ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2014, 06:42:15 pm »

“ปาท่องโก๋” แท้จริงแล้วไม่ใช่ปาท่องโก๋
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    13 พฤศจิกายน 2557 16:31 น.


-http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9570000130205-




ขนมที่ทำมาจากแป้ง นำมาประกบคู่กันแล้วทอดในน้ำมันจนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล กินคู่กับกาแฟในยามเช้า กินคู่กับโจ๊ก กินคู่กับน้ำเต้าหู้ หรือจะจิ้มนมข้นหวาน จิ้มสังขยา ก็อร่อยไม่แพ้กัน
       
       อธิบายมายาวขนาดนี้หลายคนคงจะนึกภาพออกแล้วว่าขนมที่ว่าก็คือ “ปาท่องโก๋” ที่ในบ้านเราหากินกันได้ทั่วไปตามท้องถนนไปจนถึงร้านอาหารต่างๆ ซึ่งขนมชนิดนี้คนไทยเราเรียกกันว่า “ปาท่องโก๋” แต่รู้หรือไม่ว่าอันที่จริงแล้ว ถ้าจะเรียกกันให้ถูกต้องตามต้นฉบับภาษาจีนนั้นจะต้องเรียกว่า “อิ่วจาก้วย”
       
       คำว่า “ปาท่องโก๋” ในภาษากวางตุ้ง แปลว่า ขนมน้ำตาลขาว เป็นขนมชนิดหนึ่งของคนกวางตุ้ง รูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม เนื้อสัมผัสคล้ายกับขนมถ้วยฟู ส่วนคำว่า “อิ่วจาก้วย” เป็นภาษาแต้จิ๋ว แปลว่า ขนมทอดน้ำมัน
       
       แต่เหตุที่คนทั่วไปเรียกขนมนี้ว่าปาท่องโก๋ มีการสันนิษฐานกันว่า ในสมัยก่อนนั้น คนที่มาขายขนมมักจะขายขนมรวมๆ กันหลายอย่าง ซึ่งก็มีทั้งปาท่องโก๋และอิ่วจาก้วยรวมๆ กันไป คนขายอาจจะร้องขายปาท่องโก๋เป็นอย่างแรก และต่อด้วยขนมอย่างอื่น แต่คนไทยเกิดจำได้เฉพาะชื่อแรก เมื่อไปซื้อขนมมากินก็ได้อิ่วจาก้วยซึ่งเป็นขนมทอดมาทุกที จึงอนุมานว่าขนมทอดแบบนี้มีชื่อว่าปาท่องโก๋ตามที่คนขายพูด แล้วก็เรียกกันต่อๆ มาว่า “ปาท่องโก๋”
       
       สำหรับคนที่ไปชิมปาท่องโก๋ในร้านติ่มซำแถวๆ ภาคใต้ ก็อาจจะได้ปาท่องโก๋ในลักษณะแป้งขาวๆ มาแทน เพราะคนแถบนั้นยังเรียกขนมทอดน้ำมันว่า “อิ่วจาก้วย” อยู่เหมือนเดิม
       
       แต่สำหรับร้านขายปาท่องโก๋ทั่วๆ ไป ก็เป็นอันเข้าใจตรงกันว่า ขนมทอดน้ำมันแบบนี้เรียกว่า “ปาท่องโก๋”