ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 28, 2015, 04:58:15 pm »



หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
บทที่ ๒๕ ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน

สติปัฏฐานธรรมเป็นธรรมที่เป็นความปกติตามธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน การปฏิบัติธรรมตามความเป็นปกติของธรรมชาตินั้นด้วยการ "พิจารณาธรรมทั้งปวงและพึงมีสติระลึกถึงความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน" ถือเป็นการปฏิบัติธรรมที่ตรงต่อความเป็นจริงตามพุทธประสงค์และมิได้ถือว่าเหตุแห่งการที่ได้ปฏิบัติธรรมอย่างนี้เป็น "เหตุปัจจัย" ที่ทำให้ธรรมชาติที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตน "เกิดขึ้น" เพราะธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตนนี้มันเป็นธรรมชาติที่มีอยู่แล้วด้วยความเป็นธรรมชาติของมันนั่นเองเป็นความมีอยู่ตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้นโดยที่มิได้เป็นธรรมชาติอันถือได้ว่าเป็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น

 มันเป็นธรรมชาติที่มิได้ "เกิดเป็นธรรมชาติขึ้นเพราะ
 ได้อาศัยเหตุและปัจจัยแต่อย่างหนึ่งอย่างไร" เลย

 การพิจารณาธรรมเป็นเพียงแต่การทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงต่อความเป็นจริงแห่งธรรมชาติว่าแท้ที่จริงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งนี้มันคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นซึ่งเป็นธรรมชาติของมันอยู่แล้ว เป็นการพิจารณาเพื่อให้รู้ถึงความเป็นธรรมชาติที่มันเป็นของมันอยู่แล้วแบบนี้เสมอมา เพราะฉะนั้นธรรมชาติจึงเป็นของมันแบบนี้อยู่แล้วมันจึงมิได้เกิดขึ้นเป็นสภาวะธรรมเพราะเหตุและปัจจัยจากการที่เราได้พิจารณาธรรมแต่อย่างใด เมื่อรู้แล้วว่าธรรมชาติที่แท้จริงของทุกสรรพสิ่งนั้นคืออะไรเราก็พึงมีสติระลึกถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติที่มันเป็นแบบนี้ของมันอยู่แล้วตามธรรมชาตินั้น

เพราะธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนมันคงความเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น "ความเป็นเช่นนั้นเองของธรรมชาติ" จึงเป็นธรรมชาติที่มิได้อาศัยความพรั่งพร้อมที่ประกอบไปด้วยความเป็นเหตุและผลแล้วธรรมชาตินี้จึงเกิดขึ้นได้ ก็เพราะธรรมชาติมันก็เป็นเช่นนั้นในความเป็นธรรมชาติของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วมันจึงปราศจากเหตุและปัจจัยใดๆมาตกแต่งเพื่อแสดงถึงคุณลักษณะในความเป็นธรรมชาติของมันได้อีกเลย มันจึงเป็นธรรมชาติที่มิใช่ภาวะที่มีหรือไม่มี มิใช่ภาวะที่เกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น มิใช่ภาวะต้องปรากฏหรือไม่ปรากฏ

สติปัฏฐานธรรมเป็นธรรมที่ทำให้เราสามารถมีปัญญาพึงพิจารณาให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงถึงความเป็นธรรมทั้งปวงเพื่อ "สลัดออก" ซึ่งธรรมที่มีสภาพปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนทั้งหลายด้วยการพึงระลึกได้ถึงความเป็นปกติของธรรมอันคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน ความหมายแห่งการสลัดออกจากธรรมที่มีสภาพความปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนได้แล้วนั้นจึงถือได้ว่ามันคือ "ความเป็นปกติของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน" อยู่แล้วเช่นกัน การสลัดออกจากภาวะธรรมอันมีความหมายตรงกันข้ามนี้คือจากภาวะธรรมอันคือความปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนไปสู่ความเป็นปกติของธรรมอันคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนี้มันก็เป็นเพียงการยืนยันว่าธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนี้มันมีอยู่มาก่อนแล้วตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีตามสภาพธรรมชาติที่แท้จริงแห่งมันแต่เพียงเท่านั้น

 แต่ความเป็นธรรมชาตินี้แห่งสติปัฏฐานธรรมมันมิได้เป็นสภาวะธรรมอันคือการต้องมีอยู่โดยสภาวะหรือไม่มีอยู่โดยสภาวะและมันก็มิได้หมายถึงเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาได้เพราะอาศัยเหตุและปัจจัยใดๆทั้งสิ้นรวมทั้งเหตุและปัจจัยจากการสลัดออกจากธรรมซึ่งคือธรรมที่มีความหมายตรงข้ามกัน ก็เพราะธรรมชาตินี้มันก็เป็นเช่นนั้นของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วตามความหมายที่แท้จริงแห่งมันมาตั้งแต่เก่าก่อนและก็จะเป็นเช่นนี้ตลอดไปอยู่อย่างนั้น การสลัดออกก็เป็นไปเพื่อความเป็นปกติตามสภาพธรรมชาติที่แท้จริงของมันอยู่อย่างนั้นแต่เพียงเท่านั้น

“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร


หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
>> F/B เถรวาท สติปัฏฐานทั้งสี่
19 เมษายน เวลา 7:47 น.