ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2015, 01:09:37 pm »



 
ยาดีของหลวงพ่อชา

ครั้งหนึ่ง หลวงพ่อชาได้รับนิมนต์ให้ไปโปรดญาติโยมทางต่างอำเภอ เมื่อหลวงพ่อฉันและให้โอวาทจบลง หลวงตารูปหนึ่งเข้าไปกราบเรียนว่า “ท่านอาจารย์ครับ กระผมเป็นโรคปวดท้องมานาน ฉันยาโรงพยาบาลเป็นประจำแต่ไม่หาย ท่านอาจารย์มียาดีไหมครับ โปรดเมตตาผมด้วย”

“มีเหมือนกันแหละ แต่ไม่ได้เอามา มีอยู่ที่วัด ถ้าต้องการก็ให้ไปเอาเอง...” หลวงพ่อตอบเพราะท่านทราบแล้วว่าสภาพของผู้บวชเมื่อแก่ มีการกระทำ ความเป็นอยู่ มีความต้องการอย่างไร

“ถ้าฉันยาท่านอาจารย์แล้ว โรคผมจะหายไหมครับ” หลวงตาถามขึ้นด้วยความไม่แน่ใจ
“หายสิ ถ้าทำตามหมอบอก”
“งั้นกระผมจะตามไปวันหลัง วันนี้เตรียมตัวไม่ทัน” หลวงตามีสีหน้าสดชื่นขึ้น เพราะดีใจว่าจะหายจากโรคปวดท้องเสียที

วันต่อมา หลวงตาก็ตามไปที่วัดหนองป่าพง เพื่อจะได้ฉันยาดี เมื่อไปถึง หลวงพ่อบอกลูกศิษย์ให้จัดที่พักให้ตามสมควร แล้วบอกหลวงตาว่า

“ก่อนจะฉันยานั้นจะต้องทำพิธีกรรมเบื้องต้นเสียก่อน เริ่มต้นด้วยการเดกินจงกรม นั่งสมาธิ ทำวัตรสวดมนต์ อยู่กุฏิคนเดียว ไม่ไปคลุกคลีพูดคุยกับคนอื่น ฉันอาหารวันละครั้ง เวลาฉันต้องเคี้ยวให้ละเอียดแล้วจึงกลืน ขณะที่กำลังฉันให้พิจารณาว่า อาหารนี้มิใช่ของพ่อแม่พี่น้องของเรา เป็นของทายกทายิกา เขาให้มาด้วยความเลื่อมใส เขาเชื่อว่าเราเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติสมควร ถูกต้องตามพระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ ให้หลวงตาทำใจให้สบาย ไม่ต้องห่วงหน้าห่วงหลัง ให้ท่านทำอย่างนี้ต่อไปเมื่อครบ 7 วัน แล้ว ถึงมาบอกผมอีกที”

เมื่อหลวงตามาอยู่ได้ร่วมฉัน ร่วมปฏิบัติธรรม ทำตามพิธีกรรมที่หลวงพ่อแนะนำ อาการทางโรคกระเพาะก็ทุเลาลง สบายขึ้นเรื่อยๆ เพราะเมื่อก่อนนั้น หลวงพ่อฉันอาหารวันละ 2 ครั้ง บางวันมีลูกหลานเอาอาหารมาถวาย ระหว่าง 9-10 โมง ก็ฉันอีก ตอนเย็นก็มีของฉันอีกด้วย เป็นเหตุให้ท้องไส้ทำงานหนัก ไม่ค่อยได้พัก จึงย่อยไม่หมด เหลือกากเหลือเดนตกค้างในกระเพาะมาก จึงทำให้ปวดท้อง แต่พอมาอยู่วัดหนองป่าพง ต้องเข้าพิธีกรรม ทำตามหลวงพ่อบอก จึงเกิดความสบาย เบากายเบาใจขึ้น เมื่อครบ 7 วันแล้ว หลวงตาก็ทวงฉันยาอีก

หลวงพ่อบอกว่า “เอาเถอะ ยาปรุงจวนจะได้ที่แล้ว ให้เข้าพิธีกรมทำไปเรื่อยๆ อีกสัก7 วัน ข้อสำคัญอย่าขี้เกียจมักง่าย ขยันทำพิธีกรรมทุกอย่าง ก่อนนอนก็ให้ทำวัตรประจำกุฏิ นั่งสมาธิด้วย เวลานอน นอนตะแคงขวา เอามือขวาคู้เข้ามาสอดไว้ใต้แก้ม มือซ้ายเหยียดไปตามลำตัว เท้าเหลื่อมเท้า คู้ขาซ้ายขึ้นมาหน่อยหนึ่ง เพื่อเข่าจะไม่ทับกัน กำหนดลมหายใจที่ปลายจมูก ภาวนาพุทโธ ดูลมที่ปลายจมูกจนกว่าจะหลับ และเวลาตื่นก็ให้รู้ตัวว่าเราตื่นอยู่ในท่าไหน ทำต่อไปเรื่อยๆ อยู่อย่างนี้”

ครึ่งเดือนผ่านไป หลวงตามีอาการผ่องใส จิตใจปลอดโปร่งสบายทั้งกายและใจ แกมีความเคารพเลื่อมใสในข้อวัตรปฏิบัติของทางวัดหนองป่าพงมาก โรคปวดท้องก็หายไปหมดแล้ว หลวงตาจึงปรารภกับตัวเองว่า เอ...เราเห็นจะไม่ต้องฉันยาท่านอาจารย์กระมัง โรคปวดท้องเราหายไปแล้ว สบายดีแล้ว ไปบอกท่านดีกว่า

แกจึงไปพบหลวงพ่อที่กุฏิและได้กราบนมัสการว่า “ท่านอาจารย์ครับ ผมรู้สึกว่าเป็นปกติแล้ว เห็นจะไม่ต้องฉันยาหรอกครับ”

หลวงพ่อจึงพูดช้าๆ ฟังเย็นๆ ด้วยเมตตาว่า “ก็ผมให้ท่านฉันยา ตั้งแต่วันแรกที่มาแล้ว ท่านไม่รู้หรอกหรือ?”
ได้ยินเสียงหลวงตาอุทานว่า “อ้อ...ผมเข้าใจแล้วครับ”

จากหนังสือป่าพงดงธรรม
โดยท่านเจ้าคุณอมร เขมจิตฺโต

Anucha Ko - G+
สนทนาธรรมตามกาล  -  Feb 22, 2015