ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2015, 08:34:39 pm »

พระภิกษุ ที่ต้องปาราชิก

ไม่มีทางที่จะกลับมาบวชใหม่ได้ ฉันใด

เหมือนต้นตาล ที่ไม่มียอด ไม่มีใบ ฉันนั้น

แต่หากยังครองผ้าเหลืองอยู่ ฉันใด

ยิ่งสร้างกรรมมากเป็นทวีคูณ ฉันนั้น

ดังนั้น  ผู้ที่เข้าวัดทำบุญ มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ฉันใด

ต้องฉลาดและมีความรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของอลัชชี ฉันนั้น




.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2015, 08:30:10 pm »

 มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา - บ้านธัมมะ
กระดานสนทนา

-http://www.dhammahome.com/webboard/printing/46-

000046  วิเคราะห์ปาราชิก .. ความหมายของอาบัติแต่ละขั้น
โดย paradorn  29 เม.ย. 2548

อยากทราบคำแปลของอาบัติแต่ละขั้นครับ  เช่น   ปาจิตตีย์   ทุกกฏ   สังฆาทิเทส
เป็นต้นว่ามีความหมายอย่างไร  มีความรุนแรงหากเทียบกับคำในภาษาไทยอย่างไร
ขอบคุณครับ

 


ความคิดเห็นที่ 1    โดย study  วันที่ 29 เม.ย. 2548

                             พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 606
                                        วิเคราะห์ปาราชิก
                             [๑,๐๓๕]   คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า
                   ปาราชิก ดังนี้  ท่านจงฟังคำนั้น  ดังจะกล่าว
                   ต่อไป   บุคคลเป็นผู้เคลื่อนแล้ว   ผิดพลาด
                   แลเหินห่างจากสัทธรรม   อนึ่ง   แม้สังวาสก็
                   ไม่มีในผู้นั้น    เพราะเหตุนั้น     เราจึงเรียก
                   อาบัตินั้นว่า  ปาราชิก.
                                  วิเคราะห์สังฆาทิเสส
                            [๑,๐๓๖]  คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า สังฆา
                   ทิเสส  ดังนี้  ท่านจงฟังคำนั้น   ดังจะกล่าว
                   ต่อไป    สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส  ชักเข้าหา
                   อาบัติเดิมให้มานัต   อัพภาน  เพราะเหตุนั้น
                   เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า  สังฆาทิเสส.
                                     วิเคราะห์อนิยต
                             [๑,๐๓๗]  คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า   อนิยต
                   ดังนี้    ท่านจงฟังคำนั้น    ดังจะกล่าวต่อไป
                   กองอาบัติชื่อว่าอนิยต     เพราะไม่แน่    บท     
                   อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำแล้วโดยมิใช่
                   ส่วนเดียว    บรรดาฐานะ  ๓  ฐานะอย่างใด
                   อย่างหนึ่ง  เรียกว่า  อนิยต.                 
                                    วิเคราะห์ถุลลัจจัย
                             [๑,๐๓๘]  คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า  ถุล-
                   ลัจจัย  ดังนี้  ท่านจงฟังคำนั้น   ดังจะกล่าว
                   ต่อไป  ภิกษุแสดงอาบัติถุลลัจจัย   ในที่ใกล้
                   ภิกษุรูปหนึ่ง   แ ละภิกษุรับอาบัตินั้น   โทษ
                   เสมอด้วยถุลลัจจัยนั้นไม่มี     เพราะเหตุนั้น
                   จึงเรียกโทษนั้นว่า  ถุลลัจจัย.
                                    วิเคราะห์นิสสัคคิยะ
                             [๑,๐๓๙]  คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า  นิส-
                   สัคคิยะ  ดังนี้  ท่านจงฟังคำนั้น  ดังจะกล่าว
                   ต่อไป  ภิกษุเสียสละในท่ามกลางสงฆ์  ท่าม
                   กลางคณะ  และต่อหน้าภิกษุรูปหนึ่ง ๆ แล้ว
                   จึงแสดงข้อละเมิดใด    เพราะเหตุนั้น    จึง
                   เรียกข้อละเมิดนั้นว่า  นิสสัคคิยะ.
                                    วิเคราะห์ปาจิตตีย์
                             [๑,๐๔๐]  คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า
                   ปาจิตตีย์  ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น  ดังจะกล่าว
                   ต่อไป  ความละเมิดยังกุศลธรรมให้ตก  ย่อม
                   ฝืนต่ออริยมรรค  เป็นเหตุแห่งความลุ่มหลง
                  แห่งจิต   เพราะเหตุนั้น    จึงเรียกความละเมิด
                   นั้นว่า  ปาจิตตีย์.
                                วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ
                           [๑,๐๔๑]  คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า  ปาฏิ-
                   เทสนียะ ดังนี้  ท่านจงฟังคำนั้น    ดังจะกล่าว
                   ต่อไป    ภิกษุไม่มีญาติ    หาโภชนะได้ยาก
                   รับมาเองแล้วฉัน   เรียกว่า  ต้องธรรมที่น่าติ
                   ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์   ภิกษุณีสั่งเสียอยู่ใน
                   ที่นั้นตามพอใจ  ภิกษุไม่ห้าม  ฉันอยู่ในที่นั้น
                   เรียกว่า    ต้องธรรมที่น่าติ    ภิกษุไม่อาพาธ
                   ไปสู่ตระกูลที่มีจิตศรัทธา  แต่มีโภคทรัพย์
                   น้อย    เขามิได้นำไปถวายแล้วฉันในที่นั้น
                   เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ  ภิกษุใดถ้าอยู่ในป่า
                   ที่น่ารังเกียจ  มีภัยจำเพาะหน้า  ฉันภัตตาหาร
                   ที่เขาไม่ได้บอกในที่นั้น   เรียกว่า   ต้องธรรม
                   ที่น่าติ  ภิกษุณีไม่มีญาติ  ขอโภชนะที่ผู้อื่น
                   ยืดถือว่าเป็นของเรา   คือ   เนยใส  น้ำมัน
                   น้ำผึ้ง  น้ำอ้อย  ปลา  เนื้อ นมสด  และนมส้ม
                   ด้วยตนเอง  ชื่อว่า  ถึงธรรมที่น่าติ  ในศาสนา
                   ของพระสุคต.
                                      วิเคราะห์ทุกกฏ
                             [๑,๐๔๒]  คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า  ทุกกฏ
                   ดังนี้   ท่านจงฟังคำนั้น   ดังจะกล่าวต่อไป
                   กรรมใดผิดพลั้งและพลาด   กรรมนั้นชื่อว่า
                   ทำไม่ดี    คนทำความชั่วอันใด    ในที่แจ้ง
                   หรือในที่ลับ   บัณฑิตทั้งหลาย  ย่อมประกาศ
                   ความชั่วนั้นว่า ทำชั่ว เพราะเหตุนั้น  กรรม-
                   นั่นจึงเรียกว่า  ทุกกฏ.
                                     วิเคราะห์ทุพภาสิต
                             [๑,๐๔๓]  คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ทุพ-
                   ภาสิต   ดังนี้  ท่านจงฟังคำนั้น     ดังจะกล่าว
                   ต่อไป  บทใด  อันภิกษุกล่าวไม่ดี  พูดไม่ดี
                   และเศร้าหมอง  วิญญูชนทั้งหลายย่อมติเตียน
                   บทใด  เพราะเหตุนั้น   บทนั้น   จึงเรียกว่า
                   ทุพภาสิต.
                                       วิเคราะห์เสขิยะ
                             [๑,๐๔๔]  คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า  เสขิยะ
                   ดังนี้    ท่านจงฟังคำนั้น      ดังจะกล่าวต่อไป
                   ข้อนี้เป็นเบื้องต้น  เป็นข้อประพฤติ เป็นทาง
                  และเป็นข้อระวัง คือ  สำรวม  ของพระเสขะ
                   ผู้ศึกษาอยู่  ผู้ดำเนินไปตามทางตรง  สิกขา
                   ทั้งหลาย    เช่นด้วยสิกขานั้นไม่มี    เพราะ
                   เหตุนั้น   สิกขานั้น จึงเรียกว่า  เสขิยะ.
                                 อุปมาอาบัติและอนาบัติ
                             เรือนคืออาบัติอันภิกษุปิดไว้  ย่อมรั่ว
                   เรือนคืออาบัติอันภิกษุเปิดแล้ว    ย่อมไม่รั่ว
                   เพราะฉะนั้น    ภิกษุพึงเปิดเผยอาบัติที่ปิดไว้
                   เมื่อเป็นอย่างนั้น    เรือนคืออาบัตินั้น   ย่อม
                   ไม่รั่ว  ป่าใหญ่เป็นที่พึ่งของหมู่มฤค  อากาศ
                   เป็นทางไปของหมู่ปักษี   ความเสื่อมเป็นคติ
                   ของธรรมทั้งหลาย  นิพพานเป็นภูมิที่ไปของ
                   พระอรหันต์.
                                       คาถาสังคณิกะ  จบ

ความคิดเห็นที่ 2    โดย study  วันที่ 29 เม.ย. 2548

                          พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 619
                                   คำอธิบายจากอรรถกถา
                                     [วิเคราะห์ปาราชิก] 
       บรรดาบุคคลปาราชิก  อาบัติปาราชิก  และสิกขาบทปาราชิก  ชื่ออาบัติ
ปาราชิกนี้ใด  อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว, บุคคลผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั้น
ย่อมเป็นผู้พ่าย คือ  ถึงความแพ้   เป็นผู้เคลื่อน  ผิด  ตก  อันความละเมิดทำ
ให้ห่างจากสัทธรรม.   เมื่อบุคคลนั้นไม่ถูกขับออก  (จากหมู่)    ก็ไม่มีสังวาส
ต่างโดยอุโบสถและปวารณาเป็นต้นอีก.   ด้วยเหตุนั้น   ปาราชิกนั่น   พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น  คือ  เพราะเหตุนั้น   อาบัติปาราชิกนั่น   พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัส ว่า ปาราชิก.
           ก็ในบทว่า  ปาราชิก  นี้    มีความสังเขปดังนี้:-
           บุคคลย่อมเป็นผู้พ่ายด้วยอาบัติปาราชิกนั้น  เพราะเหตุนั้น อาบัติ
ปาราชิกนั่น  ท่านจึงกล่าวว่า  ปาราชิก.       
                                  [วิเคราะห์สังฆาทิเสส]
       ก็ในบทว่า  สงฺฆาทิเสโส  เป็นอาทินี้   มีเนื้อความดังต่อไปนี้:-
       การออกจากอาบัตินั้นใด ของภิกษุผู้ต้องอาบัตินี้แล้วใคร่จะออก  สงฆ์ 
อันภิกษุนั้นพึงปรารถนา   ในกรรมเบื้องต้นแห่งการออกจากอาบัตินั้น     เพื่อ
ประโยชน์แก่การให้ปริวาส    และในกรรมที่เหลือจากกรรมเบื้องต้น      คือใน
ท่ามกลาง  เพื่อประโยชน์แก่การให้มานัต หรือเพื่อประโยชน์แก่การให้มานัตต์
กับมูลายปฏิกัสสนะ และในที่สุดเพื่อประโยชน์แก่อัพภาน. ก็ในกรรมทั้งหลาย
มีปริวาสกรรมเป็นต้นนี้   กรรมแม้อย่างหนึ่ง  เว้นสงฆ์เสีย  อันใคร ๆ ไม่อาจ
ทำได้  ฉะนี้แล.
           สงฆ์อันภิกษุพึงปรารถนาในกรรมเบื้องต้น   และในกรรมที่เหลือแห่ง
กองอาบัตินั้น  เหตุนั้น    กองอาบัตินั้น  ชื่อว่าสังฆาทิเสส.
                                     [วิเคราะห์อนิยต]
           เนื้อความแห่งคาถาที่  ๓ พึงทราบดังนี้:-
           สองบทว่า อนิยโต  น  นิยโต  มีความว่า  เพราะไม่แน่  กองอาบัตินี้
จึงได้ชื่อว่าอนิยต.
           คำที่ว่า  ไม่แน่  นี้มีอะไรเป็นเหตุ  ?   เพราะสิกขาบทนี้    ปรับอาบัติ
ไม่จำกัดส่วนอันเดียว. อธิบายว่า สิกขาบทนี้ ปรับอาบัติโดยส่วนอันเดียวไม่ได้.
           สิกขาบทนี้  ปรับอาบัติโดยส่วนเดียวไม่ได้อย่างไร  ?   อย่างนี้
           บรรดาฐานะ ๓  ฐานะอันใดอันหนึ่ง  อันพระวินัยธรพึงปรับ.
           จริงอยู่  ท่านกล่าวไว้ในอนิยตสิกขาบทนั้นว่าภิกษุนั้น อันพระวินัยธร
พึงปรับด้วยธรรม  ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง. เพราะเหตุนั้น กองอาบัตินั้น     ท่าน
จึงกล่าวว่า  อนิยต  คือ   กล่าวว่า  ไม่แน่.
           เหมือนอย่างว่า   บรรดาฐานะ ๓ ฐานะอันใดอันหนึ่ง   ท่านกล่าวใน
กองอาบัตินั้น  กองอาบัติ  ชื่อว่าอนิยต  ฉันใด,  บรรดาฐานะ  ๒ ฐานะอันใด
อันหนึ่ง ท่านกล่าวในกองอาบัติใด กองอาบัติแม้นั้น  ก็ชื่อว่าอนิยตเหมือนกัน
ฉันนั้น.
                                     [วิเคราะห์ถุลลัจจัย]
           เนื้อความแห่งคาถาที่ ๔  พึงทราบดังนี้:-
           บาทคาถาว่า  อจฺจโย  เตน  สโม   นตฺถิ  มีความว่า  บรรดาโทษ
ที่เป็นเทสนาคามี  โทษที่ล่ำ เสมอด้วยถุลลัจจัยนั้นไม่มี  ด้วยเหตุนั้น   ความ
ละเมิดนั้น   ท่านจึงเรียกอย่างนั้น.  อธิบายว่า  ความละเมิดนั้น   ท่านเรียกว่า
ถุลลัจจัย  เพราะเป็นโทษล่ำ.
                                    [วิเคราะห์นิสสัคคีย์]
           เนื้อความแห่งคาถาที่  ๕  พึงทราบดังนี้:-
           หลายบทว่า  นิสฺสชฺชิตฺวา  ย   เทเสติ  เตเนต    มีความว่า  ความ
ละเมิดนั้น    ท่านเรียกนิสสัคคิยะ   เพราะต้องสละแล้วจึงแสดง.
                                    [วิเคราะห์ปาจิตตีย์]
           เนื้อความคาถาที่  ๖ พึงทราบดังนี้:-
           บาทคาถาว่า   ปาเตติ  กุสล  ธมฺม   มีความว่า   ความละเมิดนั้น
ยังกุศลจิตกล่าวคือกุศลธรรม  ของบุคคลผู้แกล้งต้องให้ตกไป  เพราะเหตุนั้น
ความละเมิดนั้น  ชื่อว่ายังจิตให้ตกไป   เพราะฉะนั้น  ความละเมิดนั้น  ชื่อว่า
ปาจิตติยะ.             
           ก็ปาจิตติยะ ย่อมยังจิตให้ตกไป, ปาจิตติยะนั้น  ย่อมผิดต่ออริยมรรค
และย่อมเป็นเหตุแห่งความลุ่มหลงแห่งจิต.     เพราะเหตุนั้น    คำว่า   ผิดต่อ
อริยมรรค   และคำว่า  เป็นเหตุแห่งความลุ่มหลงแห่งจิต   ท่านจึงกล่าวแล้ว.
                                   [วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ]
           ในปาฏิเทสนียคาถาทั้งหลาย  คำว่า   ภิกษุเป็นผู้ไม่มีญาติ  เป็นอาทิ
ท่านกล่าวแล้ว  เพื่อแสดงความกระทำความเป็นธรรมที่น่าติ  ซึ่งพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า    แน่ะเธอ    ฉันต้องธรรมที่น่าติ.    ก็อาบัตินั้น  ท่านเรียกว่า
ปาฏิเทสนียะ   เพราะจะต้องแสดงคืน.
                                       [วิเคราะห์ทุกกฏ]
           เนื้อความแห่งทุกกฏคาถา   พึงทราบดังนี้:-
           คำว่า  ผิด  แย้ง   พลาด   นี้ทั้งหมด  เป็นคำยักเรียก   ทุกกฏที่กล่าว
ไว้ในคำนี้ว่า  ยญฺจ ทุกฺกฏ.
           จริงอยู่   กรรมใด   อันบุคคลทำไม่ดี  หรือทำผิดรูป  กรรมนั้น ชื่อว่า
ทุกกฏ. ก็ทุกกฏนั้นแล  ชื่อว่าผิด  เพราะเหตุที่ไม่ทำตามประการที่พระศาสดา
ตรัส   ชื่อว่าแย้ง   เพราะเป็นไปแย้งกุศล  ชื่อว่าพลาด  เพราะไม่ย่างขึ้นสู่ข้อ
ปฏิบัติในอริยมรรค.
           ส่วนคำว่า  ย   มนุสฺโส  กเร  นี้  แสดงข้อควรเปรียบในทุกกฏนี้.
           เนื้อความแห่งคำนั้นว่า  มนุษย์ในโลก  ทำบาปใด   ในที่แจ้งหรือใน
ที่ลับ, บัณฑิตทั้งหลายประกาศบาปนั้นว่า ทุกกฏ  ฉันใด, ทุกกฏแม้นี้ ก็ฉันนั้น
ชื่อว่าบาป  เพราะเป็นกรรมลามก   อันพระพุทธเจ้าทรงเกลียด  เพราะเหตุนั้น
พึงทราบว่า  ทุกกฏ.
                                     [วิเคราะห์ทุพภาสิต]       
           เนื้อความแห่งทุพภาสิตคาถา  พึงทราบดังนี้:-
           บาทคาถาว่า  ทุพภาสิต  ทุราภฏฺมีความว่า  บทใดอันภิกษุกล่าว
คือพูด  เจรจาชั่ว   เหตุนั้น บทนั้น  ชื่อว่าอันภิกษุกล่าวชั่ว:  อธิบายว่า บทใด
อันภิกษุกล่าวชั่ว  บทนั้น  เป็นทุพภาสิต.
           มีคำที่จะพึงกล่าวให้ยิ่งน้อยหนึ่ง; ความว่า  อนึ่ง  บทใด  เศร้าหมอง
บทนั้น    เป็นบทเศร้าหมอง  เพราะเหตุใด;   อนึ่ง วิญญูชนทั้งหลาย   ย่อมติ
เพราะเหตุใด;   อธิบายว่า  ท่านผู้รู้แจ้งทั้งหลาย   ติบทนั้น   เพราะเหตุใด.
            บาทคาถาว่า  เตเนต  อิติ   วุจฺจติ  มีความว่า  เพราะความเป็นบท
เศร้าหมอง    และแม้เพราะความติแห่งวิญญูชนนั้น  บทนั้น    ท่านย่อมกล่าว
อย่างนั้น   คือ  บทนั้น  ท่านกล่าวว่า  ทุพฺภาสิต.
                                     [วิเคราะห์เสขิยะ]
            เนื้อความแห่งเสขิยคาถา   พึงทราบดังนี้:-
            พระอุบาลีเถระ  แสดงความที่พระเสขะมี  โดยนัยมีคำว่า อาทิ  เจต
จรณญฺจ  เป็นต้น   เพราะเหตุนั้น  ในบทว่า  เสขิย  นี้  จึงมีเนื้อความสังเขป
ดังนี้ว่า   นี้เป็นข้อควรศึกษาของพระเสขะ.

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2015, 08:28:57 pm »

พระวินัยปิฎก
เล่ม ๘
ปริวาร

-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=08&A=0&Z=149-

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มหาวิภังค์ ๑๖ มหาวาร
ปาราชิกกัณฑ์
กัตถปัญญัติวารที่ ๑
             [๑] พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน? ทรงปรารภใคร? เพราะเรื่องอะไร? ในปาราชิก
สิกขาบทที่ ๑ นั้น มีบัญญัติ อนุบัญญัติ อนุปันนบัญญัติ สัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ
สาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ เอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ หรือ? บรรดาปาติโมกขุทเทศ ๕
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น จัดเข้าในอุเทศไหน? นับเนื่องในอุเทศไหน? มาสู่อุเทศโดยอุเทศ
ที่เท่าไร? บรรดาวิบัติ ๔ เป็นวิบัติอย่างไหน? บรรดาอาบัติ ๗ กอง เป็นอาบัติกองไหน?
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่าง เกิดขึ้นด้วยสมุฏฐานเท่าไร? บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอธิกรณ์
อย่างไหน? บรรดาสมถะ ๗ ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไร? ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไร
เป็นวินัย? ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นอภิวินัย? ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น
อะไรเป็นปาติโมกข์? ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นอธิปาติโมกข์? อะไรเป็นวิบัติ?
อะไรเป็นสมบัติ? อะไรเป็นข้อปฏิบัติ? พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
เพราะทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร? พวกไหนศึกษา? พวกไหนมีสิกขาอันศึกษาแล้ว?
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น ตั้งอยู่ในใคร? พวกไหนย่อมทรงไว้? เป็นถ้อยคำของใคร? ใคร
นำมา
คำถามและคำตอบในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
             [๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์
นั้น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน?
             ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี.
             ถ. ทรงปรารภใคร?
             ต. ทรงปรารภพระสุทินน์ กลันทบุตร.
             ถ. เพราะเรื่องอะไร?
             ต. เพราะเรื่องที่พระสุทินน์ กลันทบุตร เสพเมถุนธรรมในปุราณทุติยิกา.
             ถ. ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีบัญญัติ อนุบัญญัติ อนุปันนบัญญัติ หรือ?
             ต. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๒, อนุปันนบัญญัติ ไม่มี ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น.
             ถ. มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ หรือ?
             ต. มีแต่สัพพัตถบัญญัติ.
             ถ. มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ หรือ?
             ต. มีแต่สาธารณบัญญัติ.
             ถ. มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ หรือ?
             ต. มีแต่อุภโตบัญญัติ.
             ถ. บรรดาปาติโมกขุทเทศ ๕ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น จักเข้าในอุเทศไหน? นับ
เนื่องในอุเทศไหน?
             ต. จัดเข้าในนิทาน นับเนื่องในนิทาน.
             ถ. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่เท่าไร?
             ต. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่ ๒.
             ถ. บรรดาวิบัติ ๔ เป็นวิบัติอย่างไหน?
             ต. เป็นศีลวิบัติ.
             ถ. บรรดาอาบัติ ๗ กอง เป็นอาบัติกองไหน?
             ต. เป็นอาบัติกองปาราชิก.
             ถ. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่าง ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น เกิดด้วยสมุฏฐาน
เท่าไร?
             ต. เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา.
             ถ. บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอธิกรณ์อะไร?
             ต. เป็นอาปัตตาธิกรณ์.
             ถ. บรรดาสมถะ ๗ ระงับด้วยสมถะเท่าไร?
             ต. ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑.
             ถ. ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นวินัย? ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น
อะไรเป็นอภิวินัย?
             ต. พระบัญญัติเป็นวินัย การจำแนกเป็นอภิวินัย.
             ถ. ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นปาติโมกข์? ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น
อะไรเป็นอธิปาติโมกข์?
             ต. พระบัญญัติเป็นปาติโมกข์ การจำแนกเป็นอธิปาติโมกข์
             ถ. อะไรเป็นวิบัติ?
             ต. ความไม่สังวรเป็นวิบัติ.
             ถ. อะไรเป็นสมบัติ?
             ต. ความสังวรเป็นสมบัติ.
             ถ. อะไรเป็นข้อปฏิบัติ?
             ต. ข้อที่ภิกษุสมาทานอาปาณโกฏิกศีลตลอดชีวิตว่า จักไม่ทำกรรมเห็นปานนี้ แล้ว
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เป็นข้อปฏิบัติ.
             ถ. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ เพราะทรงอาศัยอำนาจประโยชน์
เท่าไร?
             ต. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ เพราะทรงอาศัยอำนาจประโยชน์
๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้
แก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อ
ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่ออนุ-
*เคราะห์พระวินัย ๑.
             ถ. พวกไหนศึกษา?
             ต. พระเสขะและกัลยาณปุชนศึกษา.
             ถ. พวกไหนมีสิกขาอันศึกษาแล้ว?
             ต. พระอรหันต์มีสิกขาอันศึกษาแล้ว.
             ถ. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น ตั้งอยู่ในใคร?
             ต. ตั้งอยู่ในสิกขากามบุคคล.
             ถ. พวกไหนย่อมทรงไว้?
             ต. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ย่อมเป็นไปแก่พระเถระพวกใด พระเถระพวกนั้นย่อม
ทรงไว้.
             ถ. เป็นถ้อยคำของใคร?
             ต. เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.
             ถ. ใครนำมา?
             ต. พระเถระทั้งหลายนำสืบๆ กันมา.
รายนามพระเถระผู้ทรงพระวินัย
             [๓] พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ พระสิคควะ
             รวมเป็น ๕ ทั้งพระโมคคัลลีบุตร นำพระวินัยมาในทวีปชื่อว่าชมพู อันมีสิริ.
             แต่นั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ พระมหินทะ ๑ พระ-
             อิฏฏิยะ ๑ พระอุตติยะ ๑ พระสัมพละ ๑ พระเถระชื่อภัททะผู้เป็นบัณฑิต ๑
             มาในเกาะสิงหฬนี้ แต่ชมพูทวีป พวกท่านสอนพระวินัยปิฎกในเกาะตามพ-
             ปัณณิ สอนนิกาย ๕ และปกรณ์ ๗ แล้ว. ภายหลังพระอริฏฐะผู้มีปัญญา
             พระติสสทัตตะผู้ฉลาด พระกาฬสุมนะผู้องอาจ พระเถระมีชื่อว่าทีฆะ พระ-
             ทีฆสุมนะผู้บัณฑิต ต่อมาอีก พระกาฬสุมนะ พระนาคเถระ พระพุทธรักขิตะ
             พระติสสเถระผู้มีปัญญา พระเทวเถระผู้ฉลาด ต่อมาอีก พระสุมนะผู้มีปัญญา
             และเชี่ยวชาญในพระวินัย พระจูฬนาค ผู้พหูสูต ดุจช้างซับมัน พระเถระ
             ชื่อธัมมปาลิตะ อันสาธุชนบูชาแล้วในโรหนชนบท ศิษย์ของพระธรรมปาลิตะ
             นั้น มีปัญญามาก ชื่อพระเขมะ ทรงจำพระไตรปิฎก รุ่งเรืองอยู่ในเกาะ ด้วย
             ปัญญา ดุจพระจันทร์ พระอุปติสสะผู้มีปัญญา พระปุสสเทวะผู้มหากถึก
             ต่อมาอีก พระสุมนะผู้มีปัญญา พระเถระชื่อปุปผะ ผู้พหูสูต พระมหาสีวะ
             ผู้มหากถึก ฉลาดในพระปิฎกทั้งปวง ต่อมาอีก พระอุบาลี ผู้มีปัญญา
             เชี่ยวชาญในพระวินัย พระมหานาค ผู้มีปัญญามาก ฉลาดในวงศ์พระสัทธรรม
             ต่อมาอีก พระอภยะ ผู้มีปัญญา ฉลาดในพระปิฎกทั้งปวง พระติสสเถระ
             ผู้มีปัญญา เชี่ยวชาญในพระวินัย ศิษย์ของพระติสสเถระนั้น มีปัญญามาก
             ชื่อปุสสะ เป็นพหูสูต ตามรักษาพระศาสนา อยู่ในชมพูทวีป พระจูฬาภยะ
             ผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย พระติสสเถระ ผู้มีปัญญา ฉลาดในวงศ์
             พระสัทธรรม พระจูฬาเทวะ ผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย และพระ-
             สิวเถระผู้มีปัญญา ฉลาดในพระวินัยทั้งมวล พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามาก
             เหล่านี้ รู้พระวินัย ฉลาดในมรรคา ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตัม
             พปัณณิ.
คำถามและคำตอบในปาราชิกสิกขาบทที่ ๒.
             [๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์
นั้น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ณ ที่ไหน?
             ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์.
             ถ. ทรงปรารภใคร?
             ต. ทรงปรารภพระธนิยะ กุมภการบุตร.
             ถ. เพราะเรื่องอะไร?
             ต. เพราะเรื่องที่พระธนิยะ กุมภการบุตร ถือเอาไม้ของหลวง ซึ่งไม่ได้รับพระราชทาน.
             มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ อนุปันนปัญญัติไม่มี. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา, บางทีเกิดแต่วาจากับ
จิต มิใช่กาย, บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ...
คำถามและคำตอบในปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
             [๕] ถามว่า ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ทรงบัญญัติ ณ ที่ไหน?
             ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี.
             ถ. ทรงปรารภใคร?
             ต. ทรงปรารภภิกษุมากรูปด้วยกัน.
             ถ. เพราะเรื่องอะไร?
             ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุมากรูปด้วยกัน ปลงชีวิตกันและกัน.
             มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ อนุปันนบัญญัติไม่มี. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา, บางทีเกิดแต่วาจากับจิต
มิใช่กาย, บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ...
คำถามและคำตอบในปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
             [๖] ถามว่า ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ทรงบัญญัติ ณ ที่ไหน?
             ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี.
             ถ. ทรงปรารภใคร?
             ต. ทรงปรารภภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา.
             ถ. เพราะเรื่องอะไร?
             ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา กล่าวสรรเสริญอุตตริมนุสสธรรม ของ
กันและกัน แก่พวกคฤหัสถ์.
             มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ อนุปันนบัญญัติไม่มี. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต ไม่ใช่วาจา, บางทีเกิดแต่วาจากับจิต
มิใช่กาย, บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ...
ปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ
หัวข้อประจำกัณฑ์
             [๗] ปาราชิก ๔ คือ เมถุนธรรม ๑ อทินนาทาน ๑ มนุสสวิคคหะ ๑ อุตตริ-
*มนุสสธรรม ๑ เป็นวัตถุแห่งมูลเฉท หาความสงสัยมิได้ ดังนี้แล.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑ - ๑๔๙. หน้าที่ ๑ - ๖. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=8&A=0&Z=149&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :- [1-7] http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=8&A=1&Z=7              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๘ http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_8
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2015, 08:26:43 pm »

 วันพุธ ที่ 3 มีนาคม 2553
อาบัติปาราชิก - โทษประหารของพระภิกษุ
Posted by ไม้เจีย , ผู้อ่าน : 19666 , 12:08:24 น. 
หมวด : ศาสนา


-http://www.oknation.net/blog/maijea/2010/03/03/entry-1-

อาบัติ คืออะไร

อาบัติ คือกิริยาที่ล่วงละเมิดสิกขาบท และต้องได้รับโทษต่อตน กล่าวโดยชื่ออาบัติมี ๗ อย่าง คือ ๑ ปาราชิก ๒ สังฆาทิเสส ๓ ถุลลัจจัย ๔ ปาจิตตีย์ ๕ ปาฏิเทสนียะ ๖ ทุกกฏ ๗ ทุพภาสิต กล่าวโดยโทษมี ๓ สถานคือ

๑.อาบัติอย่างหนัก ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้นขาดจากความเป็นภิกษุ อันหมายถึงอาบัติปาราชิก

๒.อาบัติอย่างกลาง ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้นต้องอยู่กรรม โดยประพฤติวัตรอย่างหนึ่งเพื่อทรมานตน อันหมายถึงอาบัติสังฆาทิเสส

๓.อาบัติอย่างเบา ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้นต้องประจานตนต่อหน้าภิกษุด้วยกัน แล้วจึงจะพ้นโทษนั้นได้ อันได้แก่อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาสิต โดยอาบัติ

ปาราชิก โทษประหารชีวิต ของพระภิกษุ

ภิกษุล่วงอาบัติปาราชิกเพียงข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ย่อมไม่สามารถอยู่กับภิกษุทั้งหลายเหมือนก่อนได้อีก เป็นปาราชิกหาสังวาสมิได้ แม้จะอุปสมบทอีก ก็ไม่เป็นภิกษุโดยชอบด้วยพระวินัยตลอดชาติ อาบัติในสิกขาบทนี้ จึงเป็น อเตกิจฉา คือแก้ไขไม่ได้  เป็น อนวเสสา คือหาส่วนเหลือมิได้ เป็น มูลเฉท คือตัดรากเหง้า ภิกษุจะล่วงมิได้เลยเด็ดขาด

 

สิกขาบทที่ ๑ ภิกษุใด ถึงพร้อมซึ่งสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้งหลาย แล้วไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้

สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ เป็นส่วนแห่งโจรกรรม จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้

สิกขาบทที่ ๓ ภิกษุใด จงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตราอันจะปลิดชีวิต ให้แก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณแห่งความตาย หรือชักชวนเพื่ออันตาย โดยหลายนัย แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้

สิกขาบทที่ ๔ ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ [คือไม่รู้จริง] กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้ามาในตน อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม [คือเชื่อก็ตาม ไม่เชื่อก็ตาม ถูกซักถามก็ตาม ไม่ถูกซักถามก็ตาม] เป็นอันต้องอาบัติแล้ว แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ

Download รายละเอียดฉบับเต็ม พร้อมต้นบัญญัติ (.pdf)
โหลดได้ตามลิงค์ด้านล่างครับ

-http://www.oknation.net/blog/maijea/2010/03/03/entry-1-
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2015, 08:24:20 pm »

พระวินัยปิฎก เล่ม ๘ ปริวาร - คาถาสังคณิกะ - วิเคราะห์ปาราชิก เป็นต้น - วิเคราะห์ปาราชิก

-http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%8E%E0%B8%81_%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1_%E0%B9%98_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3_-_%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B0_-_%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81_%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99_-_%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81-


อนึ่ง การอวดคุณวิเศษนี้ เมื่อภิกษุกล่าวอวดอ้างไปแล้ว ผู้อื่นจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม ไม่ถือเป็นสำคัญ เมื่อมีเจตนาที่จะอวด และผู้ฟังได้ฟังรู้เรื่อง ก็ถือว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว แต่ถ้าหากพูดแล้วผู้ฟัง ฟังไม่เข้าใจ หรือไม่ทราบความหมายของคำพูดนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติถุลลัจจัย และถ้าภิกษุรูปนั้นพูดบอกคุณวิเศษซึ่งไม่มีในตนของภิกษุรูปอื่นให้แก่บุคคลอื่น ถ้าเขาเข้าใจคำพูดของภิกษุนั้นว่าหมายถึงภิกษุใด ภิกษุนั้นก็ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้พูดอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริงและต้องอาบัตินั้น จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ ๓ อย่างนี้ คือ
๑. เบื้องต้นเธอรู้ว่าตนเองจักกล่าวเท็จ
๒. กำลังกล่าวเท็จอยู่ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓. ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่าตนกล่าวเท็จแล้ว
ภิกษุที่ประกอบไปด้วยลักษณะเหล่านี้ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก ตามสิกขาบทนี้ มี ๕ อย่าง คือ ภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ ๑ ภิกษุไม่ประสงค์จะอวด ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ๑ ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนากล้า ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑
ตัวอย่างจตุตถปาราชิกสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงวินิจฉัยไว้ในวินีตวัตถุมีทั้งหมด ๖๐ เรื่อง เช่น เรื่อง ภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ มีภิกษุรูปหนึ่งประกาศว่าได้บรรลุอรหัตตผล เพราะสำคัญว่าได้บรรลุ ต่อมาเกิดความกังวลใจว่า ต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ ทรงวินิจฉัยว่า เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะสำคัญว่าได้บรรลุ และตัวอย่างอีกเรื่อง คือ เรื่อง พยากรณ์มรรคผล ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง แม้ภิกษุรูปนั้นก็กล่าวอวดว่า กระผมก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้น ต่อมาเกิดความกังวลใจว่า ต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ ทรงวินิจฉัยว่า เธอต้องอาบัติปาราชิก
๒) สารัตถะแห่งจตุตตถปาราชิก บทบัญญัติในปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ นี้ ได้แสดงถึงเจตนารมณ์ในการที่จะมุ่งประโยชน์เพื่อสังคมคือ การที่ทรงห้ามมิให้พระสงฆ์อวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริง อุตริมนุสสธรรมก็คือคุณวิเศษต่าง ๆ เช่น ฌาน สมาบัติ มรรคผล เป็นต้นที่ไม่มีจริง คือ การหลอกคนอื่น ถือว่าเป็นอาบัติร้ายแรงที่สุดคือปาราชิก ขาดจากความเป็นพระทันที แต่ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นการหลอกลวง คือมีคุณวิเศษนั้นจริง ๆ แต่ถ้าพูดเพื่อต้องการอวดกับอนุปสัมบัน คือ บุคคลที่ไม่ได้เป็นพระภิกษุหรือภิกษุณีด้วยกันแล้ว ท่านก็ปรับโทษ แต่เบาลงมาได้แก่อาบัติปาจิตตีย์
เหตุผลที่ทรงห้ามนั้นดูได้จากเหตุเกิดขึ้นก่อนที่จะทรงบัญญัติสิกขาบทเหล่านี้ ซึ่งการอวดเพื่อให้คนอื่นเห็นว่าตนเองมีคุณวิเศษเหนือกว่าคนอื่น เพื่อต้องการลาภ สักการะนั้น ถือว่าเป็นการไม่สมควร นอกจากที่ทรงห้ามเพื่อมิให้พระสงฆ์ต้องการลาภสักการะแล้ว แต่พิจารณาลงไปถึงเจตนารมณ์ที่ลึกซึ้งได้ว่า การที่ทรงห้ามนั้นก็เพื่อป้องกันมิให้ประชาชนไปตื่นเต้นหลงใหลกับสิ่งที่คิดว่าสูงส่งเกินวิสัยของตน แล้วหันไปพึ่งพิงหรือฝากความหวังไว้กับบุคคลอื่น สิ่งอื่นจนละเลยหรือทอดทิ้งความเพียรพยายามที่จะทำตามเหตุผลที่เป็นวิสัยของตน หรือเป็นคนที่หวังพึ่งบุคคลอื่นจนไม่คิดที่จะสร้างตนเองให้เป็นที่พึ่งของตน เป็นต้น
ซึ่งเจตนารมณ์ที่คำนึงถึงสงฆ์ ตามหลักการของพระพุทธศาสนานั้น การดำรงอยู่แห่งธรรมวินัยเพื่อประโยชน์สุขของชาวโลกนั้น ขึ้นอยู่กับสงฆ์เป็นการส่วนรวม มิได้ขึ้นอยู่กับสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงฝากพระศาสนาไว้กับคณะสงฆ์โดยส่วนรวม มิได้ฝากไว้กับรูปใดรูปหนึ่ง และทรงมุ่งหมายให้ประชาชนทำนุบำรุงพระสงฆ์ในฐานะที่พระสงฆ์เป็นสงฆ์ หรือเป็นภิกษุรูปหนึ่งที่เป็นตัวแทนของสงฆ์ การอวดคุณวิเศษของพระภิกษุ ย่อมทำให้ประชาชนรวมจุดความสนใจไปที่ภิกษุนั้น และหันไปทุ่มเทความอุปถัมภ์บำรุงให้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการเด่นดังเฉพาะรูป เฉพาะบุคคล ซึ่งไม่ส่งผลต่อคณะสงฆ์โดยส่วนรวมเลย
แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าความดีงามความสามารถของภิกษุรูปนั้น แสดงออกในฐานะบุคคลผู้มีชื่อนี้โดยเฉพาะ เป็นพวกกลุ่มนั้นกลุ่มนี้โดยเฉพาะ ภิกษุนั้นจะเจริญเติบโตขึ้น แต่เป็นการเจริญเติบโตส่วนตัวหรือเฉพาะกลุ่มของตัวที่บั่นรอนให้สงฆ์ส่วนใหญ่อ่อนแอลง เพราะจะเกิดการเปรียบเทียบว่า พระสงฆ์รูปนั้นรูปนี้มีความสามารถพิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ จึงทุ่มเทการอุปถัมภ์บำรุงให้เฉพาะบุคคล ในขณะที่สงฆ์ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ในที่สุดคณะสงฆ์ส่วนใหญ่ก็อยู่ไม่ได้ มีตัวอย่างพระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล เมื่อความดีเด่นและความสามารถพิเศษของท่านปรากฏเป็นที่รู้ขึ้น และในเมื่อความสนใจต่อตัวท่านเปลี่ยนจากความสนใจในฐานะภิกษุรูปหนึ่ง กลายไปเป็นความผูกพันในตัวบุคคล พร้อมกับมีลาภผลติดตามมา ตัวท่านกลายเป็นที่รวมความสนใจแทนสงฆ์ หรือเป็นเหตุให้ความสนใจต่อภิกษุส่วนมากและความสำคัญของสงฆ์ลดลง ท่านก็หลีกออกไปเสียจากที่นั้น
ผลเสียของการอวดอุตริมนุสสธรรมที่มีจริง
การบอกอุตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่ชาวบ้าน ก็มีผลเสียหลายประการ เช่น
๑) ประชาชนเกิดความตื่นเต้น ระดมความสนใจมาที่บุคคลคนเดียว บางคนไม่รู้ไม่เข้าใจก็จะเกิดดูถูกดูแคลนสงฆ์กลุ่มอื่น ผิดบ้าง ถูกบ้าง ส่งผลเสียต่อคณะสงฆ์และพระศาสนาโดยส่วนรวม
๒) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้าใจผิดว่าบรรลุแล้วอวดได้ ที่สำคัญที่สุดคือผู้ที่มีไม่มีความละอายก็จะถือโอกาสอวดด้วย ประชาชนก็ไม่รู้ว่าอันไหนแท้ อันไหนเทียม เกิดความสับสนปนเปกันวุ่นวาย
๓) ชาวบ้านมีความเลื่อมใสศรัทธาต่างๆ กันออกไป และผู้ที่บรรลุธรรมวิเศษก็มีบุคลิกลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป บางองค์บรรลุธรรมแล้ว สอนไม่ได้ เหมือนกับพระปัจเจกพุทธเจ้าก็มี หรือบางองค์ไม่ได้เป็นผู้บรรลุธรรม แต่พูดเก่ง สามารถเล่าได้เหมือนกับว่าตนเองได้บรรลุแล้ว หรือบางองค์บุคลิกลักษณะไม่ค่อยน่าเลื่อมใส แต่กลับบรรลุธรรมก็มี เหมือนอย่างพระลกุณฏกภัททิยะ ผู้มีรูปร่างเตี้ยค่อม จนถูกพระหนุ่มเณรน้อยล้อเลียนอยู่เสมอ พระพุทธเจ้าจึงต้องทรงช่วยอนุเคราะห์ ในกรณีอย่างนี้ เมื่อท่านบรรลุจริง แต่เมื่ออวดแล้วกลับจะทำให้คนไม่เชื่อ หรือถ้าเชื่อเข้าก็จะทำให้คลายความเลื่อมใสในพระศาสนาลงไป ส่วนคนที่ไม่ได้จริง แต่พูดคล่อง หลอกเก่ง ลักษณะดี กลับจะนำฝูงชนไปสู่ทางผิดได้เป็นอันมาก
๔) เมื่อท่านที่บรรลุจริง สอนเก่ง อวดแล้วสอนบ้าง ท่านที่บรรลุจริง สอนไม่เป็น แล้วพูดออกมาบ้าง ท่านที่ไม่รู้จริงสำคัญตนผิดคิดว่าบรรลุแล้วเที่ยวบอกเล่าไว้บ้าง ท่านที่ไม่บรรลุแต่ชอบพูดหลอกลวงเขาไปบ้าง ต่อไปหลักพระศาสนาก็จะสับสนปนเปฟั่นเฟือน ไม่รู้ว่าอันใดแท้อันใดเทียม
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า การอวดอุตริมนุสสธรรมนั้น ก่อให้เกิดกับผลเสียต่อส่วนรวม คือ คณะสงฆ์และพระศาสนาเป็นอันมาก เพราะฉะนั้นพระองค์จึงทรงห้ามอวด เพราะการที่จะยืนยันถึงคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นไม่จำเป็นต้องอวดอุตริมนุสสธรรม และผู้ที่บรรลุอริยผลแล้วนั้น ท่านจะไม่อวด การที่จะยืนยันถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าในฐานะเป็นพุทธสาวก ก็คือ การมุ่งปฏิบัติตามคำสอนขององค์พระบรมศาสดาอย่างซื่อตรง แล้วจะได้ประสบผลได้ด้วยตนเอง และเมื่อจะถ่ายทอดสั่งสอนธรรม ก็ให้ถ่ายทอดสั่งสอนให้ตรงกับคำสอนของพระศาสดา หรือสอนตัวพระพุทธศาสนาแท้ๆ จึงจะทำให้การดำรงเอกภาพแห่งคำสอนและเอกภาพแห่งพระพุทธศาสนาไว้ได้

๓.๕ สรุปปาราชิกกัณฑ์
พระพุทธเจ้าทรงประชุมสงฆ์บัญญัติปาราชิกทั้ง ๔ สิกขาบทนี้ โดยปรารภบุคคล การกระทำ สถานที่ และกาลเวลาที่แตกต่างกันออกไป คือ
๑) สิกขาบทที่หนึ่ง ว่าด้วยการเสพเมถุน ต้นบัญญัติ คือ พระสุทินกลันทบุตร เหตุเกิดที่ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี แคว้นวัชชี อนุบัญญัติอีก ๒ เรื่อง คือ เรื่องที่ ๑ ว่าด้วยการเสพเมถุนกับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย เรื่องที่ ๒ ว่าด้วยการเสพเมถุนทั้งที่ยังดำรงเพศเป็นภิกษุ โดยยังไม่ได้ลาสิกขา อนุบัญญัติทั้ง ๒ สิกขาบทนี้ก็เกิดขึ้นที่เขตกรุงเวสาลี แคว้นวัชชีเหมือนกัน
๒) สิกขาบทที่สอง ว่าด้วยการลักทรัพย์ ต้นบัญญัติ คือ พระธนิยะ เหตุเกิดขึ้นที่กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ อนุบัญญัติ ปรารภพระภิกษุฉัพพัคคีย์ คือ พระเมตติยะ กับ พระภุมมชกะ ลักห่อผ้าของช่างย้อม เหตุเกิดขึ้นที่กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธเหมือนกัน
๓) สิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการฆ่ามนุษย์ ทรงปรารภภิกษุที่เจริญอสุภกรรมฐานจนเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกาย แล้วใช้กันและกันให้ฆ่าตัวตายบ้าง จ้างวานให้คนอื่นฆ่าบ้าง ส่วนอนุบัญญัติ ทรงปรารภภิกษุฉัพพัคคีย์ กล่าวพรรณนาคุณแห่งความตายให้อุบาสกคนหนึ่งที่กำลังป่วยฟัง จนทำให้เขาเห็นว่าความตายเป็นสิ่งทีดี และกินแต่ของแสลง ในที่สุดก็ตาย ทั้งมูลบัญญัติ และ อนุบัญญัติ เกิดเหตุที่ กรุงเวสาลี แคว้นวัชชีเหมือนกัน
๔) สิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริง ต้นบัญญัติคือ พวกภิกษุที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา เขตกรุงเวสาลี แคว้นวัชชี อนุบัญญัติมีเรื่องเดียว ทรงปรารภภิกษุที่ยังไม่ได้บรรลุมรรคผลแต่เข้าใจผิดคิดว่าบรรลุแล้วพูดอวด เหตุเกิดที่ไหนไม่กระจ่างชัด
ข้อที่น่าสังเกตในการบัญญัติปาราชิกทั้ง ๔ สิกขาบท คือ จะเห็นได้ว่า ผู้ที่เป็นต้นบัญญัติในสิกขาบทที่ ๑ สิกขาบทที่ ๓ และ ๔ ล้วนแล้วแต่เป็นภิกษุที่กรุงเวสาลี แคว้นวัชชี ทั้งสิ้น จะมีแต่สิกขาบทที่ ๒ เท่านั้น ที่บัญญัติขึ้นเพราะปรารภภิกษุชาวกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
เขียนเป็นแผนผังได้ดังนี้
ห้ามเสพเมถุน - เพื่อชีวิตพรหมจรรย์ของภิกษุโดยตรง
ห้ามลักทรัพย์ - เพื่อความสันติสุขของสังคมสงฆ์และสังคมโดยทั่วไป
ห้ามฆ่ามนุษย์ -
ห้ามอวดอุตริมนุสสธรรม - เพื่อประโยชน์แก่คณะสงฆ์โดยส่วนรวม

แบบฝึกปฏิบัติประจำ

ปาราชิกกัณฑ์

คำชี้แจง เมื่อศึกษาเนื้อหาในบทเรียนจบแล้ว ให้ตอบคำถามต่อไปนี้ ๑. ปาราชิก คืออะไร  ? หากภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว มีวิธีแก้ไขได้อย่างไร ?
๒. ปฐมปาราชิก มีใจความย่อว่าอย่างไร ? ใครเป็นต้นบัญญัติในมูลบัญญัติ และ อนุบัญญัติ  ?
๓. จงอธิบายความหมายของศัพท์ต่อไปนี้ คือ สังวาส สิกขา สาชีพ บัณเฑาะก์ วินีตวัตถุ วิภังค์ ?
๔. ภิกษุเสพเมถุนต้องอาบัติปาราชิก แต่หากภิกษุถูกข่มขืนเป็นอาบัติอะไรหรือไม่ ? เพราะเหตุใด?
๕. อนาบัติคืออะไร ? อนาบัติในปฐมปาราชิกมีอย่างไรบ้าง ?
๖. มูลบัญญัติ , อนุบัญญัติ และ บทภาชนีย์ หมายถึงอะไร ?
๗. ทุติยปาราชิก มีใจความย่อว่าอย่างไร ใครเป็นต้นบัญญัติ ?
๘. คำว่า ไถยจิต หมายถึงอะไร  ?
๙. คำว่า “ภิกษุมีไถยจิตจับต้องของนั้น ต้องอาบัติ.............. ? ทำให้ของนั้นเคลื่อนไหวต้องอาบัติ.......... ? ทำให้ของนั้นเคลื่อนจากที่ต้องอาบัติ ............? ช่องว่างที่เว้นไว้ ควรเติมข้อความว่าอย่างไร ?
๑๐. อาณัตติกประโยค และ สาหัตถิกะ คืออะไร อธิบายมาพอเข้าใจ ?
๑๑. อาการที่จะต้องอาบัติในทุติยปาราชิก ๕ ประการ มีอะไรบ้าง  ?
๑๒. อวหาร คืออะไร  ? อาการแห่งอวหาร ๕ มีอะไรบ้าง ?
๑๓. วิสาสะคืออะไร  ? องค์แห่งวิสาสะ มีอะไรบ้าง ?
๑๔. จงอธิบายความหมายของศัพท์ต่อไปนี้มาพอเข้าใจ คือ ๑. ภัณฑไทย ๒. กหาปณะ ?
๑๕. ใจความย่อในตติยปาราชิก ว่าอย่างไร  ? ใครเป็นต้นบัญญัติ ?
๑๖. หากมีผู้ถามว่า “พระพุทธเจ้าทรงเป็นสัพพัญญู ทรงรู้ทุกสิ่งทุกอย่างมิใช่หรือ เหตไฉนพระองค์จึงทรงแสดงอสุภกรรมฐานแก่ภิกษุเหล่านั้น พระองค์ไม่ทรงทราบหรือ ว่าเมื่อทรงแสดงอสุภกรรมฐานแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจะพากันกันฆ่าตัวตาย” นักศึกษาจะตอบว่าอย่างไร ?
๑๗. สมุฏฐานของตติยปาราชิก ได้แก่อะไรบ้าง ?
๑๘. ใจความย่อในจตุตถปาราชิกมีอย่างไร ? ใครเป็นต้นบัญญัติในสิกขาบทนี้ ?
๑๙. คำว่า “อุตตริมนุสสธรรม” หมายถึงอะไร ทำไมพระพุทธเจ้าจึงทรงห้ามอวดอุตตริมนุสสธรรม ให้นักศึกษาวิเคราะห์มาพอเข้าใจ ?
๒๐. ภิกษุอวดอุตตริมนุสธรรมที่ไม่มีจริงต้องอาบัติปาราชิก ถ้าหากอวดอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ? เพราะเหตุไร  ? จงอธิบาย พร้อมอธิบายเหตุผลมาดู ?


http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%8E%E0%B8%81_%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1_%E0%B9%98_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3_-_%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B0_-_%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81_%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99_-_%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2015, 08:23:25 pm »

พระวินัยปิฎก เล่ม ๘ ปริวาร - คาถาสังคณิกะ - วิเคราะห์ปาราชิก เป็นต้น - วิเคราะห์ปาราชิก

-http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%8E%E0%B8%81_%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1_%E0%B9%98_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3_-_%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B0_-_%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81_%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99_-_%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81-


ตัวอย่างตติยปาราชิกที่พระพุทธเจ้าทรงวินิจฉัยไว้ในวินีตวัตถุมีทั้งหมดจำนวน ๑๐๓ เรื่อง เช่น เรื่องพรรณนา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พรรณนาคุณแห่งความตายแก่ภิกษุนั้นด้วยความกรุณาหวังจะให้ไม่ต้องทรมาน เมื่อท่านมรณภาพแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราพวกตนจะต้องอาบัติปาราชิก จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงวินิจฉัยว่าพวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว และตัวอย่างเรื่องยาพิษ ที่ภิกษุรูปหนึ่งได้ให้ยาพิษแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่งฉัน โดยประสงค์ที่จะทดลองยา ไม่มีเจตนาที่จะฆ่าหรือทำลายชีวิต ต่อมาภิกษุนั้นถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่าจะต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงวินิจฉัยว่า ไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย
การฆ่ามนุษย์ให้ตายหรือการที่ภิกษุมีส่วนรู้เห็นในการทำให้เขาตายทั้งหมดนั้น ต้องปาราชิกแก่ภิกษุนั้น แต่การกระทำของภิกษุต่อไปนี้ไม่ถือว่าต้องอาบัติมีอยู่ ๗ กรณี คือ คือ ภิกษุไม่จงใจ ๑ ภิกษุไม่รู้ ๑ ภิกษุไม่ประสงค์จะให้ตาย ๑ ภิกษุ (ทำในขณะ)วิกลจริต ๑ ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ๑ ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนากล้า ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑
ในสิกขาบทนี้ มีประเด็นคำถามที่น่าสนใจว่า การฆ่าคนอื่นตายนั้นเป็นบาป และต้องอาบัติปาราชิกซึ่งเป็นอาบัติที่หนักที่สุด แต่ถ้าฆ่าตัวตายจะเป็นบาปหรือต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ ในประเด็นคำถามนี้ สิ่งแรกที่จะต้องมาวิเคราะห์ คือคำว่า “ปาณะ” ในคําว่า “ปาณาติบาต” หมายถึง “ตัวเราเอง” ด้วยหรือไม่ ? ในคัมภีร์วิมติวิโนทนีได้ชี้ชัดเอาไว้ว่า ปาณาติบาตกรรม ย่อมไม่มีแก่ผู้ที่ฆ่าตัวเองตายโดยแน่นอน เพราะขาดองค์ปาณสัญญิตาที่ว่า “สัตว์มีชีวิต ในสัตว์อื่น ๆ ที่นอกจากตน” เนื้อความจากคัมภีร์ทําให้ได้พบคําตอบที่น่าสนใจก็คือว่า “การที่ฆ่าตัวตายไม่ถือว่า “ผิดศีลข้อปาณาติบาต” เพราะไม่เข้าเกณฑ์ที่จะนํามาวินิจฉัยนั่นก็คือ “ปาณสญฺญิตา” “ปาณสญฺญิตา” หมายถึง “รู้ว่าสัตว์มีชีวิต” คําว่า “รู้” หมายถึง “ใครรู้” คําตอบก็คือ “เรารู้” รู้อะไร? รู้ว่าสิ่งที่เราเห็นหรือสัมผัสด้วยจักษุประสาทนั้น “เป็นสิ่งที่มีชีวิต” สิ่งมีชีวิตในบริบทนี้คืออะไร? คัมภีร์ระบุว่า “สัตว์อื่น ๆ ทุกชนิด ยกเว้นตัวเราเอง” ประเด็นปัญหาที่น่าสังเกตก็คือ หากจะวิเคราะห์จากบริบทนี้ก็คือว่า การบอกว่า “ปาณะ” ในคําว่า “ปาณสญฺญิตา” ไม่ได้หมายถึง “ตัวเราเอง” แล้ว คําว่า “ปาณะ” ในคําว่า “ปาณาติบาต” ก็ไม่ได้หมายถึง “ตัวเรา” เองด้วยเช่นกัน ภิกษุฆ่าตัวตายต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ หลักฐานสําหรับวินิจฉัยในเรื่องนี้ปรากฏในตติยปาราชิกก็คือ เกณฑ์ที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงปรับอาบัติแก่พระภิกษุที่ฆ่าตัวตายตามที่ จากหลักฐานตามที่ปรากฏคือว่า เมื่อพระองค์ทราบความจริง ได้ทรงตําหนิว่าการกระทํานี้ไม่สมควรแก่สมณเพศ หลังจากนั้น จึงได้ปรับอาบัติปาราชิกแก่พระภิกษุที่ฆ่ารูปอื่นตาย แต่ในขณะเดียวกัน พระองค์ก็ไม่ได้ปรับอาบัติแก่พระภิกษุที่ฆ่าตัวตายแต่ประการใด เนื่องจากภาวะของภิกษุนั้น ได้ขาดลงพร้อม ๆ กับความตาย
ประเด็นต่อมาถามว่า การฆ่าตัวตายผิดธรรมหรือไม่? ในทัศนะของพุทธศาสนาจะตอบว่า “ผิดธรรม” หรือไม่นั้น บทสรุปก็คือ ต้องถามว่า “จิตก่อนตายของเขาเป็นอย่างไร?” ถ้ามีสติอยู่ตลอดเวลา จิตไม่ได้ ขุ่นมัวกับกิเลสต่าง ๆ ก็จะพบว่า การหาทางออกด้วยวิธีนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นการผิดธรรมแต่ประการใด แต่ถ้าเมื่อใดจิตขุ่นมัว กลัดกลุ้ม เศร้าหมอง ก็ผิดธรรม ดังที่ได้กล่าวแล้วการกระทําทางกาย วาจา และใจ ในกรณีใด ๆ ก็ตาม ที่ไม่ประสานสอดคล้องกับความดีสูงสุด หรือไม่สามารถที่จะนําไปสู่เป้าหมายสูงสุดได้ การกระทํานั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นการ “ผิดธรรม” ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า “ธรรม” จะตามรักษาผู้ที่ประพฤติธรรมให้เข้าถึงความจริงสูงสุด เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์มีการกระทําที่ไม่สอดคล้องกับธรรมหรือฝืนธรรม ความเศร้าหมองทางกาย วาจา และใจก็จะเกิดขึ้น จากกรณีคําถามที่นี้ มีตอบแบ่งออกเป็น ๒ ประเด็น กล่าวคือ บางกรณีผิดธรรม และบางกรณีไม่ผิดธรรม
๑) กรณีใดที่จัดได้ว่าผิดธรรม มีกรณีศึกษาในสมัยพุทธกาลนั้น จากการศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจฆ่าตัวตายตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฏก และอรรถกถานั้น พบว่า พระภิกษุรูปหนึ่งเกิดความเบื่อหน่าย จึงขึ้นภูเขาคิชฌกูฏแล้วกระโดดหน้าผาทับช่างสานคนหนึ่งตาย ผลจากการกระทําดังกล่าว จึงเกิดความกังวลใจว่า เราอาบัติปาราชิกจะอาบัติปาราชิกหรือไม่ จึงเข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระองค์ถามว่า เธอคิดอย่างไร ภิกษุก็ตอบว่า ข้าพระองค์มิได้ประสงค์จะฆ่าเขา พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เธอไม่เป็นอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทําตนเองให้ตกล่วงไป ภิกษุใดทําตนให้ตนล่วงไป ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ
เมื่อประเมินจากกรณีศึกษาดังกล่าวนี้จะพบว่า พระพุทธเจ้าทรงปรับอาบัติพระภิกษุรูปนี้ฐานจงใจ (สจิตกะ) ที่พยายามจะฆ่าตัวตายประเด็นที่ว่า “การจงใจพยายามที่จะฆ่าตัวแต่ไม่ตาย” ของพระภิกษุรูปนี้ นอกจากจะเป็นการผิดวินัย หรือผิดศีลของพระภิกษุอันเป็นที่มาของความเศร้าหมอง หรือความขุ่นมัวของศีลแล้ว เมื่อนําเกณฑ์ที่ว่าด้วยการดํารงชีวิตอย่างมีคุณค่าตามทัศนะของพระพุทธศาสนามาประเมินแล้วจะพบว่า การฆ่าตัวตายของท่านนั้นแสดงให้เห็นว่า ท่านมิได้ใช้ปัญญาในการดําเนินชีวิต เนื่องจากมิได้ฝึกฝนพัฒนาตนเองตามกรอบที่พระพุทธเจ้าได้วางเอาไว้ จึงทําให้ท่านถูกกิเลสครอบงําจิตใจ และเมื่อเป็นเช่นนั้น การพยายามที่จะฆ่าตัวตายนั้น ยังเป็นความพยายามที่จะตัดโอกาสไม่ให้ชีวิตของตนเองได้เข้าถึงความจริงสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาด้วย
๒) กรณีใดที่จัดได้ว่าไม่ผิดธรรม? การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งแสวงหาทางออกให้กับตัวเองด้วยการฆ่าตัวตายโดย “ไม่ผิดธรรม” นั้น จะย้อนกลับ ไปดูกรณีศึกษาตั้งแต่สมัยพุทธกาลก่อน ดูกรณีของพระฉันนะ และ กรณีของพระโคธิกะ ซึ่งอาพาธแล้วฆ่าตัวตาย แต่ก่อนตายท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ทําให้จิตของท่านดับไปพร้อมกับการบรรลุธรรมขั้นสูงของพระพุทธศาสนา 3. ประเด็นคำถามต่อมาว่า การฆ่าตัวตายจัดได้ว่า “เป็นบาป” หรือไม่? ประเด็นนี้ตามหลักพุทธศาสนานั้น ขึ้นอยู่กับวาระจิตก่อนที่จะดับลงของแต่ละบุคคล” กล่าวคือ ก่อนที่คนฆ่าตัวตายจะสิ้นชีวิตนั้น จิตของเขาเสวยหรือประสบกับอารมณ์ในลักษณะใด อารมณ์ของจิตเหล่านั้นก็จะเป็นตัวประเมินค่าว่า “บาปหรือไม่” ในขณะที่เขาฆ่าตัวตายนั้น จิตขุ่นมัว หรือประสบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ พลาดหวัง หดหู่หรือสิ้นหวังหรือไม่ หากจิตของบุคคลที่ฆ่าตัวตายอยู่ในลักษณะนี้ก็ถือว่า การฆ่าตัวตายของเขานั้น “เป็นบาป” “จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคฺคติ ปาฏิกงฺขา” แปลว่า “เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้” ฉะนั้น วาระจิตก่อนที่จะตายนั้น เสวยอารมณ์ใด อารมณ์นั้นจะส่งผลต่อปฏิสนธิจิตให้ไปเกิดในภพภูมิต่าง ๆ พระอริยบุคคลทั้ง ๗ จําพวกจะยังไม่หมดกิเลส แต่ท่านเหล่านี้ก็ถือได้ว่าเข้าสู่กระแสแห่งพระนิพพาน จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะแก้วิกฤติการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยการเลือกแก้ปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย จะเห็นว่า เมื่อร่างกายยังคงอยู่ ท่านเหล่านั้นก็จะอาศัยประโยชน์จากร่างกาย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพยายามเข้าถึงความจริงสูงสุดของพระพุทธศาสนา ตราบเท่าที่ยังมีลมหายใจอยู่
“กรรมใดที่ทำด้วยโลภะ ...โทสะ...โมหะ...เกิดจาก โลภะ..โทสะ...โมหะ..เป็นต้นเหตุ เป็นตัวก่อกำเนิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีทุกข์เป็นผล กรรมนั้นย่อมเป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไปไม่เป็นไปเพื่อดับกรรม “กรรมใดที่ทำด้วยอโลภะ ...อโทสะ...อโมหะ...เกิดจาก อโลภะ..อโทสะ...อโมหะ..เป็นต้นเหตุ เป็นตัวก่อกำเนิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีสุขเป็นผล กรรมนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความดับกรรม ไม่เป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป” ฉะนั้น การที่พระอริยบุคคลทั้ง ๗ จําพวกนั้น จะทําลายร่างกายซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในก้าวข้ามไปสู่ความพ้นทุกข์นั้น จึงมิใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดสําหรับบุคคลที่ได้ชื่อว่า “เข้าสู่กระแสแห่งพระนิพพาน” แต่จากตัวอย่างของพระโคธิกะนั้น ท่านก็ยังมิได้เป็นพระอริยบุคคลแต่ประการใดหากแต่ได้บรรลุเพียงขั้นฌานเท่านั้นเอง จะเห็นว่าในขณะที่พระโคธิกะ และพระฉันนะอาพาธอย่างหนัก และมองเห็นความทุกข์ที่เกิดจากอาพาธที่ไม่สามารถเยียวยาให้หายขาดได้ จึงตัดสินใจฆ่าตัวตาย ย่อมเป็นที่แน่ชัดว่า การเลือกของพระภิกษุทั้งสองรูปดังกล่าวนั้น แม้การฆ่าตัวตายจะทําให้บรรลุธรรมชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา พร้อม ๆ กับการสิ้นลมหายใจของท่าน แต่ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ การเลือกในเบื้องต้นของท่านนั้น สภาพจิตถูกปนเปื้อนด้วยกิเลส ซึ่งหมายถึงความไม่พึงพอใจต่อสังขารของตัวเอง จนนําไปสู่การเลือกที่จะไม่มีชีวิตอยู่หรือไม่ เมื่อวิเคราะห์จากสภาพการณ์ในเบื้องต้นเราจะพบคําตอบว่า ความไม่พึงพอใจ ความทุกข์ใจ จนนําไปสู่การไม่ปรารถนาที่จะมีชีวิตอยู่นั่นเองคือสภาพจิตที่ถูกกิเลสครอบงํา
ฉะนั้น บทสรุปของพระภิกษุทั้งสองรูปดังกล่าวก็คือ จิตในวาระแรกของการเลือกที่จะฆ่าตัวตาย และพยายามหาวัตถุมาทําร้ายตัวเองนั้น ล้วนถือได้ว่าเป็นอาบัติทุกกฎในทุก ๆ ย่างก้าวของการพยายามที่จะฆ่าตัวตาย แต่เมื่อจิตของท่านขึ้นสู่วิถีก่อนที่จะตาย หรือจิตเข้าสู่ “มรณาสันนชวนจิต” ท่านกลับใช้วิกฤติให้เป็นโอกาส กล่าวคือ ผลจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมาอย่างต่อเนื่อง ท่านได้พิจารณาทุกขเวทนาอันเกิดจากบาดแผลที่คอของท่านนั้น กําหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ทําให้จิตของท่านดับไปพร้อมกับการบรรลุธรรมขั้นสูงของพระพุทธศาสนา
ด้วยเหตุดังกล่าวนั้น เมื่ออธิบายภายใต้กรอบของกรรมที่เนื่องด้วยปฏิจจสมุปบาทจะพบว่าการกระทํากรรมของพระภิกษุทั้งสองรูป จึงไม่จําเป็นที่จะต้องไปรับผลของกรรมในภพต่อไป เนื่องจากกิเลสของท่านดับไปพร้อม ๆ กับการดับไปแห่งขันธ์ ๕ ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ หากทั้งสองรูปดังกล่าว ไม่สามารถที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงในขณะที่ฆ่าตัวตายนั้น ผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่า การเลือกฆ่าตัวตายด้วยสภาพจิตที่ถูกปกคลุมด้วยกิเลสนั้น ท่านย่อมไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการไปเกิดในทุคติภูมิได้ เนื่องพุทธพจน์ดังที่กล่าวในเบื้องต้นว่า “เมื่อสภาพจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้” แต่ในกรณีของปุถุชนโดยทั่วไปนั้น ย่อมเป็นการยากที่จะฆ่าตัวตายในสภาพจิตที่ไม่ถูกเจือไปด้วยกิเลส เนื่องจากว่า กิเลส กล่าวคือ ราคะ โทสะ และโมหะนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่ และนอนเนื่องอยู่ในจิตของปุถุชน ฉะนั้น จะเห็นว่า การตัดสินใจฆ่าตัวตายในขณะที่ทุก ๆ วาระจิต กล่าวคือ ก่อนที่จะฆ่าตัวตาย ขณะที่พยายามฆ่าตัวตาย และดวงจิต ก่อนที่จะดับไปนั้น ถูกกิเลสครอบงําอยู่ตลอดเวลา ปฐมจิตของการตัดสินใจฆ่าตัวตายนั้น มนุษย์ทุกคนจะมีกิเลสเป็นตัวผลักดันให้เขาต้องสร้างกรรม หรือกระทําการฆ่าตัวตาย และผลจากการที่มนุษย์ตายลงในขณะที่จิตถูกปกคลุมด้วยกิเลสอยู่ตลอดสาย หรือตลอดวาระจิตของการตัดสินใจฆ่าตัวตาย กล่าวคือ การคิดที่จะฆ่าตัว การพยายามลงมือฆ่าตัวตาย และก็ตายลงพร้อม ๆ กับการพยายามนั้น มนุษย์ก็ต้องรับผลแห่งกรรมโดยการไปเกิดในทุคติภูมิต่อไป
ฉะนั้น เมื่อกล่าวโดยสรุป การฆ่าตัวตายของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จึงเป็นสิ่งที่ยากเป็นอย่างยิ่งที่จะหนีพ้นกฎแห่งวัฏฏะ ๓ กล่าวคือ กิเลส กรรม และวิบากไปได้ กล่าวคือ เนื่องจากมนุษย์แต่ละคนนั้น ยังมีสภาพจิตที่ถูกปกคลุมไปด้วยกิเลสในลักษณะต่าง ๆ และกิเลสที่ดํ ารงอยู่ภายในจิตของมนุษย์นั้นได้ผลักให้มนุษย์หนีปัญหา หรือวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต และไม่สามารถที่จะยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นได้ (กิเลส) จึงตัดสินใจเลือกทางออกของปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย (กรรม) และผลจากการเลือกที่จะฆ่าตัวตายของมนุษย์แต่ละคนนั้นซึ่งมีสภาพจิตที่ถูกปกลุมด้วยกิเลสนั้น จึงทําให้มนุษย์จํ าเป็นต้องไปเกิดในอบายภูมิต่อไป (วิบาก) แต่กรณีของพระฉันนะ และพระโคธิกะนั้น ถือได้ว่า เป็นกรณีที่ค่อนข้างจะน่าสนใจ เพราะผลจากการที่ท่านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาเวทนาที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จึงทําให้ท่านเข้าถึงความจริงจากการฆ่าตัวตาย แม้ว่าเบื้องต้นจะมีสภาพจิตถูกกิเลสครอบงําก็ตาม เราจะเห็นว่า การหาทางออกของพระโคธิกะ หรือพระฉันนะ เป็นการเลือกที่จะฆ่าตัวตาย บนฐานของสภาพจิตที่บรรลุฌานในระดับใดระดับหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา แต่หากพุทธศาสนิกชนบางคนที่ยังเป็นปุถุชนจะใช้ข้ออ้างจากกรณีของพระเถระทั้งสองรูป และตัดสินใจฆ่าตัวตาย โดยมองว่า ท่านทั้งสองสามารถที่จะทําเลือกที่จะฆ่าตัวตายได้ การยกกรณีของพระเถระทั้งสองมาเป็นฐานในการเลือกของปุถุชนนั้น ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อปัญหาในเชิงศีลธรรมเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่ออยู่ในฐานะของปุถุชน เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า การฆ่าตัวตายของเรานั้น จะทําให้การฆ่าตายนั้นดํารงอยู่บนฐานของความบริสุทธิ์ทางใจโดยไม่ได้ถูกกิเลสครอบงํา เพราะเมื่อกล่าวถึงคําว่า “ปุถุชน” นั้น หมายถึงผู้ที่ยังหนาไปด้วยกิเลส เมื่อมนุษย์ที่เป็นปุถุชนเลือกที่จะฆ่าตัวตายท่ามกลางสภาพจิตที่หนาไปด้วยกิเลส ย่อมทําให้การฆ่าตัวตายด้วยสภาพจิตที่สงบ สะอาดสว่างนั้น เป็นสิ่งที่ทําได้ยากอย่างยิ่งในขณะเดียวกัน การฆ่าตัวตนเองบนฐานของความไม่พร้อมในแง่มุมต่างๆ กล่าวคือสภาพจิตของตัวเองถูกครอบงําด้วยโลภะ โทสะ หรือโมหะนั้น ครอบครัวของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่บิดา มารดา ต้องเจ็บปวด และร้องไห้ครํ่าครวญต่อการตัดสินใจฆ่าตัวตายของเขา ลูก ๆของเขาต้องไร้ที่พึ่งพาอาศัย ฉะนั้น การฆ่าตัวตายในบรรยากาศเช่นนี้ เป็นสิ่งที่พุทธจริยศาสตร์ เห็นว่าไม่ควรที่บุคลใดบุคคลหนึ่งจะเลือกกระทําอย่างยิ่ง สาเหตุก็เพราะว่า การฆ่าตัวตายของเขาในสภาพการณ์เช่นนี้ นอกจากจะทําให้เขาไปเกิดในทุคติภูมิแล้ว ยังทําให้บุคคลอื่น ๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ต้องประสบกับความทุกข์ในลักษณะต่าง ๆ

๓.๔ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริง
พระบัญญัติ : อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็น อย่างประเสริฐ ….ฯลฯ………….(ข้อควา(เหมือนอนุบัญญัติ)
อนุบัญญัติ : อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถน้อมเข้ามาในตนว่า ข้าพเจ้ารู้เห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม เป็นอันต้องอาบัติแล้ว มุ่งเอาความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่านข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้นได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้นได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อย ๆ เป็นเท็จเปล่าๆ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ(จริงๆ ) สารัตถะแห่งจตุตถปาราชิก
๑) ที่มาแห่งจตุตถปาราชิกสิกขาบทนี้ สืบเนื่องมาจากในสมัยหนึ่ง แคว้นวัชชีชนบทเกิดทุพภิกขภัย ประชาชนอัตคัตขาดอาหาร แม้จะหาซื้ออาหารก็ต้องเข้าแถวซื้อตามสลากที่ได้รับแจก ข้าวกล้าในไร่นาต่างก็ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก แม้ภิกษุจะอาศัยชาวบ้านเลี้ยงชีพก็ทำได้ยาก พวกภิกษุที่อยู่จำพรรษาที่ลุ่มแม่น้ำวัคคุมุทา แคว้นวัชชี ได้ปรึกษาหารือกันว่าถ้าจะอยู่อย่างนั้นโดยไม่ทำอะไรเลย คงจะอยู่อย่างลำบาก ทั้งหมดทุกรูปจึงตกลงที่จะบอกคุณวิเศษของกันและกันแก่ชาวบ้าน ซึ่งก็ได้ผล คือเมื่อภิกษุรูปหนึ่งแจ้งต่อชาวบ้านว่า ภิกษุรูปนั้นบรรลุอรหันต์หรือได้วิชชา ๓ เป็นต้น ชาวบ้านทั้งหลายทั้งที่มีฐานะยากจน และเป็นเศรษฐี ที่ได้ฟังถ้อยคำของบรรดาภิกษุเหล่านั้น ต่างก็พากันชื่นชมยินดี แล้วต่างก็นำอาหารบิณฑบาตอันประณีต ไปถวายภิกษุรูปนั้น ฝ่ายภิกษุรูปอื่น ๆ ก็ได้กล่าวทำนองเดียวกันนี้ ทำให้ชาวบ้านทำอาหารอันประณีตมากมายมาถวายบรรดาภิกษุเหล่านั้น ทำให้บรรดาภิกษุที่จำพรรษาที่ลุ่มแม่น้ำวัคคุมุทามีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย มีรูปร่างอ้วนท้วนสมบูรณ์ ใบหน้าอิ่มเอิบ มีความเป็นอยู่ไม่ฝืดเคืองตลอดพรรษา ซึ่งตรงกันข้ามกับพระภิกษุที่อยู่จำพรรษาในที่ต่าง ๆ ล้วนแต่มีร่างกายซูบผอม ผิวพรรณหมองคล้ำและซีดเหลือง เพราะขาดอาหารบิณฑบาต เมื่อออกพรรษาปวารณาเรียบร้อยแล้ว ภิกษุทั้งหลายก็ได้พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่ของบรรดาภิกษุเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นก็ได้กราบทูลความเป็นไปทั้งหมดให้พระพุทธองค์ทรงทราบ ในเรื่องของการอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริงของกันและกัน เพื่อให้ได้อาหารที่ดีๆ นั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงตำหนิการกระทำของภิกษุเหล่านั้น ว่าเป็นผู้เห็นแก่ปากแก่ท้อง การกระทำเช่นนั้นเปรียบเหมือนมหาโจร โดยได้ตรัสแสดงถึงประเภทของมหาโจร ๕ จำพวก คือ
๑. ภิกษุเลวทรามบางพวก ที่ปรารถนาว่าเมื่อไรจักมีภิกษุบริวารแวดล้อมร้อยหนึ่งหรือพันหนึ่ง จะได้เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ ชาวบ้าน ให้ความเคารพนับถือยำเกรง จะได้และจะได้ถวายลาภสักการะ ต่อมาเมื่อเธอก็ได้สมปรารถนาที่ตั้งไว้ ภิกษุเหล่านี้เปรียบเหมือนกับมหาโจรจำพวกที่ ๑
๒. ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ย่อมยกตนขึ้น นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๒
๓. ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมตามกำจัดเพื่อนพรหมจารี ผู้หมดจด ผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์อยู่ด้วยธรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์อันหามูลมิได้ นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๓
๔. ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมสงเคราะห์ เกลี้ยกล่อมคฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยครุภัณฑ์ ครุบริขาร ของสงฆ์ คือ อาราม พื้นที่อารามวิหาร พื้นที่วิหาร เตียง ตั่ง ฟูก หมอน หม้อโลหะ อ่างโลหะ กะถางโลหะ กะทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่านเถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้ามุงกะต่าย หญ้าปล้อง หญ้าสามัญ ดินเหนียวเครื่องไม้ เครื่องดิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๔
๕. ภิกษุผู้กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง นี้จัดเป็นยอดมหาโจร ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น ฉันก้อนข้าวของชาว แว่นแคว้น ด้วยอาการแห่งคนขโมย.
แล้วทรงตรัสตำหนิภิกษุผู้ที่หลอกลวงชาวบ้านเลี้ยงชีพว่า บริโภคด้วยอาการแห่งขโมย ย่อมเข้าถึงนรก การบริโภคเหล็กแดงประเสริฐกว่าการบริโภคก้อนข้าวของชาวบ้าน จากนั้นจึงทรงบัญญัติห้ามภิกษุพูดอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน ผู้ใดอวดต้องอาบัติปาราชิก
ต่อมาในภายหลัง มีภิกษุสำคัญผิดคิดว่าตนเองได้บรรลุธรรมจริง ๆ จึงบอกแก่ภิกษุอื่น ภายหลังรู้ว่าตนเองยังไม่บรรลุ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระพุทธองค์ และพระองค์ได้ทรงบัญญัติอนุบัญญัติเพิ่มเติมอีกว่า …..เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ…ดังนี้
ความหมาย อุตริมนุสสธรรม คือ ธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ หรือธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรคผล ภิกษุกล่าวอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตนเองถือว่ามีโทษหนักขั้นอุกกฤษฎ์ คือ ขาดจากความเป็นภิกษุทันที ไม่สามารถขอกลับเข้ามาบวชใหม่อีกได้ต่อไป เปรียบเหมือนตาลยอดด้วนไม่อาจงอกขึ้นมาใหม่ได้ฉันนั้น

คำว่าอุตริมนุสสธรรมในสิกขาบทนี้ หมายถึงคุณวิเศษที่ภิกษุเจริญกรรมฐานหรือเจริญสมาธิจิตจนได้บรรลุคุณธรรมวิเศษ อันได้แก่ ฌาน เช่น ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุถฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ฌาน (เช่น วิชชา ๓ อภิญญา ๖) มรรคภาวนา มรรคผล (โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล) วิมุตติ ปิติ หรือความยินดีในฌาน เป็นต้น ภิกษุอวดอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีในตน ต้องปาราชิกเหมือนกัน เช่น ภิกษุประกาศตนว่าได้บรรลุอรหันต์หรือบรรลุอนาคามี เป็นต้น ต้องอาบัติแล้ว




ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2015, 08:22:23 pm »

พระวินัยปิฎก เล่ม ๘ ปริวาร - คาถาสังคณิกะ - วิเคราะห์ปาราชิก เป็นต้น - วิเคราะห์ปาราชิก

-http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%8E%E0%B8%81_%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1_%E0%B9%98_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3_-_%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B0_-_%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81_%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99_-_%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81-


วิธีประพฤติพรหมจรรย์

พรหมจรรย์ชั้นต้น สำหรับผู้ครองเรือน ก็ให้พอใจเฉพาะคู่ครองของตนเท่านั้น รักษาศีล ๕ ไม่นอกใจภรรยา-สามี
พรหมจรรย์ชั้นกลาง สำหรับผู้ครองเรือน คือนอกจากรักษาศีล ๕ แล้ว ก็ให้รักษาศีล ๘ เป็นคราวๆ ไปและฝึกให้มีพรหมวิหาร ๔
พรหมจรรย์ชั้นสูง สำหรับผู้ไม่ครองเรือน ถ้าเป็นฆราวาสก็รักษาศีลอย่างน้อย ศีล ๘ ตลอดชีวิต ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศเลย หรือถ้าเป็นชายก็ออกบวชเป็นพระภิกษุ และปฏิบัติธรรมทุกข้อในศาสนาให้เต็มที่ พรหมจรรย์ทุกขั้นจะตั้งมั่นอยู่ได้ ต้องอาศัยการฝึกสมาธิเป็นหลัก

อานิสงส์การประพฤติพรหมจรรย์
๑.ทำให้ปลอดโปร่งใจ ไม่ต้องกังวลหรือระแวง
๒.ทำให้เป็นอิสระ เหมือนนกน้อยในอากาศ
๓.ทำให้มีเวลามากในการทำความดี
๔.ทำให้เป็นที่สรรเสริญของบัณฑิตทั้งหลาย
๕.ทำให้ ศีล สมาธิ ปัญญา เจริญรุดหน้าไม่ถอยกลับ
๖.ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย
กามทั้งหลายมีโทษมาก มีทุกข์มาก มีความพอใจน้อย เป็นบ่อเกิดแห่งความทะเลาะวิวาทกัน ความชั่วเป็นอันมากเกิดขึ้นเพราะกามเป็นเหตุ ดังนั้น ชีวิตพระสงฆ์จึงถือว่าเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ การงดเว้นจากเมถุนธรรมจึงเป็นกิจแรกที่พึงกระทำ
๓.๒ ปาราชิก สิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการลักทรัพย์ที่เขาไม่ได้ให้
พระบัญญัติ อนึ่ง ภิกษุใดถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้….(มีเนื้อหาเหมือนอนุบัญญัติ)
อนุบัญญัติ อนึ่ง ภิกษุใดถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี พระราชาทั้งหลายจับโจรได้แล้ว (ให้) ประหารเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย ดังนี้ ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
๑) ที่มาของพระบัญญัติ สิกขาบทนี้มีพระธนิยะเป็นต้นบัญญัติ (อาทิกัมมิกะ) โดยเรื่องมีอยู่ว่า ท่านพระธนิยะได้ทำกุฎิหญ้าอาศัยอยู่ในป่า เวลาท่านไม่อยู่ถูกพวกชาวบ้านมาขโมยรื้อถอนเอาหญ้าของท่านไปหลายต่อหลายครั้ง ต่อมาท่านจึงได้นำดินมาขยำเป็นโคลนทำกุฏี จากนั้นจึงได้นำหญ้าไม้และโคมัย (มูลโค) มาเผากุฏีนั้น กุฏีเมื่อเผาสุกแล้วก็มีสีสวยงามมาก (สีเหมือนหม้อดินเผา) พระพุทธองค์ได้ตำหนิการกระทำของพระธนิยะนั้นว่า ไม่เหมาะสมไม่ควรทำ ไม่ใช่กิจของสมณะ เพราะการกระทำนั้นได้เบียดเบียนทำลายสรรพสัตว์เล็กๆ ไปเป็นอันมาก และเพื่อมิให้ภิกษุทั้งหลายทำตามอย่างนั้น พระองค์จึงสั่งให้ภิกษุไปทุบทำลายกุฏีนั้นของพระธนิยะเสีย
ส่วนพระธนิยะเมื่อถูกพระพุทธเจ้าห้ามทำกุฏีด้วยดินแล้ว จึงคิดจะสร้างกุฏีด้วยไม้แทน (เพราะถ้าจะทำกุฏีหญ้าอีก ก็เกรงว่าชาวบ้านจะมารื้อเอาหญ้าไปอีก) ดังนั้นท่านจึงได้เข้าไปขอไม้หลวงจากเจ้าพนักงานรักษาไม้ในวัง แต่เจ้าพนักงานตอบว่าไม้ไม่มีจะถวายให้ มีแต่ที่เก็บไว้ซ่อมแซมพระนครในคราวจำเป็นเท่านั้น ถ้าพระคุณเจ้าต้องการ ต้องไปบิณฑบาตจากพระราชา (พระเจ้าพิมพิสาร) เอาเองเถิด ฝ่ายพระธนิยะเมื่อเจ้าพนักงานพูดเช่นนั้น จึงตอบไปว่า พระราชาได้พระราชทานให้แล้ว ดังนี้ ฝ่ายเจ้าพนักงานได้คิดว่า พระคุณเจ้าเป็นผู้มีศีล เป็นผู้สงบคงจะไม่กล้าพูดเล่น พระราชาคงจะพระราชทานให้จริง ดังนี้แล้ว ได้ให้ไม้เหล่านั้น ท่านพระธนิยะได้สร้างกุฏีหลังใหม่ด้วยไม้หลวงเหล่านั้น ต่อจากนั้นมาได้มีคณะผู้ตรวจราชการหลวงมาตรวจราชการไม่เห็นไม้หลวง เรื่องจึงแดงขึ้น เจ้าพนักงานรักษาไม้นั้นถูกจับไปสอบสวน ส่วนพระธนิยะเมื่อทราบเรื่องจึงได้เข้าไปในวังเพื่อแก้ข้อกล่าวหาด้วย ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารเมื่อทราบเรื่องจึงได้ตรัสกับพระธนิยะว่า “พระคุณเจ้าบอกว่าโยมได้ถวายไม้นั้นให้แล้ว เนื่องจากโยม (พระราชา) มีธุระมากมีภาระกิจมากจนจำไม่ได้ ระลึกไม่ได้ว่าได้ถวายไม้ให้พระคุณเจ้าตั้งแต่ครั้งใด ? พระธนิยะได้ตอบว่า “พระองค์ระลึกได้ไหม ! ตั้งแต่ครั้งพระองค์ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใหม่ๆ พระองค์ได้เปล่งพระวาจาเช่นนี้ว่า หญ้า ไม้ และน้ำ ข้าพเจ้าถวายแล้วแก่สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ขอสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย โปรดใช้สอยเถิด ดังนี้” ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารครั้นได้สดับคำของพระธนิยะเช่นนั้น จึงตรัสว่า “โยมระลึกได้แล้ว (แต่) คำของโยมนั้นหมายถึง หญ้า ไม้และน้ำ ที่มีอยู่ในป่า ไม่มีใครหวงแหน ซึ่งพระสงฆ์และพราหมณ์ผู้มีศีลเป็นที่รักใคร่ต่อการศึกษาย่อมรู้จักและพึงใช้สอยไม้เหล่านั้น แต่พระคุณเจ้าได้ใช้เล่ห์เพื่อนำไม้ที่เขาไม่ได้ให้ไปใช้ โยมจะพึงฆ่าหรือจองจำหรือเนรเทศ ซึ่งสมณะได้อย่างไร นิมนต์ท่านกลับเถิด ท่านรอดตัวไปได้เพราะเพศบรรพชิตแล้ว แต่อย่าได้ทำอย่างนี้อีก” ดังนี้ แล้วได้ส่งพระธนิยะกลับไป
ความเรื่องนี้ทราบไปถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จึงประชุมพระสาวกแล้วได้บัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุนำเอาของที่เขาไม่ได้ให้มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป ผู้ใดเอาไปต้องปาราชิก หลังจากทรงบัญญัติสิกขาบทนั้นแล้ว พระฉัพพัคคีย์ได้ไปลักเอาห่อผ้าของช่างย้อมผ้ามาจากป่า แล้วถูกพวกภิกษุติเตียน พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงตอบว่า สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าบัญญัตินั้น คือห้ามเฉพาะของในบ้าน ไม่รวมถึงป่าด้วย ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติเพิ่มเติม (อนุบัญญัติ) อีก ให้รวมไปถึงในป่าด้วย ดังนั้น ความตอนหนึ่งว่า “…อนึ่ง ภิกษุใดถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้….จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี …ต้องปาราชิก หาสังวาสมิได้”
๒) สารัตถะในทุติยปาราชิก เป้าหมายของอทินนาทานสิกขาบทนี้ มีรายละเอียดลึกซึ้งและซับซ้อนมาก โดยเฉพาะในคัมภีร์บาลีอรรถกถาฎีกา ยิ่งมีรายละเอียดซับซ้อนมากขึ้น สารัตถะสำคัญของสิกขาบทนี้ ทรงมุ่งหมายให้พระภิกษุเป็นคนซื่อตรง ให้เป็นเนื้อนาบุญเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริง ดังนั้น พระภิกษุสงฆ์ควรจะต้องมีความบริสุทธิ์แห่งศีล เป็นคนปฏิบัติซื่อตรง (อุชุปฏิปนฺโน) ไม่มีมายาสาไถยหรือเล่ห์เหลี่ยมต่าง ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ภิกษุใด ตนเองเป็นอย่างหนึ่ง แต่แสดงอาการให้คนอื่นรู้อีกอย่างหนึ่ง (อาการแห่งมายา - เจ้าเล่ห์) การบริโภคปัจจัยสี่ ของเธอ เป็นการขโมยบริโภค เป็นเช่นเดียวกันกับนายพราน ผู้ล่อลวงดักสัตว์กิน มีภิกษุจำนวนมาก ผู้มีกาสาวพัสตร์พันคอ แต่เป็นผู้มีธรรมทาน ไม่สำรวม ย่อมเกิดในนรก เพราะ บาปกรรมนั้น ผู้ทุศีล ไม่สำรวมบริโภคเหล็กที่ร้อนเป็นเปลว ยังดีกว่าบริโภคก้อนข้าวของชาวเมือง"
ดังนั้น พระภิกษุสงฆ์จะต้องมีความบริสุทธิ์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เพราะผู้ที่บวชเป็นภิกษุแล้ว ย่อมไม่ถือเอาของ ๆ ผู้อื่น ที่เขาไม่ได้ให้ ด้วยจิตคิดจะขโมย (อทินนาทาน) โดยที่สุดแม้แต่เส้นหญ้า (อนฺตมโส ติณเสลากํ อุปาทาย) หากภิกษุใด ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ราคาบาทหนึ่ง หรือ เกินกว่าหนึ่งบาท ภิกษุนั้นไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อพระศากยบุตร (อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย) ท่านเปรียบเหมือนใบไม้เหลือง หล่นจากขั้ว แล้วไม่อาจกลับเป็นเขียวสดได้อีก พระพุทธองค์ทรงประสงค์ให้พระภิกษุเป็นผู้บริสุทธิ์ ในเรื่องนี้จริง ๆ ให้น่าเคารพนับถือ เชื่อถือได้ สมกับที่ชาวบ้านเคารพกราบไหว้ เชิดชูเลี้ยงดูปัจจัยสี่ มิให้เดือดร้อน ดังนั้นจึงทรงมีนโยบาย มิให้ภิกษุสะสมทรัพย์สินเงินทอง แม้จะได้มาโดยชอบธรรม ยิ่งเป็นของที่เขาไม่ได้ให้ด้วยแล้ว แม้แต่เส้นหญ้า ก็ไม่ควรถือเอา (อนฺตมโส ติณสลากํ อุปาทาย)
ดังนั้น พระพุทธเจ้าทรงมีพระประสงค์ให้พระสงฆ์มีความประพฤติซื่อตรงทั้งต่อหน้าและลับหลัง เพื่อเป็นเนื้อนาบุญดังกล่าว จึงทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อฝึกหัดขัดเกลาอย่างลึกซึ้ง ถึงกับมีพระวินัยบัญญัติละเอียดให้พระสงฆ์จะบริโภคสิ่งของใดๆ จะต้องได้รับประเคน คือ ได้รับมอบถวายให้ถึงมือจริงๆ จึงจะสามารถฉันสิ่งของต่างๆ ซึ่งพระวินัยข้อนี้ท่านอาจารย์วศิน อินทสระ ได้เคยกล่าวไว้ว่า “ประเพณีวินัยข้อนี้ ได้สร้างศักดิ์ศรีให้กับภิกษุสงฆ์ ในพุทธศาสนาเป็นอันมาก แต่ฆราวาสบางคน ก็รู้สึกรำคาญ เมื่อไปเลี้ยงพระที่มีอาหารมาก ๆ พระเอง บางรูปก็เคร่งในเรื่องนี้ จนน่ารำคาญเหมือนกัน เช่น เมื่อเขาประเคนอย่างหนึ่งแล้ว เอื้อมมือไปหยิบอย่างอื่นประเคน มือไปกระทบกับสิ่งที่ประเคนแล้ว โดยไม่เจตนา ก็บอกให้เขาประเคนใหม่ ความเกินพอดี ในพระบางรูป บางพวกก่อความเดือดร้อนแก่ตน และ ผู้อื่นอยู่เนือง ๆ อันที่จริงเรื่องนี้ควรคำนึกถึงความพอดี เพราะความพอดีนั้นดีเสมอ" (มตฺตญฺญุตา สทา สาธุ)” "
แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้มุ่งหวังพระนิพพานแต่มุ่งหวังลาภสักการะ ย่อมมีปฏิปทาที่แตกต่างกัน พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ปฏิปทา ของผู้หวังลาภเป็นอย่างหนึ่ง ปฏิปทา ของผู้มุ่งนิพพานเป็นอีกอย่างหนึ่ง (เป็นคนละอย่าง) ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้อย่างนี้แล้ว ไม่พึงยินดี ไม่พึงเพลิดเพลิน ในเรื่องสักการะ พึงพอกพูนให้มากซึ่งความวิเวก" แต่หากเป็นคนเจ้าเล่ห์ไม่ซื่อตรงแล้ว ทำมายาให้น่าเชื่อถือ ดังมีเรื่องเล่าไว้ในกุหชาดก ว่า ดาบสผู้หนึ่ง เป็นที่เคารพเลื่อมใสของกฎุมพี (ผู้มีทรัพย์, ผู้มีอันจะกิน) ครอบครัวหนึ่งมารับอาหารที่บ้านกฎุมพีทุกวัน เป็นเวลาหลายปี กฎุมพีได้ทองมาลิ่มมาแท่งหนึ่ง นำไปฝากดาบสไว้ โดยขุดหลุมฝังไว้ใกล้อาศรม คิดว่าปลอดภัยกว่าอยู่ที่บ้าน ต่อมาดาบสเกิดความโลภ อยากได้ทองคำแท่ง จึงไปบอกลากฎุมพีว่า จะไปอยู่ที่อื่น เพราะ อยู่ที่นั่นนานมาแล้ว ธรรมดานักพรตไม่ควรอยู่ที่เดียวนาน กฎุมพีอ้อนวอนให้อยู่ด้วยความเลื่อมใส แต่ก็ไม่อาจเหนี่ยวรั้งไว้ได้ ดาบสเดินออกจากเรือน ด้วยอาการสำรวม เป็นพิเศษ กฎุมพีออกมาส่ง เพิ่มพูนความเลื่อมใสยิ่งขึ้น ขอร้องให้กลับมาอีก ในโอกาสอันควรแล้วกลับเข้าบ้านไป
สักครู่หนึ่ง ดาบสเดินกลับมา กฎุมพีดีใจ ถามว่า ท่านมีอะไรจะสั่งอีกหรือ? ดาบสบอกว่า เมื่อเดินออกไป เส้นหญ้าจากชายคาหล่นมาติดอยู่ที่ชฎา จึงเอามาคืน ธรรมดานักพรต ไม่ควรถือเอาของผู้อื่น แม้เพียงเส้นหญ้าแล้วจากไป กิริยาอาการ ของดาบสได้เพิ่มพูนความเลื่อมใส ปิติปราโมทย์ แก่กฎุมพีเป็นอย่างมาก พร้อมอุทานว่า "พระคุณเจ้าของเรา ช่างสำรวมระวัง และ ขัดเกลาดีจริงหนอ" ขณะนั้น มีบุรุษผู้เป็นบัณฑิต ท่านหนึ่งผ่านมาทางนั้น เห็นพฤติกรรมดาบสแล้ว ถามกฎุมพีว่า ได้ฝากอะไรไว้กับดาบสบ้างหรือไม่? กฎุมพีตอบว่า ได้ฝากทองไว้แท่งหนึ่ง "ท่านรีบตามดาบสไปเถอะ ช้าหน่อยทองจะหาย" "ท่านคิดอย่างนั้นกับพระคุณเจ้าได้อย่างไร?" กฎุมพีถามกึ่งไม่พอใจ กึ่งสงสัยกึ่งกังวล "เคร่งเกินเหตุ คงจะซ่อนความชั่วไว้ภายใน เอาความเคร่งออกบังหน้า" บัณฑิตตอบ"แต่ท่านรีบไปเถอะ เดี๋ยวไม่ทันกาลกฎุมพีรีบไป เจอดาบสขุดทองได้เรียบร้อยแล้ว กำลังเตรียมหนี จับได้คาจอบคาเสียม กฎุมพีจึงได้ตาสว่างขึ้น ได้เห็นแจ้งในคำของบัณฑิต ที่เตือนให้เขารีบตามดาบสมา

ดังนั้นพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จะต้องมีความซื่อตรงต่อพระธรรมวินัย จึงทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ขึ้น ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงรจนาไว้โดยย่อในวินัยมุข เล่ม ๑ เกี่ยวกับเรื่องการถือกรรมสิทธิ์ ทรงรจนาไว้ตอนหนึ่งว่า "การถือเอาทรัพย์เป็นอสังหาริมทรัพย์ กำหนดว่า ถึงที่สุด ด้วยขาดกรรมสิทธิ์แห่งเจ้าของ ตัวอย่างเช่น ภิกษุกล่าวตู่ เพื่อจะเอาที่ดินของผู้ใดผู้หนึ่ง เจ้าของเป็นผู้มีวาสนาน้อย เถียงไม่ขึ้น ทอดกรรมสิทธิ์ของตนเสีย ภิกษุต้องอาบัติถึงที่สุดในขณะนั้น ถ้าเจ้าของยังไม่ปล่อยกรรมสิทธิ์ ฟ้องภิกษุในศาลเพื่อเรียกที่ดินคืน ต่างเป็นความแก้คดีกัน ถ้าเจ้าของแพ้ ภิกษุต้องอาบัติถึงที่สุด ภิกษุเป็นโจทก์ฟ้องความเอง เพื่อจะตู่เขา ที่ดินก็เหมือนกัน แต่คำว่า เจ้าของแพ้ความนั้น พึงเข้าใจว่า แพ้ในศาลสูงสุด เป็นจบลงเท่านั้น เพื่อจำง่ายควรเรียกว่า ตู่”
ทรัพย์ตามความหมายในสิกขาบทนี้มีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น วิญญาณกทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่มีวิญญาณครอง เช่น มนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น หรือ อวิญญาณกทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่ไม่มีวิญญาณครอง ได้แก่ แก้ว แหวน เงิน ทอง เป็นต้น และไม่ว่าทรัพย์นั้นจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม เช่น อยู่ในบ้าน อยู่ในน้ำ ฝังดินไว้ หรือแม้แต่แขวนไว้ตามต้นไม้ เป็นต้น ก็ตาม ถือว่าเป็นทรัพย์ต้องห้าม ถ้าภิกษุถือเอาด้วยอาการแห่งขโมย ทรัพย์ทุกอย่างอาจทำให้ภิกษุต้องอาบัติได้ทั้งนั้น การถือเอาด้วยอาการแห่งขโมยนั้น เรียกว่า อวหาร ซึ่งมาจากศัพท์ว่า อว + หาร + (อว = ลง ในทางที่ไม่ดี + หาร = การนำไป ) เมื่อรวมกันแล้ว ก็แปลว่า การลัก การขโมย เป็นต้น ท่านจำแนกไว้ ๑๓ ลักษณะ คือ ลัก ชิงหรือวิ่งราว ลักต้อน แย่ง ลักสับ ตู่ ฉ้อหรือฉ้อโกง ยักยอก ตระบัด ปล้น หลอกลวง กดขี่หรือกรรโชก ลักซ่อน อวหารทั้ง ๑๓ ประการนี้ ถ้าภิกษุลงมือทำด้วยตนเอง เรียกว่า สาณัตติกะ คือ การทำความผิดด้วยตนเอง แต่ถ้าสั่ง คือให้ผู้อื่นทำแทนตน เรียกว่า อาณัตติกะ ต้องอาบัติเพราะสั่งให้เขาทำ และต้องอาบัติในเวลาที่ผู้รับคำสั่งนั้นไปลักทรัพย์หรือทำอวหารได้ของมา ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า สิกขาบทนี้เป็นทั้งสาณัตติกะ และ อาณัตติกะ คือ ทำเองก็ต้อง สั่งผู้อื่นทำก็ต้องเหมือนกัน
เรื่องที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวินิจฉัยไว้ในวินีตวัตถุ มีทั้งหมด ๑๕๓ เรื่อง เช่น เรื่องช่างย้อม ภิกษุพระฉัพพัคคีย์ รูปหนึ่งลักห่อผ้าของช่างย้อม เกิดความรังเกียจว่าตนต้องอาบัติปาราชิกแล้ว จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ตรัสว่าพวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว และเรื่องนำแก้วมณีล่วงด่านภาษี มีบุรุษคนหนึ่งนำแก้วมณีราคาแพงเดินทางไกลไปกับภิกษุรูปหนึ่ง ครั้นเห็นด่านภาษีแกล้งทำว่าเป็นไข้ ฝากห่อของของตนไว้กับภิกษุโดยที่ภิกษุไม่รู้ว่ามีของหนีภาษีซ่อนอยู่ด้านใน เมื่อเดินทางพ้นด่านภาษีไปแล้ว ขอห่อของคืนพร้อมกับบอกพระภิกษุว่าตนไม่ได้เป็นไข้ แต่ต้องการหนีภาษี ภิกษุนั้นเกิดความรังเกียจว่า ตนต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสตอบว่าภิกษุผู้ไม่รู้ ไม่ต้องอาบัติ จากตัวอย่างในวินีตวัตถุ แสดงให้เห็นว่า ในสิกขาบทนี้ เป็นสจิตตกะ คือ จะต้องมีเจตนาจึงจะเป็นอาบัติ ซึ่งเกณฑ์ในการปรับอาบัติในสิกขาบทนี้ คือ ในการตัดสินว่าภิกษุถือเอาทรัพย์เช่นไรต้องอาบัติ เช่นไรไม่ต้องอาบัติ หรือทรัพย์เช่นไรเป็นข้อห้าม สำหรับภิกษุนั้นท่านให้ถือเอาหลักวินิจฉัยเกี่ยวกับทรัพย์นั้นด้วยอาการ ๕ อย่าง เหล่านี้ คือ
๑) ทรัพย์ที่ผู้อื่นหวงแหน
๒) มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน
๓) ทรัพย์มีค่าได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสกนั้นขึ้นไป
๔) มีไถยจิตปรากฎขึ้น (จิตคิดจะลัก)
๕) ภิกษุทำทรัพย์ (นั้น) ให้เคลื่อนจากฐาน
ถ้าพร้อมด้วยอวหาร ๕ อย่างนี้ ในขณะที่ภิกษุลูบคลำทรัพย์นั้นต้องทุกกฏ ขณะทำให้เคลื่อนไหวต้องถุลลัจจัย เมื่อทำทรัพย์นั้นให้พ้นจากที่ตั้ง หรือเคลื่อนจากฐาน ต้องปาราชิก ส่วนในข้อ ๓ นั้น ถ้าทรัพย์มีค่า ๑ มาสก (หรือน้อยกว่า) ต้องทุกกฏ มีค่า ๒ - ๓ - ๔ มาสก ไม่เกินนี้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้ามีค่า ๕ มาสกขึ้นไป ต้องปาราชิก
วิเคราะห์ของที่ทำให้ ภิกษุผู้ลัก เป็นปาราชิก ที่ว่า ๑ บาท (เป็นเงินตรา) ราคาเท่า ๑ บาท หรือ เกิน ๑ บาท (ปาทารหํ วา อติเรกปาทํ วา) เล็งว่าเป็น สิ่งของซึ่งจะต้องตีราคา คำว่า ๑ บาท ในสมัยพุทธกาลนั้น ๕ มาสก เป็น ๑ บาท ๕ บาท เป็น ๑ กหาปณะ คิดเป็นมาตราทองคำ คือ ทองคำหนัก ๔ เมล็ดข้าวเปลือก เท่ากับ ๑ มาสก ๕ มาสก เท่ากับ ๑ บาท เพราะฉะนั้น ๑ บาท จึงเท่ากับ ทองคำหนัก ๒๐ เมล็ดข้าวเปลือก ยี่สีบคูณสี่ เท่ากับ แปดสิบ ทองคำหนัก ๘๐ เมล็ดข้าวเปลือก ๑ กหาปณะ เป็นราคาเงินไทย เวลานี้เท่าใด ๑ บาทขึ้นไป อันเป็นวัตถุแห่งปาราชิกนั้น คิดเป็นราคาเงินไทยเท่าใด ถ้าขโมยเงิน หรือ ขโมยของต่ำกว่า ๑ บาท ลงมา อาบัติก็ต่ำลงมา คือ ๒-๔ มาสก เป็นอาบัติถุลลัจจัย (หยาบ) ตั้งแต่ ๑ มาสก ลงมาเป็นทุกกฏ (ไม่ดี ไม่งาม ไม่เหมาะ ไม่ควร ทำชั่ว)
ในสิกขาบทนี้ ลักษณะที่ภิกษุไม่ต้องอาบัติมี ๘ ประการ คือ ๑) ภิกษุถือเอาด้วยเข้าใจว่าเป็นของตน ๒) ภิกษุถือเอาด้วยความคุ้นเคยกันหรือถือเอาด้วยวิสาสะ• ๓) ภิกษุถือเอาด้วยเข้าใจว่าเป็นของยืม ๔) ภิกษุถือเอาของผู้ตายหวงแหน เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกต่อ ๕) ภิกษุถือเอาของที่สัตว์หวงแหน เช่น เสือกัดเนื้อตาย ถือเอาบางส่วนมาทำเป็นอาหาร ๖) ภิกษุถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญา คือเข้าใจว่าเป็นของที่เขาทิ้งแล้ว ๗) ภิกษุเป็นบ้า ๘) ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ

๓.๓ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการฆ่ามนุษย์ให้ตาย
พระบัญญัติ : อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัตราอันจะปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น แม้ภิกษุนี้เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
อนุบัญญัติ  : อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต (ทำให้ตาย) แสวงหาศัตราอันจะปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณแห่งความตาย หรือชักชวนเพื่ออันตายด้วยคำว่า แน่ะ นายผู้เป็นชาย จะประโยชน์อะไรแก่ท่านด้วยชีวิตอันแสนลำบากยากแค้นนี้ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่อย่างนี้ ดังนี้ เธอมีจิต (คิด) อย่างนี้ มีใจอย่างนี้ มีความหมายหลายอย่างอย่างนี้ พรรณนาคุณในความตายก็ดี ชักชวนเพื่ออันตายก็ดี โดยหลายนัย แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิกหาสังวาสมิได้
๑. ความเป็นมาของสิกขาบทนี้ พระพุทธเจ้าทรงปรารภการที่ภิกษุฆ่าตัวตาย และวานให้ภิกษุอื่นฆ่าตนเองเป็นต้นบัญญัติ (อาทิกัมมิกะ) โดยสมัยหนึ่ง พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงวิธีการเจริญกรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยแสดงการเจริญอสุภกรรมฐาน คือให้พิจารณาร่างกายเป็นของไม่สวยไม่งาม จากนั้นแล้วพระองค์ทรงหลีกเร้นไปอยู่ในป่ามหาวันเพียงรูปเดียวตลอดครึ่งเดือน ทรงอนุญาตให้ภิกษุเฉพาะรูปที่ส่งอาหารบิณฑบาตเท่านั้นเข้าเฝ้าได้ รูปอื่นห้ามเข้าเฝ้า ส่วนภิกษุทั้งหลายได้พากันเจริญอสุภกรรมฐาน จนบางรูป เกิดความเบื่อหน่ายในชีวิต เพราะเห็นว่าร่างกายเต็มไปด้วยมูตรคูถ จึงได้ฆ่าตัวเองตายไปบ้าง บางรูปก็วานให้ภิกษุอื่นฆ่าตนบ้าง ส่วนภิกษุอีกเหล่าหนึ่งได้จ้างวานให้มิคคลัณฑิกสมณกุตต์• ให้ช่วยฆ่าตัวตาย โดยให้บาตรและจีวรเป็นรางวัล มิคคลัณฑิกสมณกุตต์นั้นได้ฆ่าพระตายไปเป็นจำนวนมาก หลังจากพระพุทธเจ้าทรงออกจากที่หลีกเร้นแล้ว ได้ทรงทราบเรื่องที่ภิกษุจ้างวานนายมิคคลัณฑิกสมณกุตต์และวานให้ฆ่ากันเองนั้น จึงทรงเรียกประชุมพระสาวกและทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามการทำลายชีวิตมนุษย์ ภิกษุใดทำต้องอาบัติปาราชิก ต่อมาภิกษุพวกฉัพพัคคีย์เห็นอุบาสกคนหนึ่งป่วยหนัก จึงไปพูดพรรณนาคุณของความตายให้เขาฟัง เพื่อให้เขาฆ่าตัวตาย เพราะด้วยคำพูดของพระฉัพพัคคีย์ทำให้เขากินของแสลงต่อโรคตายไปจริง ๆ ทำให้ภรรยาของเขาตำหนิการกระทำของภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้น ความเรื่องนี้ทราบไปถึงพระพุทธองค์ พระองค์ทรงเรียกประชุมพระสาวกแล้วทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติม (อนุบัญญัติ) อีกให้ครอบคลุมไปถึงการพรรณนาคุณความตาย หรือชักชวนเพื่อให้เขาตาย เมื่อเขาตายต้องปาราชิก
อาจจะมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า ในเมื่อพระพุทธเจ้าทรงเป็นสัพพัญญู ทรงรู้ล่วงหน้าแล้วว่าหากพระองค์ทรงแสดงอสุภกรรมฐาน ภิกษุเหล่านั้นจะฆ่าตัวตาย แล้วพระองค์ทรงแสดงทำไม ไม่เป็นการพรรณนาคุณแห่งความตายหรือ ในประเด็นนี้ พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า การที่ภิกษุเหล่านั้นฆ่าตัวตายเป็นเพราะวิบากกรรมของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นนั่นเอง ที่ในอดีตชาติเคยเป็นนายพรานฆ่าสัตว์ตัดชีวิตไว้มากมาย หลังจากเสวยกรรมในนรกแล้ว มาเกิดเป็นมนุษย์และได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ด้วยกุศลกรรมบางอย่าง และพระองค์ทรงทราบว่าภายในกึ่งเดือนนี้ บาปกรรมที่เคยทำปาณาติบาตยังเหลืออยู่ จักส่งผลกระทำให้ภิกษุเหล่านั้นเสียชีวิต ด้วยความพยายามของตนเองและของผู้อื่น ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าใครๆ ไม่อาจห้ามการให้ผลของกุศลกรรมเหล่านั้นได้ จึงทรงแสดงอสุภกรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เป็นเพราะทรงประสงค์จะอนุเคราะห์ภิกษุเหล่านั้นนั่นเอง เพราะในบรรดาภิกษุเหล่านั้น มีทั้งผู้เป็นปุถุชน ทั้งพระโสดาบัน สกทาคามี ทั้งพระอนาคามี และพระอรหันตขีณาสพ พระอริยสาวกที่เป็นโสดาบัน เป็นต้น มีที่ไปที่แน่นอนแล้ว แต่ที่ไปของภิกษุที่ยังเป็นปุถุชนยังไม่แน่นอน ย่อมเสี่ยงต่อการไปสู่อบายภูมิ หากภิกษุเหล่านั้นได้สดับอสุภกรรมฐาน จักทำลายสักกายทิฏฐิ และสามารถชำระคติให้บริสุทธิ์ได้ ทรงพระดำริอย่างนี้จึงทรงแสดงอสุภกรรมฐาน หาใช่ทรงพรรณนาคุณแห่งความตายไม่ ครั้นทรงแสดงแล้ว ทรงดำริว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายพบเห็นเราตลอดกึ่งเดือนไซร้ เธอเหล่านั้นจักมาบอกว่า วันนี้มีภิกษุมรณภาพไปรูปหนึ่ง วันนี้มรณภาพไป ๒ รูป ฯลฯ วันนี้มรณภาพไป ๑๐ รูป ซึ่งวิบากกรรมของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ใครๆ ก็ไม่สามารถจะห้ามได้ ดังนั้นจึงทรงหลีกเร้นตลอดกึ่งเดือน
สารัตถะแห่งตติยปาราชิก เป้าหมายในสิกขาบทนี้ทรงห้ามภิกษุทำลายชีวิตมนุษย์หรือฆ่ามนุษย์ให้ตายหรือการกระทำใด ๆ ก็ตามของภิกษุที่มีส่วนให้เขาตาย เช่น หาอาวุธมาให้ ทำกับดักเอาไว้ หรือพูดให้เขาฆ่าตัวตาย เป็นต้น เมื่อผู้นั้นตายไป ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาราชิก เป็นการป้องกันไม่ให้ภิกษุเป็นคนโหดร้าย ทั้งนี้เป็นเพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากที่สุด ชีวิตมนุษย์ในทัศนะของพุทธศาสนานั้น เป็นสิ่งที่ได้มาด้วยความยากลําบาก
ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า “เสฏฺโฐ มนุสฺสปฏิลาโภ การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด” เพราะมนุษย์มีอินทรีย์แก่กล้าสามารถที่จะพัฒนาไปสู่ความเป็นพระอริยบุคคลในระดับต่างๆ ได้ การฆ่าชีวิต โดยเฉพาะชีวิตมนุษย์ตามหลักพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ไม่พึ่งประสงค์ เพราะพระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงความยากลำบากในการได้เกิดเป็นมนุษย์ว่า “กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ การได้เกิดมาเป็นมนุษย์เป็นของยาก”การที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติศีลข้อปาณาติบาต เพราะพระองค์ทรงเล็งเห็นว่า ธรรมชาติของแต่ละชีวิตนั้น ย่อมต้องการความสุข ความปลอดภัยในชีวิต เกลียดและหลีกหนีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ดังพุทธพจน์ที่แสดงไว้ว่า
ฉะนั้น เมื่อสิ่งใดก็ตามได้มาด้วยความยากลําบากหน้าที่ของมนุษย์ก็คือ ควรที่จะพยายามรักษาสิ่งที่ได้มาด้วยความยากลําบากนั้น ให้ดํารงอยู่ให้นานที่สุดเท่าที่มนุษย์สามารถที่จะทําได้บนพื้นฐานของความดีงามทางด้านกาย วาจา และใจ เพราะความดีงามเหล่านี้ จะทําให้ชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งที่มีคุณค่า และจะต้องใช้ปัญญาในอันที่จะประคับประคองให้การฝึกฝนชีวิตนั้นเจริญก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายสูงสุดทางพระพุทธศาสนา นั่นก็คือ “พระนิพพาน” อันเป็นสภาวะจิตที่ปราศจากราคะ โทสะ และโมหะ

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายสำหรับน้อมเข้ามาเทียบกับตัวอริยสาวก เราย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเองอยากมีชีวิต ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ ถ้าใครจะปลงชีวิตเรา ผู้อยากอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ ก็จะไม่เป็นที่ชื่นชอบและพอใจแก่ชีวิตสัตว์นั้นๆ เหมือนกัน ดังนั้น สิ่งไหนที่เราไม่ชอบและไม่พอใจ ไฉนเราจึงเอาไปผูกให้คนอื่นเล่า ถ้าอริยสาวกพิจารณาดังนี้แล้ว ย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตเองด้วย ย่อมชักชวนให้ผู้อื่นงดเว้นด้วย ย่อมสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นด้วย กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์ทั้ง ๓ อย่างนี้ (กายสมาจารคือ การประพฤติทางกาย มีการไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม หรือเรียกว่า กายสุจริต ๓) จากพุทธพจน์บทนี้ แสดงให้เห็นว่า ทุกชีวิตควรมีเมตตากรุณาต่อกัน ไม่ควรเบียดเบียนชีวิตซึ่งกันและกัน ควรปฏิบัติตนต่อผู้อื่นเหมือนอย่างที่อยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา เมื่อทุกคนมีความสำนึกอย่างนี้ สิกขาบทข้อนี้จะเป็นการสร้างหลักประกันชีวิตให้กับสังคม และถือว่าเป็นการป้องกันการทำลายชีวิตตั้งแต่ต้น
ปาณาติบาต หมายถึง การทำให้ชีวิตตกล่วง การฆ่าสัตว์ การตัดรอนชีวิต (Destruction of Life) คําว่า “ปาณาติบาต” นั้น หมายถึง “การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป” ซึ่งนัยนี้ได้มีการขยายความเพิ่มเติมว่า “วธกเจตนา (จิตคิดที่จะฆ่า) ของบุคคลผู้มีความสําคัญในสัตว์นั้นว่ามีชีวิต เป็นไปทางกายทวารใดทวารหนึ่งของกายทวาร หรือวจีทวาร ที่ตั้งแห่งความพยายามเข้าไปตัดชีวิตินทรีย์นั้น ชื่อว่า “ปาณาติบาต” พระอรรถกถาจารย์ได้ให้คําจํากัดความเพิ่มเติมว่า “หมายถึง บุคคลยังประโยคอันเข้าไปตัดเสียซึ่งชีวิตตินทรีย์ ให้ตั้งขึ้นด้วยเจตนาใด เจตนานั้น ชื่อว่า วธกเจตนา ท่านเรียกว่า“ปาณาติบาต” (เจตนาธรรมเป็นเหตุล้างผลาญชีวิตสัตว์มีปราณ)
การกระทําที่ถือได้ว่าผิดศีลข้อปาณาติบาตนั้น จะต้องเพียบพร้อมด้วยองค์ประกอบ สําคัญ ๕ ประการด้วยกัน กล่าวคือ
(ก) สัตว์มีชีวิต (ปาโณ)
(ข) รู้ว่าสัตว์มีชีวิต (ปาณสัญญิตา)
(ค) มีเจตนาจะฆ่า (วธกเจตนา)
(ง) มีความพยายามที่จะฆ่า (วธกปโยโค)
(จ) สัตว์นั้นตายด้วยความพยายามนั้น (เตน มรณํ)
อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบทั้ง ๕ เหล่านั้น ข้อที่ควรทำความเข้าใจเป็นพิเศษ คือ วธกเจตนา การจงใจฆ่า เพราะการจงใจฆ่านั้น จิต (ใจ) จะตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งการกระทำที่เป็นอกุศล คือ ประกอบด้วย โลภะ โทสะ และโมหะ การกระทำชนิดนี้จะเป็นบาป เพราะเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ดังพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า “เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม”
คำว่ามนุษย์ในที่นี้ หมายเอาตั้งแต่แรกที่ปฏิสนธิในครรภ์ของมารดาเป็นต้นมาจนคลอดออกมาเป็นทารก ตลอดจนมีชีวิตไปถึงชั่วอายุ ภิกษุใดทำชีวิตเขาให้ตายไปในระหว่างใดก็ตาม เช่นในขณะที่เริ่มตั้งครรภ์ หรือเป็นทารก หรือขณะแก่เฒ่า หรือขณะป่วยหนัก เห็นเขาทรมานแล้วไม่ต้องการให้เขาทรมานจึงฆ่าเขาเสีย เช่นนี้ต้องปาราชิกเช่นกัน
สิกขาบทนี้เป็นอาบัติประเภทสาหัตถิกะ คือทำเองก็ต้องอาบัติ และอาณัตติกะ สั่งให้คนอื่นทำตนเองก็ต้องอาบัติด้วย ในเรื่องการฆ่าให้ตายนี้มีหลายวิธีและสลับซับซ้อน ในวิธีการฆ่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ถ้าการตายของเขานั้นภิกษุมีส่วนรู้เห็นเป็นใจอยู่ด้วย ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาราชิกในขณะที่เขาสิ้นใจไป เช่น การฆ่าให้ตายโดยตรง การพรรณนาให้เขาฆ่าตัวตายเอง การทำให้ตกใจกลัวจนตาย การสั่งให้เขาไปฆ่าให้เขาตาย หากภิกษุพยายามจะฆ่ามนุษย์ให้ตายแต่ไม่ตาย เพียงบาดเจ็บสาหัส ภิกษุต้องถุลลัจจัย ในขณะที่เตรียมการ เช่น เตรียมอาวุธ เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ และภิกษุผู้พยายามจะฆ่าตัวเองตายก็ต้องทุกกฏเหมือนกัน (ส่วนภิกษุผู้ฆ่าสัตว์เดรัจฉานต้องปาจิตตีย์)

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2015, 08:21:17 pm »



พระวินัยปิฎก เล่ม ๘ ปริวาร - คาถาสังคณิกะ - วิเคราะห์ปาราชิก เป็นต้น - วิเคราะห์ปาราชิก

-http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%8E%E0%B8%81_%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1_%E0%B9%98_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3_-_%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B0_-_%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81_%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99_-_%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81-



ปาราชิกกัณฑ์
ความหมาย

คำว่า ปาราชิก มาจากคำว่า ปราชย แปลว่า ปราชัย หรือ พ่ายแพ้ คำว่าปาราชิก เป็นคำกลาง ๆ ใช้ในความหมาย ๓ ความหมาย คือ
๑. ถ้าเป็นคุณบทของอาบัติ หมายถึง อาบัติ แปลว่าอาบัติที่ทำให้ผู้ต้องให้พ่ายแพ้ (จากหมู่คณะ) คือ อาบัติปาราชิก
๒. ถ้าเป็นคุณบทของบุคคล หมายถึงบุคคลหรือภิกษุผู้ต้องอาบัติ แปลว่า ผู้พ่ายแพ้ หรือ บุคคลผู้พ่ายแพ้จากหมู่คณะหรือขาดจากความเป็นภิกษุสงฆ์ เป็นผู้พ่ายแพ้จากหมู่สงฆ์ คือ ผู้ที่ต้องอาบัติปาราชิกนี้แล้วจะต้องสึกไปสถานเดียว ดังนั้นท่านจึงเปรียบบุคคลผู้ต้องอาบัติปาราชิกนี้ไว้ว่า เหมือนตาลยอดด้วนที่ไม่สามารถจะแตกยอดออกใบออกผลได้อีก หรือเหมือนศิลาแท่งทึบที่แตกกระจายเป็นผุยผงไปแล้วไม่สามารถนำมาทำเป็นก้อนได้ดังเดิม เป็นต้น
๓. ถ้าเป็นคุณบทของสิกขาบทหรือวินัย แปลว่า สิกขาบทที่ปรับด้วยอาบัติปาราชิก หรือ อาบัติหมวดปาราชิก คือ สิกขาบทที่ว่าด้วยปาราชิกนั่นเอง
อาบัติปาราชิกนี้มี ๔ สิกขาบท คือ
๑. ภิกษุเสพเมถุน ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของไม่ให้ ได้ราคา ๕ มาสก ต้องปาราชิก
๓. ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย ต้องปาราชิก
๔. ภิกษุอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริง ต้องอาบัติปาราชิก
๓.๑ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการเสพเมถุน
มูลบัญญัติ อนึ่ง ภิกษุใดเสพเมถุนเป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
อนุบัญญัติ ก. อนึ่ง ภิกษุใดเสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้ในสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
อนุบัญญัติ ข. อนึ่ง ภิกษุใดถึงพร้อมด้วยสิกขาบทและสาชีพของภิกษุทั้งหลายแล้ว ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้ในสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
สิกขาบทนี้มีปฐมเหตุในการบัญญัติถึงสามครั้ง โดยพระบัญญัติครั้งแรกนั้นเรียกว่า
มูลบัญญัติ (บัญญัติเดิม) ส่วนการบัญญัติซ้ำสิกขาบทนั้นอีกในครั้งต่อ ๆ มา (จะกี่ครั้งก็ตาม) เรียกว่า
อนุบัญญัติ เหมือนกันทั้งหมด
สารัตถะในปฐมปาราชิก
๑) ที่มาของพระบัญญัติ
สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ ปรากฎในนิทานต้นบัญญัติว่า บุตรของเศรษฐีคนหนึ่งชื่อว่า สุทินน์ ในเมืองเวสาลี ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเกิดแล้ว เกิดความเลื่อมใส ต้องการอุปสมบทในพระพุทธศาสนา แต่พระพุทธเจ้าไม่ประทานการอุปสมบท เพราะมารดาบิดายังไม่อนุญาต ท่านสุทินน์จึงไปขออนุญาตต่อมารดาบิดา โดยได้ขอร้องอ้อนวอนอยู่นาน จึงได้รับการอนุญาต หลังจากอุปสมบทแล้วก็ประพฤติตนอย่างเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ส่วนมารดาและบิดาต้องการให้ท่านสึก เพราะตามประเพณีอินเดียสมัยนั้นหากครอบครัวใดไม่มีบุตรสืบสกุล ทรัพย์สมบัติจะต้องตกเป็นของแผ่นดิน แม้จะเอาทรัพย์สมบัติมาล่อ ท่านก็ไม่ยอมสึก ต่อมามารดาและบิดาจึงพาภรรยาเก่าของท่านเมื่อครั้งยังเป็นฆราวาส มาล่อชักชวนให้ท่านสึก ท่านก็ไม่ยอมสึก จึงขอพืชพันธุ์จากท่านไว้สืบสกุล เพราะยังไม่มีบุตรสืบไว้สืบสกุล ครั้งนั้น ยังไม่มีการบัญญัติพระวินัยห้ามภิกษุเสพเมถุนกับบุคคลอื่น พระสุทินน์เข้าใจว่าเป็นเรื่องที่พอจะทำได้ จึงมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาเก่าของตน จากนั้น นางก็ตั้งครรภ์ แล้วคลอดบุตรชื่อว่าเจ้าพืช
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบเรื่องราวนั้น จึงพากันตำหนิติเตียน และได้นำความกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนเรื่องนั้น ทรงชี้โทษ ติเตียน แล้วบัญญัติพระวินัยห้ามไม่ให้ภิกษุเสพเมถุนกับบุคคลอื่น (พระสุทินน์ไม่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะเป็นต้นบัญญัติ)
ต่อมา มีภิกษุชาววัชชีบุตร กรุงเวสาลีเข้าใจว่าห้ามเฉพาะเสพเมถุนกับมนุษย์ จึงพากันเสพเมถุนกับนางลิง ความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติม (อนุบัญญัติ) ห้ามภิกษุเสพเมถุนแม้ในสัตว์เดรัจฉาน ภิกษุใดเสพเมถุนขาดจากความเป็นภิกษุ แม้ขออุปสมบทอีกก็อุปสมบทไม่ได้
ในสิกขาบทนี้ ลักษณะที่ภิกษุได้รับการยกเว้นไม่ต้องอาบัติมี ๕ ประการ คือ ๑) ภิกษุไม่รู้ตัว หรือถูกบังคับแต่ไม่ยินดี ๒) ภิกษุบ้าเสียสติ ๓) ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่านชั่วขณะ ๔) ภิกษุมีทุกขเวทนาหนักกระสับกระส่ายไม่รู้สึกตัว ๕)ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ (อาทิกัมมิกภิกษุ)
สิกขาบทนี้ เป็นประเภท สจิตตกะ มีเจตนาเท่านั้นจึงต้องอาบัติ และเป็นประเภท อนาณัตติกะ คือ เสพด้วยตนเองเท่านั้นจึงต้องอาบัติ สั่งคนอื่นเสพไม่ต้อง แต่ถ้าสั่งให้เขามาเสพกับตนก็ยังต้องอยู่นั่นเอง ดังตัวอย่างในวินีตวัตถุคือเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงวินิจฉัยไว้ เช่น ภิกษุรูปหนึ่งปลอมตัวเป็นคฤหัสถ์ ไปเสพเมถุนธรรม ด้วยคิดว่า การทำอย่างนี้ เราจะไม่ต้องอาบัติ ต่อมาเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า เธอต้องอาบัติปาราชิก และอีกเรื่องที่ไม่มีเจตนา ไม่เป็นอาบัติ คือ ภิกษุรูปหนึ่งจำวัดกลางวันอยู่ในป่าชาติยาวัน เขตเมืองภัททิยะ ขณะที่จำวัดหลับอยู่นั้น อวัยวะทุกส่วนของท่านถูกลมรำเพยให้แข็งตัว หญิงคนหนึ่งมาพบเห็นเข้า จึงนั่งคร่อมองคชาต ทำการจนพอใจแล้วจากไป ภิกษุทั้งหลายเห็นองคชาตของภิกษุนั้นเปรอะเปื้อน จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า องคชาตแข็งตัวด้วยเหตุ ๕ อย่าง คือ เกิดความกำหนัด ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ถูกลมรำเพยพัด และถูกบุ้งขน แต่องคชาตของภิกษุนั้นมิได้แข็งตัวเพราะความกำหนัด เพราะเธอเป็นพระอรหันต์ และเธอก็ไม่ต้องอาบัติ
๒) ความมุ่งหมายของสิกขาบท
การเสพเมถุน พระพุทธเจ้าทรงปรับอาบัติหนักถึงกับขาดจากการเป็นภิกษุ บวชไม่ได้ตลอดชีวิต ความมุ่งหมายของสิกขาบทนี้ มีเป้าหมายให้พระภิกษุในพระพุทธศาสนาจะต้องประพฤติพรหมจรรย์ หรือมีความประพฤติอันประเสริฐ หมายถึงการประพฤติตนตามคุณธรรมต่างๆ ทั้งหมดในศาสนาให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้กิเลสฟูกลับขึ้นมาอีกจนกระทั่งหมดกิเลสซึ่งต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ ตามภูมิชั้นของจิต ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบว่า จิตของคนเราอาจแบ่งภูมิชั้นได้เป็น ๔ ระดับ ตามการฝึกฝนตนเอง คือ
๑. กามาวจรภูมิ เป็นชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกามารมณ์ยังยุ่งเกี่ยวกับกามคุณอยู่ ได้แก่ ภูมิจิตของคนสามัญทั่วไป
๒. รูปาวจรภูมิ เป็นชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูปารมณ์ มีความสุขความพอใจอยู่ในอารมณ์ของรูปฌาน ได้แก่ ภูมิจิตของผู้ที่ฝึกสมาธิมามากจนกระทั่งใช้รูปฌาน เมื่อมีชีวิตอยู่ก็ไม่สนใจกามารมณ์ อิ่มเอิบในพรหมวิหารธรรม ซึ่งเป็นสุขประณีตกว่า กามารมณ์ เป็นเหมือนพระพรหมบนดิน ละจากโลกนี้ไปก็จะไปเกิดเป็นรูปพรหม
๓. อรูปาวจรภูมิ เป็นชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปารมณ์มีความสุข อยู่ในอารมณ์ของอรูปฌาน ได้แก่ ภูมิจิตของผู้ที่ทำสมาธิจนกระทั่งได้อรูปฌาน มีความสุขที่ประณีตกว่าอารมณ์ของรูปฌานอีก เมื่อละจากโลนี้ไปก็จะไปเกิดเป็นอรูปพรหม
๔. โลกุตตรภูมิ เป็นชั้นที่พ้นโลกแล้ว ได้แก่ ภูมิจิตของผู้หมดกิเลสแล้ว คือ พระอรหันต์ มีความสุขล้วนๆ ละเอียด ประณีต ลึกซึ้ง
ทั้ง ๔ ภูมินี้ รวมเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ ๒ ประเภท คือ
๑. โลกียภูมิได้แก่ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ
๒. โลกุตตรภูมิ ได้แก่ โลกุตตรภูมิ
ในชั้นโลกียภูมินั้น ก็มีสุขมีทุกข์คละเคล้ากันไป และมีการยักย้ายถ่ายเทขึ้นลงได้ ผู้ที่อยู่ในอรูปาวจรภูมิถ้าไม่ตั้งใจปฏิบัติธรรม ประมาท อาจตกลงมาอยู่ชั้นกามาวจรภูมิก็ได้ ผู้อยู่ชั้นกามาวจรภูมิ ถ้าตั้งใจทำสมาธิอาจเลื่อนไปอยู่รูปาวจรภูมิหรืออรูปาวจรภูมิได้ เลื่อนไปเลื่อนมาได้ไม่แน่นอน และในชั้นโลกียภูมินี้ ถึงจะมีความสุขก็สุขอย่างโลกีย์ก็ยังมีทุกข์ระคนอยู่ ท่านเปรียบความสุขทางโลกียภูมินี้ว่าเหมือนพยับแดด ความสุขในชั้นกามาวจรภูมิ เป็นสุขขั้นต่ำ ยังยุ่งเกี่ยวกับกาม รูปาวจรภูมิ เป็นสุขที่สูงขึ้นมาหน่อย สุขเหมือนคนมีงานมีการที่ถูกใจทำ เพลิดเพลินไป อรูปาวจรภูมิ เป็นสุขที่สูงขึ้นมาอีก สุขเหมือนพ่อ แม่ ครู อาจารย์ ที่เห็นลูกซึ่งตนเลี้ยงดู อบรมมา มีความเจริญก้าวหน้า หรือเห็นงานการที่ตนทำสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ชื่นชมผลงานของตน ในศาสนาอื่นๆ นอกเหนือจากพระพุทธศานา อย่างสูงที่สุดก็สอนให้คนเราพัฒนาจิตได้ถึงขั้นอรูปารมณ์เท่านั้น เช่น ศาสนาพราหมณ์ ก็สอนให้คนมุ่งเป็นพระพรหม ยังวนเวียนอยู่ในโลกียภูมิขึ้นๆ ลงๆ แต่พุทธศาสนาเรา สอนให้คนตัดโลกียวิสัย ตัดเยื่อใยทุกๆ อย่าง เพื่อมุ่งหน้าสู่โลกุตตรภูมิมุ่งหน้าสู่โลกุตตรภูมิ เข้าพระนิพพาน
แต่การจะเข้าสู่โลกุตตรภูมินั้น ประการแรกที่ต้องทำก่อน คือ ตัดกามารมณ์ แล้วจึงตัดรูปารมณ์ อรูปารมณ์ไปตามลำดับ สำหรับมนุษย์ปุถุชนทั่วๆ ไป สิ่งสำคัญที่เหนี่ยวรั้งเราไว้ไม่ให้ก้าวหน้าในการพัฒนาจิต และทำให้กิเลสฟูกลับขึ้นได้ง่ายที่สุดก็คือกามารมณ์ ถ้าใครตัดกามารมณ์ได้ก็มีโอกาสก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมได้อย่างรวดเร็ว การประพฤติพรหมจรรย์ตามสารัตถะแห่งสิกขาบทข้อนี้ จึงมุ่งเน้นการตัดกามารมณ์เป็นหลัก
วิถีชีวิตของบรรพชิตที่จะต้องงดเว้นจากการเสพเมถุนนั้น บางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องฝืนธรรมชาติอย่างรุนแรง เพราะการเสพเมถุนหรือเรื่องการสืบพันธุ์มิใช่เป็นเพียงธรรมชาติของมนุษย์เท่านั้น แต่เป็นธรรมชาติของสัตว์โดยทั่วไป แม้พืชที่ไม่มีชีวิตจิตใจก็ยังต้องมีการสืบพันธุ์เช่นกัน การเสพเมถุนเพื่อสืบพันธุ์นั้นก็เป็นสัญชาติญาณที่รุนแรงมากอย่างหนึ่ง เพราะการสืบต่อเผ่าพันธุ์เป็นเรื่องสำคัญมากที่สุด แต่ก็เป็นสิ่งที่ผู้ต้องการจะไปให้ถึงพระนิพพานพึงกระทำ ถ้ามองในวงกว้างสุด คือระดับของสังสารวัฏแล้ว เรื่องเพศสัมพันธ์ก็คือปัจจัยที่สร้างแรงเหวี่ยงที่ทำให้สังสารวัฏหมุนต่อไปได้เรื่อย ๆ นั่นเอง
สังสารวัฏนั้นหมุนอยู่ได้ก็เพราะกรรม ถ้าจะเจาะแต่เรื่องเมถุนธรรมอย่างเดียว ก็หมายความว่า เมถุนนั้นเป็นสิ่งที่ป้อนให้สังสารวัฏมีแรงเหวี่ยงและหมุนต่อไปได้เรื่อย ๆ ฉะนั้น หากใครต้องการออกจากสังสารวัฏก็ต้องหยุดปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงเหวี่ยงนั้น หรือ หยุดเรื่องเมถุน ซึ่งเป็นเรื่องยากมาก เพราะการอยู่ในวงโคจรของแรงเหวี่ยงมันย่อมง่ายกว่าการดีดตัวเองออกมา หรือ การได้เสพเมถุนย่อมง่ายกว่าการไม่เสพ หรือ การแหวกว่ายอยู่ในสังสารวัฏย่อมง่ายกว่าการไปนิพพาน นี่จึงเป็นเหตุผลใหญ่ว่าทำไมคนไปถึงนิพพานจึงมีน้อยมาก เพราะนิพพานเป็นเรื่องที่ต้องดีดตัวเองออกจากสังสารวัฏ ซึ่งเปรียบกับการดีดตนเองออกจากรังไม้ที่หมุนติ้วอยู่อย่างรุนแรงซึ่งเป็นเรื่องยาก ฉะนั้น เรื่องเพศเป็นเรื่องรุนแรงเพราะเป็นปัจจัยที่สร้างแรงเหวี่ยงของสังสารวัฏ ถ้าไม่ใช่เป็นสัญชาติญาณที่รุนแรงมากแล้ว โลกนี้คงไม่เดินมาถึงจุดที่ถึงกับมีอุตสาหกรรมขายมนุษย์เพื่อตอบสนองความต้องการทางเพศ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงเหวี่ยงให้สังสารวัฏทั้งสิ้น ฉะนั้น ใครที่ต้องการออกจากสังสารวัฏเพื่อไปนิพพาน จึงต้องไม่มาเสียเวลากับเรื่องเพศ จะต้องดีดตัวเองออกมาจากสัญชาติญาณที่รุนแรงนั้น นี่เป็นเหตุผลใหญ่ว่าทำไมบรรพชิตจึงต้องงดเว้นจากเมถุนธรรมเสีย เพราะผู้ที่เข้ามาเป็นบรรพชิต ก็หมายความว่าคน ๆ นั้นต้องการสร้างปัจจัยไปนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของบรรพชิต นี่เป็นเหตุผลเดียวที่พระพุทธเจ้าสร้างวิถีชีวิตของบรรพชิตขึ้นมา เพื่อบรรพชิตจะได้รับประโยชน์อันสูงสุด คือ ไปให้ถึงพระนิพพาน
สิ่งหนึ่งที่บรรพชิตจะทดแทนสัญชาติญาณอันรุนแรงนี้ได้คือ วิมุตติสุข หรือ ปีติจากสมาธิ ซึ่งเป็นความสุขที่ละเอียดอ่อนกว่าเมถุนมากมายนัก ที่จริงความสุขจากเรื่องเพศและความสุขจากสมาธิเป็นความสุขคนละอย่างกัน ไม่ใช่เป็นความสุขที่ทดแทนกันได้อย่างแท้จริง ความสุขทางเพศเหมือนเด็ก ๆ ที่ได้กินขนมโปรดแล้วเป็นสุขมาก ส่วนปีติและวิมุติจากสมาธินั้นเหมือนคนปวดท้อง พอได้นั่งส้วมถ่ายแล้วก็เป็นสุข ทำให้ร่างกายเบาขึ้น เหตุผลที่แท้จริงคือ ปีติจากสมาธินั้นทำให้จิตใจไม่ถูกรบเร้า ไม่แกว่งและหวั่นไหว ทำให้ใจหยุดนิ่งและไม่หมกมุ่นอยู่กับความคิดเรื่องเพศ เพราะถ้าไม่มีพลังสมาธิ ใจก็จะแกว่ง ส่ายหาที่ลง
อย่างไรก็ตาม หากพระฝึกฝนตนเองในเรื่องสมาธิเป็นอย่างดีแล้ว ก็ยังอยู่ได้อย่างสบายโดยไม่ถูกเรื่องเพศรบเร้ามากนัก เพราะปีติจากสมาธิสามารถทำให้จิตใจอิ่มเต็ม ฉะนั้น กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน (อนุสัย) หรือนิสัยเก่า ๆ ที่เคยชินไม่สามารถโผล่ขึ้นมาได้ เพราะปีติอันเหมือนหินก้อนใหญ่กำลังทับหญ้าอยู่ ความคิดหมกมุ่นกับเรื่องเพศหายไปได้พักหนึ่ง ฮอร์โมนในร่างกายก็ไม่ถูกกระตุ้น จึงอยู่รอดได้โดยไม่ต้องยุ่งกับเรื่องเพศ ผู้ที่สามารถเข้าถึงวิมุติสุขได้อย่างแท้จริงจะสามารถผ่านเลยเรื่องเพศได้ในระดับหนึ่ง แต่ตราบใดที่ยังไม่มีญาณปัญญาแทงทะลุเรื่องราวของชีวิตได้ทั้งหมดแล้วละก็ ปัญหายังหมดไม่ได้ และปีติจากสมาธิก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้หมดปัญหาได้อย่างสิ้นเชิง เพราะปีติจากสมาธิเหมือนเอาหินทับหญ้าไว้เท่านั้น หรือเหมือนโคลนที่ตกตะกอน ถ้าไม่ไปแกว่ง น้ำก็ไม่ขุ่น แต่ถ้ามีปัจจัยที่ทำให้น้ำต้องแกว่งแล้ว โคลนนั้นจะขุ่นขึ้นมาได้อีก