ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 25, 2015, 06:48:27 pm »


“The wise ones always find their ways to happiness no matter how much suffering they have endured.”
Ven. Phra Paisal Visalo

“ผู้มีปัญญา แม้ประสบทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ”
ที่มา:คมธรรมะ
โดย พระไพศาล วิสาโล

กายป่วย ใจไม่ป่วย -พระไพศาล วิสาโล

คราวหนึ่งหลวงปู่บุดดา ถาวโร ได้รับนิมนต์ไปฉันที่บ้าน ของโยมผู้หนึ่งมีพระหลายรูปไปร่วมฉันด้วย พอฉันเสร็จไม่นานพระทุกรูปก็อาเจียนอย่างหนัก เนื่องจากอาหารเป็นพิษ อาเจียนเสร็จก็หมดแรง ส่วนเจ้าบ้านตกใจมากที่เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น
เช้าวันนั้นพระทุกรูปล้มนอนเพราะหมดแรง คงเหลือแต่หลวงปู่บุดดาองค์เดียวที่ยังนั่งพูดคุยกับเจ้าของบ้านและญาติโยม ทั้ง ๆ ที่ท่านเองก็อาเจียนไม่น้อยกว่าพระรูปอื่น เวลาจะอาเจียนท่านก็ลากกระโถนจากใต้ที่นั่งออกมา พออาเจียนเสร็จท่านก็คุยต่อ ไม่ได้แสดงอาการอ่อนเพลียแต่อย่างใด

ภายหลังได้มีผู้ถามหลวงปู่บุดดาว่า หลวงพ่อไม่เป็นอะไรหรือ จึงนั่งคุยกับญาติโยมเหมือนกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น
หลวงปู่บุดดาตอบว่า เจ้าภาพเขามีความทุกข์ใจที่นำอาหารเป็นพิษมาถวายพระ ท่านเลยนั่งคุยให้เขาคลายทุกข์ใจ ท่านยังกล่าวต่อว่า
“ร่างกายเรานี้มันสักแต่ว่าเท่านั้น ธาตุ ๔ มันถูกยาเมา ยาเบื่อ มันก็แสดงอาการต่างๆ นานา ส่วนจิตใจมันไม่ได้ถูก ก็เลยไม่เป็นอะไร เหตุเพราะกายกับใจมันคนละเรื่อง รวมกันไม่ได้”

อีกคราวหนึ่งท่านต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อผ่าตัดนิ่ว หลังจากผ่าตัดเสร็จ หลวงปู่ก็พูดว่า “ค่อยยังชั่วแล้ว ไม่เป็นไรแล้ว”
แพทย์และพยาบาลพากันแปลกใจ ถามหลวงปู่ว่าท่านไม่รู้สึกเจ็บเลยหรือ คนอื่นผ่าตัดน้อยกว่าหลวงปู่ ยังแสดงอาการเจ็บปวดมากกว่า หลวงปู่ทำอย่างไรถึงไม่เจ็บ
หลวงปู่ตอบว่า “ร่างกายของหลวงปู่ก็เหมือนกันทำไมมันจะไม่เจ็บ แต่จิตใจต่างหากที่ไม่ได้เจ็บป่วยไปกับร่างกายด้วยเท่านั้น”

ความเจ็บป่วยเป็นเรื่องของกาย แต่แทนที่จะเห็นว่ากายป่วยหรือกายเจ็บ เรามักจะทึกทักหรือสำคัญมั่นหมายว่า “กูป่วย”หรือ “กูเจ็บ” ความป่วยจึงลามไปถึงใจ หาไม่ก็ไปยึดติดถือมั่นกับความเจ็ปวด ใจจึง ปวดไปด้วย หลวงปู่บุดดาเป็นผู้มีปัญญา
ท่านเห็นว่าความเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมดา ใจจึงไม่ทุกข์ร้อนไปด้วย แม้จะมีทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็เพียงแต่รู้เฉยๆ ไม่ยึดติดถือมั่นกับทุกขเวทนานั้น ใจจึงโปร่งเบาสุขสบาย

F/B พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo