ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 19, 2014, 12:36:59 pm »



" พระนิพพานไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้้อย่างไร "

สมัยหนึ่งท่านพระสารีบุตร อยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระ
ราชทานเหยื่อแก่กระแต ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารี
บุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า " ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นิพพานนี้เป็น
สุข ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข "

เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายี ได้กล่าวกะท่าน
พระสารีบุตรว่า " ดูก่อนท่านสารีบุตร ก็ในนิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุข
ได้อย่างไร "

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า " ดูก่อนอาวุโส ในนิพพานนี้ไม่มีเวทนานี้ นั่น
แหละเป็นสุข ดูก่อนอาวุโส กามคุณมี ๕ ประการนี้ กามคุณ ๕ ประการ
คืออะไรบ้าง คือ

๑) รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

๒) เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

๓) กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

๔) รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

๕) โพฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจ ชวน
ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

กามคุณ ๕ ประการนี้แล ดูก่อนอาวุโส สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
กามคุณ ๕ ประการนี้ เรียกว่ากามสุข

ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกาม...เข้าปฐมฌาน
อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญาและมนสิการอันประกอบ
้ด้วยกาม
ย่อมฟุ้งขึ้นไซร้ ข้อนั้นจัดเป็นอาพาธของเธอ
เหมือนความทุกข์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียนฉันใด
สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยกามเหล่านั้น ที่ฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น
นั่นก็เป็นอาพาธของเธอฉันนั้นเหมือนกัน
อาพาธนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่าเป็นความทุกข์
ดูก่อนอาวุโส
นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายนี้แล


( จาก นิพพานสุขสูตร
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระบาลีสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต )