ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2014, 12:09:43 pm »



บทที่ ๒: บริบทของตันตระ

วัชรยานในโลกทัศน์แบบไตรยาน

คำสอนของเหล่าพุทธะ


ในกัลป์ที่เรามีชีวิตอยู่ กล่าวว่ามีพุทธะหนึ่งพันคนแสดงตนบนโลกใบนี้ พระพุทธเจ้าสามท่านแรกได้แก่ กกุสันธพุทธะ โกนาคมนพุทธะ และ กัสสปพุทธะ ซึ่งคำสอนของท่านทั้งสามได้ลางเลือนไป พุทธะคนที่สี่ได้แก่ ศากยมุนีพุทธะ ซึ่งสายธรรมของท่านยังคงมีชีวิตอยู่ถึงทุกวันนี้

คำสอนที่แสดงโดยพุทธะทั้งหลายโดยรากฐานแล้วไม่ต่างกัน ทั้งหมดได้เผยแผ่พาหนะแห่ง "ผู้ฟัง" และ "ปัจเจกพุทธะ" ในกรอบของหินยาน เช่นเดียวกับ พาหนะแห่งโพธิสัตว์ ในมหายาน เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าในอนาคตทั้งหลายแห่งกัลป์นี้จะสอน ด้วยความมุ่งมั่นปรารถนาและสถานการณ์ที่ท่านพบเจอ ศากยมุนีพุทธะต่างจากพุทธะคนอื่นๆ ตรงที่ท่านได้เผยแผ่คำสอนวัชรยาน หรือคำสอนตันตระ ออกไปในวงกว้าง

สำหรับพุทธสาวก โดยแก่นสารแล้ว ไม่มีข้อแตกต่างใดๆ ในยานทั้งสาม สรรพชีวิตต่างก็มีศักยภาพแห่งความเป็นพุทธะ หรือ ตถาคตครรภ์ อยู่ในตัว อย่างไรก็ดี ในขั้นของความเป็นจริงในปัจจุบัน เพราะกรรมอันสืบเนื่อง พวกเขาต่างก็มีศักยภาพทางจิตวิญญาณอันหลากหลาย ซึ่งนี่เองที่อธิบายถึงความหลากหลายแห่งพาหนะต่างๆ

การขยายขอบเขตแห่งมหายาน

การพยายามสรุปว่าทุกศาสนาหรือทุกสายปฏิบัติต่างมีเป้าหมายเดียวกันอาจฟังดูดี แต่ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะปฏิเสธความแตกต่างระหว่างยานหนึ่งกับอีกยานหนึ่ง ในเมื่อแม้แต่พุทธะเองก็แยกแยะความแตกต่างระหว่างหินยานกับมหายานไว้อย่างชัดเจนในพระสูตร

มหายานส่องสว่างราวกับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์
หินยานนั้นไม่ต่างจากประกายปะทุจากกองไฟ
มหายานสูงราวกับเขาพระสุเมรุ
หินยานนั้นไม่ต่างจากจอมปลวก
มหายานกว้างขวางราวกับมหาสมุทร
หินยานนั้นไม่ต่างจากสระน้ำ


วิวัฒนาการและแรงดลใจ

เพราะข้อแตกต่างเหล่านี้ จึงมีแนวโน้มที่จะคิดไปว่ามหายานนั้นเหนือกว่าและควรถูกสอนแทนที่หินยาน ทว่านั่นคือความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ คำสอนของพุทธะไม่ได้มีไว้เพื่อกีดกันและแบ่งแยก ในมุมมองของการฝึกตน หากปฏิเสธคำสอนหินยานก็สามารถพาเราหลงทิศหลงทางในยานอันยิ่งใหญ่กว่าได้ เหมือนกับเราพยายามสวมเสื้อตัวใหญ่โคร่งให้กับเด็กน้อย มันก็ใช้ไม่ได้ ไม่ต่างกับการพยายามสวมเสื้อเด็กน้อยให้กับผู้ใหญ่ ในเส้นทางแห่งจิตวิญญาณ คำสอนที่เหมาะสมจะสอดคล้องไปกับขั้นของพัฒนาการทางจิตวิญญาณที่หลากหลาย

อีกอย่างที่พึงตระหนักคือ แรงดลใจอันหลากหลายของผู้ปฏิบัติ คนที่เข้ามาสนใจธรรมะต่างมีความต้องการและความปรารถนาที่แตกต่างกันไป ไม่ต่างจากร้านอาหาร ที่หากแค่คำนึงถึงเหตุผลทางปฏิบัติ ซึ่งก็คือกินให้อิ่ม การมีเมนูอาหารเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว แต่หากทำเช่นนั้น ร้านนั้นคงมีลูกค้าไม่กี่คนเป็นแน่ ท้องอาจอิ่มก็จริง แต่ก็คงไม่รู้สึกพึงพอใจในรสชาติอันหลากหลาย นี่คือสาเหตุที่ทำไมร้านอาหารจึงต้องมีเมนูที่หลากหลายเตรียมไว้ แม้แต่ในครอบครัว เด็กๆ ก็ใช่ว่าจะชอบทานอาหารเพียงอย่างเดียว ในทุกบริบทของมนุษย์ ผู้คนต่างมีรสนิยม พื้นเพ ความชอบไม่ชอบ ซึ่งก็รวมถึงบริบททางจิตวิญญาณด้วย คำสอนจำเป็นต้องสัมพันธ์กับการสุกงอมทางจิตวิญญาณของศิษย์ อีกทั้งสัมพันธ์กับบุคลิกลักษณะหรือกรรมของแต่ละบุคคลด้วย   

จาก https://www.facebook.com/tilopahouse

https://th-th.facebook.com/tilopahouse/notes?ref=page_internal#

เนื้อหา ตามลำดับ

คำสอนลับแห่งพุทธะ (๑) รากฐานของวัชรยาน (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9987.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๒): หลักการและวิธีการ (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9988.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๓): อำนาจแปรเปลี่ยนภายใน (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9989.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๔): ครูกับศิษย์ (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9990.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๕): วัชรยานในโลกทัศน์แบบไตรยาน http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9991.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ(๖): วัชรยานในโลกทัศน์แบบไตรยาน (ต่อ) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,11613.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๗): ตันตระในธิเบต (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,11614.0.html