ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 01, 2015, 08:36:57 pm »


                        PICS BY Saravut Whanset

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเสพ จงคบ
สารีบุตร และ โมคคัลลานะ เถิด ..................
สารีบุตรพอที่จะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง
เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ซึ่งอริยสัจ ๔ ได้โดยพิสดาร" พุทธพจน์
(สังฆานุสติ.....ฟังคำพุทธสาวกได้)

---------------------------------------------------------

[๖๙๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ได้ประกาศธรรมจักรอันไม่มี
ธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี
อันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดาหรือมาร หรือพรหม
หรือใครๆ ในโลก ยังไม่เคยประกาศ ได้แก่ บอก แสดง
บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔
อริยสัจ ๔ เหล่าไหน คือ บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายซึ่ง

ทุกขอริยสัจ
ทุกขสมุทัยอริยสัจ
ทุกขนิโรธอริยสัจ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ได้ประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรม
อื่นยิ่งกว่าที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันสมณะ
หรือพราหมณ์ หรือเทวดาหรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก
ยังไม่เคยประกาศ ได้แก่ บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ นี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเสพ จงคบสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด
ทั้งสองรูปนี้เป็นบัณฑิตภิกษุ ผู้อนุเคราะห์ผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์
สารีบุตรเปรียบเหมือนผู้ให้กำเนิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนผู้บำรุง
เลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว สารีบุตรย่อมแนะนำในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะ
ย่อมแนะนำในผลชั้นสูง

สารีบุตรพอที่จะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ซึ่งอริยสัจ ๔ ได้โดยพิสดาร

พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคต ได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุกจาก
อาสนะเข้าไปยังพระวิหาร ฯ
"สัจจวิภังคสูตร"


>>F/B Sarun Hengtubtim‎ >>>พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น

***********************************************

พระไตรปิฎก
มหามกุฏราชวิทยาลัยและอรรถกถาแปล
ชุด91เล่ม
เล่ม33 หน้า407
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต
เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 407

---สูตรที่ ๖---
ว่าด้วยบริษัทที่ดื้อด้าน และไม่ดื้อด้าน

[๒๙๒] ๔๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ๑ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้าน๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็บริษัทที่ดื้อด้าน ไม่ได้รับการสอบถามแนะนำเป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ
เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสัญญตธรรม ไม่ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง
อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรม
ที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้
เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร
///มีในภายนอก ซึ่งสาวกได้ภาษิตไว้///
--------(พาหิรกา สาวกภาสิตา)--------- ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง
อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรม ที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ
ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว
ไม่สอบสวน ไม่เที่ยวได้ถามกันและกันว่า
พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ไม่ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรม เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บริษัทนี้ เรียกว่าบริษัทดื้อด้าน ไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ.
http://www.tripitaka91.com/91book/book33/401_450.htm#407

////-------อรรถกถาสูตรที่ ๖
ในสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
โอกฺกาจิตวินีตา ได้แก่ ฝึกสอนยาก.
บทว่า โน ปฏิปุจฺฉาวินีตา
ได้แก่ ไม่เป็นผู้รับฝึกสอนโดยสอบถาม.

บทว่า คมฺภีรา ได้แก่ ลึกโดยบาลี เช่นจุลสเวทัลลสูตร.
บทว่า คมฺภีรตฺถา ได้แก่ ลึกโดยอรรถ
เช่นมหาเวทัลลสูตร.
บทว่า โลกุตฺตรา ได้แก่ แสดงอรรถเป็นโลกุตระ.
บทว่า สุญฺตปฏิสยุตฺตา ได้แก่ ประกาศเพียงที่เป็นสุญญตธรรม ๗
เท่านั้น เช่นอสังขตสังยุต.

บทว่า น อญฺาจิตฺต อุปฏฺเปนฺติ ได้แก่
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ คือหลับเสียบ้าง ส่งใจไปที่อื่นเสียบ้าง.
บทว่า อุคฺคเหตพฺพ ปริยาปุณฺตพฺพ ได้แก่ ที่จะพึงถือเอาด้วย ที่จะพึงเล่าเรียนด้วย.
บทว่า กวิกตา ได้แก่ ที่กวีแต่ง.
บทว่า กาเวยฺยา นอกนี้
เป็นไวพจน์ของบทว่า กวิกตา. นั้นเอง. บทว่า จิตฺตกฺขรา แปลว่า
มีอักษรวิจิตร.
บทว่า จิตฺตพฺยญฺชนา นอกนี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า จิตฺตกฺขรา นั้นเหมือนกัน.

บทว่า พาหิรกา ได้แก่
เป็นสุตตันตะนอกพระศาสนา.
บทว่า สาวกภาสิตา ได้แก่ ที่พวกสาวกของพาหิรกศาสดาเหล่านั้นกล่าวไว้.
บทว่า สุสฺสูสนฺติ ความว่า มีใจแช่มชื่นตั้งใจ
ฟังอย่างดี เพราะมีอักษรวิจิตร และสมบูรณ์ด้วยบท.

บทว่า น เจว
อญฺมญฺ ปฏิปุจฺฉนฺติ ความว่า มิได้ถามเนื้อความ อนุสนธิ หรือ
เบื้องต้นเบื้องปลายกัน และกัน.
บทว่า น ปฏิวิจรนฺติ ความว่า
มิได้เที่ยวไปไต่ถาม.
บทว่า อิท กถ ความว่า พยัญชนะนี้ พึงเข้าใจอย่างไร
คือพึงเข้าใจว่าอย่างไร.
บทว่า อิมสฺส กฺวตฺโถ ความว่า ภาษิตนี้มีเนื้อ
ความอย่างไร มีอนุสนธิอย่างไร มีเบื้องต้นและเบื้องปลายอย่างไร

บทว่าอวิวฏ ได้แก่ ที่ยังปกปิด.
บทว่า น วิรรนฺติ ได้แก่ไม่เปิดเผย
บทว่าอนุตฺตานีกต ได้แก่ที่ไม่ปรากฏ.
บทว่า น อุตฺตานีกโรนฺติ ความว่า
มิได้ทำให้ปรากฏ.
บทว่า กงฺขาฏฺานีเยสุ ได้แก่ อันเป็นเหตุแห่งความสงสัย.
ฝ่ายขาว ก็พึงทราบตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
http://www.tripitaka91.com/91book/book33/401_450.htm#409

โปรดค้นคว้าและดูเทียบเคียงในบาลีเพิ่มเติม
>>> F/B สาวก ภูมิ
**********************************************************


พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
595 เหตุที่ทรงแสดงธรรม
อ้างอิงจากหน้า
http://www.84000.org/true/595.html
จากสารบัญ
http://www.84000.org/true/index.html

ปัญหา เพราะเหตุไรพระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรม
และทรงอนุญาตให้พระสาวกแสดงธรรมโปรดคนอื่น ?

   พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นพระตถาคตหรือไม่เห็นก็ตาม ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว หรือไม่ได้ฟังก็ตาม ย่อมไม่หยั่งลงสู่ความถูกต้องและความแน่นอนมั่งคงในกุศลธรรมทั้งหลาย

   "บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นพระตถาคตหรือไม่เห็นก็ตาม ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว หรือไม่ได้ฟังก็ตาม ย่อมหยั่งลงสู่ความความแน่นอนและความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลายเอง

   "บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ เห็นพระตถาคต...ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว จึงหยั่งลงสู่ความแน่นอนและความถูกต้องมั่งคงในกุศลธรรมทั้งหลายเมื่อไม่ได้เห็น...ไม่ได้ฟัง...ย่อมไม่หยั่งลงสู่ความแน่นอนและถูกต้อง...

  "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนั้น เพราะเห็นแก่บุคคลผู้ได้เห็นพระตถาคต...ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว จึงหยั่งลงสู่ความแน่นอน...ถูกต้องในกุศลธรรม เมื่อไม่ได้เห็น...ไม่ได้ฟัง...ย่อมไม่หยั่งลง

   ...เราจึงอนุญาตการแสดงธรรมไว้และก็เพราะอาศัยบุคคลนี้ จึงควรแสดงธรรมแม้แก่บุคคลอื่น ๆ ด้วย..."


http://www.tairomdham.net/index.php/topic,6430.0.html
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 10, 2012, 05:53:02 am »




ต่อค่ะ
               ราวไพรใกล้สระน้ำ ก็ชูคอป้องปีกทั้งสองขึ้นส่งเสียงร้องอยู่ค่อยๆ
               ด้วยจะงอยปากอันแดง ฉะนั้น ข้าพระองค์ทั้งหมด ตั้งใจตรง กำลังจะฟัง
                             พระดำรัสของพระองค์อยู่ ข้าพระองค์จักเผยการเกิด และการตายที่
                             ข้าพระองค์ละมาได้หมดสิ้นแล้ว จักแสดงบาปธรรมทั้งหมดที่เป็นเครื่อง
                             กำจัด
เพราะผู้กระทำตามความพอใจของตน ๓ จำพวกมีปุถุชนเป็นต้น

                             

                             ไม่อาจ เพื่อจะ
รู้ธรรมที่ตนปรารถนาหรือแสดงได้ ส่วนผู้กระทำความ
                             ไตร่ตรองพิจารณาตามเหตุผลของตถาคตเจ้าทั้งหลาย สามารถจะรู้ธรรม
                             ที่ตนปรารถนาทั้งแสดงได้
พระดำรัสของพระองค์นี้เป็นไวยากรณ์อัน
                             สมบูรณ์ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้วด้วยพระปัญญาที่ตรงๆ โดยไม่มีการ
                             เสียดสีใครเลย การถวายบังคมครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย
อันข้าพระองค์

                             ถวายบังคมดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญาไม่ทราม พระองค์ทรง
                             ทราบแล้วจะทรงหลงลืมไปก็หามิได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระวิริยะอันไม่ต่ำ
                             ทราม พระองค์ตรัสรู้อริยธรรมอันประเสริฐกว่าโลกิยธรรมมาแล้ว ก็
                             ทรงทราบพระเญยยธรรมทุกอย่างได้อย่างไม่ผิดพลาด ข้าพระองค์หวัง
                             เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งพระดำรัสของพระองค์เหมือนกับคนที่มีร่างอันชุ่มเหงื่อ

                             คราวหน้าร้อน ปรารถนาน้ำเย็น ฉะนั้น ขอพระองค์ทรงยังฝน คือ
                             พระธรรมเทศนาที่ข้าพระองค์เคยฟังมาแล้วให้ตกลงเถิด พระเจ้าข้า ท่าน
                             นิโครธกัปปะได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ของ
                             ท่านนั้นเป็นประโยชน์ไม่เปล่าแลหรือ ท่านนิพพานด้วยอนุปาทิเสส
                             นิพพานแล้ว ท่านเป็นพระเสขะยังมีเบญจขันธ์เหลืออยู่ หรือว่าท่านเป็น
                             พระอเสขะผู้หลุดพ้นแล้ว ข้าพระองค์ขอฟังพระดำรัสที่ข้าพระองค์มุ่ง
                             หวังนั้น พระเจ้าข้า
.

               

                เมื่อพระผู้มีพระภาคจะทรงพยากรณ์จึงตรัสพระคาถา ๑ พระคาถา ความว่า
                             พระนิโครธกัปปะได้ตัดขาด ซึ่งความทะยานอยากในนามและรูปนี้ กับ
                             ทั้งกระแสแห่งตัณหาอันนอนเนื่องอยู่ในสันดานมาช้านานแล้ว ข้ามพ้น
                             ชาติและมรณะได้หมดสิ้นแล้ว
พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐสุดด้วยพระ-
                             จักษุทั้ง ๕ ได้ตรัสพระดำรัสเพียงเท่านี้.

                เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบอย่างนี้แล้ว ท่านพระวังคีสเถระ ก็ชื่นชมยินดี
                พระพุทธภาษิตเป็นอย่างยิ่ง จึงได้กราบทูลด้วยอวสานคาถา ๓ คาถา ความว่า
                             ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระฤาษีเยี่ยมกว่าฤาษีทั้งหลาย ข้าพระองค์นี้ได้ฟัง
                             พระดำรัสของพระองค์แล้วก็เลื่อมใส ทราบว่าคำถามที่ข้าพระองค์ทูลถาม
                             แล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ พระองค์ไม่หลอกลวงข้าพระองค์ ข้าพระองค์
                             เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า มีปกติกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น ได้ตัด
                             ข่ายคือตัณหาอันกว้างขวาง มั่นคง ของพระยามัจจุราชผู้เจ้าเล่ห์มาก ได้
                             เด็ดขาด ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ท่านพระนิโครธกัปปเถระกัปปายนโคตร
                             ได้เห็นมูลเหตุแห่งอุปาทาน ข้ามบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยากไปได้แล้ว
                             หนอ
ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่าบรรดาสรรพสัตว์ ข้าพระองค์ขอนมัสการ
                             ท่านพระนิโครธกัปปเถระผู้เป็นวิสุทธิเทพ ล่วงเสียซึ่งเทพดา อนุชาต-
                             บุตรของพระองค์ มีความเพียรมาก เป็นผู้ประเสริฐ ทั้งเป็นโอรสของ
                             พระองค์ผู้ประเสริฐ.
                             ได้ทราบว่า ท่านพระวังคีสเถระได้ภาษิตคาถาทั้งหมดนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

                             ในมหานิบาตนี้ ปรากฏว่าพระวังคีสเถระผู้มีเชาว์เฉียบแหลมองค์เดียว
                             ไม่มีรูปอื่น ได้ภาษิตคาถาไว้ ๗๑ คาถา พระเถระ ๒๖๔ รูป
                             ผู้พระพุทธบุตร ไม่มีอาสวะ บรรลุนิพพานอันเป็นแดนเกษมแล้ว พากัน
                             บันลือสิงหนาทประกาศคาถาไว้รวม ๑๓๖๐ คาถาแล้ว ก็พากันนิพพาน
                             ไป เหมือนกองไฟที่สิ้นเชื้อแล้วดับไป ฉะนี้แล




: http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=515.255
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม.. บ้าน ที่แท้จริง...
กุศลผลบุญใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานเหล่านี้ ขอจงเป็นบุญเป็นปัจจัย
แด่ท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานเหล่านี้ ทุกๆท่าน
รวมทั้งท่านเจ้าของภาพ ทุกๆภาพ เรียนขออนุญาตใช้ภาพ

ไว้ ณ ที่นี้... นะคะ
อนุโมทนาสาธุ.. ที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 10, 2012, 05:08:28 am »



             

ต่อค่ะ
เปลื้องเครื่องผูกเสียแล้ว ผู้อันตัณหามานะทิฏฐิไม่อิงแอบเลย ทั้ง
จำแนกธรรมเป็นส่วนๆ ได้ด้วยนั้น เป็นตัวอย่างเถิด อันที่จริง พระ-
                             วังคีสะได้บอกทางไว้หลายประการ เพื่อให้ข้ามห้วงน้ำคือกามเป็นต้นเสีย
                             ก็ในเมื่อพระวังคีสะได้บอกทางอันไม่ตายนั้นไว้ให้แล้ว ภิกษุทั้งหลายที่
                             ได้ฟังแล้ว ก็ควรเป็นผู้ตั้งอยู่ในความเป็นผู้เห็นธรรม ไม่ง่อนแง่นคลอน
                             แคลนในธรรม พระวังคีสะเป็นผู้ทำแสงสว่างให้เกิดขึ้น แทงตลอด
                             แล้วซึ่งธรรมฐิติทั้งปวง แสดงธรรมอันเลิศตามกาลเวลาได้อย่างฉับพลัน
                             เพราะรู้มาเอง และทำให้แจ้งมาเอง เมื่อพระวังคีสะแสดงธรรมด้วยดี
                             แล้วอย่างนี้ จะประมาทอะไรต่อธรรมของท่านผู้รู้แจ้งเล่า เพราะเหตุนั้น
                             แหละ ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในคำสอนของพระผู้มีพระภาคพระองค์
                             นั้น ตั้งใจศึกษาไตรสิกขาด้วยปฏิปทา อันเลิศในกาลทุกเมื่อเถิด.

                ครั้งหนึ่ง ท่านพระวังคีสเถรกล่าวคาถาชมเชยท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ๓ คาถา ความว่า
                             พระอัญญาโกณฑัญญเถระ เป็นผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า มีความเพียร
                             อย่างแก่กล้า ได้วิเวกอันเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขเป็นนิตย์ สิ่งใดที่
                             พระสาวกผู้กระทำตามคำสอนของพระศาสดา พึงบรรลุ สิ่งนั้นทั้งหมด
                             ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระผู้ไม่ประมาทศึกษาอยู่ ก็บรรลุตามได้แล้ว
                             ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระมีอานุภาพมาก มีวิชชา ๓ ฉลาดในการรู้
                             จิตของผู้อื่น เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า ได้มาถวายบังคมพระยุคลบาท
                             ของพระบรมศาสดาอยู่.

                ครั้งหนึ่ง พระวังคีสเถระ เมื่อจะกล่าวชมเชยพระผู้มีพระภาคและพระเถระทั้งหลาย
                มีพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นต้น จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า
                             เชิญท่านดูพระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมปราชญ์ เสด็จถึงฝั่งแห่งความทุกข์ กำลัง
                             ประทับอยู่เหนือยอดเขากาลสิลาแห่งอิสิคิลิบรรพต มีหมู่พระสาวกผู้มี
                             วิชชา ๓ ละมัจจุราชได้แล้วนั่งเฝ้าอยู่ พระมหาโมคคัลลานเถระผู้เรือง
                             อิทธิฤทธิ์มาก ตามพิจารณาดูจิตของภิกษุผู้มหาขีณาสพเหล่านั้นอยู่ ท่านก็
                             กำหนดได้ว่าเป็นดวงจิตที่หลุดพ้นแล้ว ไม่มีอุปธิ ด้วยใจของท่าน
                             ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุทั้งหลายจึงได้พากันห้อมล้อมพระผู้มีพระภาค
                             พระนามว่าโคดม ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยพระคุณธรรม ทุกอย่าง ทรงเป็นจอม
                             ปราชญ์ เสด็จถึงฝั่งแห่งทุกข์ ทรงเต็มเปี่ยมด้วยพระอาการเป็นอันมาก.

             คราวหนึ่ง ท่านพระวังคีสเถระกล่าวคาถาสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ซึ่งกำลัง
   ประทับอยู่ในท่ามกลางสงฆ์หมู่ใหญ่ เทวดาและนาคนับจำนวนพัน ที่ริมสระโบกขรณี
   ชื่อคัคครา ใกล้เมืองจำปา ๑ คาถา ความว่า
                             ข้าแต่พระมหามุนีอังคีรส พระองค์ไพโรจน์ล่วงโลกนี้กับทั้งเทวโลกทั้ง
                             หมดด้วยพระยศเหมือนกับพระจันทร์ และพระอาทิตย์ที่ปราศจากมลทิน
                             สว่างจ้าอยู่บนท้องฟ้าอันปราศจากเมฆหมอก ฉะนั้น.

                คราวหนึ่ง ท่านพระวังคีสเถระพิจารณาดูข้อปฏิบัติที่ตนได้บรรลุแล้ว เมื่อจะประกาศ
                คุณของตน จึงกล่าวคาถาขึ้น ๑๐ คาถา ความว่า
                             เมื่อก่อนข้าพระองค์มีผู้เคารพในเวลาไปบ้านโน้นเมืองนี้ แต่เดี๋ยวนี้ ข้า-
                             พระองค์ ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง พระองค์ผู้เป็น
                             มหามุนี เสด็จถึงฝั่งแห่งทุกข์ ได้ทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ข้าพระ
                             องค์ได้ฟังธรรมแล้ว เกิดความเลื่อมใส เกิดศรัทธา ข้าพระองค์ได้ฟัง
                             พระดำรัสของพระองค์แล้ว จึงรู้แจ้งขันธ์ อายตนะ และธาตุแจ่มแจ้ง
                             แล้วได้ออกบวชเป็นบรรพชิต พระตถาคตเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นมา

                             เพื่อประโยชน์แก่สตรีและบุรุษ ผู้กระทำตามคำสั่งสอนของพระองค์เป็น
                             อันมากหนอ พระองค์ผู้เป็นมุนีได้ทรงบรรลุโพธิญาณ เพื่อประโยชน์
                             แก่ภิกษุและภิกษุณีซึ่งได้บรรลุสัมมัตตนิยามหนอ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่า
                             พันธุ์ แห่งพระอาทิตย์ มีพระจักษุทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ เหตุ
                             เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
                             อันให้ถึงความสงบระงับทุกข์ เพื่อทรงอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งหลาย
                             อริยสัจธรรมเหล่านี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้วอย่างไร ข้าพระองค์ก็เห็น


                             อย่างนั้น มิได้เห็นผิดเพี้ยนไปอย่างอื่น ข้าพระองค์บรรลุประโยชน์ของ
                             ตนแล้ว ทำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว การที่ข้าพระองค์ได้มา
                             ในสำนักของพระองค์เป็นการมาดีของข้าพระองค์หนอ เพราะข้าพระองค์
                             ได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐ ในบรรดาธรรมที่พระองค์ทรงจำแนกไว้ดีแล้ว
                             ข้าพระองค์ได้บรรลุถึงความสูงสุดแห่งอภิญญาแล้ว มีโสตธาตุอันหมดจด
                             มีวิชชา ๓ ถึงความเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ทางใจ เป็นผู้ฉลาดในการกำหนดรู้
                             จิตของผู้อื่น.


  ครั้งหนึ่ง ท่านพระวังคีสเถระนึกถึงพระนิโครธกัปปเถระ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของตนมรณภาพแล้วว่า
  จะได้สำเร็จนิพพานหรือไม่ จึงกราบทูลถามพระบรมศาสดาด้วยคาถา ๑๒ คาถา ความว่า
                             ข้าพระองค์ขอทูลถามพระศาสดา ผู้มีพระปัญญาไม่ทราบว่า ภิกษุรูปใด
                             มีใจไม่ถูกมานะทำให้เร่าร้อน เป็นผู้เรืองยศ ตัดความสงสัยในธรรมที่ตน
                             เห็นมาได้แล้ว ได้มรณภาพลงที่อัคคาฬววิหาร ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
                             ภิกษุรูปนั้นเป็นพราหมณ์มาแต่กำเนิด มีนามตามที่พระองค์ทรงประทาน
                             ตั้งให้ว่า พระนิโครธกัปปเถระ ผู้มุ่งแต่ทางเครื่องหลุดพ้น ปรารภความ

                             เพียร เห็นธรรมอันมั่นคง กำลังถวายบังคมพระองค์อยู่ ข้าแต่พระองค์
                             ผู้ศากยะทรงมีพระจักษุรอบคอบ แม้ข้าพระองค์ทั้งหมดปรารถนาจะทราบ
                             พระสาวกองค์นั้น โสตของข้าพระองค์ทั้งหลาย เตรียมพร้อมที่จะฟัง
                             พระดำรัสตอบ พระองค์มิใช่หรือที่เป็นพระศาสดา ซึ่งจะหาศาสดาอื่น
                             เทียมเท่ามิได้ของพระเถระรูปนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญากว้างขวาง
                             ขอพระองค์ ทรงตัดความเคลือบแคลงสงสัยของข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด


                             และขอได้โปรดตรัสบอกพระนิโครธกัปปเถระผู้ปรินิพพานไปแล้ว แก่ข้า-
                             พระองค์ด้วย พระองค์ทรงทราบมาแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุรอบ
                             คอบ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ในท่ามกลางแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย
                             เถิด เหมือนท้าวสักกเทวราชผู้มีพระเนตรตั้งพัน ตรัสบอกแก่เทวดาทั้ง
                             หลาย ฉะนั้น คันธชาติชนิดใดชนิดหนึ่งในโลกนี้ที่เป็นทางก่อให้เกิด
                             ความหลงลืม เป็นฝ่ายแห่งความไม่รู้ เป็นมูลฐานแห่งความเคลือบแคลง

                             สงสัย คันธชาติเหล่านั้นมิได้มีมาถึง พระตถาคตเจ้าผู้มีพระจักษุมีพระ-
                             คุณยิ่งกว่านรชนทั้งหลายนี้เลย ก็ถ้าพระผู้มีพระภาคจะเป็นบุรุษชนิดที่
                             ทรงถือเอาแต่เพียงพระกำเนิดมาเท่านั้นไซร้ ก็จะไม่พึงทรงประหาณกิเลส
                             ทั้งหลายได้ คล้ายกับลมที่ลำเพยพัดมาครั้งเดียว ไม่อาจทำลายกลุ่มเมฆ
                             หมอกที่หนาได้ ฉะนั้น โลกทั้งปวงที่มืดอยู่แล้ว ก็จะยิ่งซ้ำมืดหนักลง

                             ถึงจะมีสว่างมาบ้าง ก็ไม่สุกใสได้ นักปราชญ์ทั้งหลายเป็นผู้กระทำแสง
                             สว่างให้เกิดขึ้น ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงปรีชา เหตุนั้น ข้าพระองค์จึงขอเข้า
                             ถึงพระองค์ ผู้ที่ข้าพระองค์เข้าใจว่าทรงทำแสงสว่างให้เกิดขึ้นได้เอง
                             เช่นนั้นเป็นแม่นมั่น ผู้เห็นแจ้ง ทรงรอบรู้สรรพธรรมตามความเป็นจริง
                             ได้ ขอเชิญพระองค์โปรดทรงประกาศพระนิโครธกัปปเถระ ผู้อุปัชฌายะ
                             ของข้าพระองค์ที่ปรินิพพานไปแล้ว ให้ปรากฏในบริษัทด้วยเถิด พระผู้มี


                             พระภาค เมื่อทรงเปล่งพระดำรัส ก็ทรงเปล่งด้วยพระกระแสเสียงกังวาน
                             ที่เกิดแต่พระนาสิก ซึ่งนับเข้าในมหาบุรุษลักษณะด้วยประการหนึ่ง อัน
                             พระบุญญาธิการตบแต่งมาดี ทั้งเปล่งได้อย่างรวดเร็วและแผ่วเบาเป็น
                             ระเบียบ เหมือนกับพระยาหงส์ทองที่กลับมาจากท่องเที่ยวหาเหยื่อ พบ
                             ราวไพรใกล้สระน้ำ ก็ชูคอป้องปีกทั้งสองขึ้นส่งเสียงร้องอยู่ค่อยๆ ด้วย
                             จะงอยปากอันแดง ฉะนั้น


มีต่อค่ะ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 08, 2012, 08:51:35 pm »



                 

วังคีสเถรคาถา
   คาถาสุภาษิตของพระวังคีสเถระ
                พระวังคีสเถระ เมื่อบวชแล้วใหม่ๆ ได้เห็นสตรีหลายคนล้วนแต่แต่งตัวเสียงดงาม
   พากันไปวิหาร ก็เกิดความกำหนัดยินดี เมื่อบรรเทาความกำหนัดยินดีได้แล้ว จึงได้กล่าวคาถา ๙
   คาถา
สอนตนเอง ความว่า
                [๔๐๑]        ความตรึกทั้งหลาย กับความคะนองอย่างเลวทรามเหล่านี้ได้เข้าครอบงำ
                             เราผู้ออกบวชเป็นบรรพชิต เหมือนกับบุตรของคนสูงศักดิ์ซึ่งมีธนูมาก
                             ทั้งได้ศึกษาวิชาธนูศิลป์มาอย่างเชี่ยวชาญ ยิงลูกธนูมารอบๆ ตัวเหล่าศัตรู
                             ผู้หลบหลีกไม่ทันตั้งพันลูก ฉะนั้น ถึงแม้หญิงจะมามากยิ่งกว่านี้ ก็จัก
                             ทำการเบียดเบียนเราไม่ได้ เพราะเราได้ตั้งอยู่ในธรรมเสียแล้ว ด้วยว่า
                             เราได้สดับทางอันเป็นที่ให้ถึงนิพพานของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง
                             พระอาทิตย์ครั้งเดียว ใจของเราก็ยินดีในทางนั้นแน่นอน
ดูกรมารผู้ชั่วร้าย

                                       

                             ถ้าท่านยังเข้ามารุกรานเราผู้เป็นอยู่อย่างนี้ ท่านก็จะไม่ได้เห็นทางของเรา
                             ตามที่เราทำไม่ให้ท่านเห็นความจริง ภิกษุควรละความไม่ยินดี ความยินดี
                             และความตรึกอันเกี่ยวกับบุตรและภรรยาเป็นต้นเสียทั้งหมดแล้ว ไม่ควร
                             จะทำตัณหาดังป่าชัฏในที่ไหนๆ อีก
เพราะไม่มีตัณหาดังป่าชัฏ รูปอย่างใด
                             อย่างหนึ่งซึ่งอาศัยแผ่นดินก็ดี อยู่ในอากาศก็ดี และมีอยู่ใต้แผ่นดินก็ดี
                             เป็นของไม่เที่ยงล้วนแต่คร่ำคร่ำไปทั้งนั้น ผู้ที่แทงตลอดอย่างนี้แล้วย่อม
                             เป็นผู้หลุดพ้น ปุถุชนทั้งหลายหมกมุ่นพัวพันอยู่ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่

                             ได้ฟัง กลิ่นที่มากระทบ และอารมณ์ที่ได้ทราบ
ภิกษุควรเป็นผู้ไม่หวั่นไหว
                             กำจัดความพอใจในเบญจกามคุณเหล่านี้เสีย เพราะผู้ใดไม่ติดอยู่ในกาม-
                             คุณเหล่านี้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่าเป็นมุนี มิจฉาทิฏฐิซึ่งอิงอาศัย
                             ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เป็นไปกับด้วยความตรึก ตั้งลงมั่นในสิ่งอันไม่เป็น
                             ธรรม ในความเป็นปุถุชนในกาลไหนๆ ผู้ใดไม่เป็นไปในอำนาจของ
                             กิเลส
ทั้งไม่กล่าวถ้อยคำหยาบคาย ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต
                             มีใจมั่นคงมานมนานแล้ว ไม่ลวงโลก มีปัญญารักษาตน ไม่มีความทะเยอ
                             ทะยาน เป็นมุนี ได้บรรลุสันติบทแล้ว หวังคอยเวลาเฉพาะปรินิพพาน.


                             

                เมื่อพระวังคีสเถระกำจัดมานะที่เป็นไปแก่ตนได้แล้ว เพราะอาศัยคุณสมบัติ คือ ความ
                ไหวพริบของตน จึงได้กล่าวคาถา ๔ คาถาต่อไปอีก ความว่า
                             ดูกรท่านผู้สาวกของพระโคดม ท่านจงละทิ้งความเย่อหยิ่งเสีย จงละทิ้ง
                             ทางแห่งความเย่อหยิ่งให้หมดเสียด้วย เพราะผู้หมกมุ่นอยู่ในทางแห่ง
                             ความเย่อหยิ่งจะต้องเดือดร้อนอยู่ตลอดกาลช้านาน หมู่สัตว์ผู้ยังมีความ
                             ลบหลู่คุณท่าน
ถูกมานะกำจัดแล้วไปตกนรก ชุมชนคนกิเลสหนา ถูก
                             ความทะนงตัวกำจัดแล้ว พากันตกนรกต้องเศร้าโศกอยู่ตลอดในกาลนาน
                             กาลบางครั้งภิกษุปฏิบัติชอบแล้วชนะกิเลสด้วยมรรคจึงไม่ต้องเศร้าโศกยัง
                             กลับได้เกียรติคุณ และความสุข บัณฑิตทั้งหลายเรียกภิกษุผู้ปฏิบัติชอบ
                             อย่างนั้นว่า เป็นผู้เห็นธรรม เพราะเหตุนั้น ภิกษุในศาสนานี้ไม่ควรมี
                             กิเลสเครื่องตรึงใจ ควรมีแต่ความเพียรชอบ ละนิวรณ์แล้วเป็นผู้บริสุทธิ์
                             และละมานะโดยไม่เหลือแล้ว เป็นผู้สงบระงับ บรรลุที่สุดแห่งวิชชาได้

                             ข้าพเจ้าเร่าร้อนเพราะกามราคะ และจิตใจของข้าพเจ้าก็เร่าร้อนเพราะกาม
                             ราคะเหมือนกัน ดูกรท่านผู้สาวกของพระโคดม ขอพระคุณจงกรุณาบอก
                             ธรรมเครื่องดับความเร่าร้อนด้วยเถิด.

                ท่านพระอานนท์เถระกล่าวคาถา ความว่า
                             จิตของท่านเร่าร้อนก็เพราะความสำคัญผิด เพราะฉะนั้น ท่านจงละทิ้งนิมิต
                             อันงามซึ่ง
ประกอบด้วยราคะ
เสีย ท่านจงอบรมจิตให้มีอารมณ์อันเดียว
                             ตั้งมั่นเด็ดเดี่ยว ด้วยการพิจารณาสิ่งทั้งปวงว่าเป็นของไม่สวยงาม จง
                             อบรมกายคตาสติ จงเป็นผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่าย ท่านจงเจริญ
                             อนิมิตตานุปัสสนา การนึกถึงกิเลสเป็นเครื่องหมาย จงตัดอนุสัย
                             คือมานะเสีย
แต่นั้นท่านจักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป เพราะละมานะเสียได้.


                คราวหนึ่งพระวังคีสเถระ เกิดความปลาบปลื้มใจในสุภาษิตสูตรที่พระผู้มีพระภาคทรง
                แสดงไว้แล้ว จึงกราบทูลขึ้นในที่เฉพาะพระพักตร์ด้วยคาถา ๔ คาถา ความว่า
                             บุคคลควรพูดแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อนเท่านั้น อนึ่ง วาจาใดที่ไม่
                             เบียดเบียนคนอื่น วาจานั้นแลเป็นวาจาสุภาษิต บุคคลควรพูดแต่วาจา
                             ที่น่ารักใคร่ ทั้งเป็นวาจาที่ทำให้ร่าเริงได้ ไม่พึงยึดถือวาจาชั่วช้าของคนอื่น
                             พึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย ธรรมนี้เป็น
                             ของเก่า สัตบุรุษทั้งหลายตั้งอยู่แล้วในคำสัตย์ ทั้งที่เป็นอรรถเป็นธรรม
                             พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด เป็นพระวาจาปลอดภัย พระวาจานั้นเป็นไป
                             เพื่อบรรลุนิพพาน เพื่อทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ พระวาจานั้นแลเป็นวาจา
                             สูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย
.

                ครั้งหนึ่ง พระวังคีสเถระกล่าวคาถา ๓ คาถา ด้วยอำนาจสรรเสริญพระสารีปุตตเถระ
                ความว่า
                             ท่านพระสารีบุตรมีปัญญาสุขุม เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้ฉลาดในทางและ
                             มิใช่ทาง มีปัญญามากแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายย่อบ้าง พิสดารบ้าง
                             เสียงของท่านผู้กำลังแสดงธรรมอยู่ไพเราะ เหมือนกับเสียงนกสาลิกา
                             มีปฏิภาณปรากฏรวดเร็ว เหมือนกับคลื่นในมหาสมุทร เมื่อท่านแสดง
                             ธรรมด้วยเสียงอันน่ายินดี น่าสดับฟัง ไพเราะจับใจ ภิกษุทั้งหลาย
                             ได้ฟังคำอันไพเราะ ก็มีใจร่าเริงเบิกบาน พากันตั้งใจฟัง.


                             

                ในวันเทศนาพระสูตรเนื่องในวันปวารณา ครั้งหนึ่ง พระวังคีสเถระเห็นพระบรมศาสดา
                ซึ่งกำลังประทับอยู่ มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ห้อมล้อม จึงกล่าวคาถาชมเชยพระองค์ขึ้น ๔ คาถา
                ความว่า
                            ในวัน ๑๕ ค่ำ เป็นวันปวารณาปริสุทธิ วันนี้มีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปมา
                             ประชุมกัน ล้วนแต่เป็นผู้ตัดเครื่องเกาะเกี่ยวผูกพันเสียได้สิ้น ไม่มี
                             ความทุกข์ สิ้นภพสิ้นชาติแล้ว เป็นผู้แสวงหาคุณธรรมอันประเสริฐ
                             ทั้งนั้น พระเจ้าจักรพรรดิ์มีหมู่อำมาตย์ห้อมล้อม เสด็จเลียบแผ่นดินอัน
                             ไพศาล มีมหาสมุทรเป็นอาณาเขตนี้ไปรอบๆ ได้ ฉันใด พระสาวก
                             ทั้งหลายผู้มีวิชชา ๓ ละมัจจุราชได้แล้ว พากันเข้าไปห้อมล้อมพระผู้มี-
                             พระภาคผู้ทรงชนะสงครามแล้ว ผู้นำพวกชั้นเยี่ยม ฉันนั้น พระสาวก
                             ทั้งมวลล้วนแต่เป็นพุทธชิโนรส ก็ในพระสาวกเหล่านี้ ไม่มีความว่าง
                             เปล่าจากคุณธรรมเลย ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์
                             แห่งพระอาทิตย์ ผู้ทรงประหาณลูกศร คือตัณหาได้แล้ว.


                                             

                ครั้งหนึ่ง ท่านพระวังคีสเถระได้กล่าวคาถา ๔ คาถา ชมเชยพระผู้มีพระภาค ซึ่งกำลัง
                ทรงแสดงธรรมอันเกี่ยวกับเรื่องนิทานแก่ภิกษุทั้งหลาย ความว่า
                             ภิกษุมากกว่าพัน ได้เข้าไปเฝ้าพระสุคตเจ้าผู้กำลังทรงแสดงธรรมอัน
                             ปราศจากธุลี คือนิพพานอันไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ภิกษุทั้งหลายก็พากัน
                             ตั้งใจฟังธรรมอันไพบูลย์ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว พระ-
                             สัมมาสัมพุทธเจ้าอันหมู่ภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม เป็นสง่างามแท้หนอ พระผู้มี
                             พระภาคทรงพระนามว่านาคะ ผู้ประเสริฐ ทรงเป็นพระฤาษีสูงสุดกว่า
                             บรรดาฤาษี คือพระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงโปรยฝนอมฤตธรรม
                             รดพระสาวกทั้งหลาย คล้ายกับฝนห่าใหญ่ ฉะนั้น ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า
                             พระวังคีสะสาวกของพระองค์ออกจากที่พักกลางวัน มาถวายบังคมพระ-
                             ยุคลบาทของพระองค์อยู่ ด้วยประสงค์จะเฝ้าพระองค์.

                คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงสดับภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า พระวังคีสะไม่ตั้งใจจะ
                ศึกษาเล่าเรียน พระองค์จึงตรัสพระคาถา ๔ พระคาถา ความว่า
                             พระวังคีสะครอบงำทางผิดแห่งกิเลสมารได้แล้ว ทั้งทำลายกิเลสเครื่อง
                             ตรึงใจได้สิ้นแล้ว จึงเที่ยวไปอยู่ เธอทั้งหลายจงดูพระวังคีสะผู้ปลด
                             เปลื้องเครื่องผูก
เสียแล้ว ผู้อันตัณหามานะทิฏฐิไม่อิงแอบเลย ทั้ง
                             จำแนกธรรมเป็นส่วนๆ ได้ด้วยนั้น เป็นตัวอย่างเถิด อันที่จริง >>


มีต่อค่ะ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 06, 2012, 01:05:25 pm »



     
ต่อค่ะ...
                             พระโมคคัลลานเถระรู้แจ้งโลกได้ตั้งพันเพียงครู่เดียวเสมอด้วย
                             ท้าวมหาพรหม เป็นผู้ชำนาญในคุณ คืออิทธิฤทธิ์ ในจุติและอุบัติของ
                             สัตว์ ย่อมเห็นเทวดาทั้งหลายในกาลอันสมควร ภิกษุใดทรงคุณธรรม
                             ชั้นสูงด้วยปัญญา ศีล และอุปสมะ ภิกษุนั้นคือพระสารีบุตร เป็นผู้สูงสุด
                             อย่างยิ่ง แต่เราเป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงฤทธิ์ต่างๆ เป็นผู้ถึงความชำนาญ

                             ในฤทธิ์พึงเนรมิตอัตภาพชั่วขณะเดียวได้ตั้งแสนโกฏิ
เราชื่อว่าโมคคัล-
                             ลานะโดยโคตร เป็นผู้ชำนาญในสมาธิและวิชชา ถึงที่สุดแห่งบารมี
                             เป็นปราชญ์ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้อันตัณหาไม่อาศัย มีอินทรีย์
                             มั่นคง ได้ตัดเครื่องจองจำคือกิเลสทั้งสิ้นเสียอย่างเด็ดขาด เหมือนกับ
                             กุญชรชาติตัดปลอกที่ทำด้วยเถาหัวด้วนให้ขาดกระเด็นไป ฉะนั้น
เราคุ้น

                             เคยกับพระศาสดา ฯลฯ ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว เราบรรลุ
                             ถึงประโยชน์ที่กุลบุตรผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการนั้นแล้ว บรรลุถึง
                             ความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวงแล้ว มารผู้มักประทุษร้าย เบียดเบียนพระสาวก
                             นามว่าวิธุระและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนามว่ากกุสันธะ แล้วหมกไหม้
                             อยู่ในนรกใด
นรกนั้นเป็นเช่นไร คือ เป็นนรกที่มีขอเหล็กตั้งร้อย และ

                             เป็นที่ทำให้เกิดทุกขเวทนาเฉพาะตนทุกแห่ง มารผู้มักประทุษร้าย เบียด
                             เบียนพระสาวกนามว่าวิธูระ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนามว่ากกุ-
                             สันธะ หมกไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นนี้ ภิกษุใดเป็นสาวกแห่ง
                             พระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ
                             ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ วิมาน

                             ทั้งหลายลอยอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร ตั้งอยู่ตลอดกัป มีสีเหมือนแก้ว
                             ไพฑูรย์ เป็นวิมานงดงาม มีรัศมีพลุ่งออกเหมือนเปลวไฟผุดผ่อง มีหมู่
                             นางอัปสรผู้มีผิวพรรณแตกต่างกันเป็นอันมากฟ้อนรำ ภิกษุใดเป็นสาวก
                             แห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ
                             ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุ

                             รูปใดที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ไปแล้ว ภิกษุสงฆ์เป็นอันมากก็เห็นอยู่ ได้ทำ
                             ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ให้หวั่นไหวได้ด้วยปลายนิ้วเท้า
                             ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลแห่งกรรมโดยประจักษ์
                             ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์
                             เป็นแน่แท้ ภิกษุใดมีอิทธิพลอันกล้าแข็ง ทำเวชยันตปราสาทให้หวั่นไหว

                             ได้ด้วยปลายนิ้วเท้า และยังเทพเจ้าทั้งหลายให้สลดใจ
ภิกษุใดเป็น
                             สาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มี-
                             ธรรมดา ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้
                             ภิกษุใดไต่ถามท้าวสักกเทวราชที่เวชยันตปราสาทว่า มหาบพิตรทรงทราบ
                             วิมุติอันเป็นที่สิ้นตัณหาบ้างหรือ ขอถวายพระพร ท้าวสักกเทวราชถูก

                             ถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ตามแนวเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว
                             แก่ภิกษุนั้น
ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้ารู้กรรมและผลกรรมโดย-
                             ประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้อง
                             ประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดสอบถามท้าวมหาพรหมว่า ดูกรอาวุโส
                             แม้วันนี้ท่านยังมีความเห็นผิดอยู่เหมือนเมื่อก่อนว่า สุธรรมสภานี้มีอยู่

                             บนพรหมโลกเท่านั้น ที่ดาวดึงสพิภพไม่มีหรือ หรือว่าท่านยังมีความเห็น
                             ผิดอยู่เหมือนก่อน คือ ท่านยังเห็นอยู่ว่า บนพรหมโลกมีแสงสว่างพวยพุ่ง
                             ออกได้เองหรือ ครั้นท้าวมหาพรหมถูกถามปัญหาแล้ว ได้พยากรณ์ตาม
                             ความเป็นจริงแก่ภิกษุนั้นว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้าไม่ได้
                             เห็นผิดเหมือนเมื่อก่อน คือ ไม่ได้เห็นว่า บนพรหมโลกมีรัศมีพวยพุ่ง

                             ออกไปได้เอง ทุกวันนี้ข้าพเจ้าละทิ้งคำพูดที่ว่ามานั้นเสียได้ กลับมี
                             ความเห็นว่าไม่เที่ยง
ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผล-
                             กรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า
                             ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดแสดงยอดขุนเขาสิเนรุราช
                             ชมพูทวีป และปุพพวิเทหทวีป ให้หมู่มนุษย์ชาวอมรโคยานทวีปและชาว

                             อุตตรกุรุทวีปเห็นกันด้วยวิโมกข์
ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
                             รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียน
                             ภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ไฟไม่ได้ตั้งใจว่าเราจะ
                             ไหม้คนพาลเลย แต่คนพาลรีบเข้าไปหาไฟอันลุกโพลงให้ไหม้ตนเอง
                             ฉันใด ดูกรมาร ท่านประทุษร้ายพระตถาคตนั้นแล้ว ก็จักเผาตนเอง

                             เหมือนกับคนพาลถูกไฟไหม้ ฉะนั้น
แน่ะมารผู้ชาติชั่ว ตัวท่านเป็นมาร
                             คอยแต่ประทุษร้ายพระตถาคตพระองค์นั้น ก็ต้องพบแต่สิ่งซึ่งมิใช่บุญ
                             หรือท่านเข้าใจว่า บาปไม่ให้ผลแก่เรา แน่นะมารผู้มุ่งแต่ความตาย
                             เพราะท่านได้ทำบาปมาโดยส่วนเดียว จะต้องเข้าถึงทุกข์ตลอดกาลนาน
                             ท่านจงอย่าคิดร้ายต่อพระพุทธเจ้า และภิกษุทั้งหลาย ผู้สาวกของ
                             พระพุทธเจ้าอีกต่อไปเลย พระมหาโมคคัลลานเถระได้คุกคามมารที่ป่า
                             เภสกฬาวันดังนี้แล้ว
ลำดับนั้น มารนั้นเสียใจจึงได้หายไป ณ ที่นั้น
                             นั่นเอง
.
                ได้ทราบว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้ภาษิตคาถาทั้งหมดด้วยประการฉะนี้แล.

                             ในสัฏฐิกนิบาตปรากฏว่า พระมหาโมคคัลลานเถระผู้มีฤทธิ์มากองค์เดียว
                             เท่านั้น ได้ภาษิตคาถาเหล่านั้นไว้ ๖๘ คาถา


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 06, 2012, 12:30:36 pm »



     

มหาโมคคัลลานเถรคาถา
   คาถาสุภาษิตของพระมหาโมคคัลลานเถระ
                [๔๐๐]        พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ภาษิตคาถา ๔ คาถาเบื้องต้น ความว่า
                             ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ยินดี
                             เฉพาะอาหารที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การแสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วย
                             ดีในภายใน พึงทำลายเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุผู้ถือ
                             การอยู่ในป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ยินดีเฉพาะ
                             อาหารที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การเสาะแสวงหา พึงกำจัดเสนาแห่ง

                             พระยามัจจุราชเสียได้ เหมือนกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น ภิกษุ
                             ผู้ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดี
                             เฉพาะอาหารในบาตรอันเนื่องแต่การแสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วยดี พึง
                             ทำลายเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุทั้งหลายผู้ถือการอยู่โคน
                             ไม้เป็นวัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดีเฉพาะอาหารในบาตร
                             อันเนื่องแต่การแสวงหา พึงกำจัดเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ เหมือน
                             ช้างกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น.

                อีก ๔ คาถาต่อไป ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้ภาษิตไว้ ด้วยอำนาจ
                สอนหญิงเพศยาซึ่งมาเล้าโลมท่านว่า
                             เราติเตียนกระท่อม คือสรีระร่างอันสำเร็จด้วยโครงกระดูก อันฉาบทา
                             ด้วยเนื้อ ร้อยรัดด้วยเส้นเอ็น เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น
                             น่าเกลียด ที่คนทั่วๆ ไปเข้าใจว่าเป็นของผู้อื่นและเป็นของตน
ในร่างกาย
                             ของเธอเช่นกับถุงอันเต็มไปด้วยคูถ มีหนังหุ้มห่อปกปิดไว้เหมือนนาง-
                             ปีศาจ มีฝีที่อก มีช่องเก้าช่องเป็นที่ไหลออกเนืองนิตย์ ภิกษุควรละเว้น
                             สรีระของเธออันมีช่องเก้าช่อง เต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น
ดังชายหนุ่มผู้ชอบ
                             สะอาด หลีกเลี่ยงมูตรคูถไปจนห่างไกล ฉะนั้น หากว่าคนพึงรู้จักสรีระ
                             ของเธอเช่นเดียวกับฉันรู้จัก ก็จะพากันหลบหลีกเธอไปเสียห่างไกล
                             เหมือนบุคคลผู้ชอบสะอาดเห็นหลุมคูถในฤดูฝนแล้ว หลีกเลี่ยงไปเสีย
                             ห่างไกล
ฉะนั้น.

                เมื่อหญิงแพศยาคนนั้นได้ฟังดังนี้แล้ว ก็เกิดความสลดใจ จึงตอบพระเถระเป็นคาถา
                ความว่า
                             ข้าแต่สมณะผู้มีความเพียรมาก ท่านพูดอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น แต่คน
                             บางจำพวกยังจมอยู่ในร่างกายอันนี้ เหมือนกับโคเฒ่าที่จมอยู่ในตม
                             ฉะนั้น.

                พระมหาโมคคัลลานเถระเมื่อจะชี้แจงให้นางรู้ว่า การประพฤติตามใจชอบเช่นนี้ไม่มี
                ประโยชน์ มีแต่นำโทษมาให้โดยถ่ายเดียว จึงกล่าวเป็นคาถา ๒ คาถาความว่า
                             ผู้ใดประสงค์ย้อมอากาศด้วยขมิ้น หรือด้วยน้ำย้อมอย่างอื่น การกระทำ
                             ของผู้นั้นก็ลำบากเปล่าๆ จิตของเรานี้ก็เสมอกับอากาศ เป็นจิตตั้งมั่น
                             ด้วยดีในภายใน เพราะฉะนั้น เธออย่ามาหวังความรักที่มีอยู่ในดวงจิต
                             อันลามกของเธอ
จากฉันเลย เหมือนตัวแมลงถลาเข้าสู่กองไฟย่อมถึงความ
                             พินาศ
ฉะนั้น เธอจงดูร่างกายอันกระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นตั้งไว้ มีแผล
                             ทั่วๆ ไป อันบุญกรรมกระทำให้วิจิตร กระสับกระส่าย พวกคนพาลพา
                             กันดำริโดยมาก
ไม่มีความยั่งยืนมั่นคงอยู่เลยนี้เถิด.

                พระมหาโมคคัลลานะ ปรารภการนิพพานของพระสารีบุตรเถระเป็นเหตุจึงกล่าวคาถา
                ขึ้น ๔ คาถา
ความว่า
                             เมื่อท่านพระสารีบุตรเถระ ผู้เพียบพร้อมไปด้วยอุฏฐานะ เป็นอันมาก
                             มีศีลสังวรเป็นต้น นิพพานไปแล้ว ก็เกิดเหตุน่าสะพึงกลัว ขนพอง
                             สยองเกล้า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อม
                             ไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความที่สังขารเหล่านั้นสงบระงับ
                             เป็นสุข ชนเหล่าใดพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของแปรปรวน
                             และโดยไม่ใช่ตัวตน ชนเหล่านั้น ชื่อว่าแทงตลอดธรรมอันละเอียด
                             เหมือนนายขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศร ฉะนั้น อนึ่ง ชนผู้มี
                             ความเพียรเหล่าใด พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นของแปร-
                             ปรวนและโดยไม่ใช่ตัวตน ชนผู้มีความเพียรเหล่านั้น ชื่อว่าแทงตลอด
                             ธรรมอันละเอียด เหมือนนายขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศร ฉะนั้น.

                พระมหาโมคคัลลานะปรารภพระติสสเถระ จึงกล่าวเป็นคาถาหนึ่งคาถาความว่า
                             ภิกษุผู้มีสติ ควรรีบละเว้นความพอใจรักใคร่ในกามารมณ์เสีย เหมือน
                             บุคคลรีบถอนหอกออกจากตน และเหมือนบุคคลรีบดับไฟซึ่งไหม้อยู่
                             บนศีรษะตน ฉะนั้น ภิกษุผู้มีสติควรรีบละเว้นความกำหนัดในภพเสีย
                             เหมือนบุคคลรีบถอนหอกออกจากกายตน และเหมือนบุคคลที่รีบดับไฟ
                             ซึ่งไหม้อยู่บนศีรษะตน ฉะนั้น
เราเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคซึ่งได้ทรงอบรม

                             พระองค์มาแล้วผู้ทรงไว้ซึ่งพระสรีระอันมีในที่สุดทรงตักเตือนแล้ว จึงทำ
                             ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาให้หวั่นไหวด้วยปลายนิ้วเท้า บุคคล
                             ปรารภความเพียรอันย่อหย่อนแล้วพึงบรรลุนิพพาน อันเป็นเหตุปลด-
                             เปลื้อง กิเลส เครื่อง ร้อยกรอง ทั้งปวงด้วยกำลังความเพียร อันน้อยก็หาไม่

                             แต่พึงบรรลุได้ด้วยความเพียรชอบ ๕ ประการ ก็ภิกษุหนุ่มนี้ นับว่าเป็น

                             บุรุษผู้สูงสุดชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ทรงร่างกายอันมีในที่สุด
                             สายฟ้าทั้งหลายฟาดลงไปตามช่องภูเขาเวภารบรรพต และภูเขาปัณฑว-
                             บรรพต ส่วนอาตมาเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครเปรียบ ผู้คงที่
                             ได้เข้าไปสู่ช่องภูเขาเจริญฌานอยู่ อาตมาเป็นผู้สงบระงับ ยินดีแต่ใน
                             ธรรมอันเป็นเครื่องเข้าไปสงบระงับ อยู่แต่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี

                             เป็นทายาทของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นผู้อันท้าวมหาพรหมพร้อมทั้ง
                             เทวดากราบไหว้ ดูกรพราหมณ์ ท่านจงไหว้พระกัสสปผู้สงบระงับ
                             ผู้ยินดีแต่ในธรรมอันสงบ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี เป็นทายาท
                             แห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ทั้งปวง ผู้ใดเป็น
                             กษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์สืบวงศ์ตระกูลมาเป็นลำดับๆ ตั้ง ๑๐๐ ชาติ

                             ถึงพร้อมด้วยไตรเพท ถึงแม้จะเป็นผู้เล่าเรียนมนต์ เป็นผู้ถึงฝั่งแห่ง
                             เวทนา ๓
การกราบไหว้ผู้นั้นแม้บ่อยๆ ย่อมไม่ถึงเสี้ยว ๑๖ อันจำแนก
                             ออก ๑๖ ครั้ง ของบุญที่ไหว้พระกัสสปนี้เพียงครั้งเดียวเลย ภิกษุใดเวลา
                             เช้าเข้าวิโมกข์ ๘ โดยอนุโลมและปฏิโลม ออกจากสมาบัตินั้นแล้วเที่ยว
                             ไปบิณฑบาต ดูกรพราหมณ์ ท่านอย่ารุกรานภิกษุเช่นนั้นเลย อย่าได้

                             ทำลายตนเสียเลย ท่านจงยังใจให้เลื่อมใสในพระอรหันต์ผู้คงที่เถิด
                             จงรีบประณมอัญชลีไหว้เถิด ศีรษะของท่านอย่าแตกไปเสียเลย, พระ-
                             โปฐิละ
ไม่เห็นพระสัทธรรม เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้แล้ว เดินไป
                             สู่ทางผิดซึ่งเป็นทางคดไม่ควรเดิน พระโปฐิละหมกมุ่นอยู่ในสังขาร
                             ติดอยู่ในลาภและสักการะ ดังตัวหนอนที่ติดอยู่ในคูถจึงเป็นผู้ไม่มีแก่น-
                             สาร
  อนึ่ง เชิญท่านมาดู ท่านพระสารีบุตรผู้เพียบพร้อมไปด้วยคุณ

                             ที่น่าดูน่าชม ผู้พ้นแล้วจากกิเลสด้วยสมาธิและปัญญา มีจิตตั้งมั่นใน
                             ภายใน เป็นผู้ปราศจากลูกศร สิ้นสังโยชน์ บรรลุวิชา ๓ ละมัจจุราชเสียได้
                             เป็นพระทักขิเณยยบุคคล ผู้เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของมนุษย์ทั้งหลาย
                             เทวดาเป็นอันมากที่มีฤทธิ์เดชเรืองยศศักดิ์นับจำนวนหมื่น พร้อมด้วย
                             พรหมชั้นพรหมปโรหิต ได้พากันมาประณมอัญชลีนมัสการพระโมคคัล-
                             ลานเถระ
โดยกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษผู้อาชาไนย ขอนอบน้อม

                             แด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอุดม ขอนอบน้อมแด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้นิร-
                             ทุกข์ พระคุณเจ้ามีอาสวะทั้งหลายสิ้นไป เป็นทักขิเณยยบุคคล พระโมค-
                             คัลลานเถระ เป็นผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชาแล้ว เป็นผู้เกิดโดยอริยชาติ
                             ครอบงำความตายได้แล้วไม่ติดอยู่ในสังขาร เหมือนดอกบัวไม่ติดอยู่ด้วย
                             น้ำ ฉะนั้น พระโมคคัลลานเถระรู้แจ้งโลกได้ตั้งพันเพียงครู่เดียว
                             เสมอด้วยครอบงำความตายได้แล้วไม่ติดอยู่ในสังขาร เหมือนดอกบัว
                             ไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ ฉะนั้น


มีต่อค่ะ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2012, 09:44:20 pm »



                 

ธุดงคคุณทั้ง ๕ ถืออยู่ในป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
ต่อค่ะ...
                             ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือการไม่นอน
                             เป็นวัตร ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด บุคคลผู้ต้องการผลไม้ ปลูกต้นไม้
                             ไว้แล้ว เก็บผลไม่ได้ ก็ประสงค์จะโค่นต้นไม้นั้นเสีย ฉันใด ดูกร
                             จิต ท่านแนะนำเราผู้ใดให้หวั่นไหวในความไม่เที่ยง ท่านจงทำเราผู้นี้
                             ให้เหมือนกับบุคคลผู้ปลูกต้นไม้ไว้ฉะนั้นเถิด ดูกรจิตผู้หารูปมิได้ ไป
                             ได้ในที่ไกล เที่ยวไปแต่ผู้เดียว บัดนี้เราจักไม่ทำตามคำของท่านแล้ว

                             เพราะว่ากามทั้งหลายล้วนเป็นทุกข์ มีผลเผ็ดร้อน เป็นภัยใหญ่หลวง
                             เราจักมีใจมุ่งนิพพานเท่านั้น เราไม่ได้ออกบวชเพราะหมดบุญ เพราะ
                             ไม่มีความละอาย เพราะเหตุแห่งจิต เพราะเหตุแห่งการทำผิดต่อชาติ
                             บ้านเมือง หรือเพราะเหตุแห่งอาชีพ ดูกรจิต ท่านได้รับรองกับเรา
                             ไว้ว่า จักอยู่ในอำนาจของเรามิใช่หรือ ดูกรจิต ท่านได้แนะนำเราไว้
                             ในครั้งนั้นว่า ความเป็นผู้มักน้อย การละความลบหลู่คุณท่าน และ

                             ความสงบระงับทุกข์ สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ
แต่บัดนี้ ท่านกลับเป็น
                             ผู้มีความมักมากขึ้น เราไม่อาจกลับไปสู่ตัณหา ราคะ ความรัก ความ
                             ชัง รูปอันสวยงาม สุขเวทนา และเบญจกามคุณ อันเป็นของ
                             ชอบใจที่เราคาย
เสียแล้วอีก
ดูกรจิต เราได้ปฏิบัติตามถ้อยคำของท่าน
                             ในภพทั้งปวงแล้ว เราไม่ได้มีความขุ่นเคืองต่อท่านหลายชาติมาแล้ว
                             เพราะความที่ท่านมีความกตัญญู จึงปรากฏมีอัตภาพนี้ขึ้นอีก ท่านทำ

                             ให้เราต้องท่องเที่ยวไปในกองทุกข์มาช้านานแล้ว
ดูกรจิต ท่านทำเรา
                             ให้เป็นพราหมณ์ก็มี เป็นพระราชามหากษัตริย์ก็มี เพราะอำนาจแห่งท่าน
                             บางคราวเราเป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นเทพเจ้าก็มี เพราะอำนาจแห่งท่าน
                             เพราะเหตุแห่งท่าน มีท่านเป็นมูลเหตุ เราเป็นอสูร บางคราวเป็น
                             สัตว์นรก บางคราวเป็นสัตว์ดิรัจฉาน บางคราวเป็นเปรต ท่านได้ประทุษ
                             ร้ายเรามาบ่อยๆ มิใช่หรือ บัดนี้ เราจักไม่ให้ท่านทำเหมือนกาลก่อนอีก

                             ละ แม้เพียงครู่เดียว ท่านได้ล่อลวงเราเหมือนกับคนคนบ้าได้ทำความผิด
                             ให้แก่เรามาแล้วมิใช่หรือ จิตนี้แต่ก่อนเคยเที่ยวจาริกไปในอารมณ์ต่างๆ
                             ตามความประสงค์ ตามความใคร่ ตามความสบาย
วันนี้ เราจักข่มจิตนั้นไว้
                             โดยอุบายอันชอบดังนายหัตถาจารย์ข่มช้างตัวตกมันไว้ด้วยขอ ฉะนั้น พระ
                             ศาสดาของเราได้ทรงตั้งโลกนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน
                             ไม่เป็นแก่นสาร ดูกรจิต ท่านจงพาเราบ่ายหน้าไปในศาสนาของพระ

                             ชินสีห์ จงพาเราข้ามจากห้วงใหญ่ที่ข้ามได้แสนยาก ดูกรจิต เรือน
                             คืออัตภาพของท่านนี้ ไม่เป็นเหมือนกาลก่อนเสียแล้ว เพราะเราจัก
                             ไม่เป็นไปตามอำนาจของท่านอีกต่อไป
เราได้บวชในศาสนาของพระ
                             พุทธเจ้าผู้แสวงหาประโยชน์อันยิ่งใหญ่แล้ว สมณะทั้งหลายผู้ทรงความ
                             พินาศไม่เป็นเช่นเรา ภูเขา มหาสมุทร แม่น้ำคงคาเป็นต้น แผ่นดิน

                             ทิศใหญ่สี่ ทิศน้อยสี่ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และภพสาม ล้วน
                             เป็นสภาพไม่เที่ยง
มีแต่ถูกเบียดเบียนอยู่เสมอ
ดูกรจิต ท่านจะไป ณ
                             ที่ไหนเล่าจึงจะมีความสุขรื่นรมย์ ดูกรจิต เบื้องหน้าแต่จิตของเราตั้งมั่น
                             แล้ว ท่านจักทำอะไรแก่เราได้ เราไม่เป็นไปตามอำนาจของท่านแล้ว
                                         
                             บุคคลไม่ควรถูกต้องไถ้สองปาก คือร่างกายอันเต็มไปด้วยของไม่สะอาด
                             มีช่อง ๙ แห่ง เป็นที่ไหลออก น่าติเตียน ท่านผู้ไปสู่เรือนคือถ้ำที่เงื้อม
                             ภูเขาอันสวยงามตามธรรมชาติ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งสัตว์ป่า คือ หมูและ
                             กวาง และในป่าที่ฝนตกใหม่ๆ จักได้ความรื่นรมย์ใจ ณ ที่นั้น ฝูงนกยูง
                             มีขนที่คอเขียว มีหงอนและปีกงาม ลำแพนหางมีแวววิจิตรนัก ส่ง

                             สำเนียงก้องกังวาลไพเราะจับใจ จักยังท่านผู้บำเพ็ญฌานอยู่ในป่าให้
                             ร่าเริงได้ เมื่อฝนตนหญ้างอกยาวประมาณ ๔ นิ้ว ท้องฟ้างามแจ่มใส
                             ไม่มีเมฆปกคลุม เมื่อท่านทำตนให้เสมอด้วยไม้แล้ว นอนอยู่เหนือหญ้า
                             ระหว่างภูเขานั้น จะรู้สึกอ่อนนุ่มดังสำลี เราจักกระทำให้เหมือนผู้ใหญ่
                             จะยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ บุคคลผู้ไม่เกียจคร้าน ย่อมกระทำจิต
                             ของตนให้ควรแก่การงาน ฉันใด เราจักกระทำจิต ฉันนั้น
เหมือน

                             บุคคลเลื่อนถุงใส่แมวไว้ ฉะนั้นเราจักทำให้เหมือนผู้ใหญ่ จักยินดีด้วย
                             ปัจจัยตามมีตามได้ จักนำท่านไปสู่อำนาจของเราด้วยความเพียรเหมือน
                             นายหัตถาจารย์ผู้ฉลาด นำช้างที่ซับมันไปสู่อำนาจของตนด้วยขอ ฉะนั้น
                             เราย่อมสามารถที่จะดำเนินตามหนทางอันเกษมสุข ซึ่งเป็นทางอันบุคคล
                             ผู้ตามรักษาจิต ได้ดำเนินมาแล้วทุกสมัย ด้วยหทัยอันเที่ยงตรงที่ท่านฝึกฝน
                             ไว้ดีแล้ว มั่นคงแล้ว เปรียบเหมือนนายหัตถาจารย์ สามารถจะดำเนินไป

                             ตามภูมิสถานที่ปลอดภัย ด้วยม้าที่ฝึกดีแล้ว ฉะนั้น เราจักผูกจิตไว้ใน
                             อารมณ์ คือ กรรมฐานด้วยกำลังภาวนา
เหมือนนายหัตถาจรรย์ มัดช้างไว้
                             ที่เสาตลุงด้วยเชือกอันมั่นคง ฉะนั้น จิตที่เราคุ้มครองดีแล้ว อบรมดีแล้ว
                             ด้วยสติ จักเป็นจิตอันตัณหาเป็นต้น ไม่อาศัยในภพทั้งปวง
ท่านจงตัด
                             ทางดำเนินที่ผิดเสียด้วยปัญญา ข่มใจให้ดำเนินไปในทางที่ถูกด้วย
                             ความเพียร
ได้เห็นแจ้งทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป แล้วจัก

                             ได้เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า ผู้มักแสดงธรรมอันประเสริฐ ดูกรจิต
                             ท่านได้นำเอาให้เป็นไปตามอำนาจของความเข้าใจผิด ๔ ประการ เหมือน
                             บุคคลจูงเด็กชาวบ้านวิ่งวนไป ฉะนั้น ท่านควรคบหาพระสัมมาสัม-
                             พุทธเจ้า ผู้ตัดเครื่องเกาะเกี่ยวและเครื่องผูกเสียได้ เพียบพร้อมด้วย
                             พระมหากรุณา เป็นจอมปราชญ์มิใช่หรือ มฤคชาติเข้าไปยังภูเขาอันน่า
                             รื่นรมย์ ประกอบด้วยน้ำและดอกไม้ เที่ยวไปในป่าอันงดงามตามลำพัง

                             ใจ ฉันใด ดูกรจิต ท่านก็จักรื่นรมย์อยู่ในภูเขาที่ไม่เกลื่อนกล่น ด้วย
                             ผู้คนตามลำพังใจ ฉันนั้น เมื่อท่านไม่ยินดีอยู่ที่ภูเขานั้น ท่านก็จักต้อง
                             เสื่อมโดยไม่ต้องสงสัย ดูกรจิต หญิงชายเหล่าใดประพฤติตามความ
                             พอใจ ตามอำนาจของท่านแล้วเสวยความสุขใดอันอาศัยเบญจกามคุณ
                             หญิงชายเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้โง่เขลา ตกอยู่ในอำนาจของมาร เป็นผู้
                             เพลิดเพลินอยู่ในภพน้อย ภพใหญ่ และชื่อว่าเป็นสาวกของท่าน.
   จบ ตาลปุฏเถรคาถา
                             พระตาลปุฏเถระองค์เดียวเท่านั้น ได้ภาษิตคาถาไว้ในปัญญาสนิบาตนี้
                             รวมเป็นคาถา ๕๕ คาถา ฉะนี้แล.


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2012, 06:55:17 pm »



               

ตาลปุฏเถรคาถา
   คาถาสุภาษิตของพระตาลปุฏเถระ
                [๓๙๙]        เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้อยู่แต่ผู้เดียว ไม่มีตัณหาเป็นเพื่อนสอง ณ
                             ภูเขาและซอกเขา เมื่อไรหนอ เราจึงจักพิจารณาเห็นแจ้งภพทั้งปวง
                             โดยความเป็นของไม่เที่ยง ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ
                             เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้เป็นนักปราชญ์ นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์อัน
                             เศร้าหมอง ไม่มีความยึดมั่น ไม่มีความหวัง เป็นผู้ฆ่าราคะ โทสะ
                             และโมหะได้แล้ว
เที่ยวไปตามป่าใหญ่อย่างสบาย ความตรึกเช่นนี้

                             ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้เห็นแจ้งซึ่งร่างกายนี้
                             อันเป็นของไม่เที่ยง เป็นรังแห่งโรค คือความตาย ถูกความตายและความ
                             เสื่อมโทรมบีบคั้นแล้ว
เป็นผู้ปราศจากภัย อาศัยอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว
                             ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้ถือ
                             เอาซึ่งดาบอันคมกริบ คืออริยมรรคอันสำเร็จด้วยปัญญา แล้วตัดเสีย
                             ซึ่ง
ลดาชาติ คือ ตัณหาอันก่อให้เกิดภัย นำมาซึ่งทุกข์ เป็นเหตุให้คิด

                             วนเวียนไปในอารมณ์ภายนอก
ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ
                             เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้ถือเอาซึ่งศาตราอันสำเร็จด้วยปัญญา มีเดชานุภาพ
                             มากของฤาษี คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอริยสาวก แล้ว
                             หักราญเสียซึ่งกิเลสมารพร้อมทั้งเสนาโดยเร็วพลัน เหนือเถรอาสน์มี
                             ลีลาศดังราชสีห์ ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ
                             นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้มีความหนักแน่นในธรรม ผู้คงที่มีปกติ

                             เห็น
ตามความเป็นจริง มีอินทรีย์อันชนะแล้ว
จักเห็นว่าเราบำเพ็ญเพียร
                             ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ ความเกียจคร้าน
                             ความหิวกระหาย ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์เสือกคลานทั้งหลาย
                             จึงจักไม่เบียดเบียนเรา ตามซอกเขา ข้อนั้นเป็นความประสงค์ของเรา
                             ความตรึกเช่นนี้ของเราสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักเป็นผู้มี
                             จิตมั่นคง มีสติ ได้บรรลุอริยสัจ ๔ ที่เห็นได้แสนยาก อันพระผู้มี

                             พระภาคผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทรงทราบแล้วด้วยปัญญา ความตรึก
                             เช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักประกอบด้วย
                             ความสงบระงับ จากเครื่องเร่าร้อนใจในเพราะรูป เสียง กลิ่น รส
                             โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ที่เรายังไม่รู้เท่าถึง พิจารณาเห็นด้วยปัญญา

                             ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราเมื่อถูก
                             ว่ากล่าวติเตียนด้วยถ้อยคำชั่วหยาบแล้ว จักไม่เดือดร้อนใจเพราะถ้อยคำ

                             ชั่วหยาบนั้น อนึ่ง ถึงเขาจะสรรเสริญก็จักไม่ยินดี เพราะถ้อยคำ
                             เช่นนั้น ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ
                             เราจึงจักพิจารณาเห็นสภาพภายใน กล่าวคือ เบญจขันธ์และรูปธรรม
                             เหล่าอื่น ที่ยังไม่รู้ทั่วถึง และสภาพภายนอก คือ
ต้นไม้ หญ้า และ
                             และลดาชาติ ว่าเป็นสภาพเสมอกัน ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จ
                             เมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ ฝนที่ตกในเวลาปัจจุสมัย จักตกรด

                             เราผู้นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ผู้ปฏิบัติอยู่ในมรรคปฏิปทาที่นักปราชญ์มี
                             พระพุทธเจ้าเป็นต้น ดำเนินไปแล้วด้วยน้ำใหม่อยู่ในป่า ความตรึกเช่น
                             นี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้ฟังเสียงร่ำ
                             ร้องแห่งนกยูง และทิชาชาติในป่าและซอกเขา ลุกขึ้นจากการนอน
                             แล้ว พิจารณาธรรมโดยความไม่เที่ยงเพื่อบรรลุอมตธรรม ความตรึก
                             เช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักข้ามพ้นแม่

                             น้ำคงคา ยมุนา สรัสสดี ที่ไหลไปกระทั่งถึงบาดาล เป็นปาก
                             น้ำใหญ่น่ากลัวนัก ไปได้ด้วยฤทธิ์โดยไม่ติดขัด ความตรึกเช่นนี้
                             ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักงดเว้นความเห็น
                             ว่านิมิตงามทั้งปวงเสียโดยเด็ดขาด ขวนขวายอยู่ในฌาน แล้วทำ
                             ลายความพอใจในกามคุณทั้งหลายเสียได้
เหมือนช้างทำลายเสาตลุง
                             และโซ่เหล็กแล้ว เที่ยวไปในสงคราม ฉะนั้น ความตรึกเช่นนี้ของ

                             เราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักละความพอใจในกาม
                             คุณ
ได้บรรลุคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
                             แล้วเกิดความยินดีเปรียบเหมือนลูกหนี้ผู้ขัดสน เมื่อถูกเจ้าหนี้บีบคั้น
                             แล้ว แสวงหาทรัพย์มาได้และชำระหนี้เสร็จแล้ว พึงดีใจ ฉะนั้น
                             ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ ดูกรจิต ท่านได้อ้อน
                             วอนเราเป็นเวลาหลายปีแล้ว ว่าท่านไม่สมควรอยู่ครองเรือนเลย บัด

                             นี้เราก็ได้บวชสมประสงค์แล้ว เหตุไฉนท่านจึงละทิ้งสมถะวิปัสสนา
                             มัวแต่เกียจคร้านอยู่เล่า ดูกรจิต ท่านได้อ้อนวอนเรามาแล้วมิใช่หรือว่า
                             ฝูงนกยูงมีขนปีกอันแพรวพราว และเสียงกึกก้องแห่งธารน้ำตกตาม
                             ซอกเขา จักยังท่านผู้เพ่งฌานอยู่ในป่าให้เพลิดเพลิน เรายอมสละญาติ
                             และมิตรที่รักใคร่ในตระกูล สลัดความยินดีในการเล่นและกามคุณในโลก
                             ได้หมดแล้ว ได้เข้าถึงป่าและบรรพชาเพศนี้แล้ว ดูกรจิต ส่วน

                             ท่านไม่ยินดีต่อเราผู้ดำเนินตามเสียเลย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่าจิตนี้เป็น
                             ของเรา ไม่ใช่ของผู้อื่น จะประโยชน์อะไรด้วยการร้องไห้ร่ำพิไร
                             ในเวลาทำสงครามกับกิเลสมาร เพราะจิตทั้งหมดนี้เป็นธรรมชาติหวั่น
                             ไหว
ดังนี้ จึงได้ออกบวช แสวงหาทางอันไม่ตาย พระสัมมาสัม-
                             พุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นจอมท้าวสักกเทวราช เป็น
                             จอมสารถีฝึกนระ ตรัสสุภาษิตไว้ว่า จิตนี้กวัดแกว่งเช่นวานร ห้าม

                             ได้แสนยาก เพราะยังไม่ปราศจากความกำหนัด ปุถุชนทั้งหลายผู้ไม่รู้
                             เท่าทัน พัวพันอยู่ในกามทั้งหลาย
อันล้วนแต่เป็นของงดงาม มีรส
                             อร่อย น่ารื่นรมย์ใจ เขาเหล่านั้นเป็นผู้แสวงหาภพใหม่ กระทำ
                             แต่สิ่งไร้ประโยชน์ ชื่อว่าประสงค์ทุกข์ ย่อมถูกจิตนำไปสู่นรกโดย
                             แท้
ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราไว้ว่า ท่านจงเป็นผู้แวด
                             ล้อมด้วยเสียงร่ำร้องแห่งนกยูง และนกกระเรียน อีกทั้งเสือเหลือง

                             และเสือโคร่งอยู่ในป่า ท่านจงสละความห่วงใยในร่างกาย อย่ามีความ
                             อาลัย
เลย ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงอุตส่าห์เจริญ
                             ฌาน อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และสมาธิภาวนา จงบรรลุ
                             วิชชา ๒ ในพระพุทธศาสนา ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเรา
                             ว่า จงเจริญอัฏฐังคิกมรรคเพื่อบรรลุนิพพาน อันเป็นทางนำสัตว์ออก
                             จากโลก ให้ถึงความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นเครื่องชำระล้างกิเลส

                             ทั้งปวง ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงพิจารณาเห็นเบญจ-
                             ขันธ์
โดยอุบายอันแยบคายว่า เป็นทุกข์ จงละเหตุอันก่อให้เกิดทุกข์ จง
                             ทำที่สุดแห่งทุกข์ในอัตภาพนี้เถิด ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเรา
                             ว่า จงพิจารณาเบญจขันธ์โดยอุบายอันแยบคายว่า เป็นของไม่เที่ยง
                             เป็นทุกข์ เป็นของว่างเปล่า หาตัวตนมิได้ เป็นของวิบัติและว่า
                             เป็นผู้ฆ่า จงดับมโนวิจารณ์เสียโดยแยบคายเถิด
ดูกรจิต แต่ก่อน
                             ท่านเคยแนะนำเราว่า จงปลงผมและหนวดแล้ว ถือเอาเพศสมณะมี

                             รูปลักษณะอันแปลก ต้องถูกเขาสาบแช่ง ถือเอาบาตรเที่ยวภิกษา
                             ตามตระกูล จงประกอบตนอยู่ในคำสอนของพระบรมศาสดาผู้แสวงหา
                             คุณอันยิ่งใหญ่เถิด ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงสำรวม
                             ระวังเมื่อเวลาเที่ยวไปบิณฑบาตตามระหว่างตรอก อย่ามีใจเกี่ยวข้อง
                             ในตระกูลและกามารมณ์ทั้งหลาย
เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญเว้นจาก
                             โทษ
ฉะนั้น ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงยินดีใน
                             ธุดงคคุณทั้ง ๕ ถืออยู่ในป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร



ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2012, 05:37:02 pm »



                 

มหากัสสปเถรคาถา
   คาถาสุภาษิตของพระมหากัสสปเถระ
                [๓๙๘]       ผู้มีปัญญาเห็นว่า ไม่ควรอยู่คลุกคลีด้วยหมู่ เพราะเป็นเหตุทำใจให้
                             ฟุ้งซ่าน ได้สมาธิโดยยาก การสงเคราะห์ชนต่างๆ เป็นความลำบาก
                             ดังนี้ จึงไม่ชอบใจหมู่คณะ นักปราชญ์ไม่ควรเกี่ยวข้องกับตระกูล
                             ทั้งหลาย เพราะเป็นเหตุทำใจให้ฟุ้งซ่าน ได้สมาธิโดยยาก ผู้ที่เกี่ยวข้อง
                             กับตระกูลนั้น ย่อมต้องขวนขวายในการเข้าไปสู่ตระกูล มักติด
                             รสอาหาร ย่อมละทิ้งประโยชน์อันจะนำความสุขมาให้ นักปราชญ์

                             ได้กล่าวการกราบไหว้และการบูชาในตระกูลทั้งหลาย ว่าเป็นเปือกตม
                             และเป็นลูกศรที่ละเอียดถอนได้ยาก
บุรุษผู้เลวทรามย่อมละสักการะได้
                             ยากยิ่ง เราลงจากเสนาสนะแล้วก็เข้าไปบิณฑบาตยังนคร เราได้เข้าไป
                             หาบุรุษโรคเรื้อน ผู้กำลังบริโภคอาหารด้วยความอ่อนน้อม บุรุษโรคเรื้อน
                             นั้น ได้น้อมเข้าซึ่งคำข้าวด้วยมือโรคเรื้อน เมื่อเขาใส่คำข้าวลง นิ้วมือ
                             ของเขาก็ขาดตกลงในบาตรของเรานี้ เราอาศัยชายคาเรือน ฉันข้าวนั้น

                             อยู่ ในเวลาที่กำลังฉันและฉันเสร็จแล้ว เรามิได้มีความเกลียดชังเลย

                             ภิกษุใดไม่ดูหมิ่นปัจจัยทั้งสี่ คือ อาหารบิณฑบาตที่จะพึงลุกขึ้นยืนรับ ๑
                             บังสุกุลจีวร ๑ เสนาสนะคือโคนไม้ ๑ ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ๑ ภิกษุ
                             นั้นแล สามารถจะอยู่ในจาตุรทิศได้ในเวลาแก่ ภิกษุบางพวกเมื่อขึ้นเขา
                             ย่อมลำบาก แต่พระมหากัสสปะผู้เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีสติ
                             สัมปชัญญะ แม้ในเวลาแก่เป็นผู้แข็งแรงด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ ย่อมขึ้นไปได้

                             ตามสบาย พระมหากัสสปะผู้หมดอุปาทาน ละความหวาดกลัวภัยได้แล้ว
                             กลับจากบิณฑบาตแล้ว ขึ้นสู่ภูเขา เพ่งฌานอยู่ พระมหากัสสปะผู้หมด
                             อุปาทานเมื่อสัตว์ทั้งหลายถูกไฟไหม้อยู่ เป็นผู้ดับไฟได้แล้ว กลับจาก
                             บิณฑบาตแล้ว ขึ้นสู่ภูเขา เพ่งฌานอยู่ พระมหากัสสปะผู้หมดอุปาทาน
                             ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ กลับจากบิณฑบาตแล้ว ขึ้นสู่ภูเขา เพ่งฌาน
                             อยู่ ภูมิภาคอันประกอบด้วยระเบียบแห่งต้นกุ่มทั้งหลาย น่ารื่นรมย์ใจ

                             กึกก้องด้วยเสียงช้างร้อง น่ารื่นรมย์ ล้วนแล้วด้วยภูเขา ย่อมทำให้เรา
                             ยินดี ภูเขามีสีเขียวดุจเมฆงดงาม มีธารน้ำเย็นใสสะอาด ดารดาษไป
                             ด้วยหญ้ามีสี เหมือนแมลงทับทิมทอง ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขา
                             อันสูงตระหง่านแทบจดเมฆเขียวชะอุ่ม เปรียบปานดังปราสาท กึกก้อง
                             ด้วยเสียงช้างร้อง น่ารื่นรมย์นัก ย่อมยังเราให้ยินดี ภูเขาที่ฝนตกรด
                             แล้ว มีพื้นน่ารื่นรมย์ เป็นที่อาศัยของเหล่าฤาษี เซ็งแซ่ด้วยเสียงนกยูง

                             ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ สถานที่เหล่านั้นเหมาะสำหรับเราผู้ยินดีในการเพ่ง
                             ฌาน มีใจเด็ดเดี่ยว มีสติ เหมาะสำหรับเราผู้ใคร่ประโยชน์ รักษาตน
                             ดีแล้ว ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร เหมาะสำหรับเราผู้ปรารถนาความผาสุก
                             มีใจเด็ดเดี่ยว เหมาะสำหรับเราผู้ปรารถนา ประกอบความเพียร มีใจ
                             แน่วแน่ ศึกษาอยู่ ภูเขาที่มีสีดังดอกผักตบ ปกคลุมด้วยหมู่เมฆบน
                             ท้องฟ้า เกลื่อนกล่นด้วยหมู่นกต่างๆ ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขาอัน

                             ไม่เกลื่อนกล่นด้วยผู้คน มีแต่หมู่เนื้ออาศัย ดารดาษด้วยหมู่นกต่างๆ
                             ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขาที่มีน้ำใสสะอาด มีแผ่นหินเป็นแท่งทึบ
                             เกลื่อนกล่นด้วยค่างและมฤคชาติ ดารดาษไปด้วยสาหร่าย ย่อมยังเรา
                             ให้รื่นรมย์ เราผู้มีจิตตั้งมั่น พิจารณาเห็นธรรมโดยชอบ ย่อมไม่มี
                             ความยินดีด้วยดนตรีเครื่อง ๕ เช่นนั้น ภิกษุไม่พึงทำการงานให้มากนัก
                             พึงเว้นคนผู้มิใช่กัลยาณมิตรเสีย ไม่ควรขวนขวายในลาภผล ท่านผู้

                             ปฏิบัติเช่นนั้น ย่อมจะต้องขวนขวายและติดในรสอาหาร ย่อมละทิ้ง
                             ประโยชน์อันจะนำความสุขมาให้ ภิกษุไม่พึงทำการงานให้มากนัก
                             พึงเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เสีย เมื่อภิกษุขวนขวายในการงานมาก
                             ก็จะต้องเยียวยาร่างกายลำบาก ผู้มีร่างกายลำบากนั้น ย่อมไม่ได้
                             ประสบความสงบใจ ภิกษุไม่รู้สึกตนด้วยเหตุสักว่าการท่องบ่น
                             พุทธวจนะ ย่อมท่องเที่ยวชูคอ สำคัญตนประเสริฐกว่าผู้อื่น ผู้ใด

                             บิณฑบาตไม่ประเสริฐ เป็นพาล แต่สำคัญตนว่าประเสริฐกว่าเขาเสมอเขา
                             นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมไม่สรรเสริญผู้นั้น ซึ่งเป็นผู้มีใจกระด้างเลย ผู้ใด
                             ไม่หวั่นไหวเพราะมานะ ๓ อย่าง คือ ว่าเราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา ๑
                             เสมอเขา ๑ เลวกว่าเขา ๑
นักปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญผู้นั้นแหละ
                             ว่า เป็นผู้มีปัญญา มีวาจาจริง ตั้งมั่นดีแล้วในศีลทั้งหลาย และว่าประกอบ
                             ด้วยความสงบใจ ภิกษุใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย

                             ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้เหินห่างจากพระสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดิน ฉะนั้น
                             ภิกษุเหล่าใดเข้าไปตั้งหิริและโอตตัปปะไว้ชอบทุกเมื่อ มีพรหมจรรย์อัน
                             งอกงาม ภิกษุเหล่านั้นมีภพใหม่สิ้นแล้ว ภิกษุผู้ยังมีใจฟุ้งซ่าน กลับกลอก
                             ถึงจะนุ่งห่มผ้าบังสุกุล ภิกษุนั้นย่อมไม่งดงามด้วยผ้าบังสุกุลนั้น เหมือน
                             กับวานรคลุมด้วยหนังราชสีห์ ฉะนั้น ส่วนภิกษุผู้มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ไม่
                             กลับกลอก มีปัญญา เครื่องรักษาตน สำรวมอินทรีย์ ย่อมงดงามเพราะ

                             ผ้าบังสุกุล ดังราชสีห์ในถ้ำ ฉะนั้น เทพเจ้าผู้มีฤทธิ์ มีเกียรติยศเป็นอันมาก
                             ประมาณหมื่นและพรหมทั้งปวง ได้พากันมายืนประนมอัญชลี นอบน้อม
                             ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้มีฌานใหญ่ มีใจตั้งมั่น
                             เปล่งวาจาว่า ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ขอนอบน้อมแด่ท่าน ข้าแต่
                             ท่านผู้เป็นอุดมบุรุษ ขอนอบน้อมแด่ท่าน ท่านย่อมเข้าฌานอยู่ เพราะ
                             อาศัยอารมณ์ใด ข้าพเจ้าทั้งหลาย ย่อมรู้ไม่ถึงอารมณ์เหล่านั้นของท่าน

                             

                             น่าอัศจรรย์จริงหนอ วิสัยของท่านผู้รู้ทั้งหลาย ลึกซึ้งยิ่งนัก ข้าพเจ้า
                             ทั้งหลายผู้มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ นับว่าเป็นผู้เฉียบแหลม ดุจนายขมังธนู
                             ก็ยังรู้ไม่ถึง ความยิ้มแย้มได้ปรากฏมีแด่ท่านพระกัปปินเถระ เพราะ
                             ได้เห็นท่านพระสารีบุตร ผู้ควรแก่สักการะบูชา อันหมู่ทวยเทพบูชาอยู่
                             เช่นนั้น ในเวลานั้น ตลอดทั่วพุทธอาณาเขต ยกเว้นแต่สมเด็จพระ
                             มหามุนีองค์เดียวเท่านั้น เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในทางธุดงคคุณ ไม่มี

                             ใครเทียบเท่าเลย เราเป็นผู้คุ้นเคยกับพระบรมศาสดา เราทำคำสอนของ
                             พระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำ
                             ไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว พระสมณโคดมผู้ทรงพระคุณหาปริมาณมิได้ มีพระทัย
                             น้อมไปในเนกขัมมะ ทรงสลัดภพทั้ง ๓ ออกได้แล้ว ย่อมไม่ทรง
                             ติดอยู่ด้วยจีวรบิณฑบาตและเสนาสนะ เปรียบเหมือนบัวไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ

                             ฉะนั้น พระองค์ทรงเป็นจอมนักปราชญ์ มีสติปัฏฐานเป็นพระศอ
                             มีศรัทธาเป็นพระอรหัตถ์ มีปัญญาเป็นพระเศียร ทรงพระปรีชามาก
                             ทรงดับเสียแล้วซึ่งกิเลสแลกองทุกข์ตลอดกาลทุกเมื่อ.
                             ในจัตตาฬีสนิบาตนี้ มีพระมหากัสสปเถระองค์เดียวเท่านั้น ได้ภาษิต
                             คาถาไว้ ๔๐ คาถา.


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2012, 04:45:43 pm »



                 

 อานันทเถรคาถา
   คาถาสุภาษิตของพระอานันทเถระ
                [๓๙๗]       บัณฑิต ไม่ควรทำตนให้เป็นมิตรสหายกับคนที่ชอบส่อเสียด มักโกรธ
                             ตระหนี่ และผู้ปรารถนาให้ผู้อื่นพินาศ เพราะการสมาคมกับคนชั่ว
                             เป็นความลามก แต่บัณฑิตควรทำตนให้เป็นมิตรสหายกับคนผู้มีศรัทธา
                             มีศีลน่ารัก มีปัญญา และเป็นคนได้สดับเล่าเรียนมามาก เพราะการ
                             สมาคมกับคนดี ย่อมมีแต่ความเจริญอย่างเดียว เชิญดูร่างกายอันมี
                             กระดูก ๓๐๐ ท่อน ซึ่งมีเอ็นใหญ่น้อยผูกขึ้นเป็นโครงตั้งไว้ อันบุญกรรม
                             ตบแต่งให้วิจิตร มีแผลทั่วทุกแห่ง กระสับกระส่าย
คนโง่เขลาพากัน

                             ดำริเป็นอันมาก ไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่น พระอานนทเถระผู้โคตมโคตร
                             เป็นผู้ได้สดับมามาก มีถ้อยคำไพเราะ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้า
                             ปลงภาระลงแล้ว บรรลุอรหัต สำเร็จการนอน พระอานนทเถระสิ้นอาสวะ
                             แล้ว ปราศจากกิเลสเครื่องเกาะเกี่ยวแล้ว ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง
                             แล้ว ดับสนิท ถึงฝั่งแห่งชาติและชรา ทรงไว้แต่ร่างกายอันมีในที่สุด
                             ธรรมทั้งหลายของพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ตั้งอยู่แล้ว
                             ในบุคคลใด บุคคลนั้น คือ พระอานนทเถระผู้โคตมะ ชื่อว่าย่อมตั้งอยู่

                             ในมรรคเป็นทางไปสู่นิพพาน พระอานนทเถระได้เรียนธรรมจาก
                             พระพุทธเจ้ามา ๘๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ ได้เรียนมาจากสำนักภิกษุมีพระธรรม
                             เสนาบดีเป็นต้น ๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ จึงรวมเป็นที่คล่องปากขึ้นใจ
                             ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ คนที่เป็นชายมีการศึกษาเล่าเรียนมาน้อย ย่อม
                             แก่เปล่า
เหมือนกับโคที่กำลังแต่เขาไม่ได้ใช้งาน ฉะนั้น เนื้อย่อม
                             เจริญแก่เขา ปัญญาไม่เจริญแก่เขา ผู้ใดเล่าเรียนมามาก ดูหมิ่นผู้ที่
                             ศึกษาเล่าเรียนมาน้อยด้วยการสดับ แต่เขาไม่ได้ปฏิบัติตามที่เล่าเรียนมา

                             ย่อมปรากฏแก่เรา เหมือนคนตาบอดถือดวงไฟไป ฉะนั้น บุคคลควร
                             เข้าไปนั่งใกล้ผู้ที่ศึกษามามาก แต่ไม่ควรทำสุตะที่ตนได้มาให้พินาศ
                             เพราะสุตะที่ตนได้มานั้น เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
เพราะฉะนั้น
                             จึงควรเป็นผู้ทรงธรรม บุคคลผู้รู้อักษรทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย รู้อรรถ
                             แห่งภาษิต ฉลาดในนิรุติและบท ย่อมเล่าเรียนธรรมให้เป็นการเล่าเรียนดี
                             และพิจารณาเนื้อความ เป็นผู้กระทำความพอใจ ด้วยความอดทน
                             พยายามพิจารณา ตั้งความเพียรในเวลาพยายาม มีจิตตั้งมั่นด้วยดี

                             ในภายใน
บุคคลควรคบหาท่านผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีปัญญา เป็น
                             สาวกของพระพุทธเจ้า หวังการรู้แจ้ง ธรรมเช่นนั้นเถิด บุคคลผู้เป็น
                             พหูสูต ทรงธรรม เป็นผู้รักษาคลังพระธรรมแห่งพระพุทธเจ้า ผู้ทรง
                             แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นดวงตาของโลกทั่วไป ผู้ที่เป็นพหูสูตนั้น
                             เป็นผู้อันมหาชนควรบูชา ภิกษุมีธรรมเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในธรรม
                             ค้นคว้าธรรม ระลึกถึงธรรม ย่อมไม่เสื่อมไปจากสัทธรรมเมื่อกายและ
                             ชีวิตของตนเสื่อมไป
  ภิกษุผู้หนักในความตระหนี่กาย ติดอยู่ด้วยความ

                             สุขทางร่างกาย ไม่ขวานขวายบำเพ็ญเพียร ความผาสุกทางสมณะจักมี
                             แต่ที่ไหน ทิศทั้งหมดไม่ปรากฏ ธรรมทั้งหลายไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า
                             ในเมื่อท่านธรรมเสนาบดีผู้เป็นกัลยาณมิตร นิพพานแล้ว โลกทั้งหมด
                             นี้ปรากฏเหมือนความมืดมน กายคตาสติย่อมนำมาซึ่งประโยชน์โดย
                             ส่วนเดียว ฉันใด กัลยาณมิตรเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้มีสหาย
                             ล่วงลับไปแล้ว มีพระศาสดานิพพานไปแล้ว ฉันนั้น
มิตรเก่าพากัน
                             ล่วงลับไปแล้ว จิตของเราไม่สมาคมด้วยมิตรใหม่ วันนี้เราจะเพ่งฌาน
                             อยู่ผู้เดียว เหมือนกับนกที่อยู่ในรังในฤดูฝน ฉะนั้น.

                พระผู้มีพระภาคตรัสกะพระอานนท์ด้วยพระคาถา ๑ พระคาถา ความว่า
                             เธออย่าห้ามประชาชนเป็นอันมาก ที่พากันมาแต่ต่างประเทศ ในเมื่อ
                             ล่วงเวลาเทศนาเลย เพราะประชุมชนเหล่านั้นเป็นผู้มุ่งจะฟังธรรม
                             จงเข้ามาหาเราได้ เวลานี้เป็นเวลาที่จะเห็นเรา.

                พระอานนทเถระจึงกล่าวเป็นคาถาต่อไปว่า
                             พระศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงประทานโอกาสให้ประชุมชนที่พากันมาแต่
                             ต่างประเทศ ในเมื่อล่วงเวลาเทศนา ไม่ทรงห้ามเมื่อเรายังเป็นพระเสข-
                             บุคคล
อยู่ ๒๕ ปี กามสัญญาไม่เกิดขึ้นเลย เชิญดูความที่ธรรมเป็นธรรมดี
                             เมื่อเรายังเป็นพระเสขบุคคลอยู่ ๒๕ ปี โทษสัญญาไม่เกิดขึ้นเลย เชิญดู
                             ความที่ธรรมเป็นธรรมดี เราได้อุปฐากพระผู้มีพระภาคด้วยเมตตากายกรรม
                             เหมือนพระฉายาติดตามพระองค์อยู่ ๒๕ ปี เราอุปฐากพระผู้มีพระภาค
                             ด้วยเมตตาวจีกรรม เหมือนพระฉายาติดตามพระองค์อยู่ ๒๕ ปี เรา

                             อุปฐากพระผู้มีพระภาคด้วยเมตตา มโนกรรม เหมือนพระฉายาติดตาม
                             พระองค์อยู่ ๒๕ ปี เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดำเนินไป เราก็ได้เดินตาม
                             ไปเบื้องพระปฤษฎางค์ของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่
                             ฌานเกิดขึ้นแก่เรา เราเป็นผู้มีกิจที่จะต้องทำ ยังเป็นพระเสขะ ยังไม่
                             บรรลุอรหัต
พระศาสดาพระองค์ใดเป็นผู้ทรงอนุเคราะห์เรา พระศาสดา
                             พระองค์นั้น ได้เสด็จปรินิพพานไปเสียก่อนแล้ว เมื่อพระสัมมา
                             สัมพุทธเจ้าผู้ถือความเป็นผู้ประเสริฐโดยอาการทั้งปวง เสด็จปรินิพพาน
                             แล้ว ครั้งนั้น ได้เกิดมีความหวาดเสียวและได้เกิดขนพองสยองเกล้า.

                พระสังคีติกาจารย์เมื่อจะสรรเสริญพระอานนทเถระ ได้รจนาคาถา ๓ คาถา ความว่า
                             พระอานนทเถระเป็นพหูสูต ทรงธรรม เป็นผู้รักษาคลังพระธรรมของ
                             พระพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาพระคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นดวงตาของโลก
                             ทั่วไป ปรินิพพานไปเสียแล้ว พระอานนทเถระเป็นพหูสูต ทรงธรรม
                             เป็นผู้รักษาคลังพระธรรม ของพระพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
                             เป็นดวงตาของชาวโลกทั่วไป เป็นผู้กำจัดความมืดมนที่เป็นเหตุทำให้
                             ดังคนตาบอดได้แล้ว พระอานนทเถระเป็นผู้มีคติ มีสติและฐิติ เป็นผู้
                             แสวงคุณ เป็นผู้ทรงจำพระสัทธรรมไว้ได้ เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ.


                พระอานนทเถระ ก่อนแต่นิพพานได้กล่าวคาถา ความว่า
                             เรามีความคุ้นเคยกับพระศาสดา เราทำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จ
                             แล้ว ปลงภาระหนักลงแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพได้แล้ว.
   
                พระเถระ ๓ รูปนี้ คือ พระปุสสเถระ ๑ พระสารีบุตรเถระ ๑ พระอานนทเถระ ๑
                ท่านนิพนธ์คาถาไว้ในติงสนิบาตนั้น รวม ๑๐๕ คาถา ฉะนั้นแล.