ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2014, 11:57:32 am »




กาลู รินโปเช เขียน / วิจักขณ์ แปล

ไปพ้นการมีอยู่ของอัตตา

เป็นไปไม่ได้เลยที่จะบรรลุถึงการรู้แจ้ง โดยคิดไปว่ากายและโลกแห่งปรากฏการณ์ ซึ่งประกอบขึ้นมาด้วยธาตุทั้งสี่ (ดิน น้ำ ไฟ ลม) เป็นตัวเป็นตนจริงๆ การรับรู้เช่นนั้นผิด นั่นคือเหตุที่ทำไมระหว่างขั้นสร้าง ผู้ปฏิบัติฝึกภาวนากับโลกภายนอกในฐานะพุทธภูมิ (pure land) บ้านเรือนในฐานะพระราชวังของเหล่าทวยเทพ และตัวผู้ปฏิบัติเองและสรรพชีวิตอยู่ในกายของทวยเทพ  ไม่มีสิ่งใดที่ถูกรับรู้และเข้าใจในฐานะการดำรงอยู่ทางวัตถุ ทว่าทุกสิ่งถูกมองเป็นการสอดประสานกันเป็นหนึ่งอันไม่ถาวรของรูปกับความว่าง

เช่นเดียวกัน เรามักยึดว่าเสียงภายนอก ซึ่งก่อรูปขึ้นจากกาสัมผัสกับธาตุทั้งสี่ หรือเสียงภายใน ซึ่งคือซุ่มเสียงของสรรพสัตว์ เสียงจึงถูกตีความและตัดสินว่าน่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ ในฐานะต้นกำเนิดของความสุข ความกลัว ความน่ารำคาญ ฯลฯ ในขั้นสร้าง เสียงทั้งหลายถูกภาวนาในฐานะมนตรา ปราศจากการมีอยู่จริงโดยตัวมันเอง ซุ่มเสียงทั้งหลายคือการสอดประสานกันเป็นหนึ่งของรูปกับความว่าง

ธรรมชาติของจิตโดยตัวมันเองนั้นว่าง ความคิดและอารมณ์ขัดแย้งมากมายพัฒนาขึ้นจากมัน ความคิดและอารมณ์เหล่านั้นมีธรรมชาติของความว่างไม่ต่างกับจิตที่สร้างมันขึ้นมา ทว่ายังถือเป็นสภาวะที่เป็นจริง ความว่างของจิตใจก็คล้ายกับมหาสมุทร และความคิดก็เหมือนคลื่นซึ่งก่อตัวขึ้นแล้วสลายหายไปโดยปราศจากการขัดจังหวะบนพื้นผิว คลื่นทั้งหลายไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากมหาสมุทร และความคิดทั้งหลายก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากจิต

ความเข้าใจผิดที่มีต่อสภาพที่เป็นจริงทำให้เราต้องเดินท่องไปในวัฏจักรการเกิดตายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ผู้ปฏิบัติฝึกตนบนหนทางการตระหนักรู้ต่อธรรมชาติที่แท้จริงของจิต โดยมีครูเป็นผู้นำทาง และสำคัญตือต้องภาวนา... เมื่อผู้ปฏิบัติตระหนักถึงความสำคัญของการเดินบนหนทางนี้ คลื่นของจิตจะค่อยๆ ซึมซับธรรมชาติแห่งการตระหนักรู้เดิมแท้อันแผ่กว้าง มันคือการรู้แจ้งในมหามุทราและมหาอติ การสอดประสานเป็นหนึ่งของปัญญากับสุญญตา ที่ซึ่งขั้นสำเร็จจะพัฒนาไปสู่

รับมอบอำนาจ (อภิเษก)

วัชรยานไม่อาจนำไปฝึกปฏิบัติได้ หากผู้ปฏิบัติไม่ได้เข้าสู่พิธีส่งมอบคำสอน ซึ่งจะส่งเสริมศักยภาพให้แก่ผู้ปฏิบัติ ราวกับได้รับมอบอำนาจ

ขั้นตอนการรับมอบอำนาจที่สมบูรณ์แบ่งได้เป็นสี่ส่วนด้วยกัน
- อภิเษกแจกัน
- อภิเษกลับ
- อภิเษกความรู้-ปัญญา
- อภิเษกวาจา

นอกจากนั้นการรับมอบอำนาจต้องประกอบด้วยการสืบทอดสี่อย่าง จากสายธรรมอันไม่ขาดช่วง
- การสืบทอดการอภิเษกในคัวมันเอง
- การสืบทอดถ้อยคำอันเป็นคัมภีร์ประกอบพิธีกรรม
- การสืบทอดความหมาย
- การสืบทอดสายธรรม หรือพลังทางจิตวิญญาณ อันดำรงอยู่ภายในตัวพิธีกรรม

พลังแห่งสายธรรมนั้นเป็นหลักการอันลึกซึ้งที่ยากจะเข้าใจ อาจเปรียบได้กับพลังไฟฟ้า ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตา ทว่าทรงพลังยิ่ง พุทธะคิอต้นกำเนิดพลังแห่งสายธรรม เหมือนกับโรงผลิตไฟฟ้า และสายปฏิบัติซึ่งสืบทอดพลังสายธรรมนั้นก็เหมือนกับสายไฟ ตราบใดที่สายไฟไม่ถูกตัด หลอดไฟก็สามารถต่อเชื่อมได้ในทุกๆ ที่ และหลอดไฟก็ส่องสว่างขึ้นได้ แต่หากสายไฟถูกตัด ผู้ปฏิบัติอาจมีโรงผลิตไฟฟ้าอยู่ที่หนึ่งและหลอดไฟอยู่อีกที่หนึ่ง ทว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีแสงสว่างใดๆ เกิดขึ้น หากสายธรรมสืบทอดถูกตัดหรือถูกขัดจังหวะในชั่วขณะใด ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะได้รับพลังแห่งสายธรรมผ่านการอภิเษก สายธรรมก็จะกลายเป็นอะไรที่แห้งแล้งไปทั้งหมด

เพื่อที่พิธีอภิเษกจะมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีปัจจัยสามประการ
- ครู ผู้ประกอบพิธีอภิเษกจะต้องมีแรงดลใจในความรักและความปรารถนาดีอันยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณ ครูจะต้องผ่านประสบการณ์ในขั้นสร้างและขั้นสำเร็จของเทพแห่งพิธีอภิเษกนั้นๆ
- ศิษย์ ต้องเชื่อมั่นและวางใจโดยปราศจากความลังเลสงสัย ในพลังของพิธีและคุณสมบัติของครู
- วัตถุพิธีอันเป็นสัญลักษณ์ (เช่น แจกัน ทอม่า และอื่นๆ) ที่จำเป็นต่อพิธี ต้องถูกตระเตรียมอย่างเหมาะสม



การเปลี่ยนแปลงสำนึกแห่งตัวตน

การอภิเษกเป็นเพียงจุดเริ่มต้น สิ่งที่ตามมาจำเป็นต้องเป็นการปฏิบัติที่เหมาะสม มันเป็นเรื่องยากมากที่จะมีประสบการณ์ตรงในความว่างของกาย วาจา และจิต ดังนั้นวัชรยานจึงใช้อุบายต่างๆ ในการภาวนา ระหว่างการภาวนาสำนึกตัวตนในร่างกายปกติจะถูกแทนที่ด้วย นิมิตร่างกายแห่งเทพยิดัม (เทพที่ถูกนิมิตขึ้น) ผู้ปฏิบัติจะไม่คิดแค่ว่า ฉันเป็นคนแบบนั้นหรือคนแบบนี้ แต่จะคิดว่า (เช่น) ฉันเป็นอวโลกิเตศวร ผู้ปฏิบัติจินตนาการว่ามีรูปร่าง สีสัน เสื้อผ้า และเครื่องประดับของอวโลกิเตศวร ซึ่งไม่ถือเป็นจินตนาการด้วยแนวคิดแห่งกายวัตถุ แต่เป็นกายอันประสานเป็นหนึ่งของ การแสดงตนที่มองเห็นได้กับความว่าง คล้ายกับรุ้ง ภาพปรากฏของดวงจันทร์บนผิวน้ำ หรือภาพสะท้อนในกระจกเงา เช่นเดียวกัน ด้วยพลังแห่งมนตรา ถ้อยคำถูกมองในฐานะการประสานกันเป็นหนึ่งของเสียงกับความว่าง ในท้ายที่สุดไม่ว่ากิจกรรมทางจิตใดๆ กลายเป็นการแยกแยะทางปัญญาอันว่างเปล่าแห่งมหามุทรา ประสิทธิภาพของเทคนิคเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะจิตใจมีอำนาจที่จะเป็นในสิ่งที่มันปรารถนาจะเป็นนั่นเอง

ยิดัม ตัวตนอันบริสุทธิ์

คำถามที่มีมักถูกถามกันบ่อยๆ คือ ยิดัม นั้นมีอยู่จริงๆ หรือเป็นแค่สิ่งที่ผู้ปฏิบัติคิดไปเอง  ... ยิดัม มีอยู่จริงๆ แต่ธรรมชาติของยิดัมนั้นแตกต่างจากตัวเรา เพราะมันไม่ได้ถูกกำหนดหรือจำกัดโดยกรรม

ยกตัวอย่างเช่น อวโลกิเตศวร คือภาคแสดงของความกรุณาของพุทธะทั้งปวง ปรากฏขึ้นด้วยเจตจำนงในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ มันคือการแสดงตนอันบริสุทธิ์จากต้นกำเนิด และไม่มีทางที่ผลกรรมใดๆ จะเป็นเหตุให้เกิดเป็นกายสีขาว ดอกบัวในมือซ้าย ลูกประคำในมือขวา และอื่นๆ ท่าทางและคุณลักษณะต่างๆ  อวโลกิเตศวรเป็นแค่การแสดงออกของพลังความกรุณาอันไม่มีเงื่อนไข

เช่นเดียวกัน สองตาหมายถึงความรู้และหัวใจอันอ่อนโยน ตาแรก มองเห็นความเต็มเปี่ยมของปรากฏการณ์แห่งสังสารวัฏและการปลดปล่อย ตาที่สอง คือตาแห่งความกรุณาอันไม่มีประมาณ มองเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ด้วยความรัก ผ้าไหมและเพชรพลอยที่สวมใส่แสดงถึงคุณสมบัติแห่งการรู้แจ้ง

ความต่อเนื่องของการปฏิบัติ

ผู้ปฏิบัติซึ่งมีความเข้าใจในวัชรยาน และมีคุณสมบัติในการฝึกขั้นสร้างและขั้นสำเร็จ สามารถใช้กิจกรรมในชีวิตประจำวันทั้งหลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการภาวนาได้

- อาหารที่กิน เป็นส่วนหนึ่งของงานเลี้ยงวัชระ
- ระหว่างการนอนหลับลึก ฝึกปฏิบัติในแสงสว่างอันชัดแจ้ง
- ระหว่างการนอนหลับทั่วไป ฝึกปฏิบัติกับความฝัน
- ในชั่วขณะของความตาย และระหว่าง บาร์โด แห่งธรรมชาติของตัวมันเอง และ บาร์โด แห่งการเป็น เทคนิคการปลดปล่อยที่เรียกว่า ธรรมทั้งหกของนาโรปะ สามารถนำมาใช้ได้

ไม่ว่าเป็นผู้ที่มีศักยภาพสูงหรือต่ำเช่นไร หากได้รับการส่งเสริมศักยภาพจากการอภิเษก และฝึกปฏิบัติในอุบายวิธีอันหลากหลายของวัชรยาน หากไม่สูญเสียความเพียรและความแน่วแน่ในการภาวนา พวกเขาจะสามารถบรรลุถึงการรู้แจ้งสูงสุดในขณะใช้ชีวิตประจำวันเหมือนคนธรรมดาๆ ทั่วไป

การเดินไปบนเส้นทางของพาหนะเล็ก และพาหนะอันยิ่งใหญ่ ก็เหมือนกับการเดินขึ้นบันไดสู่ชั้นบนสุดของตึกสูง วัชรยานนั้นเหมือนการขึ้นลิฟท์ไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งขอเน้นย้ำอีกครั้งว่าความทุกข์และความยากลำบากทั้งปวงคือหลังมือและฝ่ามือคือการรู้แจ้ง วัชรยานเป็นเหมือนการพลิกฝ่ามือจากคว่ำให้หงายขึ้น

จาก https://www.facebook.com/tilopahouse

https://th-th.facebook.com/tilopahouse/notes?ref=page_internal#

เนื้อหา ตามลำดับ

คำสอนลับแห่งพุทธะ (๑) รากฐานของวัชรยาน (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9987.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๒): หลักการและวิธีการ (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9988.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๓): อำนาจแปรเปลี่ยนภายใน (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9989.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๔): ครูกับศิษย์ (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9990.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๕): วัชรยานในโลกทัศน์แบบไตรยาน http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9991.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ(๖): วัชรยานในโลกทัศน์แบบไตรยาน (ต่อ) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,11613.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๗): ตันตระในธิเบต (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,11614.0.html