ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 24, 2014, 07:29:00 am »พาชมพิพิธภัณฑ์ครุฑ แห่งแรกและแห่งเดียวในไทย
-http://travel.kapook.com/view96258.html-
พิพิธภัณฑ์ครุฑ แห่งแรกและแห่งเดียวในไทย
เรียบเรียงข้อมูลและภาพประกอบโดยกระปุกดอทคอม
ถ้าเอ่ยถึง "ครุฑ" หลาย ๆ คนคงนึกถึงเครื่องหมายสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงความผูกพันทางศาสนาและในวรรณคดีที่คนไทยรู้จักมาเนิ่นนาน แต่วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาเพื่อน ๆ ไปเรียนรู้อีกมุมหนึ่งของครุฑผ่าน "พิพิธภัณฑ์ครุฑ" โดยธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ที่ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งถือเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในไทยกันค่ะ
แต่ก่อนที่เราจะไปเที่ยวชมภายในพิพิธภัณฑ์ครุฑ ควรต้องไปทราบถึงรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับครุฑกันก่อนค่ะ โดย อาจารย์ประสาท ทองอร่าม (ครูมืด) ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย กรมศิลปากร ได้บอกเล่าว่า ครุฑเป็นส่วนหนึ่งของสรรพสัตว์ประเสริฐ ยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์ โดยคำว่า องค์ครุฑ พญาครุฑ หรือครุฑ แปลว่า ผู้รับภาระหรือผู้ที่แบกภาระ ท่านเป็นวิหคกึ่งเทพ ลักษณะรูปร่าง คือ มีจะงอยปาก ส่วนหน้า หน้าตา มีปีก มีขาเป็นพญานกอินทรีย์ ส่วนร่างกายจะเป็นเทพหรือมนุษย์ที่น่าเกรงขาม ยิ่งใหญ่ และสง่างาม ตามตำนานของศาสนาฮินดูโดยแท้จริงนั้นบอกว่าท่านเป็นโอรสของพระกัศยปฤาษีและพระนางวินตา (โดยมีพี่น้องต่างมารดากับ "พญานาค" เทพเจ้าแห่งงูหรือสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งทั้งสองไม่ถูกกัน) อีกทั้งท่านยังได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความกตัญญูต่อมารดาเป็นอย่างมาก เพราะท่านช่วยเหลือมารดาให้พ้นจากคำสาป
ตำนานขององค์ครุฑ
ตามตำนานของศาสนาฮินดูเล่าว่าองค์ครุฑเป็นโอรสของ "พระกัศยปฤาษี" และ "พระนางวินตา" โดยก่อนหน้านี้ "พระทักษะ" ได้มอบธิดา 2 คน คือ "นางกัทรุ" และ "นางวินตา" ให้กับพระกัศยปฤาษีซึ่งใหญ่เทียบเท่ากับบรรดาเทพทั้งหลาย มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ ใครขอพรอะไรจะได้อย่างนั้น ซึ่งต่อมาทั้ง 2 นาง ได้เข้าไปขอพรกับพระกัศยปฤาษี โดยนางกัทรุขอให้มีลูก 1,000 คน และมีอิทธิฤทธิ์เก่งกาจ ซึ่งนางก็ได้สมหวังโดยคลอดลูกออกมาเป็นพญานาค 1,000 ตัว ส่วนนางวินตาขอพรให้มีลูก 2 คน แต่ยิ่งใหญ่และเหนือกว่าลูกทั้งพันของนางกัทรุ เวลาต่อมานางวินตาก็คลอดลูกออกมาเป็นไข่ 2 ฟอง แต่นานวันเข้าไข่ทั้ง 2 ฟอง ก็ไม่ฟักซะที นางร้อนใจจึงทำการกะเทาะเปลือกไข่ 1 ฟอง ส่งผลทำให้ลูกที่เกิดมานั้นเป็นชายครึ่งนกที่มีสภาพร่างกายพิการ ชื่อว่า อนอุรุ (ต่อมาชื่อว่า พระอรุณ) ซึ่งอนอุรุโกรธมารดาที่ทำให้พิการ จึงสาปขอให้มารดาตกเป็นทาสของนางกัทรุ 500 ปี และจะพ้นจากสาปก็ต้องพึ่งใบบุญจากลูกที่เกิดจากไข่อีกหนึ่งฟองที่เหลือ ซึ่งจะเกิดหลังนี้อีก 500 ปี จากนั้นท่านก็บินจากไปเป็นสารถีของพระอาทิตย์
ต่อมาเมื่อเวลาล่วงผ่านไป 500 ปี ไข่อีก 1 ฟอง ก็ถึงเวลากำเนิดเกิดขึ้น ว่ากันว่าเวลาที่ท่านกำเนิดออกมานั้นทั่วทั้งจักรวาลได้ยินเสียงกัมปนาทกึกก้องไปทั่วหล้า โดยองค์ครุฑมีลำตัวใหญ่ถึง 50 โยชน์ ปีกซ้ายและขวากว้างใหญ่อีกข้างละ 50 โยชน์ ลำคอ หาง 50 โยชน์ จะงอยปาก 9 โยชน์ ปากอ้ากว้างได้อีก 9 โยชน์ เวลาบินกระพือปีกกวักหนึ่งบินไกลไปได้ 100 โยชน์ (ความยาว 1 โยชน์ มีระยะเทียบเท่ากับ 16,000 เมตร หรือ 16 กิโลเมตร) และเมื่อเกิดมาแล้วองค์ครุฑก็ต้องคอยรับใช้นางกัทรุและลูก ๆ ที่เป็นพญานาคตามมารดา
หยดน้ำตาที่หลั่งลงบนผืนดินของมารดายามหลับใหลด้วยความลำเข็ญ หลังการรับใช้นางกัทรุมาเป็นเวลานาน ทุก ๆ วันองค์ครุฑเฝ้าดูมารดาด้วยความสงสัย ไม่เข้าใจว่าเหตุไฉนมารดาของตนต้องตกเป็นทาสเขาอยู่ร่ำไป จนวันหนึ่งที่ความอดทนถึงขีดสุด เมื่อนางกัทรุมารดาแห่งพญานาค ใช้ให้มารดาพานางและเหล่านาคกว่า 1,000 ตัว ข้ามไปยังมหาสมุทรอีกฝั่งด้วยความยากลำบากแสนสาหัส การเจรจาต่อรองกับพญานาคเพื่อไถ่ตัวมารดาให้พ้นทุกข์จึงเกิดขึ้น องค์ครุฑมิอาจทนเห็นมารดาของตนตกเป็นทาสรับใช้นางกัทรุ จึงไต่ถามนางกัทรุถึงวิธีที่มารดาจะเป็นอิสระ
"เจ้าจงไปเอาน้ำอมฤตมาให้เราดื่ม บัดนั้นมารดาเจ้าจะพ้นจากการเป็นทาส" เพราะซึ่งน้ำอมฤตจากพระจันทร์สรรค์สร้างความอมตะนิรันดร์สู่ผู้ถือครอง ต่อมาพระอินทร์ได้เข้าขัดขวางองค์ครุฑ เกิดการต่อสู้กันขึ้น จนทำให้ขนจากกายองค์ครุฑร่วงหล่นลงเส้นหนึ่ง องค์ครุฑจึงได้ถวายขนเส้นนั้นให้แก่พระอินทร์ จึงได้นามว่า "สุบรรณ" และว่าขนอันงดงาม และเมื่อพระอินทร์รู้ว่าองค์ครุฑต้องการน้ำอมฤตเพื่อช่วยมารดา ท่านจึงเปิดทางให้ องค์ครุฑจึงกล่าวกับพระอินทร์ว่า "น้ำอมฤตนี้เพื่อแลกอิสรภาพของมารดา ขอท่านจงชิงกลับมาก่อนที่นาคจะได้ดื่ม หลังจากข้านำน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้สู่แดนพญานาคแล้ว"
ครานั้นพระนารายณ์เทพผู้รักษา เสด็จขึ้นจากเกษียรสมุทรเพื่อมาขัดขวางองค์ครุฑมิให้สามารถนำน้ำอมฤตไปได้ แต่ด้วยอิทธิฤทธิ์อันแรงกล้าจึงมิอาจมีผู้ใดชนะ และเมื่อพระนารายณ์รู้ว่าองค์ครุฑต้องการนำน้ำอมฤตไปช่วยมารดาหาใช่นำมาให้ตนเอง จึงชื่นชมในความกตัญญูและมอบน้ำอมฤตให้ไปเพื่อล้างคำสาปของมารดา
"ข้าขอสรรเสริญที่ท่านไม่คิดดื่มน้ำอมฤตนี้ พรหนึ่งข้อจะเป็นของท่าน" พระนารายณ์ จึงประทานพรให้องค์ครุฑหนึ่งข้อ
"ข้าขออยู่สูงกว่าพระองค์ ขอเป็นผู้ไม่มีความเจ็บแม้ไม่ได้ดื่มน้ำอมฤต" องค์ครุฑได้เอ่ยขอพรจากพระนารายณ์
"ท่านยอมเป็นพาหนะของข้า ข้าจะให้ท่านอยู่ที่เสาธงของข้า เพื่อที่ท่านจะได้อยู่สูงกว่าข้า" หลังจากนั้นปรางค์ "นารายณ์ทรงสุบรรณ" ได้ถือกำเนิดขึ้น เหตุนี้เององค์ครุฑจึงเปรียบเป็นดั่งพาหนะของกษัตริย์ ผู้ทรงเป็นอวตารของพระนารายณ์ ครุฑจึงได้รับการนับถือและยกให้เป็นสัตว์สัญลักษณ์แห่งแผ่นดินไทยนับแต่นั้นมา
เอาล่ะ...พอทราบตำนานขององค์ครุฑกันพอหอมปากหอมคอแล้ว ก็ตามเราไปเที่ยวชมความสง่างามที่น่าเกรงขามขององค์ครุฑ ณ พิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) กันเลยค่ะ
ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ครุฑ
พิพิธภัณฑ์ครุฑของธนาคารธนชาต นับเป็นพิพิธภัณฑ์ครุฑแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย จัดสร้างจากแนวความคิดของผู้บริหารธนาคารธนชาต ที่ต้องการส่งผ่านความเคารพและความรู้ที่มีความสำคัญเปรียบเสมือนสัญลักษณ์แห่งพระเจ้าแผ่นดิน อีกทั้งยังตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและความศรัทธาของคนไทยที่มีต่อองค์ครุฑ
ทั้งนี้นับจากที่ธนาคารนครหลวงไทย ได้ควบรวมเข้ากับธนาคารธนชาต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ธนาคารธนชาต ซึ่งได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญขององค์ครุฑพระราชทานที่มีความผูกพันและความศรัทธามาอย่างนานกับคนไทย จึงได้อัญเชิญเครื่องหมายครุฑพ่าห์ที่พระราชทานให้กับธนาคารหลวงไทย เพื่อติดตั้งที่สำนักงานใหญ่และสาขาเป็นการเฉพาะนั้น ไปประดิษฐานในที่อันเหมาะสม ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารธนชาต บางปู และมีการประกอบพิธีกรรมทางพราหมณ์ตามหลักประเพณีปฏิบัติอย่างถูกต้อง โดยคณะพราหมณ์จากสำนักพระราชวัง เพื่อจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ครุฑขึ้นมา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครุฑในทุก ๆ ด้านให้แก่ผู้ที่สนใจ โดยมีพื้นฐานความเชื่อจากคติจักรวาลในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ อีกทั้งยังเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับสถาบันการปกครองของไทยอย่างลึกซึ้ง และครอบคลุมความเชื่อที่ปรากฏให้เห็นในสังคมไทยมาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับพิพิธภัณฑ์ครุฑนั้น แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 5 ห้อง ได้แก่ โถงต้อนรับ, ห้องครุฑพิมาน (ป่าหิมพานต์), ห้องนครนาคราช, ห้องอมตะจ้าวเวหา และห้องจัดแสดงครุฑไม้สักเก่า
โดยเรามาเริ่มกันที่ "โถงต้อนรับ" ซึ่งเป็นรูปวงกลม ที่เมื่อเดินเข้าพิพิธภัณฑ์ครุฑสิ่งที่เห็นเด่นเป็นสง่า ก็คือ โลโก้พิพิธภัณฑ์ครุฑที่ตั้งเด่นอยู่ตรงกลาง และทางด้านขวามือจะเป็นกาพย์ห่อโคลงที่กล่าวถึงพญาครุฑในแง่มุมทางพุทธศาสนา ที่ได้รับเกียรติจากยอดกวีแห่งยุครัตนโกสินทร์ อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ส่วนทางด้านขวามือของโถงต้อนรับยังมีภาพถ่ายหน้าสาขาต่าง ๆ ของธนาคารนครหลวงไทย ที่ถ่ายทอดความประทับใจเก็บไว้ รวมถึงมีวีดิทัศน์แนะนำเรื่องราวและความสำคัญขององค์ครุฑโดย อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมไทยและเป็นที่ปรึกษาในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ครุฑแห่งนี้ด้วย นอกจากนี้ยังมีคำบอกเล่าประสบการณ์การปั้นครุฑจากศาสตราภิชาน สัญญา วงศ์อร่าม ภาควิชาศิลปศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากนั้นเมื่อชมโถงต้อนรับเรียบร้อยแล้ว ก็เดินขึ้นไปที่ชั้น 2 เพื่อท่องไปยังดินแดนหิมพานต์ ณ ห้องครุฑพิมาน หรือวิมานแห่งครุฑ ซึ่งเป็นการรังสรรค์ห้องจัดแสดงให้เป็นเสมือนป่าหิมพานต์ ดินแดนที่กำเนิดขึ้นภายใต้แนวความคิดศูนย์กลางของจักรวาลตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่ห้องนี้จะมีการจำลองสัตว์วิเศษที่ปั้นเสมือนจริง ต้นมักกะลีผล สระอโนดาตจำลอง ฯลฯ
ดื่มด่ำกับดินแดนหินพานต์แล้วก็ได้เวลาไปชื่นชมความงามของ "นครนาคราช" โดยเนรมิตอุโมงค์ทางเดินกว่า 10 เมตร ให้กลายเป็นมหานครใต้น้ำทั้งสีสันและบรรยากาศ เพื่อให้สมกับเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของเทพเจ้าแห่งสายน้ำอย่างพญานาค ซึ่งเป็นคู่ปรปักษ์กับองค์ครุฑ โดยมีการจิตรกรรมฝาผนัง "ครุฑยุดนาค" ที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ขององค์ครุฑและพญานาค
ก่อนจะเข้ามาชมสื่อมัลติมีเดีย ณ ห้องอมตะจ้าวเวหา ที่แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ขององค์ครุฑในด้านการกตัญญูกตเวที พละกำลัง และความเสียสละ ซึ่งที่ห้องนี้ได้มีการนำเอาองค์ครุฑบางส่วนมาประทับไว้บนผนัง
และเมื่อรับรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับองค์ครุฑกันบ้างแล้ว ก็ถึงเวลาไปพบกับ "ห้องจัดแสดงครุฑไม้สักเก่าแก่" จำนวนมาก โดยแต่ละตัวมีรูปแบบที่สง่างามแตกต่างกันไปตามจินตนาการของช่างแกะสลัก เพราะในอดีตไม่มีการกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่กำหนดลักษณ์ขององค์ครุฑ ทั้งนี้ เสน่ห์ขององค์ครุฑไม้สักแกะสลักนั้นไม่ได้อยู่ที่ความสวยงาม ท่วงท่าอันสง่างามที่แสดงถึงพลังอำนาจอันน่าเกรงขามอย่างเดียว หากแต่อยู่ที่คุณค่าและประวัติศาสตร์การสร้างสรรค์องค์ครุฑแต่ละตัว ซึ่งทุกตัวถูกอันเชิญมาประดิษฐานที่พิพิธภัณฑ์ครุฑก็มีความเก่าแก่แตกต่างกันไป โดยตัวที่เก่าแก่ที่สุด คือ องค์ครุฑจากสาขาราชดำเนิน ซึ่งเป็นสาขาแรกของธนาคารนครหลวงไทย มีอายุกว่า 70 ปี
ทั้งนี้พิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ยังไม่เปิดให้เยี่ยมชมอย่างเป็นทางการ หากใครต้องการไปสัมผัสกับมนตร์เสน่ห์ต่าง ๆ ขององค์ครุฑนั้น อดใจรอกันสักหน่อยนะคะ ^__^
แผนที่การเดินทางไปพิพิธภัณฑ์ครุฑ
-http://travel.kapook.com/view96258.html-
พิพิธภัณฑ์ครุฑ แห่งแรกและแห่งเดียวในไทย
เรียบเรียงข้อมูลและภาพประกอบโดยกระปุกดอทคอม
ถ้าเอ่ยถึง "ครุฑ" หลาย ๆ คนคงนึกถึงเครื่องหมายสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงความผูกพันทางศาสนาและในวรรณคดีที่คนไทยรู้จักมาเนิ่นนาน แต่วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาเพื่อน ๆ ไปเรียนรู้อีกมุมหนึ่งของครุฑผ่าน "พิพิธภัณฑ์ครุฑ" โดยธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ที่ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งถือเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในไทยกันค่ะ
แต่ก่อนที่เราจะไปเที่ยวชมภายในพิพิธภัณฑ์ครุฑ ควรต้องไปทราบถึงรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับครุฑกันก่อนค่ะ โดย อาจารย์ประสาท ทองอร่าม (ครูมืด) ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย กรมศิลปากร ได้บอกเล่าว่า ครุฑเป็นส่วนหนึ่งของสรรพสัตว์ประเสริฐ ยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์ โดยคำว่า องค์ครุฑ พญาครุฑ หรือครุฑ แปลว่า ผู้รับภาระหรือผู้ที่แบกภาระ ท่านเป็นวิหคกึ่งเทพ ลักษณะรูปร่าง คือ มีจะงอยปาก ส่วนหน้า หน้าตา มีปีก มีขาเป็นพญานกอินทรีย์ ส่วนร่างกายจะเป็นเทพหรือมนุษย์ที่น่าเกรงขาม ยิ่งใหญ่ และสง่างาม ตามตำนานของศาสนาฮินดูโดยแท้จริงนั้นบอกว่าท่านเป็นโอรสของพระกัศยปฤาษีและพระนางวินตา (โดยมีพี่น้องต่างมารดากับ "พญานาค" เทพเจ้าแห่งงูหรือสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งทั้งสองไม่ถูกกัน) อีกทั้งท่านยังได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความกตัญญูต่อมารดาเป็นอย่างมาก เพราะท่านช่วยเหลือมารดาให้พ้นจากคำสาป
ตำนานขององค์ครุฑ
ตามตำนานของศาสนาฮินดูเล่าว่าองค์ครุฑเป็นโอรสของ "พระกัศยปฤาษี" และ "พระนางวินตา" โดยก่อนหน้านี้ "พระทักษะ" ได้มอบธิดา 2 คน คือ "นางกัทรุ" และ "นางวินตา" ให้กับพระกัศยปฤาษีซึ่งใหญ่เทียบเท่ากับบรรดาเทพทั้งหลาย มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ ใครขอพรอะไรจะได้อย่างนั้น ซึ่งต่อมาทั้ง 2 นาง ได้เข้าไปขอพรกับพระกัศยปฤาษี โดยนางกัทรุขอให้มีลูก 1,000 คน และมีอิทธิฤทธิ์เก่งกาจ ซึ่งนางก็ได้สมหวังโดยคลอดลูกออกมาเป็นพญานาค 1,000 ตัว ส่วนนางวินตาขอพรให้มีลูก 2 คน แต่ยิ่งใหญ่และเหนือกว่าลูกทั้งพันของนางกัทรุ เวลาต่อมานางวินตาก็คลอดลูกออกมาเป็นไข่ 2 ฟอง แต่นานวันเข้าไข่ทั้ง 2 ฟอง ก็ไม่ฟักซะที นางร้อนใจจึงทำการกะเทาะเปลือกไข่ 1 ฟอง ส่งผลทำให้ลูกที่เกิดมานั้นเป็นชายครึ่งนกที่มีสภาพร่างกายพิการ ชื่อว่า อนอุรุ (ต่อมาชื่อว่า พระอรุณ) ซึ่งอนอุรุโกรธมารดาที่ทำให้พิการ จึงสาปขอให้มารดาตกเป็นทาสของนางกัทรุ 500 ปี และจะพ้นจากสาปก็ต้องพึ่งใบบุญจากลูกที่เกิดจากไข่อีกหนึ่งฟองที่เหลือ ซึ่งจะเกิดหลังนี้อีก 500 ปี จากนั้นท่านก็บินจากไปเป็นสารถีของพระอาทิตย์
ต่อมาเมื่อเวลาล่วงผ่านไป 500 ปี ไข่อีก 1 ฟอง ก็ถึงเวลากำเนิดเกิดขึ้น ว่ากันว่าเวลาที่ท่านกำเนิดออกมานั้นทั่วทั้งจักรวาลได้ยินเสียงกัมปนาทกึกก้องไปทั่วหล้า โดยองค์ครุฑมีลำตัวใหญ่ถึง 50 โยชน์ ปีกซ้ายและขวากว้างใหญ่อีกข้างละ 50 โยชน์ ลำคอ หาง 50 โยชน์ จะงอยปาก 9 โยชน์ ปากอ้ากว้างได้อีก 9 โยชน์ เวลาบินกระพือปีกกวักหนึ่งบินไกลไปได้ 100 โยชน์ (ความยาว 1 โยชน์ มีระยะเทียบเท่ากับ 16,000 เมตร หรือ 16 กิโลเมตร) และเมื่อเกิดมาแล้วองค์ครุฑก็ต้องคอยรับใช้นางกัทรุและลูก ๆ ที่เป็นพญานาคตามมารดา
หยดน้ำตาที่หลั่งลงบนผืนดินของมารดายามหลับใหลด้วยความลำเข็ญ หลังการรับใช้นางกัทรุมาเป็นเวลานาน ทุก ๆ วันองค์ครุฑเฝ้าดูมารดาด้วยความสงสัย ไม่เข้าใจว่าเหตุไฉนมารดาของตนต้องตกเป็นทาสเขาอยู่ร่ำไป จนวันหนึ่งที่ความอดทนถึงขีดสุด เมื่อนางกัทรุมารดาแห่งพญานาค ใช้ให้มารดาพานางและเหล่านาคกว่า 1,000 ตัว ข้ามไปยังมหาสมุทรอีกฝั่งด้วยความยากลำบากแสนสาหัส การเจรจาต่อรองกับพญานาคเพื่อไถ่ตัวมารดาให้พ้นทุกข์จึงเกิดขึ้น องค์ครุฑมิอาจทนเห็นมารดาของตนตกเป็นทาสรับใช้นางกัทรุ จึงไต่ถามนางกัทรุถึงวิธีที่มารดาจะเป็นอิสระ
"เจ้าจงไปเอาน้ำอมฤตมาให้เราดื่ม บัดนั้นมารดาเจ้าจะพ้นจากการเป็นทาส" เพราะซึ่งน้ำอมฤตจากพระจันทร์สรรค์สร้างความอมตะนิรันดร์สู่ผู้ถือครอง ต่อมาพระอินทร์ได้เข้าขัดขวางองค์ครุฑ เกิดการต่อสู้กันขึ้น จนทำให้ขนจากกายองค์ครุฑร่วงหล่นลงเส้นหนึ่ง องค์ครุฑจึงได้ถวายขนเส้นนั้นให้แก่พระอินทร์ จึงได้นามว่า "สุบรรณ" และว่าขนอันงดงาม และเมื่อพระอินทร์รู้ว่าองค์ครุฑต้องการน้ำอมฤตเพื่อช่วยมารดา ท่านจึงเปิดทางให้ องค์ครุฑจึงกล่าวกับพระอินทร์ว่า "น้ำอมฤตนี้เพื่อแลกอิสรภาพของมารดา ขอท่านจงชิงกลับมาก่อนที่นาคจะได้ดื่ม หลังจากข้านำน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้สู่แดนพญานาคแล้ว"
ครานั้นพระนารายณ์เทพผู้รักษา เสด็จขึ้นจากเกษียรสมุทรเพื่อมาขัดขวางองค์ครุฑมิให้สามารถนำน้ำอมฤตไปได้ แต่ด้วยอิทธิฤทธิ์อันแรงกล้าจึงมิอาจมีผู้ใดชนะ และเมื่อพระนารายณ์รู้ว่าองค์ครุฑต้องการนำน้ำอมฤตไปช่วยมารดาหาใช่นำมาให้ตนเอง จึงชื่นชมในความกตัญญูและมอบน้ำอมฤตให้ไปเพื่อล้างคำสาปของมารดา
"ข้าขอสรรเสริญที่ท่านไม่คิดดื่มน้ำอมฤตนี้ พรหนึ่งข้อจะเป็นของท่าน" พระนารายณ์ จึงประทานพรให้องค์ครุฑหนึ่งข้อ
"ข้าขออยู่สูงกว่าพระองค์ ขอเป็นผู้ไม่มีความเจ็บแม้ไม่ได้ดื่มน้ำอมฤต" องค์ครุฑได้เอ่ยขอพรจากพระนารายณ์
"ท่านยอมเป็นพาหนะของข้า ข้าจะให้ท่านอยู่ที่เสาธงของข้า เพื่อที่ท่านจะได้อยู่สูงกว่าข้า" หลังจากนั้นปรางค์ "นารายณ์ทรงสุบรรณ" ได้ถือกำเนิดขึ้น เหตุนี้เององค์ครุฑจึงเปรียบเป็นดั่งพาหนะของกษัตริย์ ผู้ทรงเป็นอวตารของพระนารายณ์ ครุฑจึงได้รับการนับถือและยกให้เป็นสัตว์สัญลักษณ์แห่งแผ่นดินไทยนับแต่นั้นมา
เอาล่ะ...พอทราบตำนานขององค์ครุฑกันพอหอมปากหอมคอแล้ว ก็ตามเราไปเที่ยวชมความสง่างามที่น่าเกรงขามขององค์ครุฑ ณ พิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) กันเลยค่ะ
ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ครุฑ
พิพิธภัณฑ์ครุฑของธนาคารธนชาต นับเป็นพิพิธภัณฑ์ครุฑแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย จัดสร้างจากแนวความคิดของผู้บริหารธนาคารธนชาต ที่ต้องการส่งผ่านความเคารพและความรู้ที่มีความสำคัญเปรียบเสมือนสัญลักษณ์แห่งพระเจ้าแผ่นดิน อีกทั้งยังตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและความศรัทธาของคนไทยที่มีต่อองค์ครุฑ
ทั้งนี้นับจากที่ธนาคารนครหลวงไทย ได้ควบรวมเข้ากับธนาคารธนชาต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ธนาคารธนชาต ซึ่งได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญขององค์ครุฑพระราชทานที่มีความผูกพันและความศรัทธามาอย่างนานกับคนไทย จึงได้อัญเชิญเครื่องหมายครุฑพ่าห์ที่พระราชทานให้กับธนาคารหลวงไทย เพื่อติดตั้งที่สำนักงานใหญ่และสาขาเป็นการเฉพาะนั้น ไปประดิษฐานในที่อันเหมาะสม ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารธนชาต บางปู และมีการประกอบพิธีกรรมทางพราหมณ์ตามหลักประเพณีปฏิบัติอย่างถูกต้อง โดยคณะพราหมณ์จากสำนักพระราชวัง เพื่อจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ครุฑขึ้นมา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครุฑในทุก ๆ ด้านให้แก่ผู้ที่สนใจ โดยมีพื้นฐานความเชื่อจากคติจักรวาลในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ อีกทั้งยังเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับสถาบันการปกครองของไทยอย่างลึกซึ้ง และครอบคลุมความเชื่อที่ปรากฏให้เห็นในสังคมไทยมาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับพิพิธภัณฑ์ครุฑนั้น แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 5 ห้อง ได้แก่ โถงต้อนรับ, ห้องครุฑพิมาน (ป่าหิมพานต์), ห้องนครนาคราช, ห้องอมตะจ้าวเวหา และห้องจัดแสดงครุฑไม้สักเก่า
โดยเรามาเริ่มกันที่ "โถงต้อนรับ" ซึ่งเป็นรูปวงกลม ที่เมื่อเดินเข้าพิพิธภัณฑ์ครุฑสิ่งที่เห็นเด่นเป็นสง่า ก็คือ โลโก้พิพิธภัณฑ์ครุฑที่ตั้งเด่นอยู่ตรงกลาง และทางด้านขวามือจะเป็นกาพย์ห่อโคลงที่กล่าวถึงพญาครุฑในแง่มุมทางพุทธศาสนา ที่ได้รับเกียรติจากยอดกวีแห่งยุครัตนโกสินทร์ อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ส่วนทางด้านขวามือของโถงต้อนรับยังมีภาพถ่ายหน้าสาขาต่าง ๆ ของธนาคารนครหลวงไทย ที่ถ่ายทอดความประทับใจเก็บไว้ รวมถึงมีวีดิทัศน์แนะนำเรื่องราวและความสำคัญขององค์ครุฑโดย อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมไทยและเป็นที่ปรึกษาในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ครุฑแห่งนี้ด้วย นอกจากนี้ยังมีคำบอกเล่าประสบการณ์การปั้นครุฑจากศาสตราภิชาน สัญญา วงศ์อร่าม ภาควิชาศิลปศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากนั้นเมื่อชมโถงต้อนรับเรียบร้อยแล้ว ก็เดินขึ้นไปที่ชั้น 2 เพื่อท่องไปยังดินแดนหิมพานต์ ณ ห้องครุฑพิมาน หรือวิมานแห่งครุฑ ซึ่งเป็นการรังสรรค์ห้องจัดแสดงให้เป็นเสมือนป่าหิมพานต์ ดินแดนที่กำเนิดขึ้นภายใต้แนวความคิดศูนย์กลางของจักรวาลตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่ห้องนี้จะมีการจำลองสัตว์วิเศษที่ปั้นเสมือนจริง ต้นมักกะลีผล สระอโนดาตจำลอง ฯลฯ
ดื่มด่ำกับดินแดนหินพานต์แล้วก็ได้เวลาไปชื่นชมความงามของ "นครนาคราช" โดยเนรมิตอุโมงค์ทางเดินกว่า 10 เมตร ให้กลายเป็นมหานครใต้น้ำทั้งสีสันและบรรยากาศ เพื่อให้สมกับเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของเทพเจ้าแห่งสายน้ำอย่างพญานาค ซึ่งเป็นคู่ปรปักษ์กับองค์ครุฑ โดยมีการจิตรกรรมฝาผนัง "ครุฑยุดนาค" ที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ขององค์ครุฑและพญานาค
ก่อนจะเข้ามาชมสื่อมัลติมีเดีย ณ ห้องอมตะจ้าวเวหา ที่แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ขององค์ครุฑในด้านการกตัญญูกตเวที พละกำลัง และความเสียสละ ซึ่งที่ห้องนี้ได้มีการนำเอาองค์ครุฑบางส่วนมาประทับไว้บนผนัง
และเมื่อรับรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับองค์ครุฑกันบ้างแล้ว ก็ถึงเวลาไปพบกับ "ห้องจัดแสดงครุฑไม้สักเก่าแก่" จำนวนมาก โดยแต่ละตัวมีรูปแบบที่สง่างามแตกต่างกันไปตามจินตนาการของช่างแกะสลัก เพราะในอดีตไม่มีการกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่กำหนดลักษณ์ขององค์ครุฑ ทั้งนี้ เสน่ห์ขององค์ครุฑไม้สักแกะสลักนั้นไม่ได้อยู่ที่ความสวยงาม ท่วงท่าอันสง่างามที่แสดงถึงพลังอำนาจอันน่าเกรงขามอย่างเดียว หากแต่อยู่ที่คุณค่าและประวัติศาสตร์การสร้างสรรค์องค์ครุฑแต่ละตัว ซึ่งทุกตัวถูกอันเชิญมาประดิษฐานที่พิพิธภัณฑ์ครุฑก็มีความเก่าแก่แตกต่างกันไป โดยตัวที่เก่าแก่ที่สุด คือ องค์ครุฑจากสาขาราชดำเนิน ซึ่งเป็นสาขาแรกของธนาคารนครหลวงไทย มีอายุกว่า 70 ปี
ทั้งนี้พิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ยังไม่เปิดให้เยี่ยมชมอย่างเป็นทางการ หากใครต้องการไปสัมผัสกับมนตร์เสน่ห์ต่าง ๆ ขององค์ครุฑนั้น อดใจรอกันสักหน่อยนะคะ ^__^
แผนที่การเดินทางไปพิพิธภัณฑ์ครุฑ