ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2014, 05:11:46 pm »สุ่มตรวจร้านหมูกระทะ พบยาดองศพปนเปื้อนในปลาหมึกอื้อ
-http://health.kapook.com/view105227.html-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
แพทย์ประจำสาธารณสุขจังหวัดเลย สุ่มตรวจสารปนเปื้อนในอาหารตามร้านจำหน่ายหมูกระทะ พบมีสารฟอร์มาลีนหรือน้ำยาดองศพปนเปื้อนอยู่ในปลาหมึกอื้อ
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายแพทย์สุวิทย์ โรจนศักดิ์โสธร แพทย์ประจำสาธารณสุขจังหวัดเลย ได้นำเจ้าหน้าที่ออกสุ่มตรวจร้านจำหน่ายหมูกระทะในพื้นที่อำเภอเมืองเลย เพื่อป้องกันการใช้สารปนเปื้อนในอาหาร ทั้งนี้จากการตรวจสอบพบว่า บางร้านมีสารฟอร์มาลีนหรือน้ำยาดองศพปนเปื้อนอยู่ในปลาหมึก ซึ่งเจ้าของร้านก็ได้ปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นผู้ใส่สารชนิดดังกล่าวเอง พร้อมบอกว่าปลาหมึกที่นำมาขายจะมีรถมาส่งให้ถึงร้าน
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังทำการตรวจสอบสารบอแรกซ์ในเนื้อหมูด้วย ซึ่งปรากฏว่าไม่พบสารปนเปื้อนแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่ก็ได้ให้คำแนะนำในเรื่องสุขอนามัยกับบรรดาร้านต่าง ๆ อีกด้วย ส่วนสำหรับร้านที่พบว่ามีสารฟอร์มาลีนนั้น ทางเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบที่มาและดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ผู้สื่อข่าวระบุเพิ่มเติมว่า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลยได้ฝากเตือนมายังประชาชน ว่าให้เลือกร้านที่น่าไว้วางใจเท่านั้น เนื่องจากผู้ค้าขายบางร้านไม่ห่วงใยสุขภาพของผู้บริโภค อาจใช้น้ำยาที่เป็นอันตราย เช่น ฟอร์มาลีน น้ำยาล้างห้องน้ำ มาแช่เนื้อปลาหมึกหรือใช้ล้างเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ได้
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าว ผู้บริโภคจะต้องคำนึงถึงสุขภาพอนามัยของตัวเอง โดยให้สังเกตที่เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ว่าจะต้องไม่แดงจัดจนเกินไป และสีผิวต้องสม่ำเสมอ ไม่มีลักษณะของเม็ดสาคูฝังในเนื้อ และเพื่อหลีกเลี่ยงพยาธิต่าง ๆ ในการย่างควรต้องย่างให้สุกก่อน ไม่ควรรับประทานแบบสุก ๆ ดิบ ๆ เพราะเสี่ยงต่อการเป็นพยาธิ อีกทั้งถ้าป่วยแล้วอาจถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้จะต้องไม่ย่างจนเกรียมเกินไป เพราะการไหม้เกรียมมีสารก่อมะเร็งอีกด้วย
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลยยังกล่าวอีกว่า หากผู้บริโภคสงสัย สามารถนำตัวอย่างเนื้อสัตว์มาส่งตรวจได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยหรือโรงพยาบาลชุมชนได้ทุกแห่ง ซึ่งจะให้บริการตรวจฟรี 5 สาร คือ สารบอแร็กซ์ สารกันรา สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ส่วนสารเร่งเนื้อแดงผู้บริโภคจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจเอง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก-http://social.tnews.co.th/content/116704/-
-http://health.kapook.com/view105227.html-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
แพทย์ประจำสาธารณสุขจังหวัดเลย สุ่มตรวจสารปนเปื้อนในอาหารตามร้านจำหน่ายหมูกระทะ พบมีสารฟอร์มาลีนหรือน้ำยาดองศพปนเปื้อนอยู่ในปลาหมึกอื้อ
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายแพทย์สุวิทย์ โรจนศักดิ์โสธร แพทย์ประจำสาธารณสุขจังหวัดเลย ได้นำเจ้าหน้าที่ออกสุ่มตรวจร้านจำหน่ายหมูกระทะในพื้นที่อำเภอเมืองเลย เพื่อป้องกันการใช้สารปนเปื้อนในอาหาร ทั้งนี้จากการตรวจสอบพบว่า บางร้านมีสารฟอร์มาลีนหรือน้ำยาดองศพปนเปื้อนอยู่ในปลาหมึก ซึ่งเจ้าของร้านก็ได้ปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นผู้ใส่สารชนิดดังกล่าวเอง พร้อมบอกว่าปลาหมึกที่นำมาขายจะมีรถมาส่งให้ถึงร้าน
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังทำการตรวจสอบสารบอแรกซ์ในเนื้อหมูด้วย ซึ่งปรากฏว่าไม่พบสารปนเปื้อนแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่ก็ได้ให้คำแนะนำในเรื่องสุขอนามัยกับบรรดาร้านต่าง ๆ อีกด้วย ส่วนสำหรับร้านที่พบว่ามีสารฟอร์มาลีนนั้น ทางเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบที่มาและดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ผู้สื่อข่าวระบุเพิ่มเติมว่า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลยได้ฝากเตือนมายังประชาชน ว่าให้เลือกร้านที่น่าไว้วางใจเท่านั้น เนื่องจากผู้ค้าขายบางร้านไม่ห่วงใยสุขภาพของผู้บริโภค อาจใช้น้ำยาที่เป็นอันตราย เช่น ฟอร์มาลีน น้ำยาล้างห้องน้ำ มาแช่เนื้อปลาหมึกหรือใช้ล้างเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ได้
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าว ผู้บริโภคจะต้องคำนึงถึงสุขภาพอนามัยของตัวเอง โดยให้สังเกตที่เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ว่าจะต้องไม่แดงจัดจนเกินไป และสีผิวต้องสม่ำเสมอ ไม่มีลักษณะของเม็ดสาคูฝังในเนื้อ และเพื่อหลีกเลี่ยงพยาธิต่าง ๆ ในการย่างควรต้องย่างให้สุกก่อน ไม่ควรรับประทานแบบสุก ๆ ดิบ ๆ เพราะเสี่ยงต่อการเป็นพยาธิ อีกทั้งถ้าป่วยแล้วอาจถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้จะต้องไม่ย่างจนเกรียมเกินไป เพราะการไหม้เกรียมมีสารก่อมะเร็งอีกด้วย
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลยยังกล่าวอีกว่า หากผู้บริโภคสงสัย สามารถนำตัวอย่างเนื้อสัตว์มาส่งตรวจได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยหรือโรงพยาบาลชุมชนได้ทุกแห่ง ซึ่งจะให้บริการตรวจฟรี 5 สาร คือ สารบอแร็กซ์ สารกันรา สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ส่วนสารเร่งเนื้อแดงผู้บริโภคจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจเอง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก-http://social.tnews.co.th/content/116704/-