ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 09, 2015, 07:57:17 pm »การดูแลสุขภาพในพระไตรปิฎก
การดูแลสุขภาพแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การดูแลสุขภาพร่างกาย และ การดูแลสุขภาพจิตใจ ความจริงแล้วทั้งร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ไม่อาจจะแยกจาก กันขาดทีเดียว แต่เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการอธิบายและการศึกษาจึงกล่าวแยกออกเป็น 2 ประเด็น
การดูแลสุขภาพร่างกาย การมีสุขภาพร่างกายดี คือ การมีร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย และมีอายุขัยยืนนาน ส่วนการมีสุขภาพจิตใจดี คือ การที่มีจิตใจบริสุทธิ์ ผ่องใสอยู่เสมอ จุดสูงสุดของการมีสุขภาพ จิตใจดี คือ การกำจัดกิเลสอาสวะได้หมด หรือการเป็นพระอรหันต์นั่นเอง
พระอรหันต์ทุกรูปจึงเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตใจดีเสมอเหมือนกันทุกรูป แต่สุขภาพทางด้านร่างกายนั้นแตกต่างกัน พระอรหันต์บางรูปมีอาพาธน้อย บางรูปมีอาพาธปานกลาง บางรูป มีอาพาธมาก เช่น พระปิลินทวัจฉะ เป็นต้น ในขณะที่บางรูปไม่มีอาพาธเลยซึ่งก็คือ พระพากุล-เถระนั่นเอง "พระเถระครองเรือน 80 ปี อาพาธเจ็บป่วยไรๆ ก็มิได้มีตลอดกาล...แม้บวชแล้ว อาพาธแม้เล็กน้อยมิได้มีเลย"
พระพากุลเถระจึงเป็นต้นแบบของพุทธบริษัท ผู้มีสุขภาพร่างกายดีคือ แข็งแรง ไม่มีอาพาธ และอายุยืนคือท่านมีอายุถึง 160 ปี เหตุที่ท่านมีร่างกายแข็งแรงและอายุยืนเช่นนี้เพราะผลบุญที่ท่านได้ทำไว้ใน อดีตชาติเป็นหลัก โดยเฉพาะบุญจากการถวายยารักษาโรคแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการดูแลสุขภาพร่างกายในปัจจุบันชาตินี้ ก็ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและมีอายุยืนได้เช่นกัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสหลักการดูแลสุขภาพร่างกายไว้ 5 ประการซึ่ง ปรากฏอยู่ในปฐมอนายุสสาสูตรดังนี้
1) ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
สัปปายะแปลว่า สบาย ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ หมายถึง ทำในสิ่งที่ทำให้มีความสบายต่อสุขภาพของตนเอง สัปปายะมี 7 ประการ ได้แก่ อาวาส, โคจร, การสนทนา, บุคคล, โภชนะ, ฤดู และ อิริยาบถ1 สัปปายะทั้ง 7 ประการนี้เป็นเครื่องสนับสนุนให้การเจริญ สมถวิปัสสนา มีความก้าวหน้า ส่วนสัปปายะที่มีผลโดยตรงต่อการดูแลสุขภาพนั้นมี 4 ประการ คือ อาวาส, โภชนะ, ฤดู และ อิริยาบถ
อาวาส แปลว่า ที่อยู่อาศัย อาวาสเป็นที่สบายต่อสุขภาพ หมายถึง อาวาสที่มีสิ่งแวดล้อมดี มีอากาศบริสุทธิ์ ไม่มีมลภาวะเป็นพิษ ไม่ร้อนเกินไป ไม่หนาวเกินไป เป็นต้น การได้อยู่ในอาวาสเช่นนี้ก็จะทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและอายุยืน
โภชนะ แปลว่า อาหาร อาหารเป็นที่สบายต่อสุขภาพ หมายถึง อาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน และ ปลอดจากสารพิษ เป็นต้น
ฤดู หมายถึง ภูมิอากาศในแต่ละช่วงของปี โดยทั่วไปมีอยู่ 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน ฤดูนั้นมีความสำคัญต่อสุขภาพ เป็นสาเหตุแห่งการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงฤดู หากร่างกายปรับตัวไม่ทันก็อาจจะเจ็บป่วย หรือ ถึงขั้นเสียชีวิตได้ เหตุที่ช่วงเปลี่ยนฤดู มีคนไม่สบายมาก ส่วนใหญ่เป็นเพราะไม่ได้ปรับความเป็นอยู่ให้ทันกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป เช่น ในหน้าร้อน ก็ใส่เสื้อบางเบา กลางคืนก็ไม่ห่มผ้าหรือห่มผ้าห่มผืนบาง พอวันไหนมีอากาศหนาวขึ้นมาทันทีทันใด อุณหภูมิอาจลดลง 5-10 องศา แต่ยังเคยชินกับการใส่เสื้อผ้าบาง ห่มผ้าผืนบางอยู่ ก็มีโอกาสไม่สบายสูง เป็นต้น
อิริยาบถ หมายถึง อาการที่ร่างกายอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถนั้นก็มีความสำคัญต่อสุขภาพมาก ในแต่ละวันเราจะต้องผลัดเปลี่ยนอิริยาบถให้สม่ำเสมอ ให้เกิดความสมดุลกัน เลือดลมในตัวจึงจะไหลเวียนได้สะดวก ไม่เกิดการเมื่อยล้าเพราะอยู่ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งนานเกินไป ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดการเจ็บป่วยได้ ในอรรถกถาอธิบายไว้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผ่อนคลายความปวดเมื่อยจาก อิริยาบถหนึ่งด้วยอิริยาบถหนึ่ง ย่อมทรงบริหาร คือยังทรงอัตภาพให้เป็นไปมิให้ทรุดโทรม2
กิจวัตรของพระภิกษุในสมัยพุทธกาลนั้นมีหลากหลายจึงทำให้ภิกษุได้ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถอยู่เรื่อยๆ กล่าวคือ มีทั้งการนั่งสมาธิ บิณฑบาต เดินจงกรม กวาดลานวัด และนอนอย่างมีสติคือ สำเร็จสีหไสยาสน์ เป็นต้น โดยเฉพาะการเดินจงกรมนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าช่วยให้ "อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อยได้ง่าย และทำให้มีอาพาธน้อย" นอกจากนี้พระภิกษุยังมีการบริหารร่างกายด้วยการ "ดัดกาย" และผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยการ "บีบนวด" อีกด้วย
นอกจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถให้สม่ำเสมอแล้ว ในแต่อิริยาบถจะต้องมีความถูกต้องอีกด้วย จึงจะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งการนั่ง เดิน ยืน และนอน ในการนั่งโดยเฉพาะนั่งสมาธินั้น พระพุทธองค์ทรงเน้นย้ำเสมอว่าจะต้องนั่งให้ "ตัวตรง" ดังพระดำรัสว่า "ภิกษุในธรรมวินัยนี้... นั่งคู้บัลลังก์ "ตั้งกายตรง" ดำรงสติบ่ายหน้าสู่กรรมฐาน..." ส่วนการนอนหรือจำวัดนั้นพระองค์ตรัสสอนให้นอนแบบราชสีห์คือนอนตะแคงขวา
สาเหตุที่ต้องนอนตะแคงขวาเพราะจากการศึกษาของสำนักงานกองทุนสนับสนุน การ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า ท่านอนตะแคงขวาเป็นท่าที่ถูกหลักอนามัยที่สุด เนื่องจากร่างกายจะไม่กดทับหัวใจ ช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก ไม่ทำงานหนักจนเกินไป อาหารจากกระเพาะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ด้วย
2) รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ
รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะในที่นี้คือ การรู้จัก"ความพอดี" เช่น เรื่องอาหาร เมื่อเราจัดหาอาหารที่ดี มีประโยชน์ได้แล้ว อาหารนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นอาหารสัปปายะ แต่ในเวลารับประทานอาหารนั้นเราจะต้องรู้จักประมาณ ต้องรู้จักความพอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ดังที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า "ภิกษุ เมื่อฉันอาหารสดก็ตาม แห้งก็ตาม ไม่พึงฉันให้อิ่มเกินไป ไม่พึงฉันให้น้อยเกินไป พึงฉันแต่พอประมาณ พึงมีสติอยู่"
การรับประทานอาหารอย่างพอดีนั้น เราจะอยู่เป็นสุข ไม่หิว และไม่อึดอัด นอกจากนี้คนที่รับประทานอาหารมากจนเกินไป จะเป็นเหตุให้อาหารไม่ย่อยและเสียชีวิตได้ เช่น นายโกตุหลิก ภัททวติยเศรษฐี และนักบวชเปลือยชื่อโกรักขัตติยะ เป็นต้น
ความพอดีของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและเพศภาวะ สำหรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระภิกษุในสมัยพุทธกาลนั้น ฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียว ก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว เพราะหน้าที่ของนักบวชคือการปฏิบัติธรรมและสอนธรรมะ ไม่ได้ทำงานที่ใช้แรงงานหนักเหมือนฆราวาสบางอาชีพ จึงไม่จำเป็นต้องฉันภัตตาหารมาก พระพุทธองค์ตรัสอานิสงส์การฉันมื้อเดียวไว้ว่า "เราฉันอาหารมื้อเดียว... สุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ"
สำหรับวิธีการรับประทานอาหารให้พอดีในแต่ละมื้อนั้น พระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า "พึงเลิกฉันก่อนอิ่ม 4 - 5 คำ แล้วดื่มน้ำเท่านี้ก็เพียงพอเพื่ออยู่ผาสุกของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยวมุ่ง นิพพาน" เหตุที่ต้องเลิกก่อนฉันอิ่ม 4 - 5 คำนั้น ก็เพื่อสำรองพื้นที่ในกระเพาะไว้สำหรับอาหารที่อยู่ระหว่างเดินทางในหลอด อาหาร และน้ำที่จะดื่มหลังเลิกฉันอาหารแล้ว เมื่ออาหารในหลอดอาหารตกถึงกระเพาะ และดื่มน้ำเข้าไปแล้วก็จะทำให้รู้สึกอิ่มพอดี
3) บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย
อาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วจะย่อยง่ายหรือย่อยยากขึ้นอยู่กับเหตุอย่าง น้อย 2 ประการ คือ ประเภทของอาหาร และ ความคุ้นเคยกับอาหาร โดยประเภทของอาหารนั้น หากเป็นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์จะย่อยยาก แต่ถ้าเป็นผักผลไม้จะย่อยง่าย ส่วนความคุ้นเคยกับอาหารนั้นคือ คนแต่ละท้องถิ่นและแต่ละชาติจะคุ้นเคยกับอาหารแตกต่างกันไป หรือ บางคนคุ้นเคยกับอาหารดีๆ ประณีต แต่เมื่อต้องไปรับประทานอาหารที่ไม่ประณีต ก็เป็นเหตุให้ระบบการย่อยทำงานไม่เป็นปกติหรือไม่ย่อยเพราะไม่คุ้นเคยกับอาหารนั้น บางคนถึงกับเสียชีวิตด้วยเหตุนี้ได้ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นต้น ก่อนสวรรคตพระองค์เสด็จไปเมืองราชคฤห์ ระหว่างเดินทางได้เสวยพระกระยาหารที่ไม่คุ้นเคยอาหารจึงไม่ย่อยด้วยดี และเพราะทรงเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไกลจึงเป็นเหตุให้พระองค์สวรรคตในที่สุด
การที่อาหารไม่ย่อยหรือย่อยยากนั้นจึงมีโทษมาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระภิกษุในสมัยพุทธกาลจึงแก้ไขด้วยการฉันยาคูหรือข้าวต้มในเวลาเช้า เพราะยาคูมีอานิสงส์ 5 ประการคือ "บรรเทาความหิว ระงับความกระหาย ให้ลมเดินคล่อง ชำระลำไส้ และเผาอาหารที่ยังไม่ย่อยให้ย่อย"
4) เป็นผู้เที่ยวในกาลสมควร
ประเด็นนี้มุ่งการงดเที่ยวในเวลาไม่สมควรโดยเฉพาะการเที่ยวกลางคืน เพราะจะเป็นเหตุให้ต้องนอนดึก หรือบางครั้งไม่ได้นอนซึ่งจะทำให้ร่างกายทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าไม่เที่ยวกลางคืน ก็จะมีโอกาสพักผ่อนได้เต็มที่ สุขภาพก็จะสมบูรณ์แข็งแรง การแพทย์ในปัจจุบันพบว่า การนอนดึกจะทำให้ร่างกายอ่อนล้าเหมือนกับเครื่องยนต์ "overload" เป็นเหตุให้อายุสั้น การนอนดึกอย่างต่อเนื่องจึงเป็นการเร่งวันตายให้ตัวเอง
5) ประพฤติพรหมจรรย์
มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ ผู้ที่ประพฤติพรหมจรรย์โดยเฉพาะนักบวชนั้นจะมีสุขภาพ แข็งแรงและอายุยืนกว่าบุคคลทั่วไป เมื่อปีที่แล้วสำนักข่าวโซหูเน็ตของจีนรายงานว่า พบหลวงจีน มรณภาพรูปหนึ่ง ที่วัดหลิงฉวน อำเภออันหยาง ในมณฑลเหอหนัน ซึ่งมีนามว่า อู๋อวิ๋นชิง อายุ 160 ปี ท่านเกิดเมื่อปี ค.ศ.1838 (พ.ศ.2381) เมื่ออายุ 15 ปีบิดามารดาเสียชีวิต หลังจากนั้นท่านจึงออกบวช จนกระทั่งมรณภาพด้วยโรคชราเมื่อปี ค.ศ.1998 (พ.ศ.2541)4
ในเมืองไทยก็มีนักบวชหลายท่านที่มีอายุยืนเกิน 100 ปี เช่น หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน เป็นต้น ท่านมีอายุถึง 135 ปี หลวงปู่ละมัยเป็นเจ้าสำนักสงฆ์สวนป่าสมุนไพร อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ แม้ท่านจะมีอายุมากแล้ว แต่เส้นผมยังดกดำ สุขภาพแข็งแรง5 พระที่มีอายุยืนกว่านี้ยังมีอยู่อีกจำนวนมาก ได้แก่ พระผู้สำเร็จ หรือ พระบังบด เช่น หลวงปู่พูสี เป็นต้น ซึ่งมีอายุถึง 400 กว่าปี เป็น 1 ใน 6 ของพระบังบดที่มีอยู่ ณ ภูเขาควาย ประเทศลาว
จากตัวอย่างที่กล่าวมานี้ชี้ให้เห็นว่า การประพฤติพรหมจรรย์นั้นเป็นเหตุให้มีสุขภาพแข็งแรงและอายุยืน ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะไม่ต้องหมกมุ่นอยู่กับเรื่องกามราคะและไม่ต้องทนทุกข์ กับปัญหาทางครอบครัวและสังคมแบบชาวโลก มุ่งหน้าศึกษาพระธรรมวินัยและประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นหลัก ส่วนคฤหัสถ์ก็สามารถประพฤติพรหมจรรย์ได้ ด้วยการรักษาศีล 8 ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาต่างๆ เช่น วันพระหรือช่วงเข้าพรรษา เป็นต้น
การดูแลสุขภาพจิตใจ
จากที่กล่าวแล้วในบทที่ 5 ว่า จิตใจนั้นมีความสำคัญมากกว่าร่างกาย เพราะจิตใจเป็นนาย ส่วนร่างกายเป็นบ่าว เมื่อจิตใจมีความสำคัญอย่างนี้ การดูแลสุขภาพจิตใจจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ภาวะปกติของจิตใจมนุษย์จะ "ประภัสสรคือสว่างไสว บริสุทธิ์" แต่เพราะมีกิเลสเข้ามาห่อหุ้มทำให้จิตใจเศร้าหมอง ไม่สว่างไสว และไม่เข้มแข็ง เวลามีอะไรมากระทบใจเข้าหน่อยก็จะหวั่นไหวไปกับสิ่งนั้น เช่น ทำให้เกิดความโกรธบ้าง หรือบางครั้งก็เกิดความทุกข์เศร้าเสียใจในเรื่องต่างๆ จนเกินไป หรือมีความเครียดกับการทำงานบ้าง สิ่ง เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้เจ็บป่วยได้ทั้งสิ้น
การดูแลสุขภาพจิตใจให้กลับสู่ภาวะปกติคือบริสุทธิ์ สว่างไสวนั้น ทำได้ด้วยการสั่งสมบุญด้วยการให้ทาน รักษาศีล สวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา ฟังธรรม เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นกิจวัตรประจำวันของพุทธบริษัททั้ง 4 ที่ต้องทำเป็นประจำอยู่แล้ว
บุญนั้นจะช่วยชำระล้างกิเลสในจิตใจให้เบาบางลงไปเรื่อยๆ ยิ่งกิเลสเบาบางลงไปมากเท่าไร ความบริสุทธิ์ของจิตใจก็มีมากเท่านั้นและจะกลับคืนสู่ภาวะปกติมากเท่านั้น เช่นกัน โดยอาการแสดงออก คือความเป็นผู้มีใจนิ่ง หนักแน่น มั่นคง ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่มากระทบ จุดสูงสุดของภาวะปกติของจิตใจคือ การละกิเลสได้หรือหมดบรรลุเป็นพระอรหันต์นั่นเอง
ขอบคุณกัลยาณมิตรที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย เตวิชโช.....
อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/384210
การดูแลสุขภาพแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การดูแลสุขภาพร่างกาย และ การดูแลสุขภาพจิตใจ ความจริงแล้วทั้งร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ไม่อาจจะแยกจาก กันขาดทีเดียว แต่เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการอธิบายและการศึกษาจึงกล่าวแยกออกเป็น 2 ประเด็น
การดูแลสุขภาพร่างกาย การมีสุขภาพร่างกายดี คือ การมีร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย และมีอายุขัยยืนนาน ส่วนการมีสุขภาพจิตใจดี คือ การที่มีจิตใจบริสุทธิ์ ผ่องใสอยู่เสมอ จุดสูงสุดของการมีสุขภาพ จิตใจดี คือ การกำจัดกิเลสอาสวะได้หมด หรือการเป็นพระอรหันต์นั่นเอง
พระอรหันต์ทุกรูปจึงเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตใจดีเสมอเหมือนกันทุกรูป แต่สุขภาพทางด้านร่างกายนั้นแตกต่างกัน พระอรหันต์บางรูปมีอาพาธน้อย บางรูปมีอาพาธปานกลาง บางรูป มีอาพาธมาก เช่น พระปิลินทวัจฉะ เป็นต้น ในขณะที่บางรูปไม่มีอาพาธเลยซึ่งก็คือ พระพากุล-เถระนั่นเอง "พระเถระครองเรือน 80 ปี อาพาธเจ็บป่วยไรๆ ก็มิได้มีตลอดกาล...แม้บวชแล้ว อาพาธแม้เล็กน้อยมิได้มีเลย"
พระพากุลเถระจึงเป็นต้นแบบของพุทธบริษัท ผู้มีสุขภาพร่างกายดีคือ แข็งแรง ไม่มีอาพาธ และอายุยืนคือท่านมีอายุถึง 160 ปี เหตุที่ท่านมีร่างกายแข็งแรงและอายุยืนเช่นนี้เพราะผลบุญที่ท่านได้ทำไว้ใน อดีตชาติเป็นหลัก โดยเฉพาะบุญจากการถวายยารักษาโรคแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการดูแลสุขภาพร่างกายในปัจจุบันชาตินี้ ก็ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและมีอายุยืนได้เช่นกัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสหลักการดูแลสุขภาพร่างกายไว้ 5 ประการซึ่ง ปรากฏอยู่ในปฐมอนายุสสาสูตรดังนี้
1) ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
สัปปายะแปลว่า สบาย ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ หมายถึง ทำในสิ่งที่ทำให้มีความสบายต่อสุขภาพของตนเอง สัปปายะมี 7 ประการ ได้แก่ อาวาส, โคจร, การสนทนา, บุคคล, โภชนะ, ฤดู และ อิริยาบถ1 สัปปายะทั้ง 7 ประการนี้เป็นเครื่องสนับสนุนให้การเจริญ สมถวิปัสสนา มีความก้าวหน้า ส่วนสัปปายะที่มีผลโดยตรงต่อการดูแลสุขภาพนั้นมี 4 ประการ คือ อาวาส, โภชนะ, ฤดู และ อิริยาบถ
อาวาส แปลว่า ที่อยู่อาศัย อาวาสเป็นที่สบายต่อสุขภาพ หมายถึง อาวาสที่มีสิ่งแวดล้อมดี มีอากาศบริสุทธิ์ ไม่มีมลภาวะเป็นพิษ ไม่ร้อนเกินไป ไม่หนาวเกินไป เป็นต้น การได้อยู่ในอาวาสเช่นนี้ก็จะทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและอายุยืน
โภชนะ แปลว่า อาหาร อาหารเป็นที่สบายต่อสุขภาพ หมายถึง อาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน และ ปลอดจากสารพิษ เป็นต้น
ฤดู หมายถึง ภูมิอากาศในแต่ละช่วงของปี โดยทั่วไปมีอยู่ 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน ฤดูนั้นมีความสำคัญต่อสุขภาพ เป็นสาเหตุแห่งการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงฤดู หากร่างกายปรับตัวไม่ทันก็อาจจะเจ็บป่วย หรือ ถึงขั้นเสียชีวิตได้ เหตุที่ช่วงเปลี่ยนฤดู มีคนไม่สบายมาก ส่วนใหญ่เป็นเพราะไม่ได้ปรับความเป็นอยู่ให้ทันกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป เช่น ในหน้าร้อน ก็ใส่เสื้อบางเบา กลางคืนก็ไม่ห่มผ้าหรือห่มผ้าห่มผืนบาง พอวันไหนมีอากาศหนาวขึ้นมาทันทีทันใด อุณหภูมิอาจลดลง 5-10 องศา แต่ยังเคยชินกับการใส่เสื้อผ้าบาง ห่มผ้าผืนบางอยู่ ก็มีโอกาสไม่สบายสูง เป็นต้น
อิริยาบถ หมายถึง อาการที่ร่างกายอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถนั้นก็มีความสำคัญต่อสุขภาพมาก ในแต่ละวันเราจะต้องผลัดเปลี่ยนอิริยาบถให้สม่ำเสมอ ให้เกิดความสมดุลกัน เลือดลมในตัวจึงจะไหลเวียนได้สะดวก ไม่เกิดการเมื่อยล้าเพราะอยู่ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งนานเกินไป ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดการเจ็บป่วยได้ ในอรรถกถาอธิบายไว้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผ่อนคลายความปวดเมื่อยจาก อิริยาบถหนึ่งด้วยอิริยาบถหนึ่ง ย่อมทรงบริหาร คือยังทรงอัตภาพให้เป็นไปมิให้ทรุดโทรม2
กิจวัตรของพระภิกษุในสมัยพุทธกาลนั้นมีหลากหลายจึงทำให้ภิกษุได้ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถอยู่เรื่อยๆ กล่าวคือ มีทั้งการนั่งสมาธิ บิณฑบาต เดินจงกรม กวาดลานวัด และนอนอย่างมีสติคือ สำเร็จสีหไสยาสน์ เป็นต้น โดยเฉพาะการเดินจงกรมนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าช่วยให้ "อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อยได้ง่าย และทำให้มีอาพาธน้อย" นอกจากนี้พระภิกษุยังมีการบริหารร่างกายด้วยการ "ดัดกาย" และผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยการ "บีบนวด" อีกด้วย
นอกจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถให้สม่ำเสมอแล้ว ในแต่อิริยาบถจะต้องมีความถูกต้องอีกด้วย จึงจะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งการนั่ง เดิน ยืน และนอน ในการนั่งโดยเฉพาะนั่งสมาธินั้น พระพุทธองค์ทรงเน้นย้ำเสมอว่าจะต้องนั่งให้ "ตัวตรง" ดังพระดำรัสว่า "ภิกษุในธรรมวินัยนี้... นั่งคู้บัลลังก์ "ตั้งกายตรง" ดำรงสติบ่ายหน้าสู่กรรมฐาน..." ส่วนการนอนหรือจำวัดนั้นพระองค์ตรัสสอนให้นอนแบบราชสีห์คือนอนตะแคงขวา
สาเหตุที่ต้องนอนตะแคงขวาเพราะจากการศึกษาของสำนักงานกองทุนสนับสนุน การ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า ท่านอนตะแคงขวาเป็นท่าที่ถูกหลักอนามัยที่สุด เนื่องจากร่างกายจะไม่กดทับหัวใจ ช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก ไม่ทำงานหนักจนเกินไป อาหารจากกระเพาะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ด้วย
2) รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ
รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะในที่นี้คือ การรู้จัก"ความพอดี" เช่น เรื่องอาหาร เมื่อเราจัดหาอาหารที่ดี มีประโยชน์ได้แล้ว อาหารนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นอาหารสัปปายะ แต่ในเวลารับประทานอาหารนั้นเราจะต้องรู้จักประมาณ ต้องรู้จักความพอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ดังที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า "ภิกษุ เมื่อฉันอาหารสดก็ตาม แห้งก็ตาม ไม่พึงฉันให้อิ่มเกินไป ไม่พึงฉันให้น้อยเกินไป พึงฉันแต่พอประมาณ พึงมีสติอยู่"
การรับประทานอาหารอย่างพอดีนั้น เราจะอยู่เป็นสุข ไม่หิว และไม่อึดอัด นอกจากนี้คนที่รับประทานอาหารมากจนเกินไป จะเป็นเหตุให้อาหารไม่ย่อยและเสียชีวิตได้ เช่น นายโกตุหลิก ภัททวติยเศรษฐี และนักบวชเปลือยชื่อโกรักขัตติยะ เป็นต้น
ความพอดีของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและเพศภาวะ สำหรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระภิกษุในสมัยพุทธกาลนั้น ฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียว ก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว เพราะหน้าที่ของนักบวชคือการปฏิบัติธรรมและสอนธรรมะ ไม่ได้ทำงานที่ใช้แรงงานหนักเหมือนฆราวาสบางอาชีพ จึงไม่จำเป็นต้องฉันภัตตาหารมาก พระพุทธองค์ตรัสอานิสงส์การฉันมื้อเดียวไว้ว่า "เราฉันอาหารมื้อเดียว... สุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ"
สำหรับวิธีการรับประทานอาหารให้พอดีในแต่ละมื้อนั้น พระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า "พึงเลิกฉันก่อนอิ่ม 4 - 5 คำ แล้วดื่มน้ำเท่านี้ก็เพียงพอเพื่ออยู่ผาสุกของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยวมุ่ง นิพพาน" เหตุที่ต้องเลิกก่อนฉันอิ่ม 4 - 5 คำนั้น ก็เพื่อสำรองพื้นที่ในกระเพาะไว้สำหรับอาหารที่อยู่ระหว่างเดินทางในหลอด อาหาร และน้ำที่จะดื่มหลังเลิกฉันอาหารแล้ว เมื่ออาหารในหลอดอาหารตกถึงกระเพาะ และดื่มน้ำเข้าไปแล้วก็จะทำให้รู้สึกอิ่มพอดี
3) บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย
อาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วจะย่อยง่ายหรือย่อยยากขึ้นอยู่กับเหตุอย่าง น้อย 2 ประการ คือ ประเภทของอาหาร และ ความคุ้นเคยกับอาหาร โดยประเภทของอาหารนั้น หากเป็นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์จะย่อยยาก แต่ถ้าเป็นผักผลไม้จะย่อยง่าย ส่วนความคุ้นเคยกับอาหารนั้นคือ คนแต่ละท้องถิ่นและแต่ละชาติจะคุ้นเคยกับอาหารแตกต่างกันไป หรือ บางคนคุ้นเคยกับอาหารดีๆ ประณีต แต่เมื่อต้องไปรับประทานอาหารที่ไม่ประณีต ก็เป็นเหตุให้ระบบการย่อยทำงานไม่เป็นปกติหรือไม่ย่อยเพราะไม่คุ้นเคยกับอาหารนั้น บางคนถึงกับเสียชีวิตด้วยเหตุนี้ได้ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นต้น ก่อนสวรรคตพระองค์เสด็จไปเมืองราชคฤห์ ระหว่างเดินทางได้เสวยพระกระยาหารที่ไม่คุ้นเคยอาหารจึงไม่ย่อยด้วยดี และเพราะทรงเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไกลจึงเป็นเหตุให้พระองค์สวรรคตในที่สุด
การที่อาหารไม่ย่อยหรือย่อยยากนั้นจึงมีโทษมาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระภิกษุในสมัยพุทธกาลจึงแก้ไขด้วยการฉันยาคูหรือข้าวต้มในเวลาเช้า เพราะยาคูมีอานิสงส์ 5 ประการคือ "บรรเทาความหิว ระงับความกระหาย ให้ลมเดินคล่อง ชำระลำไส้ และเผาอาหารที่ยังไม่ย่อยให้ย่อย"
4) เป็นผู้เที่ยวในกาลสมควร
ประเด็นนี้มุ่งการงดเที่ยวในเวลาไม่สมควรโดยเฉพาะการเที่ยวกลางคืน เพราะจะเป็นเหตุให้ต้องนอนดึก หรือบางครั้งไม่ได้นอนซึ่งจะทำให้ร่างกายทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าไม่เที่ยวกลางคืน ก็จะมีโอกาสพักผ่อนได้เต็มที่ สุขภาพก็จะสมบูรณ์แข็งแรง การแพทย์ในปัจจุบันพบว่า การนอนดึกจะทำให้ร่างกายอ่อนล้าเหมือนกับเครื่องยนต์ "overload" เป็นเหตุให้อายุสั้น การนอนดึกอย่างต่อเนื่องจึงเป็นการเร่งวันตายให้ตัวเอง
5) ประพฤติพรหมจรรย์
มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ ผู้ที่ประพฤติพรหมจรรย์โดยเฉพาะนักบวชนั้นจะมีสุขภาพ แข็งแรงและอายุยืนกว่าบุคคลทั่วไป เมื่อปีที่แล้วสำนักข่าวโซหูเน็ตของจีนรายงานว่า พบหลวงจีน มรณภาพรูปหนึ่ง ที่วัดหลิงฉวน อำเภออันหยาง ในมณฑลเหอหนัน ซึ่งมีนามว่า อู๋อวิ๋นชิง อายุ 160 ปี ท่านเกิดเมื่อปี ค.ศ.1838 (พ.ศ.2381) เมื่ออายุ 15 ปีบิดามารดาเสียชีวิต หลังจากนั้นท่านจึงออกบวช จนกระทั่งมรณภาพด้วยโรคชราเมื่อปี ค.ศ.1998 (พ.ศ.2541)4
ในเมืองไทยก็มีนักบวชหลายท่านที่มีอายุยืนเกิน 100 ปี เช่น หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน เป็นต้น ท่านมีอายุถึง 135 ปี หลวงปู่ละมัยเป็นเจ้าสำนักสงฆ์สวนป่าสมุนไพร อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ แม้ท่านจะมีอายุมากแล้ว แต่เส้นผมยังดกดำ สุขภาพแข็งแรง5 พระที่มีอายุยืนกว่านี้ยังมีอยู่อีกจำนวนมาก ได้แก่ พระผู้สำเร็จ หรือ พระบังบด เช่น หลวงปู่พูสี เป็นต้น ซึ่งมีอายุถึง 400 กว่าปี เป็น 1 ใน 6 ของพระบังบดที่มีอยู่ ณ ภูเขาควาย ประเทศลาว
จากตัวอย่างที่กล่าวมานี้ชี้ให้เห็นว่า การประพฤติพรหมจรรย์นั้นเป็นเหตุให้มีสุขภาพแข็งแรงและอายุยืน ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะไม่ต้องหมกมุ่นอยู่กับเรื่องกามราคะและไม่ต้องทนทุกข์ กับปัญหาทางครอบครัวและสังคมแบบชาวโลก มุ่งหน้าศึกษาพระธรรมวินัยและประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นหลัก ส่วนคฤหัสถ์ก็สามารถประพฤติพรหมจรรย์ได้ ด้วยการรักษาศีล 8 ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาต่างๆ เช่น วันพระหรือช่วงเข้าพรรษา เป็นต้น
การดูแลสุขภาพจิตใจ
จากที่กล่าวแล้วในบทที่ 5 ว่า จิตใจนั้นมีความสำคัญมากกว่าร่างกาย เพราะจิตใจเป็นนาย ส่วนร่างกายเป็นบ่าว เมื่อจิตใจมีความสำคัญอย่างนี้ การดูแลสุขภาพจิตใจจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ภาวะปกติของจิตใจมนุษย์จะ "ประภัสสรคือสว่างไสว บริสุทธิ์" แต่เพราะมีกิเลสเข้ามาห่อหุ้มทำให้จิตใจเศร้าหมอง ไม่สว่างไสว และไม่เข้มแข็ง เวลามีอะไรมากระทบใจเข้าหน่อยก็จะหวั่นไหวไปกับสิ่งนั้น เช่น ทำให้เกิดความโกรธบ้าง หรือบางครั้งก็เกิดความทุกข์เศร้าเสียใจในเรื่องต่างๆ จนเกินไป หรือมีความเครียดกับการทำงานบ้าง สิ่ง เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้เจ็บป่วยได้ทั้งสิ้น
การดูแลสุขภาพจิตใจให้กลับสู่ภาวะปกติคือบริสุทธิ์ สว่างไสวนั้น ทำได้ด้วยการสั่งสมบุญด้วยการให้ทาน รักษาศีล สวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา ฟังธรรม เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นกิจวัตรประจำวันของพุทธบริษัททั้ง 4 ที่ต้องทำเป็นประจำอยู่แล้ว
บุญนั้นจะช่วยชำระล้างกิเลสในจิตใจให้เบาบางลงไปเรื่อยๆ ยิ่งกิเลสเบาบางลงไปมากเท่าไร ความบริสุทธิ์ของจิตใจก็มีมากเท่านั้นและจะกลับคืนสู่ภาวะปกติมากเท่านั้น เช่นกัน โดยอาการแสดงออก คือความเป็นผู้มีใจนิ่ง หนักแน่น มั่นคง ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่มากระทบ จุดสูงสุดของภาวะปกติของจิตใจคือ การละกิเลสได้หรือหมดบรรลุเป็นพระอรหันต์นั่นเอง
ขอบคุณกัลยาณมิตรที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย เตวิชโช.....
อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/384210