ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Natnateekap
« เมื่อ: กันยายน 01, 2014, 10:33:27 am »

อ่านบทความนี้แล้วได้ความรู้ใหม่ๆเยอะเลย
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2014, 08:13:55 am »


ฤดูปวารณา(จบ)แสวงหาทรัพย์ภายใน

-http://www.komchadluek.net/detail/20140810/189828.html-


ฤดูปวารณา(จบ)แสวงหาทรัพย์ภายใน : ธรรมะยู-เทิร์น โดยอิทธิโชโต

               พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติวันเข้าพรรษาไว้มีอยู่ ๒ วัน คือ ๑.ปุริมิกาวัสสูปนายิกา คือ วันเข้าพรรษาแรก ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนถึงวันเพ็ญ กลางเดือน ๑๑ ๒.ปัจฉิมมิกาวัสสูปนายิกา คือ วันเข้าพรรษาหลัง ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ไปจนถึงวันเพ็ญกลางเดือน ๑๒

               ดังนั้นนอกจากเป็นเวลาที่พระจะได้ฝึกฝนปฏิบัติภาวนาให้มากขึ้นแล้ว ฆราวาสหรือคฤหัสถ์เราก็เป็นเวลาที่จะนำสิ่งดีๆ ให้กับตนเอง ทำในสิ่งที่ดีเข้ามาในตน เพราะคำว่า 'เข้า' ความหมายคือ อาการที่เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า หรือมาถึง ส่วน 'พรรษา' ก็คือ ช่วงระยะเวลา ๓ เดือนในฤดฝน เรียกว่า ให้นำเข้าสิ่งที่ดีเข้ามาตลอด ๓ เดือนนี้

               สิ่งที่ไม่ดี ทำมาพอแรงแล้ว ทิ้งมันไปบ้าง หนึ่งปีที่ผ่านมา ทำสิ่งที่ดีบ้าง ทำสิ่งที่คนเขาขาดกัน คือ เรื่องศีล เรื่องธรรม เรื่องเงินเรื่องทองมันมีมากเกินพอ มีแต่ทำความเดือดร้อนให้กับผู้คน เพราะมุ่งกันหาแต่ทรัพย์ข้างนอก หันมาหาเรื่องศีล เรื่องธรรม คือทรัพย์ภายในอันประเสริฐ เป็นการแสวงหาทรัพย์ข้างในที่ไม่เดือดร้อนใคร และทำได้ทุกวัน ทุกเวลา

               คนที่ตั้งใจสร้างความดี ทุกอย่างที่ดีก็จะอยู่ในตัวเรา เพียงแค่มีความตั้งใจ ตั้งมั่น และมีความเพียร อุตสาหะ พยายาม ทั้งหมดนี้คือ อิทธิบาท ๔ หมายถึง ฐานหรือหนทางสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย มี ๔ ประการ คือ ฉันทะ (ความพอใจ) ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป วิริยะ (ความเพียร) คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย จิตตะ (ความคิด) คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป และ วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง) คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น

               อิทธิบาทสี่ย่อลงมาก็เข้ากันได้กับ การภาวนา อันหมายถึง การทําให้มีขึ้น ทำให้มากขึ้น ให้เป็นขึ้นทางจิตใจ สำรวมใจให้แน่วแน่เป็นสมาธิ เช่น สวดมนต์ภาวนา หรือสำรวมใจตั้งความปรารถนาและทำให้เป็นจริง ส่วนจะภาวนาให้ยิ่งขึ้นด้วยกุศโลบายแบบไหนล่ะ จะเป็น 'พุทโธ' , 'อานาปานสติ' หรือความรู้สึกตัวก็ได้ แต่ไม่ต้องภาวนาอยากเป็นนั่นเป็นนี่ ภาวนาอยากมีชื่อเสียงโด่งดังก็ไม่ใช่ ภาวนาอยากรวยก็ไม่ใช่อีก  แต่มาภาวนาเพื่อสันโดษ สงบก็พอแล้ว

               ขอเชิญร่วมทอดผ้าป่า 'อาจาริยบูช ๑๐๑ ปี ชาตกาลองค์หลวงตามหาบัว' เพื่อร่วมสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน และร่วมบุญสืบต่อวิทยุโทรทัศน์หลวงตา วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๗ ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ น. เป็นต้นไป ที่วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี www.luangta.com
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2014, 08:13:16 am »


ฤดูปวารณา(๓)'สัตตาหกรณียะ'พระไปไหนได้บ้าง

-http://www.komchadluek.net/detail/20140803/189449.html-

ฤดูปวารณา(๓)'สัตตาหกรณียะ'พระไปไหนได้บ้าง : ธรรมะยู-เทิร์น โดยอิทธิโชโต

               ในช่วงเข้าพรรษา พระสามารถเลือกได้ว่า จะจำพรรษาที่ไหน อย่างไร และสถานที่นั้นก็ต้องรองรับท่านได้ด้วย หรือไปจำพรรษาที่ป่าช้าก็ได้ ท้ายบ้านหัวบ้าน ภูเขา ก็ได้ทั้งนั้น จะอยู่กี่รูปกี่องค์ก็ว่าไป หรืออยู่รูปเดียวได้ก็อยู่ไป นี่คือทำตามพุทธบัญญัติว่า คือฤดูกาลทำไร่ทำนาของชาวบ้าน ไม่ให้ภิกษุเที่ยวสัญจรไปมา เที่ยวไปที่นั่นที่นี่แล้วเหยียบพืชไร่เขาเสียหาย


                อีกอย่างหนึ่งคือเป็นฤดูฝน ไปไหนมาไหนก็ลำบาก ก็ให้พระจำพรรษาอยู่ภาวนา ไม่ต้องไปไหน ไปอย่างมากก็บิณฑบาตเท่านั้น และถ้ามีเหตุจำเป็น พระพุทธเจ้าทรงให้เวลา ๖ ราตรี ๗ วัน ไม่เกินนี้ต้องกลับมาวัดก่อน ถ้ามีเหตุที่จะต้องไป ก็ค่อยไปใหม่ เหตุที่จะไปได้ก็มีไม่กี่อย่าง เรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" หรือเรียกย่อๆ ว่า สัตตาหะ มีความหมายว่า สัปดาห์ หรือ เจ็ดวัน

                ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) อธิบายว่า "สัตตาหกรณียะ" อันเป็นธุระเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดในระหว่างพรรษา ๗ วันได้แก่ ๑.ไปเพื่อพยาบาลสหธรรมิกหรือมารดาบิดาผู้เจ็บไข้ ๒.ไปเพื่อระงับสหธรรมิกที่กระสันจะสึก ๓.ไปเพื่อกิจสงฆ์ เช่น ไปหาทัพพสัมภาระมาซ่อมวิหารที่ชำรุดลงในเวลานั้น ๔.ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของทายกซึ่งส่งมานิมนต์เพื่อการบำเพ็ญกุศลของเขา และธุระอื่นจากนี้ที่เป็นกิจลักษณะอนุโลมตามนี้ได้

                ดังต้นบัญญัติ ที่มีบันทึกอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ตอนหนึ่ง เรื่องทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะ ทายกสร้างวิหารถวาย เป็นต้นว่า ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี อุบาสกชื่ออุเทนได้ให้สร้างวิหารอุทิศต่อสงฆ์ไว้ในโกศลชนบท เขาได้ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายจงมา ข้าพเจ้าปรารถนา จะถวายทาน ฟังธรรม และพบเห็นภิกษุทั้งหลาย

                ภิกษุทั้งหลายตอบไปว่า ท่านอุบาสก พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุจำพรรษา ไม่พึงหลีกไปสู่จาริก ขออุบาสก อุเทนจงรอชั่วระยะเวลาที่ภิกษุทั้งหลายจำพรรษา ออกพรรษาแล้วจึงจักไปได้ แต่ถ้าท่านจะมีกรณียกิจรีบด่วน จงให้ประดิษฐานวิหารไว้ในสำนักภิกษุเจ้าถิ่น ในโกศลชนบทนั้นนั่นแหละ. อุบาสกอุเทนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนเมื่อเราส่งทูตไปแล้ว พระคุณเจ้า ทั้งหลายจึงได้ไม่มาเล่า เราก็เป็นทายก เป็นผู้ก่อสร้าง เป็นผู้บำรุงสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายได้ยินอุบาสกอุเทนเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค
 
                พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมกถา แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ๗ จำพวก* ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วย สัตตาหกรณียะได้ แม้เมื่อเขาไม่ส่งมา เราไม่อนุญาต ...ดังนี้

                หมายเหตุ *บุคคล ๗ จำพวก คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก และ อุบาสิกา
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2014, 08:12:31 am »


ฤดูปวารณา(๒)สัจจะอธิษฐาน

-http://www.komchadluek.net/detail/20140726/188958.html-

ฤดูปวารณา(๒)สัจจะอธิษฐาน : ธรรมะยู-เทิร์น โดยอิทธิโชโต

               การตั้งสัจจะ หรือการตั้งจิตอธิษฐาน ที่สำคัญคือการบอกกับตนเอง ถ้าไม่มั่นใจก็บอกกล่าวกับครูบาอาจารย์ ผู้หลักผู้ใหญ่ ให้เป็นพยานหน่อยนะ แล้วพยายามทำให้ได้ ถ้าตั้งสัจจะแล้วทำไม่ได้ แสดงว่า เรายังบกพร่องอยู่ ก็ต้องตั้งใจใหม่ เอาใจใส่ให้มาก ไม่ใช่สักแต่ว่าจะทำ แล้วทำไม่ได้ อันนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ขอให้ทำเสียก่อน ค่อยๆ ทำไป วันนี้ไม่ได้ พรุ่งนี้เอาใหม่ แล้วพยายามทำให้ได้ เช่นว่า ที่เราติดไม่ดีอะไรบ้าง ลองแจงดู ก็ให้เบาลงๆ ในตลอดระยะเวลาสามเดือนนี้ พอออกพรรษาแล้ว อยากฝึกต่อ อยากจะทำอะไรให้มันดีขึ้น ก็ขึ้นอยู่กับคุณ

               บางคนบอกว่า เข้าพรรษาแค่สามเดือน จะไปทำทำไม ออกพรรษาตั้งกี่เดือน ทำไมไม่ทำ แต่ถ้าเราไม่เริ่ม อย่าว่าแต่หกเดือน เจ็ดเดือน แปดเดือนเลย ปีหนึ่งก็ไม่ได้อะไร ยิ่งฆราวาส ญาติโยม ที่มีหน้าที่การงานรับผิดชอบมากมายในแต่ละวัน แล้วมักจะบ่นว่าไม่มีเวลา การตั้งสัจจะลดละเลิกสิ่งที่ไม่ดี หรือสิ่งที่ตัวเราด้อยอยู่เพียงเล็กๆ สักเรื่องหนึ่งก็พอ

               แต่สำหรับพระ ท่านจะปวารณาต่อกันว่า ถ้าข้าพเจ้าด้อยในสิ่งใด ขอให้ท่านว่ากล่าวตักเตือน บอกข้าพเจ้าด้วยนะ

               ปฐมเหตุบัญญัติการปวารณาของพระสงฆ์ มาจากพระไตรปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ (พระวินัยปิฎกเล่ม ๔) ๔ ปวารณาขันธกะ หมวดปวารณา เรื่องมีอยู่ว่า ในสมัยพุทธกาล ขณะที่ภิกษุจำพรรษาในแคว้นโกศล ตั้งกติกาไม่พูดกัน ใช้วิธีบอกใบ้ หรือใช้มือแทนคำพูด เมื่อออกพรรษาแล้วไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ตรัสถามทราบความแล้ว ก็ทรงติเตียนการอยู่ร่วมกันอย่างปศุสัตว์ หมายถึงอยู่ร่วมกันโดยไม่มีการถามสุขทุกข์ของกันและกัน เพราะปศุสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่บอกสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่ตนให้ใครทราบ และไม่ปฏิสันถารต่อกัน (วิ.อ.๓/๒๐๙/๑๕๔)

               ดังนั้นจึงทรงห้ามการสมาทานมูควัตร (คือไม่พูด) ที่พวกเดียรถีย์ถือปฏิบัติกัน รูปใดสมาทานต้องอาบัติทุกกฎ และทรงอนุญาตการปวารณา คือการอนุญาตให้ภิกษุอื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ด้วยเหตุ ๓ คือ ด้วยได้เห็น ได้ยิน หรือนึกสงสัย ตรัสว่า การปวารณานั้น จักเป็นวิธีที่เหมาะสม เพื่อว่ากล่าวซึ่งกันและกัน เป็นวิธีออกจากอาบัติ เป็นวิธีเคารพพระวินัยของภิกษุ เมื่อได้จำพรรษาแล้ว โดยให้สวดประกาศตั้งญัตติแล้วให้ภิกษุพรรษาแก่กว่าปวารณาก่อน ๓ ครั้ง ภิกษุพรรษาอ่อนกว่าปวารณาทีหลัง ทรงห้ามไม่ให้นั่งลงกับพื้นจนกว่าจะปวารณาเสร็จ คือให้ทุกรูปนั่งกระโหย่ง รูปไหนเสร็จก่อนก็นั่งลงกับพื้นได้

               ทรงแสดงวันปวารณาว่ามี ๒ วันคือ วัน ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ และทรงแสดงปวารณา ๔ อย่าง คือ ๑.ปวารณาแยกกันที่ไม่เป็นธรรม ๒.ปวารณารวมกันที่ไม่เป็นธรรม ๓.ปวารณาแยกกันที่เป็นธรรม และ ๔.ปวารณารวมกันที่เป็นธรรม

               แล้วตรัสสอนให้ปวารณาเฉพาะรวมกันที่เป็นธรรม ...

               คณะสงฆ์ก็จะอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก เพราะมีการปวารณา ดังนี้