ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: ธันวาคม 28, 2015, 04:21:12 pm »



:19: :46: :19:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 25, 2015, 07:24:12 pm »

โย ทุกฺขมทฺทกฺขิ ยโตนิทานํ
กาเมสุ โส ชนฺตุ กถํ นเมยฺย
อุปธิํ วิทิตฺวาน สงฺโคติ โลเก
ตสฺเสว ชนฺตุ วินยาย สิกฺเข.

ผู้ใดเห็นทุกข์ว่าเกิดเพราะกาม,
ผู้นั้นจะพึงน้อม (จิต) ไปในกามได้อย่างไร
ผู้รู้จักอุปธิว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว
พึงศึกษาเพื่อกำจัดอุปธิเสีย.
(พุทฺธ) สํ.ส. ๑๕/๑๗๐.

ทุกข์ แปลว่า สิ่งที่ดำรงคงทนอยู่ได้ยาก คือทุกๆ สิ่งที่ไม่คงทน ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา หมายถึงความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เช่น ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาแล้วไม่ได้สมหวัง ก็เป็นทุกข์ รวมความก็คือ ขันธ์ ๕ นั่นเองเป็นทุกข์

กาม ก็คือความใคร่ในอารมณ์ที่น่ารักใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ ได้แก่ กิเลสกาม กิเลสเป็นเหตุให้เกิดความใคร่ หมายถึงกิเลสที่ทำสันดานให้เศร้าหมอง มีราคะ ความกำหนัดยินดี โลภะ ความโลภ อิจฉา ความอยากได้ เป็นต้น วัตถุกาม พัสดุอันน่ารักใคร่ ได้แก่ กามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นส่วนอิฏฐารมณ์ที่สัตว์พอใจรักใคร่ ปรารถนากิเลสเหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้นในสันดานของบุคคลใด ก็เป็นเหตุยังจิตของบุคคลนั้นให้เกิดความดิ้นรน กระวนกระวาย ทะเยอทะยาน จนกลายเป็นความขุ่นมัวเศร้าหมองไปตามอำนาจของกิเลสนั้นๆ

อุปธิ ก็คือกิเลส หมายถึงสิ่งนุงนัง สภาวะที่กลั้วกิเลส สิ่งที่ระคนด้วยกิเลส ๑.ร่างกาย ๒.สภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้แห่งทุกข์ ได้แก่ กามกิเลส เบญจขันธ์ และอภิสังขาร เมื่อกล่าวโดยสรุปก็คือ กรรมกับกิเลสนั่นเอง พระอริยบุคคลเท่านั้น ท่านละกรรมและกิเลสได้ในระดับต่างๆ จนถึงพระอรหันต์ ท่านละกรรมและกิเลสได้โดยสิ้นเชิงจนบรรลุพระนิพพาน เป็นความสงบจากอุปธิคือกิเลสอย่างแท้จริง

ผู้มีปัญญามาพิจารณาเห็นว่าทุกข์ คือ สิ่งที่ดำรงคงทนอยู่ได้ยากว่าเกิดขึ้นเพราะกาม คือความใคร่ในอารมณ์อันน่ารัก น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ ได้อย่างแจ่มแจ้งแล้ว ไม่พึงน้อมจิตไปในกามได้เลย และผู้รู้จักอุปธิคือกิเลสว่าเป็นเครื่องข้องสภาวะที่กลั้วไปด้วยกิเลสในโลกแล้ว ผู้นั้นพึงศึกษาด้วยปัญญาอันเฉียบแหลม เพื่อกำจัดอุปธิเสียได้.

จาก : พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๓
ฉบับมาตรฐาน (โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง)

วัดพิชโสภาราม
โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดอุบลราชธานี แห่งที่ ๑
สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุบลราชธานี แห่งที่ ๓
เลขที่ ๔๓ หมู่ ๒ บ้านเรืองอุดม ต.แก้งเหนือ อ.เขมราฐ
จ.อุบลราชธานี ๓๔๑๗๐ โทร. ๐ ๔๕๒๑ ๘๐๒๐
-http://www.watpitchvipassana.com/buddhist-proverb-338.html
..
..
อุปธิ ๔ : อุปธิ ๑๐
 http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7566.0.html