พระราชกรณียกิจในวันที่ 14 แห่งการทรงพระผนวช(วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2499)
เช้ามืดวันนี้ เป็นวันที่ชาวบ้านร้านตลาดแถวบางลำพูต่างพากันตื่นเต้นงงงันอย่างไม่คาดฝัน แล้วก็พลันเปลี่ยนเป็นความปลื้มปีติโสมนัสอย่างล้นเหลือ เมื่อจู่ ๆ พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงรับบิณฑบาต อยู่เบื้องหน้าของพวกเขา เป็นครั้งแรกในชีวิตที่พวกเขาได้ถวายบิณฑบาตแด่พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ผู้เป็นพระมหากษัตริย์ที่เคารพรักและเทิดทูนอยู่เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมพวก เขามาโดยตลอด
แน่ละ ภาพที่พระองค์ประทับยืนรอรับบิณฑบาตอยู่เบื้องหน้า ด้วยสีพระพักตร์ที่อ่อนโยน สงบสำรวมเยี่ยงพระภิกษุสงฆ์อื่น ๆ จะเป็นภาพที่ติดตาตรึงใจพวกเขาไปไม่มีวันลบเลือน
พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราช ดำเนินออกรับบิณฑบาตครั้งนี้โดยไม่มีหมายกำหนดการ ไม่มีผู้ใดล่วงรู้และคาดคิดมาก่อน พรพะองค์เสด็จพระราชดำเนินออกทางประตูหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร ด้านพระตำหนักเพชร พร้อมด้วยพระโศภนคณาภรณ์ ซึ่งเป็นพระพี่เลี้ยงและพระสหจรทั้ง 5 รูป แล้วทรงพระดำเนินด้วยพระบาทเปล่าเยี่ยงพระสงฆ์ธรรมดาไปตามถนนสายบางลำพู ทรงรับบิณฑบาตจากประชาชนที่ใส่บาตรอยู่เป็นประจำที่ถนนพระสเมรุ แล้วประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินต่อไปทางสะพานเฉลิมวันชาติ ผ่านไปทางหน้าวังสวนกุหลาบ ถนนราชวิถี ถนนเลียบคลองประปา อ้อมไปทางสะพานควาย แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับทางถนนพหลโยธิน เข้าถนนพญาไท ทรงแวะรับบิณฑบาตที่บริเวณใกล้ๆ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จากนั้นทรงแวะรับบิณฑบาตอีกครั้งที่สี่แยกราชเทวีถนนเพชรบุรี
ไม่มีครั้ง ใดอีกแล้วในชีวิตที่ประชาชนทั้งชาย หญิง เด็ก คนชรา ผู้ซึ่งออกมาใส่บาตรวันนั้น จะรู้สึกตื่นเต้นและปลื้มปีติเท่าครั้งนี้ เพราะไม่มีใครคิดมาก่อนว่าชาตินี้จะมีโอกาสได้ทำบุญใส่บาตรถวายพระสงฆ์ที่ เป็นถึง “พระเจ้าแผ่นดิน”
เล่ากันว่า บางคนก้มหน้าก้มตาใส่บาตรพระโดยไม่ได้มองหน้าว่าพระที่มายืนรับบิณฑบาตจากตน เป็นใคร แต่พอเงยหน้าขึ้นมองเห็นว่าเป็นพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็แทบ เป็นลมหมดสติไปด้วยความตื่นเต้นตกใจ มือไม้อ่อนแทบจะคอนทัพพีตักข้าวไม่ไหว พอรู้สึกตัวก็ทรุดลงกราบแทบพระบาทนิ่งอยู่อย่างนั้น จนเสด็จพระราชดำเนินผ่านไปแล้ว ยังลุกไม่ขึ้น คนอื่นต้องมาฉุดประคองให้ลุกขึ้นยืน
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงล้นเกล้าล้น กระหม่อมพสกนิกรชาวไทยที่ได้เสด็จพระราชดำเนินออกรับบิณฑบาตในครั้งนี้ เพราะเป็นโอกาสแรก โอกาสเดียว และโอกาสสุดท้ายในชีวิตของพวกเขาเหล่านั้น ที่ได้มีโอกาสใส่บาตรถวายพระภิกษุที่เป็นพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าของพวกเขา
จากนั้นจึงประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนิน กลับวัดบวรนิเวศวิหารแต่เมื่อถึงหน้าวัด ก็ทรงต้องเสด็จพระราชดำเนินลงจากรถยนต์พระที่นั่งอีกครั้งเพื่อทรงรับ บิณฑบาตจากประชาชนที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรออยู่ที่หน้าวัด
อาหารที่ทรงรับบิณฑบาตในวันนั้น ก็เป็นอาหารที่ชาวบ้านใส่บาตรอยู่ตามปกติคือ ข้าวสุก เครื่องในไก่ผัดขิง ผัดถั่วฝักยาว กุนเชียง ผัดหอมหัวใหญ่กับหมู เนื้อทอด ปลาสลิดเค็มทอด ปลาทูทอด ส่วนของหวานก็ได้แก่ ขนมครก ขนมถั่วแปบ ขนมบ้าบิ่น ส้มเขียวหวาน กล้วยหอม กล้วยไข่ โรตี ขนมเค้ก และขนมปังทาเนย นอกจากนั้นก็มีดอกไม้ ธูป เทียน
พระองค์ทรงแบ่งอาหารที่ทรงรับบิณฑบาตมาออกถวายสมเด็จพระสังฆราชส่วนหนึ่ง นอกจากนั้นพระองค์ได้เสวยในมื้อพระกระยาหารเพล
หลังจากเสด็จลงพระอุโบสถทรงทำวัตรเช้า
และทรงสดับวินัยมุขเรื่อง “กาลิก 4” ซึ่ง
พระครูวิสุทธิธรรมภาณอ่านถวายแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงสักการะพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปสำคัญในวัด บวรนิเวศวิหาร
เวลา 16.00 น. พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักปั้นหยา ในการพระราชพิธีทรงลาพระผนวช
ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการแล้ว ทรงประเคนผ้าไตรแก่พระราชาคณะ 7 รูป ซึ่งจะเจริญพระพุทธมนต์ พระสงฆ์ทั้งนั้นไปครองผ้า แล้วกลับมานั่งยังอาสนสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว เสด็จพระราชดำเนินขึ้นพระตำหนักที่ประทับ
ในตอนเย็น เสด็จลงพระอุโบสถทรงทำวัตรเย็น อันเป็นกิจประจำของพระสงฆ์เสร็จแล้วทรงสดับพระธรรม เรื่อง “
บุญกิริยาวัตถุ 3 บุญกิริยาวัตถุ 10” ซึ่ง
พระจมื่นมานิตฯ อ่านถวาย จากนั้น
พระพรหมมุนีและพระโศภนคณาภรณ์ขึ้นเฝ้าถวายธรรม ณ พระตำหนักปั้นหยา จบแล้วเสด็จพระราชดำเนินขึ้นนมัสการพระแล้วเสด็จเข้าที่พระบรรทม
ปัญหาเกี่ยวกับธรรมะที่
พระพรหมมุนีและพระโศภนคณาภรณ์ ถวายในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2499 คือ
ขันธ์ 1 และขันธ์ 4 หมายถึงอะไร
ขันธ์ 1 คือ รูป
ขันธ์ 4 คือ นาม ซึ่งประกอบด้วย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จิต คือธรรมะที่ให้สำเร็จความคิด แต่ความคิดกับจิตไม่ใช่อันเดียวกัน
ความคิดจะมีขึ้นได้เพราะอาศัยจิต ถ้าไม่มีจิต ความคิดก็ไม่มี
จิตไม่ใช่สังขาร ความคิดเป็นสังขาร
ถ้าจิตเป็นสังขารแล้ว ความหลุดพ้นจากทุกข์ก็มีไม่ได้
เพราะความคิดเป็นทุกขสัจจะรู้ แบ่งออกดังนี้ คือ1. รู้
มีอาการ ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น รู้ซึ่งอารมณ์ รู้คุณ รู้โทษ รู้เหตุ รู้ผล
จิตเข้าสู่
มโนทวาร2. รู้
ไม่มีอาการ รู้นิ่ง ไม่มีอารมณ์เลย รู้หยุด รู้วาง รู้โปร่ง รู้ปล่อย
รู้อย่างนี้จิตไม่มาเกี่ยวกับทวาร เมื่อจิตไม่เข้าเกี่ยวกับทวาร อารมณ์ตามไปไม่ถึง
รู้ตัวเองทางธรรม โดยภาวะเรียกว่า อัญญาหรือไม่เป็นภาวะ ก็เรียกว่า มุนี คือ ผู้รู้ พุทโธ คือ ผู้ตื่นตถาคโต คือ ผู้บรรลุสัจธรรม วิมุตติโต คือ ผู้หลุดพ้นพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ ต่างกันอย่างไร
พระพุทธเจ้าละได้ซึ่งกิเลสและวาสนา
พระสาวกยังละวาสนาไม่ได้ ละได้แต่กิเลสอย่างเดียววาสนา ทางธรรมหมายเอาอาการความประพฤติที่เคยชินมาแล้ว แต่ไม่มีเจตนาคำว่าวาสนานี้ไม่ตรงกับภาษาที่ใช้กันซึ่งแปลว่ามีบุญ
คำว่า
พระอรหันต์ แปลว่า ผู้หมดข้อลี้ลับ ไม่มีข้อซ่อนเร้นอยู่ภายใน
เป็นผู้ควรเคารพบูชา สรรเสริญ เป็นผู้ห่างไกล
จากกิเลส (สันดานของมนุษย์)พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
อยู่ที่ไหนอยู่เหนือโลก จิตเข้าสู่นิพพาน คือจิตพ้นโลกนิพพาน พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ไปรวมกัน
อยู่ที่ไหน หรือต่างองค์ต่างไป
ไม่สามารถตอบได้
เพราะนิพพานพ้นโลกไปแล้ว หมดสมมุติไปแล้ว ไม่สามารถทราบได้
ความว่ารวมหรือแยกนั้นเป็นเรื่องของโลก
ความไม่กังวล ความไม่ยึดถือ นี่คือนิพพานที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ บางส่่วนจาก >>> พระราชกรณียกิจของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ภูมิพโลภิกฺขุ) ธรรมราชา แหล่งข้อมูล :
หนังสือทรงพระผนวช จัดพิมพ์โดยโครงการสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทย ปี 2542
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย รวบรวม/เรียบเรียง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
ที่มา : มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย -http://www.mbu.ac.th/นำมาแบ่งปันโดย golfreeze
อ่านต่อ >>> http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=532.0