ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2014, 06:52:36 pm »

เคล็ด(ไม่)ลับ “อ่านเร็ว-จำแม่น” อยากได้เกรด A เชิญทางนี้!!

-http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9570000142469-

เชื่อว่านิสิตนักศึกษาหลายคน คงเพิ่งได้พักหายใจหายคอไปกับการสอบมิดเทอม แต่ต้องลุกขึ้นปาดเหงื่อกันอีกครั้ง เมื่อการสอบไฟนอลใกล้เข้ามาทุกที!! คราวนี้ Life on Campus ก็ไม่รอช้า พร้อมส่งมอบเทคนิคการอ่านหนังสือสอบ ฉบับอ่านเร็วจำแม่นสุดๆ ให้เตรียมตัวเตรียมใจอ่านก่อนสอบกันล่วงหน้า เพื่อโกยคะแนนสวยๆ เกรดงามๆ มาครองกัน ตามมาดูเลยดีกว่าว่าจะมีเทคนิคดีๆ อะไรมาฝากบ้าง..
       
       1. อยากเห็นภาพรวม ต้องอ่านบทสรุป!
       
        แน่นอนว่าผู้เขียนส่วนใหญ่นั้น มักมีการเขียนในบทต้นๆ ของเนื้อหาที่ยืดเยื้อ เกริ่นนำยาวเป็นหน้าๆ และใช้การพรรณนาที่ยืดยาวเกินจำเป็น รวมไปถึงชีวประวัติของผู้เขียนเอง ซึ่งเป็นการเกริ่นนำไปสู่เนื้อหาจริง แต่หากมัวอ่านการไล่เรียงพรรณนาของผู้เขียนตั้งแต่แรกเริ่มนั้น คงเสียเวลาแย่ เราจึงมีวิธีลัดที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจไว และเห็นภาพรวมของเนื้อหามากขึ้น นั้นคือการอ่านบทสรุปก่อน เพราะผู้เขียนจะสรุปเนื้อหาและข้อมูลทั้งหมดไว้ในส่วนท้ายของเนื้อหา เมื่อเราอ่านส่วนท้ายบทแล้ว จะทำให้มองเห็นภาพรวมของเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น และเมื่อกลับมาอ่านเนื้อหาแรกเริ่มอีกครั้งจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้นอีกด้วย วิธีนี้ยังสามารถใช้ได้กับการอ่านเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนเริ่มเรียนจริงได้อีกด้วยนะ เช่น หากเรามีเรียนในเช้าวันต่อมา คืนนี้เราอาจหยิบเนื้อหาที่จะเรียนวันพรุ่งนี้ แล้วอ่านบทสรุปของเนื้อหา เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยให้ผู้เรียนพอเห็นภาพรวมของเนื้อหาที่จะเรียนได้ดียิ่งขึ้นแล้ว

        2. ปากกาไฮไลต์ ตัวช่วยเรื่องการจดจำ
       
        อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้อ่านมักมีปัญหาระหว่างการขีดๆ เขียนๆ ในเนื้อหา นั้นคือการไฮไลต์ที่มากเกินจำเป็น หรือการทำเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆ มากมายจนลายตา จึงกลายเป็นข้อผิดพลาดอีกประการหนึ่งที่ทำให้เวลาย้อนกลับมาอ่านนั้น เกิดความสับสนและตาลาย ไม่สามารถแยกใจความสำคัญออกจากกันได้ เพราะขีดไฮไลต์ไปซะทุกบรรทัดที่อาจารย์ผู้สอนบอก ซึ่งความจริงแล้วปากกาไฮไลต์ถือเป็นเครื่องช่วยเน้นใจความสำคัญของเนื้อหาได้ดีเลยทีเดียว รวมถึงการเลือกใช้สีสันที่หลากหลายขีดส่วนที่สำคัญนั้น ล้วนมีส่วนช่วยในเรื่องของการจดจำ ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือการไฮไลต์ส่วนสำคัญที่อาจารย์ผู้สอนพูดสรุปไว้ ถึงแม้ว่าอาจารย์ผู้สอนจะพูดวกไปวนมา แต่ท้ายที่สุดแล้วจะต้องมีการกล่าวสรุปเนื้อหาทั้งหมดไว้ในส่วนท้าย จุดนั้นจึงเป็นจุดที่ควรไฮไลต์หรือจดเพิ่มเติมมากที่สุด และเมื่อเราเปิดหนังสือมาอ่านอีกครั้ง ก็สามารถเห็นประโยคใจความสำคัญที่เน้นไว้อย่างง่ายดายและช่วยประหยัดเวลาในการอ่านอีกด้วย


        3. อ่านหัวข้อที่น่าสนใจ ประหยัดเวลาในการอ่าน
       
        เทคนิคการอ่านนี้น่าสนใจไม่น้อย เพราะเป็นการแก้ปัญหาการอ่านทุกบรรทัดแต่ไม่เข้าหัว และต้องประหลาดใจแน่ๆ หากนักศึกษาในมหาวิทยาลัยทราบว่านักวิชาการหรืออาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่ไม่ได้อ่านหนังสือจนจบเล่ม เพราะสิ่งที่เหล่านักวิชาการหรืออาจารย์ผู้สอนทำนั้นคือดูสารบรรณและหัวข้อที่น่าสนใจ หรือใช้วิธีการอ่านผ่านๆ อย่างรวดเร็วด้วยการกวาดตา จนเจอหัวข้อที่น่าสนใจถึงหยุดอ่านอย่างตั้งใจ และการอ่านแบบนี้เองจะทำให้ช่วยประหยัดเวลาได้ดี รวมถึงไม่ทำให้ผู้อ่านเบื่อหน่าย เพราะได้อ่านสิ่งที่ตัวเองสนใจจริงๆ นอกจากนี้การดูสารบรรณและหัวข้อย่อยของเนื้อหาจะทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพรวมของเนื้อหาในเล่ม และได้รู้ลำดับเนื้อหาก่อนหลังของหนังสือได้อย่างเข้าใจ


        4. หาความรู้นอกห้องเรียน
       
        จริงอยู่ที่การอ่านเป็นสิ่งที่ไม่สนุกเอาซะเลย ยิ่งอ่านหนังสือเล่มหนาๆ เนื้อหาหนักๆ ยิ่งทำให้เบื่อหน่าย แต่ถ้าเรารู้จักควบคุมสถานการณ์อันน่าเบื่อได้ การอ่านหนังสือเล่มโตอาจเปลี่ยนเป็นเรื่องง่ายไปเลยก็ได้ เช่นเดียวกันการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย แน่นอนว่านักศึกษาทุกคนมักเก็บรายละเอียดสิ่งที่อาจารย์ผู้สอนนั้นป้อนให้ รวมถึงการอ่านหนังสือที่อาจารย์มอบหมายให้อ่าน หากลองเปลี่ยนเป็นการหาหนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกันกับสิ่งที่เรียนไว้อ่านเพิ่มเติมก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น การหาหนังสือในห้องสมุด หางานวิจัยต่างๆ เพิ่มความรู้ความเข้าใจ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้การอ่านไม่ซ้ำซากจำเจ
       
       5. อย่าอ่านทุกคำ ทุกตัวอักษร
       
        ทุกคนคงมีความคิดที่ว่า “ยิ่งอ่านเยอะ ยิ่งได้ความรู้เยอะ” แต่ใช้ไม่ได้เสมอไป เพราะยิ่งอ่านเยอะมากเท่าไหร่ หรืออ่านทุกๆ คำของเนื้อหา อาจทำให้สมองอ่อนล้าและได้รับข้อมูลที่มากเกินจำเป็น จนพลอยปวดหัวเลิกอ่านไปในที่สุด ส่วนสาเหตุที่ไม่ให้อ่านทุกคำทุกตัวอักษรนั้น เป็นเพราะหนังสือที่เราอ่านไม่ใช่หนังสือนิยายที่ต้องอ่านทุกคำโดยที่ไม่อยากพลาดส่วนใดส่วนหนึ่งของเนื้อหาไป ส่วนหนังสือที่เราอ่านส่วนใหญ่นั้น เนื้อหาบางอย่างผู้แต่งมักจะให้รายละเอียดซ้ำๆ และมีการสรุปเนื้อหาไว้ท้ายสุดของเรื่อง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องอ่านทุกคำทุกรายละเอียด แต่จงอ่านด้วยการกวาดสายตา เพื่อหาส่วนที่เป็นใจความสำคัญแล้วตั้งใจอ่าน ทำความเข้าใจกับเนื้อหาส่วนนั้นมากกว่า


        6. เขียนสรุปมุมมองผู้อ่าน
       
        คนส่วนใหญ่ไม่ชอบการเขียน พอๆ กับการอ่าน แต่ลองดูสักหน่อยก็คงดี เพราะวิธีนี้จะต้องใช้การเขียนเข้ามาช่วย และการเขียนนี้เองเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการรวบรวมข้อมูลสำคัญในระยะเวลาสั้นๆ ได้ เช่น การที่เราอ่านหนังสือแล้วสรุปใจความสำคัญออกมาใส่กระดาษ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์ของผู้เขียน ใจความสำคัญที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อสารกับผู้อ่าน และการเขียนสรุปมุมมองของเราเองใส่ในโน๊ตย่อไว้อ่านสรุปนั้น สามารถทำให้เราเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อให้ผู้อ่านได้อย่างดี รวมถึงทำให้เราจดจำใจความสำคัญที่เราโน๊ตไว้ได้ดียิ่งขึ้น ยิ่งเวลาใกล้สอบเข้ามาแล้วด้วย ก็จะทำให้การอ่านหนังสือเป็นไปได้ด้วยเวลาอันรวดเร็ว เพราะเราได้ทำการจดสรุปไว้แล้วนั่นเอง
       
       7. จับกลุ่มคุยสิ่งที่อ่านมากับเพื่อนๆ
       
        ต่อมาเป็นวิธีที่ช่วยให้การอ่านเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด นั่นคือการพูดคุยถึงสิ่งที่เราอ่านมากับเพื่อนๆ นั้นเอง วิธีนี้มีส่วนช่วยในการจดจำสิ่งที่เราอ่านได้มากที่สุด ยิ่งตอนจับกลุ่มคุยกับเพื่อนๆ พูดถึงเนื้อหาบางส่วนด้วยมุขตลกๆ ด้วยแล้ว หรือจะสร้างวิธีการจดจำเนื้อหาด้วยประโยคหรือมุขเฉพาะตัว ก็จะยิ่งทำให้จดจำได้ดีขึ้น และเมื่อเราอยู่ในห้องสอบก็จะทำให้เราจำประเด็นนั้นได้ เพราะเราจะคิดถึงเรื่องตลกก่อน ถือเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ทั้งผู้ฟังและผู้พูดได้ประโยชน์ร่วมกัน และสร้างการจดจำเพื่อใช้ในการสอบได้ดีทีเดียว


        8. จดข้อสงสัยระหว่างการอ่าน
       
        ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการอ่านหนังสือหรือเนื้อหาบทเรียนนั้น จะต้องมีข้อสงสัยต่างๆ ตามมา เพราะสิ่งที่ผู้เขียนนั้นอาจทำให้หลายคนเกิดข้อคิดชวนสงสัย ไม่ว่าจะเป็นทำไมผู้เขียนถึงกล่าวแบบนี้ การอธิบายด้วยการหยิบยกหลักฐานมานั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ ประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับข้อโต้แย้งของผู้เขียนอย่างไร รวมถึงผู้เขียนต้องการจะสื่อสารให้กับผู้อ่าน แน่นอนว่าการตั้งข้อสงสัยต่างๆ ถึงเนื้อหาที่อ่านนั้น เป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้สมองเกิดการคิด วิเคราะห์ระหว่างการอ่านไปด้วย ทำให้ผู้อ่านเกิดการจดจำและพยายามหาหลักฐาน รวมถึงข้อมูลเพิ่มเติมมาตอบคำถามข้อสงสัยนั้นๆ ดังนั้นการตั้งคำถามระหว่างการอ่านจึงเป็นอีกวิธีที่ฝึกให้สมองหัดคิด วิเคราะห์สิ่งที่อ่านไปด้วย และยังมีส่วนช่วยในการจดจำ


        เป็นยังไงกันบ้างกับเทคนิคที่ Life on Campus นำมาฝากน้องๆ กัน สำหรับใครที่เตรียมตัวสอบก็สามารถนำเทคนิคดีๆ ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ ทางทีมงานก็ขอให้น้องๆ ได้คะแนนดีๆ เกรดสวยๆ กันทุกคนนะจ๊ะ^^