ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 13, 2015, 07:59:43 pm »

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 23

เมื่อสี่สิบห้าปีมาแล้ว พระองค์ทรงมีเพียงหญ้าคามัดหนึ่ง ที่นายโสตถิยะนำมาถวาย และทรงทำเป็นที่รองประทับมาบัดนี้ มีเสนาสนะมากหลายที่สวยงามซึ่งมีผู้ศรัทธาสร้างอุทิศถวายพระองค์เช่น เชตวัน เวฬุวัน ชีวกัมพวัน มหาวันปุพพาราม นิโครธาราม โฆสิตาราม ฯลฯ เศรษฐี คหบดี ต่างแย่งชิงกันจอง เพื่อให้พระองค์รับภัตตาหารของเขา แน่นอนทีเดียวหากพระองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ คงจะไม่ได้รับความนิยมเลื่อมใสถึงขนาดนี้และไม่ยืนนานถึงปานนี้ เมื่อสี่สิบห้าปีมาแล้ว ภายใต้โพธิพฤกษ์อันร่มเย็นริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา พระองค์ได้บรรลุแล้วซึ่งกิเลสนิพพาน กำจัดกิเลสและความมืดให้หมดไป และบัดนี้ภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ และความเย็นเยือกแห่งปัจฉิมยาม พระองค์ก็ดับแล้วด้วยขันธ์นิพพาน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระรูปอันวิจิตรด้วยมหาปุริสลักษณะสามสิบสองประการ ประดับด้วยอนุพยัญชนะแปดสิบ มีพระธรรมกายอันสำเร็จแล้วด้วยนานาคุณรัตนะ มีศีลขันธ์อันบริสุทธิ์ ด้วยอาการทั้งปวงเป็นต้น ถึงฝั่งแห่งความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยยศ ด้วยบุญ ด้วยฤทธิ์ ด้วยกำลังและด้วยปัญญา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นยังต้องดับมอดลงแล้วด้วยการตกลงแห่งฝนมรณะ เหมือนกองอัคคีใหญ่ต้องดับมอดลง เพราะฝนห่าใหญ่ตกลงมาฉะนั้น

พระองค์เคยตรัสไว้ว่า "ไม่ว่าพาลหรือบัณฑิต ไม่ว่ากษัตริย์ พราหมณ์ ไวศยะ ศูทร หรือจัณฑาล ในที่สุดก็ต้องบ่ายหน้าไปสู่ความตาย เหมือนภาชนะไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ในที่สุดก็ต้องแตกสลายเหมือนกันหมด" นั้นช่างเป็นความจริงเสียนี่กระไร อันว่าความตายนี้มีอิทธิพลยิ่งใหญ่นัก ไม่มีใครสามารถต้านทานต่อสู้ด้วยวิธีใดๆ ได้เลย ก้าวเข้าไปสู่ปราสาทแห่งกษัตริยาธิราชและแม้ในวงชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างสง่าผ่าเผยปราศจากความสะทกสะท้านใดๆ เช่นเดียวกับก้าวเข้าไปสู่กระท่อมน้อยของขอทาน พระยามัจจุราชนี้เป็นตุลาการที่เที่ยงธรรมยิ่งนัก ไม่เคยลำเอียงหรือกินสินบนของใครเลย ย่อมพิจาณาคดีตามบทพระอัยการและอ่านคำพิพากษาด้วยถ้อยคำอันหนักแน่นเด็ดเดี่ยว ไม่ฟังเสียงคัดค้านและขอร้องของใคร ท่ามกลางเสียงคร่ำครวญอันระคนด้วยกลิ่นธูปควันเทียนนั้น ท่านได้ยื่นพระหัตถ์ออกกระชากให้ความหวังของทุกคนหลุดลอย และแล้วทุกอย่างก็เป็นไปตามพระบัญชาของพระองค์ เมื่อมาถึงจุดนี้ ความยิ่งใหญ่ของผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย ก็จะกลายเป็นเพียงนิยายที่ไว้เล่าสู่กันฟังเท่านั้น มงกุฎประดับเพชรก็มีค่าเท่ากับหมวกฟาง พระคทาอันมีลวดลายวิจิตรก็เหมือนท่อนไม้ที่ไร้ค่า เมื่อความตายมาถึงเข้า พระราชาก็ต้องถอดมงกุฎเพชรลงวาง ทิ้งพระคทาไว้ แล้วเดินเคียงคู่ไปกับชาวนาหรือขอทาน ผู้ได้ทิ้งจอบ เสียม หมวกฟาง และคันไถ หรือ ภาชนะขอทานไว้ให้ทายาทของตน

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 24

พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานไปแล้ว พระกายของพระองค์เหมือนของคนทั้งหลาย ซึ่งจะต้องแตกสลายไปในที่สุด แต่ความดีและเกียรติคุณของพระองค์ยังคงดำรงอยู่ในโลกต่อไปอีกนานเท่าใด ไม่อาจจะกำหนดได้ ความดีนี่เองที่เป็นสาระอันแท้จริงของชีวิต "โอ ! พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์ผู้ทรงพระมหากรุณากว้างใหญ่ดุจห้วงมหรรณพ มีน้ำพระทัยใสบริสุทธิ์ดุจน้ำค้างเมื่อรุ่งอรุณ ทรงมีพระทัยหนักแน่นดุจมหิดล รับได้ทั้งเรื่องดีและเรื่องร้าย ทรงสละความสุขส่วนพระองค์ ขวนขวายเพื่อความสงบร่มเย็นของปวงชน พระองค์เป็นผู้ประทานแสงสว่างแก่โลกภายใน คือดวงจิตประดุจพระอาทิตย์ให้แสงสว่างแก่โลกภายนอกคือ ท้องฟ้า ปฐพี บัดนี้พระองค์ปรินิพพานเสียแล้วมองไม่เห็นแม้แต่เพียงพระสรีระซึ่งเคยรับใช้ พระองค์โปรยปรายธรรมรัตน์ประหนึ่งม้าแก้วแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ์เป็นพาหนะนำ เจ้าของ ตรวจความสงบสุขแห่งประชากร"

"โอ ! พระมหามุนีผู้เป็นจอมชน บัดนี้ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นประดุจนกในเวหา ไร้โพธิ์หรือไทร ที่จะจับเกาะ ประดุจเด็กน้อยผู้ขาดมารดา เหมือนเรือที่ลอยคว้างอยู่ในมหาสมุทร อ้างว้างว้าเหว่สุดประมาณ จะหาใครเล่าผู้เสมอเสมือนพระองค์" แม้พระอานนท์พุทธอนุชาเอง ก็ไม่สามารถจะอดกลั้นน้ำตาไว้ได้ เป็นเวลายี่สิบห้าปี จำเดิมแต่รับหน้าที่พุทธอุปัฏฐากมา เคยรับใช้ใกล้ชิดพระพุทธองค์เสมือนเงาตามองค์ บัดนี้พระพุทธองค์เสด็จจากไปเสียแล้ว ท่านรู้สึกว้าเหว่และเงียบเหงา ไม่ได้เห็นพระองค์อีกต่อไป เวลายี่สิบห้าปี นานพอที่จะก่อความรู้สึกสะเทือนใจอย่างรุนแรงเมื่อมีการพลัดพราก แต่แล้วเรื่องทั้งหลายก็มาจบลงด้วยสัจธรรมที่พระองค์ทรงพร่ำสอนอยู่เสมอว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด บัดนี้พระพุทธองค์ดับแล้ว ดับอย่างหมดเชื้อ ทิ้งวิบากขันธ์และกิเลสานุสัยทั้งปวง ประดุจกองไฟดับลงแล้วเพราะหมดเชื้อฉะนั้นแล ฯ

จบบริบูรณ์

- http://dhamma.vayoclub.com/index.php?topic=444.0
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 13, 2015, 07:56:40 pm »

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 21

สุภัททะฟังพระพุทธดำรัสนี้แล้วเลื่อมใส ทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์ตรัสว่าผู้ที่เคยเป็นนักบวชในศาสนาอื่นมาก่อน ถ้าประสงค์จะบวชในศาสนาของพระองค์จะต้องอยู่ติดถิยปริวาส คือ บำเพ็ญตนทำความดีจนภิกษุทั้งหลายไว้ใจเป็นเวลาสี่เดือนก่อน แล้วจึงจะบรรพชาอุปสมบทได้ สุภัททะทูลว่าเขาพอใจอยู่บำรุงปฏิบัติภิกษุทั้งหลายสักสี่ปี พระศาสดาทรงเห็นความตั้งใจจริงของสุภัททะ ดังนั้นจึงรับสั่งให้พระอานนท์นำสุภัททะไปบรรพชาอุปสมบท พระอานนท์รับพุทธบัญชาแล้วนำสุภัททะไป ณ ที่ส่วนหนึ่ง ปลงผมและหนวดแล้วบอกกรรมฐานให้ ให้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์และศีล สำเร็จเป็นสามเณรบรรพชาแล้วนำมาเฝ้าพระศาสดาพระผู้ทรงมหากรุณาให้อุปสมบทแก่สุภัททะเป็นภิกษุโดยสมบูรณ์แล้ว ตรัสบอกกัมมัฏฐานอีกครั้งหนึ่ง

สุภัททะภิกษุใหม่ ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะพยายามให้บรรลุพระอรหัตตผลในคืนนี้ก่อนที่พระศาสดาจะนิพพาน จึงออกไปเดินจงกรมอยู่ในที่สงัดแห่งหนึ่ง ในบริเวณอุทยานสาละวโนทยาน บัดนี้ร่างกายของ สุภัททะภิกษุ ห่อหุ้มด้วยผ้ากาสาวพัสตร์เมื่อต้องแสงจันทร์ในราตรีนั้นดูผิวพรรณของท่าน เปล่งปลั่งงามอำไพ มัชฌิมยามแห่งราตรีจวนจะสิ้นอยู่แล้ว ดวงรัชนีกลมโตเคลื่อนย้ายไปอยู่ทางท้องฟ้าด้านตะวันตก สุภัททะภิกษุตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่า จะบำเพ็ญเพียรคืนนี้ตลอดราตรีเพื่อบูชาพระศาสดาผู้จะนิพพานในปลายปัจฉิมยาม ดังนั้นแม้จะเหน็ดเหนื่อยอย่างไรก็ไม่ย่อท้อ แสงจันทร์นวลผ่องสุกสกาวเมื่อครู่นี้ ดูจะอับรัศมีลง สุภัททะภิกษุแหงนขึ้นดูท้องฟ้า เมฆก้อนใหญ่กำลังเคลื่อนเข้าบดบังแสงจันทร์จนมิดดวงไปแล้ว แต่ไม่นานนักเมฆก้อนนั้นก็เคลื่อนคล้อยไป แสงโฉมสาดส่องลงมาสว่างนวลดังเดิม

ทันใดนั้นดวงปัญญาก็พลุ่งโพลงขึ้นในดวงใจของสุภัททะภิกษุ เพราะนำดวงใจไปเทียบกับดวงจันทร์
"อา !" ท่านอุทานเบาๆ
"จิตนี้เป็นธรรมชาติที่ผ่องใสมีรัศมีเหมือนดวงจันทร์ แต่อาศัยกิเลสที่จรมาเป็นครั้งคราว จิตนี้จึงเศร้าหมองเหมือนก้อนเมฆบดบังดวงจันทร์ให้อับแสง"

แลแล้ววิปัสสนาปัญญาก็โพลงขึ้น ชำแรกกิเลสแทงทะลุบาปธรรมทั้งมวลที่ห่อหุ้มดวงจิตร แหวกอวิชชาและโมหะอันเป็นประดุจตาข่ายด้วยศาสตรา คือวิปัสสนาชำระจิตให้บริสุทธิ์จากกิเลสอาสวะทั้งมวล บรรลุอรหัตตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา แล้วลงจากที่จงกรมมาถวายบังคมพระมงคลบาทแห่งพระศาสดาแล้วนิ่งอยู่

ภายใต้แสงจันทร์สีนวลยองใยนั้น พระผู้มีพระภาคบรรทมเหยียดพระวรกายในท่าสีหะไสยา แวดล้อมด้วยพุทธบริษัทมากหลายแผ่นเป็นปริมณฑลกว้างออกไปสุดสายตา ประดุจดวงจันทร์ที่ถูกแวดล้อมด้วยกลุ่มเมฆก็ปานกัน

พระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า
"อานนท์ ! เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว เธอทั้งหลายอาจจะคิดว่าบัดนี้พวกเธอไม่มีศาสดาแล้วจะพึงว้าเหว่ไร้ที่พึ่ง"
"อานนท์เอ๋ย ! พึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้วบัญญติแล้ว ขอให้ธรรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอแทนเราต่อไป เธอทั้งหลายจงมีธรรมวินัยเป็นที่พึ่งเถิด อย่าได้มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย"

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 22

เมื่อพระอานนท์มิได้ทูลถามอะไร พระธรรมราชาจึงตรัสต่อไปว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ผู้มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ ผู้ใดมีความสงสัยเรื่องพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรคหรือปฏิปทาใดๆ ก็จงถามเสียบัดนี้ เธอทั้งหลายจะได้ไม่เสียใจภายหลังว่า มาอยู่เฉพาะพระพักตร์พระศาสดาแล้ว มิได้ถามข้อสงสัยแห่งตน"

ภิกษุทุกรูปเงียบกริบ บริเวณปรินิพพานมณฑลสงบเงียบไม่มีเสียงใดๆ เลย แม้จะมีพุทธบริษัทประชุมกันอยู่เป็นจำนวนมากก็ตาม ทุกคนปรารถนาจะฟังแต่พระพุทธดำรัสเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจเป็นครั้งสุดท้าย

บัดนี้ พละกำลังของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหลืออยู่น้อยเต็มทีแล้ว ประดุจน้ำที่เทราดลงไปในดินที่แตกระแหง ย่อมพลันเหือดแห้งหายไป มิได้ปรากฏแก่สายตา ถึงกระนั้นพระบรมโลกนาถก็ยังประทานปัจฉิมโอวาท เป็นพระพุทธดำรัสสุดท้ายว่า

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่าสิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมและสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด"

ย่างเข้าสู่ปัจฉิมสยาม พระจันทร์โคจรไปทางขอบฟ้าทิศตะวันตก แสงโสมสาดส่องผ่านทิวไม้ลงมา ท้องฟ้าเกลี้ยงเกลาปราศจากเมฆหมอก รัชนีแจ่มจรัสดูเหมือนจะจงใจส่องแสงเปล่งปลั่งเป็นพิเศษครั้งสุดท้าย แล้วสลัวลงเล็กน้อย เหมือนจงใจอาลัยในพระศาสดาผู้เป็นครูของเทวดาและมนุษย์

พระผู้มีพระภาคมีพระกายสงบ หลับพระเนตรสนิท พระอนุรุทธเถระ ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่อยู่ในเวลานั้น และได้รับยกย่องจากพระผู้มีพระภาคว่าเป็นเลิศทางทิพยจักษุได้เข้าฌานตาม ทราบว่า พระพุทธองค์เข้าสู่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว เข้าสู่อรูปสมาบัติคือ อากาสานัญจายตนะ วิญญานณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ตามลำดับแล้วถอยออกมาจากสัญญาเวทยิตนิโรธ จนถึงปฐมฌานแล้วเข้าสู่ปฐมฌาน จนถึงจตุตถฌานอีกเมื่อออกจากจตุตถฌาน ยังไม่ทันเข้าสู่อากาสานัญจายตนะ พระองค์ก็ปรินิพพานในระหว่างนี้เอง

ในที่สุดแม้พระองค์ก็ต้องประสบอวสาน เหมือนคนทั้งหลาย พระธรรม ที่พระองค์เคยพร่ำสอนมาตลอดพระชนม์ชีพว่า สัตว์ทั้งหลายมีความตายเป็นที่สุดนั้น เป็นสัจธรรมที่ไม่ยกเว้น แม้แต่พระองค์เอง

นึกย้อนหลังไปเมื่อสี่สิบห้าปีก่อนปรินิพพาน พระองค์เป็นผู้โดดเดี่ยว เมื่อปัญจวัคคีย์ทอดทิ้งไปแล้วพระองค์ก็ไม่มีใครอีกเลย ภายใต้โพธิบัลลังก์ครั้งกระนั้น แสงสว่างแห่งการตรัสรู้ได้โชติช่วงขึ้นพร้อมด้วยแสงสว่างแห่งรุ่งอรุณ พระองค์มีเพียงหยาดน้ำค้างบนใบโพธิพฤกษ์เป็นเพื่อน ต้องเสด็จจากโพธิ มณฑลไปพาราณสีด้วยพระบาทเปล่าถึงสิบวัน เพียงเพื่อหาเพื่อนผู้รับคำแนะนำของพระองค์สักห้าคน แต่มาบัดนี้พระองค์มีภิกษุสงฆ์สาวกเป็นจำนวนแสน จำนวนล้าน มีหมู่ชนเป็นจำนวนมากเดินทางมาจากทิศานุทิศ เพียงเพื่อได้เข้าเฝ้าพระองค์ บุคคลทั้งหลายรู้สึกว่าการได้เห็นพระพุทธเจ้านั้นเป็นความสุขอย่างยิ่ง
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 13, 2015, 07:39:23 pm »

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 19

"อานนท์ ! เธออย่ากล่าวอย่างนั้นเลย ชีวิตของตถาคตเป็นชีวิตแบบอย่าง ตถาคตนิพพานไปแต่เพียงรูปเท่านั้น แต่เกียรติคุณของเราคงอยู่ต่อไป เราต้องการให้ชีวิตนี้งามทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด อานนท์เอ๋ย ! ตถาคตอุบัติแล้วเพื่อประโยชน์แห่งสุขแห่งมหาชน เมื่ออุบัติมาสู่โลกนี้ เราเกิดแล้วในป่านามว่าลุมพินี เมื่อตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เราก็ได้บรรลุแล้วในป่าตำบลอุรุเวลาเสนานิคมแขวงเมืองราชคฤห์มหานคร เมื่อตั้งอาณาจักรแห่งธรรมขึ้นเป็นครั้งแรกได้สาวกเพียงห้าคน เราก็ตั้งลงแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายะ เขตเมืองพาราณสี ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายแห่งเรา เราก็ควรนิพพานในป่าเช่นเดียวกัน"

"อนึ่ง กุสินารานี้ แม้บัดนี้จะเป็นเมืองน้อย แต่ในโบราณกาลกุสินารานี้เคยเป็นเมืองใหญ่มาแล้ว เคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าจักรพรรดิ์นามว่า มหาสุทัสสนะ นครนี้เคยชื่อกุสาวดี เป็นราชธานีที่สมบูรณ์ มั่งคั่ง มีคนมาก มีมนุษย์นิกรเกลื่อนกล่น พรั่งพร้อมด้วยธัญญาหาร มีรมณียสถานที่บันเทิงจิต ประดุจดังราชธานีแห่งทิพยนคร กุสาวดีราชธานีนั้น กึกก้องทั่วคฤหาสน์ทั้งกลางวันและกลางคืนด้วยเสียงสิบประการ คือ เสียงคชสาร เสียงภาชี เสียงเภรีและรถ เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงกังสดาล เสียงสังข์ รวมทั้งสรรพสำเนียงประชาชนเรียกกันบริโภคอาหารด้วยความสำราญเบิกบานจิต"

"พระเจ้ามหาสุทัสสนะองค์จักรพรรดิ์เล่า ก็ทรงเป็นอิสราธิบดีในปฐพีมณฑล ทรงชำระปัจจามิตรโดยธรรม ไม่ต้องใช้ทัณฑ์และศาสตรา ชนบทสงบราบคาบปราศจากโจรผู้ร้าย มารดาและบุตรธิดา มีความอิ่มอกด้วยความเพลิดเพลิน ประตูบ้านปราศจากลิ่มสลัก เป็นนครที่รื่นรมย์ร่มเย็น สมเป็นราชธานีแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ์อย่างแท้จริง"

"อีกอย่างหนึ่ง อานนท์เอ๋ย ! เมื่อมองมาทางธรรมให้เกิดสังเวช สลดจิต ก็พอคิดได้ว่า สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มุ่งไปสู่จุดสลายตัว อานนท์จงดูเถิด พระเจ้าจักรพรรดิ์มหาสุทัสสนะก็สิ้นพระชนม์ไปแล้ว เมืองกุสาวดีก็เปลี่ยนมาเป็นกุสินาราแล้ว ประชาชนชาวกุสาวดีก็ตายกันไปหมดแล้ว นี่แลไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรยั่งยืน ตถาคตเองก็จะนิพพานในไม่ช้านี้"

แล้วพระศาสดา ก็รับสั่งให้พระอานนท์ไปแจ้งข่าวปรินิพพานแก่มัลลกษัตริย์ว่า พระตถาคตเจ้า จักปรินิพพานในยามสุดท้ายแห่งราตรี เมื่อมัลลกษัตริย์ผู้ครองนครกุสินาราสดับข่าวนี้ ต่างก็ทรงกำสรดโศกาดูรทุกข์โทมมนัสทับทวี สยายพระเกศา ยกพระพาหาทั้งสองขึ้นแล้วคร่ำครวญล้มกลิ้งเกลือกประหนึ่งบุคคลที่เท้าขาด ร่ำไรรำพันถึงพระโลกนาถว่า

"พระโลกนาถ ด่วนปรินิพพานนัก ดวงตาของโลกดับลงแล้ว ประดุจสุริยาซึ่งให้แสงสว่างดับวูบลง"
ด้วยอาการโศกาดูรดั่งนี้ มัลลกษัตริย์ตามพระอานนท์ไปเฝ้าพระศาสดา ณ สาละวโนทยาน พระอานนท์ จัดให้เข้าเฝ้าเป็นตระกูลๆ ไป แล้วกลับสู่สัณฐาคาร คืนนั้นมัลลกษัตริย์ประชุมกันอยู่จนสว่าง มิได้บรรทมเลย

ท่ามกลางบรรยากาศดังกล่าวนี้ นักบวชปริพาชกหนุ่มคนหนึ่งขออนุญาตผ่านฝูงชนขอเฝ้าพระศาสดา พระอานนท์ได้สดับสำเนียงนั้นจึงออกมารับและขอร้องวิงวอนว่า อย่ารบกวน พระผู้มีพระภาคเจ้าเลย

ข้าแต่ท่านอานนท์ ! "ปริพาชกผู้นั้นกล่าว
"ข้าพเจ้าขออนุญาตเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทูลถามข้อข้องใจบางประการ ขอท่านได้โปรดอนุญาตเถิด ข้าพเจ้าสุภัททะปริพาชก"
"อย่าเลย สุภัททะ ท่านอย่ารบกวนพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย พระองค์ทรงลำบากพระวรกายมากอยู่แล้ว พระองค์ทรงประชวรหนักจะปรินิพพานในยามสุดท้ายแห่งราตรีนี้แน่นอน"

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 20

"ท่านอานนท์ !" สุภัททะวิงวอนต่อไป
"โอกาสของข้าพเจ้าเหลือเพียงเล็กน้อย ขอท่านอาศัยความเอ็นดู โปรดอนุญาตให้ข้าพเจ้าเฝ้าพระศาสดาเถิด"

พระอานนท์คงทัดทานอย่างเดิม และสุภัททะก็อ้อนวอนครั้งแล้วครั้งเล่าไม่ยอมย่อท้อ จนกระทั่งได้ยินถึงพระศาสดา พระมหากรุณาอันไม่มีที่สิ้นสุด รับสั่งกับพระอานนท์ว่า
"อานนท์ ! ให้สุภัททะเข้ามาหาตถาคตเถิด"
เพียงเท่านี้สุภัททะปริพาชกก็ได้เข้าเฝ้าสมประสงค์ เขากราบลงใกล้แท่นบรรทมแล้วทูลว่า

"ข้าแต่พระจอมมุนี ! ข้าพระองค์นามว่าสุภัททะถือเพศเป็นปริพาชกมาไม่นาน ได้ยินกิตติศักดิ์เล่าลือเกียรติคุณแห่งพระองค์ แต่ก็หาได้เคยเข้าเฝ้าไม่ บัดนี้พระองค์จะดับขันธปรินิพพานแล้ว ข้าพระองค์ขอประทานโอกาสซึ่งมีอยู่น้อยนี้ ทูลถามข้อข้องใจบางประการเพื่อจะได้ไม่เสียใจภายหลัง"

"ถามเถิดสุภัททะ" พระศาสดาตรัส
"พระองค์ผู้เจริญ คณาจารย์ทั้งหกคือ ปูรณะกัสสะปะ มักขลิโคศาล อชิตเกสกัมพล ปกุทธะกัจจะยนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร และนิครนถ์นาฏบุตรเป็นศาสดาเจ้าลัทธิที่มีคนนับถือมาก เคารพบูชามาก ศาสดาเหล่านี้ยังจะเป็นพระอรหันต์หมดกิเลสหรือประการใด"

"เรื่องนี้หรือสุภัททะที่เธอดิ้นรนขวนขวายมาหาเราด้วยความพยายามอย่างยิ่งยวด" พระศาสดาตรัสทั้งยังหลับพระเนตรอยู่
"เรื่องนี้เองพระเจ้าข้า" สุภัททะทูล

พระอานนท์รู้สึกกระวนกระวายทันที เพราะเรื่องที่สุภัททะมารบกวนพระศาสดานั้นเป็นเรื่องที่ไร้สาระเหลือเกิน ขณะที่พระอานนท์จะเชิญสุภัททะออกจากที่เฝ้านั้นเอง พระศาสดาก็ตรัสขึ้นว่า
"อย่าสนใจกับเรื่องนั้นเลย สุภัททะ เวลาของเราและของเธอเหลือน้อยเต็มทีแล้ว จงถามสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เธอเองเถิด"

"ข้าแต่ท่านสมณะ ! ถ้าอย่างนั้นข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหาสามข้อ คือ รอยเท้าในอากาศมีอยู่หรือไม่ สมณะภายนอกศาสนาของพระองค์มีอยู่หรือไม่ สังขารที่เที่ยงมีอยู่หรือไม่?"
"สุภัททะ ! รอยเท้าในอากาศนั้นไม่มี ศาสนาใดไม่มีมรรคมีองค์แปด สมณะผู้สงบถึงที่สุดก็ไม่มีในศาสนานั้น สังขารที่เที่ยงนั้นไม่มีเลย สุภัททะ ปัญหาของเธอมีเท่านี้หรือ?"
"มีเท่านี้พระเจ้าข้า" สุภัททะทูลแล้วนิ่งอยู่

พระพุทธองค์ผู้ทรงอนาวรณญาณ ทรงทราบอุปนิสัยของสุภัททะแล้วจึงตรัสต่อไปว่า
"สุภัททะ ! ถ้าอย่างนั้นจงตั้งใจฟังเถิด เราจะแสดงธรรมให้ฟังแต่โดยย่อ ดูกรสุภัททะ ! อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปดเป็นทางประเสริฐ สามารถให้บุคคลผู้เดินไปตามทางนี้ถึงซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่ เป็นทางเดินไปสู่อมตะ ดูกรสุภัททะ ! ถ้าภิกษุหรือใครก็ตามจะพึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดนี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์"
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 13, 2015, 07:34:17 pm »

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 17

พระผู้มีพระภาคบรรทมสงบนิ่ง พระอานนท์ก็พลอยนิ่งตามไปด้วย ดูเหมือนท่านจะตรึกตรองพุทธวจะนะที่ตรัสจบลงสักครู่นี้ ความเงียบสงัดปกคลุมอยู่ครู่หนึ่ง แล้วพระอานนท์ก็ทูลว่า

"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้วจะปฏิบัติเกี่ยวกับพุทธสรีระอย่างไร"
"อย่าเลยอานนท์ ! " พระศาสดาทรงห้าม
"เธออย่ากังวลกับเรื่องนี้เลย หน้าที่ของพวกเธอคือคุ้มครองตนด้วยดี จงพยายามทำความเพียรเผาบาป ให้เร่าร้อนอยู่ทุกอิริยาบถเถิด สำหรับเรื่องสรีระของเราเป็นหน้าที่ของคฤหัสถ์ที่จะพึงทำกัน กษัตริย์ พราหมณ์ และคหบดีเป็นจำนวนมากที่เลื่อมใสตถาคตก็มีอยู่ไม่น้อย เขาคงทำกันเองเรียบร้อย"

"พระเจ้าข้า" พระอานนท์ทูล
"เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของคฤหัสถ์ก็จริงอยู่ แต่ถ้าเขาถามข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะพึงบอกเขาอย่างไร"
"อานนท์ ! ชนทั้งหลายเมื่อปฏิบัติต่อสรีระแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ์อย่างไร ก็พึงปฏิบัติต่อสรีระแห่งตถาคตอย่างนั้นเถิด"
"ทำอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า"

"อานนท์ ! คืออย่างนี้ เขาจะพันสรีระแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ์ ด้วยผ้าใหม่ และซับด้วยสำลี แล้วมัดด้วยผ้าใหม่อีก ทำอย่างนี้ถึงห้าร้อยคู่ หรือห้าร้อยชั้น แล้วนำวางในรางเหล็กซึ่งเต็มไปด้วยน้ำมัน แล้วปิดครอบด้วยรางเหล็กเป็นฝา แล้วทำจิตกาธานด้วยไม้หอมนานาชนิด แล้วถวายพระเพลิง เสร็จแล้วเชิญพระอัฐิธาตุแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ์นั้น ไปบรรจุสถูปซึ่งสร้างไว้ ณ ทางสี่แพร่ง สรีระแห่งตถาคตก็พึงทำเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อผู้เลื่อมใสจักได้บูชาและเป็นประโยชน์สุขแก่เขาตลอดกาลนาน"

และแล้วพระพุทธองค์ทรงแสดงถูปารหบุคคล คือบุคคลผู้ควรบรรจุอัฐิธาตุไว้ในพระสถูปสี่จำพวก คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิ์ ตรัสแล้วบรรทมนิ่งอยู่ พระอานนท์ถอยออกจากที่เฝ้าเพราะความเศร้าสลดสุดที่จะอดกลั้นได้ ท่านไปยืนอยู่ที่สงัดเงียบแห่งหนึ่งน้ำตาไหลพรากจนอาบแก้ม แล้วเสียงสะอื้นเบาๆ ก็ตามมา บัดนี้ท่านมีอายุอยู่ในวัยชรานับได้แปดสิบแล้วเท่ากับพระชนม์มายุของพระผู้มีพระภาคเจ้า อุปสมบทมานานถึงสี่สิบสี่พรรษา ได้ยินได้ฟังพระธรรมเทศนา อบรมจิตใจอยู่เสมอ ได้บรรลุคุณธรรมขั้นต้นเป็นโสดาบันบุคคล ผู้มีองค์ประกอบดังกล่าวนี้ ถ้าไม่มีเรื่องสะเทือนใจอย่างแรงคงจะไม่เศร้าโศกปริเวทนาการถึงเพียงนี้ ท่านสะอึกสะอื้นจนสั่นเทิ้มไปทั้งองค์ บางคราวจะมองเห็นผ้าสีเหลืองหม่นที่คลุมกายสั่นน้อยๆ ตามแรงสั่นแห่งรูปกาย แน่นอนท่านรู้สึกสะเทือนใจและว้าเหว่อย่างยิ่ง เป็นเวลานานเหลือเกินที่ท่านรับใช้พระศาสดา ได้ทำหน้าที่พุทธอุปัฏฐาก และเอื้อเฟื้อต่อกัน การจากไปของพระผู้มีพระภาคจึงเป็นเสมือนกระชากดวงใจของท่านให้หลุดลอย

"โอ ! พระองค์ผู้เป็นที่พึ่งของโลกและของข้าพระองค์" เสียงคร่ำครวญออกมากับเสียงสะอื้น
"ตั้งแต่บัดนี้ไป ข้าพระพุทธเจ้าจักไม่ได้เห็นพระองค์อีกแล้ว พระองค์ผู้ทรงพระมหากรุณาดุจห้วงมหรรณพมาด่วนจากข้าพระองค์ ทั้งๆ ที่ข้าพระองค์ยังมีอาสวะอยู่เหมือนพี่เลี้ยงสอนให้เด็กเดิน เมื่อเด็กน้อยพอจะหัดก้าวเท่านั้น พี่เลี้ยงก็มีอันพลัดพรากจากไป ข้าพระองค์เหมือนเด็กน้อยผู้นั้น" พระอานนท์คร่ำครวญอย่างน่าสงสาร

เมื่อพระอานนท์หายไปนานผิดปกติ พระศาสดาจึงตรัสถามว่า
"ภิกษุทั้งหลาย ! อานนท์หายไปไหน?"

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 18

"ไปยืนร้องไห้อยู่โคนต้นไม้โน้น พระเจ้าข้า" ภิกษุทั้งหลายทูล
"ไปตามอานนท์มานี่เถิด" พระศาสดา ตรัสสั่ง

พระอานนท์เข้าสู่ที่เฝ้าด้วยใบหน้าที่ยังชุ่มด้วยน้ำตา พระศาสดาตรัสปลอบใจว่า
"อานนท์ ! อย่าคร่ำครวญนักเลย เราเคยบอกไว้แล้วมิใช่หรือ บุคคลย่อมต้องพลัดพราก จากสิ่งที่รักที่พอใจเป็นธรรมดา ในโลกนี้หรือโลกไหนๆ ก็ตาม ไม่มีอะไรยั่งยืนถาวรเลย สิ่งทั้งหลายมีการเกิดย่อมมีการดับเป็นธรรมดา เป็นที่สุดไม่มีอะไรยับยั้งต้านทาน"

"ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นประดุจดวงตะวัน" พระอานนท์ทูลด้วยเสียงสะอื้นน้อยๆ
"ข้าพระองค์มารำพึงว่าตลอดเวลาที่พระองค์ทรงพระชนม์อยู่ ข้าพระองค์เที่ยวติดตามประดุจฉายา ต่อไปนี้ข้าพระองค์จะพึงติดตามผู้ใดเล่า จะพึงตั้งนำใช้น้ำเสวยเพื่อผู้ใด จะพึงปัดกวาดเสนาสนะที่หลับที่นอนเพื่อผู้ใด อนึ่ง เวลานี้ข้าพระองค์ยังมีอาสวะอยู่ พระองค์มาด่วนปรินิพพาน ใครเล่าจะเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์กำจัดกิเลสให้หมดสิ้น ข้าพระองค์คงอยู่อย่างว้าเหว่และเดียวดาย เมื่อคำนึงอย่างนี้แล้ว ก็สุดจะหักห้ามความโศกสลดได้"

"อานนท์ ! เธอเป็นผู้มีบารมีธรรมที่สั่งสมมาไว้แล้วมาก เธอเป็นผู้มีบุญที่สั่งสมไว้แล้วมาก อย่าเสียใจเลย กิจอันใดที่ควรทำแก่ตถาคต เธอได้ทำกิจนั้นอย่างสมบูรณ์ด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตาอย่างยอดเยี่ยม จงประกอบความเพียรเถิด เมื่อเราล่วงลับไปแล้วเธอจะต้องประสพอรหันตผลเป็นพระอรหันต์ในไม่ช้า"
ตรัสดังนี้แล้วจึงเรียกภิกษุทั้งหลายเข้ามาสู่ที่ใกล้ แล้วทรงสรรเสริญพระอานนท์ เป็นอเนกปริยาย เป็นต้นว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ! อานนท์เป็นบัณฑิตเป็นผู้รอบรู้และอุปัฏฐากเราอย่างยอดเยี่ยม พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในอดีตและอนาคต ซึ่งมีภิกษุเป็นผู้อุปัฏฐากนั้น ก็ไม่ดีเกินไปกว่าอานนท์ อานนท์เป็นผู้ดำเนินกิจด้วยปัญญารู้กาลที่ควรไม่ควร รู้กาลที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มาเฝ้าเรา ว่ากาลนี้สำหรับกษัตริย์ กาลนี้สำหรับราชามหาอำมาตย์ กาลนี้สำหรับคนทั่วไป แล้วได้รับการยกย่องนานาประการ มีคุณธรรมน่าอัศจรรย์ ผู้ที่ยังไม่เคยเห็นไม่เคยสนทนา ก็อยากเห็นอยากสนทนาด้วย อยากฟังธรรมของอานนท์ เมื่อฟังก็มีจิตใจเพลิดเพลิน ยินดีในธรรมที่อานนท์แสดง ไม่อิ่มไม่เบื่อด้วยธรรมวารีรส…ภิกษุทั้งหลาย ! อานนท์เป็นบุคคลที่หาได้ยากผู้หนึ่ง"

พระอานนท์ผู้มีความห่วงใยในพระศาสดาไม่มีที่สิ้นสุด กราบทูลด้วยน้ำเสียงที่ยังเศร้าอยู่ว่า
"พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์เป็นประดุจพระเจ้าจักรพรรดิ์ในทางธรรม ทรงสถาปนาอาณาจักรแห่งธรรมขึ้นทรงเป็นธรรมราชาสูงยิ่งกว่าราชาใดๆ ในพื้นพิภพนี้ ข้าพระองค์เห็นว่าไม่สมควรแก่พระองค์เลย ที่จะปรินิพพานในเมืองกุสินาราอันเป็นเมืองเล็กเมืองน้อย ขอพระองค์ไปปรินิพพานในเมืองใหญ่ ๆ เช่น ราชคฤห์ สาวัตถี จำปาสาเกตโกสัมพี พาราณสี เป็นต้นเถิดพระเจ้าข้า ในมหานครเหล่านั้น กษัตริย์ พราหมณ์ เศรษฐี คหบดีและชาวนครทุกชั้นที่เลื่อมใสในพระองค์ก็มีอยู่มาก จักได้ทำมหาสักการะแด่สรีระแห่งพระองค์เป็นมโหฬาร ควรแก่การเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งอุดมรัตน์ในโลก"
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 13, 2015, 07:32:49 pm »

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 15

พระองค์ต้องหยุดพักเป็นระยะๆ หลายครั้งก่อนจะถึงกุสินาราราชธานีแห่งมัลลกษัตริย์ ณ ใต้ร่มพฤกษ์ใบหนาแห่งหนึ่ง ขณะที่พระองค์หยุดพัก มีบุตรแห่งมัลลกษัตริย์นามว่าปุกกุสะ เคยเป็นศิษย์ของอาฬารดาบส กาลามโคตร เดินทางจากกุสินารา เพื่อไปยังปาวานคร ได้เห็นพระภาคแล้วเกิดความเลื่อมใส จึงน้อมนำผ้าคู่งาม ซึ่งมีสีเหมือนทองสินทบเข้าไปถวาย รับสั่งให้ถวายแก่พระองค์ผืนหนึ่ง แก่พระอานนท์ผืนหนึ่ง พระอานนท์เห็นว่าผ้านั้นไม่สมควรแก่ตน จึงน้อมนำผ้านั้นเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคอีกผืนหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงนุ่งและห่มแล้ว ผ้านั้นสวยงามยิ่งนัก ปรากฏประดุจถ่านเพลิงปราศจากควัน และเปลวพระฉวีของพระองค์เล่า ก็ช่างผุดผ่องงดงามเกินเปรียบ ท่านได้เห็นเหตุการณ์ดังนั้นจึงกราบทูลพระพุทธองค์ว่า

"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ ! ข้าพระองค์สังเกตเห็นพระฉวีของพระองค์ผุดผ่องยิ่งนัก เกินที่จะเปรียบด้วยสิ่งใดเปล่งปลั่งมีรัศมี พระองค์ผู้ประเสริฐ ! บัดนี้พระองค์ทรงมีพระขนม์มายุถึงแปดสิบแล้ว อยู่ในวัยชราเต็มที่ เหมือนผลไม้สุกจนงอม อนึ่งเล่าเวลานี้พระองค์ทรงพระประชวรหนัก ร่างกายเป็นผู้มีโรคเบียดเบียน แต่เหตุใดผิวพรรณของพระองค์จึงผุดผ่องยิ่งนัก"

"อานนท์ !" พระศาสดาตรัสตอบ
"เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าที่เป็นอย่างนี้ ในคราวจะตรัสรู้คราวหนึ่ง และก่อนที่จะนิพพานอีกคราวหนึ่ง ผิวพรรณแห่งตถาคตย่อมปรากฏงดงามประดุจรัศมีแห่งสุริยาเมื่อแรกรุ่นอรุณและจวนจะอัสดง ดูกรอานนท์ ! ในยามสุดท้ายแห่งราตรีนี้ ตถาคตจะต้องปรินิพพานในระหว่างต้นสาละทั้งคู่ซึ่งโน้มกิ่งเข้าหากัน มีใบใหญ่หนา มีดอกเป็นช่อชั้น"

ตรัสดังนั้นแล้ว จึงเสด็จนำพระอานนท์ไปสู่ฝั่งน้ำกกุธานที เสด็จลงทรงสำราญตามพระพุทธอัธยาศัย แล้วเสด็จขึ้นจากกกุธานที ไปประทับ ณ อัมพวัน รับสั่งให้พระจุนทะ น้องชายพระสารีบุตร ปูลาดสังฆาฏิเป็นสี่ชั้น แล้วบรรทมด้วยสีหะไสยา คือตะแคงขวาเอาพระหัตถ์รองรับพระเศียร ซ้อนพระบาทให้เหลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ ตั้งพระทัยว่าจะลุกขึ้นในไม่ช้า ขณะนั้นเอง ความปริวิตกถึงนายจุนทะผู้ถวายสูกรมัทวะก็เกิดขึ้น จึงตรัสกับพระอานนท์ว่า

"อานนท์ ! เมื่อเรานิพพานไปแล้วอาจมีผู้กล่าวโทษจุนทะว่าถวายอาหารที่เป็นพิษ จนเป็นเหตุให้เราปรินิพพาน หรือมิฉะนั้นจุนทะอาจจะเกิดวิปปฏิสาร เดือดร้อนใจตัวเองว่าเพราะเสวยสูกรมัทวะอันตนถวาย พระตถาคตจึงนิพพาน ดูกรอานนท์ ! บิณฑบาตทานที่อานิสงส์มาก มีผลไพศาล มีอยู่สองคราวด้วยกันคือ เมื่อนางสุชาดาถวายเราก่อนจะตรัสรู้ครั้งหนึ่ง และอีกครั้งหนึ่งที่จุนทะถวายนี้ ครั้งแรกเสวยอาหารของสุชาดาแล้วตถาคตก็ถึงซึ่งกิเลสนิพพาน คือการดับกิเลส ครั้งหลังนี้เสวยอาหารของจุนทะบุตรนายช่างทองแล้วเราก็นิพพานด้วยขันธนิพพานคือ ดับขันธ์ อันเป็นวิบากที่ยังเหลืออยู่ ถ้าใครๆ จะพึงตำหนิจุนทะ เธอพึงกล่าวให้เขาเข้าใจตามนี้ ถ้าจุนทะจะพึงเดือดร้อนใจ เธอพึงกล่าวปลอบใจให้เขาคลายวิตกกังวลเสีย อาหารของจุนทะเป็นอาหารมื้อสุดท้ายสำหรับเรา"

ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะมีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวารเสด็จข้ามแม่น้ำหิรัญวญวดีถึงกรุงกุสินารา เสด็จเข้าสู่สาละวโนทยานคืออุทยานซึ่งสะพรึกพรั่งด้วยต้นสาละ รับสั่งให้พระอานนท์จัดแท่นบรรทมระหว่างต้นสาละ ซึ่งมีกิ่งโน้มเข้าหากัน ให้หันพระเศียรไปทางทิศอุดร

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 16

ครั้งนั้นมีบุคคลเป็นจำนวนมาก จากสารทิศต่างๆ เดินทางมาเพื่อเฝ้าพระพุทธสรีระเป็นปัจฉิมกาล แผ่เป็นปริมณฑลกว้างออกไปสุดสายตา สมเด็จพระมหาสมณะทรงเห็นเหตุการณ์ดังนี้แล้ว จึงตรัสกับพระอานนท์เป็นเชิงปรารภว่า

"อานนท์ ! พุทธบริษัททั้ง สี่ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทำสักการะบูชาเราด้วยเครื่องบูชาสักการะทั้งหลายอันเป็นอามิส เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น หาชื่อว่าบูชาตถาคตด้วยการบูชาอันยิ่งไม่ อานนท์ เอ๋ย ! ผู้ใด ปฏิบัติตามธรรมปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติธรรมอันเหมาะสม ผู้นั้นแลชื่อว่าสักการะบูชาเราด้วยการบูชาอันยอดเยี่ยม"

พระอานนท์ทูลว่า "พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อก่อนนี้ออกพรรษาแล้ว ภิกษุทั้งหลายต่างพากันเดินทางมาจากทิศานุทิศเพื่อเฝ้าพระองค์ ฟังโอวาทจากพระองค์ บัดนี้พระองค์จะปรินิพพานเสียแล้ว ภิกษุทั้งหลาย จะพึงไป ณ ที่ใด ?"

"อานนท์ ! สถานที่อันเป็นเหตุให้ระลึกถึงเราก็มีอยู่คือ สถานที่ที่เราประสูติแล้วคือ ลุมพินีวันสถาน สถานที่ที่เราตั้งอาณาจักรแห่งธรรมขึ้นเป็นครั้งแรก คือป่าอิสิปตนะมิคทายะแขวงเมืองพาราณสีสถานที่ที่เราตรัสรู้อนุตตรสัมมาโพธิ ฐาณ บรรลุความรู้อันประเสริฐทำกิเลสให้สิ้นไป คือ โพธิมณฑล ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และสถานที่ที่เราจะปรินิพพาน ณ บัดนี้ คือป่าไม้สาละ ณ นครกุสินารา อานนท์เอ๋ย ! สถานที่ทั้งสี่แห่งนี้เป็นสังเวชนียสถาน สารานียสถาน สำหรับให้ระลึกถึงเราและเดินตามรอยพระบาทแห่งเรา"

"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ในพรหมจรรย์นี้มีสุภาพสตรีเป็นอันมากเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ในฐานะต่างๆ เป็นมารดาบ้าง เป็นพี่หญิงน้องหญิงบ้าง เป็นเครือญาติบ้างและเป็นผู้เลื่อมใสในพระรัตนตรัยบ้างภิกษุจะพึงปฏิบัติต่อสตรีอย่างไร?"

"อานนท์ ! การที่ภิกษุจะไม่ดูไม่แลสตรีเพศเสียเลยนั้นเป็นการดี"
"ถ้าจำเป็นต้องดูต้องเห็นเล่าพระเจ้าข้า" พระอานนท์ทูลซัก
"ถ้าจำเป็นต้องดูต้องเห็น ก็อย่าพูดด้วย อย่าสนทนาด้วยนั้นเป็นการดี" พระศาสดาตรัสตอบ

"ถ้าจำเป็นต้องสนทนาด้วยเล่าพระเจ้าข้า จะปฏิบัติอย่างไร"
"ถ้าจำเป็นต้องสนทนาด้วยก็จงมีสติไว้ ควบคุมสติให้ดี สำรวมอินทรีย์วาจาให้เรียบร้อย อย่าให้ความกำหนัดยินดี หรือความหลงไหลครอบงำจิตใจได้ อานนท์ ! เรากล่าวว่าสตรีที่บุรุษเอาใจเข้าไปเกาะเกี่ยวนั้น เป็นมลทินของพรหมจรรย์"

"แล้วสตรีที่บุรุษมิได้เอาใจเข้าไปเกี่ยวเกาะเล่าพระเจ้าข้า จะเป็นมลทินของพรหมจรรย์หรือไม่ ?"
"ไม่เป็นซิ อานนท์ ! เธอระลึกได้อยู่หรือ เราเคยพูดไว้ว่าอารมณ์อันวิจิตร สิ่งสวยงามในโลกนี้มิใช่กาม แต่ความกำหนัดที่เกิดขึ้น เพราะการดำริต่างหากเล่าเป็นกามของคน เมื่อกระชากความพอใจออกเสียได้แล้ว สิ่งวิจิตรสวยงามก็อยู่อย่างเก้อๆ ทำพิษอะไรมิได้อีกต่อไป"
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 07, 2015, 02:57:47 pm »

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 13

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ลึกซึ้งเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบประณีต มิใช่วิสัยแห่งสัตว์ คือคิดเอาไม่ได้ หรือไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จงดูกายอันนี้เถิด ฟันหัก ผมหงอก หนังเหี่ยวๆ ยานๆ มีอาการทรุดโทรมให้เห็นอย่างเด่นชัดเหมือนเกวียนที่ชำรุดแล้วชำรุดอีก ได้อาศัยแต่ไม้ไผ่มาซ่อมไว้ ผูกกระหน่ำคาบค้ำไว้ จะยืนนานไปได้สักเท่าไร การแตกสลายย่อมจะมาถึงเข้าสักวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงมีธรรมเป็นที่เกาะที่พึ่งเถิด อย่าคิดยึดสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย แม้ตถาคตก็เป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จงดูกายอันเปื่อยเน่านี้เถิด มันอาดูรไม่สะอาด มีสิ่งสกปรกไหลเข้าไหลออกอยู่เสมอ ถึงกระนั้นก็ตาม มันยังเป็นที่พอใจปรารถนายิ่งนักของคนผู้ไม่รู้ความจริงข้อนี้ ภิกษุทั้งหลาย ร่างกายนี้ไม่นานนักหรอกคงจะนอนทับถมแผ่นดิน ร่างกายนี้เมื่อปราศจากวิญญาณครองแล้วก็ถูกทอดทิ้งเหมือนท่อนไม้ที่ไร้ค่า อันเขาทิ้งเสียแล้วโดยไม่ใยดี"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อันร่างกายนี้สะสมไว้แต่ของสกปรก มีสิ่งปฏิกูลไหลออกจากทวารทั้งเก้า มีช่องหู ช่องจมูก เป็นต้น เป็นที่อาศัยแห่งสัตว์เล็กสัตว์น้อยเป็นป่าช้าแห่งซากสัตว์นานาชนิด เป็นรังแห่งโรค เป็นที่เก็บโรค อุปมาเหมือนถุงหนังซึ่งบรรจุเอาสิ่งโสโครกต่างๆ เข้าไว้แล้วซึมออกมาเสมอๆ เจ้าของกายจึงต้องชำระล้างขัดถูวันละหลายหลายครั้ง เมื่อเว้นจากการชำระล้างแม้เพียงวันเดียว หรือสองวันกลิ่นเหม็นก็ปรากฏเป็นที่รังเกียจเป็นของน่าขยะแขยง"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อริยะมรรคประกอบด้วยองค์แปดเป็นทางอันประเสริฐ สามารถทำให้บุคคลเดินไปตามทางนี้ถึงซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่ เป็นทางเดินไปสู่อมตะ"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหรือใครๆ ก็ตาม พึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดนี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดเคารพหนักแน่นในพระศาสดาและพระธรรม มีความยำเกรงในสงฆ์ มีความเคารพหนักแน่นในสมาธิ มีความเพียรเรื่องเผาบาป เคารพในไตรสิกขาและเคารพในปฏิสันถารการต้อนรับอาคันตุกะ ผู้เช่นนั้นย่อมไม่เสื่อม ดำรงตนอยู่ใกล้พระนิพพาน"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ตราบใดที่พวกเธอยังหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พร้อมเพรียงกันประชุม เคารพในสิกขาบทบัญญัติ ยำเกรงภิกษุผู้เป็นสังฆเถระสังฆบิดร ไม่ยอมตนให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจแห่งตัณหา พอใจในการอยู่อาศัยเสนาสนะป่า ปรารถนาให้เพื่อนพรหมจารีย์มาสู่สำนักและอยู่เป็นสุข ตราบนั้นพวกเธอจะไม่เสื่อมเลย มีแต่ความเจริญโดยส่วนเดียว"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ตราบใดที่พวกเธอไม่หมกมุ่นกับการงานมากเกินไป ไม่พอใจด้วยการคุยฟุ้งซ่าน ไม่ชอบใจในการนอนมากเกินควร ไม่ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นผู้ปรารถนาลามก ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจแห่งความปรารถนาชั่ว ไม่คบมิตรเลว ไม่หยุดความเพียรพยายามเพื่อบรรลุคุณธรรมขั้นสูงขึ้นไปแล้ว ตราบนั้นพวกเธอจะไม่มีความเสื่อมเลย มีแต่ความเจริญโดยส่วนเดียว"


พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 14

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! วาจาสุภาษิตย่อมไม่มีประโยชน์แก่ผู้ไม่ทำตาม เหมือนดอกไม้ที่มีสีสวย สัณฐานดีแต่หากลิ่นมิได้ แต่วาจาสุภาษิตจะมีประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ทำตามเหมือนดอกไม้ที่มีสีสวยมีสัณฐานงามและมีกลิ่นหอม ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมที่เรากล่าวดีแล้วนั้น ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์ ไพศาลแก่ผู้ไม่ทำตามโดยเคารพ แต่จะมีผลมาก มีอานิสงส์ไพศาล แก่ผู้ซึ่งกระทำโดยนัยตรงกันข้าม มีการฟังโดยเคารพ เป็นต้น"

พระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า
"มาเถิดอานนท์ ! เราจักไปกุสินารานครด้วยกัน"

พระอานนท์รับพุทธบัญชาแล้วประกาศให้ภิกษุทั้งหลายทราบพร้อมกัน แล้วเดินจากสถานที่นั้นมุ่งสู่กุสินารานคร ในระหว่างทางทรงเหน็ดเหนื่อยมากจึงแวะเข้าร่มพฤกษ์ใบหนาต้นหนึ่ง รับสั่งให้พระอานนท์ปูผ้าสังฆาฏิทำเป็นสี่ชั้น

"อานนท์ ! เราเหน็ดเหนื่อยเหลือเกินอาพาธก็มีอาการรุนแรงขึ้น เร็วเข้าเถิดรีบปูลาดสังฆาฏิลง เราจะนอนพักผ่อนและขอให้เธอไปนำน้ำมาดื่มพอแก้กระหาย"
"พระเจ้าข้า" พระอานนท์ทูล
"เกวียนเป็นจำนวนมากเพิ่งผ่านพ้นลำน้ำไปสักครู่นี้เอง น้ำยังขุ่นอยู่ไม่สมควรที่พระองค์จะดื่ม ขอพระองค์ไปดื่ม ณ แม่น้ำกกุธานทีเถิด มีน้ำใสจืดสนิทเย็นดี"
"อย่าเลย อานนท์" พระคถาคต ตรัสเป็นเชิงวิงวอน
"อย่าคอยจนไปถึงแม่น้ำกกุธานทีเลย เรากระหายเหลือเกิน ร่างกายร้อนคอแห้งผาก เธอจงรีบไปนำน้ำมาเถิด"

พระอานนท์รับพุทธบัญชาแล้ว ถือบาตรของพระตถาคตเจ้าไป ท่านมีอาการเศร้าซึมและวิตกกังวล เมื่อมาถึงริมแม่น้ำยังมองเห็นน้ำขุ่นอยู่ ท่านมีอาการเหมือนว่าจะเดินกลับ แต่ด้วยความเชื่อและห่วงใยในพระศาสดา จึงเดินลงไปอีก พอท่านทำท่าจะตักน้ำขึ้นมาเท่านั้น น้ำซึ่งมีสีขุ่นขาวเพราะรอยเกวียนและโค ก็ปรากฏเป็นน้ำใสสะอาดเหมือนกระจกเงา ท่านจึงตักน้ำนั้นมา แล้วรีบกลับน้อมบาตรน้ำเข้าไปถวายพระศาสดา พระพุทธองค์ทรงดื่มด้วยความกระหาย พระอานนท์มองดูด้วยความชื่นชมในพุทธบารมีแล้วทูลว่า

"พระพุทธเจ้าข้า อัศจรรย์จริง ! สิ่งที่ไม่เคยมีไม่เคยปรากฏ ได้มีได้ปรากฏแล้วเป็นเพราะพุทธานุภาพโดยแท้ เป็นบารมีธรรมสั่งสมแท้"

แล้วท่านก็เล่าเรื่องน้ำที่ขุ่นกลับใสสะอาดโดยฉับพลันให้พระผู้มีพระภาคเจ้าสดับ พระจอมมุนีทรงประทับ สงบนิ่งด้วยอาการแห่งผู้เจนจบและเข้าใจในความเป็นไปทั้งปวง ก่อนหน้านี้เพียงเล็กน้อย เมื่อพระองค์ผ่านมาทางเมืองปาวา ประทับ ณ สวนมะม่วงของนายจุนทะบุตรแห่งนายช่างทอง นายจุนทะ ทูลอาราธนาพระพุทธองค์รับภัตตาหาร ณ บ้านแห่งตน แล้วจัดแจงขาทนียโภชนียาหารอย่างประณีต รุ่งขึ้นได้เวลาแล้วอาราธนาพระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์เพื่อเสวย พระพุทธองค์ทอดทัศนาการเห็นสูกรมัทวะ อาหารชนิดหนึ่งซึ่งย่อยยาก จึงรับสั่งให้ถวายแด่พระองค์แต่เพียงผู้เดียวมิให้ถวายแก่ภิกษุรูปอื่น เมื่อพระองค์เสวยแล้วก็รับสั่งให้ฝังเสีย ดูเถิด ! พระมหากรุณาแห่งพระองค์มีถึงปานนี้ สำหรับพระองค์นั้นมิได้ห่วงใยในชีวิตอีกแล้ว เพราะถึงอย่างไรก็ต้องนิพพานในคืนวันนี้แน่นอน ทรงเป็นห่วงภิกษุสาวกจะลำบากถ้าฉันอาหารที่ย่อยยากชนิดนั้น ประหนึ่งมารดาหรือบิดาผู้เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมในบุตรของตน ทราบว่าอะไรจะทำให้บุตรธิดาลำบาก ย่อมพร้อมที่จะรับความลำบากอันนั้นเสียเอง สูกรมัทวะให้ผลในทันที อาการประชวรของพระองค์ทรุดหนักลงอย่างน่าวิตก มีพระบังคนเป็นโลหิต แต่ถึงกระนั้นก็ยังเสด็จด้วยพระบาทเปล่าจากปาวาสู่กุสินารานครดังกล่าวแล้ว
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 07, 2015, 02:56:51 pm »

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 11

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ความตระหนี่ลาภเป็นความโง่เขลา เหมือนชาวนาที่ตระหนี่ไม่ยอมหว่านพันธุ์ข้าวลงในนา เขาเก็บพันธุ์ข้าวเปลือกไว้จนเน่าและเสีย ไม่สามารถจะปลูกได้อีก ข้าวเปลือกที่หว่านลงแล้วหนึ่งเมล็ด ย่อมให้ผลหนึ่งรวงฉันใด ทานที่บุคคลทำแล้วก็ฉันนั้นย่อมมีผลมากผลไพศาล การรวบรวมทรัพย์ไว้โดยมิได้ใช้สอยให้เป็นประโยชน์ ทรัพย์นั้นจะมีคุณแก่ตนอย่างไร เหมือนผู้มีเครื่องประดับอันวิจิตรตระการตาแต่หาได้ประดับไม่ เครื่องประดับนั้นจะมีประโยชน์อะไร รังแต่จะก่อความหนักใจในการเก็บรักษา"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! นกชื่อมาหะกะ ชอบเที่ยวไปตามซอกเขาและที่ต่างๆ มาจับต้นเลียบที่มีผลสุกแล้วว่า ของกู ของกู ในขณะที่มันร้องอยู่นั่นเอง หมู่นกเหล่าอื่นที่บินมากินผลเลียบตามต้องการแล้วจากไป นกมาหะกะ ก็ยังคงร้องว่า ของกู ของกู อยู่นั่นเอง ข้อนี้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น รวบรวมสะสมทรัพย์ไว้มากมาย แต่ไม่สงเคราะห์ญาติตามที่ควร ทั้งมิได้ใช้สอยเองให้ผาสุข มัวเฝ้ารักษาและภูมิใจว่าของเรามี ของเรามี ดังนี้ เมื่อเขาประพฤติอยู่เช่นนี้ ทรัพย์สมบัติย่อมเสียหายไป ทรุดโทรมไปด้วยเหตุต่างๆ มากหลาย เขาก็คงคร่ำครวญอยู่อย่างเดิมนั่นเอง และต้องเสียใจในของที่เสียไปแล้ว เพราะฉะนั้น ผู้ฉลาดหาทรัพย์ได้แล้วพึงสงเคราะห์คนที่ควรสงเคราะห์มีญาติ เป็นต้น"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ทรัพย์ของคนไม่ดีนั้น ไม่สู้อำนวยประโยชน์แก่ใคร เหมือนสระโบกขรณีอันตั้งอยู่ในที่ไม่มีมนุษย์ แม้จะใสสะอาดจืดสนิทเย็นดี มีท่าลงสะดวกน่ารื่นรมย์ แต่มหาชนก็หาได้ดื่ม อาบหรือใช้สอยตามต้องการไม่ น้ำนั้นมีอยู่อย่างไร้ประโยชน์ ทรัพย์ของคนตระหนี่ก็ฉันนั้น ไม่อำนวยประโยชน์สุขแก่ใครๆ เลย รวมทั้งตัวเขาเองด้วย ส่วนคนดีเมื่อมีทรัพย์แล้วย่อมบำรุงมารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ให้เป็นสุข บำรุงสมณะพราหมณาจารย์ให้เป็นสุข เปรียบเหมือนสระโบกขรณีอันอยู่ไม่ไกลจากบ้านหรือนิคม มีท่าลงเรียบร้อยสะอาดเยือกเย็น น่ารื่นรมย์ มหาชน ย่อมได้อาศัยนำไปอาบ ดื่ม และใช้สอยตามต้องการ โภคทรัพย์ของคนดี ย่อมเป็นดังนี้ หาอยู่โดยเปล่าประโยชน์ไม่"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! นักกายกรรมผู้มีกำลังมาก คือนักมวยปล้ำ ผู้มีกำลังมหาศาลนั้นก่อนที่จะได้กำลังมา เขาก็ต้องออกกำลังไปก่อน การเสียสละนั้น คือการได้มาซึ่งผลอันเลิศในบั้นปลาย ผู้ไม่ยอมเสียสละอะไรย่อมไม่ได้อะไร จงดูเถิด ! มนุษย์ทั้งหลายรดน้ำต้นไม้ที่โคนแต่ต้นไม้นั้นย่อมให้ผลที่ปลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณาดูความจริงตามธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งเถิด คือ แม่น้ำสายใดเป็นแม่น้ำตาย ไม่ไหล ไม่ถ่ายเทไปสู่ที่อื่น หยุดนิ่ง ขังอยู่ที่เดียว แม่น้ำสายนั้นย่อมพลันตื้นเขิน และสกปรกเน่าเหม็น เพราะสิ่งสกปรกลงมามิได้ถ่ายเท นอกจากนี้บริเวณที่ใกล้แม่น้ำสายนั้น จะหาพืชพันธุ์ธัญญาหารที่เขียวสดก็หายาก แต่แม่น้ำสายใดไหลเอื่อยลงสู่ทะเลหรือแตกสาขาออกไป ไหลเรื่อยไปไม่รู้จักหมดสิ้น คนทั้งหลายได้อาศัย อาบดื่ม และใช้สอยตามปรารถนา มันจะใสสะอาดอยู่เสมอไม่มีวันเหม็นเน่าหรือสกปรกได้เลย พืชพันธุ์ธัญญาหาร ณ บริเวณใกล้เคียงก็เขียวสดสวยงาม"

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 12

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้ตระหนี่เมื่อได้ทรัพย์แล้วก็กักตุนไว้ไม่ถ่ายเทให้ผู้อื่นบ้าง ก็เหมือนแม่น้ำตายไม่มีประโยชน์อะไรแก่ใคร ส่วนผู้ไม่ตระหนี่ เป็นเหมือนแม่น้ำที่ไหลเอื่อยอยู่เสมอ กระแสน้ำก็ไม่ขาด ทั้งยังเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น สาธุชนได้ทรัพย์แล้วพึงบำเพ็ญตนเสมือนแม่น้ำซึ่งไหลใสสะอาด ไม่พึงเป็นเช่นแม่น้ำตาย"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อายะสัมปทา หรือทาน จะมีผลมากอานิสงส์ไพศาล ถ้าประกอบด้วยองค์หก กล่าวคือ

1. ก่อนให้ ผู้ให้ก็มีใจก็ผ่องใส ชื่นบาน
2. เมื่อกำลังให้ จิตใจก็ผ่องใส
3. เมื่อให้แล้ว ก็มีความยินดี ไม่เสียดาย
4. ผู้รับเป็นผู้ปราศจากราคะหรือปฏิบัติเพื่อปราศจากราคะ
5. ผู้รับเป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อปราศจากโทสะ
6. ผู้รับเป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อปราศจากโมหะ

ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ประกอบด้วยองค์หกนี้แล เป็นการหายากที่จะกำหนดผลแห่งบุญว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้ อันที่จริงเป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ไม่มีประมาณ เหลือที่จะกำหนด เหมือนน้ำในมหาสมุทรย่อมกำหนดได้โดยยาก ว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! คราวหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศล ราชาแห่งแคว้นนี้ เข้าไปหาตถาคตและถามว่า บุคคลควรจะให้ทานในที่ใด เราตอบว่า ควรให้ในที่ที่เลื่อมใส คือเลื่อมใสบุคคลใด คณะใดก็ควรให้แก่บุคคลนั้น ในคณะนั้น พระองค์ถามต่อไปว่า ให้ทานในที่ใดจึงจะมีผลมาก เราตถาคตตอบว่า ถ้าต้องการผลมากแล้วละก็ควรจะให้ทานในท่านผู้มีศีล การให้แก่บุคคลผู้ทุศีล หามีผลมากอย่างนั้นไม่ สถานที่ทำบุญเปรียบเหมือนเนื้อนา เจตนาและไทยทานของทายก เปรียบเหมือนเมล็ดพืช ถ้าเนื้อนาดีคือบุคคลผู้รับเป็นคนดีมีศีลธรรมและประกอบด้วยเมล็ดพืช คือเจตนาและไทยทานของทายก บริสุทธิ์ทานนั้นย่อมมีผลมาก การหว่านลงในนาที่เต็มไปด้วยหญ้าแฝก และหญ้าคา ต้นข้าวย่อมขึ้นได้โดยยากฉันใด การทำบุญในคณะบุคคลผู้มีศีลน้อย มีธรรมน้อยก็ฉันนั้น คือย่อมได้บุญน้อย ส่วนการทำบุญในคณะบุคคลซึ่งมีศีลดี มีธรรมงาม ย่อมจะมีผลมากเป็นภาวะอันตรงกันข้ามอยู่ดังนี้ เพราะฉะนั้น บุคคลไม่ควรประมาทว่าบุญหรือบาปเพียงเล็กน้อยจะไม่ให้ผล หยาดน้ำที่ไหลลงทีละหยดยังทำให้แม่น้ำเต็มได้ฉันใดการสั่งสมบุญหรือบาปแม้ทีละน้อยก็ฉันนั้น ผู้สั่งสมบุญย่อมเปี่ยมล้นไปด้วยบุญ ผู้สั่งสมบาปย่อมเพียบแปร้ไปด้วยบาป"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อหลอกลวงคน มิใช่เพื่อให้คนทั้งหลายมานับถือ มิใช่เพื่ออานิสงส์ลาภสักการะและความสรรเสริญ มิใช่จุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเจ้าลัทธิและแก้ลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้ มิใช่เพื่อให้ใครรู้จักว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ที่แท้พรหมจรรย์นี้เราประพฤติเพื่อสังวระคือความสำรวม เพื่อปหานะคือความละ เพื่อวิราคะคือคลายความกำหนัดยินดี และเพื่อนิโรธะคือความดับทุกข์"
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 07, 2015, 02:55:36 pm »

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 9

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จิตใจที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมคือ นินทาสรรเสริญนั้น เป็นจิตใจที่ประเสริฐยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่มนุษย์นี้ผู้ใด ฝึกตนให้เป็นคนอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่นได้ จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ม้าอัสไนย ม้าสินทบ พญาช้าง ตระกูลมหาราชที่ได้รับการฝึกดีแล้ว จัดเป็นสัตว์ที่ประเสริฐ แต่บุคคลที่ฝึกตนดีแล้วยังประเสริฐยิ่งกว่าสัตว์เหล่านั้น"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ผู้อดทนต่อคำกล่าวล่วงเกินของผู้สูงกว่า ก็เพราะความกลัว อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้ แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ซึ่งด้อยกว่าตนได้ เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด ผู้มีความอดทนมีเมตตา ย่อมเป็นผู้มีลาภ มียศอยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เปิดประตูแห่งความสุขความสงบได้โดยง่าย สามารถปิดมูลเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทเสียได้ คุณธรรมทั้งมวล มีศีลและสมาธิเป็นต้น ย่อมเจริญงอกงามแก่ผู้มีความอดทนทั้งสิ้น ภิกษุทั้งหลาย ! เมตตากรุณาเป็นพรอันประเสริฐในตัวมนุษย์"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! คฤหัสถ์ผู้ยังบริโภคกามเกียจคร้านหนึ่ง พระราชาทรงประกอบกรณียกิจ โดยมิได้พิจารณาโดยรอบคอบถี่ถ้วนเสียก่อนหนึ่ง บรรพชิตไม่สำรวมหนึ่ง ผู้อ้างตนว่าเป็นบัณฑิตแต่มักโกรธหนึ่ง สี่จำพวกนี้ไม่ดีเลย ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมอันใดที่ทำไปแล้วต้องเดือดร้อนใจภายหลัง ต้องมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา เสวยผลแห่งกรรมนั้น ตถาคตกล่าวว่ากรรมนั้นไม่ดีควรเว้นเสีย"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเราอยู่ในวัยหนุ่ม มีเกศายังดำสนิทถูกแวดล้อมด้วยสตรีล้วนแต่สะคราญตา เป็นที่น่าปรารถนาของบุรุษเพศผู้ยังตัดอาลัยในบ่วงกามมิได้ แต่เราเบื่อหน่ายในโลกีย์วิสัย จึง สละสมบัติบรมจักดิ์และนางผู้จำเริญตา ออกแสวงหาโมกขธรรมแต่เดียวดาย เที่ยวไปอย่างไม่มีอาลัย ปลอดโปร่งเหมือนบุคคล ที่เป็นหนี้แล้วพ้นจากหนี้ เคยถูกคุมขังแล้วพ้นจากที่คุมขัง เคยเป็นโรคแล้วหายจากโรค หลังจากท่องเที่ยวอยู่เดียวดายและทำความเพียรอย่างเข้มงวด ไม่มีใครจะทำได้ยิ่งกว่า อยู่เป็นเวลาหกปี เราก็ได้ประสบชัยชนะอย่างใหญ่หลวงในชีวิต ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณสงบเยือกเย็นถึงที่สุด ล่วงพ้นบ่วงแห่งมารทั้งปวงทั้งที่เป็นทิพย์และเป็นของมนุษย์ มารและธิดามารคือนางตัณหา นางราคะ และนางอรดี ได้พยายามยั่วยวนเราด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้เราตกอยู่ในอำนาจ แต่เราก็หาสนใจใยดีไม่ ในที่สุด พวกนางก็ถอยหนีไปเอง เราชนะมารอย่างเด็ดขาด จนมีนามก้องโลกว่า "ผู้พิชิตมาร"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ชีวิตนี้เริ่มต้นด้วยเรื่องที่น่าละอาย ทรงตัวอยู่ด้วยเรื่องที่ยุ่งยากสับสน และจบลงด้วยเรื่องเศร้า อนึ่งชีวิตนี้เริ่มต้นและจบลงด้วยเสียงคร่ำครวญ เมื่อลืมตาขึ้นดูโลกเป็นครั้งแรก เราร้องไห้ และเมื่อจะหลับตาลาโลกเราก็ร้องไห้อีก หรืออย่างน้อยก็เป็นสาเหตุให้คนอื่นหลั่งน้ำตา เด็กร้องไห้พร้อมด้วยกำมือแน่น เป็นสัญญลักษณ์ว่าเขาเกิดมาเพื่อ จะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ แต่เมื่อจะหลับตาลาโลกนั้น ทุกคนแบมือออกเหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลังสำนึกและเป็นพยานว่า เขามิได้เอาอะไรไปด้วยเลย"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจนั้น เป็นเรื่องทรมานยิ่งและเรื่องที่จะบังคับมิให้พลัดพราก ก็เป็นสิ่งสุดวิสัย ทุกคนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ไม่วันใด ก็วันหนึ่ง"


พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 10

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณ และเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่ง แห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้ว ยิ่งเป็นพิษแก่จิตใจทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้น เหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธอทั้งหลายอย่าพอใจในความรักเลย เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อย่าหวังอะไรให้มากนัก จงมองดูชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง อย่าวิตกกังวลอะไรล่วงหน้า ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่นซึ่งก่อตัวขึ้นแล้วม้วนเข้าหาฝั่ง และแตกกระจายเป็นฟองฝอย จงยืนมองดูชีวิตเหมือนคนผู้ยืนอยู่บนฝั่งมองดูเกลียวในมหาสมุทรฉะนั้น"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! มนุษย์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาเป็นฝ้าบังปัญญาจักษุนั้น เป็นเสมือนทารกน้อย ผู้หลงเข้าไปในป่าใหญ่อันรกทึบ ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายน่าหวาดเสียว และว้าเหว่เงียบเหงา มนุษย์ส่วนใหญ่แม้จะร่าเริงแจ่มใสอยู่ในหมู่ญาติและเพื่อนฝูง แต่ใครเล่าจะทราบว่า ภายในส่วนลึกแห่งหัวใจ เขาจะว้าเหว่และเงียบเหงาสักปานใด ถ้าทุกคนซึ่งกำลังว้าเหว่ไม่แน่ใจว่าจะยึดเอาอะไรเป็นหลักที่แน่นอนของชีวิต"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด การกระทำที่นึกขึ้นภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้นควรเว้นเสีย เพราะฉะนั้น แม้จะประสบความทุกข์ยากลำบากสักปานใด ก็ต้องไม่ทิ้งธรรม มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้นย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้าง เพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติภายหลังแล้ว ก็ต้องตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่ ยิ่งพวกเรานักบวชด้วยแล้วจำเป็นต้องมีอุดมคติ การตายด้วยอุดมคตินั้นมีค่ากว่าการเป็นอยู่โดยไร้อุดมคติ"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมดาว่าไม้จันทน์ แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สงครามก็ไม่ทิ้งลีลา อ้อยแม้เข้าสู่หีบยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายได้สละเพศฆราวาสมาแล้วซึ่งเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ยากที่ใครๆ จะสละได้ ขอให้เธอเสียสละต่อไปเถิด และสละให้ลึกกว่านั้นคือไม่สละแต่เพียงเพศอย่างเดียว แต่จงสละความรู้สึกอันจะเป็นข้าศึกต่อเพศเสียด้วย เธอเคยฟังสุภาษิตอันกินใจยิ่งมาแล้วมิใช่หรือ บุคคลร้อยคนหาคนกล้าได้หนึ่งคน บุคคลพันคนหาคนเป็นบัณฑิตได้หนึ่งคน บุคคลแสนคนหาคนพูดความจริงได้เพียงหนึ่งคน ส่วนคนที่เสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่ทราบว่าจะมีหรือไม่ คือไม่ทราบว่าจะหาในบุคคลจำนวนเท่าไร จึงจะพบได้หนึ่งคน"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงินทองหรือของที่บุคคลหวงแหนอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมทั้งทาส กรรมกร คนใช้และที่อยู่อาศัย สิ่งอื่นๆ ทั้งหมดนี้บุคคลนำไปไม่ได้ ต้องทอดทิ้งไว้หมด แต่สิ่งที่บุคคลทำด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจ นั่นแหละที่จะเป็นของเขา เป็นสิ่งที่เขาต้องนำไปเหมือนเงาตามตัว เพราะฉะนั้นผู้ฉลาดพึงสั่งสมกัลยาณกรรม อันจะนำติดตัวไปสู่สัมปรายภพได้ บุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อไฟไหม้บ้านภาชนะเครื่องใช้อันใดที่เจ้าของนำออกไปได้ ของนั้นก็เป็นประโยชน์แก่เจ้าของ ที่นำออกไม่ได้ก็ถูกไฟไหม้วอดวายอยู่ ณ ที่นั้นเองฉันใด คนในโลกนี้ถูกไฟคือความแก่ ความตายไหม้อยู่ก็ฉันนั้น คนผู้ฉลาดย่อมนำของออกด้วยการให้ทาน ของที่บุคคลให้แล้วชื่อว่านำออก ดีแล้ว มีความสุขเป็นผล ส่วนของที่ยังไม่ได้ให้หาเป็นเช่นนั้นไม่ แต่โจรอาจขโมยเสียบ้าง ไฟอาจจะไหม้เสียบ้าง อีกอย่างหนึ่งเมื่อความตายมาถึงเข้า บุคคลย่อมสละทรัพย์สมบัติและแม้สรีระของตนไว้ นำไปไม่ได้เลย ผู้มีปัญญารู้ความจริงข้อนี้แล้ว พึงบริโภคใช้สอย พึงให้เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นเพื่อได้ให้บริโภคตามสมควรแล้วเป็นผู้ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าสู่ฐานะอันประเสริฐ"
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 07, 2015, 02:54:20 pm »

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 7

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อรากยังมั่นคง แม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้วมันก็สามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยขึ้นเสียจากดวงจิต ความทุกข์ก็เกิดขึ้นอีกแน่ๆ ภิกษุทั้งหลาย ! น้ำตาของสัตว์ที่ต้องร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถมในขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏสงสารนี้มีจำนวนมากเหลือคณา สุดที่จะกล่าวได้ว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้ กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีเล่า ถ้านำมากองรวมกันไม่ให้กระจัดกระจาย คงจะสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้จะไม่มีช่องว่างเลยแม้แต่นิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ที่ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนักทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์เหยียบย่ำบนกองกระดูก นอนอยู่บนกองกระดูก นั่งอยู่บนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ไม่ว่าภพไหนๆ ล้วนแต่มีลักษณะเหมือนกองเพลิงทั้งสิ้น สัตว์ทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในกองเพลิงคือทุกข์ เหมือนเต่าอันเขาโยนลงไปแล้วในกองไฟใหญ่ฉะนั้น"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ทางสองสายคือกามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขสายหนึ่ง และอัตตกิลมถานุโยค การทรมานกายให้ลำบากเปล่าสายหนึ่ง อันผู้หวังความเจริญในธรรมพึงละเว้นเสีย ควรเดินตามทางสายกลาง คือเดินตาม อริยมรรคมีองค์แปด คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเลี้ยงชีพชอบ การทำชอบ การประกอบอาชีพในทางสุจริต ความพยายามในทางที่ชอบ การตั้งสติขอบและการทำสมาธิชอบ"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ความทุกข์ เป็นความจริงประการหนึ่งที่ชีวิตทุกชีวิตจะต้องประสบไม่มากก็น้อย ความทุกข์ที่กล่าวนี้มีอะไรบ้าง? ภิกษุทั้งหลาย ! ความเกิดเป็นความทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ ความตายก็เป็นความทุกข์ ความแห้งใจ หรือความโศก ความพิไรรำพันจนน้ำตานองหน้า ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพรากจากบุคคล หรือสิ่งของอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับบุคคล หรือสิ่งของอันไม่เป็นที่พอใจ ปรารถนาอะไรมิได้ดังใจหมาย ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความทุกข์ที่บุคคลต้องประสบทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยสรุป การยึดมั่นในขันธ์ห้า ด้วยตัณหาอุปาทานนั่นเอง เป็นความทุกข์อันยิ่งใหญ่"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เราตถาคตกล่าวว่า ความทุกข์ทั้งมวลย่อมสืบเนื่องมาจากเหตุ ก็อะไรเล่าเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์นั้น เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ตัณหาคือความทะยานอยาก ดิ้นรนซึ่งมีลักษณ์เป็นสาม คือ ดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนา เรียกกามตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากเป็นนั่นเป็นนี่ เรียกภวตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากผลักสิ่งที่มีอยู่แล้วเป็นแล้ว เรียกวิภวตัณหาอย่างหนึ่ง นี่แลคือสาเหตุแห่งความทุกข์ขั้นมูลฐาน ภิกษุทั้งหลาย ! การสลัดทิ้งโดยไม่เหลือซึ่งตัณหาประเภทต่างๆ ดับตัณหาคลายตัณหาโดยสิ้นเชิง นั่นแลเราเรียกว่านิโรธ คือความดับทุกข์ได้"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ปัญหาที่เผชิญอยู่เบื้องหน้าของทุกๆ คน คือปัญหา เรื่องทุกข์และความดับทุกข์ มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายถูกความทุกข์เสียบทั้งทางกายและทางใจ อุปมาเหมือนผู้ถูกยิงด้วยลูกศรซึ่งกำซาบด้วยยาพิษ แล้วญาติมิตรเห็นเข้าเกิดความกรุณาจึงพยายามช่วยถอนลูกศรนั้น แต่บุรุษผู้โง่เขลาบอก ว่า ต้องไปสืบให้ได้เสียก่อนว่าใครเป็นคนยิงและยิงมาจากทิศไหน ลูกศรทำด้วยไม้อะไร แล้วจึงจะค่อยมาถอนลูกศรออก ภิกษุทั้งหลาย ! บุรุษผู้นั้นจะต้องตายเสียก่อนเป็นแน่แท้ ความจริงเมื่อถูกยิงแล้วหน้าที่ของเขาก็คือควรพยายามถอนลูกศรออกเสียทันที ชำระแผลให้สะอาด แล้วใส่ยาและรักษาแผลให้หายสนิท หรืออีกอุปมาหนึ่งเหมือนบุคคลที่ไฟไหม้อยู่บนศีรษะ ควรรีบดับเสียโดยพลันไม่ควรเที่ยววิ่งหาคนผู้เอาไฟมาเผาศีรษะตน ทั้งๆ ที่ไฟลุกไหม้อยู่"

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 8

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! สังสารวัฏฏ์นี้เต็มไปด้วยเพลิงทุกข์นานาประการโหมให้ร้อนอยู่โดยทั่ว สัตว์ทั้งหลายยังวิ่งอยู่ในกองทุกข์แห่งสังสารวัฏฏ์ ใครเล่าจะเป็นผู้ดับ ถ้าทุกคนไม่ช่วยกันดับทุกข์แห่งตน อุปมาเหมือนบุรุษสตรีผู้รวมกันอยู่ในบริเวณกว้างแห่งหนึ่ง และต่างคนต่างถือดุ้นไฟใหญ่อันไฟลุกโพลงอยู่ทั่วแล้ว ต่างคนต่างก็วิ่งวนกันอยู่ในบริเวณนั้น และร้องกันว่า ร้อน ร้อน ภิกษุทั้งหลาย ! ครานั้นมีบุรุษผู้หนึ่งเป็นผู้ฉลาดร้องบอกให้ทุกๆ คน ทิ้งดุ้นไฟในมือของตนเสีย ผู้ที่ยอมเชื่อทิ้งดุ้นไฟก็ได้ประสบความเย็น ส่วนผู้ไม่เชื่อ ก็ยังคงวิ่งถือดุ้นไฟพร้อมด้วยร้องตะโกนว่า ร้อน ร้อน อยู่นั่นเอง ภิกษุทั้งหลาย ! เราตถาคตได้ทิ้งดุ้นไฟแล้ว และร้องบอกให้เธอทั้งหลายทิ้งเสียด้วย ดุ้นไฟที่กล่าวถึงนี้ คือกิเลสทั้งมวล อัน เป็นสิ่งที่เผาลนสัตว์ให้เร่าร้อนกระวนกระวาย"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อายตนะภายในหกคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อายตนะภายนอกหก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์ เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ภิกษุทั้งหลาย ! เราตถาคตไม่พิจารณาเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะใดๆ ที่จะครอบงำรัดตรึงใจของบุรุษได้มากเท่ารูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะแห่งสตรี ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่พิจารณาเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะใดๆ ที่สามารถครอบงำรัดตรึงใจของสตรี ได้มากเท่ารูปเสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะแห่งบุรุษ"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! กามคุณนี้เรากล่าวว่าเป็นเหยื่อแห่งมารเป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เป็นกำลังพลแห่งมาร ภิกษุผู้ปรารถนาจะประหารมาร พึงสลัดเหยื่อแห่งมาร ขยี้พวงดอกไม้แห่งมารและทำลายกำลังพลแห่งมารเสีย ภิกษุทั้งหลาย ! เราเคยเยาะเย้ยกามคุณ ณ โพธิมณฑลในวันที่เราตรัสรู้นั้นเองว่า ดูก่อนกาม ! เราได้เห็นต้นเค้าของเจ้าแล้ว เจ้าเกิดความดำริคำนึงถึงนั้นเอง เราจักไม่ดำริถึงเจ้าอีก ด้วยประการฉะนี้ กามเอ๋ย ! เจ้าจะเกิดขึ้นอีกไม่ได้"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จิตนี้เป็นสิ่งที่ดิ้นรนกวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามได้ยาก ผู้มีปัญญาพึงพยายามทำจิตนี้ให้หายดิ้นรน ให้เป็นจิตตรงเหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! จิตนี้คอยแต่จะกลิ้งเกลือกลงไปคลุกเคล้ากับกามคุณ เหมือนปลาซึ่งเกิดในน้ำถูกนายพรานเบ็ดยกขึ้นจากน้ำแล้ว คอยแต่จะดิ้นรนไปในน้ำอยู่เสมอ ผู้มีปัญญาพึงพยายามยกจิตขึ้นจากการอาลัยในกามคุณให้ละบ่วงมารเสีย"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมัน ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงเอาสติเป็นขอสำหรับเหนี่ยวรั้งช้าง คือจิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจ บุคคลผู้มีอำนาจมากที่สุดและควรแก่การสรรเสริญนั้น คือผู้ที่สามารถเอาตนของตนเองไว้ในอำนาจได้ สามารถชนะตนเองได้ ผู้ชนะตนได้ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม เธอทั้งหลายจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิด อย่าเป็นผู้แพ้เลย"
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 06, 2015, 05:25:31 pm »

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 5

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! การแสวงหาทางออกอย่างพวกเธอนี้ เป็นเรื่องประเสริฐแท้ การแก่งแย่งกันเป็นใหญ่เป็นโตนั้น ในที่สุดทุกคนก็รู้เองว่าเหมือนแย่งกันเข้าไปสู่กองไฟ มีแต่ความรุ่มร้อนกระวนกระวาย เสนาบดีดื่มน้ำด้วยภาชนะทองคำ กับคนจนๆ ดื่มน้ำด้วยภาชนะที่ทำด้วยกะลามะพร้าว เมื่อมีความพอใจย่อมมีความสุขเท่ากัน นี่เป็นข้อยืนยันว่าความสุขนั้นอยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญ อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ความพอใจแม้กระท่อมจะมุงด้วยใบไม้ ก็มีความสุขกว่าอยู่ในพระราชฐานอันโอ่อ่าแน่นอนทีเดียว คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนี้มิใช่คนใหญ่คนโตแต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตน มีความสุขสงบเยือกเย็น ปราศจากความเร่าร้อน กระวนกระวาย"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ลาภและยศนั้นเป็นเหยื่อของโลกที่น้อยคนนักจะสละและวางได้ จึงแย่งลาภแย่งยศกันอยู่เสมอ เหมือนปลาที่แย่งเหยื่อกันกิน แต่หารู้ไม่ว่าเหยื่อนั้นมีเบ็ดเกี่ยวอยู่ด้วย หรือเหมือนไก่ที่แย่งไส้เดือนกัน จิกตีกันทำลายกันจนพินาศไปทั้งสองฝ่าย น่าสังเวชสลดใจจิตยิ่งนัก ถ้ามนุษย์ในโลกนี้ลดความโลภลง มีการเผื่อแผ่เจือจานโอบอ้อมอารี ถ้าเขาลดโทสะลงมีความเห็นอกเห็นใจกัน มีเมตตากรุณาต่อกัน และลดโมหะลง ไม่หลงงมงาย ใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาและชีวิต โลกนี้จะน่าอยู่อีกมาก แต่ช่างเขาเถิด หน้าที่โดยตรงและเร่งด่วนของเธอคือลดความโลภ ความโกรธ และความหลงของเธอเองให้น้อยลง แล้วจะประสบความสุข ความเยือกเย็นขึ้นมาก เหมือนคนลดไข้ได้มากเท่าใดความสบายกายก็มีมากขึ้นเท่านั้น"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ทำไมมนุษย์จึงยอมตัวอยู่ภายใต้การจองจำของสังคม ซึ่งมีแต่ความหลอกหลอน สับปรับและแปรผัน ทำไมมนุษย์จึงยอมตัวเป็นทาสของสังคมจนแทบจะกระดิกกระเดี้ยตัวมิได้ จะทำอะไรจะคิดอะไรก็ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของสังคมไปเสียหมด สังคมจึงกลายเป็นเครื่องจองจำชีวิต ที่มนุษย์ซึ่งสำคัญตัวว่าเจริญแล้วช่วยกันสร้างขึ้น เพื่อผูกมัดตัวเองให้อึดอัดรำคาญ มนุษย์ยิ่งเจริญขึ้นก็ดูเหมือนจะมีเสรีภาพน้อยลงทั้งทางกายและทางใจ ดูๆ แล้วความสะดวกสบาย และเสรีภาพของมนุษย์จะสู้สัตว์เดรัจฉานบางประเภทไม่ได้ ที่มันมีเสรีภาพที่จะทำอะไรตามใจชอบอยู่เสมอดูอย่างเช่น ฝูงวิหคนกกา มนุษย์เราเจริญกว่าสัตว์ตามที่มนุษย์เราเองชอบพูดกัน แต่ดูเหมือนพวกเราจะมีความสุขน้อยกว่าสัตว์ ภาระใหญ่ที่ต้องแบกไว้คือ เรื่องกาม เรื่องกิน และเรื่องเกียรติ มันเป็นภาระหนักยิ่งของมนุษยชาติ สัตว์เดรัจฉานตัดไปได้อย่างหนึ่งคือเรื่องเกียรติ คงเหลือแต่เรื่องกามและเรื่องกิน นักพรตอย่างพวกเธอนี้ตัดไปได้อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องกาม คงเหลือแต่เรื่องกินอย่างเดียว ปลดภาระไปได้อีกมาก แต่การกินอย่างนักพรตกับการกินของผู้บริโภคกาม ก็ดูเหมือนจะบริโภคแตกต่างกันอยู่ ผู้บริโภคกามและยังหนาแน่นอยู่ด้วยโลกีย์วิสัย บริโภคเพื่อยุกามให้กำเริบ จะต้องกินอย่างมีเกียรติ กินให้สมเกียรติ มิใช่กินเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้อย่างสมณะ ความจริงร่างกายคนเรามิได้ต้องการอาหารอะไรมากนัก เมื่อหิวร่างกายก็ต้องการอาหารเพียงเพื่อบำบัดความหิวเท่านั้น แต่เมื่อมีเกียรติเข้ามาบวกด้วย จึงกลายเป็นเรื่องกินอย่างเกียรติยศ และแล้วก็มีภาระตามมาอย่างหนักหน่วง คนจำนวนมากเบื่อเรื่องนี้ แต่จำต้องทำเหมือนโคหรือควาย ซึ่งเหนื่อยหน่ายต่อแอกและไถ แต่จำใจต้องลากมันไปลากมันไป อนิจจา !"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! การครองเรือนเป็นเรื่องยาก เรือนที่ครองไม่ดี ย่อมก่อทุกข์ให้มากหลาย การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นความทุกข์อย่างยิ่ง"

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 6

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือก เหล็กหรือโซ่ตรวนใดๆ เราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย แต่เครื่องจองจำคือ บุตร ภรรยา และทรัพย์สมบัตินี่แล ตรึงรัดมัดผูกสัตว์ทั้งหลายให้ติดอยู่ในภพอันไม่มีที่สิ้นสุด เครื่องผูกที่ผูกหย่อนๆ แต่แก้ได้ยากคือบุตร ภรรยา และทรัพย์สมบัตินี่เอง รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะนั้นเป็นเหยื่อของโลก เมื่อบุคคลยังติดอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น เขาจะพ้นจากโลกมิได้เลย ไม่มีรูปใดที่จะรัดตรึงใจของบุรุษได้มากเท่ารูปแห่งสตรี"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ยังตัดอาลัยในสตรีไม่ได้ ย่อมจะต้องเวียนเกิด เวียนตายอยู่ร่ำไป แม้สตรีก็เช่นเดียวกัน ถ้ายังตัดอาลัยในบุรุษไม่ได้ย่อมประสบทุกข์บ่อยๆ กิเลสนั้นมีอำนาจควบคุมอยู่โดยทั่ว ไม่เลือกว่าวัยใด และเพศใด"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! มนุษย์ผู้หลงใหลอยู่ในโลกียารมณ์ ผู้เพลินอยู่ในความบันเทิงสุข อันสืบเนื่องมาจากความมึนเมาในทรัพย์สมบัติชาติตระกูล ความหรูหราฟุ่มเฟือย ยศศักดิ์และเกียรติอันจอมปลอมในสังคม ที่อยู่อาศัยอันสวยงาม อาหารและเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ต้องใส่ อำนาจและความทะนงตน ทั้งหมดนี้ทำให้บุคคลมีนัยน์ตาฝ้าฟาง มองไม่เห็นความงามแห่งพระสัทธรรม ความเมาในอำนาจเป็นแรงผลักดันที่มีพลังมากพอให้คนทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้มีอำนาจยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้นพร้อมๆ กันนั้นมันทำให้เขา ลืมทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่แยแสต่อเสียงเรียกร้องของศีลธรรมหรือมโนธรรมใดๆ มันค่อยๆ ระบายจิตใจของเขาให้ดำมืดไปทีละน้อยๆ จนเป็นสีหมึก ไม่อาจมองเห็นอะไรๆ ได้อีกเลย หัวใจที่เร่าร้อนอยู่แล้วของเขา ถูกเร่งเร้าให้เร่าร้อนมากขึ้น ด้วยความทะยานอยากอันไม่มีขอบเขต ไม่ทราบว่าจะไปสิ้นสุดลงที่ตรงไหน วัตถุอันวิจิตรตระการตานั้นช่วยเป็นเชื้อให้ความทะยานอยากโหมแรงกลายเป็นว่ายิ่งมีมากยิ่งอยากใหญ่ แม้จะมีเสียงเตือนและเรียกร้องอยู่ตลอดเวลาว่า ศีลธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนสังคมและคุ้มครองโลก แต่บุคคลผู้รับรู้และพยายามประคับประคองศีลธรรมมีน้อยเกินไป สังคมมนุษย์จึงวุ่นวายและกรอบเกรียมอย่างน่าวิตก"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! กลิ่นดอกไม้กลิ่นจันทน์ไม่สามารถหอมหวลทวนลมได้ แต่กลิ่นแห่งเกียรติคุณความดีงามของสัตบุรุษนั้นแล สามารถจะหอมไปได้ทั้งตามลมและทวนลม คนดีย่อมมีเกียรติคุณฟุ้งขจรไปได้ทั่วทุกทิศ กลิ่นจันทน์แดง กลิ่นอุบล กลิ่นดอกมะลิ จัดว่าเป็นดอกกลิ่นหอม แต่ยังสู้กลิ่นศีลไม่ได้ กลิ่นศีลยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นทั้งมวล ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหวังจะให้เป็นที่รักที่เคารพนับถือ เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีแล้ว พึงเป็นผู้ทำตนให้สมบูรณ์ด้วยศีลเถิด"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ตื่นอยู่มิได้หลับเลย ย่อมรู้สึกว่าราตรีหนึ่งยาวนาน ผู้ที่เดินทางจนเมื่อยล้าแล้ว ย่อมรู้สึกว่าโยชน์หนึ่งเป็นหนทางที่ยืดยาว แต่สังสารวัฏฏ์คือการเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์ ผู้ไม่รู้พระสัทธรรมยังยาวนานกว่านั้น"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! สังสารวัฏฏ์นี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ที่พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อยๆ และการเกิดใดนั้น ตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมา ก็คือความแก่ชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจและความคับแค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่ขึ้นมาจากดินและนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเหมือนโคซึ่งเทียมเกวียนแล้ว จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเมื่อเกิดมาก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่ สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว"