
----------..........

บุคคลหรือพระอริยะยังมีขันธ์ห้า แต่พระอรหันต์ไม่มีแล้ว
พระอริยะที่ยังมีขันธ์อยู่เป็นเพราะ ยังละกิเลสสังโยชน์ได้ไม่หมด
กิเลสสังโยชน์เป็นเหตุแห่งทุกข์ เหตุการปรุงแต่งให้เกิดขันธ์ห้า ก็มาจากกิเลสสังโยชน์ที่ว่านี้

พระอรหันต์มีเพียงรูปกับนามที่ไม่มีเหตุมาปรุงแต่งแล้ว เมื่อไม่ปรุงแต่งย่อมต้อง
ไม่มีกระบวนการขันธ์ห้า

รูปของพระอรหันต์เป็นเพียงกายที่มีธาตุสี่มาประชุมกัน นามของพระอรหันต์ไม่ไปยึดรูปมาปรุงแต่ง
มันจึงไม่เกิดรูปขันธ์ และนามที่เกิดจากผัสสะหรือกายที่เป็นธาตุสี่ เป็นเพียงกิริยาจิตหรือเป็นเพียง
จิตผู้รู้ เป็นนามแต่ไม่ใช่นามขันธ์

กายของพระอรหันต์ไม่ได้ประคองอะไร ไม่ได้ประคองจิต ยิ่งบอกประคองขันธ์ยิ่งไม่ใช่
พระอรหันต์ย่อมรู้ว่า .....จิตหรือนามมันเกิดขึ้นมาตามเหตุปัจจัย
เกิดแล้วก็ดับ และเหตุปัจจัยที่ว่าก็คือ ทวารทั้งหกหรือกาย เมื่อกายแตกสลายลง
ย่อมต้องหมดเหตุ จิตก็ย่อมหมดไปตามกายที่ว่านั้น วัฏฏะแห่งรูปนามก็หมดไปด้วย


ลักษณะของปุถุชน ขันธ์ห้าเป็นกองทุกข์
ถ้าไปดูในวงปฏิจสมุบาท ไล่ตั้งแต่อวิชามาจนถึงชรา มรณะ
ทั้งหมดรวมเรียกว่ากองทุกข์ ขันธ์ห้าก็คือกองทุกข์ในปฏิจฯ
------------......................

จิตที่เป็นขันธ์ห้าในปุถุชน มันจะเกิดกระบวนการเริ่มต้น ตั้งแต่ได้รับกิเลสทางทวารทั้งห้า
เมื่อได้รับกิเลสมาทางทวารใดทวารหนึ่งแล้ว ย่อมต้องต้องเกิดเป็นกระบวนการขันธ์

กระบวนการขันธ์จากผัสสะนั้นจะมาจบที่ สังขารขันธ์(อาการของจิต)
อาการของจิตที่เป็นอกุศล(โมหะ โทสะและโลภะ) มันจะเกิดการปรุงแต่งต่อ
ในรูปของ ธัมมารมณ์นั้นก็คือก็เกิดการคิดขึ้นที่สมองหรือหทัยวัตถุ
----------...................

ความว่างมันจะเกิดขึ้นได้มันต้องปิดทวารทั้งหก
ปิดเพี่อไม่ให้เกิดผัสสะ เมื่อไม่มีผัสสะจิตก็ว่าง
----------................
จิตวางอุเบกขากับจิตว่าง
พระอรหันต์จิตว่าง ท่านยังมีทวารทั้งหกอยู่
ท่านยังใช้ทวารนั้น ท่านใช้แล้ววางอุเบกขา
---------..................
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44088&start=15


อาการหลงเชื่อไปตามความคิดว่าเป็นจริงแบบนี้เขาเรียก.......อัตตา
ส่วนอนัตตาก็คือ เมื่อมันเกิดความคิดอย่างนี้ขึ้น ก็รู้ตัวว่า ตัวเราคิดไปเองความคิดนี้
มันไม่ได้ป็นความจริง
------------------.................................

ความไม่มีตัวตัวตน ไม่ได้หมายถึง ร่างกายของเรา แต่มันหมายถึง จิตของเราไม่ยอมให้สิ่ง
ที่เป็นอดีตจบไป พยายามเอาอดีตมาเป็นปัจจุบัน ซึ่งในความเป็นจริง มันเป็นไปไม่ได้
อดีตและอนาคตมันไม่มีตัวตน
ไม่ใช่ร่างกายไม่มีตัวตน
-----------------------------..................................

ความหมายของจิตว่าง เราต้องพิจารณาให้ดี จิตว่างในความหมายของพระพุทธเจ้า
มันไม่ใช่จิตว่างแบบโยคี จิตว่างแบบโยคีมันหมายถึงการไม่ให้จิตเกิดดับตามความเป็นจริง
แบบให้เข้าใจง่ายๆก็คือไปบังคับไม่ให้สมองคิดอะไร เมื่อสมองไม่คิดความว่างมันก็เกิด


แต่จิตว่างแบบของพระพุทธเจ้าคือ คิดแต่ในสิ่งที่อยู่ในกรอบของความเป็นจริง
อย่างเช่นเรากำหนดราคาสินค้าไว้แล้ว มีลูกค้ามาต่อราคา เราย่อมรู้อยู่แล้วว่า
เรื่องแบบนี้มันเป็นเรื่องปกติของการซื้อขาย เมื่อคิดได้อย่างนี้
จิตเราก็จะไม่เกิด โทสะหรือจิตที่เป็นอกุศล..........แบบนี้จึงเป็นจิตว่างในทางพุทธศาสนา
-----------------------.........................

สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงเน้นในความเป็นแก่นธรรม กรรมที่ส่งผลให้เกิดเป็นวิบาก
นั้นก็คือ การต้องไปเกิดใหม่ในชาติหน้า
------------------................
ความหมายของวิปัสสนา มันกว้างแท้จริงแล้วมันหมายถึงการปฏิบัติ
การปฏิบัติมันก็เป็นระดับขั้นของเหตุและผล
นั้นคือการเอาเหตุอย่างหนึ่งมา ให้เกิดผลอีกอย่างหนื่ง
เอาสติสร้างปัญญาขั้นต้นและเอาปัญญาขั้นต้นไปสร้างปัญญาในขั้นต่อไป

เอาแค่ในวันหนี่งๆ หูได้ยินเสียงก็รู้ว่า ได้ยินเสียง
ตามองเห็นก็รู้ว่าตามองเห็น สมองกำลังคิดก็รู้ว่ากำลังคิด แบบนี้ก็เรียกว่า...
เป็นการปฏิบัติหรือวิปัสสนาแล้ว

---------------..........................

ครูบาอาจารย์บัญญัติคำว่า"ชีวิต"ขึ้นมา ก็ได้ให้ความหมายไว้ว่า
ชีวิตคือรูปกับนาม รูปก็คือธาตุสี่ นามก็คือจิตหรือมโน...ฯลฯ
และครูบาอาจารย์ยังได้อธิบายในรายละเอียดว่า...
จิตที่ว่ามีลักษณะเกิดดับตลอดเวลาเป็นสันตติ
ความหมายของชีวิตก็คือ รูปนามนี่ มีธาตุสี่ที่มีจิตให้ธาตุสี่ประชุมกันไม่ให้แตกสลาย
---------------...........................
พระพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าจะยึดจิตเป็นตัวเป็นตน
ให้ยึดกายซะยังดีกว่า

-------------...................
วัฎสงสาร = เกิด แก่ เจ็บ ตาย แบบนี้เขาถึงเรียกว่า ความตาย
ความตายก็คือ จิตละทิ้งรูปกายเดิมนั้น ส่วนเกิดดับหมายถึง..........
จิตเกิดดับตลอดเวลา มันเป็นธรรมชาติของจิต
ตรงข้ามถ้าในรูปกายนั้นไม่มีจิตที่เกิดดับ
นั้นหมายความว่า........ไม่มีชีวิตหรือตาย

44131.ตัวเราขณะนี้กับตัวเราเมื่อวินาทีก่อน เป็นคนละคนกัน?
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44131&start=15

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 23, 2012, 10:00:51 pm »



รูปนามมันก็ประกอบด้วยขันธ์ห้านั้นแหล่ะ และขันธ์ห้าก็คือชีวิต
แต่ชีวิตจะเป็นขันธ์ห้าได้ ต้องกำหนดรู้หรือรู้

คนจึงแตกต่างจากสัตว์ในเรื่องขันธ์ห้า ทั้งๆที่มีชีวิตเหมือนกัน
สัตว์กำหนดรู้ไม่ได้ ส่วนพืชมันไม่มีขันธ์ห้า...

แล้วทำไมต้องรู้หรือกำหนดรู้ เพราะพระพุทธเจ้าทรงบอกว่า
การรู้ต้องรู้ด้วยสัมมาทิฐิ รู้สภาพตามความเป็นจริง
ดังนั้นถ้ามีใครบอกว่า ชีวิตคือขันธ์ห้ามันไม่ถูกต้องเพราะ
ขันธ์ห้าต้องกำหนดรู้ด้วยตัวของตัวเอง ไม่ใช่อ่านตามตำรา

43170.ชีวิต (ชีวิตินทรีย์- อินทรีย์คือชีวิต)
-http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43170&p=306880#p306880

------------................

ต้นไม้ไม่ใช่สัตว์ แต่มันมีชีวิต
เหตุที่มันไม่ใช่สัตว์เพราะ รูปนามของมันไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง...หรือไม่มีขันธ์ห้า

ต้นไม้เป็น....... วิสังขาร และเป็นอสังขตธาตุ
----------.......
อ่านพระสูตรเรื่อง รูปกายกับนามกายเพิ่มเติม
อาจจะเข้าใจถึง การมีปัจจัยที่อาศัยซึ่งกันและกัน
------------.............
ไตรลักษณ์ไม่ใช่สังขตธรรม
ไตรลักษณ์เป็น อสังขตธรรม

ไตรลักษณ์ไม่ใช่สังขาร(การปรุงแต่ง) แต่ไตรลักษณ์เป็นสภาวะที่รู้เห็น
ตามความเป็นจริงของสังขาร

ดังนั้นไตรลักษณ์และสังขตธรรมจึงเป็นธรรมคนละตัวหรือคนละสภาวะ
พูดง่ายก็คือ .......ไตรลักษณ์เป็นตัวผู้รู้ สังขตธรรมเป็นตัวถูกรู้

ท่านแบ่งสังขารในลักษณะของรูปไว้คือ
อุปาทินนกสังขาร.....สังขารที่มีกรรมยึดครอง บางท่านว่าใจครอง บางท่านว่าอุปาทานขันธ์
อนุปาทินนกสังขาร....สังขารที่ไม่มีกรรมยึดครอง บางท่านว่าไม่มีใจครอง หรือไม่อุปาทานขันธ์ครอง


พระอรหันต์ที่มีอารมณ์นิพพาน ท่านอยู่ในลักษณะของ..อนุปาทินนกสังขาร รวมทั้งต้นไม้
ก้อนดิน ก้อนหิน

สมุฐานสี่ อุตุ กรรม จิตและอาหาร เขาหมายถึง......รูป

ถ้าจะพูดถึงต้นไม้ มันต้องไปดูเรื่อง........นิยาม๕
นิยาม๕มันมีอะไรบ้างก็คือ

๑.ธรรมนิยาม
๒.จิตนิยาม
๓.กรรมนิยาม

๔.อุตุนิยาม คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของปรากฏการณ์ ในธรรมชาติ
เกี่ยวกับวัตถุที่ไม่มีชีวิตทุกชนิด หลักของอุตุนิยาม ตามแนวพระพุทธศาสนามุ่งให้ผู้ที่เข้าใจ
เกี่ยวกับกฎธรรมชาติที่ว่าด้วยวัตถุ อุตุนิยาม คือลักษณะสภาวะต่างๆของธาตุทั้ง5
คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ

๕.พืชนิยาม คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปในพันธุกรรม กระบวนการถ่ายทอดข้อมูลของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์
กฎข้อนี้จึงหมายรวมในเรื่องของร่างกายและกระบวนการทำงานของสิ่งมีชีวิตต่างๆ
ที่เกิดจากการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมด้วย
กฎพืชนิยามนี้ทำให้เมื่อเรานำเมล็ดข้าวเปลือกไปเพาะ ต้นที่งอกออกมาจะต้องเป็นต้นข้าวเสมอ
หรือสัตว์อย่างไร ย่อมออกลูกอย่างนั้นเสมอ
ความเป็นระเบียบนี้พระพุทธศาสนาค้นพบว่าเป็นผล มาจากการควบคุมของธัมมตาทั้ง3
คือ สมตา(การปรับสมดุล) วัฏฏะ(การหมุนวนเวียน) และ ชีวิต(การมีหน้าที่ต่อกัน)


44063.มารู้จักกับขันธ์ ๕ กันดีกว่าไหม

- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44063&p=313999#p313999
*****************
--------------------------....................................

ตัวอักษรที่เขียนว่าชีวิต เขาบัญญัติขึ้นมาใช้แทน สิ่งที่มีอยู่จริงหรือสัจจะ
สิ่งที่มีอยู่จริงเดินได้ กินได้ อุจจาระได้ เขาเรียกว่า...อุปาทินนกสังขาร
นั้นคือสังขารที่มีใจครอง

ดังนั้นชีวิตที่เป็นตัวอักษรหรือคำพูดเขาหมายสมมุติ
แต่ถ้าชีวิตที่หมายถึงสิ่งมีชีวิตหรือเรียกอีกอย่างว่า อุปาทินนกสังขาร มันเป็นสัจจะ
มันมีอยู่จริงไม่ใช่สมมุติ

ชีวิตก็คือมีรูปกับนามอยู่ รวมเรียกว่า อุปาทินนกสังขาร
อันนี้ได้แก่ คน สัตว์ สิ่งมีชีวิต
ส่วนมรณานั้นแสดงว่ามีแต่รูป ปราศจากนามแล้ว เรียกว่า ..อนุปาทินนกสังขาร
คนและสัตว์ที่ตายแล้วเหลือแต่ร่าง

อนุปาทินนกสังขารยังมีความหมายถึงสิ่งไม่มีชีวิตด้วยเช่น ภูเขา ก้อนหิน รถ
แต่ที่ว่ามายกเว้น พระอรหันต์ พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต แต่
ท่านจัดอยู่ในอนุปาทินนกสังขาร
ใจท่านไม่ปรุงแต่งแล้ว
----------......  ----------........  ----------........
สิ่งที่ทำให้คนเข้าใจผิดว่า ชีวิตคือขันธ์ห้า เป็นเพราะผู้ที่หลงเข้าใจผิด
กำลังหลงในสถานะของตนเอง นั้นก็คือไม่แยกแยะว่า คำพูดที่ตัวเองกำลังพูด
เป็นคำกล่าวของผู้ที่หลุดพ้นแล้ว ผู้ที่หลุดพ้นการยึดมั่นในขันธ์ห้าก็คือพระอรหัต์
กำลังกล่าวถึงอธิบายความให้เข้าใจว่าชีวิตคืออะไร ขันธ์ห้าเป็นอย่างไร

ถ้าเรามีสมาธิพิจารณาให้ดีแล้ว คำกล่าวคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์
ท่านไม่ได้กล่าวในขณะที่ท่านเป็นพระอรหันต์ ท่านกำลังกล่าวในสิ่งที่เกิดก่อนที่ท่าน
จะมาเป็นพระอรหันต์

ถ้าเรารู้จักการใช้สติ ใช้สมาธิแยกธรรมก็น่าจะเข้าใจได้ แต่ทำไมมันเป็นแบบนี้ไปได้
ก็เป็นเพราะไม่รู้จักการใช้สติเบื้องต้น ไม่เข้าใจสมาธิมาตั้งแต่แรกแล้ว จึงทำให้ไม่เกิดการ
พิจารณาธรรม
----------------.........  -------------............  -------------..............
มาดูว่าทำไมจึงบอกว่า ขันธ์ห้าไม่ใช่ชีวิต
ขันธ์ห้าเป็นสังขาร ขันธ์ห้าเกิดจากสังขารไปปรุงแต่ง
สังขารคือ การปรุงแต่ง สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง
สังขตธรรม คือ ธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง นั้นก็คือสังขาร
อสังขตธรรม คือ ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง นั้นก็คือวิสังขาร


ที่นี้มาดูความหมายของ สังขารที่หมายถึงรูปนาม
สังขารที่เป็นรูปนาม คือ สังขารที่มีใจครอง เรียกว่า อุปาทินนกสังขาร
นั้นคือสิ่งมีชีวิตต่างๆ

ส่วนสังขารอีกอย่างคือ สังขารที่ไม่มีใจครอง เรียกว่าอนุปาทินนกสังขาร
นั้นคือสิ่งไม่มีชีวิต.......ประเด็นสำคัญอยู่ตรงนี้ นั้นคือพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต
มีใจครอง เพียงแต่เราเรียกชีวิตของท่านไปในลักษณะรูปนาม
รูปนามของพระอรหันต์จึงเป็น.....อนุปาทินนกสังขาร

สภาวะธรรมของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต สภาวะของท่านคือ รูปนามของท่านเป็น.....
อนุปาทินนกสังขาร นั้นคือสังขารนั้นยังมีใจครอง แต่เป็นธรรมธาตุที่เรียกว่า..อสังขตธรรม

อสังขตธรรมที่ว่าก็คือ.....วิสังขาร
วิสังขาร ก็คือ อนุปาทินนกสังขาร นั้นคือสังขารที่มีใจครองแต่ไม่ปรุงแต่งแล้ว
อันได้แก่ พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต

ดังนั้นขันธ์ห้าเป็น สังขารที่มีปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมา ที่เราคิดว่าขันธ์ห้าคือชีวิต
เป็นการเข้าใจผิด เป็นเพราะอวิชา หลงไปยึดสิ่งที่ถูกปรุงแต่งเอามาเป็นตัวตน

ดังนั้นขันธ์ห้าเป็นสังขาร เกิดดับตามกฎไตรลักษณ์
มันเกิดขึ้นดับไปตลอดเวลา แต่การเกิดขึ้นดับไปของขันธ์ ไม่ได้ทำให้สิ่ง
ที่เรียกว่าชีวิตดับไปด้วย แสดงว่าขันธ์ห้าไม่ได้เกี่ยวข้องกับชีวิต

ก็เหมือนกับพระอรหันต์ที่มีชีวิต ท่านไม่ได้มีการปรุงแต่งขันธ์ห้าแล้ว
ขณะที่ท่านมีชีวิตในสถานะอรหันต์ ท่านมีใจครอง แต่เป็นอนุปาทินนกสังขาร
นั้นคือ เป็นวิสังขาร ไม่ปรุงแต่งขันธ์ห้าแล้ว
ภาษาธรรมะวันละคำวันนี้เสนอคำว่า... กิริยาจิต
**
ก่อนอื่นเราต้องรู้จุดประสงค์สุดท้ายที่เรามาปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
การไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด หรือการไม่ต้องมีชีวิตซ้ำแล้วซ้ำอีก นี่แหล่ะคือผลที่เราต้องการ

สิ่งที่พระพุทธองค์กำลังชี้ให้พวกเราเห็น ก็คืออะไรเป็นสาเหตุ ให้เกิดชีวิต
อะไรเป็นเหตุให้เกิดวัฏสงสาร
พระองค์กำลังบอกว่า ชีวิตที่มีอยู่นี้เกิดจากเราไปยึดเอาขันธ์ให้เป็นตัวเป็นตน

ชันธ์ห้าไม่ได้อาศัยกันและกัน การเกิดขึ้นของขันธ์มันมีสาเหตุมาจากสังขาร
แท้จริงแล้ว ชีวิตเป็นแค่รูปกับนาม แต่ที่เกิดเป็นขันธ์ห้าก็เพราะ
นามไปปรุงแต่งรูปจนเกิดเป็นขันธ์ห้าขึ้น

ดังนั้นการเกิดของขันธ์มีเหตุปัจจัยมาจากการปรุงแต่ง มันไม่มีอยู่จริง
พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นความไม่มีมีอยู่ของขันธ์ห้า ก็ด้วยกฎแห่งไตรลักษณ์
**
การที่บุคคลเห็นจิตลึกลับซับซ้อนเป็นเพราะ อวิชา
ถ้าว่าโดยชีวิต จิตใจเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันกับรูปหรือกาย
ต่างพึ่งพากันเพื่อให้ชีวิตดำรงค์อยู่
ส่วนความลึกลับซับซ้อนของชีวิต มันเกิดจากสมองที่เป็นส่วนของรูป
สมองสามารถจินตนาการให้เกิดเรื่องราวปรุงแต่งไปต่างๆนาๆ
**
นามขันธ์มันเกิดตามเหตุปัจจัย และเหตุที่เกิดไม่ใช่ความสัมพันธ์และอิทธิพล
ตัวอิทธิพลที่ทำให้เกิดขันธ์ มันก็คือสังขาร ถ้าไม่มีสังขารก็ไม่มีเหตุให้เกิดขันธ์ห้า
**
ตามหลักอริยสัจจ์สี่ มันเป็นเหตุแห่งทุกข์--- ..  พระพุทธองค์ให้รู้แล้วละเสีย
นั้นก็คือรู้เหตุนั้นก็คือสังขาร รู้ว่าสังขารทำให้เกิดอะไร ที่เรียกว่าการยึดมั่น
เป็นเพราะอะไรจึงเกิดการยึดมั่น  สรุปก็คือท่านให้รู้แล้วอย่าทำ รู้แล้วละมันเสียด้วยมรรคมีองค์แปด
---.....
ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่เวทนา ความสำคัญมันอยู่ที่การรู้รูปรู้นาม
การรู้รูปรู้นามเพียงแค่นี้ก็เป็นการรู้ที่แท้จริงปราศจากการปรุงแต่ง

เวทนามันเกิดจากการปรุงแต่งผัสสะ ตามความจริงแล้ว
พระพุทธองค์ทรงสอนว่า มีสิ่งใดมากระทบกายก็แค่รู้ว่าเกิดการกระทบขึ้นแล้วให้จบ
อยู่ตรงที่ผัสสะการกระทบ อย่าให้นามปรุงแต่งจนเกิดเวทนาขึ้น

เวทนาทางกายไม่ได้หมายถึงเวทนาขันธ์
เวทนาทางกาย มันเป็นผัสสะอย่างหนึ่ง
---....
เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ มันเป็นขันธ์
มันเป็นผลหรือบทสรุปในการกระทำของรูปกับนาม ตัวอย่าง เช่นเกิดการกระทบทางกาย
ส่วนที่รับรู้คือประสาทกาย เมื่อรู้แล้วเกิดการปรุงแต่งมันจะเป็นสภาวะนามที่เรียกว่าวิญญาณขันธ์
ถ้ารู้ผัสสะเฉยๆ เรียกวิญาณหรือจิตผู้รู้ แต่ถ้ารู้แล้วปรุงแต่งจิตรู้จะกลายเป็นขันธ์ และขันธ์ตัวนี้
จะกลายเป็นเวทนาทางใจ    *** ธรรมะวันละคำ วันนี้เสนอ... อริยสัจจ์สี่
----------------...........................
การเวียนว่ายตายเกิดหรือการมีชีวิตหลายครั้ง พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า...เป็นทุกข์
การหลงว่าขันธ์ห้าคือชีวิต แท้จริงมันเป็นการปรุงแต่ง
เพราะขันธ์ห้าเป็นเพียงสังขารที่ไปปรุงแต่งรูปนาม
ดังนั้นขันธ์ห้าไม่มีอยู่จริง สิ่งที่มีอยู่จริงคือ รูปกับนาม
การมองเห็นรูปนามตามความเป็นจริง นั้นคือเห็นปฏิจสมุบาท
การมองเห็นขันธ์ห้าเป็นเพียงสังขารการปรุงแต่งของรูปนามนั้นคือ เห็น...ไตรลักษณ์
รูปนามเป็นทุกข์..ขันธฺห้าเป็นเหตุแห่งทุกข์..ไตรลักษณ์เป็นมรรค..การดับของขันธ์ห้าเป็นนิโรธ
- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/

43600.แท้จริงแล้วขันธ์ของคนก็ คือ.....งงล่ะซิงง?
-http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43600&start=15

----------------------------....................

(อาภัพบุคคล) หมายถึงบุคคลที่ไม่สามารถ เข้าถึงธรรมของพระพุทธเจ้า
ได้แก่คน ๔ ประเภทคือ .....
---------------..........................
---------------------------------
อายตนะภายนอกทั้งหก ที่เราสามารถรับรู้หรือเกิดการกระทบจนเกิดเป็น อารมณ์หรือนามได้
เป็นเพราะ อายตนะภายในทั้งหก อายตนะภายในทั้งหกก็คือ หู ตา จมูก ลิ้น กายและใจ

อารมณ์ต่างๆที่เกิดการกระทบของอายตนะ แล้วเราก็เข้าไปยึด กายหรือร่างกายทั้งของเรา
และคนอื่น ทั้งสัตว์และสิ่งที่เรียกว่าชีวิต เราไปยีดมั่นจนเป็นตัวเป็นตน

และสาเหตุหรือสมุฐานที่ทำให้เกิดการยึดมั่น เพราะตาเราไปเห็น กายหรือร่างกายเป็นตัวเรา
ตาจึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้เห็น สมุทัย เมื่อเห็นเหตุแห่งทุกข์จึงสมารถดับทุกข์ได้

การใช้หลักของโยนิโสฯก็คือ น้อมจิตเอาปัญญารู้ไตรลักษณ์ เอาสภาวะไตรลักษณ์ที่ว่า...
สังขาร ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน เอามาพิจารณาธรรมที่เกิดหลังจากการกระทบจนเป็นอารมณ์
แท้จริงแล้ว เป็นแค่สังขาร ไม่เที่ยงเป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวตน
พิจารณาดังนี้จะทำให้ไม่ไปยึดเอาอารมณ์เป็นตัวตน รู้แค่ว่ามันเป็นการปรุงแต่ง
เมื่อมันเกิดแล้วก็ดับ


ทำได้อย่างนี้จิตที่เคยมองเห็นสิ่งภายนอกเป็นตัวตนเราเขาก็จะดับ
ที่สำคัญการมองเห็นเมื่อในอดีตว่า ร่างกายที่เรามองเห็นเป็นตัวตน
มันเป็นแค่รูปที่ตาไปกระทบ แล้วเกิดอารมณ์สังขารปรุงแต่ง...
........................ แท้จริงแล้วมันเป็นมหาภูติรูปสี่ เป็นแค่ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ

ที่กล่าวข้างบน ต้องผ่านการละ สักกายทิฐิให้ได้ก่อนจึงจะเห็นสภาวะนั้น
หลักการละสักกายทิฐิ ต้องอาศัยตาและจักขุปสาทรูปเพี่อหาสมุฐานหรือเหตุ
จึงจะดับเหตุนั้นได้
------------------------..........................
*ปรโตโฆสะ*คือธรรมภายนอก เป็นธรรมที่ต้องพิจารณา
*ปัญญาสัมมาทิฐิ* คือการมองธรรมตามความเป็นจริง นั้นคือการไม่ยึดเอาธรรมที่
กำลังพิจารณาเป็นตัวตน

*โยนิโสฯ คือ การที่จิตน้อมเอาปัญญาสัมมาทิฐิมาเป็นหลัก แล้วไล่หาเหตุและผลในธรรม
หรือปรโตโฆสะนั้น กล่าวได้ว่า....โยนิโสฯเป็นปัญญา(ธัมวิจยะ)ที่มุ่งตรงต่อ.....
ปัญญาสัมมาสังกัปปะ

-------------............................
หลักกาลามสูตรใช้ไม่ได้ทุกกรณีมั้ง
มันใช้ได้ถ้าเราใช้โดยมีสัมมาทิฐิคอยกำกับ
ตรรก ถ้ามีสัมมาทิฐินำหน้า เขาเรียกตรรกนั้นว่า ......
ปัญญาสัมมาสังกัปปะ

43771.ปวดหัวกับคำศัพท์จริงๆ
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43771&start=30

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 20, 2012, 03:34:36 pm »



เช่นนั้น เขียน:
พระไตรปิฏกเป็นการ รวบรวมพุทธพจน์มาไว้ในที่เดียวกัน
เพื่อเป็นหลักอันมั่นคง ต่อผู้ศึกษา ในการพิจารณาธรรม อย่างถูกต้อง

---------------------------
ขอย้ำพุทธพจน์ไม่ใช่แบบเพื่อให้ศีกษา ยิ่งในพระสูตรยิ่งไม่ใช่ พูดให้ตรงความหมายก็คือ
พุทธพจน์ คือการปฏิบัติ ซึ่งต้องอาศัย การเลือกเฟ้นธรรม(ธัมมวิจยะ)
โดยมีปัญญาเป็นหลัก

เริ่มแรก พุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน เรียกว่า"พระธรรมวินัย"
นั้นคือมีในเรื่อง วินัยของสาวกและธรรมต่างๆที่พระพุทธองค์ทรงสอนบุคคลต่างสถานที่
ต่างสถานะ


แต่ต่อมาหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว เหล่าสาวกที่ทำสังคายนา
ได้เพิ่ม บทพระอภิธรรมปิฎกเข้าไป จากพระวินัยหรือคำสอนของพระพุทธเจ้าแท้ๆ
จีงกลายเป็น พระไตรปิฎก ดังนั้นส่วนที่ใช่สำหรับศึกษาก็คือ...พระอภิธรรมปิฎก ไม่ใช่พระสูตร

คุณเช่นนั้นครับ ผมเห็นคุณแย้งผมหัวชนฝาเรื่อง "ไตรลักษณ์"
คุณบอกว่า"ไตรลักษณ์ไม่ใช่พุทธพจน์" แล้วนี่ไม่เข้าใจหรือว่า พระอภิธรรมก็ไม่ใช่พุทธพจน์

------------------------------
เช่นนั้น เขียน:
การศึกษาพุทธพจน์ และน้อมนำเข้าสู่จิตสู่ใจ แม้เพียงในชั้นบัญญัติ ก็ยังสามารถ
นำให้เกิดสุตตมยปัญญาได้ และนำไปปฏิบัติยิ่งขึ้นไป ก็นำให้เกิดจินตามยปัญญา
ต่อๆไป ซึ่งหากขาดเสียซึ่งความเข้าใจในบัญญัติ
ก็อย่าหวังว่าจะรู้ธรรมในปรมัตถสภาวะ คือมรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 อีกต่อไปเลย
----------------------------------------------------------


ก็เป็นแบบนี่ไงครับ เข้าใจผิดกัน สอนกันมาผิด หยิบเอาพุทธพจน์มาสอน
โดยไม่เข้าใจ

ปัญญาที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึงมีหลายระดับ
สุตตะ จินตะและภาวณา มันเป็นวิธีการพัฒนาปัญญา
นั้นก็คือใช่ สุตตะ จินตะและภาวนามาพัฒนาปัญญาให้สูงขึ้น

แต่ที่แน่ๆ บุคคลที่พระพุทธเจ้าทรงสอนในเรื่องนี้
จะต้องเป็นบุคคลที่ผ่านสภาวะไตรลักษณ์มาแล้ว จึงจะเข้าใจในสุตตะได้
การได้เห็นสภาวะไตรลักษณ์ คือเห็นการเกิดดับของสภาวะ และเมื่อได้มาได้รับฟัง
จากผู้อื่นว่า สภาวะที่เห็นคือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวตนของขันธ์ห้า
นี่แหล่ะเรียกว่า......การเกิดสุตตมยปัญญา เป็นปัญญาขั้นต้นเรียกว่า..สัจจานุโลมิกญาณ

สรุปก็คือไม่ใช่อยู่ดีๆ แล้วแค่ฟังแค่อ่านจะทำให้เกิดปัญญา
บุคคลนั้นจะต้องเคยผ่านสภาวะไตรลักษณ์มา ไตรลักษณ์ก็เป็นปัญญาเบื้องต้น
แต่เพราะยังไม่เข้าใจในสภาวะที่เห็น จึงต้องอาศัยการฟังการอ่านอธิบายว่า.
ไตรลักษณ์คืออะไร เมื่อรู้แล้วจีงเรียกว่าปัญญาเบื้องต้นที่แท้จริง

---------------------------------

เช่นนั้น เขียน:
เมื่อในขณะที่จิตยังมี วิจิกิจฉา อันสืบเนื่องจากความเข้าใจต่อความรู้เดิมๆ
ขัดแย้ง กับความรู้ความเข้าใจ ซึ่งแสดงไว้ในพุทธธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ..
----------------------------------------


วิจิกิจฉา อันเกิดจาก ทิฏฐานุสัยในชั้นแรกๆนั้น จำเป็นต้องอาศัย ศรัทธาปสาสทะ ในการขจัดออก เพื่อเปิดโอกาสให้จิตนั้น ได้น้อมนำคำสอนมาสู่จิตสู่ใจ ซึ่งเรียกว่า โยนิโสมนสิการ อันจะนำไปสู่ความเห็นชอบในกาลต่อไปได้

จิตที่มีวิจิกิจฉา มันไม่ได้เกี่ยวกับความรู้เดิมๆ มันไม่เกี่ยวกับบัญญัติที่อ่านสักนิด
มันเกี่ยวกับสภาวะที่มาบดบังธรรม มันเป็นเรื่องเหตุปัจจัย การยึดมั่นถือมั่นสิ่งหนึ่ง
ทำให้ไม่เชื่ออีกอย่างหนึ่ง อาจจะมีใครบ้างคนบอกว่า เชื่อซิทำไมไม่เชื่อ
ก็ขอบอกเลยว่า งมงาย

สิ่งที่ทำให้ให้เกิดวิจิกิจฉา มันเป็นกิเลสอีกตัวที่เรียกว่า สักกายทิฐิ
แล้วสักกายะคืออะไร มันก็คือการหลงว่า กายนี้ใจนี่เป็นตัวเป็นตน
ผู้ซี่งยังไม่เคยผ่านไตรลักษณ์ ไม่รู้ความเป็นอนิจจัง ทุกขังและอนัตตาของสังขาร

ฉะนั้นผู้ที่จะสิ้นวิจิกิจฉา จะต้องเป็นผู้มองสภาวะตามความเป็นจริงเสียก่อน
เพราะมันเป็นต้นเหตุหรือเหตุปัจจัยของสัมมาทิฐิ เมื่อมีสัมมาทิฐิ วิจิกิจฉาก็จะหมดไป
ทำให้สามารถพิจารณาธรรมของพระพุทธองค์ได้ เพราะธรรมของพุทธองค์ก็เป็นเรื่องราว
ตามความเป็นจริงของธรรมชาติ

ธรรมชาติในที่นี้คือ ธรรมชาติของรูปนามน่ะ ที่สำคัญรูปนามเป็นปรมัตถ์
การอ่านการฟังโดยไม่เห็นการทำงานของรูปนามก่อน ย่อมต้องไม่ใช่การเห็น
ธรรมตามความเป็นจริง
ก็บอกแล้วไงแค่งมงาย


---------------------------------------

เช่นนั้น เขียน:
เมื่อ โยนิโสมนสิการ เกิดขึ้นจนดวงจิต เป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว
---------------------------------------------------------


โยนิโสนมสิการเกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีสัมมาทิฐิมาน้อมนำ โยนิโสฯเกิดจากมีสัมมาทิฐิเป็นเหตุ
ที่คุณเช่นนั้นบอกว่า "โยนิโสฯเกิดขึ้นจนดวงจิตเป็นสัมมาทิฐิ" แบบนี้มันเป็นเพียงความคิด

ความหมายของโยนิโสฯ คือการเอาสัมมาทิฐิเป็นหลักในการ
น้อมนำลงไปพิจารณาธรรม เพื่อดับสังโยชน์ พูดง่ายโยนิโสฯเป็นตัวเชื่อมระหว่าง..
สัมมาทิฐิกับธรรมที่กำลังพิจารณา

-----------------------------------------------
เช่นนั้น เขียน:
สติปัญญาอันได้ตั้งแต่ถือกำเนิดมาเพราะกุศลนำอยู่ในขณะที่มีโอกาสเป็นคนนั้น
แม้มีกำลังอ่อนก็สามารถพัฒนาให้มีกำลังมากขึ้นได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการพิจารณาธรรม
ตามสมควรแก่กำลังสติปัญญาในเวลาต่างๆกันไป
ซึ่งเรียกว่า การทำจิตตภาวนา โดยอาศัยพุทธพจน์เป็นมรรค เป็นทางดำเนินไป
-------------------------------------------------------------------------------


สัตว์โลกไม่ว่าคนหรือเดรัจฉาน ที่ต้องเกิดมาเวียนว่าย ก็เพราะขาดปัญญา
ไม่ใช่ว่า การได้เกิดเป็นคนเพราะมีปัญญา เกิดเป็นเดรัจฉานเพราะไม่มีปัญญา

คนแตกต่างจากเดรัจฉานตรงที่ คนมีสติที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการได้มาแห่งปัญญา
แต่เดรัญฉานไม่มี

การกล่าวโดยเอาสติกับปัญญามาร่วมเป็นสิ่งเดียวกัน มันผิดผิดหลักความเป็นจริง
เพราะสติก็คือสติ ปัญญาก็คือปัญญา เป็นคนละส่วนกัน


คนไม่มีปัญญาก็สามารถมีสติได้
ส่วนคนมีปัญญาต้องอาศัยสติเป็นเครื่องนำทาง

ที่กล่าวมาเพื่อจะชี้ให้เห็นว่า การเอาพระสูตรเอาพุทธพจน์มาเป็นบทเรียน
ผลก็อย่างที่เห็น คือไม่เข้าใจในสภาวะที่เป็นจริง สับสนกับอาการของจิต

จำไว้เลยว่า พระสูตรมีไว้เพื่อแก้จริต จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้จะใช้ต้องมีสัมมาทิฐิ
เพื่อน้อมนำมาพิจารณาพระสูตร ไม่ใช่มาอ้างกันลอยๆ

การจะเข้าใจในพระธรรมได้ต้องอาศัยพระไตรปิฎก ในส่วนของ พระอภิธรรม
พระอภิธรรมที่มีขึ้นมา เพราะเหล่าพระอรหันต์สาวก มีจุดประสงค์มีไว้เพื่อศึกษา
ทั้งหมดทั้งมวลเป็นการอธิบายสภาวะธรรมต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้


---------------------------------------------
เช่นนั้น เขียน:
ดังนั้น การแสดงธรรม แม้เพียงพยายามอ้างพุทธพจน์ ด้วยความสำรวมระวัง
ก็เป็นสิ่งที่น่าอนุโมทนา แต่หากแสดงธรรมเอง แล้วคิดเองเออเอง
ว่าเป็นธรรมที่พระองค์แสดงไว้
ย่อมเป็นการแสดงถึงความด้อยปัญญา อันเป็นทิฏฐานุสัยเดิมที่แสดงออกมา
-----------------------------------------------------


ต้องแยกแยะให้ดีว่า ธรรมที่บุคคลอื่นแสดงเป็นการคิดเองเออเอง หรือเป็นเพราะตัวเองไม่รู้
เลยทำให้เกิดอคติ เพราะความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตนหลง จนเกิดอกุศลต่อต้าน

การอ้างพุทธพจน์เพื่อให้ระลึกนึกถีงพระพุทธเจ้า นั้นเป็นกุศล
แต่ถ้าจะเอาพุทธพจนน์มาอ้างโดยขาดความเข้าใจ อาจเป็นกุศลแต่มันขาดปัญญาครับ

ถ้าคุณเช่นนั้น จะโพสพระอภิธรรมปิฎก อธิบายว่า..
ปรมัตถ์คืออะไร จิต เจตสิก รูปและนิพานคืออะไร ผมจะไม่เถียงเลยว่า..
มันเป็นบทเรียน เป็นปริยัติ แต่ไม่ใช่เอาพระสูตรมาโพสโดยไม่มีที่มาที่ไป
พอมีคนเขาถาม ก็ตอบแต่บัญญัติในลักษณะแปล กลับไปกลับมาระหว่าง...บาลีกับภาษาไทย

43226.ชีวิต .....เป็นส่วนของปฏิจจสมุบาท เข้าใจมั้ย!