ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2015, 05:42:52 pm »



แนะนำ
1 ใน 3 คัมภีร์เต๋าที่ดีที่สุด และเป็นเล่มที่
แปลเป็นภาษาไทยสมบูรณ์ที่สุด แปลครบ
ตามต้นฉบับเดิมที่มีจุดเด่นสำคัญๆ ของ
คัมภีร์นี้อยู่ที่นิทานสั้นๆ จำนวนมาก ที่อ่าน
แล้วเต็มไปด้วยชีวิตชีวา เป็นคัมภีร์สำคัญที่
ต้องอ่าน ทีข้อมูลแตกแยกย่อยเพิ่มเติม
จากคัมภีร์เต๋าเล่มอื่น ทำให้เรื่องยากๆ
หลายเรื่องในคัมภีร์เต๋าเล่มอื่น เป็นเรื่องที่
เข้าใจชัดเจนมากขึ้น

สารบัญ
บทที่ 1 พรแห่งน้ำ ........................1
บทที่ 2 หวงตี้ ..............................29
บทที่ 3 โจวมู่หวัง........................ 69
บทที่ 4 ขงจื่อ ..............................89
บทที่ 5 กษัตริย์ทัง................... 113
บทที่ 6 พละและชะตา.............   145
บทที่ 7 หยังจู............................   169
บทที่ 8 รอยบรรจบ...................   197

จาก http://thaispecial.com/bookshop/newbookpreviewx.asp?booklist=9743411283
 
แม้ ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ จะกล่าวในบรรทัดแรกของคำนำหนังสือ "คัมภีร์เต๋าของจวงจื่อ" ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สร้างสรรค์ ของ ประสิทธิ์ รุ่งเรืองรัตนกุล ว่า
"หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ไม่มีประโยชน์"

แต่ความเป็นจริงอันปรากฏในกาลต่อมาสำหรับ ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ ก็คือ เขามีผลงานอันเกี่ยวกับลัทธิเต๋าออกมาอีก 2 เล่ม
1 คือ คัมภีร์เต๋าของเหลาจื่อ
1 คือ คัมภีร์เต๋าของเลียจื่อ

เมื่อผนวกรวมกับคัมภีร์เต๋าของจวงจื่อ เท่ากับว่าผลงานระดับ "คลาสสิก" ของเหล่าจื่อ จวงจื่อ เลียจื่อ อันถึงว่าเป็น "สดมภ์หลัก" แห่งลัทธิเต๋าล้วนผ่านการแปลและเรียบเรียงโดย ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ มาแล้ว

ทั้งยังเป็นการแปลจากภาษาจีนโดยตรง
ทั้งยังเป็นภาษาจีนอย่างชนิด "โบราณ" มิได้เป็นการ "ปรับแต่ง" ให้สมสมัย

จึงเท่ากับเป็นการย้อนถามไปยัง ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ ผู้สอนภาษาจีนแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าที่เสนอประเด็นว่า "หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือไม่มีประโยชน์" นั้นจริงหรือ
มีหรือไม่มีก็ขอให้ลองอ่านเรื่องราวต่อไปนี้

ผู้เพียรเค้นสติปัญญาเพื่อพยายามรวมสรรพสิ่งเป็นหนึ่ง
โดยมิสำเหนียกรู้ว่า ทุกสิ่งล้วนเป็นหนึ่งอยู่แล้ว
กรณี "เช้าสาม" เป็นฉันใดเล่า

สาธยายได้ดังนี้
ผู้ฝึกวานรจะป้อนแจกลูกเกาลัดได้กล่าวขึ้นว่า "ตอนเช้าจะให้สามลูก ตอนเย็นให้สี่ลูก"
หมู่วานรล้วนพากันโกรธขึ้งไม่พึงพอใจ
ผู้ฝึกจึงกล่าวแก้ว่า "ถ้าเช่นนั้น ตอนเช้าจะให้สี่ลูก ตอนเย็นให้สามลูก"

ฝูงลิงนั้นได้ฟังต่างก็ยินดีปรีดากันทั่ว
ทั้งโดยนามธรรมและโดยรูปการ
ไม่มีอะไรที่เปลี่ยนแปลง
แต่ก็บันดาลให้เกิดความโกรธ หรืออารมณ์ยินดีต่างกันออกไป ด้วยการพลิกผันไปตามเหตุปัจจัย
โดยเยี่ยงนี้

ผู้เป็นปราชญ์จึงประมวลความผิดและความถูกเข้าด้วยกัน แล้วสงบอยู่ในดุลยภาพแห่งสวรรค์
นี่แลที่เรียกว่า "การก้าวย่างบนทางคู่"

เรื่องราวเดียวกันนี้เมื่ออ่านหนังสือมนุษย์ที่แท้ มรรควิถีของจางจื๊อ อัน ส.ศิวรักษ์ แปลและเรียบเรียงจากภาษาอังกฤษของ โทมัส มอร์ตั้น

ก็ได้รสชาติการสังเคราะห์ไปอีกแบบ
คำพูดทั้งสองนี้เหมือนกันนั่นเอง เพราะจำนวนเกาลัดก็ยังคงเท่าเดิม แต่ในกรณีแรก สัตว์เหล่านั้นไม่พอใจ

ส่วนในกรณีหลังพากันพอใจสิ้น
คนเลี้ยงเพียงแต่เปลี่ยนคำพูดเพื่อให้ผลอันพึงประสงค์ โดยไม่สูญเสียอะไรเลย

ผู้รู้ที่แท้จริง พิจารณาปัญหาทั้งสองแง่โดยไม่ยึดแง่ใดแง่เดียว ย่อมเห็นทั้งสองแง่ตามทรรศนะแห่งเต๋า
นี้เรียกว่า เดินตามทางทั้งสองในขณะเดียวกัน

(กล่าวคือ ในระดับหนึ่ง ทางของเต๋าคือทางของเทพ ในอีกระดับหนึ่ง ทางของเต๋าคือทางธรรมดาสามัญอันมนุษย์ดำเนินอยู่ในชีวิตประจำวัน)

เช่นเดียวกับที่หนังสือ ปรัชญาในนิทานเต๋า สำนวนแปล โชติช่วง นาดอน ขมวด
จะกิน "เช้าสี่เย็นสาม" หรือกิน "เช้าสามเย็นสี่" ที่แท้จำนวนก็เท่ากัน แต่ความพอใจ ความโกรธของลิงกลับถูกประโยชน์เฉพาะหน้าครอบงำ
คนเราก็มักเป็นเช่นนี้ มิใช่หรือ

หากอ่านจำเพาะคัมภีร์เต๋าของจวงจื่อ สำนวน ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์
อาจถูกตรึงให้อยู่กับ "ก้าวย่างบนทางคู่"

กระนั้น ส.ศิวรักษ์ ก็อาศัยอรรถกถาจาก โทมัส มอร์ตั้น มาช่วยอีกแรง 1
เช่นเดียวกับ การตีความปรัชญาโดยสำนวนแปลของ โชติช่วง นาดอน
ตถตา เป็นเช่นนั้น


(ที่มา:มติชนรายวัน 21 ก.ค.2557)
>>> G+ small mod (สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่า มด)
Shared publicly  -  May 14, 2015