ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Durbintans
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2015, 04:19:35 pm »

อันนี้ผมยังไม่ค่อยเข้าใจ งง อยู่หน่อยๆ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2015, 05:43:51 pm »

" ว่าด้วยผู้มีอุปการะมาก ๓ จำพวก "

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล (อาจารย์) ๓ นี้
เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล (ศิษย์)
บุคคล (อาจารย์) ๓ นี้คือใคร

คือ บุคคล (ศิษย์) อาศัยบุคคล (อาจารย์) ใด
จึงได้ถึงพระพุทธเจ้า ... พระธรรม ...พระสงฆ์
เป็นสรณะ บุคคล (อาจารย์) นี้
เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล(ศิษย์) นี้

อนึ่งอีก ภิกษุทั้งหลาย บุคคล (ศิษย์)
อาศัยบุคคล (อาจารย์) ใดจึงรู้ตามจริงว่า
นี่ทุกข์ ... นี่เหตุเกิดทุกข์ ... นี่ความดับทุกข์ ...
นี่ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
บุคคล (อาจารย์) นี่
เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล(ศิษย์) นี้

อนึ่งอีก ภิกษุทั้งหลาย บุคคล (ศิษย์)
อาศัยบุคคล (อาจารย์) ใด
จึงกระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะ
สิ้นอาสวะทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเอง
อยู่ในปัจจุบันนี่ บุคคล (อาจารย์)
นี่เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล (ศิษย์) นี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าบุคคลอื่น
จะมีอุปการะมากแก่บุคคล (ศิษย์) นี้
ยิ่งกว่าบุคคล ๓ นี่ไม่มี

อนึ่ง เรากล่าวว่า บุคคล (ศิษย์) นี้
จะทำการสนองคุณแก่บุคคล (อาจารย์) ๓ นี้
ไม่ได้ง่ายเลย แต่เพียงด้วยการ กราบ ลุกรับ
ทำอัญชลี สามีจิกรรม และคอยให้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะและยาแก้ไข้.

พหุการสูตร (เล่ม ๓๔ หน้า ๗๘)
..
..
อรรถกถาพหุการสูตร
บทว่า ตโยเม ภิกฺขเว ปุคฺคลา
ได้แก่บุคคลผู้เป็นอาจารย์ ๓ จำพวก.

บทว่า ปุคฺคลสฺส พพุการา ได้แก่
ผู้มีอุปการะมากแก่คนผู้เป็นอันเตวาสิก

บทว่า พุทฺธ ได้แก่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า.

บทว่า สรณคโต โหติ ความว่า
ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง.

บทว่า ธมฺม ได้แก่ นวโลกุตรธรรม
พร้อมทั้งแบบแผน (พระปริยัติธรรม).

บทว่า สฆ ได้แก่ ชุมนุมพระอริยบุคคล ๘ จำพวก.

ก็การถึงสรณะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ไม่เคยถึงสรณะ
คือผู้ไม่เคยทำความเชื่อมั่น.

เป็นอันว่า อาจารย์ ๓ จำพวก คือ
ผู้ให้สรณะ ๑. ผู้ให้ถึงโสดาปัตติมรรค ๑.
ผู้ให้ถึงพระอรหัตมรรค ๑.
มาแล้วในพระสูตรนี้ ว่ามีอุปการะมาก.

สาวก ภูมิ https://www.facebook.com/profile.php?id=100004721327843