ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2014, 05:51:57 pm »


 
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้ง ๒ ท่านทั้ง ๒ คือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้ง ๒ นั้นด้วยการอบกลิ่น
การนวด การให้อาบน้ำ และการดัด และท่านทั้ง ๒ นั้น พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่า
อันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดาในราชสมบัติ
อันเป็นอิสราธิปัตย์ ในแผ่นดินใหญ่อันมีรัตนะ ๗ ประการมากหลายนี้
การกระทำกิจอย่างนั้น
ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย"

"ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย"

"ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทานตั้งมั่น
ในศรัทธาสัมปทา ยังมารดา บิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีลสัมปทา
ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา
ยังมารดาบิดาทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้น
ย่อมชื่อว่าอันบุตรนั้นทำแล้ว และทำตอบแทนแล้ว แก่มารดาบิดา ฯ"

Ekarach Sriboonma originally shared to
(((( แดนพุทธธรรม )))) (พระพุทธวจนะ):
**************************



บุตรมีกี่ประเภท ?
ตอบ = ในพระพุทธศาสนาแบ่งบุตรเป็น 3 ประเภท คือ

1. อภิชาติบุตร หมายถึง ลูกที่มีความเป็นเยี่ยม มีความรู้ มีคุณธรรม มีความสามารถ สูงกว่า ยิ่งกว่าพ่อแม่ เรียกว่าเป็นดี1ประเภท1 เป็นที่เชิดหน้าชูตา พ่อแม่ และสังคม

2. อนุชาติบุตร หมายถึงลูกที่มีฐานะ เสมอพ่อแม่ ทั้งความรู้ คุณธรรม ความสามารถ ไม่ดีไปกว่า หรือไม่ต่ำไปกว่าพ่อแม่

3.อวชาติบุตร หมายถึงลูกที่มีฐานะต่ำไปกว่าพ่อแม่ ทั้งความรู้ คุณธรรม และความสามารถ ทำได้ไม่ถึงพ่อแม่

ในคติธรรมสำนวนไทยโบราณ แบ่งลูกออกเป็น 6 ประเภท คือ

1.ลูกแก้ว.... หมายถึงลูกที่เป็นแก้วสารพัดนึกของพ่อแม่ มีความดีพร้อมไปทุกอย่าง มีความรู้ ความประพฤติดีงาม ขยันขันแข็ง แบ่งเบาภาระ พ่อแม่ปรารถนาสิ่งใดก็ สรรหามาให้ทุกอย่าง ใครได้ลูกประเภทนี้ถือเป็นบุญ

2.ลูกค้ำ......หมายถึงลูกที่เกิดมาเพื่อค้ำจุนอุดหนุนพ่อแม่ ช่วยเหรือการงานฐานะครอบครัวแบ่งเบาภาระต่างๆ เป็นเสาหลักของครอบครัวทำให้พ่อแม่สบายใจ

3.ลูกคูณ......หมายถึงลูกที่มีความประพฤติดีงาม มีศีลมีธรรม คอยดูแลพ่อแม่ ชักนำให้พ่อแม่ทำบุญให้ทาน รักษาศีล ภาวนา

4.ลูกลอก.....หมายถึงลูกที่คอยปอกลอกพ่อแม่ ใช้เงินเก่ง ทรัพย์สมบัติที่พ่อแม่หามาได้ก็ถูกลูกประเภทนี้คอยล้างผลาญ

5.ลูกลาก......หมายถึงลูกที่ประพฤติตัวเสียหาย มีนิสัยนักเลงอันธพาล หรือประกอบกรรมทำชั่วอยู่ประจำ พ่อแม่ไม่เคยขึ้นโรงขึ้นศาล ไปคุก ไปตะราง ก็ถูกลูกประเภทนี้คอยลากขึ้นโรงขึ้นศาล ไปคุก ไปตะราง

6.ลูกเลิก.......หมายถึงลูกที่ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ เอาแต่ใจตนเอง เมื่อไม่ถูกใจตนเอง ก็จะบอกเลิก ตัดพ่อตัดแม่ หรือหนีออกจากบ้านไปไม่ดูแลพ่อแม่

ลูกที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ขึ้นอยู่ที่การอบรม ดูแล สั่งสอน คงไม่มีใครที่ไม่อยากได้ลูกดี แต่บางครั้ง ทุกอย่างก็ใช่ว่าจะได้ดั่งใจ จึงต้องทำใจ อดทนแนะนำสั่งสอนกันไป

>>> F/B รูปนาม ขันธ์ห้า
12 สิงหาคม 2557
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 23, 2013, 10:18:17 pm »




บุตรคนใด..ยังมารดาบิดา ผู้ไม่มีศรัทธา..
ให้สมาทานตั้งมั่น ในศรัทธาสัมปทา

ยังมารดาบิดา ผู้ทุศีล..
ให้สมาทานตั้งมั่น..ในศีลสัมปทา

ยังมารดาบิดา ผู้มีความตระหนี่...
ให้สมาทานตั้งมั่น..ในจาคสัมปทา

ยังมารดาบิดา ผู้ทรามปัญญา...
ให้สมาทานตั้งมั่น..ในปัญญาสัมปทา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล
การกระทำอย่างนั้นย่อมชื่อว่า..อันบุตรนั้นทำแล้ว
และทำตอบแทนแล้ว..แก่มารดาบิดา.

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต
เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 357


>>> F/B วัดป่ามหาชัย นครพนม


การตอบแทนคุณมารดาบิดาอย่างสูงสุด
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่าย
แก่ท่านทั้งสอง. ท่านทั้งสอง คือใคร ?
คือ มารดา ๑ บิดา ๑
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! บุตรพึงประคับประคองมารดาด้วย
บ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามี
อายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้งสองนั้น
ด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการดัด และ

ท่านทั้งสองนั้น พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขา
นั่นแหละ. ภิกษุ ท.! การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่า
อันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดาใน
ราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์ ในแผ่นดินใหญ่อันมีรตนะ
๗ ประการมากหลายนี้ การกระทำกิจอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่า
อันบุตรทำแล้ว หรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย
ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา
ให้สมาทานตั้งมั่นในสัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล
ให้สมาทานตั้งมั่นในสีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่
ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค)
ยังมารดาบิดาทรามปัญญา
ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำ
อย่างนั้นย่อมชื่อว่าอันบุตรนั้นทำแล้ว และทำตอบแทนแล้ว
แก่มารดา บิดา.

>>> F/B พระพุทธเจ้า
18 พฤษภาคม 2013