ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: ธันวาคม 30, 2014, 04:52:51 am »จิตที่ได้รับการอบรมที่ถูกต้องแล้ว ปัญญาย่อมเกิดขึ้น จะมองดูอะไรก็เป็น “นิยายนิกธรรม” ทั้งสิ้น ส่วนผู้ไม่ได้รับการอบรมจิตที่ถูกต้อง ปัญญาแท้จริงก็ไม่เกิด แม้ผู้นั้นกำลังจับพระไตรปิฎกอ่านอยู่ก็ไม่เป็นผล ยิ่งทำให้เกิดความลังเลสงสัยตลอดไป
ส่วนผู้มีปัญญาอบรมมาด้วยจิตที่ถูกต้อง แม้จะไม่ต้องจับพระไตรปิฎก แต่ก็น้อมเอาสิ่งต่างๆ มาเป็นธรรม เป็นยอดพระไตรปิฎกได้..
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
อยากไปพระนิพพาน ก็ต้องไม่ติดอะไรทั้งนั้น ดี-เลว,ติดกลิ่น, ติดสี,ติดรส,ติดสถานที่, ติดร่างกายของครูบาอาจารย์ซึ่งไม่เที่ยงทั้งสิ้น อะไรที่เข้ามากระทบทางทวารทั้ง ๖ หรืออายตนะ ๖ ต้องวางให้ได้ รู้อารมณ์ตามจริตที่เกิดให้ได้ ศึกษากรรมฐานแก้ให้ดีๆ ต้องคล่องจริงๆ จึงจะชนะอารมณ์ตามจริตได้
หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม
ดูจิต ดูธรรมที่เกิดกับจิต
**************************
สิ่งที่มาเป็นอารมณ์ชักจิตให้เกิดนิวรณ์นั้นแหละ เป็นรูป
ความที่จิตน้อมไปรู้ แล้วเกิดนิวรณ์ข้อหนึ่งขึ้นนั้นแหละ เป็นนาม
ถ้าไม่มีอารมณ์เป็นเครื่องชักนำ
และจิตไม่น้อมออกไปรับรู้อารมณ์นั้น
คือ ไม่มีรูป ไม่มีนาม นิวรณ์ก็ไม่เกิด
เพราะฉะนั้น เมื่อกำหนดดูตัวนิวรณ์
ก็ต้องมากำหนดดูตัวรูปตัวนาม
คือดูอารมณ์ กับ ดูจิตที่น้อมออกไปรับอารมณ์
อารมณ์นั้นเข้ามาทางไหน
อารมณ์นั้นก็เข้ามาทางตา ทางหู
ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางมนะคือใจ
จิตก็น้อมออกไปรับรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง ๖นี้
อาการที่จิตน้อมออกไปรับรู้
ทางทวารทั้ง ๖ นี้ พลุ่งพล่านอยู่เสมอ
ออกไปรับอารมณ์ทางตาบ้าง
ออกไปรับอารมณ์ทางหูบ้าง
ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง
ทางกายบ้าง ทางมนะบ้าง
ลักษณะของจิตที่เป็นสามัญนี้
จึงเป็นเหมือนไฟพะเนียง
ที่พลุ่งพล่านขึ้นมาเป็นสาย
นี่แหละเรียกว่าเป็นลักษณะที่ฟุ้งซ่าน
แต่ถ้าไม่กำหนด ก็ไม่รู้
เพราะฉะนั้น จึงต้องกำหนด
ให้รู้จักทางเข้าของอารมณ์
ให้รู้จักจิตที่น้อมออกไปรับรู้อารมณ์
ทำไมจิตจึงเป็นเช่นนี้
ก็เพราะว่าจิตนี้
เมื่อน้อมออกไปรับรู้อารมณ์
ก็มีความประกอบผูกพันอยู่กับอารมณ์ด้วย
อารมณ์ก็เข้ามาผูกพันอยู่กับจิตด้วย
อันนี้แหละเรียกว่า สังโญชน์
เครื่องผูกจิต ประกอบจิต
ถ้าจิตไม่ไปผูกและไปประกอบอยู่กับอารมณ์
อารมณ์ผ่านมา แล้วก็ผ่านไป
ไม่ติดไม่ข้องอยู่
เหมือนอย่างน้ำที่หยดลงบนใบบัว
ผ่านตกลงไปไม่ข้องติด
แต่เพราะเหตุที่อารมณ์
เข้ามาข้องติดอยู่ในจิต
ฉะนั้นจึงเกิดนิวรณ์ขึ้นในจิต
ลักษณะที่อารมณ์เข้ามาข้องมาติดอยู่ที่จิต
นี้แหละเรียกว่าสังโญชน์ดังกล่าว
เพราะฉะนั้น ก็ให้กำหนดดูสังโญชน์ที่จิต
ให้รู้ตามความเป็นจริง
สมเด็จพระญาณสังวรฯ
เมื่อผู้วางภาระ คือว่าง ไม่ยึดถือว่าขันธ์ห้านี้เป็นตัวเป็นตนแล้ว ไม่ยึดถือแล้ว ปลงเป็นผู้วางภาระ ก็มีความสุข จะยืน เดิน นั่ง ก็มีความสุข ไม่ยึดถือ เพราะรู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว..
หลวงปู่ขาว อนาลโย..
“การได้ทำบุญมาในอดีตนี้เป็นมงคลอย่างยิ่ง”
ถ้าเราทำทาน ติดไปเป็นนิสัยทานนี้ก็จะติดไปกับใจของเรา ถ้าเรายังไม่ถึงการสิ้นสุดของการเวียนว่ายตายเกิด ทุกภพทุกชาติที่เราจะเกิดนี้ เราจะเกิดด้วยทาน จะมีทานอยู่คู่กับใจของเรา เราจะชอบทำบุญทำทาน ถ้าเรารักษาศีลจนติดเป็นนิสัยไปกับเราได้ ทุกภพทุกชาติ เราก็จะรักษาศีล เวลาที่เราได้ไปเกิดใหม่ ถ้าเรานั่งสมาธิได้ เจริญปัญญาได้ ภาวนาได้ เราก็จะบำเพ็ญจิตตภาวนานั่งสมาธิเจริญปัญญาไปทุกภพทุกชาติ จนกว่าเราจะไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป และภพชาติของเราก็จะ มีความสุขเพิ่มมากขึ้นไปตามลำดับ มีความทุกข์น้อยลงไปตามลำดับ ด้วยอำนาจของทาน ศีล ภาวนานี่แล
นี่แหละคือกิจของเรา กิจที่เราพึงกระทำ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ก่อนที่จะทรงจากพวกเราไป ที่เป็นพระปัจฉิมโอวาท ที่ทรงตรัสไว้ว่า สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง มีเกิดย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา จงยังประโยชน์ของตนและของผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด นี่แหละการยังประโยชน์ ก็คือการทำกิจกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรากระทำกัน ขอให้เราทำทานกันให้มากๆ รักษาศีลกันให้มากๆ ภาวนากันให้มากๆ แล้วเราก็จะได้ผลอันเลิศอันประเสริฐก็คือมรรคผลนิพพานนี่เอง มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
ดังนั้นเราควรที่จะสอนคอยสอดส่องดูการกระทำของเราอยู่อย่างต่อเนื่องว่าวันเวลาผ่านไปๆ เรากำลังทำอะไรกันอยู่ เรากำลังทำทานกันหรือเปล่า กำลังรักษาศีลกันหรือเปล่า กำลังภาวนากันหรือเปล่า เรากำลังทำอย่างอื่นหรือเปล่า เรากำลังหาเงินหาทองหาลาภหายศ หาสรรเสริญ หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายอยู่หรือเปล่า ถ้าเราหาเราก็ควรที่จะหยุดหาได้แล้ว ถ้าจะหาก็หาเท่าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ถ้าเรายังไม่มีทรัพย์พอที่จะเลี้ยงดูร่างกายของเราด้วยปัจจัย ๔ เราก็หาทรัพย์มาเพื่อมาเลี้ยงดูร่างกายของเรา แต่เราไม่หามากจนเกินต่อความต้องการของร่างกาย เราจะไม่ไปหายศถาบรรดาศักดิ์ เราจะไม่ไปหาสรรเสริญการยกย่องเยินยอ เราจะไม่ไปหาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย แต่เราจะมาหาความสุขทางใจกัน ด้วยการทำทาน ด้วยการรักษาศีล ด้วยการภาวนา
ถ้าเราหมั่นสอดส่องดูแลพฤติกรรมของเราทุกวันทุกเวลา เราจะได้ไม่หลงทางกัน เหมือนกับถ้าเราเปิดเเผนที่ดู เวลาที่เราเดินทางไปในที่ที่เราไม่เคยไป ทุกครั้งที่เรามาเจอสี่แยก ทางเลี้ยวเราก็เปิดเเผนที่ดูว่าเราต้องไปทางไหน ถ้าเราไม่เปิดเราอาจจะเลี้ยวผิดทางไป แล้วเเทนที่จะไปถึงจุดหมายปลายทาง เราจะไปไม่ถึง เราจะต้องเสียเวลาวกกลับมาใหม่มาเริ่มต้นใหม่ หรือบางทีเราอาจจะไม่รู้เสียด้วยซ้ำไปว่าเรากำลังไปผิดทาง อย่างนี้ยิ่งยากต่อการกลับมาสู่ทางที่ถูกได้ อย่างคนที่ไม่เคยฟังเทศน์ฟังธรรม ไม่สนใจที่จะศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจะไม่รู้เลยว่า ภารกิจของตนที่เป็นประโยชน์กับตนอย่างแท้จริงนั้นเป็นอะไร ก็จะหลงคิดว่าสิ่งที่ควรจะหากันในโลกก็คือ ลาภยศสรรเสริญ หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายกัน อย่างที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่นี้จะทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับการหาสภยศสรรเสริญ หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย โดยไม่เคยคิดเลยว่าจะต้องสูญเสียสิ่งต่างๆ ที่หามาได้นี้ไปหมด เมื่อเวลาที่ร่างกายนี้ตายไปแล้ว เพราะเขาไม่รู้ว่าเขาไม่ได้เป็นร่างกาย เขาเป็นใจ เขาคิดว่าเขาเป็นร่างกาย พอร่างกายนี้ตายแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็หมด ตัวเขาเองก็หมดไปกับร่างกาย จึงทำให้เขาต้องทุ่มเทชีวิตจิตใจ ให้กับการหาลาภยศสรรเสริญ หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย เพราะเป็นความสุขทางเดียว ที่เขาสามารถจับต้องได้เห็นได้ เพราะเขาไม่เคยได้สัมผัสจับต้อง กับความสุขทางใจนั่นเอง
แต่สำหรับผู้ที่มีอดีตที่ดีที่ผ่านมา คือในอดีตชาติต่างๆ ได้มีโอกาสทำบุญ ทำทาน ได้มีโอกาสรักษาศีล ได้มีโอกาสภาวนา ได้มีโอกาสได้สัมผัสกับความสุขทางใจ พวกนี้ก็ถือว่าเป็นพวกที่มีบุญ อย่างที่ในมงคลสูตรที่พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ว่า “การได้ทำบุญมาในอดีตนี้เป็นมงคลอย่างยิ่ง” เพราะจะทำให้เรานี้ได้สัมผัสกับความสุขอีกแบบหนึ่ง ความสุขทางใจแล้วก็จะเป็นเหตุ ที่จะทำให้เราได้มาสร้างความสุขทางใจต่อไป ถ้าเราไม่เคยได้สัมผัสรับรู้กับความสุขทางใจ ไม่รู้ว่าการทำบุญให้ทานนี้ให้ความสุขกับเรา ไม่รู้ว่าการรักษาศีลให้ความสุขกับเรา ไม่รู้ว่าการภาวนาให้ความสุขกับเรา เราก็จะทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับการแสวงหาลาภยศสรรเสริญ แสวงหาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย โดยที่ไม่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาเลยว่าเป็นความสุขอย่างไร ถ้าใช้ปัญญาพินิจพิจารณาก็จะเห็นเลยว่ามันเป็นความสุขของเสพติดดีๆ นี่เอง.
ธรรมะบนเขา วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
“เวลา”
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
คำสอนของพระพุทธเจ้า
ทรงเปรียบสติเหมือนหนทางไว้เหมือนกัน
ว่ามรรคก็คือสติ
มรรคทั้งแปดก็รวมอยู่ที่สติองค์เดียวนี้
ในเมื่อสติคอยระวังรักษาใจ
เราก็เดินไปตามทางที่พระพุทธเจ้า
ท่านทรงแนะนำบอกสอน
หรือชี้ทางเอาไว้นั้น
ไม่ออกนอกลู่นอกทาง
ผลของการไม่ออกนอกลู่นอกทางก็คือ
ได้รับความสงบร่มเย็นใจ
หลวงปู่แบน ธนากาโร
ต่างคนต่างเกิด ต่างคนต่างตาย
นิพพาน ไม่ได้พ่วงกันไปเช่นเรือหาง
ความตายนั้นแก้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าจึงให้
แก้ "ใจตัวเอง" ให้สงบนิ่ง อยู่ภายใน
โลก คือ รูป นาม กาย ใจของเรา
ไม่มีสิ่งใด เที่ยงแท้แน่นอน ความไม่เที่ยง มีอยู่ที่ไหน
ความเป็นทุกข์ ก็มีอยู่ที่นั้น และ ความตาย ก็ไม่มียกเว้น
แก่คนใดคนหนึ่ง เรามีสิทธิ์ตาย ได้ทุกเวลา
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
ถ้ามีสติกำหนดเข้ามา จะรู้ทุกเวลา
ว่าจิตของเรามีราคะไหม หรือหายแล้วไม่มี
ดูโทสะ มีอยู่ หรือหายโทสะแล้ว
ดูโมหะ ความโง่เขลาความหลง ยังมีอยู่ก็จะรู้
หรือจิตของเรา มันหายโทสะ หายโมหะแล้วก็จะรู้
พระพุทธองค์จึงให้พิจารณาเข้ามาให้เห็น
เห็นอันนี้เรียกว่า..เห็นธรรม
หลวงปู่ขาว อนาลโย..
ให้เรามั่นในการประพฤติปฏิบัติธรรมของเรา
ให้มันดีจะเกิดประโยชน์ อย่าไปคิดอะไรมันมากมายกว่านั้น
สงสัยเกิดขึ้นมาก็ดูในจิตเรานี้ ดูในร่างกายของเรานี้
ดูในจิตใจของเรานี้ อันนี้จะได้เป็นประโยชน์แก่พวกเราทั้งหลาย
ซึ่งตั้งอกตั้งใจเดินจงกรม นั่งสมาธิ เที่ยววิเวกสัญจรไป
ความรู้อันนี้จะเป็นเครื่องคุ้มครองตัวของเราเสมอ
เป็นเหตุไม่ให้ลืมตัว ความผิดเกิดมาก็รู้ว่ามันผิด
ถูกเกิดขึ้นมาก็รู้ว่ามันถูก ถ้าเรารู้จักอนิจจังจริงๆแล้ว
มันจะไม่วิ่งไปสองข้าง สุขเกิดมา มันก็ไม่วิ่งไปออกจากทาง
ทุกข์เกิดขึ้นมา มันก็ไม่วิ่งไปออกจากทาง
ความรักเกิดขึ้นมา มันก็รู้ มันก็ไม่วิ่งออกจากทาง
ความเกลียดเกิดขึ้นมา มันก็ไม่วิ่งไปออกจากทาง ตรงไปเรื่อยๆ
อันนั้นท่านเรียกว่า เป็นสัมมาปฏิปทาของผู้ประพฤติปฏิบัติ
ไม่มีสองทางหรอก มีแค่ทางเดียว เอโกธัมโม
หลวงพ่อชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
ขอบพระคุณลานธรรมจักร
ส่วนผู้มีปัญญาอบรมมาด้วยจิตที่ถูกต้อง แม้จะไม่ต้องจับพระไตรปิฎก แต่ก็น้อมเอาสิ่งต่างๆ มาเป็นธรรม เป็นยอดพระไตรปิฎกได้..
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
อยากไปพระนิพพาน ก็ต้องไม่ติดอะไรทั้งนั้น ดี-เลว,ติดกลิ่น, ติดสี,ติดรส,ติดสถานที่, ติดร่างกายของครูบาอาจารย์ซึ่งไม่เที่ยงทั้งสิ้น อะไรที่เข้ามากระทบทางทวารทั้ง ๖ หรืออายตนะ ๖ ต้องวางให้ได้ รู้อารมณ์ตามจริตที่เกิดให้ได้ ศึกษากรรมฐานแก้ให้ดีๆ ต้องคล่องจริงๆ จึงจะชนะอารมณ์ตามจริตได้
หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม
ดูจิต ดูธรรมที่เกิดกับจิต
**************************
สิ่งที่มาเป็นอารมณ์ชักจิตให้เกิดนิวรณ์นั้นแหละ เป็นรูป
ความที่จิตน้อมไปรู้ แล้วเกิดนิวรณ์ข้อหนึ่งขึ้นนั้นแหละ เป็นนาม
ถ้าไม่มีอารมณ์เป็นเครื่องชักนำ
และจิตไม่น้อมออกไปรับรู้อารมณ์นั้น
คือ ไม่มีรูป ไม่มีนาม นิวรณ์ก็ไม่เกิด
เพราะฉะนั้น เมื่อกำหนดดูตัวนิวรณ์
ก็ต้องมากำหนดดูตัวรูปตัวนาม
คือดูอารมณ์ กับ ดูจิตที่น้อมออกไปรับอารมณ์
อารมณ์นั้นเข้ามาทางไหน
อารมณ์นั้นก็เข้ามาทางตา ทางหู
ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางมนะคือใจ
จิตก็น้อมออกไปรับรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง ๖นี้
อาการที่จิตน้อมออกไปรับรู้
ทางทวารทั้ง ๖ นี้ พลุ่งพล่านอยู่เสมอ
ออกไปรับอารมณ์ทางตาบ้าง
ออกไปรับอารมณ์ทางหูบ้าง
ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง
ทางกายบ้าง ทางมนะบ้าง
ลักษณะของจิตที่เป็นสามัญนี้
จึงเป็นเหมือนไฟพะเนียง
ที่พลุ่งพล่านขึ้นมาเป็นสาย
นี่แหละเรียกว่าเป็นลักษณะที่ฟุ้งซ่าน
แต่ถ้าไม่กำหนด ก็ไม่รู้
เพราะฉะนั้น จึงต้องกำหนด
ให้รู้จักทางเข้าของอารมณ์
ให้รู้จักจิตที่น้อมออกไปรับรู้อารมณ์
ทำไมจิตจึงเป็นเช่นนี้
ก็เพราะว่าจิตนี้
เมื่อน้อมออกไปรับรู้อารมณ์
ก็มีความประกอบผูกพันอยู่กับอารมณ์ด้วย
อารมณ์ก็เข้ามาผูกพันอยู่กับจิตด้วย
อันนี้แหละเรียกว่า สังโญชน์
เครื่องผูกจิต ประกอบจิต
ถ้าจิตไม่ไปผูกและไปประกอบอยู่กับอารมณ์
อารมณ์ผ่านมา แล้วก็ผ่านไป
ไม่ติดไม่ข้องอยู่
เหมือนอย่างน้ำที่หยดลงบนใบบัว
ผ่านตกลงไปไม่ข้องติด
แต่เพราะเหตุที่อารมณ์
เข้ามาข้องติดอยู่ในจิต
ฉะนั้นจึงเกิดนิวรณ์ขึ้นในจิต
ลักษณะที่อารมณ์เข้ามาข้องมาติดอยู่ที่จิต
นี้แหละเรียกว่าสังโญชน์ดังกล่าว
เพราะฉะนั้น ก็ให้กำหนดดูสังโญชน์ที่จิต
ให้รู้ตามความเป็นจริง
สมเด็จพระญาณสังวรฯ
เมื่อผู้วางภาระ คือว่าง ไม่ยึดถือว่าขันธ์ห้านี้เป็นตัวเป็นตนแล้ว ไม่ยึดถือแล้ว ปลงเป็นผู้วางภาระ ก็มีความสุข จะยืน เดิน นั่ง ก็มีความสุข ไม่ยึดถือ เพราะรู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว..
หลวงปู่ขาว อนาลโย..
“การได้ทำบุญมาในอดีตนี้เป็นมงคลอย่างยิ่ง”
ถ้าเราทำทาน ติดไปเป็นนิสัยทานนี้ก็จะติดไปกับใจของเรา ถ้าเรายังไม่ถึงการสิ้นสุดของการเวียนว่ายตายเกิด ทุกภพทุกชาติที่เราจะเกิดนี้ เราจะเกิดด้วยทาน จะมีทานอยู่คู่กับใจของเรา เราจะชอบทำบุญทำทาน ถ้าเรารักษาศีลจนติดเป็นนิสัยไปกับเราได้ ทุกภพทุกชาติ เราก็จะรักษาศีล เวลาที่เราได้ไปเกิดใหม่ ถ้าเรานั่งสมาธิได้ เจริญปัญญาได้ ภาวนาได้ เราก็จะบำเพ็ญจิตตภาวนานั่งสมาธิเจริญปัญญาไปทุกภพทุกชาติ จนกว่าเราจะไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป และภพชาติของเราก็จะ มีความสุขเพิ่มมากขึ้นไปตามลำดับ มีความทุกข์น้อยลงไปตามลำดับ ด้วยอำนาจของทาน ศีล ภาวนานี่แล
นี่แหละคือกิจของเรา กิจที่เราพึงกระทำ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ก่อนที่จะทรงจากพวกเราไป ที่เป็นพระปัจฉิมโอวาท ที่ทรงตรัสไว้ว่า สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง มีเกิดย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา จงยังประโยชน์ของตนและของผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด นี่แหละการยังประโยชน์ ก็คือการทำกิจกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรากระทำกัน ขอให้เราทำทานกันให้มากๆ รักษาศีลกันให้มากๆ ภาวนากันให้มากๆ แล้วเราก็จะได้ผลอันเลิศอันประเสริฐก็คือมรรคผลนิพพานนี่เอง มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
ดังนั้นเราควรที่จะสอนคอยสอดส่องดูการกระทำของเราอยู่อย่างต่อเนื่องว่าวันเวลาผ่านไปๆ เรากำลังทำอะไรกันอยู่ เรากำลังทำทานกันหรือเปล่า กำลังรักษาศีลกันหรือเปล่า กำลังภาวนากันหรือเปล่า เรากำลังทำอย่างอื่นหรือเปล่า เรากำลังหาเงินหาทองหาลาภหายศ หาสรรเสริญ หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายอยู่หรือเปล่า ถ้าเราหาเราก็ควรที่จะหยุดหาได้แล้ว ถ้าจะหาก็หาเท่าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ถ้าเรายังไม่มีทรัพย์พอที่จะเลี้ยงดูร่างกายของเราด้วยปัจจัย ๔ เราก็หาทรัพย์มาเพื่อมาเลี้ยงดูร่างกายของเรา แต่เราไม่หามากจนเกินต่อความต้องการของร่างกาย เราจะไม่ไปหายศถาบรรดาศักดิ์ เราจะไม่ไปหาสรรเสริญการยกย่องเยินยอ เราจะไม่ไปหาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย แต่เราจะมาหาความสุขทางใจกัน ด้วยการทำทาน ด้วยการรักษาศีล ด้วยการภาวนา
ถ้าเราหมั่นสอดส่องดูแลพฤติกรรมของเราทุกวันทุกเวลา เราจะได้ไม่หลงทางกัน เหมือนกับถ้าเราเปิดเเผนที่ดู เวลาที่เราเดินทางไปในที่ที่เราไม่เคยไป ทุกครั้งที่เรามาเจอสี่แยก ทางเลี้ยวเราก็เปิดเเผนที่ดูว่าเราต้องไปทางไหน ถ้าเราไม่เปิดเราอาจจะเลี้ยวผิดทางไป แล้วเเทนที่จะไปถึงจุดหมายปลายทาง เราจะไปไม่ถึง เราจะต้องเสียเวลาวกกลับมาใหม่มาเริ่มต้นใหม่ หรือบางทีเราอาจจะไม่รู้เสียด้วยซ้ำไปว่าเรากำลังไปผิดทาง อย่างนี้ยิ่งยากต่อการกลับมาสู่ทางที่ถูกได้ อย่างคนที่ไม่เคยฟังเทศน์ฟังธรรม ไม่สนใจที่จะศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจะไม่รู้เลยว่า ภารกิจของตนที่เป็นประโยชน์กับตนอย่างแท้จริงนั้นเป็นอะไร ก็จะหลงคิดว่าสิ่งที่ควรจะหากันในโลกก็คือ ลาภยศสรรเสริญ หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายกัน อย่างที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่นี้จะทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับการหาสภยศสรรเสริญ หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย โดยไม่เคยคิดเลยว่าจะต้องสูญเสียสิ่งต่างๆ ที่หามาได้นี้ไปหมด เมื่อเวลาที่ร่างกายนี้ตายไปแล้ว เพราะเขาไม่รู้ว่าเขาไม่ได้เป็นร่างกาย เขาเป็นใจ เขาคิดว่าเขาเป็นร่างกาย พอร่างกายนี้ตายแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็หมด ตัวเขาเองก็หมดไปกับร่างกาย จึงทำให้เขาต้องทุ่มเทชีวิตจิตใจ ให้กับการหาลาภยศสรรเสริญ หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย เพราะเป็นความสุขทางเดียว ที่เขาสามารถจับต้องได้เห็นได้ เพราะเขาไม่เคยได้สัมผัสจับต้อง กับความสุขทางใจนั่นเอง
แต่สำหรับผู้ที่มีอดีตที่ดีที่ผ่านมา คือในอดีตชาติต่างๆ ได้มีโอกาสทำบุญ ทำทาน ได้มีโอกาสรักษาศีล ได้มีโอกาสภาวนา ได้มีโอกาสได้สัมผัสกับความสุขทางใจ พวกนี้ก็ถือว่าเป็นพวกที่มีบุญ อย่างที่ในมงคลสูตรที่พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ว่า “การได้ทำบุญมาในอดีตนี้เป็นมงคลอย่างยิ่ง” เพราะจะทำให้เรานี้ได้สัมผัสกับความสุขอีกแบบหนึ่ง ความสุขทางใจแล้วก็จะเป็นเหตุ ที่จะทำให้เราได้มาสร้างความสุขทางใจต่อไป ถ้าเราไม่เคยได้สัมผัสรับรู้กับความสุขทางใจ ไม่รู้ว่าการทำบุญให้ทานนี้ให้ความสุขกับเรา ไม่รู้ว่าการรักษาศีลให้ความสุขกับเรา ไม่รู้ว่าการภาวนาให้ความสุขกับเรา เราก็จะทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับการแสวงหาลาภยศสรรเสริญ แสวงหาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย โดยที่ไม่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาเลยว่าเป็นความสุขอย่างไร ถ้าใช้ปัญญาพินิจพิจารณาก็จะเห็นเลยว่ามันเป็นความสุขของเสพติดดีๆ นี่เอง.
ธรรมะบนเขา วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
“เวลา”
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
คำสอนของพระพุทธเจ้า
ทรงเปรียบสติเหมือนหนทางไว้เหมือนกัน
ว่ามรรคก็คือสติ
มรรคทั้งแปดก็รวมอยู่ที่สติองค์เดียวนี้
ในเมื่อสติคอยระวังรักษาใจ
เราก็เดินไปตามทางที่พระพุทธเจ้า
ท่านทรงแนะนำบอกสอน
หรือชี้ทางเอาไว้นั้น
ไม่ออกนอกลู่นอกทาง
ผลของการไม่ออกนอกลู่นอกทางก็คือ
ได้รับความสงบร่มเย็นใจ
หลวงปู่แบน ธนากาโร
ต่างคนต่างเกิด ต่างคนต่างตาย
นิพพาน ไม่ได้พ่วงกันไปเช่นเรือหาง
ความตายนั้นแก้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าจึงให้
แก้ "ใจตัวเอง" ให้สงบนิ่ง อยู่ภายใน
โลก คือ รูป นาม กาย ใจของเรา
ไม่มีสิ่งใด เที่ยงแท้แน่นอน ความไม่เที่ยง มีอยู่ที่ไหน
ความเป็นทุกข์ ก็มีอยู่ที่นั้น และ ความตาย ก็ไม่มียกเว้น
แก่คนใดคนหนึ่ง เรามีสิทธิ์ตาย ได้ทุกเวลา
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
ถ้ามีสติกำหนดเข้ามา จะรู้ทุกเวลา
ว่าจิตของเรามีราคะไหม หรือหายแล้วไม่มี
ดูโทสะ มีอยู่ หรือหายโทสะแล้ว
ดูโมหะ ความโง่เขลาความหลง ยังมีอยู่ก็จะรู้
หรือจิตของเรา มันหายโทสะ หายโมหะแล้วก็จะรู้
พระพุทธองค์จึงให้พิจารณาเข้ามาให้เห็น
เห็นอันนี้เรียกว่า..เห็นธรรม
หลวงปู่ขาว อนาลโย..
ให้เรามั่นในการประพฤติปฏิบัติธรรมของเรา
ให้มันดีจะเกิดประโยชน์ อย่าไปคิดอะไรมันมากมายกว่านั้น
สงสัยเกิดขึ้นมาก็ดูในจิตเรานี้ ดูในร่างกายของเรานี้
ดูในจิตใจของเรานี้ อันนี้จะได้เป็นประโยชน์แก่พวกเราทั้งหลาย
ซึ่งตั้งอกตั้งใจเดินจงกรม นั่งสมาธิ เที่ยววิเวกสัญจรไป
ความรู้อันนี้จะเป็นเครื่องคุ้มครองตัวของเราเสมอ
เป็นเหตุไม่ให้ลืมตัว ความผิดเกิดมาก็รู้ว่ามันผิด
ถูกเกิดขึ้นมาก็รู้ว่ามันถูก ถ้าเรารู้จักอนิจจังจริงๆแล้ว
มันจะไม่วิ่งไปสองข้าง สุขเกิดมา มันก็ไม่วิ่งไปออกจากทาง
ทุกข์เกิดขึ้นมา มันก็ไม่วิ่งไปออกจากทาง
ความรักเกิดขึ้นมา มันก็รู้ มันก็ไม่วิ่งออกจากทาง
ความเกลียดเกิดขึ้นมา มันก็ไม่วิ่งไปออกจากทาง ตรงไปเรื่อยๆ
อันนั้นท่านเรียกว่า เป็นสัมมาปฏิปทาของผู้ประพฤติปฏิบัติ
ไม่มีสองทางหรอก มีแค่ทางเดียว เอโกธัมโม
หลวงพ่อชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
ขอบพระคุณลานธรรมจักร