ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2015, 04:37:50 pm »



อาจารย์เซนขี้เกียจสอน
หมอหนุ่มคนหนึ่งในโตเกียวชื่อคาสุดะ พบเพื่อสมัยเรียนที่กำลังเรียนเซน หมอหนุ่มถามเขาว่าเซนคืออะไร
“ฉันไม่รู้จะอธิบายอย่างไร” เพื่อนตอบ “แต่ถ้าคุณเข้าใจเซน คุณจะไม่กลัวความตายอีกต่อไป”
“งั้นรึ?” คาสุดะพูดต่อ “ฉันจะลองดู จะหาอาจารย์ได้ที่ไหนล่ะ”
“ลองไปหาอาจารย์นานอินดูสิ” เพื่อนตอบ

ดังนั้น คาสุดะจึงมุ่งหน้าไปพบนานอินโดยพกดาบยาว ๙ นิ้วครึ่งไปด้วย หมายจะทดสอบว่าอาจารย์ไม่กลัวตายจริงหรือไม่
เมื่ออาจารย์เซนนานอินพบคาสุดะก็เอ่ยว่า “สวัสดีเพื่อน เป็นไงบ้าง เราไม่ได้เจอกันนานแล้วนะ”
คำพูดนี้ทำให้คาสุดะชะงัก ก่อนจะตอบกลับไปว่า “เราไม่เคยพบกันมาก่อน”
“ถูกแล้ว” อาจารย์เซนตอบ “ฉันจำคนผิด นึกว่าเป็นหมอคนหนึ่งที่กำลังมาเรียนที่นี่”
เมื่อเหตุการณ์ไม่เป็นไปอย่างที่คาด คาสุดะเสียโอกาสที่จะทดสอบอาจารย์ เขาฝืนถามไปว่าจะสามารถเรียนเซนที่นี่ได้หรือไม่
อาจารย์นานอินตอบว่า “เซ็นไม่ใช่ของยาก ถ้าคุณเป็นหมอ ก็รักษาคนไข้ด้วยใจเมตตา นั่นแหละคือเซน”

คาสุดะเข้าพบอจารย์ ๓ ครั้ง ๓ ครา แต่ละครั้งอาจารย์ก็พูดอย่างเดิม “หมอไม่ควรจะมาเสียเวลาแถวนี้ กลับไปรักษาคนไข้ได้แล้ว”
คาสุดะยังคงคาใจ ว่าการสอนของอาจารย์เกี่ยวข้องกับการไม่กลัวความตายอย่างไร ดังนั้นเมื่อเขาเข้าพบอาจารย์ในครั้งที่ ๔ จึงถามไปตรงๆว่า
“เพื่อนของผมบอกว่า ใครก็ตามเมื่อเรียนเซนแล้วจะไม่กลัวความตาย แต่ว่าทุกครั้งที่ผมมาหาท่าน ท่านกลับบอกให้ไปรักษาคนไข้ เรื่องนั้นน่ะผมรู้ดีอยู่แล้ว ถ้านั่นเป็นสิ่งที่ท่านเรียกว่าเซน ต่อไปผมจะไม่มาหาท่านแล้วนะ!!”

อาจารย์นานอิน ตบหน้าหมอหนุ่ม แล้วก็พูดว่า “ข้าเสียเวลากับเจ้ามากไปแล้ว เอาปริศนาธรรมไปแก้ซะ” จากนั้นอาจารย์ก็ให้คำถาม “ความว่างของโจสุ” ซึ่งเป็นปริศนาธรรมข้อแรกในหนังสือ “ประตูที่ไร้ประตู”
หมอหนุ่มพยายามไขปริศนาธรรมข้อนี้ถึง ๒ ปี ในระหว่างนั้นจิตใจเขาสงบขึ้นมาก แต่อาจารย์ยังบอกว่า “ยังใช้ไม่ได้”
เขาพยายามแก้ปัญหาต่ออีกปีครึ่ง จิตใจของเขาสงบนิ่ง ปริศนาธรรมถูกไขออก ความว่างกลายเป็นความจริง เขาเป็นอิสระทางความคิดจากความเป็นและความตายโดยไม่รู้ตัว
เมื่อเขากลับไปเยี่ยมนานอินอีกครั้ง อาจารย์เฒ่าก็ยิ้ม ทั้งสองต่างเข้าใจกันโดยไร้คำพูด
......................................................
ความว่างของโจสุ
ครั้งหนึ่ง ลูกศิษย์ถามอาจารย์เซนโจสุว่า “หมามีธรรมชาติแห่งพุทธะหรือไม่?” โจสุตอบว่า “มิว” (ว่าง)

17 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 16:14 น.



ประตูที่ไร้ประตู
อู๋เหมินฮุ่ยคาย (มูมอนเอไก หรือมูมอนในภาษาญี่ปุ่น) เป็นนามของอาจารย์เซนชาวจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง ช่วง ค.ศ. 1183-1260 เกิดที่เมืองหางโจว ศึกษากับอาจารย์หลายท่าน อาจารย์ท่านหนึ่งนาม เยียะหลินซือก่วน (ชื่อแปลตรงตัวว่า อาจารย์จันทร์ไพร) ให้อู๋เหมินศึกษาโกอานเรื่อง หมาของเส้าโจว (เส้าโจวเป็นชื่ออาจารย์เซน ค.ศ. 778-897 ญี่ปุ่นเรียก โจสุ) หมาของเส้าโจว เป็นโกอานสั้นๆ เนื้อความว่า:

พระรูปหนึ่งถามอาจารย์เส้าโจว “หมามีธรรมชาติแห่งพุทธะหรือไม่?”
อาจารย์เส้าโจวตอบว่า “อู๋” (ไม่มี)
หากโกอานอ่านได้ง่ายๆ อย่างนี้ ก็ย่อมไม่ใช่โกอาน!
อู๋เหมินขบคิดเรื่องนี้เนิ่น ผ่านไปเพียงหกปี เสียงนาฬิกาปลุกก็ดัง ท่านเข้าใจทะลุ และเขียนกวีบทนี้

“ฟ้าผ่าฟาดใต้ฟ้าสีน้ำเงินสดใส
สรรพชีวิตบนโลกเบิกตากว้าง
ทุกสิ่งใต้สวรรค์รวมเข้ากัน
เขาพระสุเมรุลุกขึ้นและเต้นรำ”

อู๋เหมินเดินทางจากวัดหนึ่งไปอีกวัดหนึ่ง สวมจีวรขาดเก่าคร่ำคร่า ไว้หนวดเครายาว และทำงานเยี่ยงชาวบ้าน ขณะเดียวกันก็รวบรวมและวิจารณ์โกอาน 48 บท เป็นหนังสือชื่อ อู๋เหมินกวน แปลว่า ประตูที่ไร้ประตู (อู๋เหมิน แปลว่า ไร้ประตู กวน แปลว่า ปิด ภาษาญี่ปุ่นเรียก มูมอนกาน ภาษาอังกฤษว่า The Gateless Gate)
อู๋เหมินกวนตั้งคำถาม-สำรวจสภาวะและกระบวนการทางความคิดและจิตของตนเอง ในเรื่องของสองขั้วสุดโต่ง เฉกเช่นประตูที่กีดขวางการรู้แจ้ง ศิษย์เซนจะต้องก้าวข้าม ‘ประตู’ นี้ไปโดยการเฝ้าสังเกตของอาจารย์
อู๋เหมินกล่าวว่า การเข้าใจเซนก็คือการปลุกความสงสัยในร่างทั้งวันทั้งคืน ไม่หยุดหย่อน และปิดล้อมทางหนีทุกทางของศิษย์เซนด้วย ‘ประตูที่ไร้ประตู’
ย้อนกลับมาที่โกอานเรื่อง หมาของเส้าโจว
“หมามีธรรมชาติแห่งพุทธะหรือไม่?”

อู๋เหมินเขียนบทขยายโกอานบทนี้ว่า:
การรู้แจ้งเซนนั้นจำต้องก้าวพ้นกำแพงแห่งพระสังฆปรินายก การรู้แจ้งมักเกิดหลังจากที่ทางคิดทุกสายถูกขวางกั้น ถ้าเจ้าไม่สามารถก้าวพ้นกำแพงแห่งพระสังฆปรินายก หรือหนทางคิดทุกสายของท่านไม่ถูกขวางกั้นทุกสิ่งที่เจ้าคิดและทำเป็นเช่น ปีศาจที่ลอยล่อง เจ้าอาจอยากถาม แล้วอะไรเล่าคือกำแพงแห่งพระสังฆปรินายก คำว่า ‘อู๋’ (ไม่มี) นี้ก็คือคำตอบ
นี่คือสิ่งกีดขวางของเซน ถ้าเจ้าข้ามไปได้ เจ้าจะได้พบท่านเส้าโจวต่อหน้าต่อตา เจ้าจะเดินเคียงคู่กับพระสังฆปรินายกทั้งหลาย นี่มิใช่สิ่งที่ควรกระทำหรือ?

ถ้าเจ้าต้องการข้ามพ้นสิ่งกีดขวางนี้ เจ้าต้องทำงานอย่างหนักหน่วง ทั้งวันและคืนกระดูกทุกท่อน ผิวหนังทุกรูขุมขนของเจ้าต้องบรรจุด้วยคำถามว่า “อะไรคือ อู๋” จงอย่าเชื่อว่ามันคือสัญลักษณ์ของด้านลบและไร้ความหมาย มันไม่ใช่ความไม่มีที่เป็นสิ่งตรงข้ามกับความมี ถ้าเจ้าต้องการข้ามพ้นสิ่งกีดขวางนี้จริงๆ เจ้าต้องรู้สึกเช่นดื่มลูกเหล็กร้อน มิอาจกลืนเข้าและคายออก แลความไม่รู้ที่ติดตัวมากับเจ้าจะหายไปเช่นผลไม้ที่สุกในฤดูกาลของมัน อัตวิสัยและภววิสัยจะรวมเป็นหนึ่งเดียวโดยธรรมชาติ นี่ก็เป็นเช่นคนโง่เขลาที่ฝัน รู้แต่มิอาจเล่าความฝันนั้น

เมื่อเขาย่างเข้าสู่สถานะนี้ เปลือกแห่งอัตตาของเขาจะถูกกระเทาะออก เขาจะสามารถเขย่าสวรรค์และเคลื่อนย้ายโลก เป็นเช่นนักรบยิ่งใหญ่ที่มีดาบคมกริบ หากองค์พุทธะขวางทางเขา เขาจะ ‘โค่น’ พุทธะลง หากพระสังฆปรินายกเป็นอุปสรรคขวางทาง เขาก็จะ ‘ฆ่า’ พระเสีย เขาจะเป็นอิสระจากการเกิดและการตาย เขาสามารถโลดแล่นไปโลกใดก็ได้เหมือนว่ามันเป็นสนามเด็กเล่นของเขา ข้าฯจะบอกเจ้าว่าจะทำอย่างไรด้วยโกอานบทนี้
จงรวมพลังงานทั้งมวลเข้ากับคำว่า ‘อู๋’ อย่าให้สะดุด เมื่อเจ้าเข้าสู่อู๋และไม่สะดุด การรู้แจ้งของเจ้าจะเหมือนเทียนไขที่จุดขึ้นส่องสว่างทั้งจักรวาล

“หมามีธรรมชาติแห่งพุทธะหรือไม่
นี่เป็นคำถามที่สำคัญที่สุด
ถ้าเจ้าตอบว่าใช่หรือไม่ใช่
เจ้าก็สูญเสียธรรมชาติแห่งพุทธะของตัวเจ้าเอง”

– วินทร์ เลียววาริณ,
11 กรกฎาคม 2551
___________________
ที่มา :http://www.prachathon.org/forum/index.php?topic=1868.0
>>> พระพุทธศาสนา นิกายเซ็น - Zen
17 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 21:14 น.
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 19, 2013, 06:49:41 pm »





            คำวิจารณ์ของท่านมูมอนประกอบด้วยสามส่วน ส่วนแรก ท่านถามว่าทำไมจึงรับรองคนหนึ่ง แต่ปฏิเสธอีกคนหนึ่ง ในเมื่อทั้งสองชูกำปั้นขึ้นคล้ายๆกัน อะไรคือแก่นของความลึกลับซับซ้อน? ท่านมูมอนชี้ที่หัวใจของคำถาม แล้วพูดว่า “ถ้าเธอสามารถตอบคำถามได้ตรงจุด เธอจะรู้ถึงใจของท่านโจชูและเข้าใจอิสรภาพอย่างสมบูรณ์ของท่านในการทำทุกสิ่งที่ประสงค์  ให้หรือเอา”  ข้อสังเกตที่ดูตื้นๆแล้วมั่วและขัดกันไปมา โดยแท้แล้วออกมาจากชีวิตแบบเซนที่อิสระและสร้างสรรค์ คำวิจารณ์ส่วนแรกของท่านมูมอน แสดงสถานะของตนเองและที่ท่านรับรองโจชู  ผู้ซึ่งรับรองอนาคาริกผู้หนึ่งแต่ปฏิเสธอีกท่านหนึ่ง

            ส่วนที่สอง มูมอนเปลี่ยนเสียงแล้วพูดว่า “อันที่จริง ตามที่ฉันเห็น  เป็นโจชูเองที่ถูกอนาคาริกทั้งสองมองเห็นธรรมชาติที่แท้ แม้ว่าท่านคิดว่า ท่านมองเห็นธรรมชาติที่แท้ของสองอนาคาริก
            บอกฉันมาเดี๋ยวนี้ว่า อนาคาริกทั้งสองเห็นธรรมชาติที่แท้ของท่านโจชูอย่างไร? โดยไม่ปริปากทั้งคู่ล้วนชูกำปั้นขึ้น ทั้งคู่ต้องเป็นอาจารย์เซนที่ได้เปิดดวงตาแห่งเซนแล้ว พูดอีกอย่าง พวกท่านสาธิตสัจจะว่า “ทุกสิ่งกลับสู่ความเป็นหนึ่งเดียว



            ส่วนสุดท้าย ท่านมูมอนจบคำวิจารณ์ด้วยข้อสังเกตที่คมชัดและเหมาะเจาะตรงสถานการณ์ “ถ้าเธอพูดเหมือนโจชู ว่าท่านหนึ่งเหนือกว่าอีกท่านหนึ่ง เธอยังไม่เปิดดวงตาแห่งเซน แต่หากเธอพูดว่าทั้งสองไม่ต่างกัน เธอก็ยังไม่เปิดดวงตาแห่งเซน  เช่นกัน
            ท่านมูมอนเตือนว่าเมื่อคิดถึงเรื่องกำปั้นแล้ว  เราไม่ควรตัดสินว่าทั้งสองมีความสามารถต่างกัน หรือไม่ต่างกัน ทำไมท่านพูดอย่างนั้น? ขอให้อยู่เหนือทวิลักษณ์ของคำว่า เด่นกว่า เก่งกว่า  ด้อยกว่า,  ใช่ ไม่ใช่ , และเป็นกำปั้นอย่างเต็มที่ทุกประการ เมื่อเธอกำจัดความแบ่งแยกเช่นนั้นแล้ว เธอจะได้รับกุญแจสู่อิสรภาพในการใช้คำคู่ เช่น ใช่ ไม่ใช่  เป็นต้น

            ท่านฮะกูอิน ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ คำวิจารณ์ของท่านมูมอนว่า “ท่านมูมอนพูดว่าท่านจะไม่ยอมรับคำพูดว่า  มีความแตกต่าง หรือ ไม่มีความแตกต่าง แม้ว่านี่เป็นคำวิจารณ์ที่ดี ถ้าฉันวิจารณ์ ฉันจะไม่วิจารณ์เซ่อซ่าเช่นนั้น เพราะท่านมูมอนอาจอธิบายได้ดี แต่เธอจะไม่เข้าใจ   ท่านอาจสอน แต่เธอจะไม่รู้อะไร บุคคลต้องประสบกับมันด้วยตนเอง  มิฉะนั้นความรู้ทั้งหลายเกี่ยวกับมัน ล้วนไร้ประโยชน์”
            ในความเหมือนก็มีความแตกต่าง  และความแตกต่างก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเหมือน
ไม่มีหนึ่ง หรือ สอง แต่บุคคลต้องจับฉวยมันด้วยตนเองจากประสบการณ์ของตนเอง ไม่ควรเป็นแค่ข้อสรุปจากการขบคิดใคร่ครวญ  ท่านฮะกุอินชี้ประเด็นด้วยความกรุณา

ไขปริศนา บทร้อยกรองของท่านมูมอน
            ดวงตาของท่าน ว่องไวเหมือนดาวตก
            ใจของท่าน       เร็วเหมือนสายฟ้าแลบ
            ดาบหนึ่ง          เพื่อประหารชีวิต
            ดาบหนึ่ง          เพื่อให้ชีวิต




            ท่านมูมอนสรรเสริญอัจฉริยภาพของท่านโจชูเป็นอย่างสูง
            ท่านเห็นธรรมชาติที่แท้ของอนาคาริกทั้งสอง ผู้ชูกำปั้นเหมือนๆกัน
            และบรรยายว่าท่านมีตาไวเหมือนดาวตก มีจิตใจน่าเคารพ สูงส่ง สง่า เหมือนสายฟ้าแลบ
            กำปั้น โดยแท้จริงแล้วมหัศจรรย์ยิ่ง มันสร้างสรรค์อย่างอิสระ ให้ชีวิตหรือประหารชีวิต

            ท่านมูมอนชื่นชมทั้งการรังสรรค์ของเซนของท่านโจชู
            และความลึกลับของกำปั้นพร้อมๆกัน
            เว้นเสียแต่ว่าจะหยั่งลึกสู่คำวิจารณ์ของท่านมูมอน และมองเห็นแต่ละประเด็น
            ที่ท่านยกขึ้นมาแสดง ย่อมไม่เข้าใจความหมายของโกอานและแก่นของเซนเลย



เริ่มแปล วันจันทร์ที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
แปลเสร็จเมื่อ  วันอังคารที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑




Pics by : Google
อกาลิโกโฮม.. บ้าน ที่แท้จริง...
กุศลผลบุญใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานเหล่านี้ ขอจงเป็นบุญเป็นปัจจัย
แด่ท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานเหล่านี้ ทุกๆท่าน
รวมทั้งท่านเจ้าของภาพ ทุกๆภาพ เรียนขออนุญาตใช้ภาพ

ไว้ ณ ที่นี้... นะคะ
อนุโมทนาสาธุ.. ที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
-http://www.dhamma4u.com/

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 19, 2013, 03:59:46 pm »




            โจชูใช้และแสดงเซนของตนตามที่ประสงค์  มีความแตกต่างระหว่าง
            เก่งกว่าและด้อยกว่าที่การชูกำปั้นโดยตัวมันเองหรือ?
            อาจารย์เซนแต่โบราณได้วิจารณ์เรื่องกำปั้นไว้ว่า
ไม่ว่าจะเรียกว่า โง่หรือ หยาบคาย
ฉันปล่อยให้คนอื่นตัดสิน
โดยธรรมชาติ ช่อดอกท้อสีชมพู
โดยธรรมชาติ ช่อดอกสาลี่สีขาว


                 

ท่านมองกำปั้นอย่างไรจึงเขียนบทร้อยกรองเช่นนั้น? กำปั้นมีความหมายว่าอย่างไร? ต้องเข้าใจจุดสำคัญนี้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง
อีกครั้งเมื่อท่านพบอาศรมอีกแห่ง ถามอย่างเดียวกัน “ท่านอยู่ข้างใน?” และอนาคาริกอีกคนก็ชูกำปั้นพร้อมความเงียบเช่นเคย กำปั้นถูกชูขึ้น เป็นอย่างนั้น ช่างวิเศษแท้! กำปั้นก็ต้องเป็นกำปั้นอย่างเต็มที่ทุกประการ ที่นี่ไม่มีที่ว่างเพื่อความแบ่งแยก แต่ เมื่อเห็นอย่างนั้น  ท่านโจชูทำความเคารพอย่างลึกซึ้งในทันใด พร้อมกับคำพูด  “ท่านมีเสรีที่จะเอาหรือให้ ประหารชีวิตหรือให้ชีวิต” อีกครั้งที่ท่านใช้และแสดงเซนของท่านตามที่ประสงค์ ปล่อยให้ท่านทำตามที่ท่านประสงค์เถิด

ขอถามว่า “มีความแบ่งแยกหรือไม่ในกำปั้น?” ท้ายที่สุดมันก็เป็นแค่เพียงกำปั้น
    มันมีเท่านี้เอง โจชูมองเห็นธรรมชาติที่แท้ของสองอนาคาริกได้อย่างไร ?
    เพียงแค่ชูกำปั้นคล้ายๆกัน อะไรเป็นกุญแจไขให้รู้จิตใจของโจชู?
    นี่เป็นจุดสำคัญยิ่งชีวิตของโกอานบทนี้

ก่อนอื่นเธอต้องเปิดดวงตาให้เห็นกำปั้นเสียก่อน เมื่อเธอมองทะลุกำปั้นได้แล้ว
จึงจะรู้ว่า ข้อสังเกตของโจชู เซนของท่าน มีความแจ่มชัดโดยธรรมชาติแท้จริง

             

    อาจารย์เซนท่านหนึ่งเขียนบทร้อยกรองดังนี้
              ลมอ่อนพัดผ่านพุ่มพฤกษ์
              สองสายมุ่งต่างทิศ
              สายบูรพาดูอบอุ่น
              สายอุดรดูเยือกเย็น


    ท่านมีชีวิตเซนอย่างไรจึงเขียนคำวิจารณ์เช่นนั้น หนึ่งคือทั้งหมด  ทั้งหมดคือหนึ่ง
    ความเหมือนในขณะเดียวกันก็คือความแตกต่าง
    เราต้องมีประสบการณ์ที่แทงทะลุความจริง  จึงจะเห็นอย่างท่านอย่างแท้จริง

ไขปริศนา คำวิจารณ์ของท่านมูมอน
            ท่านมูมอนให้ความเห็น  “ทั้งสองชูกำปั้น ทำไมท่านรับรองคนหนึ่ง แต่ไม่รับรองอีกคนหนึ่ง?” บอกฉันว่าอะไรคือเนื้อแท้ของความลึกลับซับซ้อน? ถ้าเธอสามารถตอบได้ถูกจุด จะเห็นท่านโจชูไม่ถูกผูกมัดในการพูดสิ่งที่ต้องการ มีอิสระอย่างเต็มที่ที่จะยกใครขึ้นหรือกดใครลง อันที่จริง ตรงข้ามกัน  เป็นโจชูเองที่ถูกอนาคาริกทั้งสองมองเห็นธรรมชาติที่แท้  ? ถ้าเธอเห็นว่า อนาคาริกคนหนึ่งเหนือกว่าอีกคน เธอยังไม่ได้รับดวงตาแห่งเซน  หากบอกว่าทั้งสองไม่ต่างกัน เธอก็ยังคงไม่ได้รับดวงตาแห่งเซน  เช่นกัน”


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 19, 2013, 02:57:18 pm »





บทร้อยกรองของมูมอน
ดวงตาของท่าน ว่องไวเหมือนดาวตก
ใจของท่าน       เร็วเหมือนสายฟ้าแลบ
ดาบหนึ่ง          เพื่อประหารชีวิต
ดาบหนึ่ง          เพื่อให้ชีวิต

            ไขปริศนา  โกอาน

            ในเรื่องนี้ท่านโจชูเป็นจุดสนใจเช่นเดิม  ฉันได้กล่าวถึงคำพูดลือชื่อของท่านมาแล้ว  มีบันทึกในประวัติของท่าน  ความว่า “เด็กเล็กเจ็ดแปดขวบ  หากเก่งกว่าฉัน ฉันก็ขอเป็นศิษย์  ชายชราอายุนับร้อยปี หากด้อยกว่าฉัน ฉันก็จะสอนเขา” ด้วยคตินี้ท่านโจชูจึงท่องเที่ยวไปเพื่อการปฏิบัติจนท่านอายุได้ แปดสิบปี  เหตุการณ์ในโกอานเกิดขึ้นเมื่อท่านกำลังท่องเทียวเพื่อการนี้  นักปฏิบัติเซนไม่ใส่ใจสถานการณ์แวดล้อมมากไปกว่าแก่นของเซน

            วันหนึ่งท่านโจชูมาถึงอาศรมแห่งหนึ่ง แล้วถามนักปฏิบัติที่นั่น “ท่านอยู่ข้างใน?” บ่อยทีเดียวที่นักปฏิบัติเซนใช้การสนทนาประจำวันเพื่อสั่งสอนธรรมแก่กันและกัน  ขัดเกลาจิตใจให้ลุ่มลึกในเซน ในโกอานบทนี้  การสนทนาเป็นการเริ่ม มอนโด [1] (การสนทนาธรรมแบบเซน)
            คู่สนทนาชูกำปั้นพร้อมความเงียบ  กำปั้นถูกชูขึ้น เป็นอย่างนั้น ช่างวิเศษแท้! กำปั้นก็ต้องเป็นกำปั้นอย่างเต็มที่ทุกประการ  ที่นี่ไม่มีที่ว่างเพื่อความแบ่งแยก
            อย่างไรก็ตาม เมื่อโจชูเห็นดังนั้น  จึงพูดว่า “น้ำตื้นเกินกว่าจะทอดสมอเรือ”  แล้วเดินจากไปในทันทีทันใด  บางคนแปลความหมายอย่างผิวเผินว่า “ เขาไม่ใช่นักปฏิบัติเซน ไม่ควรที่จะไปสนทนากับเขา”  แล้วท่านโจชูก็จากไป


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 19, 2013, 02:32:54 pm »


                   

ด่านที่ไร้ประตู ลำดับเรื่อง(ในต้นฉบับ) ๑๑
ลำดับการแปล ๖
ชื่อเรื่อง โจชูเห็นธรรมชาติที่แท้ของสองอนาคาริก

โกอาน
 

            โจชูเดินทางมาถึงอาศรมแห่งหนึ่ง แล้วถามว่า “มีคนอยู่ไหม?”
อนาคาริกคนหนึ่งชูกำปั้นขึ้น ท่านโจชูจึงพูดว่า” น้ำตื้นเกินกว่าจะทอดสมอเรือ
แล้วเดินจากไป  มาถึงอาศรมอีกแห่ง แล้วถามเช่นเดิม
อนาคาริกอีกคนทำเหมือนเดิม ท่านจึงพูดว่า
ท่านมีเสรีที่จะเอาหรือให้ ประหารชีวิตหรือให้ชีวิต” แล้วทำความเคารพอนาคาริกนั้น

คำวิจารณ์ของมูมอน
            ทั้งคู่ชูกำปั้น  ทำไมท่านรับรองคนหนึ่งแต่ไม่รับรองอีกคนหนึ่ง
ขอให้บอกมาว่าอะไรคือแก่นของความลึกลับซับซ้อน
ถ้าเธอรู้ เธอจะเห็นท่านโจชูไม่ถูกผูกมัดในการพูดสิ่งที่ต้องการ
มีอิสระอย่างเต็มที่ที่จะยกใครขึ้นหรือกดใครลง

            อันที่จริง  เป็นโจชูเองที่ถูก-อนาคาริกทั้งสองมองเห็น ธรรมชาติที่แท้ ?
ถ้าเธอเห็นว่า อนาคาริกคนหนึ่งเหนือกว่าอีกคน เธอยังไม่ได้รับดวงตาแห่งเซน
หากบอกว่าทั้งสองไม่ต่างกัน เธอก็ยังคงไม่ได้รับดวงตาแห่งเซน  เช่นกัน


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 19, 2013, 12:55:37 pm »


                       

            บุรพาจารย์แห่งเซน ได้วิจารณ์ให้เห็นเค้าเรื่องถึงความบริสุทธิ์และถูกต้องเที่ยงตรงถึงการเป็นอยู่อย่างเซนของท่านซุยกัน  “มังกรยินดีในแก้วมณี” น่าพิศวงขนาดไหนที่ท่านซุยกันอาศัย ชื่นชมยินดี และใช้ “มัน” ในตัวท่าน โดยเรียกและขานรับด้วยตัวท่านเอง  น่าพิศวงเช่นเดียวกับ มังกร รักและยินดี ในแก้วมณี
            วิญญาณแห่งเซนที่ลุ่มลึกและกระจ่างชัด ในการเป็นอยู่ ความร่าเริง การใช้ “มัน” ในตัวเขาไม่ควรตีความผ่านๆอย่างผิวเผินแค่ตามตัวหนังสือเพียงระดับศีลธรรม คือการตรวจสอบตัวเองเท่านั้น
            ทำไมท่านอาจารย์ซุยกันจึงใช้ชีวิต ร่าเริง ใช้”มัน”อย่างเคร่งครัดเช่นนั้น เราไม่ควรมองข้ามความกรุณาที่ล้นหลั่งไปสู่อนุชนรุ่นหลัง รวมทั้งเซนของท่านที่เต็มไปด้วยความชัดแจ้งจนมองเห็นได้ด้วยตา นั่นเป็นเหตุผลให้ท่านมูมอนนำโกอานบทนี้มาสอนสานุศิษย์  พูดสั้นๆ ท่านอาจารย์ของท่านซุยกันคืออาจารย์ของเธอ  ของฉัน ที่นี่และเดี๋ยวนี้


            มีโกอานอีกบทที่สืบเนื่องจากโกอานบทนี้ วันหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งมาพบอาจารย์เกนชา “อาจารย์เกนชาถามพระว่า “เมื่อเร็วๆนี้เธออยู่ที่ไหน?”  พระตอบว่า “อยู่กับอาจารย์ซุยกันครับ  ท่าน”  ท่านอาจารย์จึงถามต่อว่า “ใช่  อาจารย์ซุยกันสอนศิษย์อย่างไร ?” ภิกษุรูปนั้นกล่าวอย่างละเอียดถึงเหตุการณ์ทุกวันที่อาจารย์ซุยกันถามและตอบตนเอง  เมื่อได้ยินดังนั้น  อาจารย์เกนชาจึงถามต่อว่า  “ทำไมเธอจึงไม่เรียนต่อไปกับอาจารย์ซุยกัน?”    พระภิกษุตอบ “ท่านซุยกันมรณภาพแล้ว”  ต่อคำตอบนี้ อาจารย์เกนชาจึงตั้งคำถามที่คิดไม่ถึงว่า “หากเธอถามท่านซุยกันเดี๋ยวนี้ “ท่านอาจารย์” ท่านซุยกันจะตอบหรือไม่?” โชคไม่ดี ภิกษุได้แต่เงียบ  ไม่พูดตอบแม้แต่คำเดียว

            ท่านซุยกันมรณภาพแล้ว และท่านเกนชาก็ถามว่า “หากเธอถามท่านซุยกันเดี๋ยวนี้ “ท่านอาจารย์” ท่านซุยกันจะตอบหรือไม่?”  ทำไมท่านจึงอาจหาญตั้งคำถามเช่นนั้น  เซนของท่านเกนชาทำงานอยู่เบื้องหลังคำถามนี้  ท่านพยายามปลุกพระให้ตื่นขึ้นมาพบอาจารย์(หรือนาย)ที่แท้ที่อยู่เหนือกาล,เวลา,เธอ,ฉัน,ชีวิต และความตาย น่าเสียดายที่พระไม่สามารถตอบสนองความกรุณาของท่านเกนชาได้ถูกต้อง
            ในยุคสงครามกลางเมืองในญี่ปุ่น มีขุนนางท่านหนึ่งนามว่า โอตะ โดกัน ได้สร้างคฤหาสน์หลังงามในเอโด หรือโตเกียวในปัจจุบัน  ท่านเรียนเซนกกับท่านอุนโกะ ซึ่งอาศัยอยู่ในวัดใกล้กันชื่อว่า เซอิโชจิ และขยันในการปฏิบัติเซนมาก  ท่านอุนโกะให้โดกันขบโกอาน “ท่านอาจารย์ของซุยกัน”  และให้โดกันปฏิบัติอย่างหนัก ท่านปฏิบัติอย่างจริงจังและจริงใจเป็นเวลานาย และในวันหนึ่งก็แทงทะลุสู่แก่นของ “ท่านอาจารย์”

ท่านอุนโกะต้องการทดสอบผลการปฏิบัติ จึงถามว่า     
“ขณะนี้ บัดเดี๋ยวนี้   “ท่านอาจารย์” อยู่ที่ไหน?”
            ขุนเขาตอบ
            เสียงระฆังจากวัด
            ท่ามกลางแสงจันทร์ 
เป็นคำตอบจากโดกันในทันทีทันใด  และท่านอุนโกะก็ยอมรับ



            บทร้อยกรองของโดกันเหมือนกับการตอบตนเองของท่านซุยกันหรือไม่ หรือต่างกัน อาจารย์ที่แท้คงอยู่ตลอดไป กับท่านซุยกันหรือโดกันก็ได้  ขณะนี้ หรือในอดีต ท่านเป็นความคิดรวบยอดที่ไม่มีชีวิต แน่นอนว่าท่านอาจารย์อยู่ที่นี่ในขณะนี้เสมอ และตื่นอยู่ในขณะแห่งการยืนและนั่งของเธอ เธอผู้มีตา(แห่งเซน)จงมองท่านเสียในบัดนี้ เธอผู้สามารถใช้ท่าน จงใช้ท่านเสียตรงๆ ท่านมูมอนกระตุ้นเราดังนี้

ไขปริศนา คำวิจารณ์ของท่านมูมอน   
            ท่านมูมอนวิจารณ์ “ท่านอาจารย์ผู้เฒ่าขายเองซื้อเอง ท่านมีหน้ากากปีศาจมากมายไว้เล่น ทำไม? Nii(ไน้) อันที่เป็นผู้เรียก อันที่เป็นผู้ขานรับ อันที่เป็นผู้ตื่น อันที่ไม่ให้ใครหลอก ถ้าเธอคิดว่าเป็นเรื่องจริง เธอกำลังเข้าใจผิด  หากเธอเลียนแบบท่านอาจารย์ซุยกัน เธอยังเข้าใจแบบสุนัขจิ้งจอก”
            คำวิจารณ์นี้แบ่งได้เป็นสามส่วน ส่วนแรกเหมือนกับท่านมูมอนใส่ร้ายท่านซุยกัน”ทุกๆวัน ท่านเรียกตนเองและตอบตนเอง” “ท่านขายเองแล้วก็ซื้อเอง  การแสดงเดี่ยวของท่านหมายความว่าอย่างไร ที่ไปเล่นเอาปีศาจทุกชนิดมาแสดงบนเวทีทีละตัวทีละตัวอย่างนั้น ?” ท่านมูมอนไล่ต้อนท่านซุยกัน นี่เป็นวิธีการที่นิยมใช้เพื่อยกย่องแบบเซน ที่จริงแล้วท่านยกย่องเซนของท่านซุยกัน
            “nii(ไน้)”  เป็นคำอุท่านเพื่อเน้นย้ำความหมาย  มันมีความหมายว่า “นั่นไง” “จงมองดูซิ” คาดคั้นเอาคำตอบ เมื่อท่านพูดพาดพิงถึงปีศาจ มีความเชื่อของชาวบ้านว่า เมื่อใช้ป้ายตัวอักษร nii(ไน้) ปิดเหนือประตูบ้านแล้ว จะขับไล่อัปมงคลทั้งปวงได้
            เราจะต้องมองให้เห็นความเท่าทันของท่านมูมอน เมื่อท่านซุยกันเป็นท่านอาจารย์เสียเองอย่างเต็มที่  และนำไปทุกที่ทั้งขณะมาและไป นั่งและนอน

            ส่วนที่สองคือ “อันที่เป็นผู้เรียก อันที่เป็นผู้ขานรับ อันที่เป็นผู้ตื่น อันที่ไม่ให้ใครหลอก ถ้าเธอคิดว่าเป็นเรื่องจริง เธอกำลังเข้าใจผิด”  ท่านพูดถึงพฤติกรรมต่างๆของท่านซุยกัน  เดี๋ยวก็เรียกตนเอง เดี๋ยวก็ขานรับตนเอง เดี๋ยวก็บอกให้ตนเองตื่น เดี๋ยวก็พูดว่าจะไม่ให้ใครหลอก  “จงอย่ายึดมั่นถือมั่นกับหลากหลายใบหน้าเหล่านี้” ท่านมูมอนเตือนสานุศิษย์อย่างเข้มงวด โดยพื้นฐาน ท่านอาจารย์  ก็คือ ท่านอาจารย์ ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบไหน   ปราชญ์โบราณวิจารณ์ว่า “ลาอยู่ในบ้านทางตะวันออก ม้าอยู่ในบ้านทางตะวันตก” อยู่กับต้นหลิวมันก็ปรากฏเป็นสีเขียว  อยู่กับดอกไม้มันก็ปรากฏเป็นสีแดง ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ก็เป็นสัจจะที่แท้เสมอ และไม่เคยพลาดจากความเป็นท่านอาจารย์เลย  ด้วยคำวิจารณ์เต็มไปด้วยความกรุณา ท่านมูมอนพยายามผลักดันให้เหล่าสานุศิษย์มองเห็นสาระในเซนของท่านซุยกัน

            ประโยคสุดท้าย “หากเธอเลียนแบบท่านอาจารย์ซุยกัน เธอยังเข้าใจแบบสุนัขจิ้งจอก”  บางคนอาจสรุปว่า ท่านอาจารย์หมายถึงสัจจะสมบูรณ์ที่อยู่เหนือคำบรรยายทั้งปวง สิ่งที่ควรทำคือ เพียงแต่เรียก “ท่านอาจารย์!  ท่านอาจารย์! “ หากพวกเขาเลียนแบบท่านซุยกันทำนองนี้ โดยปราศจากเซน ก็เป็นความเข้าใจที่ตายไปแล้ว เป็นความเข้าใจเซนที่ผิดและไร้ชีวิตจิตใจ เรียกว่า เซนสุนัขจิ้งจอก หลังจากกั้นรั้ว(กันศิษย์ออกนอกทาง)แล้ว ท่านมูมอนก็แสดงสัจจะที่แท้แก่เหล่าศิษย์  ท่านมูมอนว่ากล่าวตักเตือนด้วยความกรุณาที่แท้จริง

ไขปริศนา บทร้อยกรองของท่านมูมอน 
            ผู้แสวงหามรรคไม่เห็นธรรมแท้
            พวกเขาเห็นแต่วิญญาณอย่างเก่าๆ
            ทำให้เวียนวนอยู่ในวัฏฏะไม่มีที่สิ้นสุด
            แต่คนยังคงหลงจับฉวยแทนมนุษย์แต่ดั้งเดิม

            บทร้อยกรองนี้แต่งโดยท่านอาจารย์โชสะ มูมอนนำมากล่าวโดยไม่ได้ดัดแปลงแก้ไขแม้น้อยนิด ใช้มันเป็นคำแนะนำโกอานบทนี้ด้วยความสามารถในเซนของท่านเอง “มนุษย์แต่ดั้งเดิม”  ตรงกับ “ท่านอาจารย์” ของท่านซุยกัน มูมอนใช้บทร้อยกรองนี้อย่างเปี่ยมด้วยความกรุณา พยายามบดขยี้ความฝันลวงๆของประชาชนผู้ยังติดกับความคิดแบบแบ่งแยกโดยเห็นเป็นมนุษย์แต่ดั้งเดิม ซึ่งเป็นเหตุแห่งอวิชชาโดยแท้จริง
            ในวัยแห่งการฝึกเซนของฉัน ฉันสวดบทร้อยกรองนี้ต่อหน้าอาจารย์ของฉัน ยากที่จะจบบรรทัดแรกโดยไม่พูดอะไรต่อเติม  “ผู้แสวงหามรรคไม่เห็นธรรมแท้” ท่านก็รุกเร้า “ปล่อยบทร้อยกรองไว้ตามเดิม   บอกธรรมแท้ของเธอมาเดี๋ยวนี้!”  ฉันจำได้ว่าได้แต่เงียบกริบภายหลังถูกบีบบังคับด้วยคำถามของท่าน
              คำว่า ธรรมแท้ หมายถึงแก่นแห่งเซน
และก็เป็นจิตวิญญาณของบทร้อยกรองนี้ด้วย
พูดอีกอย่าง  จากคำนี้ ท่านอาจารย์   มนุษย์แต่ดั้งเดิม จึงเกิดมีขึ้น
            ผู้แสวงหามรรคมากมายไม่รู้แจ้งท่านอาจารย์ที่แท้จริง  เพราะพวกเขายึดมั่นอยู่กับอาลัยวิญญาณ ซึ่งคิดว่าเป็นต้นธารของชีวิตของพวกเขา  แท้จริงแล้วนี่คือเหตุแห่งการเวียนว่ายในวัฏฏะอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  และควรจะบดขยี้ถอนรากถอนโคนไม่ให้เหลือเชื้อ น่าเศร้าเพียงใดที่เห็นพวกเขาหลงผิดเห็นเป็น ท่านอาจารย์ที่แท้ มนุษย์แต่ดั้งเดิม ด้วยบทร้อยกรองนี้ท่านมูมอนหวังให้เราเปิดดวงตาแห่งสัจจธรรมสู่ ท่านอาจารย์ที่แท้ อย่างสมบูรณ์

           ถ้าใครบ่งชี้ถึง ท่านอาจารย์ที่แท้ และตั้งหลักเกณฑ์ว่ามีอยู่นอกตัวเขาแล้ว
                  นั่นก็เป็นอุปาทานและเหตุแห่งอวิชชาโดยแท้ อาจารย์เซนแต่โบราณ
                  ได้ตักเตือนอนุชนรุ่นหลังด้วยบทร้อยกรองต่อไปนี้

           

            นกน้ำมาแล้วไป
            ไม่เหลือร่องร่อย
            แต่มันก็รู้
            หนทางของตนเอง


เริ่มแปล วันจันทร์ที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
แปลเสร็จ วันอังคารที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 19, 2013, 12:34:47 pm »



                 

ด่านที่ไร้ประตู ลำดับเรื่อง(ในต้นฉบับ) ๑๒
ลำดับการแปล ๔
ชื่อเรื่อง ซุยกันเรียกตนเอง

โกอาน 
   ทุกๆวันท่านซุยกันจะเรียกตนเอง “ท่านอาจารย์” แล้วขานรับเอง “ครับ ท่านอาจารย์”  แล้วท่านก็ถามอีก”ท่านตื่นหรือยัง?” แล้วตอบ”ตื่นแล้ว” แล้วพูดต่อ “อย่าให้ใครหลอก ไม่ว่าวันไหน เวลาไหน”  แล้วตอบ “ไม่ครับ ผมจะไม่ให้ใครหลอก”
คำวิจารณ์ของมูมอน
    ท่านอาจารย์ผู้เฒ่าขายเองซื้อเอง ท่านมีหน้ากากปีศาจมากมายไว้เล่น ทำไม?nii(ไน้) อันที่เป็นผู้เรียก อันที่เป็นผู้ขานรับ อันที่เป็นผู้ตื่น อันที่ไม่ให้ใครหลอก ถ้าเธอคิดว่าเป็นเรื่องจริง เธอกำลังเข้าใจผิด  หากเธอเลียนแบบท่านอาจารย์ซุยกัน เธอยังเข้าใจแบบสุนัขจิ้งจอก

บทร้อยกรองของมูมอน                   
            ผู้แสวงหามรรคไม่เห็นธรรมแท้
            พวกเขาเห็นแต่วิญญาณอย่างเก่าๆ
            ทำให้เวียนวนอยู่ในวัฏฏะไม่มีที่สิ้นสุด
            แต่คนยังคงหลงจับฉวยแทนมนุษย์แต่ดั้งเดิม

ไขปริศนา โกอาน           
            ท่านอาจารย์ชิเกน แห่งซุยกัน ถือกำเนิดในบิเนทสุ ออกบวชตั้งแต่เยาว์วัย และเป็นธรรมทายาทของท่านอาจารย์กันโตะ  เซนกัตสุ(๘๒๘-๘๘๗) ครั้งแรกที่ท่านพบท่านกันโตะ ท่านถามว่า “อะไรคือสัจธรรมนิรันดร? “ ท่านกันโตะตอบว่า “เธอพลาดเสียแล้ว” ท่านซุยกันจึงถามกลับว่า “มันเป็นอะไรเมื่อผมพลาด?” ท่านอาจารย์ซุยกันจึงตอบว่า “มันก็ไม่เป็นสัจธรรมนิรันดรอีกต่อไป”  ท่านซุยกันต้องปฏิบัติโดยขบโกอานนี้อย่างหนักหน่วงจนตรัสรู้ในที่สุด  ต่อมาท่านย้ายไปอยู่ที่ตันกิว ที่ซึ่งท่านนั่งนิ่งอย่างกับคนโง่ราวกับก้อนหินตลอดวัน ประชาชนทั้งหมดรักและเคารพท่าน นี่คือประวัติของท่าน  และนิมนต์ท่านไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดซุยกัน ท่านเป็นผู้นำสงฆ์ที่เข้มงวดเฉียบขาดและถูกต้องเที่ยงตรง จึงได้รับการยกย่องจากทุกๆคน

            โกอานบทนี้มีชื่อเสียงเพราะฟังดูแปลกๆเหมือนนิยาย ทั้งๆที่ใครๆก็รู้จัก แต่กลับมีน้อยคนที่รู้ซึ้งถึงความหมายแบบเซนที่ซ่อนอยู่ภายใน
            ไม่ต้องกล่าวมากไป  โกอานคือการพูดและการกระทำที่ออกมาจากประสบการณ์เบื้องลึกของเหล่าอาจารย์เซน เบื้องหลังพื้นผิวแห่งการพูดและการกระทำของท่านเหล่านี้ก็มีสัจจะแห่งเซน ซึ่งอยู่เหนือการแสดงออกเหล่านั้น คุณค่าพื้นฐานของโกอานอยู่ที่นักศึกษาเซนสามารถเจาะทะลุ และเข้าถึงแก่นแห่งเซนที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังการแสดงออกเหล่านั้น ผู้ไม่เคยปฏิบัติเซนสามารถเปิดดวงตาแห่งเซนด้วยโกอาน ส่วนผู้ที่ดวงตาแห่งเซนเปิดออกแล้ว ก็สามารถขัดเกลาจิตวิญญาณแห่งเซนให้ประณีตขึ้น

            คุณค่าทางจริยธรรมที่พบจากโกอานเป็นคุณค่าที่รองลงมา หากใครสนใจคุณค่าแบบนั้น ก็เท่ากับละทิ้งคุณค่าขั้นพื้นฐานไปเสียสิ้น แน่นอนว่าเซนไม่ได้ละทิ้งคุณค่าทางจริยธรรม แต่มันออกมาจากสัจจะแห่งเซนอีกชั้นหนึ่ง
            บ่อยทีเดียวที่ผู้คนแปลความหมายของ “ท่านอาจารย์” ในโกอานนี้ เพียงแค่ระดับศีลธรรม และคิดว่าท่านอาจารย์ซุยกันแค่เพียงตรวจสอบตนเองเท่านั้น หากมันเป็นเพียงเท่านี้ มันก็ไม่เป็นโกอานอีกต่อไป หากเป็นแค่คำสอนระดับศีลธรรม ท่านอาจารย์ซุยกันก็หมดความน่านับถือในฐานะอาจารย์เซนผู้ยิ่งใหญ่ไป
            ไม่จำเป็นต้องกล่าวมากเกินไป ท่านมูมอนไม่ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อสอนศีลธรรม แต่ใช้เป็นโกอานเพื่อให้สานุศิษย์ได้สัมผัสกับเซนของท่านซุยกัน และมีความลุ่มลึกในเซนมากขึ้น มีชีวิตอย่างเซนอย่างแท้จริง

           

            โกอานกล่าวว่า ทุกๆวันท่านซุยกันจะเรียกตนเอง “ท่านอาจารย์” แล้วก็ขานรับเองว่า “ครับ ท่านอาจารย์”
            ก่อนนี้ ท่านอาจารย์ซุยกันเคยฝึกเซนอย่างขยันขันแข็งและยาวนานภายใต้การสอนของอาจารย์กันโตะ บรรลุเซนและกลายเป็นอาจารย์เซนผู้ทรงคุณวุฒิ หลังจากนั้น ทุกกิจกรรมของท่านล้วนเป็นผลงานจากความเป็นเซนของท่าน สำหรับท่านซุยกัน คำว่า“ท่านอาจารย์”ที่แท้จริง มีชีวิตและแสดงออกในคำเรียกและคำขานรับของท่าน หากเราไม่สามารถจับฉวย “ท่านอาจารย์”ที่แสดงตนอย่างชัดแจ้งนี้ได้ เราก็พลาดจากแก่นแห่งโกอานบทนี้ไป

            ขอออกนอกเรื่องสักเล็กน้อยเพื่ออธิบายการใช้คำว่า “ท่านอาจารย์” (การแปลในที่นี้ทำให้เสียอรรถรสทางภาษาไป เพราะคำเดิมในภาษาอังกฤษคือ Master ซึ่งมีความหมายได้หลายอย่าง”-ผู้แปล) หมายถึงมีความเชี่ยวชาญ มีอำนาจเหนือบางอย่าง เป็น(เจ้า)นายเหนือสถานการณ์ภายนอก แต่ในที่นี้เป็นความเชี่ยวชาญ เป็นอำนาจ เป็น(เจ้า)นายที่สมบูรณ์ ไม่มีการเปรียบเทียบใดๆ เป็นผู้สร้างและใช้ความเป็นนายเสียเองอย่างอิสระยิ่ง เป็นความที่ไม่ต้องระบุว่าเป็นอะไร ไม่สามารถคาดคิดได้ว่าเป็นอะไร เป็นความสมบูรณ์ในตนเอง มีนัยสำคัญแห่งการดำรงอยู่อย่างเต็มเปี่ยมในตัวมันเอง การเรียกด้วยถ้อยคำนี้ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เพราะจะผลักดันเราเข้าสู่การระบุและการคาดคิดต่างๆ ท่านอาจารย์เอไซได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า  “ไม่สามารถเรียกชื่อมันได้ตลอดไป“

            ด้วยความจำเป็น ท่านอาจารย์ซุยกันจึงเรียกสิ่งนี้ว่า “ท่านอาจารย์” อาจารย์กูไตชูหนึ่งนิ้ว อาจารย์เอโน(เว่ยหล่าง)เรียก “หน้าตาแต่ดั้งเดิม”  ท่านรินไซเรียก “บุรุษที่แท้แต่ไร้ชื่อ” รายชื่อที่แตกต่างกันทั้งหลายเหล่านี้ บรรดาอาจารย์ใช้เรียกเพื่อชี้ตรงไปยังสัจจะหนึ่งเดียวกัน (ฉันอยากพูดว่า คำว่า “ฉัน” ในประโยค “ต่อหน้าอับราฮัมคือฉัน” ก็หมายถึงสัจจะที่ไม่สามารถเรียกชื่อได้นี้เช่นกัน)
            เซนไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกจากประสบการณ์ที่ แต่ละคนได้เปิดดวงตาทางจิตวิญญาณสู่ความเป็น(เจ้านาย)อาจารย์ที่สมบูรณ์นี้ และเป็นมันเสียเอง ซาโตริ(การตรัสรู้)คือประสบการณ์นี้ บุคคลต้องยอมมอบกายใจให้แก่สิ่งนี้ ท่านมูมอนเน้นจุดนี้มากเมื่อท่านกล่าวไว้ในโกอานบทแรก “ในการปฏิบัติเซน ศิษย์ต้องผ่านด่านที่เหล่าอาจารย์แต่โบร่ำโบราณสร้างไว้ เพื่อการตรัสรู้ที่สมบูรณ์ ศิษย์ต้องขุดรากถอนโคนจิตแบบจำแนกแยกแยะทิ้งไป”

           

            ท่านอาจารย์กูโดแห่งวัดเมียวชินจิในเกียวโตได้ประพันธ์บทร้อยกรองชื่อ “หน้าตาแต่ดั้งเดิม”
            นี่คือวัยเยาว์แห่งธรรมชาติอันงดงาม
            ถ้าไม่ยิ้มกับเธอ แบบหัวใจต่อหัวใจ
            เธอจักต้องเสียเลือดหมดหัวใจ
            ซีไชที่ว่างามยังดูซูบเซียว
            โยกิที่ว่าสง่ายังหลบสู่มุมมืด

            อำนาจสมบูรณ์ซึ่งไม่สามารถระบุถึงหรือคาดคิดถึงได้ เป็นอิสระจากขอบขีดแห่งปวงกาละและเทศะ ไม่ตกอยู่ภายใต้การเกิดและตาย อยู่เหนือตัวกูและของกู แม้ว่ามันอาศัยอยู่กับปัจเจกชนใดแต่ไม่สามารถจำกัดขอบขีดมันได้ ท่านอาจารย์กูโดเรียกอำนาจที่สมบูรณ์นี้ว่า “วัยเยาว์แห่งธรรมชาติอันงดงาม” ซึ่งงามบริสุทธิ์ไร้มลทินเสริมแต่ง เรื่องนี้กล่าวอ้างถึง ซีไชและโยกิผู้ที่เลื่องลือกันว่างามที่สุดในประวัติศาสตร์จีน ท่านกล่าวว่าเมื่อเผชิญกับวัยเยาว์แห่งธรรมชาติอันงดงาม แม้สตรีที่หายากสุดเช่นนั้นในจีนยังดูซูบเซียว เพราะเหตุนี้ ท่านกูโดกล่าวว่า บุคคลต้องขุดรากถอนโคนความฉลาดแบบจำแนกแยกแยะออกไป และต้องยิ้มกับเธอแบบหัวใจต่อหัวใจ นั่นคือจับฉวยสิ่งนี้ไว้แม้ต้องเสี่ยงชีวิต  หากพลาดไปก็ต้องเสียใจไปตลอดชีวิต

            ซุยกัน เป็นอาจารย์เซนที่ยิ้มหัวใจต่อหัวใจกับความเยาว์แห่งธรรมชาติอันงดงามภายหลังการฝึกอย่างหนักและยาวนานภายใต้การอบรมของอาจารย์กันโตะผู้มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว แม้ภายหลังประสบการณ์นี้ ซุยกันก็ยังคงเรียกขาน “มัน” หรือ “ท่านอาจารย์” ซึ่งเป็นชื่อที่ท่านซุยกันใช้เรียกความเยาว์แห่งธรรมชาติอันงดงาม ท่านเป็นอยู่ มีความสุข และใช้งาน “ท่านอาจารย์” ในตัวท่านเอง และชีวิตอย่างเซนของท่านก็ได้รับความชื่นชมจากสานุศิษย์รุ่นหลังอย่างสูง ท่านอาจารย์ผู้เรียก และ ท่านอาจารย์ผู้ขานรับ ไม่มีทางเป็นสองคน  แต่ต้องเป็นท่านอาจารย์ที่สมบูรณ์เพียงหนึ่งเดียวแห่งความเป็นนายที่สมบูรณ์  สิ่งที่แจ่มชัดคือจิตแห่งเซนของท่าน สุขุมคัมภีรภาพคือประสบการณ์เซนของท่าน ท่านจึงสมควรได้รับคำยกย่องจากใจจริงของเราทั้งหลาย

            ท่านซุยกันตั้งคำถามและตอบต่อไปในการเป็นอยู่ มีความสุข และใช้งาน “มัน” “ท่านตื่นหรือยัง?” “ตื่นแล้ว” “อย่าให้ใครหลอก ไม่ว่าวันไหน เวลาไหน”   “ไม่ครับ ผมจะไม่ให้ใครหลอก”  ถ้าเราอ่านบทสนทนานี้อย่างผิวเผิน จะเข้าใจว่าเป็นเรื่องง่ายๆธรรมดาๆ “ท่านอาจารย์ ความเป็นนาย(ในสถานการณ์ต่างๆ  หมายถึงเป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัด ) ชัดเจนและมั่นคงดีหรือ? “  “ใช่ครับ ท่านอาจารย์” “อย่าปล่อยให้ใคร บดบังความเป็นนายของเธอ”  “ไม่  ไม่เลย” เราจักต้องมองให้เห็นอย่างแจ่มชัด ณ บัดนี้ ถึงการเรียกตนเอง ขานรับตนเอง  และความมั่นคงและชัดเจนของเซนของท่าน เราจะต้องอ่านเรื่องนี้อีกครั้งด้วยสายตาแห่งเซน ที่ได้มาจากประสบการณ์และการปฏิบัติ

            “ท่านตื่นหรือยัง”  “ตื่นแล้ว”  “อย่าให้ใครหลอก ไม่ว่าวันไหน เวลาไหน”  “ไม่ครับ ผมจะไม่ให้ใครหลอก” การถามเองตอบเองนี้หมายถึงอะไร  อาจารย์เซนท่านหนึ่งกล่าวว่า “ต้องเป็นพระเป็นเจ้าแห่งพระเป็นเจ้าจึงสามารถทำเรื่องนี้ได้โดยตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ”  “ท่านอาจารย์”ของซุยกันแสดงตัวให้เห็นได้อย่างปลอดโปร่งในการกิน นุ่งห่ม  สนทนา ยิ้ม และไม่เคยถูกหลอกโดยสิ่งใดๆ ถ้าท่านยืน ท่านก็ตื่นที่นั่น ถ้าท่านนั่ง ท่านก็ตื่นที่นั่น
            เพราะความโปร่งใสเห็นได้ชัดของเซนของท่านซุยกัน  ความเป็นอยู่อย่างเซนของท่าน “ประชาชนจึงรักและเคารพท่าน และนิมนต์ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดซุยกัน”


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 13, 2013, 08:31:20 am »



            ลำนำเก่าๆ พาดพิงไปถึงอทวินิยมธรรม นั่นคือธรรมแท้ที่อยู่นอกเหนือการพูดและการเงียบเสียง  ท่านวิมลเกียรติอุบาสกขับลำนำเรื่องอทวินิยมธรรมในเมืองไพสาลี แต่ไม่มีผู้ใดซึมซาบความหมายได้ สามพันปีต่อมา ที่นี่มีผู้จับฉวยหัวใจแห่งลำนำได้ คำพูดและคำเขียนช่างไพเราะยิ่งนัก  ทั้งปากและปากกาล้วนสร้างสรรค์ผลงานชั้นเยี่ยม การทำเช่นนั้น คือการดำรงอยู่กับสัจจะว่าด้วยเสียงแห่งความเงียบของท่านวิมลเกียรติ 
            ท่านอาจารย์โสเอนเขียนอย่างอิสระและพูดอย่างไพเราะจับใจ กิจกรรมบริสุทธิ์เหล่านี้ไม่ใช่สิ่งอื่นนอกจากสัจจะจากความเงียบของท่านวิมลเกียรติ เฉพาะเมื่อบุคคลอยู่นอกเหนือทวินิยมแห่งการพูดและการเงียบเท่านั้น ที่เขาจะบรรลุอิสรภาพและสร้างสรรค์ผลงานที่แท้

            มีบทสนทนาในลักษณะเดียวกันโดยอาจารย์ท่านอื่น เช่น ใน “การสืบทอดดวงประทีป” เล่มสิบสาม ในบทว่าด้วยอาจารย์ชูซาน โชเนน  พระรูปหนึ่งถามว่า “มีคนกล่าวว่า หากพบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง ต้องไม่ทักทายท่านด้วยการพูดหรือการเงียบเสียง กระผมสงสัยว่าควรจะทักทายท่านอย่างไร?” และอาจารย์ท่านตอบว่า “ฉันเห็นคำตอบทั่วทั้งสามพันโลก(คือทั้งจักรวาล)”
            ในคัมภีร์ โกโตะ อีเก็น(บันทึกประวัติอาจารย์เซนชาวจีน) ,.ในบทว่าด้วยอาจารย์เซปโป กิเซน “อาจารย์แต่โบราณกล่าวว่า หากพบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง ไม่ควรทักทายท่าน ทั้งการพูดและการเงียบเสียง  กระผมสงสัยว่า ควรจะทักทายท่านอย่างไร?”  ท่านอาจารย์ตอบว่า “เชิญจิบน้ำชา”

            อาจารย์ชูซานกล่าวว่า “ฉันเห็นคำตอบทั่วทั้งสามพันโลก(คือทั้งจักรวาล)”  อาจารย์เซปโปกล่าวว่า  “เชิญจิบน้ำชา”  เป็นคำตอบที่ไม่ผูกมัดกับการพูดและการเงียบเสียงได้อย่างไร  และทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เว้นไว้เสียแต่ว่าท่านสามารถให้คำตอบที่ชัดเจนและมั่นใจได้ มิฉะนั้นท่านก็เพียงแต่มีชีวิตอยู่ได้เพราะความเมตตาสงสารของ คำพูด และความเงียบเท่านั้น

             

ไขปริศนา คำวิจารณ์ของท่านมูมอน
            “หากเธอสามารถให้คำตอบที่ตรงเป้าได้ในทันที  ก็เป็นเรื่องน่ายินดีมาก แต่หากไม่ได้  ก็จงมีสติอยู่ทุกขณะ
โดยการอ้างถึง
คำสอนของโบราณาจารย์ “ถ้าเธอพบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง จงทักทายท่าน โดยไม่ใช้ทั้งการพูดและการเงียบเสียง ” ท่านอาจารย์โฮเอนยืนยันคำถามกับบรรดาศิษย์ว่า “บอกฉันมาเดี๋ยวนี้ เธอจะทักทายท่านอย่างไร?”ท่านอาจารย์มูมอน วิจารณ์โกอานบทนี้ว่า ถ้าเธอสามารถตอบคำถามได้ตรงจุด คือต้อนรับได้ถูกต้องได้เรื่องราวก็ควรจะยินดีกับเธอ ท่านแสดงความชื่นชมเซนของบุคคลเช่นนั้นเป็นอย่างสูงก็หมายถึงว่าบุคคลเช่นนั้นมีไม่มากนัก เป็นการกระตุ้นการฝึกฝนของบรรดาศิษย์ทั้งหลาย

ท่านมูมอนก้าวต่อไป “ถ้าเธอไม่สามารถทักทายท่านได้ถูกต้องถูกเรื่องถูกราว และไม่สามารถตอบสนองต่อคำขอร้องของท่านโฮเอน การฝึกฝนของเธอการยังห่างไกลจากความสมบูรณ์ จงหมั่นเพียรฝึกฝนต่อไป และจงมีสติอยู่ทุกขณะ”  “ทุกขณะ”  คือ “อะไรที่เธอทำทุกขณะเวลาในชีวิตของเธอ” เป็นคำเตือนที่ต้องใช้ความพากเพียรปฏิบัติตามราวกับฝนทั่งให้เป็นเข็ม ท่านอาจารย์มูมอนกระตุ้นเตือนให้พวกเราไขว่หาธรรมะแท้ซึ่งอยู่นอกเหนือการพูดและการเงียบเสียง รวมทั้งมีอยู่ในชีวิตจริงแห่งการเดินยืนนั่งนอนด้วย นั่นก็คือทุกขณะเวลาแห่งชีวิตประจำวันของเรา

                   

อะไรที่เป็นผู้เห็น อะไรที่เป็นผู้ได้ยิน อะไรที่เป็นผู้คิด จงสืบค้นไปเรื่อยว่า  มันเป็น”อะไร”  ค้นแล้วค้นเล่า จนกระทั่งไม่มีใครที่เป็นผู้เห็น ผู้ได้ยิน หรือผู้คิด เมื่อเธอได้ผ่านพ้นขั้วแห่งการเห็น,การได้ยินและการคิดอย่างแท้จริงแล้ว  วิสัยทัศน์อย่างใหม่จะเกิดขึ้นแก่เธอ
ท่านฮะกูอินมักเขียนบทร้อยกรองวิจารณ์ภาพกวนอิมโพธิสัตว์
ด้วยจักษุ  พระองค์ สดับ             เสียงขับขาน .ในฤดูกาล ใบไม้ผลิ
ด้วยโสต  พระองค์ ทอดทัศนา     หลากสีสัน แห่งสิงขร


ท่านกำลังบอกว่าบุรุษแห่งเซนจะต้องอยู่เหนือทุกการได้ยิน และทุกการเห็นใช่หรือไม่?
แน่นอนว่าเราต้องมีสติระลึกรู้อยู่ทุกขณะ ถ้าเธอยังคงฝึกฝนด้วยความพากเพียร
ด้วยความอุทิศตนอย่างจริงใจ  ต้องมีวันหนึ่งที่ดวงตาของเธอจะเปิดออกสู่ ธรรมแท้แห่งเซน ซึ่ง..
..อยู่เหนือ การพูดและการเงียบเสียง


                   

ไขปริศนา บทร้อยกรองของท่านมูมอน
            ถ้าเธอพบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง
            จงทักทายโดยไม่ใช้ทั้งวาจาและความเงียบ
            ฉันจะต่อยเขาอย่างรุนแรงที่สุด
            จงคว้ามันให้ได้ในทันที  ไม่มีชักช้า


 ในบทร้อยกรองวิจารณ์โกอานบทนี้ ท่านมูมอนย้ำโกอานอีกครั้งและกล่าวต่อว่า “ถ้าเธอพบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง  จงทักทายโดยไม่ใช้ทั้งวาจาและความเงียบ”  มีคำพูดปรัมปราว่า “ทุกครั้งที่มันปรากฏ มันก็ใหม่เสมอ”  ถ้าใครไม่ซึมซาบบทร้อยกรองสองบรรทัดแรก ซึ่งเป็นเซนของท่านโฮเอนที่ทำงานของมันอย่างเต็มเปี่ยมด้วยอิสระ  ก็ไม่สมควรได้รับการรียกขานว่า บุรุษแห่งเซน ส่วนสองบรรทัดที่เหลือเพิ่มมาโดยปราศจากความจำเป็นใดๆ
            นี่เป็นความกรุณาอย่างล้นเหลือของท่านมูมอน และยังตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมเป็นพิเศษว่า “ถ้าฉันพบบุคคลเช่นนั้น ฉันจะต่อยเขาอย่างรุนแรงสุดแรงของฉัน” นี่เป็นการทักทายที่หยาบคาย ใช่หรือไม่ และท่านยังกล่าวต่อไปอย่างตรงไปตรงมา ชัดเจนแจ่มแจ้ง คมชัดรัดกุม ว่า”เธอมัวพูดอะไรเหลวไหลไร้สาระอยู่” แล้วจึงกล่าวต่อว่า “จงคว้ามันให้ได้ในทันที  อย่ามัวชักช้า

            วิเคราะห์จริงๆแล้ว ในเซนก็ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า คว้ามันหรือไม่คว้ามัน ด้วยกำปั้นจงอยู่นอกเหนือกำปั้น ในความเจ็บปวดจงอยู่นอกเหนือความเจ็บปวด แล้วจงมองและเห็นมัน ธรรมะแท้อยู่ที่นั่นแล้ว
            ท่านอาจารย์มูมอนวิจารณ์ท่านมูมอนว่า “ฉันไม่ชอบสองบรรทัดสุดท้ายเลย ท่านมูมอนผิดพลาดอย่างมหันต์”  ยิ่งกว่าเรียกว่าผิดพลาดอย่างมหันต์ ฉันอยากพูดว่าอย่างนี้ ท่านมูมอนหยาบคายอย่างไม่จำเป็น อวดความเป็นพระเซนเกินไป ท่านควรรู้ความควรไม่ควรและใช้เซนอย่างสงบ
            บัดนี้ หากเธอพบบุรุษแห่งเซนระหว่างทาง จงทักทายท่านโดยไม่ใช้ทั้งการพูดและการเงียบเสียง เธอจะทักทายท่านอย่างไร ฉันต้องการคำตอบตรงไปตรงมา


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 12, 2013, 09:27:03 am »




ด่านที่ไร้ประตู ลำดับเรื่อง(ในต้นฉบับ) ๓๖
ลำดับการแปล ๓
ชื่อเรื่อง พบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง(เล่ม ๒)

โกอาน
โกโซถาม “ถ้าเธอพบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง เธอจะทักทายท่านว่าอย่างไร  โดยไม่ใช้ทั้งการพูดและการเงียบเสียง บอกฉันมาซิ  เธอจะทักท่านว่าอย่างไร ?”
คำวิจารณ์ของมูมอน
หากเธอสามารถให้คำตอบที่ตรงเป้าได้ในทันที  ก็เป็นเรื่องน่ายินดีมาก แต่หากไม่ได้  ก็จงมีสติอยู่ทุกขณะ

           

บทร้อยกรองของมูมอน
            ถ้าเธอพบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง
            จงทักทายโดยไม่ใช้ทั้งวาจาและความเงียบ
            ฉันจะต่อยเขาอย่างรุนแรงที่สุด
            จงคว้ามันให้ได้ในทันที  ไม่มีชักช้า

ไขปริศนา โกอาน
            วันหนึ่ง ท่านอาจารย์โฮเอน พูดกับเหล่าศิษย์ว่า  “หากเธอพบนักปฏิบัติผู้บรรลุเต๋า ไม่เพียงพอที่จะทักทายด้วยการพูด และไม่เหมาะที่จะเงียบเสียง  ในสถานการณ์เช่นนั้น  เธอจะทักทายท่านอย่างไร?
            แม้คำถาม “ถ้าเธอพบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง เธอจะทักทายท่านว่าอย่างไร  โดยไม่ใช้ทั้งการพูดหรือการเงียบเสียง บอกฉันมาซิ  เธอจะทักท่านว่าอย่างไร ?” นำมากล่าวที่นี่ในฐานะเป็นคำสอนของท่านโฮเอน แต่สันนิษฐานว่าผู้แต่งคือท่านอาจารย์เคียวเก็น ชิกัน ซึ่งถูกกล่าวถึงใน  “ศิษย์ของเคียวเก็นอยู่บนต้นไม้” 

                                   

มีบันทึกใน”การสืบทอดดวงประทีป” ดังนี้
                                    ชัดเจน  แจ่มแจ้ง  ไร้สิ่งใดปิดบัง
                                    จงเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องเชื่อสิ่งอื่นใด
                                    ถ้าพบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง
                                    จงทักทายท่านโดยไม่ใช้ทั้งการพูดและการเงียบเสียง

            ไม่ว่าถ้อยคำในโกอานจะเริ่มต้นมาจากเคียวเก็นหรือโฮเอน ก็ไม่เกี่ยวกับคุณค่าของโกอานในแบบของเซน ท่านอาจารย์โฮเอนอาจเห็นคุณค่าแบบเซนและนำมาเป็นโกอานเพื่อช่วยจาระไนศักยภาพของเหล่าศิษย์ก็ได้
            “บุรุษแห่งมรรค”  คือผู้บรรลุแล้วถึงสัจจะหรือแก่นแห่งเซน และท่านก็เป็นผู้ที่อยู่เหนือทวินิยมแห่งการพูดและการเงียบเสียง “ถ้าเธอพบบุคคลเช่นนั้น ผู้ซึ่งไม่อยู่ภายใต้ทวินิยมแห่งการพูดและการเงียบเสียง  จะทักทายท่านอย่างไร?” ด้วยการถามเหล่าศิษย์เช่นนั้น ท่านอาจารย์โฮเอนกดดันลูกศิษย์สู่ขั้วที่สมบูรณ์แห่งความขัดแย้ง ด้วยความหวังจะช่วยให้ลูกศิษย์ได้พบอิสระอย่างแท้จริง

            ตามที่ได้อธิบายแล้วในโกอานบทที่ยี่สิบสี่ “ทิ้งเสียทั้งการพูดและการเงียบเสียง” สัจจะแห่งจักรวาล หรือ แก่นแห่งเซน อยู่ต่างหากจากบรรดา ชื่อ รูปลักษณ์  และการจำแนกให้เกิดความเปรียบเทียบทั้งปวง  ด้วยการเงียบเสียงหรือไร้วาจา “สมภาพ” ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของสัจจะก็เปิดเผย  ด้วยการพูด  “การจำแนกแตกต่าง”  ซึ่งเป็นอีกครึ่งของสัจจะก็เปิดเผย  บุรุษแห่งเซนควรยืนอยู่ข้างสัจจะสมบูรณ์  ซึ่งอยู่นอกเหนือ “สมภาพ ความเหมือน”  หรือ “การจำแนกแตกต่าง”  เว้นเสียแต่เขาจะเป็นอิสระในการใช้ทั้งการพูดและการเงียบเสียง โดยไม่ไปผูกมัดกับทั้ง  “สมภาพความเหมือน”และ”การจำแนกแตกต่าง”เท่านั้น  เขาจึงสมควรได้รับการยกย่องเป็นบุรุษแห่งเซน

            ด้วยการแสดงท่าทีเช่นนี้ ท่านอาจารย์โฮเอนผลักดันเหล่าศิษย์ “บอกฉันมาเดี๋ยวนี้ เธอจะทักทายท่านอย่างไร?”  อาจมีบางคนตอบอย่างรวดเร็วไม่สะทกสะท้านว่า “มันง่ายมาก ผมทักท่านได้โดยไม่ยากเย็นอะไร”  อย่างไรก็ดี คำทักทาย ต้องมีความชัดเจน แจ่มแจ้งมาจากก้นบึ้งแห่งบุคลิกภาพของตนเองด้วย  และยังต้องอยู่นอกเหนือทวินิยมทั้งในกาละและเทศะ  ซึ่งไม่มีใครตอบได้ง่ายๆเลย 
            เพราะคำไม่มีรูปแบบที่ตายตัวและความหมายที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้  บุรุษแห่งเซนพูดโดยไม่ใช้ลิ้น เพราะความเงียบไม่มีรูปลักษณ์และความหมายที่ตายตัว เมื่อบุรุษแห่งเซนเงียบเสียง ก็ยังมีกิจกรรมเปี่ยมชีวิตชีวาดำรงอยู่ในการเงียบเสียงเช่นนั้น  นี่คือกิจกรรมของบุรุษแห่งมรรค

            อาจารย์เซนให้คำไขปริศนาที่สำคัญอย่างน่าสนใจดังนี้ “ถ้าไม่พูดสิ่งที่มีในใจ เธอจะปวดท้องทุรนทุราย หากพูด ลิ้นเธออาจบาดคอเธอขาดได้ จงพูดเท่าที่ควร  และเงียบเสียงเท่าที่เห็นว่าควร” นี่เป็นคำไขปริศนาที่ยอดเยี่ยม  หากแต่คำไขนี้รู้สึกมีค่าแค่ในทางจริยธรรม ฉันขอเตือนว่าอย่าแปลคุณค่าของโกอานแค่เพียงระดับจริยธรรม เพราะคุณค่าแบบเซนจะหายไป
            ในวิมลเกียรตินิเทสสูตร คำถาม “พูดและเงียบ” ถูกยกมาเป็นบทสนทนาระหว่างท่านวิมลเกียรติอุบาสกและมัญชุศรีโพธิสัตว์ผู้ทรงปรัชญาปารมิตา เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากในพุทธศาสนา(มหายาน)  ท่านมัญชุศรีพร้อมด้วยโพธิสัตว์อื่นๆอีกมากมายเยี่ยมไข้ท่านวิมลเกียรติ ขณะหนึ่ง ท่านวิมลเกียรติถามท่านมัญชุศรีว่า “โพธิสัตว์บรรลุถึงธรรมแห่งความไม่เป็นคู่(อทวินิยมธรรม)อย่างไร?”  ท่านมัญชุศรีตอบ “ตามความคิดของข้าพเจ้า อทวินิยมธรรม ไม่ใช่คำ ไม่ใช่การพูด ไม่ใช่การแสดง ไม่ใช่การรู้แจ้ง และดำรงอยู่ต่างหากจากถ้อยสนทนาทั้งปวง โพธิสัตว์บรรลุอทวินิยมธรรมด้วยอาการอย่างนี้ “ หลังจากตอบแล้ว ท่านได้ถามบ้าง ซึ่งท่านวิมลเกียรติได้แต่ “เงียบเสียง” ท่านไม่พูดแม้เพียงคำเดียว เมื่อได้เห็นเช่นนั้น ท่านมัญชุศรีจึงยกย่องท่านเป็นอย่างสูงว่า “ มหัศจรรย์  มหัศจรรย์ มหัศจรรย์อะไรเช่นนี้  ไม่ใช่คำ ไม่ใช่การพูดอย่างแท้จริง ท่านบรรลุถึงอทวินิยมธรรมอย่างแท้จริง”

            หากอธิบายอทวินิยมธรรมโดยถ้อยคำว่า “ไม่ใช่คำ  ไม่ใช่การพูด และอื่นๆ” มันก็เป็นการผูกมัดเข้ากับคำและการพูดเรียบร้อยแล้ว หากพูดว่า “ดำรงอยู่ต่างหากจากถ้อยสนทนาทั้งปวง” มันก็เป็นการผูกมัดกับคำและการพูดแล้วเช่นกัน และหากพูดว่า  การ”เงียบ” ของวิมลเกียรติอุบาสกเป็นคำตอบที่ยิ่งใหญ่   การ“เงียบ”ของท่านก็ทำให้เสียหายเช่นกัน
            บรรดาอาจารย์แห่งเซนพยายามกำจัดอวิชชาของมนุษย์โดยการกดดัน “ทักทายท่านโดยไม่ใช้ทั้งการพูดและการเงียบเสียง”

                       

            ท่านอาจารย์โสเอน ผู้เป็นอาจารย์สอนเซนแก่ดร.ซูสุกิ เขียนบทร้อยกรองว่าด้วย
            “ความเงียบของวิมลเกียรติอุบาสก
                        เนิ่นนานนัก  ลำนำเก่าๆปกคลุมทั่วไพสาลี
                        สามพันปีล่วงไป  นี่คือผู้รู้ความหมาย
                        ไพเราะนัก  ทั้งคำพูด  และคำเขียน
                        เสียงแห่งความเงียบ คือสัจจะจากท่านวิมลเกียรติ


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 30, 2012, 07:59:06 am »



คำวิจารณ์ของท่านมูมอนเฉียบคมยิ่งขึ้น “นี้นับว่าโชคดี ที่พระมหากัสสปเพียงท่านเดียวที่เข้าใจและยิ้ม หากทุกคนเข้าใจและยิ้มบ้าง จะเป็นการส่งมอบธรรมได้อย่างไร หรือถ้าพระมหากัสสปไม่ยิ้มเล่า ธรรมะที่แท้จะถูกถ่ายทอดต่อไปหรือไม่ ?”  ท่านมูมอนเร่งความเข้าใจเรื่องการถ่ายทอดสิ่งที่ถ่ายทอดไม่ได้ของเราทั้งหลาย ท่านยังถามต่อจนจบว่า ถ้าพระองค์พูดว่ามีการถ่ายทอดในเซน ก็เป็นการหลองลวงผู้คน และพูดต่อว่า “ถ้าหากพระองค์พูดว่า ไม่มีการถ่ายทอดในเซน ทำไมจึงตรัสว่าพระองค์ส่งมอบแก่พระมหากัสสปเพียงท่านเดียว?” โดยการเน้นเช่นนั้น ท่านมูมอนพยายามยกอุทาหรณ์แสดงความสำคัญของการถ่ายทอดในเซน และแสดงว่าการถ่ายทอดจากอาจารย์สู่ศิษย์เป็นจริงได้

อาจารย์ฮะกูอินไขปริศนาดังนี้ “ทุกคน หญิงหรือชาย มีธรรมะที่แท้ พระศากยมุนีพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ส่งมอบแก่มหากัสสปแต่ท่านเดียว  แน่นอนที่พระองค์หลอกลวงผู้คน ฉันจะไม่กล่าวว่า ไม่มีการถ่ายทอด บัดนี้ฉันจะชูแส้อย่างนี้ สัจจะที่พระธรรมดาจับฉวยไม่ได้  พระมหากัสสปจับฉวยได้ ดังนั้นท่านจึงยิ้ม มีไม่มากที่จะเข้าใจยิ้มอย่างนี้  เมื่อเข้าใจได้ ก็มีการถ่ายทอดที่แท้”  ท่านควรฟังสิ่งที่ท่านฮะกูอินและมูมอนพูด และเข้าใจถึงการถ่ายทอดในเซน


ไขปริศนา บทร้อยกรองของท่านมูมอน
            ดอกบัวถูกชูขึ้น
            และความลับก็เปิดเผย
            พระมหากัสสปเผยอยิ้ม
            ที่ประชุมสงฆ์ล้วน
ไม่ได้อะไร


            ในบรรทัดที่สองของบทร้อยกรอง  คำว่า “ความลับ”  มีความหมายอื่นๆว่า “ใบหน้าที่อยู่ภายหลังหน้ากาก”  ซึ่งคือความลับที่อยู่เหนือถ้อยคำและตัวอักษร ในบทร้อยกรองนี้ ท่านมูมอนวิจารณ์การทรงชูดอกบัวของพระพุทธองค์ “กระผมรู้กลของพระองค์  พระองค์หลอกกระผมไม่ได้” ท่านมูมอนมองเห็นความลับของการถ่ายทอดสิ่งที่ถ่ายทอดไม่ได้  มูมอนแสดงความลุ่มลึกแห่งประสบการณ์ของตน  “พระองค์อาจหลอกใครๆได้ แต่จะหลอกกระผมไม่ได้เลย” ท่านมูมอนทูลพระพุทธองค์
            บอกฉันมาว่าดอกบัวที่ถูกชูโดยพระพุทธองค์คืออะไร  เป็นดอกบัวที่เผาไฟก็ไม่ไหม้  เป็นดอกบัวที่ไม่ใหญ่หรือเล็ก ในทุ่งหญ้าหรือป่าเขายิ่งเบิกบานสดชื่น ทั้งในอดีตหรือปัจจุบัน และขณะเดียวกันก็เป็นดอกบัวที่จะหายวับทันทีที่บุคคลยึดติดกับถ้อยคำและตรรกะหรือหลงด้วยมโนคติ

สองบรรทัดสุดท้ายของบทร้อยกรอง ท่านมูมอนกล่าวซ้ำว่า “พระมหากัสสปเพียงท่านเดียวเผยอยิ้มโดยความกระจ่างแจ้งในใจ  ส่วนที่เหลือล้วนไม่ได้อะไร”  ฉันได้ยินท่านมูมอนพูดกับเหล่าสาวก   “มันไม่ใช่เรื่องโบร่ำโบราณ หากเป็นเรื่องของท่านทั้งหลายในบัดนี้”  ความจริงแล้วท่านมูมอนพูดว่า “พวกท่านทุกคน ชูดอกบัวอมตะอยู่ในมือ  หรือไม่ก็เป็นดอกบัวเสียมากกว่า  แล้วทำไมจึงไม่เปิดดวงตาเสียที

โบราณาจารย์แห่งเซนท่านหนึ่งได้วิจารณ์โกอานด้วยบทร้อยกรองบทหนึ่ง
เมื่อคืนฝนตก และทำให้ดอกบัวกระจัดกระจายไปทั่ว
กลิ่นหอมจากคฤหาสน์ล้อมรอบด้วยสายน้ำไหล

เราจะไขรหัสหาแก่นแห่งเซนจากบทร้อยกรองไพเราะๆนี้ได้อย่างไร

มันหมายถึงว่า ทุกคนยิ้มหรือไม่ก็ตาม ล้วนอาศัยอยู่ท่ามกลางสัจจธรรมเดียวกันใช่หรือไม่ ? แน่นอนว่าไม่มีที่ใดที่แสงอาทิตย์ส่องไปไม่ถึง  หากน่าสงสารที่คนตาบอดก็ยังคงอยู่ในความมืด
ขอวิจารณ์เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย ในหนังสือเล่มหนึ่งที่ฉันได้อ่าน ได้วิจารณ์โกอานบทนี้ว่า “เพราะท่านมูมอนสายตามัวซัว จึงมองไม่เห็นความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนที่พระพุทธองค์และพระมหากัสสปแสดงต่อกัน และซ่อนอยู่เบื้องหลังโกอานบทนี้ “ นี่เป็นความเข้าใจผิดที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่ง สิ่งที่โกอานแสดงต่อเราคือ การถ่ายทอดเซนโดยการชี้ตรงไป(ระหว่างอาจารย์และศิษย์) และประเด็นทางจริยธรรมเช่นนั้นไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญของโกอานบทนี้ เพราะเซนชี้ตรงไปที่การเห็นแจ้งธรรมะซึ่งเป็นต้นกำเนิดแห่งจริยธรรมและมนุษยธรรมทั้งหลาย



หมายเหตุ คำว่า ถ่ายทอด   แปลความหมายทั่วไป  คือการ
ส่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากคนหนึ่งสู่คนหนึ่งเหมือนสิ่งของ
แต่ในเซนคือการที่อาจารย์และศิษย์เข้าใจตรงกัน
หลังจากการปฏิบัติจริงๆ  และเกิดการหยั่งรู้จริง  อาจารย์ก็เพียงแต่รับรองศิษย์
“การรับรอง” นี่เองที่เรียกว่า การถ่ายทอด การส่งมอบ ในเซน