ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2015, 07:06:14 pm »•ใครๆก็เคยถูกจิตหลอกมาแล้วทุกคนนั่นแหละ พอเกิดขึ้นมาเป็นคนแล้วเท่านั้น แหม ดีอกดีใจเป็นชายเป็นหญิง เป็นหนุ่มเป็นสาวก็ดีอกดีใจเสียเหลือเกินว่าตนได้ของดิบของดี จมอยู่ในความมัวเมาของกิเลส คือ ความรักใคร่ชอบใจความยินดีในรูปของตน บางคนแสนจะขี้ริ้วขี้เหร่ แต่ ก็มีความยินดีในรูปของตนว่าตนสวยสดงดงามที่สุด คนอื่นสู้ตนไม่ได้ เป็นต้น เช่นนี้เรียกว่า วิสัย ยินดีแล้วตามวิสัยของมาร เมื่อยินดีพอใจในรูปของตนแล้ว ทีนี้จะยืน จะเดินไปไหนมาไหนก็ว่าเขามองดูเราคนเดียว เขาจะมองในแง่ดีหรือร้ายก็ไม่ทราบ บางทีเขาเกลียดน้ำหน้าก็ยังเข้าใจว่าเขาชอบเขารักตนอยู่ นี่แหละจิตมันหลอกลวง แล้วก็ยินดีตามวิสัยของกิเลสมาร
ทั้งๆ ที่ตนแก่อยู่ทุกวัน ทนทุกข์ทรมานเสวยบาปอยู่ แล้ว แต่ก็ยังยินดีพอใจขันธมารอันนี้ ยินดีพอใจกับรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ แทนที่จะเห็นโทษภัยและเบื่อหน่ายในอัตภาพร่างกายว่าเป็นของไม่ดีไม่งาม เป็นกองทุกข์ กลับพลอยยินดีไปตาม เช่นนี้เรียกว่ายินดีตามวิสัยมาร หรือที่ร้ายแรงไปกว่านั้นอีก มีความทะเยอทะยานดิ้นรน เพราะจิตมันหลอก อยากได้โน่นอยากได้นี่
ถ้าหากว่าหลงกายแล้ว มันก็เป็นเรื่องจริงที่จะต้องหลอกกันต่อไปเรื่อยๆ ยินดีในกายแล้วก็จะต้องหาเรื่องบำรุงบำเรอกาย รักษากาย บริหารกาย หาเครื่องมาประดับตกแต่งให้สวยงามด้วยประการต่างๆ อาการที่ทะเยอทะยานดิ้นรนวุ่นวายกระเสือกกระสนหาของมาบำรุงกายนั้น แทนที่จะเห็นเป็นโทษว่านำความทุกข์ เดือดร้อนมาให้ กลับพลอยยินดีด้วยซ้ำ ถือเอาเป็นเรื่อง สนุกสนาน คนเราทุกคนที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ต่างก็ต้อง ประกอบอาชีพแสวงหาอยู่ทุกวิถีทาง แต่ก็พากันทำด้วยความเพลิน ทำด้วยความดีใจ ทำด้วยความมัวเมา เนื่อง จากว่าถูกจิตหลอก จึงได้ยินดี ไม่ได้เบื่อหน่าย
พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาว่า บ่วงของมารคอยดักจับเอาคนเราให้ไปหลงติดอยู่เหมือนสัตว์หลงติดกับ เพราะวิสัยของมาร มันดักอยู่ทางตา ทางหู ทางจมูก ลิ้น กายและทางใจ เช่น ตามองเห็นสิ่งใดแล้วเกิดความชอบใจใน สิ่งนั้น ติดอกติดใจอยากได้ เรียกว่าติดกับของมารทางตา หูได้ยินเสียงที่ไพเราะ ชอบอกชอบใจในเสียง เรียกว่า ไปติดกับของมารทางหู จมูกสูดกลิ่นที่หอมหวนทำให้ระรื่นชื่นใจ อยากได้ ติดใจในกลิ่นนั้น เรียกว่าติดกับของมารทางจมูก รสก็เหมือนกัน ถ้าได้สัมผัสรสอะไรที่ลิ้น ปรากฏว่าชอบอกชอบใจ คิดถึงรสนั้นไม่รู้แล้วรู้รอด อยู่ใกล้อยู่ไกล ราคาถูกแพงเท่าใด จะต้องซื้อหามาบำรุงลิ้นจนได้ รสปรากฏที่ลิ้นนิดเดียวแท้ๆ แต่เราเสาะแสวงหาแสนยากแสนลำบาก ราคามากน้อยเท่าใดก็ไม่เสียดาย เพราะไปติดกับของมาร ตรงรสตรงลิ้นนั่นเอง
พระพุทธเจ้าเสวยพระกระยาหารพอเป็นยาปนมัต(พอเลี้ยงชีพ)ถ้าหากผู้เห็นโทษของอาหารแล้ว แน่นอนที่สุดจะต้องรับประทานอาหารเหมือนยาปนมัต ถ้าไม่รับประทานก็หิวโหย ถ้ารับประทานอย่างหลงรสชาติ ติดรสอาหาร ก็จะเป็นกิเลสเกิดขึ้นมา อาหารนั้นก็เลยกลายเป็นพิษ คือเป็นตัวกิเลสให้ติดใจชอบใจ
เหตุนั้นผู้มีปัญญาท่านจึงพิจารณาอาหารให้เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเครื่องยังชีวิตให้เป็นไปได้ วันหนึ่งๆ ชีวิตยังมีอยู่ตราบใด เราก็ยังได้สร้างคุณงามความดีบำรุงพระศาสนาต่อไป ไม่ใช่ว่าเราจะประทังชีวิตให้มีอายุยืนนานต่อไปอย่างเดียวเท่านั้น
ผู้ประมาทมีอายุยืนนานแล้วกลัวตาย อยากจะบำรุงด้วยอาหารให้สุขภาพดี อันนั้นเป็นเรื่องของคนเมา ผู้ที่เข้าใจเรื่องธรรมะ พิจารณาเห็นสังขารร่างกายเป็นอันตราย และเห็นชีวิตเป็นของไม่มีค่า แต่เป็นการจำเป็นที่เราจะต้องอาศัยมัน จึงต้องรับประทานอาหารเพื่อประทังชีวิตให้เป็นไป และจะได้สร้างคุณงามความดีต่อไปให้มันตลอดรอดฝั่ง เพราะความดีของเรายังไม่เพียงพอ คล้ายกันกับเรายาเรือที่รั่วพออาศัยข้ามน้ำให้ถึงฝั่งฟากโน้น ถ้าไม่ยาเรือก็จะล่ม จมในกลางน้ำ คนก็จะต้องตาย เรือก็เสียหาย เพราะฉะนั้นจึงรีบยาเสียพอให้ใช้ได้ถึงฝั่งโน้น
ถ้าหากผู้มีปัญญาพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว อาหารที่เคยเป็นภัยกลับกลายเป็นยาวิเศษ ผู้นั้นท่านเรียกว่า ปุญฺณกฺเขตฺตํ เป็นเนื้อนาบุญของโลก ชาวโลกผู้ใดได้ทำบุญแก่ท่านผู้เป็นเช่นนั้นได้บุญนักหนา ดีกว่าไปทำบุญ กับคนมัวเมาประมาท กินแล้วไม่รู้จักอิ่มจักพอ กินแล้วติดรสอาหาร ไม่คุ้ม ค่า ปฏิคาหก (ผู้ที่รับทาน) ติดรสอาหารเช่นนั้น ท่านว่ากินแล้วเป็นหนี้เป็นสินเขาอยู่
พวกเราคงเคยได้ยินคนเฒ่าคนแก่ท่านสอนว่า คนที่บวชเป็นพระเป็นเณร ถ้าหากฉันอาหารของชาวบ้านโดย ที่ไม่ได้พิจารณาปฏิสังขาโยแล้ว เมื่อตายแล้วจะไปเกิดเป็นวัวเป็นควาย เหตุเพราะเป็นหนี้เขา คือ เป็นหนี้เป็นสิน เพราะฉันอาหารแล้วไปติดรสอาหาร ฉันด้วยความพอใจยินดีตามวิสัยของมาร ไม่ใช่เพื่อบรรเทาทุกข์แล้วจะได้สร้างคุณงามความดีบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
แปลความว่าคนเราย่อมตายแล้ว ตายแล้วเกิดนับชาติไม่ถ้วน ไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าหากมีกิเลสอยู่แน่นอนที่สุดไม่มีหนทางพ้นจากทุกข์ได้เลย จะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่เช่นนี้ตลอดกาล
บ่วงของมาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ต่างก็เป็นกับดักของมารเหมือนๆ กัน มารมันวางกับดักไว้รอบตัวของเรา เราเลยนอนนิ่งเฉยอยู่ในบ่วงของมารอย่างไม่รู้ตัวอะไรเลย ไม่รู้สึกตัวติดกับของมารด้วยซ้ำ ไม่ทราบว่าติดตรงไหน กลับพอใจยินดีที่สุด จึงไปไม่ตลอด
อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวนฺติ อวิทฺทสู
(อ่านต่อฉบับหน้า)
จากธรรมลีลา ฉบับที่ 103 มิถุนายน 2552
โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
fb เจง ธรรมจารี
27 พฤศจิกายน เวลา 5:10 น.
ทั้งๆ ที่ตนแก่อยู่ทุกวัน ทนทุกข์ทรมานเสวยบาปอยู่ แล้ว แต่ก็ยังยินดีพอใจขันธมารอันนี้ ยินดีพอใจกับรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ แทนที่จะเห็นโทษภัยและเบื่อหน่ายในอัตภาพร่างกายว่าเป็นของไม่ดีไม่งาม เป็นกองทุกข์ กลับพลอยยินดีไปตาม เช่นนี้เรียกว่ายินดีตามวิสัยมาร หรือที่ร้ายแรงไปกว่านั้นอีก มีความทะเยอทะยานดิ้นรน เพราะจิตมันหลอก อยากได้โน่นอยากได้นี่
ถ้าหากว่าหลงกายแล้ว มันก็เป็นเรื่องจริงที่จะต้องหลอกกันต่อไปเรื่อยๆ ยินดีในกายแล้วก็จะต้องหาเรื่องบำรุงบำเรอกาย รักษากาย บริหารกาย หาเครื่องมาประดับตกแต่งให้สวยงามด้วยประการต่างๆ อาการที่ทะเยอทะยานดิ้นรนวุ่นวายกระเสือกกระสนหาของมาบำรุงกายนั้น แทนที่จะเห็นเป็นโทษว่านำความทุกข์ เดือดร้อนมาให้ กลับพลอยยินดีด้วยซ้ำ ถือเอาเป็นเรื่อง สนุกสนาน คนเราทุกคนที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ต่างก็ต้อง ประกอบอาชีพแสวงหาอยู่ทุกวิถีทาง แต่ก็พากันทำด้วยความเพลิน ทำด้วยความดีใจ ทำด้วยความมัวเมา เนื่อง จากว่าถูกจิตหลอก จึงได้ยินดี ไม่ได้เบื่อหน่าย
พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาว่า บ่วงของมารคอยดักจับเอาคนเราให้ไปหลงติดอยู่เหมือนสัตว์หลงติดกับ เพราะวิสัยของมาร มันดักอยู่ทางตา ทางหู ทางจมูก ลิ้น กายและทางใจ เช่น ตามองเห็นสิ่งใดแล้วเกิดความชอบใจใน สิ่งนั้น ติดอกติดใจอยากได้ เรียกว่าติดกับของมารทางตา หูได้ยินเสียงที่ไพเราะ ชอบอกชอบใจในเสียง เรียกว่า ไปติดกับของมารทางหู จมูกสูดกลิ่นที่หอมหวนทำให้ระรื่นชื่นใจ อยากได้ ติดใจในกลิ่นนั้น เรียกว่าติดกับของมารทางจมูก รสก็เหมือนกัน ถ้าได้สัมผัสรสอะไรที่ลิ้น ปรากฏว่าชอบอกชอบใจ คิดถึงรสนั้นไม่รู้แล้วรู้รอด อยู่ใกล้อยู่ไกล ราคาถูกแพงเท่าใด จะต้องซื้อหามาบำรุงลิ้นจนได้ รสปรากฏที่ลิ้นนิดเดียวแท้ๆ แต่เราเสาะแสวงหาแสนยากแสนลำบาก ราคามากน้อยเท่าใดก็ไม่เสียดาย เพราะไปติดกับของมาร ตรงรสตรงลิ้นนั่นเอง
พระพุทธเจ้าเสวยพระกระยาหารพอเป็นยาปนมัต(พอเลี้ยงชีพ)ถ้าหากผู้เห็นโทษของอาหารแล้ว แน่นอนที่สุดจะต้องรับประทานอาหารเหมือนยาปนมัต ถ้าไม่รับประทานก็หิวโหย ถ้ารับประทานอย่างหลงรสชาติ ติดรสอาหาร ก็จะเป็นกิเลสเกิดขึ้นมา อาหารนั้นก็เลยกลายเป็นพิษ คือเป็นตัวกิเลสให้ติดใจชอบใจ
เหตุนั้นผู้มีปัญญาท่านจึงพิจารณาอาหารให้เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเครื่องยังชีวิตให้เป็นไปได้ วันหนึ่งๆ ชีวิตยังมีอยู่ตราบใด เราก็ยังได้สร้างคุณงามความดีบำรุงพระศาสนาต่อไป ไม่ใช่ว่าเราจะประทังชีวิตให้มีอายุยืนนานต่อไปอย่างเดียวเท่านั้น
ผู้ประมาทมีอายุยืนนานแล้วกลัวตาย อยากจะบำรุงด้วยอาหารให้สุขภาพดี อันนั้นเป็นเรื่องของคนเมา ผู้ที่เข้าใจเรื่องธรรมะ พิจารณาเห็นสังขารร่างกายเป็นอันตราย และเห็นชีวิตเป็นของไม่มีค่า แต่เป็นการจำเป็นที่เราจะต้องอาศัยมัน จึงต้องรับประทานอาหารเพื่อประทังชีวิตให้เป็นไป และจะได้สร้างคุณงามความดีต่อไปให้มันตลอดรอดฝั่ง เพราะความดีของเรายังไม่เพียงพอ คล้ายกันกับเรายาเรือที่รั่วพออาศัยข้ามน้ำให้ถึงฝั่งฟากโน้น ถ้าไม่ยาเรือก็จะล่ม จมในกลางน้ำ คนก็จะต้องตาย เรือก็เสียหาย เพราะฉะนั้นจึงรีบยาเสียพอให้ใช้ได้ถึงฝั่งโน้น
ถ้าหากผู้มีปัญญาพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว อาหารที่เคยเป็นภัยกลับกลายเป็นยาวิเศษ ผู้นั้นท่านเรียกว่า ปุญฺณกฺเขตฺตํ เป็นเนื้อนาบุญของโลก ชาวโลกผู้ใดได้ทำบุญแก่ท่านผู้เป็นเช่นนั้นได้บุญนักหนา ดีกว่าไปทำบุญ กับคนมัวเมาประมาท กินแล้วไม่รู้จักอิ่มจักพอ กินแล้วติดรสอาหาร ไม่คุ้ม ค่า ปฏิคาหก (ผู้ที่รับทาน) ติดรสอาหารเช่นนั้น ท่านว่ากินแล้วเป็นหนี้เป็นสินเขาอยู่
พวกเราคงเคยได้ยินคนเฒ่าคนแก่ท่านสอนว่า คนที่บวชเป็นพระเป็นเณร ถ้าหากฉันอาหารของชาวบ้านโดย ที่ไม่ได้พิจารณาปฏิสังขาโยแล้ว เมื่อตายแล้วจะไปเกิดเป็นวัวเป็นควาย เหตุเพราะเป็นหนี้เขา คือ เป็นหนี้เป็นสิน เพราะฉันอาหารแล้วไปติดรสอาหาร ฉันด้วยความพอใจยินดีตามวิสัยของมาร ไม่ใช่เพื่อบรรเทาทุกข์แล้วจะได้สร้างคุณงามความดีบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
แปลความว่าคนเราย่อมตายแล้ว ตายแล้วเกิดนับชาติไม่ถ้วน ไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าหากมีกิเลสอยู่แน่นอนที่สุดไม่มีหนทางพ้นจากทุกข์ได้เลย จะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่เช่นนี้ตลอดกาล
บ่วงของมาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ต่างก็เป็นกับดักของมารเหมือนๆ กัน มารมันวางกับดักไว้รอบตัวของเรา เราเลยนอนนิ่งเฉยอยู่ในบ่วงของมารอย่างไม่รู้ตัวอะไรเลย ไม่รู้สึกตัวติดกับของมารด้วยซ้ำ ไม่ทราบว่าติดตรงไหน กลับพอใจยินดีที่สุด จึงไปไม่ตลอด
อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวนฺติ อวิทฺทสู
(อ่านต่อฉบับหน้า)
จากธรรมลีลา ฉบับที่ 103 มิถุนายน 2552
โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
fb เจง ธรรมจารี
27 พฤศจิกายน เวลา 5:10 น.