ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 01, 2015, 08:36:57 pm »PICS BY Saravut Whanset
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเสพ จงคบ
สารีบุตร และ โมคคัลลานะ เถิด ..................
สารีบุตรพอที่จะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง
เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ซึ่งอริยสัจ ๔ ได้โดยพิสดาร" พุทธพจน์
(สังฆานุสติ.....ฟังคำพุทธสาวกได้)
---------------------------------------------------------
[๖๙๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ได้ประกาศธรรมจักรอันไม่มี
ธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี
อันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดาหรือมาร หรือพรหม
หรือใครๆ ในโลก ยังไม่เคยประกาศ ได้แก่ บอก แสดง
บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔
อริยสัจ ๔ เหล่าไหน คือ บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายซึ่ง
ทุกขอริยสัจ
ทุกขสมุทัยอริยสัจ
ทุกขนิโรธอริยสัจ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ได้ประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรม
อื่นยิ่งกว่าที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันสมณะ
หรือพราหมณ์ หรือเทวดาหรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก
ยังไม่เคยประกาศ ได้แก่ บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ นี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเสพ จงคบสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด
ทั้งสองรูปนี้เป็นบัณฑิตภิกษุ ผู้อนุเคราะห์ผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์
สารีบุตรเปรียบเหมือนผู้ให้กำเนิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนผู้บำรุง
เลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว สารีบุตรย่อมแนะนำในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะ
ย่อมแนะนำในผลชั้นสูง
สารีบุตรพอที่จะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ซึ่งอริยสัจ ๔ ได้โดยพิสดาร
พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคต ได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุกจาก
อาสนะเข้าไปยังพระวิหาร ฯ
"สัจจวิภังคสูตร"
>>F/B Sarun Hengtubtim >>>พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
***********************************************
พระไตรปิฎก
มหามกุฏราชวิทยาลัยและอรรถกถาแปล
ชุด91เล่ม
เล่ม33 หน้า407
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต
เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 407
---สูตรที่ ๖---
ว่าด้วยบริษัทที่ดื้อด้าน และไม่ดื้อด้าน
[๒๙๒] ๔๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ๑ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้าน๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็บริษัทที่ดื้อด้าน ไม่ได้รับการสอบถามแนะนำเป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ
เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสัญญตธรรม ไม่ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง
อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรม
ที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้
เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร
///มีในภายนอก ซึ่งสาวกได้ภาษิตไว้///
--------(พาหิรกา สาวกภาสิตา)--------- ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง
อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรม ที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ
ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว
ไม่สอบสวน ไม่เที่ยวได้ถามกันและกันว่า
พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ไม่ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรม เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บริษัทนี้ เรียกว่าบริษัทดื้อด้าน ไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ.
http://www.tripitaka91.com/91book/book33/401_450.htm#407
////-------อรรถกถาสูตรที่ ๖
ในสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
โอกฺกาจิตวินีตา ได้แก่ ฝึกสอนยาก.
บทว่า โน ปฏิปุจฺฉาวินีตา
ได้แก่ ไม่เป็นผู้รับฝึกสอนโดยสอบถาม.
บทว่า คมฺภีรา ได้แก่ ลึกโดยบาลี เช่นจุลสเวทัลลสูตร.
บทว่า คมฺภีรตฺถา ได้แก่ ลึกโดยอรรถ
เช่นมหาเวทัลลสูตร.
บทว่า โลกุตฺตรา ได้แก่ แสดงอรรถเป็นโลกุตระ.
บทว่า สุญฺตปฏิสยุตฺตา ได้แก่ ประกาศเพียงที่เป็นสุญญตธรรม ๗
เท่านั้น เช่นอสังขตสังยุต.
บทว่า น อญฺาจิตฺต อุปฏฺเปนฺติ ได้แก่
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ คือหลับเสียบ้าง ส่งใจไปที่อื่นเสียบ้าง.
บทว่า อุคฺคเหตพฺพ ปริยาปุณฺตพฺพ ได้แก่ ที่จะพึงถือเอาด้วย ที่จะพึงเล่าเรียนด้วย.
บทว่า กวิกตา ได้แก่ ที่กวีแต่ง.
บทว่า กาเวยฺยา นอกนี้
เป็นไวพจน์ของบทว่า กวิกตา. นั้นเอง. บทว่า จิตฺตกฺขรา แปลว่า
มีอักษรวิจิตร.
บทว่า จิตฺตพฺยญฺชนา นอกนี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า จิตฺตกฺขรา นั้นเหมือนกัน.
บทว่า พาหิรกา ได้แก่
เป็นสุตตันตะนอกพระศาสนา.
บทว่า สาวกภาสิตา ได้แก่ ที่พวกสาวกของพาหิรกศาสดาเหล่านั้นกล่าวไว้.
บทว่า สุสฺสูสนฺติ ความว่า มีใจแช่มชื่นตั้งใจ
ฟังอย่างดี เพราะมีอักษรวิจิตร และสมบูรณ์ด้วยบท.
บทว่า น เจว
อญฺมญฺ ปฏิปุจฺฉนฺติ ความว่า มิได้ถามเนื้อความ อนุสนธิ หรือ
เบื้องต้นเบื้องปลายกัน และกัน.
บทว่า น ปฏิวิจรนฺติ ความว่า
มิได้เที่ยวไปไต่ถาม.
บทว่า อิท กถ ความว่า พยัญชนะนี้ พึงเข้าใจอย่างไร
คือพึงเข้าใจว่าอย่างไร.
บทว่า อิมสฺส กฺวตฺโถ ความว่า ภาษิตนี้มีเนื้อ
ความอย่างไร มีอนุสนธิอย่างไร มีเบื้องต้นและเบื้องปลายอย่างไร
บทว่าอวิวฏ ได้แก่ ที่ยังปกปิด.
บทว่า น วิรรนฺติ ได้แก่ไม่เปิดเผย
บทว่าอนุตฺตานีกต ได้แก่ที่ไม่ปรากฏ.
บทว่า น อุตฺตานีกโรนฺติ ความว่า
มิได้ทำให้ปรากฏ.
บทว่า กงฺขาฏฺานีเยสุ ได้แก่ อันเป็นเหตุแห่งความสงสัย.
ฝ่ายขาว ก็พึงทราบตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
http://www.tripitaka91.com/91book/book33/401_450.htm#409
โปรดค้นคว้าและดูเทียบเคียงในบาลีเพิ่มเติม
>>> F/B สาวก ภูมิ
**********************************************************
พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
595 เหตุที่ทรงแสดงธรรม
อ้างอิงจากหน้า
http://www.84000.org/true/595.html
จากสารบัญ
http://www.84000.org/true/index.html
ปัญหา เพราะเหตุไรพระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรม
และทรงอนุญาตให้พระสาวกแสดงธรรมโปรดคนอื่น ?
พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นพระตถาคตหรือไม่เห็นก็ตาม ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว หรือไม่ได้ฟังก็ตาม ย่อมไม่หยั่งลงสู่ความถูกต้องและความแน่นอนมั่งคงในกุศลธรรมทั้งหลาย
"บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นพระตถาคตหรือไม่เห็นก็ตาม ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว หรือไม่ได้ฟังก็ตาม ย่อมหยั่งลงสู่ความความแน่นอนและความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลายเอง
"บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ เห็นพระตถาคต...ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว จึงหยั่งลงสู่ความแน่นอนและความถูกต้องมั่งคงในกุศลธรรมทั้งหลายเมื่อไม่ได้เห็น...ไม่ได้ฟัง...ย่อมไม่หยั่งลงสู่ความแน่นอนและถูกต้อง...
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนั้น เพราะเห็นแก่บุคคลผู้ได้เห็นพระตถาคต...ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว จึงหยั่งลงสู่ความแน่นอน...ถูกต้องในกุศลธรรม เมื่อไม่ได้เห็น...ไม่ได้ฟัง...ย่อมไม่หยั่งลง
...เราจึงอนุญาตการแสดงธรรมไว้และก็เพราะอาศัยบุคคลนี้ จึงควรแสดงธรรมแม้แก่บุคคลอื่น ๆ ด้วย..."
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,6430.0.html